Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261744
ทั้งหมด:13573024
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2016 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

สหภาพเปิดประเด็น: คนรถไฟระส่ำหลังใกล้โอนมักกะสัน หวั่นกระทบครอบครัว
http://voicelabour.org/?p=24395
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2016 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.-บขส.นัดถกหาข้อสรุปการย้าย"หมอชิต"
โดย MGR Online
24 พฤษภาคม 2559 14:35 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (25 พ.ค.) ผู้บริหาร ร.ฟ.ท.จะมีการหารือร่วมกับผู้บริหาร บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เพื่อหาข้อสรุปการย้ายสถานีขนส่งหมอชิตและส่งมอบพื้นที่ให้ รฟท. เพื่อใช้ในการก่อสร้างศูนย์จอดและซ่อมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง หลังจากได้มีการลงนามกับเอกชนเพื่อเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงสัญญาที่ 3 แล้ว ซึ่งต้องการให้มีการส่งมอบพื้นที่โดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบแผนก่อสร้าง

ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัจจุบันการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงในส่วนของสถานีกลางบางซื่อ มีการล่าช้ากว่าแผนประมาณร้อยละ 30 จากปัจจุบันจะต้องคืบหน้าร้อยละ 70 แต่คืบหน้าเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ซึ่ง ร.ฟ.ท.ตั้งเป้าหมายก่อสร้างโครงการเร่งรัดเร็วมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ร.ฟ.ท.เข้าใจถึงความจำเป็นเรื่องการย้ายสถานีขนส่งของ บขส. ซึ่งต้องได้พื้นที่ที่เหมาะสมก่อน ขณะนี้ทราบว่ากระทรวงคมนาคมมีแนวทางจะให้ บขส.พัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งบริเวณย่านรังสิต ซึ่ง ร.ฟ.ท.เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เชื่อว่าผู้ใช้บริการในอนาคตจะได้รับความสะดวกในการใช้บริการ

นอกจากนี้ บริเวณพื้นที่สถานีขนส่งหมอชิตเดิมการดำเนินการจะยังเป็นไปตามแผน ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะให้ บขส.เช่าใช้พื้นที่ ปัจจุบันใช้เป็นอู่ปล่อยรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้โดยสารต่อไป

//-------------

คมนาคมสรุป บขส.คืนพื้นที่หมอชิตภายในปลายปี 61
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวไทย
25 พฤษภาคม 2559 - 4:09 PM

กรุงเทพฯ 25 พ.ค. – นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ย่านพหลโยธิน เพื่อระบบขนส่งต่าง ๆ ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าการใช้พื้นที่ทั้งหมดในส่วนของสถานีขนส่งหมอชิต 2 ของ บขส.นั้น จะต้องเริ่มทยอยย้ายพื้นที่และส่งมอบพื้นที่สถานีหมอชิต 2 ทั้งหมดคืนให้ รฟท.ภายในปลายปี 2561 ซึ่ง รฟท.เข้าใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างศูนย์ซ่อมและชานชาลาจอดรถของรถไฟฟ้าสายสีแดง

ส่วนการย้ายพื้นที่ของ บขส.นั้น ขณะนี้ตัดสินใจที่จะแยกพื้นที่การให้บริการออกเป็น 2-3 ส่วน ส่วนหนึ่งจะย้ายจากหมอชิต 2 ไปอยู่พื้นที่ 16.7 ไร่ ซึ่งเป็นอู่จอดรถ ขสมก.ข้างหมอชิต 2 และส่วนหนึ่งจะย้ายไปรังสิต ซึ่งเป็นที่ดินของ บขส.จำนวน 45 ไร่ ปัจจุบันเป็นศูนย์เช็คตรวจสภาพรถ บขส.บางส่วน ซึ่งการพัฒนาทั้ง 2 พื้นที่ บขส.จะลงทุนก่อสร้างสำนักงานและพื้นที่ปล่อยรถวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ที่ประชุมวันนี้ได้ขอให้ไปศึกษารายละเอียดเรื่องความสะดวกของผู้เดินทาง ซึ่งเห็นว่าอาจจำเป็นต้องมีชัตเตอร์บัสวิ่งเชื่อมต่อจากอู่ บขส.ใหม่ที่กำแพงเพชรมายังรังสิต ซึ่งในอนาคตจะเป็นหมอชิต 3 รวมถึงให้ศึกษาปัญหาจราจรติดขัดในการเชื่อมต่อสถานีโดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนด้วย นอกจากนี้ ระยะต่อไปมีแผนให้ บขส.เข้าไปใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของสถานีขนส่งหมอชิต 1 เดิม ซึ่งเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ เนื้อที่ประมาณ 120,000 ไร่ ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่จอดรถของรถไฟฟ้าบีทีเอส ในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่ปล่อยรถของ บขส.และ ขสมก.ด้วย

ขณะที่การให้บริการของอู่รถ ขสมก.ตรงกำแพงเพชรที่ต้องมีการส่งมอบพื้นที่ 16.7 ไร่ให้ บขส.ก่อสร้างนั้น ขสมก.จะทำการย้ายพื้นที่และเริ่มดำเนินการก่อสร้างอู่รถแห่งใหม่บริเวณใต้ทางด่วนติดกับศาลเยาวชนกลาง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีเนื้อที่ 7.3 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างสำนักงานและพื้นที่ปล่อยรถวงเงิน 50 ล้านบาท ซึ่ง ขสมก.จะเข้าพื้นที่เตรียมการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 และคาดว่าใช้เวลาก่อสร้างอู่แห่งใหม่ 360 วัน.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 26/05/2016 9:54 am    Post subject: Reply with quote

บขส.เทงบพันล้านย้ายสถานีหมอชิต แยก 2 แห่ง เร่งคืนที่ให้รถไฟภายในสิ้นปี 61 สร้างสถานีกลางบางซื่อ
โดย MGR Online
25 พฤษภาคม 2559 17:41 น. (แก้ไขล่าสุด 25 พฤษภาคม 2559 23:25 น.)

บขส.เทงบพันล้านย้ายสถานีหมอชิต แยก 2 แห่ง เร่งคืนที่ให้รถไฟภายในสิ้นปี 61 สร้างสถานีกลางบางซื่อ

“ออมสิน” สรุปแผนย้ายหมอชิตไปใช้พื้นที่สถานีรังสิตประมาณ 30 ไร่พัฒนาแทน หลังการซื้อที่ดินใหม่ 80 ไร่ล้มเหลว เพื่อเร่งส่งมอบพื้นที่คืนให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อภายในสิ้นปี 61 ขณะที่บอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติให้ บขส.เช่าพื้นที่ 16.7 ไร่ซึ่งเป็นที่ตั้งอู่ ขสมก.ปัจจุบัน โดยโยก ขสมก.ไปอยู่ใกล้ศาลเยาวชนฯ ด้าน บขส.คาดใช้งบลงทุนพัฒนา 2 แห่งประมาณ 1 พันล้าน ส่วน ขสมก.ใช้งบ 50 ล้านสร้างอู่ใหม่

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อหาข้อสรุปการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิตออกจากพื้นที่แปลง C และส่งมอบคืนให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมาคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้อนุมัติให้ บขส.เช่าพื้นที่จำนวน 16.7 ไร่ เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งเป็นที่ตั้งอู่จอดรถ ขสมก.ในปัจจุบัน โดยให้ ขสมก.ย้ายอู่จอดรถไปอยู่บริเวณใต้ทางด่วนใกล้กับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ด้านพื้นที่โซน A พื้นที่ 7.3 ไร่ ซึ่งตามข้อตกลง บขส.จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ปัจจุบันให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2561

ทั้งนี้ ตามแผน ขสมก.จะใช้เวลาก่อสร้างอู่จอดรถใหม่ 360 วัน โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย. 59-มิ.ย. 60 งบประมาณ 50 ล้านบาท ส่วน บขส.จะต้องทำแผนการย้ายให้สอดคล้องกันกับ ขสมก. โดยจะย้ายออกไป 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ 16.7 ไร่ ในบริเวณสถานีกลางบางซื่อ และอีกส่วนจะย้ายไปอยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (รังสิต) มีพื้นที่ประมาณ 45 ไร่ โดยจะนำพื้นที่ประมาณ 30 ไร่พัฒนาเป็นสถานีขนส่งและก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ระหว่างว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ออกแบบ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการพัฒนาสถานี บขส. 2 แห่งประมาณ 1,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทางกรมการขนส่งทางบกยืนยันว่าพื้นที่สถานีหมอชิต 1 ซึ่งกรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลและมีการแผนการพัฒนานั้น มีเงื่อนไขที่กรมการขนส่งฯ สงวนสิทธิ์ใช้พื้นที่ประมาณ 112,000 ตร.ม.ไว้เป็นที่จอดรถ บขส. ขสมก. และรถตู้โดยสาร ซึ่งได้ตั้งนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานคณะกรรมการบูรณาการ เพื่อจัดการระบบการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสถานีหมอชิต 1 กับสถานีกลางบางซื่อเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก

“เดิม บขส.มีแผนจะซื้อที่ดินใหม่ประมาณ 80 ไร่ บริเวณรังสิตเพื่อก่อสร้างเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ แต่ออกทีโออาร์ไป 3 ครั้งแล้วยังซื้อที่ดินไม่ได้ และส่งผลกระทบต่อกรอบเวลาการย้ายออกจากพื้นที่ ร.ฟ.ท. จึงจัดสรรพื้นที่ให้ ขสมก. และให้ บขส.ย้ายไปอยู่แทน ขสมก. ซึ่งตามแผนนี้ บขส.จะมีสถานีสายเหนือกับอีสาน 3 จุด คือ ในสถานีกลางบางซื่อ 16.7 ไร่ ที่รังสิต 30 ไร่ และที่หมอชิต 1 ประมาณแสน ตร.ม. ซึ่งจุดนี้ต้องรอบริษัท บางกอกเทอร์มินัล ที่ได้รับสิทธิ์พัฒนาสรุป” นายออมสินกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2016 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท.ปั้นสมาร์ทซิตี้10ทำเล เกาะรถไฟทางคู่ทั่วปท.(คลิป)
มติชน
วันที่: 30 พฤษภาคม 2559 เวลา: 11:06 น.



นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เสนอผลการศึกษาและแผนลงทุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ตั้งเป้าพัฒนาพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.รอบสถานีรถไฟทางคู่รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงใน 10 จังหวัด โดยสอดคล้องกับแนวคิดบอร์ดที่ต้องการหารายได้พื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟมาเสริมรายได้จากการเดินรถ มีโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแล้วโดยเฉพาะในญี่ปุ่น ลงทุนรวม 362,843 ล้านบาท

ประกอบด้วย 1. “ย่านพหลโยธิน” เนื้อที่ 2,300 ไร่ เป็นชุมทางรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงในอนาคตเป็นที่ตั้งสถานีกลางบางซื่อ รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) มีรถไฟฟ้าสายสีม่วงและบีทีเอสพาดผ่าน โดยพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ย่านธุรกิจการค้า ลงทุน 52,361 ล้านบาท

2.”เทศบาลตำบลเชียงรากน้อย” อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งสถานีรถไฟสายสีแดง (รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) และรถไฟความเร็วสูง มีศักยภาพพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรย่านธุรกิจ การค้า บริการ และย่านที่อยู่อาศัยทันสมัย เงินลงทุน 44,474 ล้านบาท

3.”เทศบาลนครแหลมฉบัง” จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่ในเขตแหลมฉบังเมืองใหม่ มีแนวคิดพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยของแรงงานนานาชาติ ลงทุน 30,464 ล้านบาท

4.”เทศบาลนครภูเก็ต” เน้นพัฒนาให้เป็นย่านการวิจัยและพัฒนา และย่านธุรกิจการเงินที่สำคัญฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ลงทุน 36,188 ล้านบาท

5.”เทศบาลนครเชียงใหม่” เน้นเป็นย่านพาณิชย์และสำนักงานรองรับการท่องเที่ยว ย่านการวิจัยและพัฒนารองรับแนวคิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล และย่านที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ลงทุน 43,185 ล้านบาท

6.”เทศบาลตำบลเด่นชัย” จังหวัดแพร่ พัฒนาให้เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร รองรับการเดินทางและการท่องเที่ยว ลงทุน 18,654 ล้านบาท

7.”เทศบาลเมืองหนองคาย” เน้นรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและการค้าชายแดน ลงทุน 37,799 ล้านบาท

8.”เทศบาลนครขอนแก่น” ทำเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน-เมืองศูนย์กลางภาคอีสาน ลงทุน 44,019 ล้านบาท

9.”เทศบาลเมืองแก่งคอย” พัฒนาเป็นย่านโลจิสติกส์ เพราะเป็นจุดตัดรถไฟสายอีสานกับตะวันออก ลงทุน 21,047 ล้านบาท

10. “เทศบาลเมืองคลองหลวง” จังหวัดปทุมธานี พัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยรถไฟ ลงทุน 34,652 ล้านบาท
โดยย่านพหลโยธินมีศักยภาพที่จะเริ่มพัฒนาก่อน ต่อด้วยเชียงรากน้อย แหลมฉบัง ภูเก็ต คลองหลวง เชียงใหม่ เด่นชัย ขอนแก่น หนองคาย และแก่งคอย ตามลำดับ โดยจะพัฒนาในระยะเวลา 5-15 ปี
https://www.youtube.com/watch?v=0Gevlmx4GRI
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2016 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.เล็งเปิดสัญญายาว 50 ปี พัฒนาที่ดิน “กม.11-แม่น้ำ” หวังจูงใจเอกชนลงทุน
โดย MGR Online
31 พฤษภาคม 2559 19:25 น. (แก้ไขล่าสุด 31 พฤษภาคม 2559 23:41 น.)


บอร์ด ร.ฟ.ท.สั่งที่ปรึกษาทำข้อมูลพัฒนาที่ดิน 2 แปลงใหญ่ “บริเวณ กม.11 และสถานีแม่น้ำ” เพิ่มเติม เล็งให้สัญญาระยะยาว 50 ปีเพื่อจูงใจเอกชน ระบุเอกชนต้องจ่ายค่าจัดประโยชน์ในพื้นที่สูง ต้องมองที่ผลตอบแทน หากสั้นแค่ 30 ปีอาจไม่คุ้ม “วุฒิชาติ” เผย กม.แพ่งและพาณิชย์เปิดช่องทำได้ เตรียมชงคมนาคมเสนอ กก.PPP ตัดสินใจ ลุยพลิกที่ดินทำเลทองเพิ่มรายได้

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาที่ดิน 2 แปลงใหญ่ คือบริเวณ กม.11 และบริเวณสถานีแม่น้ำย่านคลองเตย ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ได้รับทราบผลการศึกษาและรายละเอียดตามข้อกำหนดของการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) แล้ว โดยที่ประชุมยังติดใจตัวเลขบางเรื่อง จึงให้บริษัทที่ปรึกษากลับไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเข้ากระบวนการ PPP ต่อไป

ทั้งนี้ บอร์ดเห็นว่าการวิเคราะห์ฐานตัวเลขระยะเวลาสัมปทานกับผลตอบแทนควรมีการทบทวนเพิ่มเติม โดยพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น การกำหนดระยะเวลาสัญญา 30 ปี (ก่อสร้าง 4 ปี + สัญญาสัมปทาน 30 ปี) ตามระเบียบทั่วไป เปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุนค่อนข้างสูงหลายหมื่นล้านบาทหรือถึงแสนล้านบาทนั้น อาจจะไม่จูงใจผู้ลงทุนมากพอหรือไม่ เพราะเท่าที่พบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เปิดช่องให้ทำสัญญาได้ไม่เกิน 50 ปี หรือก่อสร้าง 4+สัญญาสัมปทาน 46 ปี ซึ่งอาจจะทำให้จูงใจมากขึ้น จึงให้ที่ปรึกษาทำข้อมูลกรณีให้ระยะเวลาสัญญา 50 ปีเพิ่มเติม นอกจากนี้ ให้ศึกษาการพัฒนาที่ดินตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพิ่มเติม ในเรื่องฐานตัวเลขรายได้ของรถไฟที่จะมาจากค่าเช่าพื้นที่อย่างเดียวเท่านั้นหรือไม่ สามารถหารายได้จากอย่างอื่นได้อีก

“บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นว่ายังสามารถปรับได้อีก เพื่อให้จูงใจและเป็นไปได้เมื่อเปิดเชิญชวนเอกชนมาลงทุน เช่น สัมปทาน 30 ปี อาจจะน้อยไปเมื่อเทียบกับการลงทุนเป็นแสนล้าน ผู้แทนบอร์ด มีทั้งจากคลังและนักกฎหมาย มีความละเอียดรอบคอบเรื่องตัวเลข ดังนั้นจึงต้องการตัวเลขที่มีความชัดเจนและเป็นไปได้ ที่ปรึกษาต้องไปทำเพิ่มเติม โดยพิจารณามูลค่าลงทุน ผลตอบแทน และยึดข้อกฎหมายเป็นหลัก รวมถึงมองไปถึงอนาคตเมื่อหมดสัญญาแล้วต้องคืนให้ ร.ฟ.ท. การบริหารหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร” นายวุฒิชาติกล่าว

สำหรับที่ดินบริเวณ กม.11 ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารศูนย์พลังงานแห่งชาติ (เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์) เนื้อที่ 359 ไร่ มูลค่าประมาณ 1.83 หมื่นล้านบาท และบริเวณสถานีแม่น้ำย่านคลองเตย เนื้อที่ประมาณ 260 ไร่ มูลค่าราว 1.04 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าที่ปรึกษาจะวิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติมตามความเห็นของบอร์ด ร.ฟ.ท.แล้วเสร็จภายใน 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอไปกระทรวงคมนาคมได้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ PPP จะเป็นผู้พิจารณาผลการศึกษาและเลือกแนวทาง ระยะเวลาสัญญาที่เหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2016 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

ขนที่ดิน3แปลงโรดโชว์ ดันสถานีบางซื่อ/แม่นํ้า/กม.11กระตุ้นนักลงทุน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,162 วันที่ 2 – 4 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ร.ฟ.ท.เตรียมขนที่ดิน 3 แปลงโรดโชว์นักลงทุนสนองนโยบายรัฐบาลหวังกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ ล่าสุด 6 มิ.ย.นี้เตรียมเปิดรับฟังความเห็นโครงการย่านพหลโยธินเป็นรอบที่ 2 ล่าสุดที่ดิน 4 แปลงสถานีกลางบางซื่อเสนอคมนาคมพิจารณาตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 56 ส่วนแปลงกม.11 และสถานีแม่นํ้าจ่อคิวตาม มิ.ย.นี้

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าแผนการพัฒนาที่ดิน 3 แปลงหลักของรฟท.คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีแม่น้ำ และกม.11 ย่านพหลโยธิน โดยปัจจุบันที่ดินทั้ง 3 แปลงมีความคืบหน้าด้านการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนอย่างมาก ดังนั้นจึงมีแผนนำที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวออกโรดโชว์ให้กับนักลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จากสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์และจากกองทุนต่างๆให้ทราบถึงความพร้อมโครงการ ตลอดจนความคืบหน้าด้านการศึกษารูปแบบการลงทุนและความเป็นไปได้ของโครงการรูปแบบต่างๆ

“หากโครงการไหนที่มีความชัดเจนไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษาความเป็นไปได้ การรับฟังความเห็นนักลงทุน(มาร์เก็ตซาวดิ้ง) ความเห็นของกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ที่จะสื่อให้เห็นความชัดเจนถึงรูปแบบการลงทุนโดยเฉพาะกรณีการร่วมลงทุนที่นักลงทุนเฝ้ารอก็จะเร่งนำเสนอโครงการให้นักลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศเข้ามาแสดงความสนใจ แนวคิดหากสามารถนำโรดโชว์ทั้ง 3 โครงการพร้อมกันก็จะทำให้เกิดศักยภาพด้านการลงทุนมากขึ้น ประการสำคัญจะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจและสนใจลงทุนโครงการเหล่านี้จริงๆ”

แหล่งข่าวระดับสูงจากฝ่ายบริหารทรัพย์สินรฟท.กล่าวว่า ตามที่ได้ว่าจ้างศึกษาออกแบบรายละเอียดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคมพหลโยธินตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 รฟท.ยังได้ว่าจ้างศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อควบคู่กันไปด้วยโดยเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 ยังจัดให้มีการสัมมนาทดสอบความสนใจนักลงทุน (Market Sounding) โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธินและการพัฒนาต้นแบบพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ซึ่งพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 2,325 ไร่มีกิจกรรมทางด้านการพัฒนาพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่สวนสาธารณะ พื้นที่พัฒนาโครงการ กม. 11 และพื้นที่ย่านตึกแดง


สำหรับพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกำหนด 4 โซนเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คือ โซน A ขนาด 35 ไร่(ตั้งอยู่ด้านหลังศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง) โซน B ขนาด 78 ไร่(ตั้งอยู่ใกล้ตลาดนัดจตุจักร) และ โซน C ขนาด 105 ไร่(ตั้งอยู่บริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพหรือหมอชิตใหม่ในปัจจุบัน) และโซน D เนื้อที่รวมกว่า 83 ไร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างแนวแกนทางเดินเท้าทั้งแบบเหนือดินและบนดินโดยทางเดินเท้าเชื่อมต่อแบบเหนือดิน (Skywalk) จะมีระยะทางรวมประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางเดินเชื่อมต่อระดับดินไปยังสถานีย่อย บขส. มีระยะทางรวมประมาณ 1.4 กิโลเมตร คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมของโครงสร้างการเชื่อมต่อกว่า 1พันล้านบาท และหากรวมมูลค่าการพัฒนาพื้นที่โซน D เต็มศักยภาพก็จะมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองด้วยรูปแบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) พร้อมศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่กว่า 7 ไร่ภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธินมีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรคิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 1.7 พันล้านบาท

ล่าสุดคณะกรรมการ(บอร์ด)ร.ฟ.ท.เห็นชอบเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารูปแบบการลงทุนของโครงการคาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมเดือนมิถุนายนนี้ โดยกระบวนการเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนและนักลงทุนยังดำเนินการควบคู่กันไปซึ่งวันที่ 6 มิถุนายนนี้จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนต่อโครงการพัฒนาย่านพหลโยธินเป็นรอบที่ 2 และจะเปิดรอบที่ 3 ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ ดังนั้นปลายปีนี้แผนการพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธินกว่า 2,300 ไร่ก็จะเห็นภาพชัดเจน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 1:20 pm    Post subject: Reply with quote


แผนการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ:


สนข.คาด ก.ค.นี้ได้ข้อสรุปการออกแบบ-ผลศึกษา EIA ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ข่าวเศรษฐกิจ
โดย คคฦ/กษมาพร/รัชดา อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
จันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2559 14:49:12 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคมว่า คาดว่าจะสรุปรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้ปลายเดือนก.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคม ซึ่งตามแผนจะเสนอแผนแม่บทดังกล่าวต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เพื่อให้ความเห็นชอบกรอบ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ขณะนี้การศึกษามีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะมีการสัมมนาครั้งที่ 3 เพื่อให้ได้ข้อสรุปผลการศีกษาความเหมาะสมของโครงการ ผลการวิเคราะห์ด้านจราจร การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน และการพัฒนาเชิงพาณิชย์

ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ผลการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน พื้นที่ 2,325 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ, พื้นที่สวนสาธารณะ, พื้นที่พัฒนาโครงการ กม. 11 และพื้นที่ย่านตึกแดง ซึ่งได้ออกแบบเบื้องต้นสำหรับการพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่โครงการทั้งทางเดินเท้า และการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินกับพื้นที่ต่างๆ โดยรอบ

โดยเบื้องต้นผลการศึกษาโครงการ จะประกอบด้วย 1. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน (Transit Oriented Development :TOD) มาใช้ทั้งในบริเวณพื้นที่ 2,325 ไร่ และพื้นที่โซน D ประมาณ 80 ไร่ โดยกำหนดแนวคิดการพัฒนา คือ "ศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับ ASEAN" เพื่อส่งเสริมให้สถานีขนส่งมวลชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non – Motorized Transport) และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพิ่มเส้นทางการเดินเท้า มีรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT มี 16 สถานี เปิดให้บริการได้ในปี 2565 และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 14,977 คนต่อวัน นอกจากนี้ จะมีทางเดินยกระดับ (Sky Walk) เชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับสถานีรถไฟฟ้าBTS (หมอชิต) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (จตุจักร) ระยะทางประมาณ 1.2-1.3 กม. รวมถึงมีทางจักรยานด้วย

2. ผลการศึกษาพบว่า ทางเดินเชื่อมต่อหลักซึ่งเอกชนผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ บนแปลงที่ดินต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม (แปลง D) ซึ่งได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานีหลัก ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักร และกำแพงเพชร จนถึงสถานีย่อย บขส.หมอชิต 2 มีลิฟท์ บันไดเลื่อน ตลอดจนระบบปรับอากาศ โดยสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 37,000 คน/วัน ในปี 2580 นอกจากนี้ได้ออกแบบทางเดินระดับดิน เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกำแพงเพชรจนถึงสถานีย่อย บขส.หมอชิต 2 สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 5,000 คน/วัน ในปี 2580

3.ผลการศึกษาความเหมาะสม การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (BRT) มีเส้นทางให้บริการประมาณ 10 กิโลเมตรทั้งสองทิศทาง มีจุดขึ้นลง 16 สถานี และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งหลัก มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางบางซื่อ วิ่งข้ามพวงรางด้วยทางวิ่งยกระดับบริเวณถนนกำแพงเพชร 6 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 2 และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนกำแพงเพชร 4 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 3 แล้วจึงเลี้ยวเข้าพื้นที่ กม. 11 เพื่อกลับเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 2 และวนกลับสถานีกลางบางซื่อ และมีศูนย์ซ่อมบำรุงบนเนื้อที่กว่า 7 ไร่ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 1 แสนคนต่อวัน

โดยจากการจัดสัมมนา Market Sounding ซึ่ง มีภาคเอกชนไทยและต่างประเทศให้ความสนใจร่วมลงทุนพัฒนาโครงการเช่น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ รวมถึงเอกชนญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟ (TOD) ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเป็นผู้รับผิดชอบการคัดเลือก ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าลงทุนของแต่ละแปลงจะไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=28GMKsslvnU


Last edited by Wisarut on 06/06/2016 4:20 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2016 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

นักธุรกิจเมืองหนองคายทุ่ม 100 ล้าน เนรมิตสถานีรถไฟเก่ารับเออีซี
เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2559 เวลา 02.58 น.

การพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ใช้ชื่อว่า “ณ ตลาดรถไฟ” จะอยู่ภายใต้แนวคิดที่สำคัญ คือ เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุกมิติ เป็นมิตรกับชุมชน

นางจิรนันท์ สกุลตั้งไพศาล นักธุรกิจหญิงเมืองหนองคาย เจ้าของร้านตลาดท่าเรือ ท่าเสด็จ หนองคาย เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน ที่ถือว่ามีความแข็งแกร่งด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยววิถีถิ่น วิถีไทย และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จ.หนองคาย เป็นเมืองหน้าด่านทำหน้าที่รับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งเธอมีความมั่นใจในศักยภาพของจังหวัด เพราะเรามีความพร้อมทั้งด้านโลจิสติกส์และการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทั้งด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และอื่น ๆ ที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ

หลัง เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี มีนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายประเทศ รวมทั้งจีน เดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเธอมองว่าเรายังมีสิ่งที่มีคุณค่าอีกหลายอย่าง ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น สถานีรถไฟหนองคายเก่า ซึ่งเป็นมรดกอันเก่าแก่ของจังหวัด มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 หรือ ประมาณ 59 ปีที่แล้ว ตั้งอยู่ชุมชนในมีชัย เขตเทศบาลเมืองหนองคาย เป็นที่รับส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีแพขนานยนต์ขนส่งสินค้าข้ามแม่น้ำโขงไปยัง สปป.ลาว

แต่ด้วยความ เจริญของบ้านเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายสถานีรถไฟหนองคายจากเดิมไปตั้งแห่งใหม่ที่ชุมชนดอนดู่ เพื่อเชื่อมทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว ทำให้สถานีเก่าไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกต่อไป

นางจิรนันท์ กล่าวต่อไปว่า เธอมองเห็นคุณค่าดังกล่าว จึงได้ติดต่อขอเช่าที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย เฟสแรกในเนื้อที่ 11 ไร่ เป็นเวลา 20 ปี โดยจะใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต โดยจะรักษาประวัติศาสตร์การรถไฟและความเป็นมาของสถานีรถไฟ ข้อกำหนดต่าง ๆ ของการรถไฟ ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญไว้ทั้งหมด เพราะในอนาคตเราไม่แน่ใจว่าการวางรูปแบบนี้จะยังเหลือให้เห็นต่อไปหรือไม่

การ พัฒนาพื้นที่แห่งนี้ใช้ชื่อว่า “ณ ตลาดรถไฟ” จะอยู่ภายใต้แนวคิดที่สำคัญ คือ เป็นพื้นที่สีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทุกมิติ เป็นมิตรกับชุมชน และชุมชนได้ประโยชน์ทุกเพศทุกวัย ในการเข้ามามีส่วนร่วม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ การพัฒนาจะคำนึงถึง อารยสถาปัตย์ ด้วยการออกแบบรองรับ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นของเราจริง ๆ เพราะอารยสถาปัตย์จะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก จึงเป็นไฮไลต์ตัวหนึ่งแม้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวก และส่งเสริมการท่องเที่ยวสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยจะดำเนินการเป็น 2 เฟส คือ

เฟสแรก ประกอบด้วย อาคารพิพิธภัณฑ์ (ตัวสถานี) เป็นจุด Landmark ของโครงการ ซึ่งจะเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการถาวร พระมหากษัตริย์กับรถไฟไทย จัดนิทรรศการบอกเล่าประวัติความเป็นมาของรถไฟหนองคายและรถไฟไทย จัดนิทรรศการแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับสถานีรถไฟในอดีต มีหัวรถจักรไอน้ำ มีโบกี้รถไฟ 8 โบกี้ สำหรับจัดนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวของการรถไฟไทยทั้งหมด โดยมีเครือข่าย การรถไฟแห่งประเทศ ไทยมิวเซียมสยาม บริษัทไปรษณีย์ไทย ที่จะมาจัดแสดงแสตมป์เกี่ยวกับรถไฟ บริเวณชานชาลา มีอาคารและบูธขนาดเล็กจำหน่ายสินค้าโอทอป ผลิตภัณฑ์จากชุมชน ของฝากจาก จ.หนองคาย และจากจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่จัดแสดงภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่จะสร้างรายได้ สนับสนุนการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ยั่งยืนตามปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง

ตึกแถวพาณิชย์ เป็นห้องแถว 2 ชั้น ในแบบสถาปัตย์รถไฟโบราณผสมผสานกับการใช้สอยของโลกปัจจุบัน จะประกอบด้วยร้านจำหน่ายอาหาร ฟาสต์ฟู้ด ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร และห้างร้านต่าง ๆ พื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นฟู้ดคอร์ต มีพื้นที่ขายอาหารท้องถิ่น อาหารนานาชาติ มีโบกี้รถไฟโบราณ สมัยวิคตอเรีย ประเทศอังกฤษสำหรับนั่งรับประทานอาหาร มีอาคารเรือนกระจก Conservatory เป็นอาคารทรง Glasshouse 2 ห้อง สามารถบรรจุคนได้ประมาณห้องละ 100 คน มีพื้นที่กลางแจ้งบนทะเลสาบกว่า 700 ตร.ม. สำหรับจัดงานได้หลายรูปแบบ มีจักรยานราง (Rail Bike) ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้รางรถไฟของจริง ที่ตลาดรถไฟแห่งนี้จะมีครบในทุกเรื่องทั้งแชะ (ถ่ายรูป) ชง (กาแฟ) ชิม (อินเตอร์ฟู้ด) แชร์ (ภาพ) โดยมีชุดแต่งกายโบราณให้เช่า หรือแต่งมาเองเพื่อถ่ายรูปซึ่งทุกจุดจะเป็นแหล่งเรียนรู้ และสอดแทรกเรื่องราวของการรถไฟทั้งหมด เช่น จุดโบกธงเขียว ธงแดง จะสื่อให้รู้ความหมายของการใช้สัญญาณธงในการปล่อย หรือหยุดรถไฟ เป็นต้น โดยจะเปิดให้บริการได้ภายในปลายปี 2559 นี้

ส่วนเฟสที่ 2 จะเริ่มดำเนินการต่อในต้นปีต่อไป (2560) จะทำการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักเจ้าหน้าที่รถไฟเก่า 6 หลังให้เป็นโรงแรมขนาด 30 ห้อง เป็นบูติคโฮเต็ล Themed–Hotel ที่ไม่ขายว่าเป็นโรงแรมกี่ดาว แต่เป็นโรงแรมแห่งแรกของประเทศไทย ที่หากท่านอยากมาสัมผัสและอยากมีประสบการณ์เรื่องของการรถไฟที่นี่ตอบโจทย์ ได้

เพราะบ้านพักแต่ละหลังเป็นบ้านพักนายสถานีรถไฟ ตำรวจรถไฟ นายช่างรถไฟและเจ้าหน้าที่รถไฟ จะยังคงมีเครื่องมืออุปกรณ์ดั้งเดิมอยู่ครบครัน นอกจากนี้ยังมีส่วนแสดงแกลลอรี มีห้องอเนกประสงค์สำหรับจัดงานแต่งงาน เวทีไทย วิถีไทย เรือนทรงไทย รองรับการจัดงานเลี้ยง งานหมั้นและอื่น ๆ อย่างครบครัน ซึ่งโครงการ ณ ตลาดรถไฟ นี้จะเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ไว้รองรับนักท่องเที่ยวหลัง การเข้าสู่เออีซี ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองหนองคาย.

จิรศักดิ์ วงษ์คำจันทร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

ศูนย์คมนาคมพหลโยธินเนื้อหอม “เอกชนไทย-ญี่ปุ่น” สนใจร่วมลงทุน
โดย MGR Online
6 มิถุนายน 2559 17:47 น. (แก้ไขล่าสุด 6 มิถุนายน 2559 18:53 น.)

โปรเจกต์ “ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” เนื้อหอม เอกชนไทย-ญี่ปุ่น สนร่วมลงทุน สนข.เตรียมสรุปผลศึกษา แผนแม่บทหลัก ใน ก.ค. ชงคมนาคมเสนอ คจร.เดือน ก.ย.นี้ ตั้งเป้าเปิดแปลง A และ D พัฒนาก่อน เร่งเปิด Sky Walk เชื่อมสถานีกลางบางซื่อ-BTS (หมอชิต)-MRT (จตุจักร) ปี 62 ส่วน BRT คาดเปิดได้ปี 65 ผอ.สนข.เผยระยะเช่ายาวจูงใจนักลงทุน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่ 2,325 ไร่ และต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ซึ่งจะสรุปร่างผลการศึกษาความเหมาะสม ผลการวิเคราะห์ด้านจราจร การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ รูปแบบการลงทุนทผลตอบแทนต่างๆ เป็นกรอบแผนแม่บทได้ในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เห็นชอบในเดือน ก.ย.นี้ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

โดยเบื้องต้น แบ่งพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ออกเป็น 4 แปลง โดยแปลง A มีพื้นที่ 35 ไร่, แปลง B พื้นที่ 78 ไร่, แปลง C พื้นที่ 105 ไร่, แปลง D พื้นที่ 87.5 ไร่ ซี่งจากการจัดสัมมนา Market Sounding มีภาคเอกชนไทยและต่างประเทศให้ความสนใจร่วมลงทุนพัฒนา เช่น กลุ่มเซ็นทรัลฯ รวมถึงเอกชนญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในและรอบสถานีรถไฟ (TOD) โดยคาดว่ามูลค่าลงทุนของแต่ละแปลงจะไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท ซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของพื้นที่ จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน โดยระยะเวลาในการเช่าพัฒนาพื้นที่จะต้องพิจารณาความเหมาะสมและแรงจูงใจ เพราะหากสั้นไปเอกชนอาจมองว่าไม่คุ้มค่าได้

ทั้งนี้ สนข.จะต้องศึกษาเพื่อจัดสรรการพัฒนาพื้นที่แต่ละแปลง ซึ่งจะมีทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ให้เหมาะสม ภายใต้แนวคิดการพัฒนา “ศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับ ASEAN” เพื่อส่งเสริมให้สถานีขนส่งมวลชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non - Motorized Transport) และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งนี้ การพัฒนาระบบคมนาคมการเดินทางต่างๆ จะต้องทำควบคู่กับการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อทำให้พื้นที่มีศักยภาพสูงสุด โดยศูนย์พหลโยธินถือเป็นพื้นที่แปลงใหญ่ของ กทม.และเป็นศูนย์กลางระบบขนส่ง มีสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะมีรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าสีน้ำเงินวิ่งเข้ามา

ขณะที่ในพื้นที่จะมีการศึกษาออกแบบระบบขนส่งเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางภายด้วยรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ระยะทาง 15 กม. มี 16 สถานี ค่าลงทุนประมาณ 100 กว่าล้านบาทต่อ กม. โดยอยู่ระหว่างสรุปรูปแบบลงทุนว่าควรจะเป็นรัฐหรือเอกชน หรือรัฐลงทุนบางส่วน เนื่องจากเป็นบริการที่อาจจะไม่คุ้มทุนมากนัก คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2565 และคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 14,977 คนต่อวัน

นอกจากนี้ จะมีทางเดินยกระดับ (Sky Walk) เชื่อมแนวตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับสถานีรถไฟฟ้า BTS (หมอชิต) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (จตุจักร) ระยะทางประมาณ 1.2-1.3 กม. โดยจะให้ผู้พัฒนาแปลง D เป็นผู้ลงทุน Sky Walk ซึ่งควรจะเร่งดำเนินการเพื่อให้เปิดพร้อมกับสถานีกลางบางซืิ่อ ปี 2562 โดยทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อ ไปยังสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต และสถานีรถไฟใต้ดินจตุจักรเป็นทางเดินยกระดับโดยออกแบบเป็นทางเดินเปิดโล่ง ประมาณ 1 กิโลเมตร และเป็นทางเดินแบบปรับอากาศ ระยะทางประมาณ 300 เมตร และพื้นที่ใต้ทางเดินยกระดับได้ออกแบบให้ใช้เป็นทางเดินเท้าและทางจักรยานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ โดยสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 37,000 คน/วัน ในปี 2580 นอกจากนี้ได้ออกแบบทางเดินระดับดิน เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกำแพงเพชรจนถึงสถานีย่อย บขส.หมอชิต 2 สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ประมาณ 5,000 คน/วัน ในปี 2580

อย่างไรก็ตาม จะพัฒนาแปลง A ก่อนเนื่องจากพื้นที่ติดถนน มีศักยภาพสูงสุด และแปลง D จะเริ่มพร้อมๆกันเนื่องจากเป็นส่วนของ Sky Walk ที่จะเชื่อมการเดินทางระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับ BTS และ MRT ซึ่งจะเกิดการกระตุ้นในการพัฒนาแปลงอื่นต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/06/2016 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาที่ดิน ย่านพหลโยธิน
http://www.phahonyothincenter.com/file/PRseminar2-060659.pdf


ธุรกิจไทย-เทศรุมทึ้งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ อีก2เดือนรู้ผล
วันที่: 6 มิถุนายน 2559 เวลา: 17:07 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชนไทยและต่างประเทศ แสดงความสนใจเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อจำนวนมาก ตามโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม โดยในส่วนเอกชนไทยจะเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ขณะที่ต่างประเทศที่สนใจคือญี่ปุ่น ทั้งนี้ แผนพัฒนาพื้นที่คงทยอยพัฒนาไปทีละโซน อาจเริ่มที่โซน เอ ก่อน เพราะอยู่ริมถนนและพื้นที่แปลงใหญ่ หากทำสำเร็จจะเป็นการจูงใจให้เกิดการพัฒนาพื้นที่โซนบี ซี และดี ต่อไป โดยจะเปิดให้เอกชนไทยและต่างประเทศ ร่วมลงทุนกันพัฒนากับรัฐในรูปแบบของพีพีพีได้

“ประมาณ 2 เดือนหรือกรกฎาคมนี้ จะสรุปรายละเอียดได้ ในเรื่องความเหมาะสมของโครงการ ระบบการขนส่งภายในพื้นที่ ระยะเวลาให้เอกชนพัฒนา ผลตอบแทนที่เอกชนและรัฐจะได้รับ ก่อนรายงานให้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)รับทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติกรอบแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ ในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ ” นายชัยวัฒน์ กล่าว

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ในส่วนของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนภายในพื้นที่ได้สรุปแล้วว่าจะเป็นระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ(บีอาร์ที)เพื่อวิ่งเชื่อมต่อให้บริการ นอกจากนี้จะมีทางเดินยกระดับ(สกายวอล์ก)เพื่อเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีจตุจักรถึงสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งขณะนี้มีเอกชนหลายรายสนใจร่วมประมูลเดินรถบีอาร์ที เช่น บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลสิทธิ์บริหารเดินรถบีอาร์ทีในศูนย์พหลโยธิน เนื่องจากบริษัทเป็นรายเดียวที่มีประสบการณ์บริหารเดินรถบีอาร์ทีในปัจจุบัน จึงมองว่ามีโอกาสในการเข้าไปร่วมประมูลสูง ทั้งนี้ บริษัทได้แนะแนวทางกับสนข.ถึงการสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ โดยต้องการให้เป็นการขนส่งระบบรางมากกว่า เนื่องจากทำให้เกิดความคล่องตัว เพราะการพัฒนาเป็นระบบรถด่วนพิเศษบีอาร์ที อาจไม่สะดวกในการใช้พื้นที่จราจรในอนาคต เพราะต้องตัดแบ่งช่องจราจร แต่หากสนข.พิจารณาความเหมาะสมแล้ว บริษัทก็ยืนยันที่จะเข้าร่วมประมูล

นางสุภาพรรณ สง่าศรี ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า การศึกษาโครงการฯจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้ายวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ โดยจะสรุปแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์พื้นที่แปลงดีและทางเดินเชื่อมต่อ หรือสกายวอล์กด้วย ซึ่งจะสอดคล้องกับการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อในปี 2562 พอดี

น.ส.ธนสรณ์ กมลรัตนโยธิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมือง กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ จะเน้นให้เกิดการเดินเท้ามากกว่าการใช้รถยนต์ ส่วนโครงการที่จะดำเนินการได้ก่อนคือ สกายวอล์ก และรถบีอาร์ที รวม 16 สถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 197, 198, 199  Next
Page 127 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©