Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262723
ทั้งหมด:13574003
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2015 5:33 pm    Post subject: Reply with quote


มักกะสันบนแพร่งอันตราย - สวนสาธาณะ vs. ศูนย์การค้า
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=o1d2uSnEZXU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2015 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

4ยักษ์บริหารท่าแหลมฉบังแห่ซื้อซองICDลาดกระบังคึกคัก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 กรกฎาคม 2558 เวลา 13:04:52 น.


นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโครงการไอซีดี เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้มีบริษัทที่มาขอซื้อซอง เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการสรรหาเอกชนเพื่อรับสัมปทานเป็นผู้ประกอบการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ที่ลาดกระบังแล้ว จำนวน 5 ราย ได้แก่
1.บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS) ในเครือสายการเดินเรือเมอส์ก
2.บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO)
3.บริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (LCIT)
4.บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด และ
5.บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และยังเหลือเวลาซื้อซองอีกประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ เท่าที่ทราบความเคลื่อนไหวแต่ละรายอยู่ระหว่างหาพันธมิตรมาร่วมมือกัน

แหล่งข่าวจากวงการโลจิสติกส์ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ในวงการธุรกิจสายการเดินเรือระหว่างประเทศอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรที่จะดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งต้องมีการเจรจาตกลงกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเงินลงทุนคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทในการปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด การบริหารงานต้องมีนโยบายไปในทิศทางเดียวกัน การบริหารงานร่วมกันตรงส่วนกลางจะตกลงกันอย่างไร สถานีแต่ละแห่งที่มีจะยุบรวมอย่างไร รายละเอียดปลีกย่อยมีค่อนข้างมาก ดังนั้น การเจรจาต้องใช้เวลาพอสมควร

สำหรับผู้มาซื้อซอง 5 รายนั้น 4 รายแรกเป็นที่รู้จักกันดี เพราะบริหารท่าเรือแหลมฉบังอยู่ และ 2 ราย คือ บริษัท สยามชอร์ไซด์ และ ESCO ถือเป็นรายเก่าที่บริหารไอซีดีแต่ที่ค่อนข้างแปลกใจคือ บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งไม่มีใครทราบว่ามาจากไหน มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าน่าจะเป็นนอมินีของบริษัทใหญ่ที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัว

รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจ เปิดเผยว่า บริษัท วัฒนาสุข เอ็นจิเนียริ่งจำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเหล็กสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ แผงโซลาร์เซลล์ โดยมีนายสุเมธ บุญบรรดารสุข เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ มีที่ตั้งสำนักงานตั้งอยู่แถวเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

หากค้นข้อมูลลึกลงไปจะพบว่า นายสุเมธ มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ บริษัท ไทย ยามาโมโต จำกัด ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการค้าส่ง ท่อยางอุตสาหกรรม ยาง วงแหวนลูกสูบ เครื่องมือการเกษตร ค้าส่ง เครื่องจักร เครื่องยนต์ทุกชนิด เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 51% และนักลงทุนญี่ปุ่น คือ บริษัท DO-YAMAMOTO CO.,LTD. 44.50% และนาย MASAO FUJISAWA 4.50%

บริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ยาง ฝายยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติกทุกชนิด ผู้นำเข้าล้อรถเข็น ล้อเครื่องบิน ผลิตภัณฑ์ยางและอุปกรณ์สวน-นำเข้า, ค้าปลีก, ค้าส่ง โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น ได้แก่ นาย สุเมธ บุญบรรดารสุข 25% 2.นายสุวัฒน์ บุญบรรดารสุข 25% 3.นางวิมล บุญบรรดารสุข15% 4.นายอรรณพ สิทธาธิการเวชช์15% 5.นายบัญชา บุญบรรดารสุข 5% 6.นางสาวสุชาดา บุญบรรดารสุข 5% 7. นางสุดาวดี สิทธาธิการเวชช์ 5% 8.นางสุดาวรรณ ทองสีนาค 5%

บริษัท เอ็นซีอาร์-ทีอาร์บี อินดัสตรี้ จำกัด ทำธุรกิจผลิตท่อพลาสติก พีวีซี 1.บริษัท โคลเมค จำกัด จากอิตาลี 50% 2.บริษัท วัฒนาสุข อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 40% 3.นายสุทัศน์ ทวีเจริญสุข 10% 4.นายมงคล บุญบรรดารสุข 0.0000% 5.นางสาวสุดาวรรณ บุญบรรดารสุข 0.0000% 6.นายสุเมธ บุญบรรดารสุข 0.0000% 7.นายสุวัฒน์ บุญบรรดารสุข 0.0000% 8.นายอรรณพ สิทธาธิการเวชช์0.0000%

บริษัท ฟูจิ บลาสเทค (ประเทศไทย) จำกัด ทำธุรกิจเกี่ยวกับจำหน่ายเครื่องจักรขัดสี ขัดสนิม ลอกสนิมรวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ เป็นการร่วมทุนระหว่าง 1.บริษัท ฟูจิ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 49.00% 2.บริษัท เอ็มเอชซีบี คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 31.00% 3. บริษัท ไทย ยามาโมโตจำกัด 20.00%

บริษัท เอ็น ซี บี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำธุรกิจให้เช่าสำนักงาน

นอกจากนี้ นายสุเมธยังเข้าไปกรรมการในบริษัท ยูไนเต็ด ออฟชอร์ เอวิเอชั่น จำกัด ทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับขนส่งคน สิ่งของโดยเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งมีผู้ถือหุ้น ได้แก่ 1.บริษัท นทลิน จำกัด 99.9998% 2.นางสาวจารุวรรณ คังคะมณี 0.0001% และ 3.นางสาว สภัคสรณ์ วัชร์ธัญนิกุล 0.0001%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2015 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

มักกะสันบนแพร่งอันตราย - สวนสาธาณะ vs. ศูนย์การค้า
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=o1d2uSnEZXU


มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.1 เปิดขุมทรัพย์ รฟท. งัดทำเลทองล้างหนี้ 8 หมื่นล้าน
โดย ไทยรัฐออนไลน์
18 กรกฎาคม 2558 05:30



จะเอา "สวนสาธารณะ" หรือ "คอมเพล็กซ์"!!? เป็นคำถามที่กวนใจคนเมืองย่านมักกะสันมาพักใหญ่ เมื่อ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตัดสินใจยกที่ดินทำเลทองย่านมักกะสัน ให้กับ กระทรวงการคลังเพื่อล้างหนี้จำนวนมหาศาลที่หมักหมมมายาวนาน โดยหวังว่าจะให้ กระทรวงการคลังใช้พื้นที่เป็น "มักกะสันคอมเพล็กซ์" สร้างศูนย์การค้าครบวงจร...แต่รัฐบาล คสช. ต้องการ "คืนความสุข" อยากจะเนรมิตให้เป็น "ปอด" แห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ทำให้มีมวลชนจากภาคประชาชนหลายส่วนร่วมด้วยช่วยสนับสนุน

วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จะพาไปย้อนดูเรื่องราวที่มาที่ไปของการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้การรถไฟฯ ถึงมีภาระหนี้มหาศาลเช่นนี้? ที่ดินที่การรถไฟถือครองอยู่นั้น มีที่ไหนบ้าง? แล้วแต่ละพื้นที่ใช้ทำประโยชน์อะไรไปแล้วบ้าง? รวมถึงจะต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหน จึงจะสามารถล้างหนี้ให้การรถไฟฯ ได้? ทุกคำถามมีคำตอบ

ที่ผ่านมา "หนี้" ของการรถไฟฯ ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือแล้วหลายยุคหลายสมัย เพราะตัวเลขขาดทุนสะสมมานาน มูลค่ามากกว่า 8 หมื่นล้านบาท กระทั่งมาถึงสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม ปิ๊งไอเดียที่จะล้างหนี้สินการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนำ 'พื้นที่มักกะสัน' ที่ดินทำเลทองมาปัดฝุ่นและยกให้กับกระทรวงการคลัง กระทั่ง ในยุคสมัยของรัฐบาลปัจจุบันที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างจริงจังอีกครั้ง


โรงงานมักกะสัน เป็นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟไทย
เปิดขุมทรัพย์ รฟท. ถือครองที่ดินกว่า 2.34 แสนไร่!

จากข้อมูลหน่วยธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย พบว่า การรถไฟฯ มีที่ดินที่เป็นทรัพย์สิน กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 234,976 ไร่ แบ่งเป็นที่ดินเพื่อการเดินรถ 1.98 แสนไร่ ได้แก่ พื้นที่เขตทาง 1.89 แสนไร่ ย่านสถานี 5.3 พันไร่ และบ้านพัก 3.7 พันไร่ ที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ 3.63 หมื่นไร่ ได้แก่ พื้นที่จัดสรรประโยชน์ 3.44 หมื่นไร่ ย่านพหลโยธิน 1.07 พันไร่ และมักกะสัน 745 ไร่ ทั้งนี้ ที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถนั้น สามารถจำแนกที่ดินตามภูมิภาคทั่วประเทศ ออกเป็น สายตะวันออกเฉียงเหนือ 9.03 พันไร่ สายตะวันออก 4.95 พันไร่ สายเหนือ 4.30 พันไร่ สายใต้ 1.51 หมื่นไร่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.82 พันไร่


พื้นที่มักกะสัน บริเวณโรงงานมักกะสัน
รถไฟฟรี ตัวอย่างโครงการสร้างหนี้ ร.ฟ.ท.

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้สอบถามไปยัง นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะให้แจกแจงที่มาหนี้สินทั้งหมดนั้น ตนไม่สามารถพูดได้ เนื่องจากเพิ่งเข้ามาบริหารจัดการการรถไฟฯ ได้ไม่นาน แต่หากพูดถึงภาพรวม ก็พบว่ามีหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินการของ ร.ฟ.ท. เอง และหนี้ที่เกิดจากนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการรถไฟฟรี เป็นต้น


นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวต่อว่า ระยะเวลาการจัดการปัญหาหนี้สิน การคืนทุน หรือการสร้างรายได้นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ ส่วนที่ดินมักกะสัน ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการประเมินมูลค่าที่ดิน รวมถึงยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ออกมารูปแบบใด จึงทำให้ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ แต่จากนโยบายรัฐบาล คาดว่าพื้นที่มักกะสัน จะถูกสร้างเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของ กทม. โดยจะมีการแบ่งสัดส่วนเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ พิพิธภัณฑ์ และพื้นที่เชิงพาณิชย์

ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านเข้าไปบุกรุกจับจอง โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ หรือบางส่วนถูกสร้างเป็นที่พักของพนักงานการรถไฟฯ นายวุฒิชาติ กล่าวว่า หากมีการดำเนินการจริง โรงพยาบาลดังกล่าวก็ต้องถูกรื้อ ที่พักพนักงาน ทางการรถไฟฯ จะหาพื้นที่ใหม่ให้ ส่วนประชาชนที่อาศัยและบุกรุกพื้นที่ ทางการรถไฟฯ คงต้องให้ย้ายออกไปอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป


โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร ย่านมักกะสัน

ชุมชนมักกะสัน ย่านบ้านพักพนักงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย
"จากการเจรจา ระหว่าง การรถไฟฯ กรมธนารักษ์ ถึงเรื่องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อสรุปในการจัดสรรพื้นที่เร็วๆ นี้ เจตนาการเปลี่ยนพื้นที่มักกะสันให้กลายเป็นปอดของกรุงเทพมหานคร เพื่อหวังให้ชาวกรุงเทพฯ มีสวนสาธารณะในการใช้ประโยชน์ สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ ได้ศึกษาจากพิพิธภัณฑ์การรถไฟฯ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมกับประชาชนทุกคน" นายวุฒิชาติ กล่าว

ขณะที่ นายพีระเดช หนูขวัญ ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและการบัญชี การรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า การรถไฟมีภาระหนี้สินทั้งหมด 85,240 ล้านบาท เกิดจากการขาดทุนสะสมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เนื่องจากการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีหนี้สินจากการกู้ยืมเงิน เพราะเงินที่รัฐบาลชดเชยให้มานั้น ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย นอกจากนี้ การถไฟยังมีค่าใช้จ่ายในการดูแลซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น สัญญาณไฟ เครื่องจักร รางรถไฟ และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับรถไฟทั้งหมด

ด้าน นางสิริมา หิรัญเจริญเวช ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย แจงว่า หนี้สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งหมด 8.5 หมื่นล้านบาทนั้น มีหนี้ของแอร์พอร์ตลิงก์ อยู่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท และหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินการของการรถไฟ 5 หมื่นล้านบาท


ชุมชนมักกะสัน พื้นที่เขตการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ กล่าวต่อว่า จากการศึกษาข้อมูลที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในบริเวณกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า มีที่ดินทั้งหมดประมาณ 3.29 พันไร่ โดยแบ่งออกเป็นแปลงใหญ่ จำนวน 3 แปลง ได้แก่ 1. ย่านพหลโยธิน 2.3 พันไร่ อาทิ เซ็นทรัลลาดพร้าว จำนวน 47 ไร่ ตลาดนัดจตุจักร จำนวน 69 ไร่ และย่าน กม.11 จำนวน 359 ไร่ เป็นต้น ซึ่งย่านพหลโยธินจะใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน โดยมีแหล่งที่พักของพนักงานการรถไฟ เชิงพาณิชย์ รวมถึงสวนสาธารณะ จำนวน 730 ไร่ อาทิ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สวนวชิรเบญจทัศ และสวนจตุจักร 2. ย่านมักกะสัน 730 ไร่ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับกรมธนารักษ์ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน เพื่อแลกหนี้ การรถไฟ 3. ย่านแม่น้ำ 260 ไร่ จะสร้างในลักษณะการพัฒนาสังคมแบบสมดุลและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม อาทิ แหล่งชุมชน และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ จะเป็นลักษณะของที่ดินรายย่อย เช่น คลองตัน-หัวหมาก จำนวน 50-80 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือจะเป็นเขตทางรางรถไฟในกรุงเทพมหานคร โดยมีความยาวประมาณ 20-40 เมตร


ถนนย่านชุมชนมักกะสัน
ส่วนพื้นที่มักกะสัน มีเนื้อที่ทั้งหมด 730 ไร่ แบ่งเป็นบึงมักกะสัน 130 ไร่ อาคารแอร์พอร์ตลิงก์ 20 กว่าไร่ ถนนสาธารณะ และโครงการจ่ายประโยชน์ที่จะทำเป็นทางรถไฟเชื่อมต่อสายตะวันออกอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งส่วนที่เหลือจะเป็นพื้นที่มักกะสันที่นำมาทำเป็นโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 497 ไร่ โดยแบ่งเป็นเฟสแรก 320 ไร่ เพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์ 30 ไร่ และพื้นที่สีเขียว 150 ไร่ รวมถึงพื้นที่บูรณาการรวม ได้แก่ พื้นที่สาธารณะ การจราจร และพื้นที่เชิงพาณิชย์ อีก 140 ไร่ และเฟสที่ 2 มี 177 ไร่ จะดำเนินการภายหลังเริ่มเฟส 1 ไปแล้วประมาณ 2 ปีครึ่ง ซึ่งระยะของการเช่าที่ดินนั้นยังคงไร้ข้อสรุป

กระนั้น ทีมข่าวฯ จึงสอบถามถึงรายละเอียดค่าเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับคำตอบเพียงสั้นๆ ว่า ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลการทำสัญญาร่วมกันกับลูกค้า ซึ่งหากเผยแพร่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจลูกค้า

นักประเมินที่ดิน ชี้ ที่ดินมักกะสัน มีมูลค่ากว่าแสนล้าน!!

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า พื้นที่มักกะสันควรจะทำเป็นศูนย์การคมนาคม ที่มีทั้งโรงแรม ศูนย์การค้า สำนักงาน และการติดต่อสื่อสารต่างๆ โดยเป็นลักษณะเชิงพาณิชย์ 60% เพื่อการสร้างรายได้ให้การรถไฟฯ นำมาพัฒนาหน่วยงานให้ดีขึ้น ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้ประเมินมูลค่าที่ดินของการรถไฟฯ ในบริเวณกรุงเทพมหานคร ว่า จากการประเมินที่ดินมักกะสัน จำนวน 497 ไร่ คาดว่าน่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 83,000-110,000 ล้านบาท สวนลุมพินี 3.38 แสนล้านบาท เซ็นทรัลลาดพร้าว จำนวน 60 ไร่ รวมอาคาร มีระยะการเช่า 20 ปี ราคาอยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท ตลาดนัดจตุจักร ตารางวาละ 1 ล้านบาท ถนนรัชดาภิเษก ตารางวาละ 5-6 แสนบาท ซึ่งข้อมูลราคาประเมินที่ดินบางพื้นที่นั้น ไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากมีการว่าจ้างให้ประเมิน ทั้งนี้ มูลค่าจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ โดยหากนำพื้นที่มักกะสันมาทำสวนสาธารณะ คาดว่าจะมีรายได้ต่อปีไม่มาก


ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
นอกจากนี้ ดร.โสภณ ได้เสนอทางออกของหนี้สินการรถไฟแห่งประเทศไทยว่า พื้นที่มักกะสันควรสร้างเป็นลักษณะเชิงพาณิชย์ ให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้างสวนสาธารณะไว้บนตึกหรืออาคารก็ยังได้ เนื่องจากสวนในลักษณะนี้นั้น สามารถผลิตออกซิเจนได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญ การดำเนินการด้วยวิธีนี้จะไม่สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐอีกด้วย

ไร้ข้อสรุป! สั่งเพิ่มเวลาเช่าที่ดินมักกะสันเป็น 99 ปี

หลังจากทราบว่า เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมธนารักษ์ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับความคืบหน้าการประเมินที่ดินมักกะสัน โดยมี นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน

กระนั้น ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงต่อสายตรงไปยัง นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เพื่อสอบถามถึงผลการประเมินที่ดินมักกะสัน ได้รับคำตอบจากทางเลขาฯ นายชาติชายว่า จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เนื่องจากกระทรวงการคลังต้องการพิจารณาและปรับแก้เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องระยะการเช่าที่ดิน จาก 60 ปี เป็น 99 ปี โดยต่อสัญญา 2 ครั้ง ครั้งละ 50 ปี เพื่อให้มีระยะการเช่าที่นานขึ้น จะส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งนี้ การเลื่อนการสรุปผลการประเมินมูลค่าที่ดิน จะไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการที่จะเกิดขึ้น


นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม
ขณะที่ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า จากการประชุมเกี่ยวกับราคาการประเมินมูลค่าที่ดินมักกะสันครั้งที่ผ่านมา ที่ปรึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทยเสนอค่าจัดสรรผลประโยชน์ อยู่ที่ระยะการเช่า 60 ปี มูลค่า 6.1 หมื่นล้านบาท ที่ปรึกษากระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์ เสนอเข้ามาที่ 5.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่แตกต่างกันมาก ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา เพื่อรอการนัดหมายประชุมหารือร่วมกันอีกครั้ง โดยจะต้องคำนึงราคาประเมินอยู่ที่ระยะการเช่า 99 ปี


นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ ทีมข่าวฯ ได้ต่อสายตรงไปยัง นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับคำตอบเพียงว่า การสรุปราคาประเมินมูลค่าที่ดิน จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้

ส่อง! ที่มารายได้การถไฟฯ ปี 2558

ทั้งนี้ จากข้อมูลการประมาณการรายได้ การบริหารทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปี 2558 มีรายได้ทั้งหมด 9,684.22 ล้านบาท ซึ่งได้แก่ ค่าเช่าที่ดินเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณา 39.11 ล้านบาท ค่าเช่าอาคาร 125.53 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดิน 1.96 พันล้านบาท ค่าเช่าสิทธิบริเวณสถานี (บส.) 37.71 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 120.42 ล้านบาท โครงการขนส่งน้ำมันทางท่อ 93.65 ล้านบาท ค่าเช่าโรงแรม 6.19 ล้านบาท รายได้จากสนามซ้อมกอล์ฟ 12 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ อีก 50 ล้านบาท

ในตอนต่อไป ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ลงพื้นที่เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่มักกะสัน และตัวแทนกลุ่มเครือข่ายมักกะสัน ว่ามีความคิดเห็นต่อการโครงการ "มักกะสัน สวนสร้างสรรค์" อย่างไร รวมถึงทำไมต้องนำที่ดินมักกะสันมาล้างหนี้ ในวันพรุ่งนี้ โปรดติดตาม!

//--------------------


มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.2 คำตอบจากชาวกรุง มักกะสันแบบไหนที่พอใจ
โดย ไทยรัฐออนไลน์

19 กรกฎาคม 2558 05:30




มักกะสันที่ดินทำเลทอง กลายมาเป็นข้อถกเถียงอีกครั้ง หลังบอร์ดการรถไฟไทยตัดสินใจยกที่ดินมักกะสันให้กระทรวงการคลังเพื่อหวังล้างหนี้ โดยเดิมทีที่ดินผืนนี้จะถูกนำไปพัฒนาให้กลายเป็นคอมเพล็กซ์ แต่มีเสียงคัดค้านให้นำมาพัฒนาเป็นปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ

หลังจาก ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ นำเสนอข่าว มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.1 เปิดขุมทรัพย์ รฟท. งัดทำเลทองล้างหนี้ 8 หมื่นล้าน ไปแล้ว ในตอนนี้ทีมข่าวฯ ได้มีโอกาสลงพื้นที่ย่านมักกะสัน ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ พร้อมสำรวจภูมิทัศน์โดยรอบ ว่า ทำไมมักกะสันถึงเป็นที่หมายปองของคนหลายกลุ่ม พร้อมเปิดใจชาวชุมชนมักกะสัน ว่าแท้จริงต้องการ “สวนสาธารณะ” หรือ “ศูนย์การค้า” กันแน่? สุดท้ายโครงการมักกะสันจะออกมาในรูปแบบใด? ติดตามได้ที่นี่


ชุมชนย่านมักกะสัน ถนนนิคมมักกะสัน
ทำไมต้องมักกะสัน?!

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เผยว่า เหตุผลที่พื้นที่มักกะสันถูกเลือกให้มาล้างหนี้สินให้กับ ร.ฟ.ท. เนื่องจากเป็นไปตามความต้องการของนายกรัฐมนตรี ถ้าจะถามถึงเหตุผลที่แท้จริงคงต้องสอบถามกับท่านโดยตรง แต่ส่วนตัวคิดเห็นว่า พื้นที่มักกะสันถือเป็นที่ดินทำเลทอง เป็นพื้นที่ตั้งที่ดีและสามารถทำประโยชน์ในเชิงสาธารณะ รวมถึงเชิงพาณิชย์ได้อย่างครอบคลุม


นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวอีกว่า ภายหลังจากการประชุมที่ผ่านมา โครงการมักกะสัน ยังคงมีรูปแบบเป็นไปตามพิมพ์เขียวของ คสช. ที่จะจัดสรรเป็นการสร้างพิพิธภัณฑ์รถไฟ จำนวน 30 ไร่ และอีก 150 ไร่ เป็นสวนสาธารณะตามที่ได้ระบุไว้ในพิมพ์เขียว

ยังไม่วางแผนใดๆ ทุกอย่างต้องผ่านการหารือ อยู่หรือไป ต้องติดตาม!

ทั้งนี้ พื้นที่มักกะสันไม่ได้เป็นเพียงที่ตั้งของโรงซ่อมรถไฟ หรือที่ดินว่างเปล่า แต่ยังคงประกอบไปด้วยส่วนของชุมชนและโรงพยาบาล ดังนั้น เรื่องของการปรับปรุงและรื้อถอน จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ


บ้านพักพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย

บ้านพักชาวบ้าน ในพื้นที่มักกะสัน
นายวุฒิชาติ แสดงทรรศนะต่อเรื่องดังกล่าวว่า เนื่องจากยังไม่มีแผนและข้อสรุปที่ชัดเจน จึงยังไม่สามารถที่จะวางแผนปรับปรุงได้ เนื่องจากต้องมีเรื่องของการส่งมอบพื้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่ทั้งนี้ ได้มีการเข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงผู้ที่บุกรุกเข้ามาจับจองพื้นที่อยู่อาศัยบ้างแล้ว เบื้องต้นได้มีการเข้าไปพูดคุย เกี่ยวกับการช่วยเหลือและจัดหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งสำหรับการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ จะต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันในภายหลัง ส่วนสำหรับที่พักของพนักงานการรถไฟ รวมไปถึงตัวพนักงานเอง ทางศูนย์ซ่อมมีการคิดล่วงหน้าแล้วว่า จะให้ย้ายไปอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

“สำหรับโครงการมักกะสันยังไม่มีข้อสรุปว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นการจะเจาะลึกในส่วนของรายละเอียดด้านต่างๆ นั้น ก็ยังไม่สามารถทำได้ชัดเจนเช่นกัน เนื่องจากตอนนี้สามารถทำได้แค่เพียงสำรวจไปก่อน” นายวุฒิชาติ กล่าว

ดีขึ้นแต่ยังไม่ดีพอ มักกะสันเป็นได้มากกว่านี้

ด้าน นายอาทิตย์ โกวิทวรางกูล หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายมักกะสัน แสดงทรรศนะต่อโครงการพิมพ์เขียวมักกะสันเวอร์ชั่น คสช. ว่า หากเปรียบเทียบกับก่อนหน้านี้ที่มีโครงการทำเป็นคอมเพล็กซ์ถือว่า เปลี่ยนไปในลักษณะที่ดีขึ้น แต่หากย้อนกลับไปฟังนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หรือ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่กล่าวไว้ว่า ต้องการให้มักกะสันกลายเป็นปอดของกรุงเทพมหานคร และมีพื้นที่เชิงพาณิชย์เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ตนมองว่า โครงการที่ออกมานั้น ไม่ตรงเป้า เนื่องจากการแบ่งสัดส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ มีเนื้อที่มากถึง 317 ไร่ เทียบเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด เท่ากับว่าจะเหลือพื้นที่ไว้สำหรับสร้างสวนสาธารณะเพียง 150 ไร่ ซึ่งเทียบได้กับสวนระดับย่านเท่านั้น ดังนั้น มองว่าการกระทำเช่นนี้ เสมือนเป็นเพียงการประนีประนอมให้กันมากกว่า


บริเวณชุมชนย่านมักกะสัน พื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการสร้างสิ่งต่างๆ ลงพื้นที่มักกะสันนั้น ควรตั้งโจทย์ไว้ก่อนว่า จะมีรูปแบบอย่างไร ต้องใช้งบประมาณเท่าไร จึงจะสามารถนำไปต่อยอดได้ว่า ในพื้นที่อันจำกัดเช่นนี้ จะสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด สามารถสร้างเป็นอะไรได้บ้าง ซึ่ง ศูนย์การค้า กับสวนสาธารณะ สามารถนำมารวมกันได้ แต่แผนการที่ คสช. นำมาใช้ในครั้งนี้ เป็นวิธีที่ไม่สามารถทำประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนได้ อีกทั้งยังจะสูญเสียความเป็นมักกะสันที่แท้จริงอีกด้วย

สวนสร้างสรรค์ในฝันของคนกรุง

นอกจากนี้ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเครือข่ายมักกะสัน ยังแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า รูปแบบที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่มักกะสัน จะต้องประกอบด้วย พื้นที่สีเขียวและสิ่งปลูกสร้างที่สามารถอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน หากจะเลือกสร้างเป็นคอมเพล็กซ์ ศูนย์การค้า หรือพิพิธภัณฑ์ ก็ควรนำจุดเด่นของดีเมืองไทยมาช่วยทำให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น เช่น อาหารไทย สินค้า SME หรือ OTOP ออกมาโชว์นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของร้านค้า หรือการแสดงโชว์ ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะหลั่งไหลเข้ามา ได้เห็นและสัมผัส ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปเป็นแหล่งรวมของธุรกิจ หรือการค้าพาณิชย์เชิงสร้างสรรค์ได้ด้วย โดยจะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ SME และภาคเอกชน

“ไม่ว่าสวนมักกะสันจะออกมาในรูปแบบใด หรือทิศทางใด จะต้องมีเสียงคัดค้านจากผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ต้องการทั้งสวนสาธารณะและศูนย์การค้า ดังนั้น จะต้องมีการเข้าไปพูดคุยเจรจาร่วมกับชาวบ้านเหล่านั้นเสียก่อน ว่า ชาวบ้านมองวิวัฒนาการของพื้นที่ให้เป็นไปเช่นไร เพื่อจะได้แก้ปัญหาหรือเสนอทางเลือกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ รวมถึงพูดให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นว่า จะสร้างพื้นที่นี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น สิ่งที่ต้องเร่งทำให้เร็วที่สุดคือ จะต้องมีการพูดคุยหารือร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อการออกแบบพื้นที่มักกะสันแห่งนี้ให้เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างสูงสุด” นายอาทิตย์ กล่าว

ให้ไปแล้ว ต้องเอาให้คุ้ม!

ขณะที่ นายประเสริฐ นาคแก้ว อายุ 38 ปี วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่มักกะสันมาตั้งแต่เด็ก เปิดเผยกับทางทีมข่าวฯ ว่า ได้ทราบเรื่องโครงการมักกะสันมาสักพักแล้ว โดยส่วนตัวรู้สึกเห็นด้วยที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกนำเอาไปพัฒนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ตนและครอบครัวเต็มใจจะย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าว ถ้าหากทางการรถไฟต้องการเอาพื้นที่คืน เนื่องด้วยสภาพที่แออัดของชุมชนและปัญหายาเสพติดที่มีจำนวนมาก ไม่ว่าพื้นที่จะถูกสร้างเป็นอะไรก็ตาม ไม่กระทบต่อการแสวงหารายได้ของตน เพราะตนก็ยังคงทำมาหากินโดยรอบได้ และคิดว่าหากในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวเจริญขึ้น ตนอาจจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย


ชุมชนมักกะสัน พื้นที่การรถไฟฯ
เช่นเดียวกับ พนักงานช่างฝีมือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ไม่เปิดเผยชื่อและนามสกุล) เผยว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาในทุกรูปแบบ เนื่องจากจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับการรถไฟฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควร แต่ต้องให้คุ้มทุนและสามารถสร้างกำไรกลับมาพัฒนาการรถไฟได้ด้วย ส่วนเรื่องที่จะต้องย้ายออกจากพื้นที่มักกะสัน ตนและครอบครัวต้องการให้ทางการรถไฟจัดหาสถานที่หรือบ้านพักอาศัยสำหรับพนักงานให้ใหม่เสียก่อน


ชาวบ้านย่านมักกะสัน
ชาวบ้านจองใต้สะพานลอย ส่วนพนักงานเริ่มนับหนึ่งใหม่

พนักงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย อายุ 37 ปี (ไม่ขอเปิดเผยชื่อและนามสกุล) เล่าให้ทีมข่าวฟังว่า อาศัยอยู่ในพื้นที่มักกะสันแห่งนี้มาตั้งแต่เด็ก เติบโตมาพร้อมกับมักกะสันและการรถไฟ เนื่องจากพ่อของผมก็เป็นพนักงานของการรถไฟ เมื่อผมโตขึ้นจึงเดินตามรอยพ่อ โดยการทำงานให้กับการรถไฟ ตนวิ่งเล่นในพื้นที่แห่งนี้มาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อทราบเรื่องว่าจะนำพื้นที่แห่งนี้ไปพัฒนา และให้ตนและครอบคัวย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ส่วนตัวผมรู้สึกไม่เห็นด้วย เพราะชุมชนบ้านพักพนักงานรถไฟมีความเก่าแก่อยู่กันมาหลายรุ่น จึงควรที่จะอนุรักษ์ไว้ เนื่องจากว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ต่างก็เคยชินกับวิถีการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ไปแล้ว ถ้าหากการรถไฟจะให้ย้ายไปอยู่ที่ต่างจังหวัดตามที่ได้จัดสรรพื้นที่ไว้ให้ ผมคิดว่าการย้ายครอบครัวไปอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ ก็เหมือนต้องนับหนึ่งใหม่ ภรรยาและลูกจะอยู่อย่างไร เนื่องจากภรรยาผมทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ดังนั้น ผมกับภรรยาจะต้องแยกกันอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวผมเต็มๆ จึงอยากให้การรถไฟคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา


ชุมชนของพนักงานการรถไฟฯ ย่านมักกะสัน
ป้าแตง (นามสมมติ) แม่ค้าขายผลไม้ อายุ 51 ปี ผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่มักกะสันตั้งแต่เกิด คิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ถ้าการรถไฟต้องการพื้นที่คืนจริง ป้าต้องเตรียมจองพื้นที่ใต้สะพาน ตรงที่หมานอน ที่นั่นคงเป็นบ้านหลังใหม่ของป้า ไม่ว่าการรถไฟจะตัดสินใจสร้างพื้นที่นี้เป็นอะไรก็ตามแต่คนในชุมชนก็คงไม่มีสิทธิ์ที่จะคัดค้าน เพราะไม่ใช่ที่ของพวกเรา ถึงแม้บางครอบครัวจะอยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษก็ตาม ส่วนเรื่องโครงการที่จะสร้างก็ได้ยินข่าวมาบ้าง พวกเราก็ได้แต่นั่งรอเวลาว่าเมื่อไรเขาจะมาไล่ออกไป

สุดท้ายแล้วที่ดินมักกะสันแปลงนี้จะถูกนำไปพัฒนาในรูปแบบใด จะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่ หรือจะต้องถูกเปลี่ยนมือเหมือนหลายครั้งที่ผ่านมา ทำได้เพียงเฝ้ารอบทสรุปและคงต้องรอลุ้นไปพร้อมกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า หรือสวนสาธารณะ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้รับผิดชอบโครงการจะสามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่ายได้อย่างเท่าเทียมกัน

ในวันพรุ่งนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จะพาไปเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับสวนสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ สวนสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร และสวนสาธารณะแบบใดเหมาะที่จะบรรจุอยู่ในพื้นที่มักกะสัน ติดตามได้ในตอนที่ 3

//------------------

มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.3 "ปอด" แห่งใหม่ ใจกลางกรุง ตอบโจทย์สวนแห่งความหวัง จริงหรือ?!
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 20 ก.ค. 2558 05:31
2,046 ครั้ง





“กรุงเทพมหานคร” ศูนย์กลางของความเจริญครบทุกด้าน พัฒนา และเติบโตอย่างไม่หยุดนิ่ง ทำให้เสมือนเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนต่างหลั่งไหลเข้ามาจับจองพื้นที่ทำมาหากินมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในแง่ผลกระทบด้านปัญหาต่างๆ ของมหานครแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ ควันพิษจากท่อไอเสีย ขยะเป็นพิษ รวมถึงกลิ่นเน่าเหม็นจากแม่น้ำลำคลอง ทำให้ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร จึงมีนโยบายให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบของสวนสาธารณะมากขึ้น

จากที่นำเสนอไปแล้ว 2 ตอน ได้แก่ มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.1 เปิดขุมทรัพย์ รฟท. งัดทำเลทองล้างหนี้ 8 หมื่นล้าน และ มักกะสัน สวนแสนล้าน EP.2 คำตอบจากชาวกรุง มักกะสันแบบไหนที่พอใจ วันนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จะพาไปเจาะลึกเกี่ยวกับโครงการ “มักกะสัน สวนสร้างสรรค์” ในรูปแบบของสวนสาธารณะ บนพื้นที่สีเขียวกว่า 150 ไร่ จาก 497 ไร่ ที่จะกลายเป็นปอดแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ในไม่ช้านี้ ว่า สุดท้ายแล้ว.. จะออกมาในรูปแบบใด? พิมพ์เขียวมักกะสันที่กำลังพูดถึงในขณะนี้ เหมาะสมกับพื้นที่มักกะสันหรือไม่? รวมถึงจะออกแบบสวนอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด? ในตอน 3 นี้ มีคำตอบ


พื้นที่มักกะสัน ที่จะกลายเป็นพื้นที่สีเขียว 150 ไร่ ในอนาคต

พื้นที่ที่จะกลายเป็นปอดแห่งใหม่ในอนาคต
พิมพ์เขียว เวอร์ชั่น คสช. VS พื้นที่มักกะสัน ตอบโจทย์?!

ทั้งนี้ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ได้ติดต่อพูดคุยกับ นายภราเดช พยัฆวิเชียร นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย กล่าวว่า ที่ดินมักกะสันเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในหลายมิติ เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางเมืองและมีการเชื่อมต่อทางคมนาคมที่หลากหลาย เช่น ทางด่วน ทางรถไฟ และสถานีรถไฟฟ้า ทำให้จำเป็นต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับรายละเอียดพื้นที่มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณค่าเชิงระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และคุณค่าทางประวัติศาสตร์

นายภราเดช กล่าวอีกว่า การจัดสรรพื้นที่มักกะสัน ตามนโยบายของรัฐบาล คสช. โดยแบ่งเป็นพื้นที่สีเขียว พิพิธภัณฑ์ และพื้นที่เชิงพาณิชย์ เป็นรูปแบบที่ค่อนข้างตอบโจทย์และเหมาะสมกับพื้นที่มักกะสันพอสมควร เนื่องจากการสร้างสิ่งต่างๆ จะต้องขึ้นอยู่กับกระบวนการและรายละเอียดของการก่อตั้ง หรือ TOR (Term of Reference) ซึ่งเป็นข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง รวมถึงขอบเขตของงานว่า จะสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ในพื้นที่อย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด


นายภราเดช พยัฆวิเชียร นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย
สวนสาธารณะที่ดี จะต้องมี ?!

"ลักษณะของสวนสาธารณะที่ดี จะประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการ ออกกำลังกาย และการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นโซนแต่ละกิจกรรม อาทิ โซนสนามฟุตซอล ลานแสดงนิทรรศการ หรือลานดนตรี เป็นต้น ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการสร้างสวนสาธารณะ คือ เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และทำกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงเพื่อให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย" นายกสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย ระบุ

นอกจากนี้ นายภราเดช ได้ยกตัวอย่างสวนสาธารณะ Bryant park กรุงนิวยอร์ก ว่า เคยเป็นสวนสาธารณะที่ถูกสร้างขึ้นโดยภาครัฐ แต่กลับไม่มีประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากเป็นเพียงลานกว้างๆ เท่านั้น กระทั่ง มีกลุ่มเอกชนออกมาขอร้องให้รัฐทำการปรับปรุงและพัฒนาฟื้นฟูใหม่ โดยการสร้างลานกิจกรรมเอนกประสงค์หรือลานแสดงกิจกรรมต่างๆ เข้ามามากมาย ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน ทำให้สวนสาธารณะ Bryant park แห่งนี้ กลายเป็นลานกิจกรรมใจกลางเมืองที่ตอบโจทย์ประชาชนเป็นอย่างมาก


Bryant park กรุงนิวยอร์ก สวนสาธารณะใจกลางเมือง
เสียงประชาชน! บทบาทสำคัญ ก่อนสร้างสวน

ด้าน นางสาววีนา วงศ์สินธุ์เชาว์ ผู้อำนวยการสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม เผยว่า การสร้างสวนสาธารณะ จะสอดคล้องตามลักษณะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งรูปแบบของสวนที่ดี จะต้องตอบสนองผู้ใช้บริการให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด ทั้งนี้ ลักษณะของสวนสาธารณะ โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ทางเดินวิ่ง ลานอเนกประสงค์ เช่น ลานเต้นแอโรบิก ลานออกกำลังกาย หรือกิจกรรมต่างๆ รวมถึงบริเวณสำหรับเครื่องออกกำลังกาย และสนามเด็กเล่น เป็นต้น ซึ่งส่วนของสนามเด็กเล่น จะมีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของพื้นที่ ว่า ในแหล่งชุมชนนั้น มีจำนวนเด็กโดยส่วนมากหรือไม่ นอกจากนี้ เมื่อออกแบบโครงสร้างของสวนสาธารณะเรียบร้อยแล้ว จะต้องนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ว่า ต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ สิ่งใดบ้างที่ประชาชนไม่ต้องการ ซึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างสวนสาธารณะคือ ต้องคำนึงถึงความร่มรื่น และสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เช่น ห้องสุขา ไฟฟ้า แสงสว่าง และความปลอดภัย

จำนวนต้นไม้แค่ไหน จึงเรียกว่า "สวนสาธารณะ"

นางสาววีนา กล่าวต่อว่า การสร้างสวนสาธารณะไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องมีจำนวนต้นไม้มากหรือน้อยเพียงใด แต่ลักษณะสวนโดยทั่วไป ควรจะมีสิ่งก่อสร้างไม่มากเกินไป สามารถสร้างได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ เนื่องจากภาพรวมของสวนสาธารณะจะต้องเน้นพื้นที่สีเขียวเท่านั้น ซึ่งส่วนของอาคารที่สามารถสร้างได้ จะต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ เช่น อาคารสำนักงาน ห้องสุขา เรือนเพาะชำ ลานอเนกประสงค์ และสระน้ำ โดยการสร้างสวนสาธารณะส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณ เฉลี่ยอยู่ที่ 3 ล้านบาทต่อไร่ แต่สำหรับสวนป่าที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง จะใช้งบประมาณน้อยลง


บริเวณโรงงานมักกะสัน พื้นที่มักกะสัน
ผู้อำนวยการสำนักสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม อธิบายถึงหลักการดูแลสวนสาธารณะว่า จะมีการทำแผนเป็นรายปี รายเดือน และรายสัปดาห์ โดยรายละเอียดของแผนงานจะมีการระบุไว้ชัดเจน ว่า จะต้องปฏิบัติและดูแลไม้ยืนต้น ปีละ 1-2 ครั้ง ส่วนไม้พุ่มจะต้องดูแลเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งการดูแลจะเป็นไปตามสภาพของต้นไม้ในแต่ละแห่ง รวมถึงมีแผนการทำไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อสร้างจุดเด่นและความสวยงามให้แก่สวนสาธารณะ นอกจากนี้ จะมีการดูแลรักษา เก็บกวาด และซ่อมแซม ส่วนของพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนสุขาสาธารณะ รวมถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน ซึ่งที่ที่ผ่านมาจะมีการประชาสัมพันธ์สวนสาธารณะ และจัดกิจกรรมตามวาระสำคัญ เช่น ปีใหม่ ลอยกระทง หรือเทศกาลต่างๆ เป็นต้น


สวนจตุจักร เขตจตุจักร มีขนาดพื้นที่ 155 ไร่
กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ แบ่งเป็น 7 ประเภท รวมทั้งหมด 7,187 แห่ง พื้นที่รวม จำนวน 19,973 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา ดังนี้
1. สวนหย่อมขนาดเล็ก (Pocket Park, Tot lots) มีพื้นที่ขนาดไม่เกิน 2 ไร่ จำนวน 3,249 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 1,935 ไร่ โดยสวนลักษณะนี้จะอยู่ระหว่างอาคารหรือกลุ่มอาคาร
2. สวนหมู่บ้าน (Neighbourhood Park) มีขนาดพื้นที่มากกว่า 2 ไร่ แต่ไม่เกิน 25 ไร่ จำนวน 865 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 5,515 ไร่ โดยเป็นสวนสำหรับประชาชนผู้อยู่อาศัยในละแวกบ้าน
3. สวนชุมชน (Community Park) มีขนาดพื้นที่มากกว่า 25 ไร่ แต่ไม่เกิน 125 ไร่ จำนวน 66 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 3,372 ไร่ โดยเป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนและเพลิดเพลินไปกับความสวยงามของไม้ดอกไม้ประดับ
4. สวนระดับเขตหรือย่าน (District Park) มีขนาดพื้นที่มากกว่า 125 ไร่ แต่ไม่เกิน 500 ไร่ จำนวน 14 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 3,617 ไร่ โดยสวนลักษณะนี้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่าง เช่น บริเวณปิกนิก ลานจอดรถ ลานอเนกประสงค์ และบริเวณที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น สวนดอกไม้ขนาดใหญ่ สระแล่นเรือ จักรยาน บึงตกปลา ลำธาร เป็นต้น
5. สวนระดับเมือง (City Park) มีขนาดพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ขึ้นไป จำนวน 1 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 650 ไร่ โดยสวนในลักษณะนี้จะเป็นลานกว้างสำหรับการจัดงานประเพณี มีกิจกรรมที่หลากหลาย และเน้นไปที่กิจกรรมที่สนุกสนาน ตื่นเต้น และดึงดูดความสนใจ
6. สวนถนน (Street Park) มีความกว้างของพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 เมตร ความยาวไม่จำกัด จำนวน 2,922 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 4,809 ไร่ โดยสวนลักษณะนี้จะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สวนไหล่ทางหรือทางจักรยาน สวนเกาะกลาง และสวนทางแยก
7. สวนเฉพาะทาง (Special Purpose Park) มีจำนวน 19 แห่ง รวมพื้นที่ทั้งหมด 66 ไร่ โดยลักษณะของสวน เช่น สวนประวัติศาสตร์ สวนอนุสาวรีย์ สวนวัฒนธรรม ลานอเนกประสงค์ ซึ่งไม่จำกัดขนาดพื้นที่


บ้านพักพนักงานการรถไฟฯ พื้นที่มักกะสัน

ถนนนิคมมักกะสัน ชุมชนย่านมักกะสัน
ส่อง! พื้นที่สวนสีเขียว 34 แห่ง ปอดมหานคร

กรุงเทพมหานครมีพื้นที่เขียวในรูปแบบสวนสาธารณะหลักทั้งสิ้น จำนวน 34 แห่ง พื้นที่ 2,955 ไร่ 77.40 ตารางวา ดังนี้
1. สวนลุมพินี บริเวณถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน มีขนาดพื้นที่ 360 ไร่
2. สวนจตุจักร บริเวณถนนกำแพงเพชร 1 เขตจตุจักร มีขนาดพื้นที่ 155 ไร่
3. สวนพระนคร บริเวณหมู่ 1 ถนนอ่อนนุช แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง มีขนาดพื้นที่ 50 ไร่
4. สวนสราญรมย์ บริเวณระหว่างถนนเจริญกรุง ตัดกับถนนราชินีเขตพระนคร มีขนาดพื้นที่ 23 ไร่
5. สวนธนบุรีรมย์ บริเวณหมู่ 2 ถนนประชาอุทิศ เขตทุ่งครุ มีขนาดพื้นที่ 63 ไร่
6. สวนหลวง ร.9 บริเวณถนนสุขุมวิท 103 เขตประเวศ มีขนาดพื้นที่ 500 ไร่


สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ มีขนาดพื้นที่ 500 ไร่
7. สวนเสรีไทย บริเวณถนนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม มีขนาดพื้นที่ 350 ไร่
8. สวนหนองจอก บริเวณหมู่ 2 ถนนเลียบวารี แขวงหนองจอก เขตหนองจอก มีขนาดพื้นที่ 35 ไร่
9. สวนพรรณภิรมย์ บริเวณถนนพระรามที่ 9 เขตห้วยขวาง มีขนาดพื้นที่14 ไร่
10. สวนรมณีนาถ บริเวณถนนศิริพงษ์ เขตพระนคร มีขนาดพื้นที่ 29 ไร่
11. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ บริเวณถนนกำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร มีขนาดพื้นที่ 196 ไร่
12. สวนสันติภาพ บริเวณระหว่างถนนราชวิถีและถนนรางน้ำ เขตราชเทวี มีขนาดพื้นที่ 20 ไร่
13. สวนวชิรเบญจทัศ บริเวณถนนกำแพงเพชร 3 เขตจตุจักร มีขนาดพื้นที่ 375 ไร่
14. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา บริเวณฝั่งพระนคร เชิงสะพานพระราม 9 เขตบางคอแหลม มีขนาดพื้นที่ 29 ไร่
15. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง มีขนาดพื้นที่ 15 ไร่
16. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา มีขนาดพื้นที่ 54 ไร่
17. สวน 50 พรรษามหาจักรีสิรินธร เขตประเวศ มีขนาดพื้นที่ 20 ไร่
18. สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน มีขนาดพื้นที่ 59 ไร่
19. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกียกกาย บริเวณถนนทหาร เขตดุสิต มีขนาดพื้นที่ 10 ไร่
20. สวนหลวงพระราม 8 บริเวณเชิงสะพานพระราม 8 ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด มีขนาดพื้นที่ 24 ไร่
21.อุทยานเบญจสิริ บริเวณติดถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22-24 เขตคลองเตย มีขนาดพื้นที่ 29 ไร่


อุทยานเบญจสิริ เขคตลองเตย มีขนาดพื้นที่ 29 ไร่
22. สวนวนธรรม (สวนธรรม 70 พรรษา มหาราชินี) บริเวณด้านหลังสวนหลวง ร.9 เขตประเวศ มีขนาดพื้นที่ 48 ไร่
23. สวน 60 พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถ บริเวณถนนร่มเกล้า เขตลาดกระบัง มีขนาดพื้นที่ 52 ไร่
24. สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย มีขนาดพื้นที่ 130 ไร่
25. สวนสันติชัยปราการ บริเวณถนนพระอาทิตย์ บางลำพู มีขนาดพื้นที่ 8 ไร่
26. สวนนวมินทร์ภิรมย์ เขตบึงกุ่ม มีขนาดพื้นที่ 76 ไร่
27. สวนนาคราภิรมย์ เขตพระนคร มีขนาดพื้นที่ 4 ไร่
28. สวนสิรินธราพฤกษา เขตบางกอกน้อย มีขนาดพื้นที่ จำนวน 3 ไร่
29. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ เขตสาทร มีขนาดพื้นที่ จำนวน 17 ไร่
30. สวนน้ำลาดพร้าว 71 เขตลาดพร้าว มีขนาดพื้นที่ จำนวน 21 ไร่
31. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย มีขนาดพื้นที่ จำนวน 21 ไร่
32. สวนจรัญภิรมย์ เขตบางพลัด มีขนาดพื้นที่ จำนวน 3 ไร่
33. สวนวัชราภิรมย์ เขตบางเขน มีขนาดพื้นที่ จำนวน 34 ไร่
34. สวนวารีภิรมย์ เขตคลองสามวา มีขนาดพื้นที่ จำนวน 121 ไร่

ทั้งนี้ จากการสำรวจพื้นที่สีเขียวรูปแบบของสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร พบว่า เขตที่มีจำนวนสวนสาธารณะมากที่สุดคือ เขตพระโขนง มีจำนวน 340 แห่ง และน้อยที่สุดคือ เขตดอนเมือง มีจำนวน 55 แห่ง โดยเขตที่มีพื้นที่สวนสาธารณะมากที่สุดคือ เขตประเวศ มีขนาดพื้นที่ 1,775 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา และน้อยที่สุดคือ เขตสัมพันธวงศ์ มีขนาดพื้นที่ 26 ไร่ 11.50 ตารางวา เขตที่มีจำนวนสวนสาธารณะหลักมากที่สุดคือ เขตพระนคร จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สวนสราญรมย์ สวนรมณีนาถ สวนสันติชัยปราการ และสวนนาคราภิรมย์ เขตที่มีพื้นที่มากที่สุดคือ เขตหนองจอก มีขนาดพื้นที่ 147,663 ไร่ 50 ตารางวา และน้อยที่สุดคือ เขตสัมพันธวงศ์ มีขนาดพื้นที่ 885 ไร่ ส่วนเขตที่มีสัดส่วนของสวนสาธารณะต่อประชากรมากที่สุดคือ เขตคันนายาว มีขนาดพื้นที่ 22.35 ตารางเมตรต่อคน และน้อยที่สุดคือ เขตวัฒนา มีขนาดพื้นที่ 1.31 ตารางเมตรต่อคน


มักกะสัน แหล่งที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนมักกะสันในขณะนี้

พื้นที่มักกะสันในปัจจุบัน
ย้อนดู! นโยบายเพิ่มสวนสีเขียว สำเร็จแล้วกว่าครึ่ง

หากย้อนดูนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พบว่า มีการกำหนดแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานครไว้ ว่า ต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นอีก 5,000 ไร่ ภายในปี 2560 ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการไปทั้งสิ้นแล้ว 2,800 กว่าไร่ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ตั้งเป้าเกี่ยวกับการดำเนินการสวนสาธารณะให้ได้ปีละ 1,350 ไร่ และภายในปี 2558 กรุงเทพมหานครตั้งเป้าอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวเป็น 5.76 ตารางเมตรต่อคน

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีการก่อสร้างสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีก 10 แห่ง ได้แก่ สวนลอยน้ำแห่งแรก สวนสาธารณะสำหรับสุนัข หรือ Dog Park รวมถึงส่งเสริมการสร้างสวนบนอาคารสูงหรือ Green Roof เพื่อต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองให้มากขึ้น ซึ่งหากสวนสาธารณะแล้วเสร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ทั้งหมด คาดว่าจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับมหานครได้อีกมากเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าบทสรุป การจัดสรรพื้นที่มักกะสันจะจบลงเช่นไร จะเดินหน้าไปในทิศทางใด มักกะสันจะกลายเป็นปอดกลางกรุงผืนสุดท้ายหรือไม่ ประชาชนยังคงเฝ้ารอ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า พื้นที่สีเขียว 150 ไร่ ผืนนี้ จะตอบโจทย์ความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 22/07/2015 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

"สมหมาย" เคาะราคาที่ดินมักกะสันแลกหนี้ 6-7 หมื่นล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
22 กรกฎาคม 2558 เวลา 16:07:24 น.


"สมหมาย" เคาะราคาที่ดินมักกะสันแลกหนี้ 6-7 หมื่นล้านบาท แจงนำราคาของแต่ละหน่วยงานบวกกันหารสอง พร้อมชงแก้กฎหมายขยายเวลาเช่าที่ดินระหว่างรัฐ-รัฐวิสาหกิจเป็น 99 ปี จากเดิม 50 ปี

นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการพิจารณาที่ดินมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่จะโอนให้กับกระทรวงการคลังเพื่อการชำระหนี้ ว่า ขณะนี้ได้สรุปตีราคาที่ดิน 497 ไร่ เบื้องต้น โดยนำราคาที่บริษัทที่ปรึกษาของ 2 ฝ่าย มาบวกกันแล้วหาร 2 จะอยู่ที่ 6-7 หมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้ จะมีการปรับปรุงกฎหมายการเช่าที่ดิน ในกรณีการเช่าระหว่างรัฐกับรัฐวิสาหกิจให้ขยายเป็น 99 ปี จากเดิมได้แค่ 50 ปี

โดยทั้งหมดนี้ จะนำเสนอ รมว.คมนาคม จากนั้นจะเสนอซูเปอร์บอร์ดต่อไป ซึ่งระหว่างกระบวนการแก้ไขกฎหมาย ทางกรมธนารักษ์จะต้องทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน คาดว่าจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาพัฒนาที่ดินได้ภายในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า ทั้งนี้ การลงทุนจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.PPPs) ด้วย

"ถ้า คนร. เห็นชอบแล้ว ก็รอกฎหมายแก้ไขเสร็จซึ่งต้องเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จากนั้นก็ทำสัญญาได้เลย" นายสมหมายกล่าว

//-------------------------

"คลัง-ร.ฟ.ท." เคาะเช่าที่มักกะสัน 99 ปี
Morning News
Now TV
วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

//------------------------

ไฟเขียวโอนที่มักกะสันใช้หนี้คลัง
เดลินิวส์
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2558 เวลา 17:25 น.

ไฟเขียวโอนที่มักกะสันใช้หนี้คลัง เคาะโอนที่มักกะสันใช้หนี้คลัง 70,000 ล้านบาท เช่า 99 ปี เตรียมเปิดประมูลเอกชนใช้เชิงพาณิชย์ต้นปี 59

นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เมื่อวันที่ 22 ก.ค.58 ได้ข้อสรุปการโอนที่ ร.ฟ.ท. บริเวณมักกะสัน กว่า 497 ไร่ เพื่อนำมาชำระหนี้คืนให้กระทรวงการคลัง ในวงเงิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่คณะทำงานทั้งในส่วนกรมธนารักษ์ และ ร.ฟ.ท.มีความเห็นตรงกันแล้ว จากนี้จะเสนอแนวทางการโอนที่ใช้หนี้ทั้งหมดให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พิจารณาเห็นชอบ ก่อนดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากสามารถตกลงกันได้กับกระทรวงคมนาคม ก็จะเสนอแผนโอนที่ เข้าสู่คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้ช่วงเดือน ส.ค.เพื่อกำหนดโรดแม็ปการโอนพื้นที่และกำหนดสัดส่วนพื้นที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ และเชิงสาธารณะ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเบื้องต้น สัดส่วนพื้นที่เพื่อการพาณิชย์จะอยู่ที่ประมาณ 70% ส่วนที่เหลือจะเป็นสวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ โดย ร.ฟ.ท.จะทยอยโอนที่ให้เป็นช่วงๆ แบ่งเป็นพื้นที่ที่โอนได้ทันที และพื้นที่ที่สามารถส่งมอบได้ภายใน 2 ปี และ 4 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องเพิ่มระยะเวลาการเช่าที่ราชพัสดุใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 50 ปี เป็น 99 ปี โดยครอบคลุมจำนวนหนี้ 7 หมื่นล้านบาท ยังมีหนี้ส่วนที่เหลือที่ ร.ฟ.ท.จะต้องใช้คืนคลัง ซึ่งจะต้องทยอยบริหารจัดการต่อไป โดยกระบวนการขยายระยะเวลาการเช่า ต้องมีการแก้ไขกฎหมายการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ซึ่งเรื่องนี้คลังได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยแล้วเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยกระบวนการแก้ไขกฎหมาย จะต้องผ่านความเห็นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็จะทำควบคู่ไปกับโรดแม็ปที่ คนร.วางไว้ “จะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อขอขยายเวลาเช่าที่ โดยในกรณีนี้คือระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน คือกรมธนารักษ์ กับ รัฐวิสาหกิจ หรือ ร.ฟ.ท. จะสามารถเช่าได้ถึง 99 ปี กฎหมายที่แก้ไขก็สามารถใช้ได้กับกรณีอื่นๆ ที่เป็นการเช่าที่ระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน ส่วนการเช่าระหว่างรัฐและเอกชน ยังคงกำหนดไว้ที่ 50 ปี” นายสมหมาย กล่าวว่า การให้เช่าที่เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ จะต้องตั้งคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) เข้ามากำหนดแนวปฏิบัติการเช่าใช้พื้นที่ ซึ่งหลายโครงการมีเม็ดเงินลงทุนที่สูง และเปิดกว้าง ไม่ได้จำกัดกิจการที่มาเช่าใช้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลให้เช่าพื้นที่ได้ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปี 59 แต่ไม่มีแนวคิดที่จะให้กรมธนารักษ์เข้าไปบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์เอง“

//------------------

คลังยันเช่าที่มักกะสัน 99 ปีแลกล้างหนี้7หมื่นล้าน คาด ประมูลเร็วสุดปลายปีนี้
มติชน
วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 11:07:29 น.


นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกรณีการนำที่ดินมักกะสันมาแลกหนี้ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ว่า ที่ประชุมครั้งนี้สรุปแนวทางการเช่าที่ดินบริเวณมักกะสันเพื่อแลกกับหนี้สินของร.ฟ.ท.เป็นระยะเวลา 99 ปี เพื่อแลกกับภาระหนี้สินจำนวนประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท โดยจะนำผลสรุปการประชุมไปรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาอนุมัติร่วมกันอีกครั้ง

หากเห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว ก็จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)จากนั้น จะได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และคาดว่าจะสามารถทำสัญญาเช่าระหว่างกรมธนารักษ์และร.ฟ.ท. จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการให้เอกชนเข้าลงทุนตามกฎหมายเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน หรือพีพีพี

ทั้งนี้ ในแง่ของระยะเวลาการเช่านั้น ยังติดขัดในข้อกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยที่จะต้องมีการปรับแก้ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะต้องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อแก้ไขให้ระยะเวลาการเช่าระหว่างรัฐกับหน่วยงานรัฐยาวขึ้นเป็น 99 ปี จากเดิม 50 ปี

ส่วนมูลหนี้ที่จะแลกนั้น ทางบริษัทที่ปรึกษาทั้งฝั่งของกรมธนารักษ์และ ร.ฟ.ท.ได้สรุปราคาประเมินที่ดินบริเวณดังกล่าวที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเสนอให้นำราคาประเมินที่ดินของทั้งสองบริษัทมารวมกันและหารสอง เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยเบื้องต้น ราคาประเมินที่ดิน ซึ่งจะเป็นหนึ่งในตัวกำหนดมูลหนี้ จะอยู่ระหว่าง 6-7 หมื่นล้านบาท

สำหรับพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่มีพื้นที่รวม 497 ไร่ นั้นกรมธนารักษ์มีจะนำไปให้เอกชนเช่า 70% คาดว่าสามารถเปิดประมูลการเช่าได้ประมาณต้นปี 2559 หรืออย่างเร็วปลายปี 2558 ส่วนที่เหลือจะพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียว หรือสวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ โดยระหว่างนี้สิ่งต้องทำ คือ การปรับแก้กฎหมายระยะเวลาการเช่าของกระทรวงมหาดไทย และการเตรียมโรดแมปการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว

นายสมหมาย กล่าวว่า แผนการนำที่ดินมักกะสันของ ร.ฟ.ท.ไปให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังเช่านำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น เป็นส่วนหนึ่งของแผนการแก้ไขปัญหาภาระหนี้สินที่สะสมมานานของ ร.ฟ.ท. โดยปัจจุบันภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท ดังนั้นหนี้ในส่วนที่เหลือนั้นต้องมาหารือกันอีกครั้งว่าจะจัดการอย่างไร ขณะนี้จะสรุปแค่มักกะสันตามมติ คนร.ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2015 9:35 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เตรียมพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
27 กรกฎาคม 2558 18:46 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 แปลง ประกอบด้วย แปลงที่ 1 จำนวน 35 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 78 ไร่ แปลงที่ 3 จำนวน 105 ไร่ โดยนำแนวคิด TOD (Transit Oriented Development) ภายใต้หลักการบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองสำหรับพื้นที่พาณิชยกรรมกับการคมนาคมขนส่งเข้าด้วยกันมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาโครงการ

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา คือ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เพื่อศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ ระยะเวลาดำเนินการ 240 วัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาศักยภาพพื้นที่โครงการ การวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านการตลาดและการออกแบบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ โดยแผนการดำเนินงานเบื้องต้นคาดว่าจะจัดงานสัมมนาเพื่อทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุนวันที่ 5 สิงหาคม เวลา 09.00-13.30น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22ห้องโลตัส 5-7 และจะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายนนี้

สำหรับพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อจำนวน 218 ไร่ มีศักยภาพสูง สามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเสร็จจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางและคมนาคมขนส่งของพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศด้วยระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว รวมทั้งรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และใต้

นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางอากาศด้วยแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยังสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนหลัก เช่น ถนนพหลโยธิน วิภาวดีรังสิต จุดขึ้น-ลงทางด่วนขั้นที่ 2 อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ครั้งแรกของ ร.ฟ.ท.ที่จะเพิ่มมูลค่าของที่ดินให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2015 3:15 am    Post subject: Reply with quote

เมืองคอนปั้น"ดีซีทุ่งสง"ร.ฟ.ท.ไฟเขียวเชื่อมสถานีที่วัง
ประชาชาติธุรกิจ
31 กรกฎาคม 2558 เวลา 21:00:07 น.

เปิดปม ของ ไทยพีบีเอสเปิดประเด็นเรื่อง ดีดีมอล ที่ เล่นการเลี่ยงกฏหมายเรื่องการร่วมทุนและเพื่อให้ได้เงินกู้ จากธนาคารอิสลามฯได้โดยสะดวก - จันทร์ที่ 3 สิงหาคมนี้ 20.30 น.

เปิดปม wrote:
ศูนย์การค้าดีดีมอลล์ (แต่ก่อนคืออินสแควร์) เป็นอาคารที่สร้างบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อาคารที่เห็น สร้างผิดไปจากแบบที่ปรากฎในเอกสารสัญญา ทำให้มูลค่าโครงการเพิ่มจาก 500 กว่าล้านบาท เป็นกว่า 1,000 ล้านบาท หลายฝ่ายจึงตั้งคำถามว่า มีขบวนการปั่นมูลค่าโครงการเลี่ยงกฎหมายร่วมทุน และ หวังผลจากการกู้เงินธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยหรือไม่

https://www.facebook.com/perdpom/posts/874450205981296
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2015 1:18 am    Post subject: Reply with quote

เปรียบทำเลทอง‘ร.ฟ.ท.’ย่านพหลโยธินVSมักกะสัน
ออนไลน์เมื่อ วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม 2558
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3075 วันที่ 2 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558


กรณีดึงที่ดินแปลงงามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. ครอบครองอยู่ นำมาล้างหนี้ที่ ร.ฟ.ท. ต้องแบกภาระอยู่เกือบ 1.2 แสนล้านบาทนั้น เริ่มเดินเรื่องมาตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยทาง ร.ฟ.ท.จัดเตรียมที่ดินไว้ 3 แปลง คือ มักกะสัน ย่านพหลโยธิน และสถานีแม่นํ้า แต่มาในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาทางกระทรวงคมนาคมได้เคาะเอาที่ดินทำเลทองย่านใจกลางกรุงเทพฯให้คลังเช่าหากตีราคาแล้วไม่พอมูลหนี้ก็อาจจะยกแปลงอื่นเข้าไปเสริม หลังจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังและร.ฟ.ท. กระทรวงคมนาคม ได้ให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินสินทรัพย์ของแต่ละฝ่ายไปศึกษาราคาที่เหมาะสม

ล่าสุดทั้ง ร.ฟ.ท. ตกลงที่จะให้กรมธนารักษ์เช่าที่ดินบริเวณมักกะสัน เนื้อที่ 497 ไร่ เป็นระยะเวลา 99 ปี แลกกับภาระหนี้ราว 6 -7 หมื่นล้านบาท พร้อมกับจะปรับแก้กฎหมายเช่าที่ดิน จากที่กำหนดอายุการเช่าไว้ที่ไม่เกิน 50 ปี เป็น 99 ปี โดยที่การประเมินราคาที่ดินย่านมักกะสันระหว่างร.ฟ.ท. และกรมธนารักษ์ นั้น ทางร.ฟ.ท.คิดเชิงพาณิชย์เต็มพื้นที่ ระยะเวลา 30 ปีแรก+4 ปี+30 ปี เท่ากับ 64 ปี รวมมูลค่าสิทธิการเช่าสำหรับระยะเวลา 64 ปี เท่ากับ 6.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่กรมธนารักษ์ แบ่งการประเมินราคาเป็น 2 กรณีคือ

1.คิดตามพื้นที่พัฒนา (สวน พิพิธภัณฑ์ และเชิงพาณิชย์) ขายพื้นที่ เท่ากับ 5.2 หมื่นล้านบาท แต่ถ้าเช่าสิทธิที่ดิน 30 ปี คิด 3.0 หมื่นล้านบาท, 60 ปี คิด 5.0 หมื่นล้านบาท, 90 ปี คิด 5.2 หมื่นล้านบาท

2. คิดเชิงพาณิชย์เต็มพื้นที่ แบ่งเป็นขายพื้นที่ เท่ากับ 5.8 หมื่นล้านบาท, ถ้าเช่าสิทธิที่ดิน 30 ปี คิด 3.6 หมื่นล้านบาท, 60 ปี คิด 5.6 หมื่นล้านบาท และ เช่า 90 ปี คิด 5.8 หมื่นล้านบาท ในที่สุดคณะทำงานคัดเลือกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อชำระหนี้สินคงค้าง ได้นำราคาของทั้งสองฝ่ายมาหารค่าเฉลี่ยจนออกมาเป็นราคา 6-7 หมื่นล้านบาท

สำหรับแผนการใช้ที่ดินมักกะสัน 497 ไร่นั้น กรมธนารักษ์ได้แบ่งเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่สีเขียว ประกอบด้วยสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์ 150 ไร่ โดยคาดว่าจะเปิดให้เอกชนประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ประมาณต้นปี 2559 ส่วนที่ดินย่านพหลโยธินซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2,325 ไร่ สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้เต็มพื้นที่ ทั้งนี้จากการประเมินราคาที่ดินของนายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวถึงราคาที่ดินโซนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.)เรื่อยมาจนถึงพื้นที่ทางด่วนนั้น ปัจจุบันราคาประเมินอยู่ระหว่าง 2 -3 แสนบาทต่อตารางวา

ฉะนั้น หากคิดโดยคร่าวๆ ที่ดินย่านพหลโยธินสามารถสร้างมูลค่าให้ ร.ฟ.ท.ได้ประมาณ 2.76 แสนล้านบาท สมควรแล้วที่ร.ฟ.ท.จะเก็บที่ดินแปลงงามผืนนี้มาดำเนินการหาประโยชน์เอง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/08/2015 6:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ร.ฟ.ท.”เปิดแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบางซื่อ-ทุ่ม7หมื่นล.เป็นศก.คมนาคมในอาเซียน
มติชนออนไลน์ วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:37:04 น.

Click on the image for full size

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ โดยระบุ ว่า ในปี 2562 สถานีกลางบางซื่อจะก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการ ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับการเดินทางด้วยระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญ เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงระบบทางด่วน และโครงข่ายถนนสายหลัก ซึ่งศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่จะทำให้กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงจากเมืองที่มีการใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่

นายออมสิน กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญ เช่น กรอบแนวคิดการวางผังพัฒนาพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “To become ASEAN Linkage and Business Hub” โดยทำเป็นคอมเพล็กซิตี้ เช่น สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย และพื้นที่นันทนาการ ซึ่งจะช่วยยกระดับให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ใกล้เคียง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 218 ไร่ โดยมีรายละเอียดการพัฒนา แต่ละแปลงแบ่งเป็น 3 โซนคือ

โซน A: Smart Business Complex เนื้อที่ 35 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท

โซน B: ASEAN Commercial and Business Hub เนื้อที่ 78 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีกลางบางซื่อ ด้วยทำเลที่ตั้งที่ห่างจากตลาดนัดจตุจักรเพียง 700 เมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 24,000 ล้านบาท

โซน C: SMART Healthy and Vibrant Town เนื้อที่ 105 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสถานีขนส่งหมอชิต ซึ่งเหมาะแก่การพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ภายใต้แนวคิด “เมืองแห่งความมีชีวิตชีวา” ใช้เงินลงทุนประมาณ 34,000 ล้านบาท

ส่วนโซน D เนื้อที่ 87.5 ไร่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายและศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง ภายใต้แนวคิด World Renowned Garden Interchange Plaza พัฒนาทางเดินเป็นแกนเชื่อมต่อพื้นที่แต่ละโซนในโครงการ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่การค้า และ Park & Ride เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกับพื้นที่พัฒนาโครงการ รวมถึงตลาดนัดจตุจักร สถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจตามแผนการดำเนินงานคาดว่าปี 2559 รฟท. จะนำเสนอโครงการฯ เข้าสู่กระบวนการของ พ.ร.บ. ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership) เนื่องจากมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติ ครม. ในปี 2560 การรถไฟฯประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนและสรรหานักลงทุน ในปี 2562 เปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ และในปี 2566 จะเห็นปรากฏการณ์ใหม่ของการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ Business Hub บริเวณสถานีกลางบางซื่อ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2015 4:05 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ร.ฟ.ท.”เปิดแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบางซื่อ-ทุ่ม7หมื่นล.เป็นศก.คมนาคมในอาเซียน
มติชนออนไลน์ วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เวลา 18:37:04 น.


ดูข่าวทีวีสิครับ


ข่าวการพัฒนาพื้นที่ย่านบางซื่อ ทางช่อง 5
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=OebDQWhtI38

ร.ฟ.ท.ดันประมูลพัฒนาสถานีบางซื่อกลางปี 59 เอกชนเสนอสัญญายาว 90 ปี หวั่นสั้นไม่คุ้มทุน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 สิงหาคม 2558 18:08 น. (แก้ไขล่าสุด 5 สิงหาคม 2558 18:37 น.)




ร.ฟ.ท.จัด Market Sounding แผนพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่ มูลค่ากว่า 6.8 หมื่นล้าน ผุดศูนย์กลางด้านระบบรางของประเทศพร้อมคอมเพล็กซ์ซิตี้ ตั้งเป้าเป็นฮับอาเซียน ดันเปิดประมูลแปลงแรกกลางปี 59 ด้านนักลงทุนขานรับ แต่ติงอายุสัญญา 30 ปีสั้นไปไม่จูงใจลงทุน ขอยาว 90 ปี

วานนี้ (5 ส.ค.) นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่ใหญ่ และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฮับอาเซียน) รองรับการเดินทาง ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รวมถึงระบบทางด่วน และโครงข่ายถนนสายหลัก และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต โดยมีตัวแทนจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร โรงแรม กลุ่มนักลงทุน สมาคมการค้า ทั้งในประเทศ และต่างประเทศร่วมงานกว่า 200 คน

นายออมสินกล่าวว่า เบื้องต้นจะพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อภายใต้แนวคิด “To become ASEAN Linkage and Business Hub” เป็นคอมเพล็กซ์ซิตี้ เช่น สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย และพื้นที่นันทนาการ โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 218 ไร่ แบ่งการพัฒนาเป็นพื้นที่ โซน A เนื้อที่ 35 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ ห่างประมาณ 50-100 เมตร แนวคิด Smart Business Complex หรือศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร มูลค่าลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท

พื้นที่โซน B เนื้อที่ 78 ไร่ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของสถานีกลางบางซื่อ ห่างจากตลาดนัดจตุจักรประมาณ 700 เมตร แนวคิด ASEAN Commercial and Business Hub หรือย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่ แหล่งค้าปลีกค้าส่งระดับอาเซียน มูลค่าการลงทุน 24,000 ล้านบาท พื้นที่โซน C เนื้อที่ 105 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ซึ่งปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) แนวคิด SMART Healthy and Vibrant Town หรือเมืองแห่งความมีชีวิตชีวา แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งทำงาน และสถานที่พักผ่อน มูลค่าการลงทุน 34,000 ล้านบาท และพื้นที่โซน D เนื้อที่ 87.5 ไร่ ติดตลาดนัดสวนจตุจักร ตรงข้ามตลาด อ.ต.ก. แนวคิด World Renowned Garden Interchange Plaza เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายและศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง พัฒนาเป็นทางเดินเป็นแกนเชื่อมต่อพื้นที่แต่ละโซน

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการลงทุน ระหว่างการให้เอกชนเช่าพื้นที่ หรือการร่วมทุน (PPP) ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 ซึ่งรูปแบบ PPP จะได้ประโยชน์มากกว่า โดยใช้หลักส่วนแบ่งรายได้ พร้อมกันนี้ ร.ฟ.ท.กำลังพิจารณาระยะเวลาอายุสัญญาจากเดิม 30 ปี ซึ่งเบื้องต้นพบว่าสั้นเกินไปทำให้ไม่จูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนเพราะไม่คุ้มค่า โดยมองว่าอาจจะต้องกำหนดอายุแบบมีเงื่อนไข เช่น 30 ปี และต่ออีก 30 ปี เป็นต้น ขณะที่หากจะใช้รูปแบบ PPP ซึ่งมีขั้นตอนมากประมาณ1 ปีจึงจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ ดังนั้นจะหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อขอเร่งรัดกระบวนการต่างๆ เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน 8-9 เดือน

โดยพื้นที่โซน A จะสามารถประกวดราคาได้ก่อนเนื่องจากมีความพร้อมที่สุด คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ประมาณกลางปี 2559 และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 2564-2565 ส่วนพื้นที่โซน B ติดปัญหาที่มีพวงรางรถไฟอยู่ จะต้องวางแผนการรื้อและหาที่จอดรถไฟใหม่รองรับก่อน พื้นที่โซน C จะต้องรอ บขส.ย้ายออก คาดทยอยเปิดให้บริการ 10-15 ปีตามลำดับ ส่วนโซน D รอสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ออกแบบเสร็จก่อน ซึ่งจะมีการวาง Sky Walk และระบบโมโนเรลเชื่อมต่อในพื้นที่และเชื่อมกับรถไฟฟ้า BTS และ MRT

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า โครงการนี้ใช้เงินลงทุนสูง 6-7 เท่าของมูลค่าที่ดิน ขณะที่ ร.ฟ.ท.ยังกำหนดรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนไม่ชัดเจน จึงอยากให้หาแนวคิดในการพัฒนาแต่ละพื้นที่ที่จะเป็นเอกลักษณ์พิเศษที่เป็นแลนด์มาร์กหรือจุดขาย เพื่อสร้างแรงจูงใจและดึงดูดนักลงทุน ซึ่งจะช่วยทำให้พื้นที่ทั้งหมดของโครงการมีศักยภาพตามไปด้วย นอกจากนี้เห็นว่าควรกำหนดอายุสัญญาที่ 90 ปี หรืออย่างน้อย 60 ปี เพื่อดึงนักลงทุนไทยและต่างชาติที่มีทุนสูงเข้ามาร่วม ขณะที่กฎหมายไทยกำหนดที่ 30 ปี ดังนั้นอาจจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ช่วย

ด้านนายนริศ เชยกลิ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า โครงการน่าสนใจเพราะจะเป็นการเปิดพื้นที่พัฒนาโซนใหม่ของ กทม.แทนโซนเก่าที่แออัด และบริษัทฯ สนใจจะเข้าร่วมลงทุนแต่จะต้องศึกษารายละเอียดก่อน โดยเฉพาะอายุสัญญาควรเป็นระยะยาว 90 ปี เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจและสามารถลงทุนได้อย่างเต็มที่ และเห็นว่าควรเป็นการให้สิทธิ์พื้นที่ 1 โซนต่อ 1 สัญญาเพื่อการบริหารจัดการที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยตอนนี้มองว่าในพื้นที่โซน A ที่จะเปิดประมูลก่อนพื้นที่อยู่ด้านใน และระบบรางยังไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ภาครัฐควรลงทุนพื้นที่ส่วนกลางเอง เช่น ลานกีฬา สวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว ฯลฯ เพื่อลดภาระเอกชน

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนบางรายเสนอว่าควรมีโรงแรมหลายระดับ ตั้งแต่ 2 ดาว-5 ดาวเพื่อบริการที่หลากหลาย และเน้นศักยภาพลูกค้าที่มีกำลังซื้อระดับกลาง กรุ๊ปทัวร์จากทั่วโลก โดยพัฒนายกระดับตลาดนัดสวนจตุจักรที่มีเสน่ห์และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอยู่แล้วเป็นจุดขาย พร้อมกับเพิ่มสิ่งจูงใจใหม่ๆ เช่น แหล่งดิวตี้ฟรีระดับโลก หรือกาสิโน โดยมองว่าปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาค่าแรงสูง ไม่จูงใจในเรื่องอุตสาหกรรม แต่การท่องเที่ยว บริการและสันทนาการยังดีที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ภาครัฐต้องให้สิทธิพิเศษในการลงทุนเพื่อจูงใจด้วย



ใช้ที่ 218 ไร่ พัฒนาสถานีกลางบางซื่อทาง ไทยพีบีเอส
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=r0-E6UzlfmU

ไทย-เทศแห่ร่วม‘ มาร์เก็ตซาวดิ้ง’ ถกกรอบทีโออาร์ บางซื่อฮอตทุนยักษ์รุม
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม 2558

Read more.. > http://www.thansettakij.com/2015/08/04/6088


โฆษณาย่านบางซื่อ
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GvDjpc3bEaA

ไทย-เทศแห่ร่วม‘ มาร์เก็ตซาวดิ้ง’ ถกกรอบทีโออาร์ บางซื่อฮอตทุนยักษ์รุม วันอังคาร ที่ 4 สิงหาคม 2558
ออนไลย์ เมื่อ 4 กรกฎาคม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3075 วันที่ 2 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558



ร.ฟ.ท.เดินหน้า ทำมาร์เก็ตซาวดิ้ง เปิดหน้าดินทำเลทอง “สถานีกลางบางซื่อ” เชิญนักลงทุนไทย-เทศกว่า 150 ราย ร่วมระดมความเห็น ก่อนร่างทีโออาร์ แย้มอาจเสนอสัญญาเช่าเกิน 50 ปี โดยไม่ผ่านพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ชง “บิ๊กตู่” ฟันธง ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ “เดอะมอลล์-เซ็นทรัล” มาครบ ค่ายบิ๊กอสังหาฯไทย ทุนจีน-ญี่ปุ่น-ไต้หวันแสดงความสนใจ หวังแจ้งเกิดให้ทันใน 2 ปี รับเดินรถสายสีแดง ระบุอนาคตมีคนหมุนเวียนวันละ 2 ล้านคน แผนพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียดูเริ่มเห็นเค้าโครงเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาพื้นที่ที่ดินเชิงพาณิชย์ความคืบหน้าของรูปแบบโครงข่ายคมนาคมที่จะเชื่อมโยงการเดินทางรวมถึงความคึกคักของนักลงทุนภาคเอกชนล่าสุด”ฐานเศรษฐกิจได้สำรวจเจาะลึกทำเลบางซื่อนี้อีกครั้ง เพื่อให้เห็นความคืบหน้าในแต่ละด้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน เปิดเวทีทำมาร์เก็ตซาวดิ้ง5ส.ค. แหล่งข่าวระดับสูงจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อ 2.3 พันไร่ ว่า จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนในและต่างประเทศ(มาร์เก็ตซาวดิ้ง)กันในวันที่ 5 สิงหาคม2558 ที่จะถึงนี้ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยเชิญนักลงทุนไทยและต่างประเทศกว่า 150 รายเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น และทราบความต้องการของนักลงทุน เพื่อนำไปจัดทำร่าง ทีโออาร์ต่อไป “เราจะเชิญหมดทุกกลุ่มทุนในไทย ทั้ง ภาคอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก โรงแรม สถาบันการเงิน ส่วนทุนต่างชาติมีทั้ง ไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน ที่เชิญไปแล้วและแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในการรับฟังความคิดเห็นนี้ ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีกลุ่มทุนไทยรายใหญ่ ทั้ง กลุ่มเซ็นทรัล เดอะมอลล์ พฤกษา ซีพี บีทีเอส รวมถึงบริษัท เซเว่นเดย์ ที่ทำธุรกิจโรงแรมรายใหญ่ของจีน ได้เข้ามาทาบทามอยากจะเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการแล้ว” มีลุ้นสัญญาเช่าที่ดินเกิน50 ปี แหล่งข่าวยังกล่าวต่ออีกว่า การทำมาร์เก็ตซาวดิ้ง ในครั้งนี้จะเป็นเวทีให้นักลงทุนนำเสนอความต้องการได้อย่างเต็มที่ เช่น สัญญาเช่าที่ดินควรจะเป็นกี่ปี 30 ปี 50 ปีหรือ 99 ปี เหมือนกับโครงการมักกะสัน ซึ่งการขยายระยะเวลาเช่าที่ดินให้ยาวขึ้นร.ฟ.ท.ก็จะได้ค่าเช่าที่ดินเพิ่มมากขึ้น เอกชนก็จะสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ หรือ กรณีของร่วมทุนเอกชนอาจเสนอไม่ต้องใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐเอกชน เพราะเห็นว่าจะทำให้โครงการเกิดความล่าช้า เป็นต้น “ข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้จะนำมารวบรวมเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อผลักดันไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต่อไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าเอกชนสนใจที่จะลงทุนโครงการนี้อย่างจริงจังและเห็นว่ามีหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาต่อการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่นี้” แหล่งข่าวกล่าว แหล่งข่าวระบุอีกว่า ในกรณีของราคาที่ดินย่านนี้พบว่ามีการซื้อขายกันตารางวาละ 5 แสนบาท แต่ถ้าหากให้เช่า 30 ปีก็จะเหลือตารางวาละ1 แสนบาท อีกทั้งที่ดินผืนนี้ ร.ฟ.ท.ต้องการนำมาพัฒนาเพื่อล้างหนี้ทั้งหมดและต้องการเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เดินหน้าไม่ล้าหลังเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งมีแผนที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นรองรับแผนการลงทุนในอนาคตเพื่อความคล่องตัวด้วย “ โครงการนี้ควรจะเกิดภายใน 2ปี เพื่อสอดรับกับสถานีกลางบางซื่อที่จะเริ่มเปิดเดินรถสายสีแดง แต่ถ้าการพัฒนาเต็มทั้งพื้นที่ก็เท่ากับจะเป็นศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมที่ใหญ่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ไม่เฉพาะเออีซี มีผู้คนอยู่อาศัยในราว 5 แสนคน และมีผู้ใช้บริการหมุนเวียนวันละ 2 ล้านคน น้อง ๆ โตเกียว ดังนั้นการพัฒนาแต่ละโครงการ จึงจะเป็นคอมเพล็กซ์ทั้งหมดแต่แยกย่อยแต่ละโซน โดยมีพื้นที่รวม 4.4 ล้านตารางเมตร” แหล่งข่าวกล่าวและว่า ขณะที่กลุ่มทุนที่สนใจอย่าง พฤกษา นั้นต้องการพื้นที่ 200 ไร่ ซีพีต้องการทำรีเทล บีทีเอสต้องการพื้นที่ 50-100 ไร่ แบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 โซนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ทั้ง โรงแรม ศูนย์การค้า ออฟฟิศ ค้าปลีก และที่อยู่อาศัย ไม่ร่วมโครงการย่อยๆ อีกเป็นจำนวนมาก แผนพัฒนาสถานีชัดเจนแล้ว ส่วนความคืบหน้าแผนพัฒนาฯแหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้แผนพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งที่ทันสมัยที่สุดในเอเชีย รวมทั้งพื้นที่ย่านพหลโยธินทั้ง 2,300 ไร่ มีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะรูปแบบและแผนการพัฒนาพื้นที่แปลงต่างๆ ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาคือ บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ศึกษาความเหมาะสมและการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปิด3โซนพัฒนาลำดับแรก สำหรับแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในครั้งนี้ แบ่งพื้นที่ออกเป็นลักษณะใหญ่ คือ พื้นที่รถไฟ ประกอบด้วยสถานีกลางบางซื่อ และที่ดินย่านพหลโยธิน แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 โซน คือ โซน เอ ใกล้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ขนาดพื้นที่ประมาณ 35 ไร่ โซน บี ถัดมาทางด้านใต้ ใกล้สวนจตุจักรพื้นที่ประมาณ 78 ไร่ โซน ซี พื้นที่ตั้งของบริษัท ขนส่ง จำกัดในปัจจุบัน ประมาณ 105 ไร่ และโซน ดี ช่วงด้านหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ประมาณ 70 ไร่ ปัจจุบันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)เป็นผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว สำหรับพื้นที่ 4 โซนนี้อยู่ในพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ ส่วนโซนพื้นที่กม.11 อีกประมาณ 400 ไร่อยู่ในพื้นที่ย่านพหลโยธิน “โซน เอ หัวมุมใกล้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีแผนจะดำเนินการก่อน จะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์รูปแบบเช่นเดียวกับสยามสแควร์ คาดว่าจะมีกลุ่มค้าปลีกชั้นนำให้ความสนใจเข้ามาร่วมประมูลพื้นที่อย่างคับคั่ง ส่วนโซน ซี พื้นที่ตั้งของบริษัท ขนส่งฯ ซึ่งปัจจุบันมีแผนย้ายไปที่รังสิต ก็จะพัฒนาให้เป็นเมืองใหม่เพื่อการอยู่อาศัย โดยจะสามารถสร้างที่อยู่อาศัยแนวสูงรองรับได้ประมาณ 1 หมื่นหน่วย เช่นเดียวกับพื้นที่โซนกม.11อีก 400 ไร่นั้นคาดว่าจะสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ประมาณ 1 แสนหน่วย “ บีทีเอส/พฤกษา/ทุนจีน สนใจร่วมทุน แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า วันที่ 5 สิงหาคมนี้จะชัดเจนในเรื่องว่าร.ฟ.ท.จะจัดทำร่างทีโออาร์เมื่อใด แผนพัฒนาคืบหน้าถึงไหน และกลุ่มไหนสนใจอย่างไร แต่โครงการที่น่าสนใจจริงๆมีเพียง 3 โครงการ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มพฤกษาที่สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่โซน ซี และอีกกลุ่มที่สนใจไม่น้อยไปกว่ากลุ่มพฤกษาคือกลุ่มบีทีเอสโดยการนำของนายคีรี กาญจนพาสน์ แสดงความต้องการพัฒนาระบบมินิโมโนเรลเชื่อมโยงพื้นที่ย่านพหลโยธินทั้งหมดโดยเฉพาะแปลงโซนพื้นที่กม.11ที่กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบีทีเอสสนใจร่วมพัฒนาโครงการดังกล่าวนี้ด้วยเพื่อให้เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้าบีทีเอส นอกเหนือจากการเชื่อมโยงพื้นที่ในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มบีทีเอสที่ร่วมทุนกับกลุ่มแสนสิริ ในโซนด้านศูนย์ซ่อมบำรุงบีทีเอสปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสนใจจะก่อสร้างสกายวอล์กหรือรถไฟฟ้ามินิโมโนเรลเชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจตุจักรไปยังสถานีกลางบางซื่อและสถานีเตาปูนของรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้สามารถเดินทางเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างสะดวกสบายนั่นเอง “ เช่นเดียวกับกลุ่มทุนจีนซึ่งอยู่ในธุรกิจโรงแรมก็มีความสนใจจะพัฒนาโรงแรมในพื้นที่โซนซีเป็นกลุ่มที่กว้านซื้อโรงแรมเซเว่นเดย์ซึ่งมีที่พักมากสุดในสาธารณรัฐประชาชนจีนในขณะนี้โดยมีแผนที่จะขยายมายังประเทศไทยและมาเลเซียและกลุ่มประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้มากขึ้น ยื่นนายกฯตู่ ขอยกเว้นใช้พ.ร.บ.ร่วมทุน อย่างไรก็ตาม โครงการสถานีกลางบางซื่อเป็นเมกะโปรเจ็กต์แรก ๆที่ผู้คนสนใจเฝ้ามองความชัดเจนของการพัฒนามานานหลายปี และยังติดตามว่าโครงการนี้จะสำเร็จในระยะเวลา 4-5 ปีต่อจากนี้ได้หรือไม่ แต่ยังกังวลเรื่องพ.ร.บ.ร่วมทุนที่กระบวนการค่อนข้างซับซ้อน ใช้ระยะเวลานานกว่าจะสำเร็จ จึงเตรียมเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอยกเลิกพ.ร.บ.ร่วมทุนเป็นการเฉพาะโครงการนี้ บีทีเอสสนใจโมโนเรล-คอนโดฯ ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอส กล่าวว่า พื้นที่ที่น่าสนใจคือพื้นที่กม.11 ซึ่งปัจจุบันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)อยู่ระหว่างการเร่งสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย “ข้อเท็จจริงของการเข้าพบพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคือแสดงความสนใจจะเข้าไปพัฒนาระบบโมโนเรลเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงพื้นที่กม.11 กับพื้นที่ย่านพหลโยธินเพื่อให้ผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างสะดวกกว่าปัจจุบันนี้หากมีการพัฒนาเต็มรูปแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบหลักได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้วร.ฟ.ท.ก็จะต้องกำหนดทีโออาร์ให้มีการประมูลเกิดขึ้น นั่นคือบีทีเอสได้ชี้แนะแนวทางการพัฒนาและการเชื่อมโยงได้อย่างเข้าถึงพื้นที่สะดวกรวดเร็ว” ด้านความสนใจลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่กม.11 นั้นทางกลุ่มบีทีเอสก็สนใจจะเข้าไปประมูลหรือร่วมทุนพัฒนาโครงการตามที่ร.ฟ.ท.กำหนด เช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างสกายวอล์กเชื่อมโยงในพื้นที่ตามแบบที่สนข.ศึกษาไว้นั้นยังเห็นว่าอาจจะสร้างโมโนเรลเชื่อมโยงได้อีกเช่นกัน พฤกษายันไม่ปิดกั้นโอกาส นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่ายอมรับว่าพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างมาก เนื่องจากในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อการคมนาคมโดยรถไฟฟ้าที่สำคัญ ซึ่งเหมาะที่จะทำในเชิงพาณิชย์ ซึ่งในตลาดมีผู้ประกอบการที่มีความถนัดมากกว่าบริษัทพฤกษาฯจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะปิดกั้นโอกาสที่จะเข้าไปพัฒนา แต่ต้องรอดูโอกาสและความพร้อมของบริษัทในการที่จะเข้าไปพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว”นายเลอศักดิ์ กล่าว ยกเป็นศูนย์กลางเดินรถไฟ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท. ได้จัดทำ”โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ” ขึ้น เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของ ร.ฟ.ท. โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 แปลง ประกอบด้วยแปลงที่ 1 จำนวน 35 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 78 ไร่ แปลงที่ 3 จำนวน 105 ไร่ โดยได้นำแนวคิด TOD (Transit Oriented Development) ภายใต้หลักการบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองสำหรับพื้นที่พาณิชยกรรมกับการคมนาคมขนส่งเข้าด้วยกัน มาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาโครงการ สำหรับพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อจำนวน 218 ไร่ มีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางและคมนาคมขนส่งของพื้นที่กรุงเทพมหานครและเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศด้วยระบบรางทุกประเภททั้งรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และใต้ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางอากาศด้วยแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เชื่อมท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ และยังสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนหลัก เช่น ถนนพหลโยธิน วิภาวดีรังสิต จุดขึ้น-ลงทางด่วนขั้นที่ 2อีกด้วย “ที่นี่จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ครั้งแรกของ ร.ฟ.ท. ที่จะเพิ่มมูลค่าของที่ดินให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” อีกหลายปีกว่าเสร็จสมบูรณ์ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พื้นที่สถานีกลางบางซื่อนั้นมีหลายโครงการของหลายภาคส่วนที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนา ซึ่งจะใช้ระยะเวลาอีกหลายปีกว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ที่ดินสะพานควายรับอานิสงส์ นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวถึง ข้อมูลการประเมินราคาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อและย่านพหลโยธินว่า ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันอยู่ที่ย่านสะพานควายที่พบเห็นที่อยู่อาศัยแนวสูงเกิดขึ้นแล้วไม่น้อยกว่า 3 โครงการ แต่ยังพบว่ามีแปลงที่ดินว่างเตรียมการพัฒนาอยู่อีกบางส่วนทั้งพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ณ จุดหัวมุมถนนพหลโยธินและพื้นที่ของเอกชนฝั่งใกล้กับกรมการขนส่งทางบก ย่านพหลฯลิ่ว 4-5 แสน/ตร.ว. สำหรับโซนด้านพหลโยธินที่รถไฟฟ้าบีทีเอสใช้พื้นที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงในปัจจุบัน ขณะนี้ราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง 4-5 แสนบาทต่อตารางวา โดยคาดว่ากลุ่มบีทีเอสจะกว้านซื้อพื้นที่ในโซนนั้นพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อให้เป็นอาณาจักรของบีทีเอสได้เกือบทั้งหมด ปัจจุบันได้สร้างโครงการ THE LINE รูปแบบที่อยู่อาศัยแนวสูงขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวนำร่องไปแล้ว เช่นเดียวกับโซนถนนวิภาวดีรังสิตทั้ง 2 ฝั่งราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 10% จึงเป็นไปได้ว่าปี 2559 ราคาโซนตั้งแต่โรงเรียนหอวัง ไล่เรียงไปยังอาคารเดิมของบริษัท ฐานเศรษฐกิจ จำกัด ไปจนถึงอาคารสำนักงานใหญ่บริษัท ตรีเพชรอีซูซุ จำกัดน่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีก คงต้องจับตากันต่อไป ทางด้านโซนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)เรื่อยมาจนถึงพื้นที่จุดทางด่วนนั้นราคาประเมินอยู่ระหว่าง 2 -3 แสนบาทต่อตารางวา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าอาคารเก่าบางส่วนอาจจะถูกปรับเปลี่ยนไปหากโครงการสถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้ว และยังคาดว่าจะส่งผลบวกต่อพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งของแนวเส้นทางรถไฟสายสีแดงที่มาจากสถานีสามเสนอีกด้วย แตกต่างกับโซนเตาปูนที่พบว่าราคายังไม่ผันแปรมากนัก ยังมีราคาประเมินประมาณ 1 -1.5 แสนบาทต่อตารางวา หรือไม่เกิน 2 แสนบาทต่อตารางวา ทั้งๆที่มีจุดขึ้น-ลงรถไฟฟ้า MRT อำนวยความสะดวกแล้ว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มบริษัท ปูนซิเมนต์ไทยฯ นั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2015 11:57 am    Post subject: Reply with quote

จ.สงขลา จัดประชุมคณะทำงานเดินหน้าแก้ไขการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สวท.สงขลา 6 สิงหาคม 2558

ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดสงขลา มีการจัดประชุมคณะทำงานแก้ไขการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2558 โดยมีตัวแทนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมประชุม มี พลเอก คนินทร วงศาโรจน์ ประธานคณะทำงานแก้ไขการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของการรถไฟฯ นั่งเป็นประธานในการประชุมในครั้งนี้ สำหรับการประชุมในดังกล่าว นอกจากจะมีการพูดคุยถึงปัญหาความขัดแย้งเรื่องของอัตราค่าเช่า และค่าเซ้ง ของบริษัทมิตรทองสงขลา กับชุมชนตลาดรถไฟสงขลา แล้ว ยังได้มีการเปิดเผยถึงปัญหาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนที่กรมศิลปากรประกาศให้สถานีรถไฟสงขลาเป็นโบราณสถาน ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ของจังหวัดสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2,300 ตารางเมตร ทับซ้อนอยู่ในที่ดินจากพื้นที่ทั้งหมด 40,371 ตารางเมตร ที่ทางบริษัท มิตรทอง ที่ได้เช่าช่วงต่อมาจากการรถไฟ

ซึ่งเรื่องดังกล่าว พลเอก คนินทร วงศาโรจน์ ประธานคณะทำงานแก้ไขการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของการรถไฟฯ ได้ให้ทางเทศบาลนครสงขลาทำหนังสือถึงการรถไฟฯให้รับทราบปัญหาดังกล่าว และได้ขอให้ทุกฝ่ายเข้ามาพูดคุยกันถึงวิธีการแก้ไขปัญหา และหลังจากพูดตกลงกันได้แล้วก็พร้อมจะนำข้อเสนอทั้งหมดส่งให้บอร์ดการรถไฟได้พิจารณาต่อไป

----
ภาพข่าวเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่ครับ
Arrow http://talung.gimyong.com/index.php/topic,394702.0.html
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 197, 198, 199  Next
Page 117 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©