Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311288
ทั่วไป:13270553
ทั้งหมด:13581841
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 113, 114, 115 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2015 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

เครือข่ายมักกะสัน ร้อง สปช.หนุนโครงการสวนสร้างสรรค์ แทนพัฒนาเชิงพาณิชย์


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 พฤษภาคม 2558 14:22 น. (แก้ไขล่าสุด 6 พฤษภาคม 2558 14:38 น.)




ตัวแทนเครือข่ายมักกะสัน ยื่นหนังสือ สปช.หนุนสวนสร้างสรรค์ในพื้นที่โรงงานรถไฟมักกะสัน แทนการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ของ ร.ฟ.ท.

วันนี้ (6 พ.ค.) ตัวแทนเครือข่ายมักกะสัน สวนสร้างสรรค์ นำโดยนางนิศานาถ รัตนนาคินทร์ ยื่นหนังสือต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เช่น นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายบัณฑูรย์ เศรษฐศิโรตม์, นายมีชัย วีระไวทยะ, น.ส.สุภัทรา นาคะผิว เพื่อขอให้สนับสนุนโครงการมักกะสันสวนสร้างสรรค์ในพื้นที่โรงงานรถไฟมักกะสันให้เป็นรูปธรรม โดยขอให้ สปช.พิจารณาตั้งคณะกรรมการศึกษาพื้นที่มักกะสัน เพื่อนำไปสู่การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ โดยการมีสวนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วนที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง นักภูมิสถาปัตย์ นักปฐพีวิทยา ผู้มีความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม เครือข่ายประชาชนที่สนใจ โดยการศึกษาดังกล่าวต้องเปิดเผยผลการศึกษาให้ประชาชนรับทราบทุกขั้นตอน รวมถึงระหว่างการศึกษาโดยคณะกรรมการศึกษาพื้นที่มักกะสัน ให้ทำหนังสือระงับโครงการใดๆ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานในพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่เครือข่ายมักกะสันร้องขอให้ทำสวนสาธารณะนั้น ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยเตรียมดำเนินการพัฒนาในเชิงพาณิชย์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2015 1:27 am    Post subject: Reply with quote

โยนบอร์ดเร่งหาที่ตั้งหมอชิตใหม่ บขส.ลุ้นรถไฟฯให้ใช้ที่ดิน 15 ไร่
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม พิมพ์
ออนไลน์เมื่อ วันจันทร์ที่ 04 พฤษภาคม 2015 เวลา 20:27 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,050 วันที่ 7 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาที่ตั้งบขส.แห่งใหม่ยังค้างเติ่ง"ประจิน" โยนบอร์ดเคาะความชัดเจน ยันไม่ล้วงลูก แต่ขอรับฟังข้อเสนอก่อนพิจารณาเพื่อเห็นชอบ ชี้ชัดพื้นที่หมอชิตใหม่ย่านสถานีกลางบางซื่อให้ปรับเป็นเพียงจุดรับ-ส่งเท่านั้น ด้านบขส.หวังการรถไฟฯให้ใช้พื้นที่ 15-20 ไร่หรือใช้พื้นที่กรมธนารักษ์ใกล้เดโปบีทีเอสใช้งานในปัจจุบัน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้ากรณีการพัฒนาพื้นที่ตั้งแห่งใหม่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.)ว่าได้มอบหมายให้คณะกรรมการ(บอร์ด)บขส.เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมว่าจะตั้งอยู่ที่ไหน อย่างไร ไม่อยากไปก้าวล่วงการปฏิบัติงานแต่อยากให้เร่งสรุปนำเสนอเพื่อความชัดเจนโดยเร็ว
3501"ให้เป็นอำนาจของบอร์ดบขส.เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมก่อนที่จะนำเสนอข้อมูลมาให้พิจารณาเห็นชอบ แต่ขณะนี้ยังบอกชัดเจนไม่ได้เพราะอยู่ระหว่างการพิจารณาของบอร์ดบขส. และบอร์ดก็ยังไม่ได้นำเสนอมาให้พิจารณาเห็นชอบแต่อย่างใด"
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ในเบื้องต้นคงจะเป็นเพียงจุดจอดแล้วจรเท่านั้น ส่วนการจะเป็นสถานีจอดรอขนาดใหญ่คงจะย้ายออกไปอยู่ในพื้นที่ที่บขส.อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่จากที่มีให้เลือกประมาณ 3-4 ทำเลคือเมืองทองธานี คลองหลวง-รังสิตและจุดใกล้ๆเดโปบีทีเอส
"ได้แจ้งโดยวาจาให้กับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ที่อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบพื้นที่ย่านพหลโยธินในเบื้องต้นว่าประมาณ 15-20 ไร่ แต่ยังไม่สามารถกำหนดจุดชัดเจนได้ในขณะนี้เนื่องจากอยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อของโครงการรถไฟสายสีแดง โดยจะทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้บขส.และสนข.ทราบต่อไป ส่วนเรื่องการจัดหาที่ตั้งแห่งใหม่ของบขส.นั้นขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของบขส.เอง"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของสนข.กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ย่านพหลโยธินทั้ง 2.3 พันไร่อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด ในเบื้องต้นจะมีแนวคิดก่อสร้างทางเชื่อมใต้ดินในบางส่วน มีการเชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งมวลชนด้วยโมโนเรล บางส่วน โดยจะมีการประชุมติดตามความคืบหน้าอีกครั้งช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้
"เบื้องต้นแนวคิดจะสร้างเป็นทางเชื่อมใต้ดิน แต่จากที่คณะกรรมการคัดเลือกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้คงค้างที่กระทรวงการคลังแต่งตั้งขึ้นมานั้นได้เสนอแนวคิดให้มีการสร้างสกายวอล์กเชื่อมโยงพื้นที่จากรถไฟ MRT ไปยังสถานีบางซื่อใกล้เอสซีจี เพราะเห็นว่าประหยัดงบประมาณนั้นก็มีความเป็นไปได้ แต่ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นประกอบการพิจารณาอีกด้วย โดยมีการเสนอขอใช้พื้นที่ประมาณ 15 ไร่แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติใช้พื้นที่จากการรถไฟฯ"
สำหรับความคืบหน้าการจัดหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีบขส.แห่งใหม่ทดแทนหมอชิตใหม่ซึ่งคาดว่าจะใช้งบไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาทโดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 150-200 ไร่นั้นประกอบไปด้วยพื้นที่ต่างๆประมาณ 3-4 แปลง คือ ย่านคลองหลวง รังสิต(ช่วงตั้งแต่ห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) 3-4 แปลง และจุดใกล้ๆเดโปรถไฟฟ้าบีทีเอสของกรมธนารักษ์ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 แสนตร.ม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/05/2015 2:03 am    Post subject: Reply with quote

เคาะแล้วที่ดินที่ "มักกะสัน" พัฒนาเชิงพาณิชย์140ไร่
วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 12:18:24 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้อนุมัติให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังไปหารือเกี่ยวกับการโอนที่ดินของ รฟท.ที่มักกะสันให้กระทรวงการคลังเข้าไปบริหารจัดการเพื่อแลกกับการให้คลังเข้าไปรับภาระหนี้ของ รฟท. เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ทั้ง 2 กระทรวงอยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียด โดยข้อตกลงเบื้องต้นนั้นจะมีการบริหารพื้นที่ทั้งสิ้น 490 ไร่ใน 3 ส่วน โดยจัดสรรที่ดินอย่างเหมาะสมระหว่างการสร้างพิพิธภัณฑ์ การสร้างสวนสาธารณะ และการสร้างพื้นที่เชิงพาณิชย์

"แนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่ดินของการรถไฟฯ 490 ไร่นั้น ในเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่พิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นพิพิธภัณฑ์การขนส่งทางราง ใช้พื้นที่ 30 ไร่
2. พื้นที่สวนสาธารณะ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ
2.1 ระยะแรก 150 ไร่
2.2 ระยะที่ 2 170 ไร่ และ
3. ส่วนที่ 3 จะเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่จอดรถ จะใช้พื้นที่รวม 140 ไร่ ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะมีการหารือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ต่อไป" พล.อ.อ.ประจินกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44616
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/05/2015 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

ที่รถไฟมักกะสัน 6 หมื่นล้าน ทำ ‘สวน’ ดีที่สุดแล้วหรือ ??
ที่ดินแปลงนี้มีค่าที่สุด? ผมเคยประเมินไว้ว่าที่ดินสวนรถไฟมีค่าประมาณ 67,200 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม 2558 เวลา 5:12 น.
ดร.โสภณ พรโชคชัย

ตอนนี้มีการรณรงค์กันใหญ่ที่จะเอาที่การรถไฟแห่งประเทศ ไทยที่มักกะสันเนื้อที่ประมาณ 400-500 ไร่ ไปทำสวนสาธารณะ มีคนชูรักแร้เชียร์กันมากมาย นี่ถ้าผมต้องการเป็นคนดี ผมก็คงต้องไปร่วมเชียร์กันบ้าง ใครหรือจะไม่ชอบพื้นที่สีเขียว ผมคงได้หน้าได้ตาน่าดู แต่เรื่องนี้มีอะไรไม่ดีซ่อนเร้นอยู่ อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็นนะครับ คนที่ค้านแนวคิดสวนสาธารณะเช่นที่ผมทำอยู่นี้เสี่ยงต่อการถูกด่าว่าในเชิงลบ แต่ผมไม่กลัวครับ ผมไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนตัวใด ๆ แต่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนจึงกล้าออกมาค้านการสร้างสวนสาธารณะครับ

คนส่วนใหญ่เอาด้วยกับพวกอยากได้สวนจริงหรือ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 เครือข่ายมักกะสันสวนสร้างสรรค์อ้างว่ามีพวกกว่า 20,000 คนมาค้านการรถไฟแห่งประเทศไทยสร้างอาคารเชิงพาณิชย์และอยากให้นำที่ดินแปลงนี้ไปทำสวนสาธารณะ คำถามแรกก็คือเครือข่ายพวกนี้มีตัวตนจริงหรือ มีสมาชิกถึง 20,000 คนจริงหรือ เราจะคิดทำอะไรก็คงอยู่ที่เหตุผลไม่ใช่ถือวิสาสะ “พวกมากลากไป” นะครับ

สมบัติสาธารณะผืนสุดท้ายจริงหรือ เครือข่ายฯอ้างว่าพื้นที่มักกะสันเป็นสมบัติสาธารณะผืนสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุด (http://goo.gl/YJepPx) นี่แค่อ้างก็ผิดแล้วครับ ในกรุงเทพมหานครยังมีที่ดินโรงงานยาสูบ 600 ไร่ ที่ดินท่าเรือคลองเตย 2,500 ไร่ ที่รถไฟฯ กม. 11 400 ไร่ นี่ยังไม่รวมค่ายทหารอีกมากมายที่หลายแห่งมีขนาดนับร้อยนับพันไร่ ที่สำคัญที่นี่ไม่ใช่สมบัติสาธารณะแต่เป็นของการรถไฟฯซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ประชาชนทั้งประเทศเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ให้ใคร “สิบเบี้ยใกล้มือ” คว้าเอาไปใช้เฉย ๆ

ที่ดินแปลงนี้มีค่าที่สุด? ผมเคยประเมินไว้ว่าที่ดินสวนรถไฟมีค่าประมาณ 67,200 ล้านบาทเป็นอย่างน้อย ถ้าคิดในแง่ของการลงทุนอาจได้สูงถึง 96,000 ล้านบาท แต่ที่ดินสนามม้าราชกรีฑาสโมสรที่ถนนราชดำริของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แม้จะมีขนาดประมาณ 225 ไร่ แต่หากประเมินตามราคาตลาดจะมีค่าถึงประมาณ 100,000 ล้านบาท มากกว่าที่ดินรถไฟมักกะสันเสียอีก ที่ดินที่มีค่ามากมายขนาดนี้เอาไปทำสวนสาธารณะจะดีหรือครับ เงิน 67,200 ล้านบาท ถ้าไปซื้อที่ดิน ชานเมืองทำสวนสาธารณะจะได้ที่ดินถึง 33,600 ไร่ หรือใหญ่กว่าที่รถไฟมักกะสันถึง 84 เท่า หรือมีขนาดพอ ๆ กับการเอาเขตดินแดง บางรัก ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่ายพญาไท พระนคร ราชเทวี สัมพันธวงศ์ สาทร มารวมกันเสียอีก

การสร้างตึกสูงทำลายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายฯ อ้างว่า “สมควรใช้พื้นที่ในการปฏิรูปค่านิยมในการพัฒนาเมืองโดยเห็นแก่ความผาสุกของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่ปล่อยให้มีการสร้างตึกสูงเพื่อการค้าของคนส่วนน้อยที่จะเพิ่มการทำลายสิ่งแวดล้อม” กรณีนี้เป็นการมองความจริงด้านเดียว ความจริงอีกด้านที่ไม่กล่าวถึงก็คือการมีตึกสูงอยู่ในใจกลางเมืองมามาก ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน ไม่ใช่ปล่อยให้พัฒนาเปรอะไปหมดในเขตชานเมือง ยิ่งผังเมืองไม่ให้สร้างตึกสร้างบ้านในกรุงเทพมหานครโดยอ้างว่าจะรักษาสภาพแวดล้อมในกรุง คนก็ยิ่งต้องไปสร้างนอกเมือง ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ทางด่วน รถไฟฟ้า ก็ยิ่งขยายตัวออกไปข้างนอกอย่างไม่สิ้นสุด นี่คือความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประชาชนโดยที่พวก “โลกสวย” ไม่กล่าวถึง

ยุทธการใส่ร้ายป้ายสี เครือข่ายฯ ออกแถลงการณ์ด่วน ขอระดมรายชื่อมวลชนโดยอ้างว่ามีกลุ่มทุนอาศัยช่วงที่คนไทยกำลังให้ความสนใจกับเหตุแผ่นดินไหวที่เนปาลแอบแบ่งผลประโยชน์จากพื้นที่สวนมักกะสัน (http://goo.gl/Az0fQA) ถ้าเรารณรงค์เพื่อส่วนรวมด้วยฉันทาคติจะดีกว่าการใส่ร้ายป้ายสีคนเห็นต่างเช่นนี้ ถ้าเราเกรงจะมีทุจริตต้องเกาะติดใกล้ชิด “ผีย่อมกลัวแสงสว่าง” การทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้น

จะเอาไปทำพิพิธภัณฑ์ทำไมกัน เครือข่ายฯอ้างว่าอาคารโกดัง/โรงซ่อมรถไฟมีอายุราว 100 ปี น่าจะเป็นโบราณสถาน สมควรรักษาไว้ เรื่องนี้พึงคิดให้ดี ๆ นะครับ ขออนุญาตฟันธงไปเลยครับว่าอาคารที่ไม่ได้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมสวยสดงดงามเพราะเขาสร้างเป็นโกดัง/โรงซ่อมจะเก็บไว้ทำไม ถ้าจะเก็บก็เอาไปสร้างที่อื่น ที่รถไฟมีอีกมากมาย “อย่าให้คนตายขายคนเป็น”เลยครับ พวก “โลกสวย” ห้ามย้ายกระทั่งว่าอาคารโกดัง/โรงซ่อมเก่าเพียงเพื่อหวังลากถูให้ที่ดินผืนนี้ไม่ต้องพัฒนาอะไรเลย ที่กรุงโตเกียว นครโตรอนโต ฯลฯ เขาสร้างอาคารใหม่ขนาดใหญ่ยักษ์คร่อมอาคารเก่าไปเลยหรือไม่ก็รื้อไปเลยไม่ใช่ปล่อยไว้เป็น “จระเข้ขวางคลอง” อย่างนั้น

เอะอะก็อ้างปอดของคนกรุง ข้ออ้างก็คือการอยากจะเก็บพื้นที่นี้เป็นปอดของคนกรุง ฟังดูก็น่าจะมีเหตุผล แต่ความจริงกลับไร้เหตุผลจริง ๆ เหมือนอย่างที่กรมการผังเมืองขีดพื้นที่บางกระเจ้าให้เป็นปอดของคนกรุง ทำไมชาวบางกระเจ้าต้องเสียสละเพื่อให้เป็นปอดของคนกรุง ถ้าไม่ต้องการให้พวกเขาสร้างตึกอยากให้เป็นเรือกสวนตลอดไปก็ควรจ่ายค่าทดแทนให้เขาไป

อย่ากลัวหายใจไม่ออก มีบางคนอ้างว่าถ้ามีอาคารมาก ๆ จะหายใจไม่ออก อันนี้เป็นความเท็จอย่างแน่นอน ดูอย่างกรุงโซล หรือ กรุงโตเกียว ถ้าเราขึ้นไปบนอาคาร Tokyo Skytree มองลงมาจะตกใจเลยว่าทำไมกรุงโตเกียวมีแต่ตึก แทบไม่มีสวนหรือต้นไม้อะไรเลย แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทุกวันนี้ที่หนาแน่นกว่าไทย ไม่ว่าจะเป็นนิวยอร์ก ปารีสลอนดอน ต่างก็มีพื้นที่อยู่กันอย่างหนาแน่นและหนาแน่นขึ้นทุกวัน

โลกสวยแต่ไม่รับผิดชอบ?!? ถ้าเราอยากได้ที่ดินผืนนี้เป็นปอดของคนกรุงจริง ๆ ก็ควรจะซื้อ ผมในฐานะผู้ประเมินค่าทรัพย์สินขั้นวุฒิและมีประสบการณ์ประเมินมานานถึง 25 ปีเคยประเมินไว้ ณ ราคา 67,200 ล้านบาท คนกรุงมีอยู่ 5.7 ล้านคน คนหนึ่งก็ต้องสละเงินประมาณ 11,800 บาทมาซื้อที่แปลงนี้ ซึ่งก็คงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก หลายคนอยากได้สวน แต่ไม่อยากจ่ายโดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกร้องอยากได้สวนด้วย กรุงเทพมหานครอาจจัดงบประมาณมาผ่อนซื้อสัก 20 ปีกับการรถไฟฯก็ยังพอเป็นไปได้ แต่ถ้าผู้บริหารกรุงเทพมหานครตัดสินใจซื้อที่ดินจริง ชาวบางแค บางนา บางเขน บางคอแหลม ฯลฯ อาจคัดค้านเพราะไม่ได้อยู่ใกล้พื้นที่นี้ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ด้วย อาจไม่เห็นด้วยกับการซื้อเช่นกัน

พวกโลกสวยมักชอบลวงให้หลง?!? พวกโลกสวยมักอ้างว่าทำพื้นที่นี้ให้เป็นสวนสาธารณะมาก ๆ จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินเอง ข้อนี้เป็นความจริงบางส่วน กล่าวคือ หากที่ดิน 100% เอาไปทำถนนและสวนสัก 20% ก็อาจดูไม่งามตาเท่าที่ควรแต่ถ้าเอาไปทำถนนและสวนสัก 30-40% ก็จะดูดีขึ้น ทรัพย์สินที่เหลือก็จะดูดีมีระดับมากขึ้น แต่ถ้าเราเอาที่ 60-70% ไปทำถนนและสวนก็คงไม่ได้มูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินส่วนที่เหลือมากนัก เข้าทำนองผลตอบแทนที่ลดลง (Diminishing return) คล้ายกับการแต่งหน้าทาปากของสาว ๆ ถ้าไม่แต่งเลย ก็ดูปอน ๆ ไม่งามตา แต่งพอสมควรก็จะดูสวยขึ้นเป็นกอง แต่ถ้าแต่งมากไป ก็จะกลายเป็นคนบ้า เป็นต้น

สร้างสวนอย่างไรให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย การสร้างสวนหรือพื้นที่สีเขียวนั้นมีหลายทางไม่ใช่เฉพาะการปล่อยให้พื้นดินเขียว ๆ สมัยอาคารเขียวนี้เราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมแบบสวนในอาคาร การทำสวนขนาดใหญ่บนดาดฟ้าอาคาร การทำสวนตามระเบียงอาคาร ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องทำบนพื้นที่ราบเรียบแต่อย่างใด อาคารเขียวที่มีคุณภาพย่อมสร้างรายได้และมีมูลค่าสูงกว่าอาคารธรรมดาด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นยังประหยัดพื้นที่ แฟนเฟซบุ๊กคนหนึ่งของผมกล่าวว่า “ผมมีความคิดว่าให้สร้างอาคารหรือตึกที่ออกแบบให้เป็นสวนในตัวครับรวมทั้งทำให้เป็นตึกประหยัดพลังงานและใช้พลังงาน renewable/clean energy เพื่อเป็นต้นแบบให้ที่อื่นโดยผมจินตนาการมานานแล้วว่าอยากให้ออกแบบคล้ายสวนบาบิโลนโบราณซึ่งถ้าทำได้มันจะกลายเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ เลย”

ใครอยู่เบื้องหลังต้องการสวนสาธารณะ ถ้าทำให้ที่ดินทั้งผืนเป็นสวนสาธารณะได้ เจ้าของบ้านและที่ดินโดยรอบจะได้ประโยชน์มหาศาลเพราะอยู่ใกล้สวน มูลค่าทรัพย์ของพวกเขาคงเพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ถ้าไทยมีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเก็บภาษีตามมูลค่าทรัพย์ก็คงจะดี แต่นี่เราไม่มี ก็เท่ากับให้พวกเขา “ถูกหวย” รวยกันไปจากการที่ที่ดินแปลงนี้ถูก “ปล้น” ไปทำสวนให้พวกเขา เจ้าของทรัพย์สินที่ได้ประโยชน์จากการแปลงที่ดินแปลงนี้เป็นสวนสาธารณะอาจอยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวนี้ก็ได้ ลองตรองดูครับ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในกรุงคงไม่มีแม้กระทั่งเวลามาเย้ว ๆ อย่างพวกนี้อย่างแน่นอน

เอื้อนายทุนจริงหรือ? การจะพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ก็ต้องมีเอกชนมาร่วมทุนมาประมูลกันไป เพื่อนำเม็ดเงินมาพัฒนาประเทศ หากมีการประมูลกันอย่างโปร่งใส การเอาที่แปลงนี้ไปทำสวนสาธารณะต่างหากที่เอื้อประโยชน์ต่อนายทุนเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ รายรอบที่ดินแปลงนี้ต่างหาก!!!

อย่าเอาเงินหลวงมาล้างขาดทุน ?!? การที่จะเอาที่ดินแปลงนี้ให้เอกชนทำประโยชน์นั้นก็เพื่อนำเงินมาพัฒนาการรถไฟฯ การรถไฟฯ มีหนี้อยู่ 60,000 กว่าล้านบาท ที่ดินแปลงนี้พอที่จะเอามาล้างหนี้ได้สบาย ๆ หากไม่ล้างหนี้ด้วยวิธีนี้ ก็ต้องเอาภาษีอากรของประชาชนทั่วประเทศมาโปะลงไป แต่ขณะเดียวกันก็ยกที่ให้ชาวกรุง อย่างนี้มีความยุติธรรมหรือไม่ นี่ไม่ใช่การสร้างความแตกแยกระหว่างชาวกรุงกับชาวภูธร แต่เราควรสร้างความสมานฉันท์บนความเป็นธรรม

อย่าสับสนระหว่างล้างขาดทุนกับทุจริต การล้างขาดทุนก็เพื่อการรถไฟฯ จะได้พัฒนาต่อไปพัฒนาบริการและคุณภาพรถให้ดีขึ้นเพื่อประชาชนทั้งชาวกรุงและชาวภูธรได้ประโยชน์ไปทั่ว รถไฟพัฒนา ประชาชนก็ได้ประโยชน์ตกถึงมืออย่างแน่นอน อย่างนี้ดีกว่าการเอาภาษีประชาชนไปโปะแน่นอน ส่วนการรถไฟฯ มีทุจริตตรงไหน ก็จัดการกันไปอย่างจริงจัง รัฐบาลอาจใช้ ม.44 ล้างบางทุจริต หรือสำนักงาน ป.ป.ช.ก็อาจเข้ามาตรวจสอบกันอย่างขนานใหญ่ เพราะที่ผ่านมาแทบไม่ได้ทำอะไรนอกจากส่งเสริมการทำดีโน่นนี่และมัวแต่ตรวจสอบเฉพาะนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่างเอาเป็นเอาตายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ควรสร้างศูนย์ธุรกิจในศูนย์ธุรกิจ ถ้าเราสามารถจัดสรรที่ดินแปลงนี้เช่น ประมาณ 400 ไร่ มาทำประโยชน์สัก 70% หรือ 280 ไร่ แบ่งที่ออกเป็นแปลง แปลงละ 8 ไร่เท่ากับสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงเทพบนถนนสีลม ก็จะตั้งอาคารขนาดใหญ่แบบธนาคารกรุงเทพได้ถึง 35 อาคาร กลายเป็นศูนย์ธุรกิจขนาดย่อมที่มีรถไฟฟ้าผ่าน ใครอยากสร้างอาคารก็มาที่นี่ ไม่ต้องกระเสือกกระสนไปสร้างที่อื่นให้เปรอะไปหมด ธุรกิจต่าง ๆ ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น การขยายเมืองอย่างไร้ทิศผิดทางก็จะลดลง นี่คือข้อดีของการพัฒนาที่ดินแปลงนี้

สรุปแล้วเราควรคิดให้รอบคอบ แฟนเฟซบุ๊กอีกคนของผม บอกว่า “อาจารย์บอกเค้าว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ประเทศไทยครับ” อย่าคิดจะเอาแต่ได้นะครับผม เห็นใจประเทศชาติและประชาชนทั้งประเทศเถอะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2015 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

"ไพศาล" โพสต์ "บิ๊กตู่"สั่งตีราคาที่ดินรถไฟมักกะสันใหม่ ย้ำราคาเช่า 3แสนล. ไม่ใช่ 3หมื่นล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

10 พฤษภาคม 2558เวลา 13:11:46 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพศาล พืชมงคล กรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี(พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ระบุว่า

ในฐานะไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน วันนี้ผมขอกราบคารวะพล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี อย่างจริงใจ สั่งการแล้วครับ นายกสั่งการในที่ประชุมวันที่ 6 พ.ค. ให้ตีราคาที่ดินรถไฟมักกะสันที่กำลังจะหวานคอแร้งใหม่!!!

1. เนื้อที่ดินจริง 497ไร่ ไม่ใช่ 427 ไร่ดังที่ผมเคยพูดนะครับเป็น prime area มีราคากว่าที่ดินพหลโยธินที่เซ็นทรัลเช่า 30 ปี ค่าเช่า 30,000 ล้าน

2. นายกสั่งให้ตีราคาทั้งแปลง 497 ไร่ ไม่ใช่ตีราคาแค่ที่ก่อสร้าง127ไร่

ขอยืนยันว่าที่รถไฟมักกะสัน 497 ไร่ ถ้าให้เช่า 99 ปีต้องมีราคา 300,000 ล้านบาท ไม่ใช่ 20,000-30,000 ล้านบาทดังที่คนเจ้าเก่ากลุ่มหนึ่งกำลังทำกันนะครับ

แล้วเราท่านจะไม่ร่วมกันขอบพระคุณท่านนายกหรือครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2015 10:06 am    Post subject: Reply with quote

ขีดเส้น มิ.ย.สรุปโอนที่มักกะสันล้างหนี้รถไฟ เปิดทางเอกชนร่วมทุนเดินรถ-ซ่อมบำรุง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
11 พฤษภาคม 2558 18:12 น. (แก้ไขล่าสุด 11 พฤษภาคม 2558 18:31 น.)


ขีดเส้น มิ.ย.สรุปโอนที่มักกะสันล้างหนี้รถไฟ เปิดทางเอกชนร่วมทุนเดินรถ-ซ่อมบำรุง

“ประจิน” เร่งแผนฟื้นฟูรถไฟ สรุปแผนโอนที่ดินมักกะสันให้คลังนำร่องเพื่อเคลียร์หนี้สินภายใน มิ.ย.นี้ พร้อมเปิดเอกชนร่วมทุนทั้งงานซ่อมบำรุง เดินรถสายสีแดง และแอร์พอร์ตลิงก์ ยันสรุปตั้งกรมการขนส่งทางรางใน พ.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมทบทวนแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า การฟื้นฟูตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อเดือน ม.ค. โดยให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินงานใน 5 แผนงาน คือ 1. ความชัดเจนของนโยบาย 2. การพัฒนากรมการขนส่งทางราง 3. การโอนสิทธิ์ที่ดินให้กระทรวงการคลังเพื่อแก้ปัญหาหนี้สิน 4. แนวทางการให้เอกชนร่วมงานกับรถไฟสายสีแดง 5. การกำกับดูแลโครงการสำคัญต่างๆ โดยในเรื่องการโอนสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลังนั้นจะนำร่องก่อนที่ดินแปลงมักกะสันจำนวน 497 ไร่ โดยคลังได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์เข้ามาร่วมกับ ร.ฟ.ท.ในการจ้างที่ปรึกษาประเมินราคาที่ดินและค่าเสียโอกาส ซึ่งได้พิจารณาวางผังในการพัฒนาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. พิพิธภัณฑ์การรถไฟ หรือขนส่งทางราง เนื้อที่ 30 ไร 2. พื้นที่สวน ประกอบด้วยบึงมักกะสัน เลนจักรยาน และพื้นที่สีเขียว เนื้อที่ 150 ไร่ 3. พื้นที่พาณิชย์ 140 ไร่ รวมกับลานจอดรถ และถนนเข้าออก โดยจะสรุปในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนที่เหลือ 170 ไร่จะพัฒนาในเฟส 2 จัดทำให้ครบที่มีกิจการเดิม ทั้งที่พัก สถานพยาบาลจะทบทวนว่าจะสร้างที่เดิมหรือย้ายออกไป

ส่วนแนวทางการให้เอกชนร่วมงานหรือร่วมลงทุนกับรถไฟนั้น ซึ่งมีโครงการรถไฟสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งมอบหมายให้ ร.ฟ.ท. และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกันพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม ส่วนแอร์พอร์ตลิงก์จะเร่งพิจารณาการดำเนินงานรถไฟฟ้า 9 ขบวนเดิม และจัดหาเพิ่มอีก 7 ขบวนว่าจะให้เอกชนเข้ามาร่วมได้อย่างไร รวมถึงเส้นทางส่วนต่อขยาย พญาไท-ดอนเมือง ว่าควรจะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ทั้งงานโครงสร้างพื้นฐาน และการเดินรถหรือไม่

งานด้านกำกับดูแลโครงการที่สำคัญ มีความคืบหน้ารถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง คือ 1. เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ซึ่งได้มีการปรับราคากลางเรียบร้อยแล้วรอประกวดราคา คาดได้ผู้รับเหมาในเดือน ก.ค. ปีนี้ 2. เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว และจะเร่งสรุปแหล่งเงินลงทุนใน ก.ค. 58 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี 3. เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (EIA) อนุมัติ แล้ว จะเร่งดำเนินการสรุปเสนอ ครม.ในช่วง ก.ค.-ส.ค.นี้ 4. ลพบุรี-ปากน้ำโพ 5. มาบกะเบา-จิระ และ 6. นครปฐม-หัวหิน อยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน

สำหรับกรมการขนส่งทางราง จะรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐาน กำหนดนโยบายและกำกับดูแล ซึ่งจะประชุมสรุปในปลายเดือน พ.ค. และสรุปจัดตั้งได้ใน ก.ย.นี้ ส่วน ร.ฟ.ท.รับผิดชอบงานเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งจะประชุมสรุปในปลายเดือน พ.ค. และสรุปจัดตั้งได้ใน ก.ย.นี้ โดยนโยบายนั้นต้องการให้ ร.ฟ.ท.ทำหน้าที่ในการเดินรถ ส่วนการซ่อมบำรุงเป็นไปได้ที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นทั้งแบบการทำสัญญาซ่อมบำรุงโดยตรง หรือให้เอกชนมาร่วมในเรื่องการลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมไปถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ด้วย พร้อมกันนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องพัฒนาบุคลากรที่มีในปัจจุบัน 14,000 คนเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อสนับสนุนการบริการในภาพรวมที่เกี่ยวกับรางขนาด 1 เมตรที่จะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น และรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตรที่จะก่อสร้างเพิ่ม รวมถึงพัฒนาโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ และมหาวิทยาลัยที่มีการสอบด้านระบบขนส่งทางราง

อย่างไรก็ตาม ตามแผนงานจะมีการจัดหาหัวรถจักร โบกี้เพิ่ม และเตรียมแผนเปลี่ยนรถจักรดีเซลเป็นรถไฟฟ้าภายในปี 2575 แก้ปัญหาจัดตัดรถไฟ และเพิ่มบริการ ติดตั้ง CCTV ปรับปรุงห้องน้ำ เพิ่มที่นั่งคนพิการจาก 5 ที่นั่งเป็น 10 ที่นั่งต่อโบกี้, ปรับปรุง 12 สถานี เป็น IT Service ภายในสิ้นปี 2558 กำหนด KPI ในการเดินรถ เช่นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จาก 14 ชม. เหลือไม่เกิน 13 ชม. หรือเฉลี่ยทุกเส้นทางเร็วขึ้น 1.30 ชม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2015 9:12 pm    Post subject: Reply with quote

ลมหายใจสุดท้ายของสวนมักกะสัน...ประชาชนคือผู้ตัดสิน


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
13 พฤษภาคม 2558 22:18 น.




“สวนมักกะสัน” ยังคงเป็นประเด็นร้อนยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย จากพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่ถูกขนานนามว่า ปอดของกรุงเทพฯ ตอนนี้มาถึงทางแยกของการจัดการในมือรัฐบาล มันอาจจะกลายเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางกรุงอีกแห่ง หรือเป็นชิ้นเค้กทางอสังหาริมทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้ในหน่วยงานรัฐ หรืออาจเป็นบางอย่างที่ล้ำค่าและสร้างประโยชน์ยั่งยืนให้กับชาวเมือง อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ควรมีส่วนร่วม

ล่าสุดหลังกลุ่ม “อยากให้มักกะสันเป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์” จุดประเด็นเคลื่อนไหวเชิงอนุรักษ์ มาถึงตอนนี้ “เครือข่ายมักกะสัน” กลายเป็นกลุ่มก้อนใหม่ที่ลุกขึ้นเดินหน้าพร้อมประกาศรับแนวร่วม โดยสามารถร่วมลงชื่อได้ที่ www.makkasan.net/vote

อาทิตย์ โกวิทวรางกูร สมาชิก “เครือข่ายมักกะสัน” พลเมืองอิสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิคราฟท์ จำกัด เผยถึงการลงชื่อครั้งนี้เป็นไปเพื่อสนับสนุนความคิดที่จะจัดการพื้นที่สวนมักกะสันโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยรวมตัวกันเป็นเครือข่ายและเคลื่อนไหวในลักษณะแตกต่างตามวิถีทางของตนเองอยู่ในลักษณะของการเคลื่อนไหวร่วมกัน

“ลักษณะของเครือข่ายมักกะสันไม่ได้เป็นองค์กรที่แข็งตัว หรือมีรูปแบบการทำงานอย่างนั้น เป็นเครือข่ายที่ยืดหยุ่นที่ให้คนที่เห็นประเด็นนี้มาร่วมกันในการขับเคลื่อน”

โดยเป้าหมายที่เกิดขึ้นนี้คือกระบวนการที่คนเมืองหรือแม้แต่คนต่างจังหวัดที่มีความเห็นกับประเด็นนี้ได้ร่วมกันออกความเห็นว่า สวนมักกะสันจะเป็นอย่างไรถึงจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้สูงที่สุด ตอบแทนคืนแก่คนในทุกระดับสังคมอย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย

“เบื้องต้นรายชื่อที่มารวมกันเราอยากจะบอกไปถึงคนที่ตัดสินใจอยู่ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าเราคิดว่ามันมีทางออกที่ดีกว่าในแบบที่รัฐบาลเสนอมา แม้ว่าแบบที่รัฐบาลเสนอมาล่าสุดมันจะมีส่วนประกอบที่ดีกว่าแบบยุคแรกที่เป็นคอมเพล็กซ์ล้วนๆ แต่มันเป็นแค่ขั้นต้น การออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่แบบนี้มันอีกหลายวิธีที่จะทำให้มูลค่ามันตอบโจทย์ทั้งชีวิตคนเมือง ทั้งนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ตอบโจทย์อะไรต่างๆ มากมาย”

โดยในส่วนของรายละเอียดเขาเผยว่าในเครือข่ายมีการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ในการถกเถียงถึงมูลค่าของพื้นที่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีปัจจัยในการเป็นที่ผลิตออกซิเจน การเป็นที่ซับน้ำฟอกน้ำในเมือง หรือสภาพแวดล้อมที่พัฒนาให้แก่เด็กและเยาวชนซึ่งมีกว่ามูลค่าทางอสังหาริมทรัยพ์ทั่วไปนับ 10 เท่า

“มิติซ้อนทับมันเยอะมาก การตีมูลค่าก็หลากหลายมาก ถ้ามองและคิดแบบเดิมก็จะอยู่ในกรอบและไม่สามารถดึงประสิทธิภาพที่มีอยู่ออกมาได้เต็มที่ แต่ไม่ได้หมายความว่าวิธีคิดของเครือข่ายมักกะสันมันจะละเลยการจัดการเรื่องรายได้หรือการอยู่รอดจนต้องให้รัฐมาอุดหนุน เราจะร่วมหาทางออกที่มันวิน-วินทั้งสองฝ่ายจริงๆ”

ทั้งนี้ แน่นอนว่าปัญหาหนึ่งที่เครือข่ายเป็นห่วงคือการเข้ามาของกลุ่มทุนต่างๆซึ่งต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ การเป็นพื้นที่สีเขียวกลางเมืองจึงเป็นวาระสำคัญที่ต้องระดมไอเดียกันเพื่อให้ได้ทางออกที่ลงตัวกับทุกฝ่าย โดยคำตอบก็มีอยู่อย่างไม่จำกัดอยู่เพียงห้างสรรพสินค้า หรือสวนสาธารณะเท่านั้น

“ตอนนี้คือทางรัฐเหมือนพยายามจะแบ่งแยกแปลงเหมือนพยายามจะแบ่งสันปันส่วนประโยชน์อะไรบางอย่างเพื่อให้มันลงตัว แต่จริงๆ การเอาโจทย์มาวางสามารถทำให้คำตอบมันกลมกลืนและได้ใช้งานอะไรที่หลากหลายมากกว่า สวน คอนเพล็ก หรือพิพิธภัณฑ์ มันยังมีศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็ก ยังมีศูนย์สำหรับเอสเอ็มอี มีอินโนเวชันเซ็นเตอร์ มันเยอะแยะมากมายเลยครับในเมืองนอกที่เขาทำกันและประเทศไทยเราก็สามารถทำได้”

ในส่วนของประเด็นที่รัฐบาลจะให้พื้นที่สวนมักกะสันในการแก้ไขปัญหาหนี้อันมีมาช้านานของรัฐบาลเองนั้น ทางเครือข่ายก็มีทางออกที่สามารถจัดการกับปัญหาได้ พร้อมทั้งพัฒนาสวนมักกะสักให้ทำประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปด้วย

“ไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่หนึ่งเวลามันมาอยู่ในเมืองเนี่ยเวลาเรามองมันมีความเป็นไปได้อีกทางหนึ่งที่มันจะเป็นประโยชน์กับประเทศนี้ เราก็อยากจะเสนอให้รัฐบาลฟังเราเหมือนกัน ถึงตอนนี้เราก็กำลังเร่งทำการระดมความคิด และในอีก 1 - 2 เดือนนี้น่าจะเสร็จสิ้น มันจะเริ่มปรากฏรูปร่างตามลำดับ”

เขามองว่าสิ่งนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิถีพลเมืองที่จะร่วมกันเป็นขบวนการเพื่อเปลี่ยนกรอบความคิดในการจัดการพื้นที่สาธารณะ

“มันจะเป็นการร่วมมือกันของรัฐ เอกชน และประชาชน โดยยังมีเครือข่ายอื่นๆ ในต่างจังหวัดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวตรงนี้ และพร้อมจะเคลื่อนไหวเพื่อจัดการพื้นที่สาธารณะของตนเอง”

เมื่อถามถึงสิ่งที่คาดหวังกับเคลื่อนไหวครั้งนี้ เขาเผยว่า ถือเป็นการทำหน้าที่ของพลเมืองให้ดีที่สุด

“เราเห็นคำตอบที่ดีกว่า เราเห็นเมืองนอกเขาทำได้ แล้วเมืองไทยก็ไม่ได้ด้อยกว่าใครในโลกนี้ในเรื่องพวกนี้แม้ว่าที่ผ่านมันจะยังไม่เคยประสบความสำเร็จก็ตาม เราคิดว่าเราจะทำให้มันสุดฝีมือ สุดกำลังที่เราทำได้ มันก็แล้วแต่และแล้วแต่ คนที่เห็นพวกเราทำงานแล้วอยากจะเข้ามาร่วมด้วยนะครับ”

//------------------

MAKE MAKKASAN REAL: หรือมักกะสันจะเป็นแค่ฝันหวานของคนกรุง?
By Phanuphan Veeravaphusit May 12, 2015 / 15:09 ICT

งานนี้ มี สงครามน้ำลายระหว่างคนเมืองขอนแก่น กะ คนกรุง เพราะ ต่างฝ่ายต่างก็ไม่มีใครยอมใครแน่ๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2015 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

8-11-57 Nation X Files ตอน ห้างฮุบ...ชุมชนรถไฟบ่อบัว
เรื่องโดย Nation TV
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 17:53 น.

ชาวบ้านชุมชนตลาดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา (บริเวณ สถานี แปดริ้วเดิมที่ กม. 63.4 ) กว่า 400 เรือน กำลังถูไล่รื้อถอนบ้านที่อาศัยอยู่มาเกือบร้อยปี กลุ่มทุนอ้างสิทธิ์เช่าที่ดินการรถไฟหวังแปรสภาพพื้นที่เป็นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ทางรอดชุมชนจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน Nation X Files ตอน ห้างฮุบชุมชนรถไฟบ่อบัว วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 21.15-21.30 น. ทางเนชั่นทีวี

รถไฟไล่รื้อชุมชนบ่อบัว ฉะเชิงเทรา
เรื่องโดย Nation TV
วันที่ 14 พฤษภาคม 2558 10:59 น.


สถานการณ์ไล่รื้อชุมชนริมทางรถไฟที่ ชุมชนบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา (บริเวณ สถานี แปดริ้วเดิมที่ กม. 63.4) ค่อนข้างตรึงเครียดเมื่อเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้ามาทำให้ชาวบ้านนำยางรถยนต์ และบังเกอร์มาปิดทางเข้าชุมชนเพื่อป้องกันการไล่รื้อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2015 4:06 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพิมพ์เขียวที่ดิน "มักกะสัน" 497 ไร่เวอร์ชั่น "รัฐบาล คสช."
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
18 พฤษภาคม 2558 เวลา 14:30:07 น.


หลังหารือมาหลายครั้ง ในที่สุดก็นิ่งเสียที สำหรับโมเดลการพัฒนาที่ดินย่าน "มักกะสัน" พื้นที่ 497 ไร่ ที่ดินไพรมแอเรียของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ที่ปล่อยร้างมานานนับปี

พัฒนาสวน-พาณิชย์-พิพิธภัณฑ์

ล่าสุดทั้ง 2 กระทรวง "คมนาคมและคลัง" เคาะโควตาจัดสรรปันส่วนการพัฒนาพื้นที่ ตามโจทย์ที่ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ให้การบ้านไว้สำหรับเป็นปอดคนกรุงเทพฯและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สร้างรายได้คืนคลังหลังรับโอนสิทธิ์การพัฒนาที่ดินระยะยาวเพื่อแลกหนี้ของร.ฟ.ท.

"พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การโอนสิทธิ์ที่ดินเพื่อชำระหนี้ให้กระทรวงการคลังนั้น จะนำร่องเป็นแห่งแรกคือ ที่ดินมักกะสัน พื้นที่ 497 ไร่ โดยกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์เข้ามาร่วมกับ ร.ฟ.ท.ว่าจ้างที่ปรึกษาประเมินราคาที่ดินและค่าเสียโอกาสที่ ร.ฟ.ท.จะได้รับ จะสรุปภายในเดือนมิถุนายนนี้

สำหรับการพัฒนาได้วางผังพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.พิพิธภัณฑ์รถไฟ พื้นที่ 30 ไร่ 2.พื้นที่สวน ประกอบด้วยบึงมักกะสัน เลนจักรยาน และพื้นที่สีเขียว พื้นที่ 150 ไร่ และ 3.พื้นที่เชิงพาณิชย์เฟสแรก 140 ไร่ รวมกับลานจอดรถ และถนนเข้าออก ส่วนอีก 177 ไร่จะพัฒนาในเฟส 2 ระยะเวลาถัดไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีที่พักและโรงพยาบาลของ ร.ฟ.ท.อยู่ กำลังจะทบทวนว่าจะคงไว้ที่เดิมหรือย้ายออกไปยังที่ใหม่ ให้ ร.ฟ.ท.ทำรายละเอียดมาเสนอต่อไป



รอประเมนราคาแลกหนี้ก้อนโต

ด้าน "กุลิศ สมบัติศิริ" ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา ให้กระทรวงคมนาคมกับกระทรวงการคลังพิจารณาที่ดินมักกะสันแปลงเดียวก่อนในการนำมาแลกหนี้ของ ร.ฟ.ท.ว่าจะลดภาระหนี้ได้เท่าไหร่หลังมีการพัฒนาตามโมเดลใหม่แล้ว หากไม่เพียงพอถึงจะมาพิจารณาที่ดินแปลงอื่นต่อไป เช่น สถานีแม่น้ำ 277 ไร่ บริเวณ กม.11 จำนวน 359 ไร่

"ที่ดินมักกะสันจะต้องแบ่งพื้นที่เป็นปอดคนกรุงเทพฯการพัฒนาเชิงพาณิชย์อาจจะได้ไม่มาก ทำให้มูลค่าโครงการลดลงตามไปด้วย ทางกรมธนารักษ์และการรถไฟฯต้องให้ที่ปรึกษามาประเมินใหม่ จะประเมินทั้ง 497 ไร่ เพื่อให้ทราบมูลค่าที่แท้จริง จะชำระหนี้ได้เท่าไหร่ ไม่พอก็หาที่แปลงใหม่เพิ่ม"

โดยเอกชนที่สนใจในการพัฒนาโครงการให้กับกรมธนารักษ์จะต้องมีการออกแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกันระหว่างพื้นที่ปอดและเชิงพาณิชย์ความตั้งใจของรัฐบาลอยากจะให้เหมือนกับโครงการมารีน่าเบย์ของประเทศสิงคโปร์

เปิดพิมพ์เขียวโมเดล คสช.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในเฟสแรกแยกการพัฒนา 3 ส่วน (ดูแผนผัง) ตามแนวคิดของ คสช. โดยพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ จำนวน 140 ไร่ จะอยู่ติดกับสถานีมักกะสันของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ปัจจุบันเป็นพื้นที่ย่านโรงงานมักกะสัน

ทั้งนี้ เมื่อหักถนนเข้าออกและลานจอดรถประมาณ 60 ไร่ จะเหลือพื้นที่พัฒนาจริง ๆ ประมาณ 80 ไร่ อยู่ที่กรมธนารักษ์จะออกแบบการพัฒนาเป็นแบบไหน ซี่งมีความเป็นไปได้สูงจะไม่เป็นอาคารที่สูงมากนัก ส่วนพื้นที่สวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์รถไฟจะอยู่บริเวณพื้นที่สับเปลี่ยนย่านโรงงานรถไฟ พื้นที่อาคารโรงงานและกลุ่มอาคารพัสดุ ส่วนเฟส 2 จะอยู่บริเวณพื้นที่นิคมรถไฟและโรงพยาบาลฉัตรไชยากร

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่การประเมินมูลค่าจะพิจารณาทั้งแปลง 497 ไร่ แม้จะไม่ได้นำที่ดินทั้งหมดมาใช้ในเชิงพาณิชย์ทั้งหมดก็ตาม เพราะถือว่าเป็นค่าเสียโอกาสให้กับ ร.ฟ.ท. จากเดิมกระทรวงการคลังจะคิดเฉพาะพื้นที่เชิงพาณิชย์เท่านั้น ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายชัดเจนในที่ประชุม คนร.เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา จะให้มีการประเมินมูลค่าที่ดินย่านมักกะสันยกแปลง

"จากนี้คมนาคมกับคลังจะต้องหารือกันถึงมูลค่าที่ดินซึ่งเดิม ร.ฟ.ท.ประเมินไว้กว่า 5-6 หมื่นล้านบาท และระยะเวลาเช่าจะเป็น 30 ปีหรือ 50 ปี ส่วนการแลกหนี้ทางคลังจะยอมเคลียร์ให้ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท จากทั้งหมด 7 หมื่นล้านบาท" แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งหมดเป็นหน้าตาผังการใช้ประโยชน์ที่ดินย่านมักกะสัน ณ เวลานี้ ไม่รู้หลังหมดเวลาของ "รัฐบาล คสช." แล้ว โมเดลนี้จะยังคงอยู่หรือล่มสลายตามไปด้วย

เพราะที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาลไหนมากำกับดูแล ร.ฟ.ท. ก็ต้องหยิบที่ดินแปลงนี้มารื้อและทบทวนใหม่ ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง ไหน ๆ รัฐบาลชุดนี้ก็มีอำนาจพิเศษอยู่ในมือแล้ว อย่าปล่อยโอกาสและเวลาให้สูญเปล่า

//-----------------------------

อีตาโสภณ พรโชคชัย เปิดศึกกับ Makkasan Hope ชนิด ที่ จ้องจบแบบ Bitter End แน่นอน
ผู้ว่าฯ ลอนดอน ไม่ยอมเอามักกะสันไปทำสวน
โดย : ดร.โสภณ พรโชคชัย
กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2558, 01:00

จดหมายถึงนายก: อย่าให้ใครปล้นที่ดินรถไฟมักกะสัน 490 ไร่ไปทำสวน
14 พฤษภาคม 2015 เวลา 13:37 น.
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ต้านการปล้นที่รถไฟไปทำสวน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2015 11:59 am    Post subject: Reply with quote

การรถไฟปรับแผนล้างหนี้แสนล้าน เปิดประมูล 277ไร่ "ริมเจ้าพระยา"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 พฤษภาคม 2558 เวลา 10:12:33 น.


เปิดแผนล้างหนี้การรถไฟฯ ล้างไพ่แผนพัฒนา 3 โปรเจ็กต์ยักต์ ล้มคอมเพล็กซ์แสนล้าน "มักกะสัน-กม.11" ผุดโมเดลเพื่อสังคมกึ่งเชิงพาณิชย์ เตรียมเปิดประมูลสถานีแม่น้ำ 277 ไร่ ดึงเอกชนพัฒนาที่ต่างจังหวัดรับรถไฟไทย-จีน ตั้งเป้าหารายได้เพิ่ม 10%

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปีนี้จะเร่งนำที่ดิน 3 แปลงใหญ่ใจกลางเมืองมาพัฒนาสร้างรายได้ระยะยาว 30 ปี เพื่อปลดภาระหนี้ที่มีอยู่ 1 แสนล้านบาท และตั้งเป้าให้มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 10% จากปัจจุบันมีรายได้ปีละ 2,200 ล้านบาท

"การหารายได้จากที่ดินทำเลทองเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูกิจการ การรถไฟฯ มีที่หลายแปลงสวย ๆ ที่เป็นไฮไลต์สามารถนำมาสร้างรายได้ให้องค์กรได้"

แปลงแรกคือ ย่านมักกะสัน 497 ไร่ที่ได้ข้อสรุปแล้วจะยกให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์เช่าพัฒนาระยะยาว เพื่อแลกหนี้ให้การรถไฟฯ จำนวนหนึ่ง ล่าสุดอยู่ระหว่างประเมินมูลค่าที่ดินและค่าเสียโอกาสที่การรถไฟฯจะได้รับ คาดได้ข้อสรุปต้นเดือนมิถุนายนนี้

"ที่ดินแปลงนี้รัฐบาลชุดปัจจุบันจะพัฒนา 3 ส่วน โดยเน้นสวนสาธารณะเป็นหลัก เพื่อให้เป็นปอดคนกรุง พร้อมสร้างพิพิธภัณฑ์รถไฟและพาณิชยกรรม เรามีคณะทำงานร่วมกับกระทรวงการคลัง กำลังว่าจ้างที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ว่าคลังจะเช่ากี่ปีถึงจะคุ้ม" นายวุฒิชาติกล่าวและว่า

แปลงที่ 2 บริเวณสถานีแม่น้ำย่านคลองเตย 277 ไร่ ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา จะเปิดให้เอกชนเช่าระยะยาว ขณะนี้รอผลศึกษาที่เคยทำแล้วมาพิจารณาอีกครั้ง ล่าสุดมีบริษัทต่างชาติจากประเทศสิงคโปร์สนใจจะมาลงทุนพัฒนาโครงการ อย่างไรก็ตาม การรถไฟฯต้องเปิดประมูลตามขั้นตอนทั่วไป

และแปลงที่ 3 บริเวณ กม.11 ทำเลด้านหลังอาคารศูนย์พลังงานแห่งชาติ (เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์) เนื้อที่ 359 ไร่ ล่าสุด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีนโยบายจะให้พัฒนาพื้นที่บางส่วนเป็นสวัสดิการของคนรถไฟ รูปแบบคล้ายกับวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย ตลาด พื้นที่สีเขียว สันทนาการ โรงพยาบาลขนาด 300-500 เตียง

โดยจะย้ายโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร จากมักกะสันมาอยู่ที่นี่ด้วย และให้เอกชนร่วมพัฒนา รวมถึงอาคารอยู่อาศัยรองรับพนักงานรถไฟที่ กม.11 และรับส่วนที่จะโยกย้ายมาใหม่จากมักกะสันและจากสถานีหัวลำโพง ซึ่งในอนาคตจะเดินรถน้อยลง หลังจากสถานีกลางบางซื่อก่อสร้างเสร็จ

"ส่วนโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟจะย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีที่ดินรองรับได้ประมาณ 300- 400 ไร่ เช่น กาญจนบุรี พื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อสร้างศูนย์พัฒนาระบบรางและศูนย์ฝึกอบรมไปด้วยตามนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม"

นายวุฒิชาติกล่าวว่า ยุคนี้จะไม่เน้นพัฒนาเชิงพาณิชย์มากนัก จากแผนที่เคยจะลงทุนสร้างเป็นคอมเพล็กซ์และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ตามรูปแบบเดิมที่การรถไฟฯ ศึกษาไว้ ซึ่งมีมูลค่าโครงการถึง1.33 แสนล้านบาท ซึ่งการพัฒนายังทำอยู่ต่อไป แต่จัดลำดับความสำคัญของแผนใหม่ในแต่ละโซน ประกอบด้วย
1.พื้นที่เพื่อนันทนาการ
2.พื้นที่เพื่อรองรับพนักงาน ร.ฟ.ท.ที่ทำการส่วนราชการ
3.พื้นที่กลุ่มอาคารสำนักงานและพาณิชยกรรม
4.พื้นที่สวนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง
5.พื้นที่กลุ่มอาคารและสำนักงานด้านพลังงานแห่งชาติและ
6.พื้นที่ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า และโรงแรม

จากสภาพปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณนี้หลายส่วน มีทั้งเป็นที่อยู่อาศัยพนักงาน ประกอบด้วยแฟลตพักอาศัย 983 ครอบครัว บ้านเดี่ยว 72 ครอบครัว และเรือนแถว 876 ครอบครัว ที่ทำการลานอเนกประสงค์ อาคารเรียนสำหรับเด็กอ่อน คลับเฮาส์ สนามซ้อมกอล์ฟพื้นที่ 35 ไร่ ฝ่ายบริหารงานบุคคลด้านฝึกอบรม บริเวณสำนักงานฝึกอบรมและพัฒนา รวมทั้งโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟพื้นที่ 58 ไร่

"ขณะเดียวกันเรามีแผนจะนำที่ด้านข้างสถานีบางซื่อ 70-80 ไร่ ให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาเชิงพาณิชย์เหมือนต่างประเทศ เพื่อรองรับรถไฟสายสีแดงที่จะเปิดใช้ในอนาคตอันใกล้ รวมถึงรถไฟระบบต่างๆ เพราะบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางเชื่อมกรุงเทพฯ ปริมณฑลและภูมิภาค"

นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.เตรียมนำที่ดินรอบสถานีในจังหวัดใหญ่ ๆ ที่มีศักยภาพมาให้เอกชนเช่าระยะยาวด้วย เช่น สถานีเชียงใหม่ สถานีอุบลราชธานี ฯลฯ คาดว่าจะได้รับความสนใจเนื่องจากทำเลมีศักยภาพ พร้อมจะนำที่ดินบางส่วนในต่างจังหวัดมาพัฒนาเป็นสถานีบรรจุและแยกสินค้า (ICD) และศูนย์รวบรวมสินค้าระบบตู้คอนเทนเนอร์ (CY) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขนส่งสินค้า รูปแบบอาจจะร่วมกับเอกชน เช่น สถานีนาทา จ.หนองคาย เนื้อที่กว่า 200 ไร่ จะพัฒนาเป็นซีวาย รองรับรถไฟไทย-จีน จากเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุดและแก่งคอย-กรุงเทพฯ รวมถึงที่ดินสถานีองครักษ์และศาลายา


คุณ Yuiji แกแสดงออกมาเป็นภาพดั่งนี้
Click on the image for full size
http://thinkofliving.com/2015/05/25/%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F/


Last edited by Wisarut on 01/06/2015 2:51 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 113, 114, 115 ... 198, 199, 200  Next
Page 114 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©