Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181417
ทั้งหมด:13492655
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 123, 124, 125 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2016 10:00 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุยโปรเจคแสนล้านพัฒนาพื้นที่กม.11 รับแผนแม่บทพัฒนาย่านพหลโยธิน
ข่าวด่วน
วันที่โพสข่าว : 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 21:08 น.


วานนี้ (11 ก.พ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคม กม. 11 หลังจากการร.ฟ.ท.ว่าจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคม กม. 11 ซึ่งในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ร.ฟ.ท.ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยมีตัวแทนจากภาคเอกชนรายใหญ่เข้าร่วมประมาณ 40-60 ราย อาทิ ซีพีแลนด์, ทีซีซี แลนด์, พฤกษา,บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ,สิงห์ เอสเตท ,ศุภาลัย ,นารายณ์พร็อพเพอร์ตี้ ,คิวเฮ้าส์, สัมมากร, ภิรัช บุรี กรุ๊ป ,เอไอเอ ,เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ,โฮมโปร ,เอ็มบีเค ,เดอะแพลตินั่ม กรุ๊ป ,เดอะมอลล์ กรุ๊ป,สยามพิวรรธน์ ,เซ็นทรัล พัฒนา ,เดอะเอราวัณ กรุ๊ป, และตัวแทนจาก 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ โดยในการประชุมได้นำเสนอข้อมูลโครงการ ศักยภาพของพื้นที่แนวทางการพัฒนาโครงการ ขนาดมูลค่าโครงการ


สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ นิคม กม.11 ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 279 ไร่ เป็นหนึ่งใน 3 แปลงทำเลทอง ของการร.ฟ.ท. ได้ว่าจ้างศึกษาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ตั้งอยู่ติดถนนวิภาวดี-รังสิต และ ถนนกำแพงเพชร 2 เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน ที่กำหนดให้เป็น International Business Center และเป็นศูนย์กลางระบบการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์เช่นเดียวกับศูนย์กลางธุรกิจอื่นๆ เช่น ศูนย์กลางด้านการเงินย่านสีลม สาทร หรือ ศูนย์แฟชั่นย่านสยามสแควร์ เพลินจิต ประตูน้ำ การรวบรวมนำธุรกิจประเภทเดียวกันมาอยู่ในย่านเดียวกันนี้จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการ


นายประเสริฐ สายพวรรณ์ ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน นิด้า ผู้แทนผู้จัดการโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ นิคม กม.11 กล่าวว่า จากการศึกษาออกแบบโครงการเบื้องต้น โดยนำเสนอรูปแบบโครงการแบบผสมผสมผสานมิกซ์ยูส ทั้งที่อยู่อาศัย เชิงพาณิชย์ คาดมีมูลค่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และตั้งโครงการจะเวลาก่อสร้าง 8-9 ปี


ทั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 อาคารสำนักงาน ตั้งอยู่บริเวณถนนหลักของโครงการ ที่เชื่อมถนนวิภาวดี กับถนนกำแพงเพชร 2 พื้นที่ 64 ไร่ ได้ FAR 8:1 คิดเป็นพื้นที่พัฒนาได้สูงกว่า 8 หมื่นตร.ม. แบ่งเป็นขนาดแปลงบี พัฒนาเป็นสำนักงานเกรดเอ ขนาดพื้นที่ 4.88 หมื่นตร.ม. ,แปลงซี พัฒนาเป็นสำนักงานเกรดบี พื้นที่กว่า 5.63 หมื่นล้านตร.ม. โซนที่ 2 ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 5.4 แสนตร.ม. จะเป็นศูนย์ประชุมฯขนาดใหญ่ที่สุดในไทย ที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบขนส่งมวลชนแบบราง ภายในศูนย์ประชุมประกอบด้วย พื้นที่สำหรับแสดงสินค้าประมาณ 1.6 แสนตร.ม.จะเป็นพื้นที่ค้าปลีก 1 แสนตร.ม. อีก 1 อาคารเป็นโรงแรม 4 ดาว และอีกอาคารจะเป็นสำนักงาน


โซนที่ 3 โรงพยาบาลนานาชาติ พื้นที่ประมาณ 24 ไร่ พัฒนาเพื่อรองรับลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ โซนที่ 4 ที่อยู่อาศัยริมสวน พื้นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับสวยนวิชรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) พัฒนาเป็นโครงการคอนโดมิเนียม เป็นแบบลีสโฮล ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 1-1.2 แสนบาทต่อตร.ม. และโซนที่ 5 พื้นที่พนักงานการรถไฟและที่ทำการสวนราชการ การพัฒนาจะประกอบด้วย อาคารพักอาศัยของพนักงานทุกระดับชั้น สนามกีฬา


อย่างไรก็ดี ในส่วนของภาคเอกชนเข้าร่วม มีข้อกังวลในเรื่องของระยะเวลาสัญญาการเช่าที่ดิน มองว่าระยเวลาคุ้มค่าน่าจะอยู่ที่ 50-60 ปี และบางรายเสนอสูงสุดถึง 99 ปี รวมทั้งยังเป็นห่วงในเรื่องการถนนการเข้าออก ที่มีความพลุกพล่านมาก เพราะมีศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฯ ทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารชุดไม่ได้รับความสะดวกได้ รวมถึงติงเรื่องการพัฒนาสำนักงานหากเป็นเกรดเอ จะไม่เหมาะสม เพราะในปีนี้และปีหน้าจะมีสำนักงานเกรดเอออกมาค่อนข้างมาก และการเป็นสำนักงานเกรดเอ ทำเลเป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟ มองน่าจะเหมาะเป็นอาคารสำนักงารเกรดบีมากกว่า


นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ กม.11 จะเร่งเสนอเข้าครม.ให้เร็วที่สุด คาดว่าจะเสนอเข้าครม.ได้ประมาณกลางปีนี้ นอกจากนี้ มีการศึกษาเชิงพาณิชย์ ส่วนโครงการสถานีแม่น้ำบนพื้นที่ 277 ไร่ ย่านคลองเตย-พระราม 3 การรถไฟฯ ต้องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นย่านเศรษฐกิจแห่งใหม่ในอนาคต แบ่งพื้นที่ออกเป็น 16 แปลง ภายใต้แนวคิดที่จะสร้างเป็นเอ็กซ์พีเรียนซ์ รีเทล หรือกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิตที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอาเซียนประกอบด้วย โรงแรมหรู ที่พักอาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า แหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนถึงท่าเรือยอชต์ เพื่อรองรับนักธุรกิจต่างชาติและคนไทย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายครบครัน


ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้กำหนดพื้นที่พัฒนาไว้ 4 โซนประกอบด้วย 1. พื้นที่ มิกซ์ยูสโซน หรือคอมเพล็กซ์พลาซาในสัดส่วนประมาณ 21% 2. พื้นที่เชิงพาณิชย์ในสัดส่วน 32% 3.พื้นที่อาคารสำนักงานในสัดส่วน 33% และ 4. พื้นที่สำหรับที่พักอาศัยอีก 14% โดยคาดว่าถ้ามีการลงทุนก่อสร้างเต็มโครงการจะต้องใช้งบประมาณถึง 58,386 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2016 4:16 am    Post subject: Reply with quote

ดึงบิ๊กอสังหารื้อสลัมรถไฟกม.11ทำมิกซ์ยูส บีทีเอสเกี่ยวก้อยแสนสิริผุดคอนโด2เกรดรับฮับรถไฟฟ้าบางซื่อ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 10:30:00 น.


รถไฟเร่งเครื่องพัฒนาที่ดิน 3 แปลงใหญ่ มูลค่าเฉียด 100,000 ล้าน หารายได้ปลดแอกหนี้ ดึงยักษ์ใหญ่อสังหาฯ โรงแรม ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้า ร่วมลงทุนโครงการรูปแบบมิกซ์ยูส ผุดที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงแรม และพาณิชยกรรม เตรียมเสนอบอร์ด PPP เคาะ มี.ค.-เม.ย.นี้ ดีเดย์ 11 ก.พ. เชิญ 40 บริษัท คือ ทีซีซี แลนด์-L&H-คิวเฮ้าส์-เซ็นทรัล-พารากอน-พฤกษา-BTS-แสนสิริ ร่วมมาร์เก็ตซาวนดิ้งที่ดินย่าน กม.11 เนื้อที่ 359 ไร่ ให้สัมปทานยาว 30-60 ปี ขึ้นคอนโดฯเกรด A-B 5 พันยูนิต ออฟฟิศแนวสูงและไซซ์มินิ 10 ตึก ซัพพอร์ตติ้งมอลล์ โรงแรม 4 ดาว ศูนย์แสดงสินค้าเทียบชั้นอิมแพ็ค "บีทีเอส" ผนึก "แสนสิริ" ยึดทำเลทองสร้างอาณาจักรใหม่รับฮับรถไฟฟ้า

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งรัดให้ที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการร่วมลงทุน หรือ PPP โครงการพัฒนาที่ดินขนาดใหญ่ใน 3 แปลง 3 ทำเล มูลค่า 96,783 ล้านบาท ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ PPP ภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ และเปิดประมูลได้ภายในปีนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้การรถไฟฯเร่งนำโครงการพัฒนาสร้างรายได้ เพื่อแก้ปัญหาภาระหนี้ที่มีอยู่ประมาณ 1.1 แสนล้านบาท

เปิดพิกัดที่ดิน 3 ทำเลทอง

โดยแปลงแรกเป็นที่ดินสถานีกลางบางซื่อ พื้นที่ 218 ไร่ มูลค่าลงทุน 6.8 หมื่นล้านบาท พัฒนาเป็นฮับธุรกิจและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่รองรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ศึกษารูปแบบการลงทุนแล้ว คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ปี 2559

ทั้งโครงการใช้เวลาพัฒนา 15 ปี แบ่ง 3 ช่วง ระยะสั้น 5 ปีแรก เริ่มโซน A 35 ไร่ ห่างสถานี 50-100 เมตร พัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร อาคารสำนักงานและธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม 3-4 ดาว ศูนย์อาหารลงทุน 1 หมื่นล้านบาท, แผนระยะกลาง 10 ปี เป็นโซน B 78 ไร่ อยู่ด้านตะวันออกของสถานี ห่างตลาดนัดจตุจักร 700 เมตร พัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรม ศูนย์การค้า ศูนย์แสดงสินค้า ลงทุน 2.4 หมื่นล้านบาท

แผนระยะยาว 15 ปี เป็นโซน C 105 ไร่ อยู่บริเวณสถานีขนส่งหมอชิต 2 และสวนสาธารณะ 3 แห่ง เหมาะพัฒนาที่อยู่อาศัยหรือเมืองใหม่ มีทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน สปอร์ตคอมเพล็กซ์ลงทุน 3.4 หมื่นล้านบาท และโซน D 87.5 ไร่ เป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการเดินทาง เช่น ที่จอดรถ และทางเดินเชื่อม

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับแปลงที่ 2 เป็นที่ดินสถานีแม่น้ำ 277 ไร่ มูลค่า 10,413 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนเช่นกัน รูปแบบการพัฒนาโครงการจะเป็นแบบมิกซ์ยูส และจะทำให้เป็นแลนด์มาร์กใหม่ของกรุงเทพฯ เนื่องจากแปลงที่ดินอยู่ในทำเลมีศักยภาพและติดแม่น้ำ

มาร์เก็ตซาวนดิ้งที่ดิน กม.11

แปลงสุดท้ายที่โครงการพัฒนาที่ดินย่าน กม.11 จำนวน 359 ไร่ ในวันที่ 11 ก.พ. 2559 จะจัดมาร์เก็ตซาวนดิ้ง (ทดสอบความสนใจ) โดยจะเชิญผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ โรมแรมและศูนย์การค้าจำนวน 40 บริษัทเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรูปแบบการพัฒนาโครงการ เนื่องจากโครงการนี้จะดำเนินการภายใต้รูปแบบ PPP

สำหรับผู้ประกอบการจะเชิญเข้าร่วมงาน อาทิ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์, บจ.ทีซีซี แลนด์ (ธุรกิจอสังหาฯของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี), บมจ.สัมมากร, บจ.สยามพิวรรธน์ (ศูนย์การค้าสยามพารากอน), บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์, บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง, บมจ.แสนสิริ, บมจ.พฤกษาฯ, บมจ.ศุภาลัย, บจ.แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล (กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์), บจ.ภิรัชบุรี (ผู้ประกอบการโครงการอาคารสำนักงานและศูนย์แสดงสินค้าไบเทค) เป็นต้น

เปิดพิมพ์เขียว 359 ไร่

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า รูปแบบการพัฒนาจะเป็นมิกซ์ยูส เนื่องจากพื้นที่มีขนาดใหญ่มาก โดยการพัฒนาจะประกอบด้วย 1.อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ จำนวน 7-8 อาคาร 2.มินิออฟฟิศ จำนวน 2-3 อาคาร 3.ศูนย์ประชุมขนาดเทียบเท่าอิมแพ็ค พื้นที่ 1.5 แสนตารางเมตร 4.โรงแรมขนาด 4 ดาว จำนวน 250 ห้อง 5.คอนโดมิเนียมเกรด A จำนวน 1,000-2,000 ยูนิต ราคา 140,000-150,000 บาท/ตารางเมตร และเกรด B จำนวน 3,000 ยูนิต ราคา 90,000-100,000 บาท/ตารางเมตร โดยสร้างบางส่วนเป็นที่พักอาศัยเพื่อรองรับพนักงานการรถไฟฯประมาณ 2,500 ยูนิต 6.ซัพพอร์ตติ้งมอลล์หรือพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 1 หมื่นตารางเมตร และมีบางส่วนอยู่ใต้ตึกที่พักอาศัยเป็นสวัสดิการให้พนักงานรถไฟ และ 7.โรงพยาบาลและสนามกีฬา

"มูลค่าโครงการยังไม่นิ่ง เพราะแบบพื้นที่ยังไม่สรุป ล่าสุด ปตท.ขอใช้พื้นที่เพิ่ม ขึ้นอยู่กับโมเดลเอกชนนำเสนอรูปแบบการพัฒนาโครงการ แต่คาดว่าจะมากกว่าที่เคยศึกษาไว้อยู่ที่มูลค่า 18,370 ล้านบาท มีพัฒนาอาคารพาณิชยกรรม สำนักงาน และที่อยู่อาศัย ขณะนี้จ้างที่ปรึกษาศึกษารูปแบบการลงทุนให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556 คาดว่าจะให้เอกชนเช่าพัฒนายาว 30 ปี, 50 ปี, 60 ปี"

บีทีเอส-แสนสิริจ้องตาเป็นมัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซีกล่าวว่า แม้ว่าการรถไฟฯจะนำที่ดินย่าน กม.11 เข้าสู่กระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 2556 บริษัทยังคงสนใจพัฒนาโครงการ และหากมีการลงทุนคอนโดมิเนียม มีความเป็นไปได้สูงจะร่วมกับ บมจ.แสนสิริเข้าร่วมประมูล เนื่องจากมีข้อตกลงร่วมกันจะลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดฯในรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า และที่ย่าน กม.11 อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าสถานีกลางบางซื่อของสายสีแดง

ก่อนหน้านี้บริษัทได้เสนอแนวคิดพัฒนาโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาบ้างแล้วโดยพัฒนาในรูปแบบคอนโดมิเนียมจำนวน10อาคาร ประมาณ 1 หมื่นยูนิต สำหรับเป็นสวัสดิการพนักงานการรถไฟฯ 5,000 ยูนิต และให้คนทั่วไปที่มีรายได้ปานกลางเช่าระยะยาว 10-30 ปี รวมทั้งมีพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า โรงพยาบาล

ลงทุนโมโนเรลพ่วง

นายสุรพงษ์กล่าวอีกว่า อีกทั้งบริษัทสนใจลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) เชื่อมการเดินทางรอบ กม.11 และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อรับส่งคนมายังย่านหมอชิต-จตุจักร จุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งมีอยู่ในแผนพัฒนาของการรถไฟฯ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ออกแบบเสร็จแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บีทีเอสได้เสนอโมเดลพัฒนาเบื้องต้นให้กับกระทรวงคมนาคมมี 5 ส่วน คือ 1.ลงทุน 1 หมื่นล้านบาทสร้างคอนโดฯประมาณ 5,000 ยูนิต รองรับพนักงานการรถไฟฯ 5,000 ครัวเรือน ออกแบบเป็นห้องชุด 2 ไซซ์ 42 และ 56 ตารางเมตร โดยบริษัทสร้างให้ฟรีเพื่อแลกเปลี่ยนกับการพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เหลือ 2.พื้นที่ค้าขายสำหรับผู้ประกอบการที่ค้าขายบริเวณ กม.11 เดิม 3.สวนสาธารณะ 4.คอนโดฯให้เช่าสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง และ 5.พื้นที่เชิงพาณิชย์ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนร่วม 1 แสนล้านบาท (รวมโมโนเรล)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2016 4:17 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ฝันสร้างเมืองใหม่นิคมกม.11ค่าเฉียด1แสนล้าน
Properties tomorrow
11 กุมภาพันธ์ 2559

การรถไฟฯเชิญเอกชนร่วมแสดงความเห็นแผนพัฒนาพื้นที่ 279 ไร่ บริเวณนิคม กม.11 หวังปั้นเป็นเมืองใหม่ใจกลางกรุงรวมมูลค่าเฉียด 1 แสนล้านบาทมั่นใจเดือนมีนาคมนี้สรุปและนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้กลางปี 2559 หากผ่านก็เข้าสูกระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุนจากนั้นเชื่อมั่นต้นปี 2560 สรุปพร้อมดำเนินการให้เป็นเป็นรูปเป็นร่าง


นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทยหรือ รฟท. เปิดเผยว่า การรถไฟฯได้ว่าจ้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ นิคม กม. 11 (FAR8:1) ซึ่งในการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว การรถไฟฯ ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ทางสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์โครงการ และจัดทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559ได้เชิญผู้ประกอบการหรือตัวแทนภาคเอกชนมาประมาณ 50 บริษัท เช่น ทีซีซีแลนด์, สิงห์ เอสแตท, เอไอเอ, นารายณ์ พร๊อพเพอร์ตี้ และตัวแทนจาก 3 สมาคมอสังหา เป็นต้น



ที่ดินบริเวณนิคมกม.11 นี้เป็นหนึ่งในที่ดิน3 แปลงที่ การรถไฟฯได้จัดทดสอบความสนใจของภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) ดังนี้คือ ที่ดินสถานีบางซื่อพื้นที่กว่า 305 ไร่, ที่ดินนิคม กม.11 เนื้อที่กว่า 279 ไร่ และที่ดินสถานีแม่น้ากว่า 277 ไร่ มูลค่าโครงการประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยที่ดินทั้ง3แปลงหลังจากรับฟังความคิดเห็นแบบรอบด้านเสร็จจะนำมาประมวลผลและปรับปรุงเสร็จภายในเดือนมีนาคม และจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในกลางปีนี้ และหากเป็นไปตามแผนงานคาดว่าน่าจะเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลได้ในปี 25560



โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ นิคม กม.11 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย บนพื้นที่ประมาณ 279 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน ที่กำหนดให้เป็น International Business Center และเป็นศูนย์กลางระบบการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์เช่นเดียวกับศูนย์กลางธุรกิจอื่นๆ เช่น ศูนย์กลางด้านการเงินย่านสีลม สาทร หรือ ศูนย์แฟชั่นย่านสยามสแควร์ เพลินจิต ประตูน้ำ การรวบรวมนำธุรกิจประเภทเดียวกันมาอยู่ในย่านเดียวกันนี้จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการ เมื่อมีศูนย์ธุรกิจขนาดใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ มารองรับโดยการจัดพื้นที่บริเวณโดยรอบ ย่านต่างๆ ควรมีส่วนเปิดโล่ง (Open Area) เชื่อมโยงถึงกัน พื้นที่ส่วนกลางนี้จะมีลักษณะเหมือนบริเวณ Center Point ที่เป็นจุดรวมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนแห่งนี้ นอกจากจะใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวันของผู้ที่ทำงานหรืออยู่อาศัยในบริเวณนี้แล้ว ยังสามารถจัดให้เป็น บริเวณที่มีกิจกรรมพิเศษต่างๆ ของปี เช่น งานปีใหม่ งานประเพณีสงกรานต์ ตรุษจีน ลอยกระทง เป็นต้น เพื่อให้ย่านนี้เกิดเป็น International Community อย่างแท้จริง



ข้อมูลจำเพาะ:

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณกม. 11

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ติดถนนวิภาวดี-รังสิต และ ถนนกำแพงเพชร 2 โดยที่ดินฝั่งที่ติดด้านถนนวิภาวดีรังสิต มีอาคารสำนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ อาคารสำนักงานเอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ที่ดินของโครงการตั้งอยู่ใน เขตจตุจักร

ขนาดที่ดิน เนื้อที่ประมาณ 279 ไร่

การใช้ประโยชน์ในที่ดินปัจจุบัน ที่ทำการ ที่พักอาศัยนิคมรถไฟ คลับเฮ้าส์/สนามซ้อมกอล์ฟ ที่ทำการฝ่ายบริหารงานบุคคลด้านฝึกอบรม โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ และอื่นๆ


ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการ

· เป็นบริเวณรอยต่อของย่านธุรกิจเดิมที่มีศักยภาพสูง จึงเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการพัฒนาย่านสำคัญอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง

· ทำให้โครงการนี้เป็นเส้นทางหลังของการวางแผนโครงข่ายเส้นทางขนส่งของการรถไฟฯ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยรอบ โดยจะเป็นการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง จากการใช้ประโยชน์ในเส้นทางที่มีอยู่เดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะเส้นทางขนส่งทางภาคเหนือและภาคตะวันออก

· เชื่อมโยงพื้นที่ด้านการค้าในเมืองเข้าสู่พื้นที่โครงการการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคมรถไฟ กม.11 ได้เป็นอย่างดี


จากที่ดินทั้งหมด 279 ไร่นั้นแบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 โซนหลักๆ ดังนี้ โซนที่ 1.อาคารสำนักงาน บริเวณริมถนนหลักของโครงการ ที่เชื่อมถนนวิภาวดีรังสิต เข้ากับถนนกำแพงเพชร 2 พื้นที่ประมาณ 64 ไร่ คิดเป็นพื้นที่พัฒนาได้สูงสุด 800,000 ตารางเมตร(ตร.ม.)ใกล้กับจุดเชื่อมศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีจตุจักร และสถานีรถไฟฟ้าห้าแยกลาดพร้าวในอนาคต โซนนี้จะมีอาคารสำนักงานเกรดเอ.และบี



โซนที่ 2.ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ ด้วยพื้นที่ก่อสร้างประมาณ 540,000 ตารางเมตร จะทำให้ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติแห่งนี้เป็นศูนย์กลางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่สามารถเข้าถึงทั้งระบบขนส่งมวลชนแบบราง ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับแสดงสินค้าประมาณ 160,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับผู้คนเดินทางและคนทำงานในย่านนั้นกว่า 10,000 คน ,โรงแรมขนาด 357 ห้อง พร้อมที่จอดรถ



โซนที่ 3. โรงพยาบาลนานาชาติแห่งใหม่ บนเนื้อที่ 24 ไร่ ที่จะสร้างเป็นโรงพยาบาลอินเตอร์ปัจจุบันได้ลงนามกับโรงพยาบาลรายใหญ่รายหนึ่งแล้ว เพื่อรองรับลูกค้าทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่สามารถเดินทางมาใช้บริการผ่านทางสถานีกลางบางซื่อหรือรถไฟฟ้าสายสีแดง



โซนที่ 4.ที่อยู่อาศัยริมสวน โซนนี้จะอยุ่บริเวณใกล้เคียงกับสวนบชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) เป็นโครงการอยู่อาศัยแนวสูง



และโซนที่5.พื้นที่พนักงานการรถไฟและที่สำการส่วนราชการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2016 9:51 am    Post subject: Reply with quote

ย้ายหมอชิต....พลิกโฉมการเดินทาง
เดลินิวส์ วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 8:00 น. คอลัมน์ : มุมคนเมือง โดย “เทียนหยด

อีกไม่นาน ภาพความโกลาหลของผู้โดยสาร ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อกว่า 10 ปีก่อน หลังบริษัทขนส่งจำกัด หรือ บขส. ต้องย้ายสถานีจากขนส่งหมอชิตเก่า ฝั่งตรงข้ามสวนจตุจักร ไปตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ(จตุจักร) แห่งใหม่ที่หมอชิต2 หลีกทางให้อู่รถไฟฟ้าบีทีเอส จะกลับมาอีกครั้ง

เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องใช้ที่ดินหมอชิต2ที่บชส เช่าอยู่ กว่า 70 ไร่ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและสถานีกลางบางซื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ –รังสิต )ที่กำลังลุยก่อสร้าง มีแผนเปิดบริการปี 2562 แต่จะกันพื้นที่ 16 ไร่ ให้ใช้เป็นสถานีขนส่งย่อย ทำให้บขส. ต้องวุ่นหาที่ใหม่อีกรอบด้วยการให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เร่งศึกษาหาที่ดินทดแทนภายใน 2 เดือน เพราะต้องย้ายออกจากหมอชิต2 ภายในปี60-61 นี้

ขณะที่นักวิชาการและประชาชนผู้โดยสาร เริ่มออกมาคัดค้านการย้ายหมอชิต2 เพราะที่เดิมดีอยู่แล้ว ทำเลดีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าและระบบทางด่วน ในอนาคตบริเวณนี้อยู่ในพื้นที่ 2 พันไร่ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมพหลโยธินเชื่อมการเดินทางทุกระบบด้วย

นอกจากนี้การย้ายหมอชิตต้องเสียงบประมาณก่อสร้างสถานีใหม่ กระทบต่อผู้ประกอบการรถร่วมต้องลงทุนเพิ่ม แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ทำให้ประชาชนผู้โดยสารได้รับความเดือดร้อน ต้องวุ่นวายย้ายไปที่ใหม่ไกลกว่าเดิมไม่คุ้นชิน

เมื่อต้องย้ายหมอชิต 2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ล่าสุด นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการ(บอร์ด) บขส. ได้นำนโยบายเรื่อง” คลัสเตอร์” ซึ่งในทางธุรกิจเป็นการรวมกลุ่มของธุรกิจหรือผู้ประกอบการมาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มาใช้บริหารจัดการเดินรถบขส.และรถร่วมทั้งรถบัสโดยสารและรถตู้ เพื่อปรับรูปแบบการบริการเดินรถใหม่ จากเดิมแต่ละสถานีแยกเป็นขนส่งหมอชิต 2 ไปเหนือ อีสาน สายใต้ ไปภาคใต้ และเอกมัยไปภาคตะวันออก

แบ่งใหม่เป็นกลุ่มคลัสเตอร์ กระจายการให้บริการไปตามสถานีย่อยต่างๆ 5 ศูนย์ทั่วกรุงเทพฯ หวังอำนวยความสะดวกประชาชนเดินทางไปสถานีจุดเดียวแต่เดินทางไปได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งภาคเหนือ อีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันออก

โดยสถานีหมอชิต2เดิม ที่ต้องยุบพื้นที่เหลือแค่ 16 ไร่ จะเน้นเส้นทางระยะไกล เช่น สายเหนือ อีสาน สถานีหมอชิตเก่า ที่จะกลับไปใช้พื้นที่บริเวณอู่จอดรถไฟฟ้าบีทีเอสจตุจักร ที่กรมการขนส่งขอสงวนที่จากกรมธนารักษ์ 1 แสนตารางเมตรหรือ 19 ไร่ จะให้บริการรถตู้ร่วมโดยสารของบขส.ทั้งหมด สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ จะเพิ่มบริการสายเหนือ และสายตะวันออก สถานีเอกมัย จะย้ายไปอยู่บริเวณบางนา ที่ดินของบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป เสนอให้ บขส. เช่าที่ดิน 7.5 ไร่เศษ 20ปี พร้อมทุ่มทุนสร้างสถานีให้ทั้งหมด แลกกับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์สร้างร้านค้า และร้านอาหารจะแบ่งผลประโยชน์บางส่วนให้บขส.ด้วย

สำหรับสถานีขนส่งแห่งใหม่ทดแทนหมอชิตเดิม จะให้บริการเดินรถทั้งสายเหนือ อีสาน สายใต้ และ สายตะวันออก ส่วนสำนักงานบขส. จะย้ายไปสถานีย่อยรังสิต จุดแวะรับส่งผู้โดยสารสายเหนือและอีสานในปัจจุบัน มีตึกสำนักงานอยู่แล้วต้องปรับปรุงเล็กน้อยเพื่อรองรับพนักงานประจำราว 1,000 คน

ในส่วนของสถานีเอกมัยแห่งใหม่นั้น บขส. กำลังเร่งเจรจากลุ่มเดอะมอลล์ น่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนมี.ค.นี้ วางแผนก่อสร้างทันที ใช้เวลา 3-4ปีหวังเปิดให้บริการในปี 2564 แม้ประชาชนจะต้องสับสนอลหม่านกับการย้ายหมอชิตอีกรอบ แต่หากสามารถบริหารจัดการเดินรถแบบใหม่ สถานีเดียวแต่เดินทางไปได้ทั่วประเทศ พลิกโฉมการเดินทางสะดวกสบายรวดเร็วกว่าเดิม เชื่อว่าประชาชนน่าจะทำใจยอมรับได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2016 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นพัฒนากม.11 โอเวอร์ซัพพลาย ชนทำเลบางซื่อ-จี้ร.ฟ.ท. ปรับผังเลี่ยงสร้างตึกหรู
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 15 ก.พ. 2559 เวลา 07:20:26 น.

ร.ฟ.ท.ซาวเสียงบิ๊กเอกชน พัฒนาที่ดินย่าน กม.11 พื้นที่ 359 ไร่ แบ่งแปลงพัฒนามิกซ์ยูส ลงทุนแสนล้านผุดศูนย์แสดงสินค้า ออฟฟิศบิลดิ้ง คอนโดฯ โรงพยาบาล ปั้นศูนย์กลางธุรกิจและการค้าแห่งใหม่ใกล้รถไฟฟ้า ดีเวลอปเปอร์หวั่นเกิดโอเวอร์ซัพพลาย ติงทำเลไม่เหมาะขึ้นสำนักงานเกรดเอ แนะคอนโดฯปล่อยเช่ายาว 50-60 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานผลการประชุมจัดสัมมนาศึกษา ทบทวน และสำรวจ ความสนใจของผู้ประกอบการเอกชน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่นิคม กม.11 ตาม พ.ร.บ.เอกชนร่วมลงทุน ปี 2556 ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เนื้อที่ 359 ไร่ มีตัวแทนจากเอกชนเข้าร่วม ทั้งอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และศูนย์การค้า อาทิ บจ.ทีซีซี แคปปิตอล แลนด์, กลุ่ม

ภิรัชบุรี, บีทีเอส กรุ๊ป, สิงห์เอสเตท, ศุภาลัย, นารายณ์พร็อพเพอร์ตี้, ควอลิตี้เฮ้าส์, เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์, สัมมากร, บจ.แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล, พฤกษาเรียลเอสเตท, โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์, เอ็มบีเคกรุ๊ป, เดอะมอลล์กรุ๊ป, สยามพิวรรธน์, เซ็นทรัลพัฒนา, ดิ เอราวัณ กรุ๊ปและ 3 สมาคมอสังหาฯ

โดย ร.ฟ.ท.จ้างนิด้าเป็นที่ปรึกษาการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นจากพื้นที่รวม 359 ไร่ จะนำพื้นที่ 279 ไร่ ให้เอกชนพัฒนา แบ่งเป็น 5 โซน ได้แก่ โซน 1 ออฟฟิศบิลดิ้ง เนื้อที่ 65 ไร่ เป็นแปลง B เนื้อที่ 30 ไร่ พัฒนาออฟฟิศเกรดเอ ราคาเช่า 800 บาท/ตร.ม. และแปลง C เนื้อที่ 35 ไร่ พัฒนาออฟฟิศเกรดบี ราคาเช่า 500-600 บาท/ตร.ม.

โซน 2 ศูนย์แสดงสินค้าและโรงแรม 88 ไร่ แบ่งเป็นศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าพื้นที่ 3 แสน ตร.ม. จะเป็นศูนย์แสดงสินค้าหลักแห่งที่ 4 ใหญ่กว่าไบเทค บางนา และอิมแพ็คเท่าตัว และมีโรงแรมระดับ 4 ดาว ขนาด 357 ห้อง

โซน 3 โรงพยาบาลนานาชาติ 20 ไร่ โซน 4 ที่พักอาศัย (ลีสโฮล) 40 ไร่ แปลง D1-D3 ขนาด 16 ไร่ พัฒนาคอนโดฯเกรดเอ

ราคา 1 แสนบาท/ตร.ม. แปลง D4 จำนวน 10 ไร่ และแปลง E จำนวน 14 ไร่ พัฒนาคอนโดฯเกรดบี ราคาต่ำกว่า 1 แสนบาท/ตร.ม. สุดท้ายโซน 5 เป็นบ้านพักพนักงานการรถไฟ 66 ไร่ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะพัฒนาเอง

สำหรับศักยภาพทำเลที่ตั้ง มีทางเข้าออกหลายทาง ได้แก่ ถ.วิภาวดีรังสิต ถ.กำแพงเพชร 2 ห่างจากรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต 750 เมตร รถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน 500 เมตร อนาคตมีรถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีจตุจักรและสถานีกลางบางซื่ออยู่ห่างไป 150 เมตร และเตรียมขุดเจาะอุโมงค์ลอดใต้ ถ.กำแพงเพชร 2 เพื่อเชื่อมกับทางด่วนศรีรัชโดยตรงและสร้างถนนขนาด 8 ช่องจราจรรองรับปริมาณรถยนต์

ด้านการพัฒนาสามารถสร้างตึกสูง 30-35 ชั้น เพราะอยู่ในเขตพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) ได้อัตราส่วน FAR อยู่ 8:1 เมื่อประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ในโครงการมีมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท เพราะเป็นทำเลอนาคต อยู่บริเวณเดียวกับสถานีกลางบางซื่อ จะเป็นย่านนิวซีบีดี(ย่านธุรกิจ) แห่งใหม่

ขณะที่เอกชนมีข้อคิดเห็น คือ 1) ทำเลนิคม กม.11 อยู่ใกล้กับที่ดินสถานีกลางบางซื่อ ที่มีแผนพัฒนาคล้ายคลึงกัน อาจเกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลายออฟฟิศและคอนโดฯ 2) ตลาดออฟฟิศเกรดเอ จะมีซัพพลายใหม่ในย่านใจกลางเมืองมากในปี 2560-2561 ที่สำคัญควรอยู่รัศมีใกล้สถานีรถไฟฟ้าไม่เกิน 150 เมตร ซึ่งนิคม กม.11 อาจไม่ตอบโจทย์ 3) ควรสร้างสกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพหลโยธิน 4) คอนโดฯควรเป็นสิทธิการเช่า 50-60 ปี

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสินทรัพย์ (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การทำมาร์เก็ตซาวดิ้งครั้งนี้เพื่อศึกษาความต้องการตลาดตามมุมมองของเอกชน จากนี้ประมาณปลาย ก.พ.จะทำประชาพิจารณ์ด้านชุมชนและสิ่งแวดล้อม และจัดทำข้อสรุปรวม ทั้ง 3 แปลงถึงเงื่อนไข PPP จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม มีสถานีกลางบางซื่อกว่า 200 ไร่ สถานีแม่น้ำ 277 ไร่ และ กม.11 จำนวน 279 ไร่ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติกลางปีนี้ คาดว่าเปิดประมูลได้ต้นปี 2560 เนื่องจากเป็นนโยบายเร่งด่วนของ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.

----

ร.ฟ.ท.เร่งจี้พัฒนาพื้นที่กม.11 จ่อชงสคร.ฟันธงร่วมทุนPPP/เอกชนขอสิทธิ์เช่ายาว 99 ปี
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 17 กุมภาพันธ์ 2559

รฟท.เปิด 5 โซนพื้นที่กม.11 รับแผนพัฒนาย่านพหลโยธินและสถานีกลางบางซื่อ ครบวงจรรวมมูลค่าลงทุนนับแสนล้าน ทั้งอาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยริมสวน ศูนย์ประชุมจนถึงที่จัดแสดงสินค้านานาชาติ ด้านนิด้าเร่งส่งผลศึกษาสิ้นก.พ.59 คาดบิ๊กรฟท.ร่อนสารให้สคร.พิจารณาร่วมทุนแบบพีพีพีกลางปีนี้ ด้านกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรรจ่อชงขยายกรอบสัญญาเช่ายาว 50 และ 99 ปี

นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยภายหลังการจัดสัมมนารับฟังความเห็นประชาชนในโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้น โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคมกม.11 ย่านพหลโยธิน ของรฟท.ว่าตามที่มีแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่และย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่นั้น ปัจจุบันสถานีกลางบางซื่ออยู่ระหว่างการก่อสร้างและพร้อมเปิดบริการในปี 2562

ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงการ สามารถดำเนินการพัฒนาอย่างสอดคล้องกันจึงเร่งผลศึกษาการพัฒนาพื้นที่กม.11 ควบคู่กันไปเนื่องจากเป็นทำเลที่มีศักยภาพทางธุรกิจเหมาะอย่างยิ่งในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้า และแหล่งที่อยู่อาศัยให้สามารถรองรับการเปิดโครงการสถานีกลางบางซื่อและย่านพหลโยธินได้อย่างสอดคล้องกัน

ซึ่งตามผลศึกษาของศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า)ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณนิคมกม.11 ซึ่งพื้นที่รวมประมาณ 279 ไร่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน คือ 1.โซนอาคารสำนักงาน 2.โซนศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ 3.โซนโรงพยาบาลนานาชาติแห่งใหม่ 4.โซนที่อยู่อาศัยแนวสูงริมสวน และ 5.โซนพื้นที่พนักงานรฟท.-ที่ทำการส่วนราชการ ซึ่งคาดว่ามูลค่ารวมของการลงทุนอยู่ในหลักแสนล้านบาท

ทั้งนี้รฟท.จะไม่ลงทุนเองทั้งหมดโดยจะใช้รูปแบบร่วมลงทุนพีพีพี หลังจากนี้จะเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมช่วงปลายเดือนนี้ ส่วนมูลค่าโครงการเมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับหลักหมื่นล้านบาท มีพื้นที่ทั้งหมดกว่า 1 ล้านตรม. โดยมูลค่าโครงการใหม่จะเห็นภาพชัดเจนได้ช่วงปลายเดือนนี้หลังจากที่นิด้าส่งผลการศึกษาให้รฟท. แล้วก็จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) พิจารณารูปแบบดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี พ.ศ.2556 ประมาณกลางปี 2559 ต่อไป

ด้านนายพนม กาญจนเทียมเท่า กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์(ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในทีมที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า จะให้มีการพัฒนาใน 3 โซนหลักพร้อมกัน คือโซนอาคารสำนักงานทั้ง 4 แปลงโดยทยอยพัฒนาทีละเฟส โซนศูนย์ประชุม-จัดแสดงสินค้านานาชาติ และโซนโรงพยาบาลนานาชาติ อีกทั้งสามารถพัฒนาโซนที่อยู่อาศัยควบคู่กันไปซึ่งทั้ง 3 แปลงจะต้องพัฒนาไปทีละแปลงหรือพร้อมกันขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ลงทุน

“เบื้องต้นการพัฒนาพื้นที่ช่วงระยะเวลาหรือไทม์มิ่งต้องสอดคล้องกัน โดยเอกชนยังมองถึงกรณีการรีเทิร์นโครงการ ประเด็นเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ชัดเจนที่จะสามารถหาข้อสรุปได้ครบทั้งหมด เบื้องต้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยชัดเจนแล้วว่าจะต้องเป็นการเช่า(ลิสโฮลด์)ระยะยาว ส่วนการลงทุนเป็นไปได้ว่าลงทุนโดยผู้ประกอบการ รายเดียวหรือหลายรายในแต่ละโซนพื้นที่ โดยในโครงการมีพื้นที่ถนนประมาณ 6-8 เลนมีทางจักรยาน เข้าออกได้หลายทาง อีกทั้งยังมีแผนก่อสร้างอุโมงค์ลอดและเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนสายหลัก ทางด่วน โดยรอบ อาทิ การเชื่อมออกสู่ดอนเมืองโทลล์เวย์ได้อย่างสะดวก”

ด้านนายกิตติพล ปราโมช ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สัมมากร จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาที่อยู่อาศัยต้องพิจารณาเรื่องระยะเวลาการเช่าเป็นหลักเนื่องจากเป็นรูปแบบลิสโฮลด์ ซึ่งมีผู้เสนอระยะเวลา 50 ปีและ 99 ปีเพราะยิ่งระยะยาวจะให้ผลตอบแทนได้ดี แต่เรื่องที่อยู่อาศัยไม่ควรมองเป้าหมายเพียงแค่ตลาดคนไทย ประการสำคัญพื้นที่กม.11 ยังต้องรอความเจริญอีกสักระยะหนึ่งจึงจะได้เห็นความชัดเจนว่ามีอนาคตไปได้ดีมากน้อยเพียงใด

“ต้องดูว่าปริมาณหน่วยที่จะขายรูปแบบลิสโฮลด์จะมีความต้องการมากน้อยแค่ไหน เชื่อว่าจะมีนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศแสดงความสนใจ เมื่อรฟท.พร้อมประมูล แต่การพัฒนาโครงการต้องจับตาดูว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือนโยบายของผู้บริหารระดับสูง จะส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการพัฒนาหรือไม่ อีกทั้งรฟท.จะต้องไปพึ่งหน่วยงานอื่นๆในการพัฒนาโครงการนี้ อาทิ เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ.) การก่อสร้างถนนหรือทางเชื่อมต่างๆจะต้องใช้เวลาดำเนินการนานพอสมควร การเชื่อมระบบสาธารณูปโภคต่างๆจึงต้องมีระยะเวลาชัดเจน เนื่องจากมีหลายโครงการในแต่ละโซนที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาได้ด้วย”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,131 วันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2016 1:47 am    Post subject: Reply with quote

ดูกันชัดๆ สถานีกลาง บางซื่อ อนาคตของเมื่อไทยข้างในมีอะไรบ้าง?
Bangkok Resident

ช่วงนี้ถ้าใครได้มีโอกาสผ่านไปทางแถวย่านบางซื่อ จะเห็นได้ว่ากำลังมีการก่อสร้าง “สถานีกลางบางซื่อ (Bangsue Station)” และโครงการรถไฟฟ้าใหม่ๆ ที่จะมาเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อนี้หลายโครงการ เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ, รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรถไฟฟ้า Airport Rail Link ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ ทำให้หลายคนงงกันว่าอีกหน่อยกรุงเทพจะเปลี่ยนไปแค่ไหนเมื่อสถานีกลางบางซื่อนี้แล้วเสร็จ และสถานีนี้จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง วันนี้ CheckRaka.com จะพาทุกท่านมาชมภาพอนาคต พร้อมรายละเอียดสถานีกลางบางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าต่างๆ กันชัดๆ ค่ะ


ตัวอย่าง Grand Station ในต่างประเทศ
“สถานีกลางบางซื่อ (Bangsue Station)” ของประเทศไทยนั้นถือว่าได้ว่าเป็น Grand Station ซึ่งเปรียบเสมือนสถานีขนาดใหญ่ ที่รวมเอาระบบการคมนาคมแบบรางหลายๆ สายเข้าด้วยกัน ซึ่งในเมืองใหญ่ทั่วโลก ก็มักจะมี Grand Station เป็นของตัวเองทั้งนั้น ภาพด้านล่างคือ ตัวอย่าง Grand Station เด่นๆ ในต่างประเทศค่ะ ซึ่งในต่างประเทศนั้นสถานีกลางแบบนี้มีกันมานานแล้ว ดังนั้น ดีไซน์ต่างๆ ของสถานีต่างประเทศพวกนี้จะเป็นแบบโบราณๆ คลาสสิกๆ หน่อยตามยุคสมัยที่ก่อสร้างในตอนนั้น


สถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมทางราง ซึ่งเมื่อการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีรถไฟหลากหลายประเภทใช้สถานีนี้เป็นศูนย์กลาง (ดูรายละเอียดแต่ละสายได้ข้างล่าง) ซึ่งเป้าหมายของการรถไฟไทยนั้น ตั้งใจจะพัฒนาให้สถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางของระบบรถไฟทางไกล แทนสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อลดจำนวนขบวนรถไฟเข้าสู่สถานีหัวลำโพงให้เหลือน้อยที่สุด ผู้ใช้บริการระบบ รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต จะสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังระบบขนส่งอื่นๆ หรือเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า สายสีม่วง (ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-บางซื่อ-บางใหญ่) รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน (ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ), หัวลำโพง-บางแค) และรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต ,บางซื่อ-ตลิ่งชัน) เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวกสบาย

อาคาร บางซื่อ สเตชั่น จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ตัวอาคารจะมีลักษณ์เป็นอาคารชานชาลา 4 ชั้น ดังนี้

ชั้นใต้ดิน – เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถ ประมาณ 1,700 คัน โดยมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋ว และมีทางเชื่อมต่อกับสถานีของโครงการสายสีน้ำเงินของการรถไฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

ชั้นที่ 1 – เป็นพื้นที่จำหน่ายตั๋ว มีโถงพักคอย และรับผู้โดยสารให้บริการ รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม ร้านค้า
ชั้นที่ 2 – เป็นชานชาลารองรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) 4 ชานชาลา และรถไฟทางไกล 8 ชานชาลา โดยแบ่งเป็นแนวสายเหนือรวมกับสายอีสาน 4 ชานชาลา สายใต้ และสายตะวันออกรวม 4 ชานชาลา
ชั้นที่ 3 – เป็นชานชาลารองรับการจอดขบวนรถไฟขนาดราง 1.435 เมตร (Standard Gauge ซึ่งเป็นรางที่รองรับรถไฟความเร็วสูง) เชื่อมภูมิภาค 10 ชานชาลา เป็นสายใต้ 4 ชานชาลา สายเหนือ และสายอีสานรวม 6 ชานชาลา และรถไฟฟ้าเชื่อมต่ออากาศยาน (Airport Rail Link) 2 ชานชาลา

Bang_Sue_Station_9

Bang_Sue_Station_10

ชีวิตง่ายๆ ด้วยตลาดนัด และพลาซ่าบริเวณโดยรอบ

บริเวณรอบๆ สถานีกลางบางซื่อในอนาคตก็มีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณรอบสถานี ภายใต้ชื่อโครงการ ASEAN Linkage & Business Hub บนพื้นที่ทั้งหมด 218 ไร่อีกด้วย โดยแผนการก่อสร้าง จะเนรมิตพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อเป็นคอมเพล็กซิตี้ ซึ่งจะมีทั้งสํานักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่พักอาศัย และพื้นที่นันทนาการ มีเป้าหมายจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจแห่งใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน

Bang_Sue_Station_11 Bang_Sue_Station_12

โซน A: SMART Business Complex – 35 ไร่ ตั้งอยู่ทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ ทิศเหนือติดกับสถานีกลางบางซื่อ ทิศตะวันออกติดทางด่วนศรีรัช ทิศใต้ติดถนนพระราม 6 และถนนกำแพงเพชร ทิศตะวันตก ติดถนนเทอดดำริห์ เหมาะสมที่จะพัฒนาเป็น Transportation Hub ระดับ World Class และเป็น ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร แหล่งรวมอาคารสำนักงานที่ทันสมัย และธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมและศูนย์อาหารสำหรับผู้เดินทาง นักท่องเที่ยว และนักธุรกิจ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ในพื้นที่

โซน B: ASEAN Commercial and Business Hub – ขนาดพื้นที่ประมาณ 78 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีกลางบางซื่อ ห่างจากตลาดนัดจตุจักรประมาณ 700 เมตร ด้วยทำเลที่ตั้งที่ห่างจากตลาดนัดจตุจักรเพียง 700 เมตร และยังเข้าถึงง่ายด้วยถนนสายหลัก โซน B จึงมีมีศักยภาพรองรับการพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมแห่งใหม่ แหล่งค้าปลีก-ค้าส่งระดับอาเซียน ศูนย์รวมร้านชอปปิ้ง และโอกาสในการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการในภูมิภาคอาเซียน

โซน C: SMART Healthy and Vibrant Town – ขนาดพื้นที่ประมาณ 105 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ซึ่งปัจจุบันสิ้นสุดระยะเวลาเช่าพื้นที่จาก รฟท. ทั้งนี้จะเตรียมพื้นที่สำหรับเป็นสถานีย่อยของ บขส.ประมาณ 16.43 ไร่ ด้วยความร่มรื่นของสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่รายล้อม โซน C จึงเหมาะแก่การพัฒนาภายใต้แนวคิด เมืองแห่งความมีชีวิตชีวา แหล่งอยู่อาศัย แหล่งทำงาน และแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง และยังพร้อมสรรพด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ Lifestyle คนเมืองในอนาคต

โซน D: World Renowned Garden Interchange Plaza – ขนาดพื้นที่ประมาณ 87 ไร่ อยู่ติดกับตลาดนัดจตุจักร ตรงข้ามตลาด อตก. ด้วยทำเลที่อยู่ใกล้กับสวนสาธารณะและอยู่ใกล้สถานีกำแพงเพชรของรถไฟฟ้า BTS และ MRT ในระยะเดินถึง โซน D จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายและศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง ภายใต้แนวคิด World Renowned Garden Interchange Plaza เปิดพื้นที่การค้าเชื่อมต่อพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกับพื้นที่พัฒนาโครงการ รวมถึงตลาดนัดจตุจักร สถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT

Slow Life & Super Fit ด้วยสวนสาธารณะ 3 สวนบนพื้นที่ต่อเนื่อง
แผ่นที่แสดงตำแหน่งสถานีกลางบางซื่อ และสวนสาธารณะรอบๆ
แผ่นที่แสดงตำแหน่งสถานีกลางบางซื่อ และสวนสาธารณะรอบๆ
ขอขอบคุณบทความจาก checkraka.com เป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณรูปภาพบางส่วนจาก Google
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/03/2016 12:26 pm    Post subject: Reply with quote

ปั้นแลนด์มาร์กหนองคาย100ล้าน ผุดมิวเซียมรถไฟริมโขง-โรงแรมวินเทจ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 04 มี.ค. 2559 เวลา 12:30:12 น.

เอกชนหนองคายจับมือศิลปิน มหาวิทยาลัย ทุ่มงบฯ 100 ล้าน เช่าที่ดิน ร.ฟ.ท. 10 ไร่ ใกล้ริมโขง 20 ปี ปั้นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ 3 เฟส ประเดิมเฟสแรก ชุบชีวิตสถานีรถไฟ ผุดมิวเซียมแหล่งเรียนรู้ คาดเปิดตัว กันยายน 59 พร้อมลุยเฟส 2-3 สร้างโรงแรมสไตล์ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม-ห้องประชุมจัดเลี้ยง ชูเป็นไฮไลต์ใหม่เมืองพญานาค

นางจิรนันท์ สกุลตั้งไพศาล เจ้าของร้าน ณ ตลาดท่าเรือ ซึ่งตั้งอยู่ภายในตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันหนองคายเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพโดดเด่นหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเมืองชายแดนติดแม่น้ำโขง สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติในอำเภอต่าง ๆ หรือวัด สถานปฏิบัติธรรม ที่มีเกจิอาจารย์สำคัญหลายรูป อาทิ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เป็นต้น ด้วยต้นทุนเหล่านี้ทำให้การค้าการลงทุนในหนองคายคึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะค้าปลีกค้าส่ง แม็คโคร เทสโก้ โลตัส ต่างมียอดขายสูงทั้งสิ้น ในขณะที่วิถีชีวิตของชาวบ้านยังเรียบง่าย อบายมุขน้อย ซึ่งเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้คนมาท่องเที่ยวอยู่เรื่อย ๆ

"การท่องเที่ยวในอนาคตจะเป็นการเชื่อมกลุ่มจังหวัด รวมทั้งในลาว และเวียดนาม ซึ่งต่อไปจะนำชุมชนและการท่องเที่ยวมาบูรณาการให้เสริมศักยภาพซึ่งกันและกัน ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นเสน่ห์ดึงดูดการท่องเที่ยว เพราะคนไทยอุปนิสัยใจคอเรื่องความอ่อนโยน ยิ้มง่าย อยู่ในสายเลือด ซึ่งได้เปรียบที่อื่นตรงนี้"

Click on the image for full size
มิวเซียมรถไฟ - แปลนตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ริมน้ำโขงที่กำลังดำเนินการก่อสร้างด้วยงบประมาณ 100 ล้านบาท โดยนักธุรกิจเจ้าของร้านณ ตลาดท่าเรือ จังหวัดหนองคาย ตั้งเป้าเป็นไฮไลต์แห่งใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างรายได้ชุมชน

นางจิรนันท์กล่าวอีกว่า ล่าสุดตนมีโครงการก่อสร้างสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยจะเช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟเก่า เป็นเวลา 20 ปี บนพื้นที่ 10 ไร่ เงินลงทุน 100 ล้านบาท แบ่งการลงทุนเป็น 3 เฟส เฟสแรก คือ ปรับปรุงบริเวณชานชาลา สร้างโบกี้สวย ๆ เป็นจุดถ่ายรูป หรือคู่แต่งงานสามารถมาถ่ายพรีเวดดิ้ง และสร้างพิพิธภัณฑ์ โดยจะบูรณาการร่วมกับเครือข่ายมิวเซียม แฟมิลี่ เป็นนิทรรศการแบบหมุนเวียน โดยเฟสแรกนี้เริ่มก่อสร้างไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2559 จุดประสงค์หลักให้เด็กได้เรียนรู้ และมีจุดถ่ายรูป ชมและศึกษานิทรรศการต่าง ๆ เช่น รถไฟไทย รถไฟโลก พระมหากษัตริย์กับรถไฟไทย เป็นต้น

"โครงการนี้ให้นึกภาพเพลินวาน กับรถไฟหัวหิน เอามารวมกัน โดยจะเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จะเป็นวินเทจนิด ๆ จะสร้างหัวรถจักรขึ้นมาใหม่ โดยให้อู่ต่อเรือสร้างจำลอง และขอคำแนะนำจากวิศวกรรมรถไฟ ซึ่งต้องมีการสร้างสถานีขึ้นใหม่ ตรงนี้จะเป็นไฮไลต์ที่สำคัญ และมีรถถีบบนรางให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เสน่ห์อีกอย่างคือ เราจะมีสตูดิโอ มีชุดให้เช่าใส่ออกมาข้างนอก แต่เสน่ห์ที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วม โดยจะทำเอ็มโอยูกับโรงเรียนใกล้เคียง ในวันเสาร์อาทิตย์จะให้เด็กเล็กมาเป็นมัคคุเทศก์น้อย และผู้ที่เกษียณแล้วก็จะเชิญมาเป็นปราชญ์ชุมชนมาอธิบายเรื่องราว คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ชุมชนในอนาคต"

ขณะที่เฟส 2 จะเป็นโรงแรม มีห้องพักทั้งหมด 20 ห้อง จะเน้นเรื่องของประสบการณ์ ซึ่งแต่ละห้องจะมีเรื่องราวไม่เหมือนกัน เช่น ห้องพักนายตำรวจก็ต้องตกแต่งอีกแบบ ในส่วนนี้ได้ร่วมกับนักประวัติศาสตร์ ศิลปิน อาทิ อาจารย์เอนก นาวิกมูล นักเขียน นักวิชาการมาร่วมด้วย

นอกจากนี้ยังทำเอ็มโอยูกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อสเกตช์ภาพอาคารเก่าเก็บไว้ ส่วนเฟส 3 เป็นส่วนของห้องประชุมจัดเลี้ยง

ส่วนพื้นที่โดยรอบจะมีสวนขนาดใหญ่ เป็นโลว์คาร์บอน โดยมีแนวคิดหลักที่จะเชิญชวนนักธุรกิจมาลงทุน ให้เป็นกึ่งโชว์รูม ไม่คิดยอดขายเป็นหลัก เปิดให้อินเตอร์แบรนด์มาเช่าพื้นที่ และที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์จากชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชน เพื่อจะมีอีเวนต์ สร้างรายได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2016 11:20 am    Post subject: Reply with quote

“ออมสิน” จ่อปิดหนี้รถไฟ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
11 มีนาคม 2559 05:30


นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยระบุว่า ความคืบหน้าของการจัดสรรที่ดินมักกะสันให้กับกระทรวงการคลัง พบว่าปัจจุบันอยู่ในกระบวนการเจรจารายละเอียดการส่งมอบที่ดินและกรอบวงเงินที่จะนำไปพัฒนาโรงซ่อมตามแผนงาน ร.ฟ.ท. วางไว้ประมาณ 4 แห่ง เช่น พื้นที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เบื้องต้นมีการประเมินค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโรงซ่อมใหม่ประมาณ 16,000 ล้านบาท

“แนวคิดตอนนี้จะให้ ร.ฟ.ท.ไปหารือร่วมกับกระทรวงการคลังเพื่อตัดหนี้ 61,000 ล้านบาท ส่วน ร.ฟ.ท.ก็หันไปหางบประมาณพัฒนาโรงซ่อมใหม่ที่จะใช้เงินราว 16,000 ล้านบาท เพราะสถานการณ์ตอนนี้อยู่ในช่วงรอกันไปมา ไม่ชัดเจนว่ากระทรวงการคลังจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งมอบที่ดินและพัฒนาโรงซ่อมใหม่เท่าไหร่ เพราะ ร.ฟ.ท.ก็ยังทำแผนอยู่ จึงส่งผลให้งานไม่ชัดเจนเสียที ดังนั้น หากจบการเจรจาเช่นนี้ กระทรวงการคลังก็ไม่ต้องมายุ่งทยอยโอนเงิน ร.ฟ.ท.ก็ส่งมอบพื้นที่ที่พร้อมใช้งานไปเลย โดยกระทรวงการคลังจะมีสัญญาในการเข้าพัฒนาที่ดินมักกะสัน 99 ปี”

นายออมสินยังกล่าวอีกว่า ภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท.ปัจจุบันมีอยู่ราว 110,000 ล้านบาท หักภาระหนี้จากการโอนที่ดินมักกะสัน 61,000 ล้านบาท หนี้สินของบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ร.ฟ.ท.) 30,000 ล้านบาท เหลือหนี้สินอีก 20,000 ล้านบาท ซึ่งนโยบายที่ได้มอบหมายให้ ร.ฟ.ท.เพื่อเร่งจัดหารายได้คือให้กลับไปรวบรวมที่ดินทั่วประเทศ ภายใต้การดูแลของ ร.ฟ.ท. ประมาณ 200,000 ไร่ โดยพิจารณาว่ามีที่ดินบริเวณใดที่มีศักยภาพพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาทิ ที่ดินใน จ.พังงา ที่มีอยู่ 700 ไร่รวมไปถึง จ.เชียงใหม่ จ.อุดรธานี จ.ขอนแก่น และกรุงเทพฯ ที่มีแปลงใหญ่หลายแห่ง โดยหากพัฒนาในส่วนนี้แน่นอนว่าจะสร้างรายได้ระยะยาวให้กับ ร.ฟ.ท. และกลับมามีกำไรตามแผนฟื้นฟู.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 14/04/2016 12:39 pm    Post subject: Reply with quote

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน : ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม
Posted by SmartGrowthThailand
วันพฤหัสบดี ที่ 14 เมษายน 2559
http://www.oknation.net/blog/smartgrowththailand/2016/04/14/entry-1

เรื่อง “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน : ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ”

บทความโดย พุทธมนต์ รตจีน

หัวหน้ากลุ่มโครงข่ายและการเชื่อมต่อการขนส่ง กองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

มีนาคม 2559

บทนำ

การพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เป็นการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยสถานีบางซื่อในปัจจุบันจะก่อสร้างเป็นสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2562 เพื่อรองรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะทางรางในอนาคต ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางของจุดเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบราง ประกอบด้วย รถไฟและรถไฟฟ้าในปัจจุบัน และโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งรถไฟความเร็วสูงในอนาคตด้วย ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางรางที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดจะเข้ามารับ-ส่ง ผู้โดยสาร ที่สถานีกลางบางซื่อ



บทบาทของพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินในอนาคต

บทบาทด้านคมนาคมขนส่ง
จากนโยบายการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง กำหนดให้บริเวณที่เป็นจุดตัดระบบขนส่งมวลชน เป็นบริเวณที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ โดยกำหนดไว้ 3 แห่ง ใน 3 มุมเมือง เพื่อการเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับจังหวัดในภูมิภาคต่างๆ คือ 1) ศูนย์คมนาคมมักกะสัน เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ภาคตะวันออกและนานาชาติที่เดินทางมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ 2) ศูนย์คมนาคมตากสิน เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ภาคใต้ และ 3) ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคะวันออกเฉียงเหนือ และภูมิภาคอาเซียน และจีน ผ่านรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ รถไฟฟ้าชานเมือง และระบบขนส่งมวลชนระบบราง

ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จะมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งทางถนนที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งระบบถนน บนถนนสายหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งทางหลวงอาเซียน AH-1 (ถนนพหลโยธิน) ถนนวิภาวดีรังสิต จุดเชื่อมโยงทางด่วนขั้นที่สอง และดอนเมืองโทลเวย์ ส่วนระบบราง สถานีกลางบางซื่อได้รับการกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการเดินทางของประเทศ เป็นสถานีต้นทางของรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูง เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายไปสู่รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมถึงการเชื่อมโยงกับ Airport Rail Link ระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ดังผังแสดงศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ตามโครงสร้างการพัฒนากรุงเทพมหานคร

1

รูปที่ 1 : ผังแสดงศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ตามโครงสร้างการพัฒนากรุงเทพมหานคร



บทบาทด้านการพัฒนาเมือง
จากบทบาทในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Transportation Hub) ดังกล่าว ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งทุกระบบและทุกระดับ (Intermodal Network) ย่อมมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชยกรรม ประกอบกับพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จัดอยู่ในพื้นที่เมืองชั้นกลาง สามารถเชื่อมโยงกับศูนย์กลางเมืองหลักได้สะดวก จึงมีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาเมืองหนาแน่นสูง เพื่อลดภาระและกระจายการพัฒนาเมืองออกจากบริเวณศูนย์กลางหลัก พร้อมๆกับแก้ปัญหาการพัฒนาเมืองแบบไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) ไปยังพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณชานเมือง นโยบายการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงใช้ศักยภาพดังกล่าวในการสร้างศูนย์กลางพาณิชยกรรมรองทางด้านเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดให้เป็น ศูนย์กลางลำดับสองของภาคมหานครไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการส่งเสริมโดยกฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2556) ที่กำหนดให้พื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินและบริเวณโดยรอบเป็นการใช้ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมหนาแน่นสูง



การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินและบริเวณโดยรอบ

พื้นที่ย่านศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ตั้งอยู่ในเขตวงแหวนชั้นใน (วงแหวนรัชดา) ซึ่งกำหนดให้เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยในเขตเมืองชั้นกลาง ตามการวิเคราะห์ของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีระบบขนส่งมวลชนระบบรางให้บริการในพื้นที่ 2 เส้นทาง คือ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (สายสีเขียว) 2 สถานี คือ สถานีหมอชิตและสถานีสะพานควาย และรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) 4 สถานี คือ สถานีบางซื่อ สถานีกำแพงเพชร สถานีสวนจตุจักร และสถานีพหลโยธิน ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสถานีโดยตรง จากการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ปี พ.ศ. 2553 พบว่าพื้นที่ศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินและบริเวณโดยรอบ พื้นที่รวม 11,537 ไร่ ตั้งอยู่ใน 3 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตจตุจักร และเขตพญาไท โดยอยู่ในเขตจตุจักรเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทที่อยู่อาศัยมากที่สุด เนื่องจากเป็นพื้นที่เมือง จึงมีการกระจุกตัวของที่พักอาศัยจำนวนมาก รองลงมาได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทถนนและพาณิชกรรม



การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน 2,325 ไร่

พื้นที่ 2,325 ไร่ ถึงแม้จะมีการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าของ แต่เนื่องจากเป็นที่ของรัฐขนาดใหญ่ ในอดีตที่ผ่านมาจึงมีการแบ่งแปลงย่อยเพื่อให้หน่วยงานใช้พื้นที่ หรือให้เอกชนเช่าเพื่อหารายได้ การใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่จึงมีหลายประเภท สามารถสรุปกลุ่มกิจกรรมที่กระจุกตัวกัน ได้เป็น 5 กลุ่มหลัก ดังนี้

กลุ่มกิจกรรมศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชน กระจุกตัวทางด้านตะวันตกของพื้นที่ ล้อมรอบบริเวณที่เป็นรางรถไฟ และบริเวณที่จะเป็นอาคารสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่ใช้สําหรับรองรับการพัฒนาสถานีรถไฟ ให้เป็นศูนย์กลางระบบรถไฟทางไกลและรถไฟชานเมืองแทนสถานีกรุงเทพ (หัวลําโพง) และเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่สําคัญอื่นๆ เช่น รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สถานีบางซื่อ สถานีกําแพงเพชร สถานีสวนจตุจักร และสถานีพหลโยธิน) รถไฟฟ้าสายสีม่วง (สถานีบางซื่อ และสถานีเตาปูน) และระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS-สถานีหมอชิต) สถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีจอดรถและป้ายรถโดยสารประจําทาง ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กลุ่มกิจกรรมพาณิชยกรรม กระจุกตัว 2 บริเวณ คือ ด้านเหนือ โดย ศูนย์พลังงานแห่งชาติ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล อาคารสํานักงาน โรงแรม บนถนนวิภาวดีรังสิตและถนนพหลโยธิน และ ด้านใต้ โดยมี ร้านค้า ตลาดขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และตลาดนัดสวนจตุจักร เป็นศูนย์กลาง
กลุ่มกิจกรรมที่พักอาศัย กระจุกตัวบริเวณด้านเหนือ รูปแบบที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย บริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟ กม. 11
กลุ่มกิจกรรมนันทนาการ กระจุกตัวบริเวณด้านตะวันออกของพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สวนสาธารณะขนาดใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) สวนจตุจักร และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีพื้นที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน และสวนสมเด็จย่า สวนขนาดเล็กซึ่งอยู่ถัดออกไป โดยมีถนนวิภาวดีรังสิตคั่นกลาง นอกจากนี้ยังมีคลับเฮาส์และสนามไดร์ฟกอล์ฟ รฟท. ซึ่งอยู่ในบริเวณต่อเนื่องกัน
กลุ่มกิจกรรมสถาบันราชการ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สำนักงานการประปา องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เป็นต้น


แนวคิดการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธินเบื้องต้น

เพื่อให้พื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน มีความพร้อมในการรองรับการพัฒนา (Transit Oriented Development – TOD) อย่างเต็มศักยภาพ ผังแนวคิดเบื้องต้นจึงเป็นการวางแผนการพัฒนาระยะยาว ที่นำพื้นที่ที่มีศักยภาพมาพัฒนาเมืองอย่างเต็มที่ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่ามากที่สุด อันจะส่งผลให้เกิดศูนย์กลางพาณิชยกรรมใหม่ ที่ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบรางเพื่อการพัฒนาเมืองให้มีความกระชับและน่าอยู่ อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งระยะสั้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่มีความสอดคล้องและเป็นไปตามกรอบการพัฒนาภาพรวมในระยะยาว ดังนั้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นอกจากการประยุกต์ใช้หลักการพัฒนา TOD และความสอดคล้องกับบทบาทของพื้นที่ในการเป็นศูนย์กลางเมืองรองของกรุงเทพมหานครแล้ว แนวคิดหลักในการวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินยังจะเน้นการสร้างศักยภาพพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินตลอดจนการลดข้อจำกัดทางกายภาพในการพัฒนา เพื่อให้สามารถรองรับและดึงดูดให้เกิดการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ ในการเป็น “ศูนย์กลางธุรกิจการค้าแห่งใหม่ระดับอาเซียน” ได้สูงสุด รายละเอียด มีดังนี้

ใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยมีทิศทางขยายไปทางตะวันออกเป็นแนวเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน สถานีหมอชิต สถานีสวนจตุจักร และสถานีกำแพงเพชร
ส่งเสริมการพัฒนาผสมผสานพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย หลากหลายรูปแบบและขนาด เพื่อสร้างกิจกรรมที่หลากหลายตลอด 24 ชม. โดยแบ่งพื้นที่พัฒนา TOD ออกเป็น 4 โซน ตามระยะจากสถานีระบบขนส่งมวลชน ซึ่งสะท้อนความหนาแน่นของกิจกรรมการเดินเท้าและสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินผสมผสาน
สร้างการเข้าถึงสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบสถานีที่สะดวก ทั้งจากถนนสายหลักและจากสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้เคียง ด้วย
ถนนที่เน้นคนเดินเท้าแกนหลักแนวเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ถนนที่เน้นคนเดินเท้าในย่านกม.11และย่านตึกแดง และถนนที่เน้นคนเดินเท้าสายรอง เพื่อส่งเสริมการเดินเท้าและขี่จักรยานในบริเวณที่อยู่ในรัศมีการเดินเท้าจากสถานีระบบราง มีทางเดินเท้า ทางจักรยานกว้าง แยกชัดเจนจากถนนสำหรับรถยนต์
ถนนสายรองตัดใหม่เพิ่มเติมเพื่อการเข้าถึงพื้นที่ที่สะดวก
สร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรองBRT เพื่ออำนวยความสะดวกและเชื่อมโยงพื้นที่ที่อยู่ไกลกว่ารัศมีการเดินเท้ากับระบบขนส่งมวลชนหลัก และกิจกรรมหลักอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบ ได้แก่ เส้นทางเชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อ กับ BTS สถานีหมอชิตและ MRT สถานีสวนจตุจักร BTS ส่วนต่อขยายสถานีห้าแยกลาดพร้าวและ MRT สถานีพหลโยธิน และย่านกม. 11 รถไฟฟ้าสายสีแดงสถานีจตุจักร และย่านตึกแดง
เน้นการสร้างบรรยากาศของความเป็นชุมชนเมืองที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ จัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งแทรกตัวอยู่กับการพัฒนารายแปลง ที่สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิม เป็นโครงข่ายพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้สะดวก
ใช้ประโยชน์จากสวนสาธารณะ ย่านพาณิชยกรรมเดิม ในการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาในอนาคต เช่น พื้นที่พาณิชยกรรมริมถนนคนเดิน สามารถต่อยอดจากพื้นที่พาณิชยกรรมของตลาดนัดจตุจักรและตลาด อตก. ส่วนพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งอยู่ด้านในสามารถใช้ประโยชน์จากสวนสาธารณะ 3 สวน เพื่อต่อยอด เป็นองค์ประกอบและจุดขายสำคัญ
แยกกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาระบบรางออกจากการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรม เพื่อความเป็นสัดส่วน และลดการรบกวนกัน โดยใช้ถนนหรือพื้นที่สีเขียวเป็นกันชน
รายละเอียดผังแนวคิดเบื้องต้น แสดงในรูปที่ 2

2

รูปที่ 2 ผังแนวคิดการพัฒนาเบื้องต้น



ศักยภาพของพื้นที่แต่ละบริเวณเชิงกายภาพในการรองรับการพัฒนา TOD

พื้นที่โซน Aพื้นที่รวม 35 ไร่ มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้งซึ่งอยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ และสามารถเข้าถึงได้จากถนนกำแพงเพชรซึ่งเป็นถนนสายหลัก จึงมีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมเชิงพาณิชยกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับระบบขนส่ง ที่มีกรอบอาคารขนาดไม่ใหญ่ เนื่องจากมีรางรถไฟยกระดับพาดผ่านกลางพื้นที่
พื้นที่โซน B ต่อเนื่องถึงขอบโซน Dในเขตรถไฟฟ้าสายสีแดง มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้ง เนื่องจากอยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ เข้าถึงได้จากถนนสายหลักคือถนนกำแพงเพชร และถนนด้านหน้าสถานีกลางบางซื่อ จึงได้ประโยชน์เต็มที่จากการพัฒนาสถานี และเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ จึงมีศักยภาพในการพัฒนาผสมผสานหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นพื้นที่บริเวณนี้จึงมีความเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นศูนย์กลางของย่านตามแนวคิด TODแต่ด้วยข้อจำกัดทางกายภาพและการใช้พื้นที่ซึ่งวางแผนใช้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงของรถไฟระยะไกล (ซึ่งมีองค์ประกอบของสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ โรงซ่อมบำรุง อาคารซ่อมรถสินค้า และพวงรางอยู่กลางพื้นที่)จึงอาจต้องพิจารณาพัฒนาพื้นที่โซน B และพื้นที่ต่อเนื่องดังกล่าวนี้ในระยะยาว เมื่อพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อได้รับการพัฒนาพอสมควรแล้ว และมีความต้องการพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาเพิ่มขึ้น ควรพิจารณาย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงและพวงรางออกไป เพื่อนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์และพัฒนาเมืองได้อย่างคุ้มค่าเต็มศักยภาพ
พื้นที่โซน Dพื้นที่รวม 83 ไร่ มีศักยภาพสูงในการพัฒนา TOD โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากที่ตั้งที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีเขียว ซึ่งเปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน และอยู่ในรัศมีการให้บริการของสถานีกลางบางซื่อในอนาคต ประกอบกับอยู่ใกล้กับย่านพาณิชยกรรมเดิมริมถนนพหลโยธินโดยเฉพาะ บริเวณตลาดนัดจตุจักรซึ่งเป็นย่านพาณิชยกรรมที่มีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก จึงมีโอกาสต่อยอดการพัฒนาผสมผสานที่เกี่ยวเนื่องมายังพื้นที่แปลง D ได้ง่าย ประกอบกับเป็นบริเวณที่มีความพร้อมในการนำมาพัฒนาเนื่องจากสัญญาเช่าหมดอายุหรือใกล้หมดอายุ
พื้นที่ต่อเนื่องทางด้านเหนือโซน D มีศักยภาพในการพัฒนาปานกลาง เนื่องจากอยู่ถัดออกมาจากรัศมีการเดินเท้า 500 เมตรจากสถานีกลางบางซื่อ สามารถเข้าถึงได้สะดวกจากถนนกำแพงเพชร 2 และทางด่วนศรีรัช มีความต่อเนื่องกับแปลง D จึงสามารถพัฒนากิจกรรมที่มีความต่อเนื่องได้ง่าย และอยู่ใกล้สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จึงมีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัย
พื้นที่พัฒนาเดิมต่อเนื่องด้านใต้ของโซน D ได้แก่ บริเวณที่เป็นตลาดนัดจตุจักร ตลาด อตก. และบริเวณโดยรอบ เป็นย่านพาณิชยกรรมเดิมที่มีเอกลักษณ์ มีศักยภาพสูงในการพัฒนา อยู่ในระยะเดินเท้าจาก BTS สถานี หมอชิต และ MRT สถานีกำแพงเพชร และสถานีสวนจตุจักร มีศักยภาพในการพัฒนาหนาแน่นสูงขึ้น แต่คงเอกลักษณ์และรูปแบบย่านพาณิชยกรรมเดิมไว้
พื้นที่โซน C พื้นที่รวม 105 ไร่ มีศักยภาพระดับปานกลางในการพัฒนา TOD เนื่องจากอยู่ถัดจากระยะเดินเท้า 1000 เมตรจากสถานีกลางบางซื่อ โดยเฉพาะในระยะแรกที่การพัฒนาโดยรอบที่อยู่ใกล้สถานียังไม่มากนัก และรถไฟความเร็วสูงยังไม่เปิดให้บริการ แต่จะมีศักยภาพมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาที่พักอาศัยหนาแน่นสูง จากข้อได้เปรียบที่อยู่ใกล้สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิมและเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้นจากทางพิเศษศรีรัช แต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบขนส่งระบบรอง เพื่อการเชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ สถานีระบบรางอื่นๆ และกิจกรรมหลักอื่นๆ ที่อยู่โดยรอบเพื่ออำนวยความสะดวก
พื้นที่เหนือโซน C อยู่ในระยะเดินเท้าจากสถานีรถไฟสายสีแดงสถานีจตุจักรแต่มีข้อจำกัดทางกายภาพ ล้อมรอบด้วยรางรถไฟ ทางพิเศษศรีรัช ซึ่งเป็นทางยกระดับ และในอนาคตจะมีทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนกาญจนาภิเษก พาดผ่านกลางพื้นที่ จึงไม่เหมาะสมในการนำมาพัฒนาทั้งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย เหมาะที่จะใช้พัฒนาที่เกี่ยวกับระบบคมนาคมขนส่งตามแผนที่วางไว้
พื้นที่ย่านตึกแดง พื้นที่รวม 119 ไร่ มีศักยภาพสูงในเชิงที่ตั้ง เนื่องจากอยู่ในระยะเดินเท้า500 เมตรจากสถานีกลางบางซื่อ จึงได้รับประโยชน์จากการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อโดยตรง แต่เนื่องจากเข้าถึงยาก มีถนนเทอดดำริและรางรถไฟคั่นกลาง ไม่ต่อเนื่องกับพื้นที่แปลงใหญ่ จึงมีศักยภาพในการพัฒนาระดับปานกลาง จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างการเข้าถึงที่สะดวกมากขึ้นและสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่แปลงใหญ่และสถานีกลางบางซื่อได้โดยตรง จึงจะมีศักยภาพและดึงดูดให้เกิดการพัฒนารูปแบบผสมผสานพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย
พื้นที่ย่าน กม. 11 พื้นที่รวม 360 ไร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ จึงมีศักยภาพในการพัฒนา TOD ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณ สำหรับพื้นที่ด้านตะวันตกและตะวันออก ซึ่งอยู่ในระยะเดินเท้า 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง สีน้ำเงินและ สีเขียวส่วนต่อขยาย มีศักยภาพในการพัฒนาสูง เมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียวส่วนต่อขยายเปิดให้บริการในอนาคต ส่วนพื้นที่ตอนกลางมีศักยภาพปานกลางในการพัฒนา TOD เนื่องจากไม่อยู่ในระยะเดินเท้าจากสถานีระบบราง จำเป็นต้องพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบรองก่อนเพื่อสร้างการเชื่อมต่อกับสถานีและกิจกรรมหลักโดยรอบ จึงจะมีศักยภาพและดึงดูดให้เกิดการพัฒนา นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอีกประการของการพัฒนาพื้นที่แปลงนี้ อยู่ที่การรื้อย้ายอาคาร การใช้ประโยชน์ที่ดินเดิม ที่จะมีผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อแผนการพัฒนาโครงการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ในระยะสั้น


ระบบการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน

การพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธินโดยให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ด้วยการเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบสัญจรทางเท้าในรูปแบบทางเดินเชื่อมยกระดับ (Skywalk) และทางเดินเชื่อมระดับดินเพื่อเชื่อมพื้นที่สำคัญ 3 จุดด้วยกัน ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟใต้ดินกำแพงเพชร สถานีรถไฟใต้ดินจตุจักร สถานีหมอชิตของรถไฟฟ้า BTS และสถานีขนส่งหมอชิต โดยปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของเส้นทางและรูปแบบทางเดินเชื่อมต่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา TOD ดังรูปที่ 3

3

รูปที่ 3 : ผังแสดงระบบการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ด้วยระบบสัญจรทางเท้า



แนวคิดการบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชนรอง

แนวคิดในการเดินรถระบบขนส่งมวลชนรอง ซึ่งต้องการให้สามารถให้บริการกับผู้โดยสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยระบบขนส่งมวลชนรองจะวิ่งอยู่บนทางวิ่งซึ่งแยกต่างหากออกจากผิวจราจรปกติซึ่งยวดยานชนิดอื่นๆ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ และอื่นๆ ใช้ร่วมกัน ดังนั้น เพื่อตอบสนองแนวคิดในการเดินรถดังกล่าว จึงจัดช่องจราจรพิเศษขึ้นเฉพาะสำหรับระบบขนส่งมวลชนรอง (Exclusive Lane) ขึ้นบนผิวจราจรของถนนแต่ละสายที่อยู่ในแนวเส้นทางการให้บริการของระบบขนส่งมวลชนรองนี้ โดยจัดช่องทางพิเศษไว้ในช่องจราจรซ้ายสุดของแนวเส้นทาง เพื่อสะดวกต่อการขึ้น-ลงของผู้โดยสารและการเชื่อมต่อกับพื้นที่ต่างๆ โดยในบางกรณีจะต้องมีการตัดกระแสจราจรบ้าง เช่น บริเวณทางแยกต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสำหรับระบบขนส่งมวลชนรอง โดยให้ความสำคัญกับสัญญาณไฟของระบบขนส่งมวลชนรองเป็นหลัก เพื่อให้สามารถเดินรถขนส่งมวลชนรองได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และบรรเทาผลกระทบทางด้านจราจรที่อาจเกิดขึ้น การอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้บริการ จะมีการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ สะพานลอย ลิฟท์ และบันไดเลื่อน เป็นต้น เพื่อให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม รวมถึงผู้สูงอายุ และบุคคลทุพพลภาพ



รูปแบบระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง

รถประจำทางด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit : BRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนทางถนนที่มีเขตทางในการเดินรถแยกอิสระ (Separate Right of Way; SROW) บนถนน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการขนส่งผู้โดยสารมากกว่ารถประจำทางทั่วไป มีความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร ประมาณ 3,000 – 8,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ในบางโครงการสามารถรองรับได้ถึง 25,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง มีป้ายจอดรับส่งผู้โดยสารบริเวณเกาะกลางถนน หรือริมถนนก็ได้ ระบบ BRT ได้รับการพิสูจน์ความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาจราจรหลายประเทศ ในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย และยุโรป โดยมีการนำมาใช้ในเส้นทางที่มีปริมาณผู้โดยสารไม่มากนัก โดยมีเส้นทางการให้บริการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง BRT ดังรูปที่ 4

4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2016 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

แบ่ง 3 เฟสย้ายมักกะสัน ทุ่ม 1.8 หมื่นล้านผุดศูนย์ซ่อมใหญ่ “เขาชีจรรย์”
โดย MGR Online
11 เมษายน 2559 05:55 น. (แก้ไขล่าสุด 11 เมษายน 2559 07:51 น.)

ร.ฟ.ท.เร่งจ้างที่ปรึกษาทำแผนละเอียดย้ายโรงงานมักกะสัน คาดใช้งบ 1.8 หมื่นล้านเพื่อเร่งส่งมอบพื้นที่ให้ธนารักษ์ใน 2 ปี แบ่ง 3 เฟส ปรับปรุงและขยายศูนย์ซ่อมภูมิภาครับงานซ่อมรถโดยสารและรถดีเซลชั่วคราว ส่วนแก่งคอยสร้างเดปโป้เพิ่มรับซ่อมใหญ่หัวจักร เฟส 3 ผุดนิคมฯ ซ่อมที่ชุมทางเขาชีจรรย์ 500 ไร่ พร้อม ร.ร.วิศวกรรมรถไฟ

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า แผนการส่งมอบพื้นที่บริเวณโรงงานมักกะสันจำนวน 497.11 ไร่ ให้กระทรวงการคลังที่จะได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้คงค้างมูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท ขณะนี้ได้ปรับให้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการให้ย้ายออกจากพื้นที่ภายใน 2 ปี จากเดิมที่ ร.ฟ.ท.ทำแผนย้ายออกใน 5 ปี โดยการย้ายออกจากพื้นที่มักกะสันจะมีค่าใช้จ่ายในการย้ายประมาณ 18,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ตามแผนในการย้ายโรงงานมักกะสันเดิมจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี โดยโรงงานมักกะสันคือจุดที่จะส่งมอบได้ช้าที่สุด ดังนั้น ฝ่ายการช่างกลจึงจ้างที่ปรึกษาให้ศึกษาแผนการย้ายให้ได้ใน 2 ปี โดยไม่กระทบต่อกิจการซ่อมบำรุง และการเดินรถ เบื้องต้น จะกระจายงานที่มักกะสันออกไปยังโรงซ่อมต่างๆ เช่น แก่งคอย โคราช ทุ่งสง อุตรดิตถ์

นายณรงค์ฤทธิ์ ศิวะสาโรช รองผู้ว่าฯ กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ได้เตรียมว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) และศึกษาออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ในการย้ายโรงงานและโรงซ่อมบำรุงมักกะสัน วงเงินประมาณ 200 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 10 เดือน โดยได้แบ่งงานออกเป็น 3 ระยะ คือ 1. ปรับปรุงและขยายศูนย์ซ่อมภูมิภาค 3 แห่งที่มี คือ โคราช, อุตรดิตถ์ และทุ่งสง เป้าหมายเพื่อรองรับการซ่อมหนักรถโดยสาร และที่ศูนย์ซ่อมโคราชจะมีการสร้างโรงซ่อมสำหรับรถดีเซลรางเพิ่มด้วย ทำให้กระจายงานซ่อมหนักรถโดยสารและรถดีเซลรางออกจากมักกะสันได้ คาดว่าจะใช้งบดำเนินการประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท โดยจะเป็นส่วนที่ดำเนินการได้ก่อน

2. ก่อสร้างโรงซ่อมรถจักรที่แก่งคอย ซึ่งมีการออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว ซึ่งเป็นเดปโป้รถจักรเหมือนบางซื่อ สามารถทำการซ่อมย่อย และซ่อมใหญ่ระดับกลาง (Medium Overhaul) พร้อมกันนี้จะสร้างศูนย์ซ่อมหนักรถจักรดีเซลเพิ่มอีก 1 โรงในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อรับงานซ่อมหนักแทนมักกะสัน งบประมาณ 1,000 ล้านบาท

3. สร้างนิคมอุตสาหกรรมซ่อมบำรุงรถไฟที่ชุมทางเขาชีจรรย์ พื้นที่ 500 ไร่ พร้อมกับย้ายโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟไปรวมอยู่ด้วยเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ยกระดับโรงเรียนเป็นสถาบันพัฒนาบุคลากรระบบรางอาเซียน ซึ่งระยะ 3 นี้จะใช้เวลานานเนื่องจากจะเป็นศูนย์รวมการซ่อมทั้งหมด ส่วนระยะ 1, 2 เป็นการย้ายงานซ่อมรถโดยสาร รถดีเซล และหัวจักรไปไว้ชั่วคราวในช่วงที่ต้องเร่งรัดส่งมอบพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ภายใน 2 ปี และให้กระทบต่อการซ่อมบำรุงและการเดินรถน้อยที่สุด

สำหรับพื้นที่มักกะสันแบ่งเป็น 4 โซน โดยโซน A จำนวน139.82 ไร่อยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่สับเปลี่ยนเพื่อนำรถจักรและล้อเลื่อนเข้าซ่อมภายในโรงซ่อม จะสามารถส่งมอบได้ก่อน โซน B จำนวน 117.7 ไร่ พื้นที่ซ่อมบำรุงหลักฝ่ายช่างกล โรงซ่อมหนัก โซน C จำนวน 151.4 ไร่ ที่ตั้งโรงพยาบาลจบุรฉัตรไชยากรและบ้านพักพนักงาน โซน D จำนวน 88.58 ไร่ ที่ตั้งคลังพัสดุอะไหล่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 123, 124, 125 ... 197, 198, 199  Next
Page 124 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©