Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261755
ทั้งหมด:13573035
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2016 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

กทม. เจรจา การรถไฟฯ ใช้พื้นที่ แอร์พอตลิ้งค์ มักกะสัน รอข้อสรุปจัดการ "ค่าเช่า"
สวพ. FM 91
09 มิถุนายน 2559 เวลา: 17:50:48
วันที่ 9 มิถุนายน 2559 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีการเจรจาหาพื้นที่จำหน่ายให้ผู้ค้าย่านประตูน้ำ ตามที่ผู้ค้าได้ร้องขอ จำนวน 4 จุด โดยล่าสุด เจรจากับ การรถไฟฯ เพื่อขอใช้ที่บางส่วนบริเวณใกล้พื้นที่ แอร์พอตลิ้ง มักกะสัน ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ 1 ใน 4 จุด ที่ผู้ค้าร้องขอเรียบร้อยแล้ว

ส่วนเรื่องของค่าเช่าพื้นที่ แบ่งเป็น 3 แนวทาง คือ การให้ผู้ค้าเป็นผู้จ่ายค่าเช่าเอง, หรือให้สำนักงานเขตเป็นผู้เช่า แล้วผู้ค้าจ่ายให้สำนักงานเขต และ อีกแนวทางคือ ให้ผู้ค้าทางตลาดเข้ามาดูแล ซึ่งคาดว่า จะใช้เวลาอีกระยะในข้อสรุปดังกล่าวนี้

ทั้งนี้ พื้นที่ที่กรุงเทพมหานคร จะดำเนินการจัดระเบียบผู้ค้า ต่อไป มีอีก 6 จุด ซึ่งจะห้ามไม่ให้ผู้ค้าตั้งจำหน่ายสินค้า ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป ได้แก่ (1.) บริเวณใต้สะพุทธยอดฟ้า, (2.) สะพานพระปกเกล้า, (3.) ประตูน้ำ, (4.) ถนนราชดำริ, (5.) ถนนสีลม ทั้งสองฝั่ง และ (6.) บริเวณสยามแสคร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2016 10:53 am    Post subject: Reply with quote

แนวคิดสร้าง เมืองสมัยใหม่มักกะสัน 3 แสนล้าน กับที่ดิน 500 ไร่ เปิดทางเอกชนลงทุนสัญญา100 ปี
ความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุบริเวณมักกะสันว่า ขณะนี้กรมธนารักษ์และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่บริเวณดังกล่าวแล้ว หลังจากนี้จะเสนอกระทรวงการคลังในการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่จาก ร.ฟ.ท.เพื่อนำที่ดินไปพัฒนาแลกกับภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท. โดยเบื้องต้นมีการประเมินมูลค่าที่ดินแปลงดังกล่าวที่มีอยู่ประมาณ 500 ไร่ แลกกับภาระหนี้สิน 6.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งการส่งมอบกำหนดเป็น 3 ระยะ ระยะแรก 105 ไร่ ระยะที่สอง ต้องส่งมอบภายใน 1 ปี จำนวน 30 ไร่ และส่วนที่เหลือจะต้องส่งมอบให้ทั้งหมดภายใน 2 ปี อย่างไรก็ดี มีบางพื้นที่ เช่น บริเวณโรงเรียน จำนวน 40 ไร่ ที่ไม่สามารถย้ายออกได้ เพราะมีผลกระทบ ดังนั้นอาจไม่ต้องย้ายออกไป แต่จะตีมูลค่าแยกออกไปอีกครั้ง
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า หากมีข้อตกลงร่วมกันแล้ว กรมจะว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาถึงรูปแบบและแนวทางการพัฒนาควรจะเป็นลักษณะใดจึงจะคุ้มค่า จากนั้นจะเปิดประมูล ซึ่งจะต้องนำเข้าสู่กฎหมายร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ตั้งเป้าหมายการพัฒนาจะเริ่มให้ได้ภายในปีหน้า โดยรูปแบบการพัฒนา กรมต้องการให้เป็นเมืองสมัยใหม่ และก่อสร้างอิงกับสิ่งแวดล้อม คาดว่ามูลค่าโครงการจะอยู่ในหลัก 2-3 แสนล้านบาท เพราะเป็นพื้นที่แปลงเดียวกันเกือบ 500 ไร่ กลางกรุง มีระยะเวลาการเช่านานถึง 50 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 50 ปี ด้วยมูลค่าโครงการสูง ผู้เข้าร่วมประมูลน่าจะเป็นลักษณะกลุ่มร่วมทุน
https://www.facebook.com/PrachachatOnline/photos/a.190710753813.127114.182927663813/10154425756408814/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2016 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แนวคิดสร้าง เมืองสมัยใหม่มักกะสัน 3 แสนล้าน กับที่ดิน 500 ไร่ เปิดทางเอกชนลงทุนสัญญา100 ปี
https://www.facebook.com/PrachachatOnline/photos/a.190710753813.127114.182927663813/10154425756408814/?type=3&theater


ปลดล็อกปล่อยเช่า50ปี ธนารักษ์หย่าศึก3โครงการยักษ์‘มักกะสัน-หมอชิต-เอ็น.ซี.ซี.’
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,165 วันที่ 12 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ธนารักษ์ปลดล็อกโครงการใหญ่ ปรับสัญญาให้เช่าพื้นที่รวดเดียวยาว 50 ปี “มักกะสัน-หมอชิต-N.C.C.” เผยคืบหน้าโครงการหมอชิตได้ข้อสรุปผลตอบแทนปลื้มรัฐได้เพิ่มกว่า 4 พันล้าน “มักกะสัน” รอเซ็น MOU, “ร้อยชักสาม” ผู้ลงทุนรุดเจรจาเตรียมส่งแผนธุรกิจเสนอ ก.ค.นี้ กรมเร่งแก้ระเบียบ/สัญญา ขยายรายได้โฟกัสประมูลเช่าที่ของเอกชนรายใหญ่ แก้ 2 พันสัญญาให้ตรงวัตถุประสงค์

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความชัดเจนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณมักกะสัน ว่า โครงการนี้คาดว่าจะมีเม็ดเงินการลงทุนอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 2-3 แสนล้านบาท โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 ปี ตามแผนระยะสั้นของกรมธนารักษ์

“โครงการนี้อยู่ระหว่างรอเซ็น MOU หรือบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่คืน จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังจากนั้นจะต้องเข้าสู่กระบวนการของกฎหมายให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ (พ.ร.บ.ร่วมทุน) โดยจะต้องจ้างที่ปรึกษาในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการแล้วจึงเข้ากระบวนการ หลังจากที่ปรึกษาศึกษาโครงการเสร็จแล้ว ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเร็วที่สุดน่าจะเริ่มได้ในปี 2560

ต่อสัญญา”หมอชิต”ให้รวม50 ปี

ส่วนโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุหมอชิต มูลค่า 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2538 นั้น กินระยะเวลากว่า 20 ปี ในส่วนของหน้างานที่มาจากกรมธนารักษ์นั้น ถือว่าได้เสร็จสิ้นลงแล้วขณะนี้กรมธนารักษ์อยู่ระหว่างผลักดันเพื่อเสนอเข้าสู่ระดับกระทรวง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนระหว่างการเจรจาเชิงตัวเลขเพื่อเสนอกรรมการ ก่อนจะเสนอเข้าสู่กระบวนการ พ.ร.บ. ร่วมทุน โดยจะต้องเจรจาในส่วนของตัวเลขฐานรากในการก่อสร้างอาคารวงเงิน 1.4 พันล้านบาท

สำหรับในส่วนของตัวเลขผลตอบแทน ขณะนี้กรมธนารักษ์ ได้เจรจาจบแล้ว พร้อมทั้งได้ขยายกรอบระยะเวลาการเช่า จากเดิมที่ระยะเวลาสัญญาเช่าพื้นที่จะอยู่ที่ 30 ปีก่อนจะต่อให้อีก 2 ครั้ง ๆละ 10 ปี หรือรวมตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 50 ปี

NPVหมอชิตเพิ่ม 4 พันล้าน

แต่สำหรับการเจรจารอบใหม่นี้ สัญญาเช่าพื้นที่จะให้รวดเดียว 50 ปี ครอบคลุมระยะเวลาทั้งการก่อสร้างและบริหารโครงการ โดยคาดว่า NPV ( Net Present Value :ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้จากการลงทุนในโครงการครอบคลุมเงินลงทุน ,ผลตอบแทนที่คาดจะได้ในอนาคตและผลตอบแทนที่คาดหวัง ) จะบวกเพิ่มอีก 4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นขึ้นหลายเท่าตัว เทียบสัญญาเดิมที่เป็น 30 ปี

“ยอมรับว่าแต่ละโครงการมีต้นทุนแฝงอยู่เยอะ โดยเฉพาะโครงการหมอชิตมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการลงทุน รวมถึงพื้นที่ที่ต้องจัดให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่นบริษัทขนส่ง และยังต้องต้องเปิดพื้นที่โล่งสำหรับทางเข้าและทางออก ตลอดจนทางเชื่อม ซึ่งการเจรจาใช้เวลานาน แต่ก็สามารถตกลงกันได้โดยภาครัฐได้ขยายเวลาการเช่าที่ดิน จาก 30 ปี ไปเป็น 50 ปี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาสัญญาแบบเดิม ที่เอกชนลงทุนแล้วอาจไม่คุ้มทุน โดยที่รัฐเองก็ไม่ต้องไปเจรจาสัญญาใหม่ ผลตอบแทนที่รัฐได้ก็มากกว่าเดิม อย่าง ในสัญญาใหม่ NPV โครงการหมอชิต เพิ่มขึ้นมาอีกถึง 4 พันล้านบาท มากกว่าเดิมหลายเท่าตัว ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ภาคเอกชนก็มีโอกาสได้รับอัตราผลตอบแทนได้จริงตามที่คาด ”

ย้ำสัญญา 50 ปีเพื่อผ่าตัดทางตัน

นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวย้ำอีกว่า การขยายระยะเวลาสัญญาเช่าเป็น 50 ปี เป็นกลยุทธ์ของกรมธนารักษ์ ที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาโครงการขนาดใหญ่ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการไปต่อได้ และอยู่ในกรอบของกฎหมาย และพิจารณาแล้วว่าผลตอบแทน NPV และ IRR (Internal Rate of Return : ผลตอบแทน(% ) ที่คาดจะได้รับจากโครงการนี้ ) ที่รัฐได้ต้องคุ้มค่าและเป็นโครงการตามเป้าหมายที่เราต้องการ

โดยที่เกณฑ์ใหม่ระยะเวลา 50 ปี จะครอบคลุมตั้งแต่ระยะเวลาการก่อสร้าง การบริหารจัดการและการเปิดดำเนินการโครงการ โดยจะเริ่มนับ 1 ตั้งแต่โครงการเริ่มต้นเซ็นสัญญา เช่นโครงการหมอชิตก็ดี หรือโครงการมักกะสันที่มีวงเงินลงทุนสูงถึง 2-3 แสนล้านบาท ที่จะให้เป็นสัญญารวดเดียว 50 ปี และหากต่อใหม่อีก 50 ปี

อย่างไรก็ดีเพื่อเหตุผลเดียวกัน ในเรื่องของการแก้ปัญหา กรมฯยังให้สิทธิสัญญาเช่ายาวเป็นพิเศษ ในพื้นที่ สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี , เกาะเต่า จังหวัดชุมพร และช่องแสมสาร จังหวัดชลบุรี โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเช่าเพื่อเชิงพาณิชย์ ทำธุรกิจโรงแรม ก็ให้ถึง 30 ปี แตกต่างกับสิทธิสัญญาการเช่าเป็นการทั่วไป ที่กรมฯ ไม่เคยอนุมัติยาวเช่นนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2016 2:35 pm    Post subject: Reply with quote

"เซ็นทรัล-เบียร์สิงห์"ลุ้นระทึกรถไฟรื้อใหญ่สัญญาเช่าที่ดินหัวหิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
17 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 11:00:57 น.


ร.ฟ.ท. จ้างที่ปรึกษาตีมูลค่าโรงแรม-สนามกอล์ฟ ธุรกิจตระกูลดัง "จิราธิวัฒน์-ภิรมย์ภักดี" ต้อนเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ รอคณะกรรมการมาตรา 35 ทุบโต๊ะเจรจารายเดิม หรือเปิดประมูลใหม่ "อ.ต.ก." รอดบอร์ดไฟเขียวต่อสัญญาเช่าให้แล้ว

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาสัญญาเช่าที่ดินที่มีศักยภาพสูง ซึ่งหมดสัญญาเช่า 30 ปี มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท หากมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาทจะต้องพิจารณาผลตอบแทนตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 หากไม่ถึง 5,000 ล้านบาท อยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีที่สามารถเซ็นอนุมัติได้ทันที

"ตอนนี้นำที่ดินในพื้นที่ทำเลทองมาประเมินมูลค่าทรัพย์สินและผลตอบแทนที่ร.ฟ.ท.จะได้รับตลอดอายุสัญญา เพื่อนำมาจัดระเบียบใหม่ โดยนำมูลค่าที่ดินและทรัพย์สินมาพิจารณา เพื่อปรับอัตราค่าเช่าให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันตามกฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่ อีก 6 เดือนจะได้ข้อสรุป ส่วนจะเจรจารายเดิมหรือประมูลใหม่อยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 35"

โดยประกอบด้วย 1.สนามกอล์ฟหัวหิน เนื้อที่ 500 ไร่ ของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ของตระกูลภิรมย์ภักดี อยู่ติดกับสถานีรถไฟหัวหิน ได้ครบสัญญาเช่า 30 ปีแล้วเมื่อปี 2558 ในระหว่างที่รอผลศึกษานี้ทางบริษัทจะจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เท่ากับค่าเช่าปีสุดท้ายที่บริษัทจ่ายให้ ร.ฟ.ท.อยู่ที่ประมาณ 476,000 บาท

2.โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ หรือโรงแรมรถไฟหัวหินเดิม โดยบริษัท เซ็นทรัลหัวหินบีชรีสอร์ท จำกัด ของตระกูลจิราธิวัฒน์ จะครบสัญญาเช่า 30 ปีในปี 2559 โดยปีสุดท้ายบริษัทจ่ายค่าเช่าให้จำนวนกว่า 6.8 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการตีความว่าสัญญาเช่าหมดแล้วหรือไม่ หลังจากบริษัทได้ลงทุนรีโนเวตโรงแรมเพิ่ม และได้สิทธิ์เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กลุ่มเซ็นทรัลและ ร.ฟ.ท.ได้หารืออย่างไม่เป็นทางการ เบื้องต้นผู้เช่าขอต่อสัญญาเช่าออกไปอีก 30 ปี จากสัญญาเดิมกำหนดให้ต่อได้ 15 ปี 2 ครั้ง ต้องกลับมาพิจารณากันใหม่ภายใต้เงื่อนไข พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

3.โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของบริษัท โกลเด้นแอสเซ็ท จำกัด จะครบสัญญาเช่า 30 ปีในปี 2564 ค่าเช่าปีสุดท้ายอยู่ที่ 3.29 ล้านบาท ตามสัญญาจะต้องพิจารณาล่วงหน้า 5 ปีก่อนหมดสัญญา จะให้ที่ปรึกษาศึกษาไปพร้อมกับที่ดินแปลงอื่นด้วย และ 4.ตลาด อ.ต.ก. เนื้อที่ 39.45 ไร่ ขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จะหมดสัญญาเช่าปี 2560 โดย อ.ต.ก.จ่ายค่าเช่าปีสุดท้ายที่ 53.54 ล้านบาท ล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) ได้อนุมัติต่อสัญญาเช่าไปแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 23/06/2016 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

สหภาพตั้งข้อรังเกียจนโยบายรัฐบาล เรื่องเงื่อนไขการเช่าที่โรงงานมักกะสันโดยกรมธนารักษ์ เพราะ เงื่อนไขไม่ต้องประสงค์ในสายตามสหภาพ
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1247904775219558&id=979019048774800
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2016 7:38 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดประเด็นเรื่องที่รถไฟ แถวสถานีแม่น้ำ ที่จะมีแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์

Jirawat Sricharoenchot wrote:
สมควรครับ

ผมรู้สึกว่ามันมากเกินไปแล้ว ที่ดินการรถไฟ บางซื่อ ทำสวนไปแล้ว มักกะสัน มีแผนเอาไปทำสวนแล้ว แล้วที่แม่น้ำ คุณก็จะเอาไปทำสวนอีกหรือ มันมากเกินไปหรือเปล่า ที่มักกะสันเดิมประเมินไว้ได้แสนล้าน โดนแบ่งเอาไปทำสวนเหลือหกหมื่นล้าน

ผมว่าถ้าเอาที่รถไฟไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ครบ ทั้งมักกะสัน แม่น้ำ บางซื่อ กม.11 หัวลำโพง ครบแล้วเนี่ย นอกจากจะปลดหนี้หมดแล้ว ยังได้เงินพอไปทำทางคู่ได้หลายโครงการเลยทีเดียว

https://www.facebook.com/friendsofthechaophrayariver/photos/a.692729970855306.1073741829.691780620950241/899904456804522/?type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2016 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาสถานีแม่น้ำ เมื่อปี 2553
https://drive.google.com/file/d/0B8q-orntbyQyNno3amY2Uzk1NDA/view?pref=2&pli=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2016 4:31 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นสนร่วมทุนศูนย์พหลฯ หนุนรถไฟไทยใช้มาตรา 44 เคลียร์พื้นที่กว่า2พันไร่
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,171 วันที่ 3 – 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559



ญี่ปุ่นแบไต๋สนใจร่วมทุนพีพีพี 20% พร้อมส่งไจก้าบุกหารือบิ๊กสนข.แสดงความสนใจจัดทำมาสเตอร์แพลนผังการพัฒนาพื้นที่ศูนย์พหลโยธินให้ฟรี ล่าสุดหนุนร.ฟ.ท.เสนอมาตรา 44 เคลียร์พื้นที่ 2,325 ไร่ ก่อนจัดเป็นผังเมืองเฉพาะเสนอสนข.ชงคมนาคมเร่งส่งมอบร.ฟ.ท.รับไปพัฒนาให้ทันเปิดใช้บริการสถานีกลางบางซื่อ

นางสุภาพรรณ สง่าศรี ผู้จัดการโครงการ ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินและการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภายหลังการเปิดรับฟังความเห็นโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธินและการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม ครบ 2 ครั้งแล้ว จะเร่งสรุปรายละเอียดนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อเสนอกระทรวงคมนาคมส่งมอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) รับไปดำเนินการให้ทันเปิดบริการสถานีกลางบางซื่อในอีก 3-4 ปีนี้ โดยแบ่งการพัฒนาย่อยออกเป็น 1. โครงการทางเดินเชื่อมต่อและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (แปลง D) และ 2. โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (BRT)

โดยโครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินนี้ ควรจะแล้วเสร็จก่อนการพัฒนาแปลง A-B-C แต่ปรากฏว่าล่าช้ามานาน ซึ่งโจทย์ที่บริษัทที่ปรึกษารับไปศึกษาคือให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ 2,325 ไร่โดยต้องการให้แปลง D นำไปพัฒนาได้ก่อน เนื่องจากจะเป็นพื้นที่รองรับการเชื่อมโยงรูปแบบต่างๆ โดยกำหนดเงื่อนไขว่าภาคเอกชนที่จะรับสัมปทานแปลง D จะต้องนำแผนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงที่เป็นแกนแนวทางเดินเชื่อมต่อหลักเป็นแกนหลัก(Backbone)ไปดำเนินการด้วยทั้งทางเดินระดับพื้นที่ดินในแนวแกนเหนือ-ใต้ และทางเดินยกระดับในแนวตะวันออก-ตะวันตก ตลอดจนจุดจอดรถจักรยาน

สำหรับรถเมล์ปรับอากาศบีอาร์ทีนั้นจะเติมเต็มรัศมีการให้บริการโครงข่ายรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ในรูปแบบฟีดเดอร์โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขผังเมืองปัจจุบันในอัตราส่วนพื้นที่ 1:8 ดังนั้นหากประกาศเป็นผังเฉพาะจะสามารถชดเชยพื้นที่ที่เสียไปกลับคืนมาได้หรือได้อัตราส่วนมากกว่า 1:10 ก็ได้ซึ่งในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวนี้จะเป็นอาคารสูงล้อมสวน ดังนั้นควรบริหารจัดการพื้นที่ศูนย์พหลโยธินให้เป็นพื้นที่เฉพาะโดยเร็ว อาจจำเป็นต้องเสนอใช้มาตรา 44 ก็ควรเร่งพิจารณาในรัฐบาลปัจจุบัน


“เนื่องจากความยากในการจัดทำแผนอยู่ที่สนข.ไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ ประการสำคัญยังมีโฉนดปลีกย่อยในพื้นที่อีกหลายใบ หลายรายยังพบว่ามีปมปัญหาการฟ้องร้องต่อกันเป็นคดีในชั้นศาล ร.ฟ.ท.จึงควรเร่งเคลียร์ให้เป็นพื้นที่แปลงเดียว โฉนดเดียวที่สามารถนำไปพัฒนาได้อย่างไม่มีปัญหาใด ๆ อีกทั้งแต่ละแปลงแต่ละสัญญายังมีปมปัญหาการบริหารฐานข้อมูลในแต่ละสัญญาที่ซับซ้อนไม่สอดคล้องกับปัจจุบันอีกด้วยจึงควรเร่งทำระบบการบริหารทรัพย์สินให้ฐานข้อมูลสอดคล้องกันก่อน”

นางสุภาพรรณกล่าวอีกว่า วันที่ 4 กรกฎาคมนี้ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(Japan International Cooperation Agency: JICA)ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่นที่คอยให้คำปรึกษาตลอดจนความช่วยเหลือด้านการพัฒนาประเทศอย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา ทั้งการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงส่งเสริมการยกระดับความร่วมมือระหว่างประเทศได้แสดงความสนใจจัดทำมาสเตอร์แพลนพื้นที่ดังกล่าวนี้

“ไจก้าจะเข้าหารือกับสนข.ถึงแนวทางการจัดทำมาสเตอร์แพลนพื้นที่นี้ เพราะญี่ปุ่นหวังว่าหากรัฐบาลไทยเปิดสัมปทานหรือร่วมทุนพีพีพี ศูนย์พหลโยธินจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพให้นักลงทุนญี่ปุ่นเกิดความสนใจ ซึ่งกรณีร่วมทุนพีพีพีฝ่ายญี่ปุ่นขอร่วมหุ้นเพียง 20% และขอดูแผนดังกล่าวนี้เอง”

ด้านนายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธินและการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม จำเป็นจะต้องพัฒนาพื้นที่ตามหลักแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development: TOD) ต้องบูรณาการแผนการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมและการสัญจรรูปแบบต่างๆ ให้เชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม ทั้งระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ตลอดจนมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัย

ทั้งนี้จากผลการศึกษาเบื้องต้น พื้นที่โดยรอบศูนย์คมนาคมพหลโยธินสามารถรองรับประชากรผู้อยู่อาศัยได้สูงสุดประมาณ 1 แสนคน โดยมีผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนขนาดรองประมาณ 1.05 แสนคน/วัน และใช้ทางเดินยกระดับประมาณ 3.6 หมื่นคน และมีผู้สัญจรมาเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สถานีกลางบางซื่อสูงสุดถึง 1 ล้านคน/วันในปี 2580

“ภายหลังจากการสัมมนาในครั้งนี้ สนข. จะนำข้อสรุปไปบูรณาการประกอบผลการศึกษาของโครงการฯ ตลอดจนจะเป็นแนวทางจัดทำแผนการบูรณาการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อบูรณาการการพัฒนาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการกำหนดการพัฒนาที่สอดคล้อง ส่งเสริม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะนำเสนอแผนการบูรณาการให้กระทรวงคมนาคมต่อไป”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2016 10:33 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผนพัฒนาที่ดิน ย่านพหลโยธิน
http://www.phahonyothincenter.com/file/PRseminar2-060659.pdf


ธุรกิจไทย-เทศรุมทึ้งพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ อีก2เดือนรู้ผล
วันที่: 6 มิถุนายน 2559 เวลา: 17:07 น.


สนข.ชงลงทุนกว่า 1.8 พันล้านสร้าง BRT เชื่อมเดินทางในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
โดย MGR Online
6 กรกฎาคม 2559 15:32 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กรกฎาคม 2559 18:43 น.)


“สนข.” เคาะใช้ระบบ BRT เชื่อมโยงการเดินทางภายในศูนย์คมนาคมพหลโยธิน งบลงทุนกว่า 1,800 ล้าน รองรับการพัฒนาศูนย์กลางคมนาคมแห่งใหม่ของประเทศ คาดสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ 29 ก.ค.นี้ เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณารูปแบบการลงทุนเพื่อเสนอ สคร.ต่อไป พร้อมพิจารณาการบูรณาการในพื้นที่ร่วม

นายวิจิตต์ นิมิตรวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ สนข.ดำเนินโครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม โดยมีสถานีกลางบางซื่อ ที่เป็นศูนย์กลางเปลี่ยนถ่ายการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่และใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่ง สนข.ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3 ต่อการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการระบบขนส่งมวลชนรอง (BRT) ภายใต้โครงการศึกษาออกแบบรายละเอียดศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์กลางคมนาคม เพื่อนำเสนอผลสรุปการศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนรอง (BRT) ในทุกๆ ด้าน รวมทั้งลักษณะโครงการแนวทางเดินเชื่อมต่อภายในพื้นที่ 2,325 ไร่ พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน

โดยโครงการระบบขนส่งมวลชนรอง (BRT) มูลค่าการลงทุนประมาณ 1,800 ล้านบาท ส่วนรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม ในเบื้องต้นคาดว่าภาคเอกชนน่าจะสนใจลงทุนเพียงการให้บริการเดินรถ ขณะนี้ที่ปรึกษาโครงการฯ อยู่ระหว่างรวบรวมและเสนอแนะรูปแบบการลงทุนเพื่อนำเสนอรายงานการศึกษาความเหมาะสมตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยคาดว่าเอกสารรายงานต่างๆ จะแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคมนี้ หลังจากนั้น สนข.จะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาดำเนินการบูรณาการพื้นที่ต่อไป

โดย BRT จะมีทั้งหมด 16 สถานี เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งข้ามพวงรางด้วยทางวิ่งยกระดับบริเวณถนนกำแพงเพชร 6 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร2และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนกำแพงเพชร 4 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 3 แล้วจึงเลี้ยวเข้าพื้นที่ กม.11 เพื่อกลับเข้าสู่ถนนกำแพงเพชร 2 และวนกลับสถานีกลางบางซื่อ มีเส้นทางให้บริการประมาณ 10 กิโลเมตรทั้งสองทิศทาง ยกเว้นรอบสถานีกลางบางซื่อจะเดินรถทิศทางเดียว และเชื่อมโยงกับระบบขนส่งหลัก โดยออกแบบให้มีทางวิ่งพิเศษ (Exclusive Lane) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ช่องทางด้านซ้ายสุดของแนวเส้นทาง และมีการติดตั้งคันกั้นเลนแยกออกต่างหากจากผิวจราจรปกติ โดยถนนกำแพงเพชร 2, 3, 4, 6 รวมทั้งถนนบริเวณ กม.11 จะแบ่งทางวิ่งพิเศษจากช่องทางเดินรถยนต์ส่วนบุคคลทิศทางละ 1 ช่องจราจร

สำหรับบริเวณทางแยกที่ BRT ตัดกระแสการจราจรจะมีการติดตั้งสัญญาณไฟจราจรพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกและให้ความสำคัญแก่รถ BRT ก่อน โดยทิศทางอื่นจะเป็นสัญญาณไฟหยุด ซึ่งรูปแบบการเดินรถ BRT ที่ปรึกษานำเสนอภายใต้เงื่อนไขที่สถานีขนส่ง หรือ บขส. (หมอชิต 2) ย้ายออกไปจากพื้นที่ และจะเหลือเพียง บขส.ย่อย (ซึ่งจะมีรถขนาดใหญ่สุดไม่เกินมินิบัส ให้บริการเฉพาะการเดินรถเพื่อออกนอก กทม.ในรัศมีไม่เกิน 300 กม.) บนพื้นที่ 16 ไร่ (ที่ตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก.ในปัจจุบัน) โดย ขสมก.จะย้ายไปอยู่ใต้ทางด่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะสามารถเข้าออกจากพื้นที่ด้านถนนกำแพงเพชรได้โดยสะดวก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ซ่อมบำรุงบนเนื้อที่กว่า 7 ไร่

สำหรับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในช่วงระหว่างการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรอง เช่น ด้านการคมนาคมขนส่ง จะต้องออกแบบและบริหารจัดการจราจรให้ชัดเจนเพียงพอและเหมาะสม เพื่อไม่ก่อผลกระทบการจราจรในด้านลบทั้ง ด้านการระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง ต้องมีบ่อหน่วงน้ำที่มีขนาดเหมาะสมตามมาตรฐานของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) อีกทั้งกำหนดให้หน่วงน้ำไว้ในบริเวณไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และต้องทำการบำรุงรักษาช่องทางระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การระบายน้ำในพื้นที่โครงการมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอผลสรุปการเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณย่านศูนย์กลางคมนาคมในพื้นที่ โดยการเสนอรูปแบบทางเดินเชื่อมต่อ (แนวตะวันออก-ตะวันตก) แบบยกระดับ (Skywalk) ระหว่างสถานีกลางบางซื่อ-สถานี BTS หมอชิต/สถานี MRT จตุจักร ซึ่งได้ออกแบบเป็นโครงสร้างสะพานทางเดินเหล็ก กว้าง 6 เมตร ระยะทาง 1.27 กม. และทางเดินเชื่อมต่อระดับพื้นดิน (แนวเหนือ-ใต้) ระหว่างถนนกำแพงเพชร-สถานีย่อย บขส. โดยออกแบบให้มีขนาดทางกว้าง 9 เมตร มีช่องทางเดินรถ 1 ช่องทาง พร้อมด้วยทางเดินเท้า ทางจักรยานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยแนวถนนใหม่นี้กำหนดตามแนวขอบแปลงที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ (แปลง D) ซึ่งผู้รับสัมปทานพัฒนาแปลงที่ดินต้องรับภาระค่าใช้จ่ายพัฒนาแนวแกนทางเดินเชื่อมต่อหลักทั้ง 2 แกนดังกล่าวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2016 11:16 pm    Post subject: Reply with quote

เรียกที่รถไฟแถวเซนทรัลลาดเพราะ ที่ เต็มไปด้วยแผงลอยคืนมา
http://news.mthai.com/hot-news/economy-news/426697.html
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 197, 198, 199  Next
Page 128 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©