Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13270244
ทั้งหมด:13581531
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 129, 130, 131 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2016 11:49 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ลุยศึกษาที่ดินแนวรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง คาด 3 เดือนแล้วเสร็จ
มติชน
วันที่:10 สิงหาคม 2559 เวลา: 18:47 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในงานการประชุมจัดทำการรับฟังความคิดเห็นนักลงทุน (Market Sounding) ภายใต้โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่าจากการศึกษาพื้นที่ตามเส้นทางรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง ที่จะเริ่มลงทุนในปี 2559 ได้แก่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ประจวบฯ-ชุมพร มาบกระเบา-จิระ นครปฐม-หัวหิน ลพบุรี-ปากน้ำโพ และหัวหิน-ประจวบฯ รวมทั้งสิ้น 12 สถานี ได้แก่ สถานีธนบุรี ศรีราชา นครสวรรค์ ศิลาอาสน์ ปากช่อง บัวใหญ่ หนองคาย อุบลราชธานี และทางแยกสายบุ่งหวาย-โพธิ์มูล ชะอำ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และพังงา-ท่านุ่น ซึ่งการพัฒนาพื้นที่สถานีดังกล่าวบางสถานีจะมีการพัฒนาร่วมกับสถานีของรถไฟความเร็วสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ให้เอกชนและสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกัน เช่น สถานีนครสวรรค์ สถานีปากช่อง เป็นต้น

“ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจในพื้นที่รองสถานี พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากภาคเอกชน คาดว่าจะมีความชัดเจนและสรุปผลใน 3 เดือนข้างหน้า” นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า ในปี 2560 จะมีการลงทุนรถไฟทางคู่อีก 7 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย จิระ-ขอนแก่น ขอนแก่น-หนองคาย ชุมพร-สุราษฎร์ฯ สุราษฎร์ฯ -สงขลา และหาดใหญ่-ประดังเบซาร์ ซึ่งสถานีที่อยู่ระหว่างเส้นทางเหล่านี้ก็จะมีการศึกษาการพัฒนาพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

นายอาคมกล่าวถึงการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงว่า คาดว่าจำนวนผู้โดยสารที่ใช้งานจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในระยะต่อไป เพราะขณะนี้การเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินยังไม่สมบูรณ์ต้องเดินทางด้วยชัทเทิลบัสซึ่งมีผู้โดยสารค่อนข้างหน้าแน่น และอาจมีปัญหาการจราจร ทำให้การวางแผนการเดินทางของประชาชนมีความไม่แน่นอน จึงยังใช้แผนการเดินทางแบบเดิม อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเชื่อมต่อระบบจะแล้วเสร็จในปี 2560 และได้ประสานไปยังการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ให้มีการประชาสัมพันธ์วิธีการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้ประชาชนรับทราบมากขึ้นด้วย

นายปาณฑพ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า แผนการบริหารที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ ร.ฟ.ท. ได้คัดเลือกที่ดินแปลงศักยภาพมาดำเนินการรวมทั้งสิ้น 25 แปลง โดยมีการดำเนินการศึกษาไปตั้งแต่ปี 2552 จำนวน 13 แปลง และเริ่มดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตั้งแต่ปี 2555 อาทิ สถานีเชียงใหม่ อยู่ระหว่างการดำเนินการ และแปลงล่าสุดที่มีการเปิดประมูลไป คือ สถานีขอนแก่น สำหรับปี 2559 อยู่ระหว่างการศึกษาพื้นที่ 12 แปลง และจัดทำมาสเตอร์แพลนให้แล้วเสร็จ ก่อนเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนต่อไป
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะต้องกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เพราะขณะนี้การพัฒนารถไฟทางคู่อยู่ในช่วงการก่อสร้าง และจัดทำมาสเตอร์แพลนโครงการให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใดจะมีการพัฒนาอะไรบ้าง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เอกชนที่จะเข้ามาลงทุน อัตราค่าเช่าที่ดินเป็นอย่างไร ระยะสัญญาในการดำเนินการที่ควรจะมีการยืดหยุ่นตามลักษณะกิจซึ่งมีการคืนทุนแตกต่างกัน ซึ่งหากระยะสัญญาสั้นเกินไป อาจจะกระทบต่อการขอสินเชื่อของผู้ประกอบการเพื่อนำมาพัฒนาโครงการได้ และควรมีการปรับปรุงกฎหมายผังเมือง กฎหมายควบคุมอาคาร ให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ที่จะเกิดขึ้น

นายประสงค์ เอาฬาร นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ควรมีการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เอกชนเห็นการพัฒนาพื้นที่ที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเรื่องสำคัญคือ การเชื่อมต่อจากบริเวณสถานีที่มีการพัฒนาไปยังพื้นที่อื่นหรือระบบคมนาคมอื่น ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้เป็นปัญหาสำหรับพื้นที่สถานีรถไฟเดิมที่มีอยู่แล้ว เพราะหากติดขัดอาจจะเป็นปัญหาต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าได้ ซึ่ง ร.ฟ.ท.อาจะต้องมีการเจรจาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ทั้งนี้ ควรมีการเปิดให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศสามารถเข้ามาพัฒนาโครงการได้ เพื่อลดการผูกขาดและทำให้การพัฒนาพื้นที่มีความหลากหลายมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2016 10:45 am    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.ปรับค่าเช่าที่ดินใหม่ ทำรายได้บริหารทรัพย์สินปี 59 ทะลุ 3.4 พันล้าน
โดย MGR Online
13 สิงหาคม 2559 11:59 น. (แก้ไขล่าสุด 13 สิงหาคม 2559 18:10 น.)

ร.ฟ.ท.ปรับค่าเช่าที่ดิน อิงราคาตลาดและศักยภาพพื้นที่ ส่งผลปี 59 รายได้บริหารทรัพย์สินทะลุเป้า คาดทั้งปีจะมีรายได้ 3,400-3,500 ล้าน สูงขึ้นเกือบ 1,000 ล้าน พร้อมปรับอายุสัญญาเช่าเป็นชั่วคราว 6 เดือน-1 ปี เพื่อเตรียมพร้อมการลงทุนพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่แบบ PPP ซึ่ง “แม่น้ำ-กม.11” ชง กก.PPP แล้ว ยันอายุสัมปทาน 30 ปี เหมาะสม หากไม่จูงใจเอกชนเสนอปรับรูปแบบการพัฒนาแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มการคืนทุนให้เร็วขึ้นได้

นายปาณฑพ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าการ (กลุ่มธุรกิจด้านบริหารทรัพย์สิน ) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท.ได้เสนอผลการศึกษาแผนพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ศักยภาพ คือ บริเวณ กม.11 ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังอาคารศูนย์พลังงานแห่งชาติ (เอ็นเนอร์ยี คอมเพล็กซ์) เนื้อที่ 359 ไร่ มูลค่าที่ดิน 1.83 หมื่นล้านบาท และบริเวณสถานีแม่น้ำย่านคลองเตย เนื้อที่ประมาณ 260 ไร่ มูลค่าที่ดินราว 1.04 หมื่นล้านบาท ไปยังคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) แล้ว โดยตามขั้นตอน PPP จะใช้เวลาประมาณ 240 วัน ถึง 1 ปี โดยระหว่างนี้ ร.ฟ.ท.ต้องบริหารจะการพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนใหม่ โดยทำความเข้าใจกับผู้เช่าถึงหลักการว่าจะไม่มีการต่อสัญญาช่าระยะยาวแล้ว โดยหากผู้เช่ารายใดหมดสัญญาและหากต้องการเช่าที่ต่อจะทำสัญญาเช่าแบบชั่วคราว 6 เดือน ถึง 1 ปี เท่านั้น ซึ่งการมีผู้เช่าพื้นที่จะไม่ทำให้พื้นที่ว่างเปล่าและเกิดการบุกรุกขึ้น รวมถึง ร.ฟ.ท.ยังมีรายได้จากค่าเช่าอีกด้วย

ทั้งนี้ หลักการดังกล่าวใช้กับที่ดินรถไฟทั่วประเทศ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการบริหารจัดการใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าที่ดิน นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.ยังมีการปรับปรุงอัตราค่าเช่าที่ดินใหม่ให้ทันสมัยและเป็นไปตามความเจริญของพื้นที่และตามศักยภาพและราคาตลาดในปัจจุบัน โดยจะใช้อัตราค่าเช่าใหม่กับสัญญาที่หมดอายุและผู้เช่าต้องการต่อสัญญา ทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้น โดยรายได้จากการบริหารทรัพย์สิน ช่วง 8 เดือน (ต.ค. 58 - มิ.ย. 59) มีประมาณ 3,000 ล้านบาท และคาดว่ารายได้รวมทั้งปี 2559 จะมีทั้งสิ้น 3,400-3,500 ล้านบาท สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้เดิมที่ 2,400 ล้านบาท

สำหรับการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่นั้น ผลศึกษาเบื้องต้นของการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือ Public Private Partnerships (PPP) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) นั้น ในการประกาศเชิญชวนจะกำหนดอายุสัญญาสัมปทานที่ 30 ปี เพื่อทดสอบตลาดว่าจูงใจมากเพียงใด หากมีผู้สนใจไม่จำเป็นต้องให้สัมปทานระยะยาวถึง 50 ปี นอกจากนี้ยังสามารถปรับรูปแบบการพัฒนาได้ หากเอกชนมีมึมมองหรือข้อเสนอที่ดีและเห็นว่าเหมาะสมกว่าผลการศีกษา เช่น การพัฒนาที่ดินรอบสถานีกลางบางซื่อ 218 ไร่ แนวคิดในการศึกษา เห็นว่าจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่รองรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ขณะที่ระยะสัมปทาน 30 ปี อาจไม่จูงใจเนื่องจากที่อยู่อาศัยลงทุนสูง แต่ระยะเวลาคืนทุนนาน จึงอาจมองไปที่ ระยะสัมปทานที่ 50 ปีแทน แต่ในทางกลับกันสามารถปรับแนวคิดการพัฒนา โดยลดขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัยลงและเพิ่มในส่วนของกิจกรรมอื่นที่สร้างมูลค่าได้มากกว่า เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น ดังนั้นอาจให้ระยะสัมปทาน 30 ปีได้

“การศึกษาเสนอกรอบแนวคิดไว้ แต่ในการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนานั้น เอกชนสามารถเสนอแนวคิดที่แตกต่างได้ เพราะนักลงทุนอาจมีมุมมองที่เห็นว่าเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ เกิดมูลค่าในการลงทุนมากกว่า” รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2016 1:52 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ร.ฟ.ท.เปิด 25 สถานี ทั่วปท.พัฒนาพาณิชย์ “อาคม”ดันลงทุนทางคู่อีก7 สายปี 60
โดย MGR Online
10 สิงหาคม 2559 16:32 น.

ร.ฟ.ท.ปั้น 25 ย่านสถานีตามแนวรถไฟทางคู่ทั่วประเทศพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพิ่มรายได้จากที่ดินตามแผนฟื้นฟูกิจการ คาดสรุปผลศึกษาปลายปี 59 ชงบอร์ดร.ฟ.ท.จัดลำดับลงทุนแต่ละแปลง ขณะที่ปรับสัญญาผู้เช่าเดิมเป็นชั่วคราว1-3 ปี เพื่อรับการลงทุนใหม่ ด้าน“อาคม”เตรียมจัดรถไฟทางคู่อีก 7 สายลงทุนในแผนปี 60 วงเงินกว่า 3 แสนล.
..

***รถไฟปรับสัญญาเช่าเป็นชั่วคราว 1-3 ปีรอรับการพัฒนาแบบใหม่
นายปาณฑพ มาลากุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.(กลุ่มธุรกิจด้านบริหารทรัพย์สิน ) กล่าวว่า ตามแผนแม่บทจะมีการพัฒนา 25 สถานี ซึ่งได้ศึกษาไปแล้ว 13 ย่านสถานี ได้แก่ กาญจนบุรี,
ฉะเชิงเทรา,
อรัญประเทศ-คลองลึก,
พิษณุโลก,
อุตรดิตถ์,
นครลำปาง,
เชียงใหม่,
นครราชสีมา,
บุรีรัมย์,
ศรีสะเกษ ,
ขอนแก่น,
หัวหิน
หาดใหญ่

และในปี 2559 ร.ฟ.ท.ได้จ้างที่ปรึกษาวงเงิน 13 ล้านบาท ศึกษาเพิ่มอีก 12 ย่าน (14 แปลง) ระยะเวลา 6 เดือน (มิ.ย.-พ.ย.59) โดยทบทวนแผนแม่บทเดิมพร้อมวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาและแนวทางการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) เนื่องจากแต่ละย่านสถานีมีข้อจำกัดแตกต่างกัน การพัฒนาจะมีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่
ธนบุรี พื้นที่ 147.93 ไร่ ,
ศรีราชา พื้นที่ 96.21 ไร่ ,
นครสวรรค์ พื้นที่ 297.56 ไร่ ,
ศิลาอาสน์ พื้นที่ 381.36 ไร่,
ปากช่อง พื้นที่ 47.965 ไร่,
ชุมทางบัวใหญ่ พื้นที่ 100 ไร่ ,
หนองคาย พื้นที่ 200.16 ไร่,
อุบลราชธานี พื้นที่ 196.97 ไร่,
ทางแยกสายบุ่งหวาย พื้นที่ 3.13 ไร่,
โพธิ์มูล พื้นที่ 150 ไร่ ,
ชะอำ พื้นที่ 50ไร่,
ชุมพร พื้นที่ 107.15 ไร่
สุราษฎร์ธานี พื้นที่ 111.31 ไร่,
พังงา-ท่านุ่น พื้นที่ 860 ไร่


งัด "ม.44" เคลียร์ผู้บุกรุกที่ดินรถไฟ ให้เช่า 25 สถานีทางคู่ล้างหนี้แสนล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ออนไลน์เมื่อ : 13 สิงหาคม 2559 เวลา 20:00:42 น.
ตีพิมพ์ใน นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 15-17 สิงหาคม 2559

การรถไฟฯงัด ม.44 เคลียร์ผู้บุกรุกที่ดินทั่วประเทศ 2.3 หมื่นราย คัดแปลงเด็ดแนวทางคู่-ไฮสปีดเทรน ดึงเอกชนประมูลหารายได้ล้างหนี้แสนล้าน ญี่ปุ่นสนใจปั้นบางซื่อเทียบชั้นชินโอซากา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2016 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ชู3สถานีรถไฟฟ้าต้นแบบ ‘บางซื่อ-มักกะสัน-แม่นํ้า’
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,184 วันที่ 18 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ผังเมืองกทม.เตรียมจัดโซนนิ่ง 3 สถานีรถไฟฟ้าหลัก “บางซื่อ/มักกะสัน/แม่น้ำ” สู่ผังพื้นที่เฉพาะ เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี พร้อมปรับเพิ่มเอฟเออาร์-โบนัส ให้ผู้ประกอบการแลกกับพื้นที่โล่งที่จะได้รับ ด้าน คอลลิเออร์ส เผยศักยภาพทั้ง 3 ทำเลพร้อมอัพเดตตลาดอสังหาฯรอบพื้นที่

นายวันชัย ถนอมศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปัจจุบันในกรุงเทพฯมีการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าและส่วนต่อขยายต่างๆ อีกทั้งยังมีโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมแห่งอาเซียน โดยมีกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่ ดังนั้น สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานครมีแนวคิดจะปรับผังการใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยต้องมาพิจารณาว่า จุดที่จะเป็นศูนย์โลจิสติกส์ตามที่รัฐบาลกำหนด โดยสำนักงานโลจิสติกส์กำหนดไว้อยู่บริเวณจุดใดบ้าง และตรงนั้นคือสิ่งที่สำนักผังเมืองต้องนำมาพิจารณา เพื่อปรับผังเมืองให้มีความสอดคล้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

“ณ วันนี้ในรอบๆสถานีทั่วๆไป ถูกจัดให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมพิเศษในเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยในรัศมี 500 เมตรอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เพียงพอ ผังเมืองจึงมีการเสนอเรื่องไปยังกรุงเทพฯ เพื่อให้พิจารณาขยายสิทธิพิเศษในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและจัดเป็นพื้นที่เฉพาะในการพัฒนาต่างๆ เช่น พื้นที่รอบสถานีบางซื่อที่คาดว่าในอนาคตเมื่อมีการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายต่างๆครบ จะมีผู้มาใช้บริการสูงถึง 1 แสนคนต่อวัน ซึ่งการบริหารจัดการคน 1 แสนคนจะทำอย่างไร สิ่งนี้ผังเมืองต้องมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเสนอต่อคณะกรรมการผังเมืองกรุงเทพฯได้ภายในปีนี้”นายวันชัย กล่าว

ด้าน รศ.มานพ พงศทัต ที่ปรึกษาสำนักผังเมืองกรุงเทพฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การขยายตัวของโครงข่ายรถไฟฟ้าจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่สำคัญในพื้นที่ต่างๆ โดยพื้นที่ที่สำนักผังเมืองมองว่าควรจะจัดทำเป็นผังพื้นที่เฉพาะแยกออกจากผังเมืองรวมกรุงเทพฯ คือ บริเวณสถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน และสถานีแม่น้ำ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนารอบแนวสถานี และเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่อื่นๆ เหตุผลที่เลือก 3 สถานีดังกล่าว ก็เนื่องจากเป็นสถานีที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้าหลายสาย

สำหรับสถานีกลางบางซื่อ ตามวิสัยทัศน์ของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น วางไว้เป็นถึงศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในผังสีน้ำเงิน (ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ) ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับสีผังให้เอื้อต่อการพัฒนามากขึ้น เช่น สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) พร้อมกับการปรับอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio : FAR) และอัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio : OSR) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่อาจมากกว่าผังสีเดียวกันในพื้นที่อื่น รวมทั้งการให้โบนัสผู้ประกอบการเพิ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนกับพื้นที่สีเขียวที่ภาคเอกชนต้องสร้างให้

ในส่วนของสถานีแม่น้ำ ถือได้ว่าเป็นสถานีที่มีศักยภาพอย่างมาก ที่จะนำมาทำเป็น มารีน่าซิตีฮับ อย่างในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากมีที่ดินขนาดใหญ่แต่ปัจจุบันที่ดินเหล่านั้นเป็นพื้นที่ของส่วนราชการไม่ว่าจะเป็น ราชพัสดุหรือการรถไฟฯ หากภาครัฐมีการแบ่งส่วนที่ดินออกมาเพื่อพัฒนาสถานีนี้จะสามารถพัฒนาได้อีกมาก ผังเมืองก็จะเข้าปรับสีผังให้สอดคล้องเช่นกัน สำหรับสถานีมักกะสัน นับเป็นสถานีที่สำคัญอีกสถานีหนึ่ง ที่ใช้ขนส่งผู้ที่อยู่ในโซนตะวันตกของกรุงเทพฯเข้าเมือง

ด้านนายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยถึง ศักยภาพและตลาดคอนโดมีเนียมในบริเวณรอบพื้นที่ทั้ง 3 สถานนีว่า สถานีกลางบางซื่อสามารถเรียกได้ว่าเป็น Regional transportation Hub ของอาเซียน ตามที่กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทยวางแผนไว้บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยขนาดใหญ่ใจกลางเมือง 2,325 ไร่ อีกทั้งยังมีการก่อสร้างทางยกระดับเพื่อเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัช เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางสำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ โดยพื้นที่รอบๆสถานีกลางบางซื่อยังมีที่ดินอีกประมาณ 305.5 ไร่ ที่สามารถพัฒนาในเชิงธุรกิจได้ ซึ่งพื้นที่นี้จะแบ่งออกเป็น 4 โซน

โดยทั้ง 4 โซนจะเป็นการพัฒนาเชิงพาณิชย์ 3 โซน มูลค่าการลงทุนของทั้ง 3 โซนนี้อยู่ที่ประมาณ 6.8 หมื่นล้านบาท แบ่งการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรก 5 ปีเริ่มพัฒนาโซน A มูลค่าการลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ระยะที่ 2 ใช้เวลาอีก 5 ปีต่อมา ในการพัฒนาในโซน B มูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท และในระยะสุดท้ายอีก 5 ปีต่อมาเป็นการพัฒนาในโซน C มูลค่าการลงทุนประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท รวมระยะการพัฒนาทั้งหมด 15 ปี ทั้งนี้ คาดว่าสถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการได้ในปี 2562 จากนั้นจึงจะเริ่มพัฒนาพื้นที่โซนต่างๆ ตามที่วางแผนไว้

สำหรับพื้นที่รอบๆ สถานีมักกะสันที่ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นมักกะสันคอมเพล็กซ์ โครงการพัฒนาขนาดใหญ่บนที่ดินกว่า 300 ไร่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการที่มีทั้งที่อยู่อาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และอาคารที่รองรับอุตสาหกรรม MICE โดยโครงการนี้จะเกิดประโยชน์เป็นวงกว้างทันทีที่โครงการมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมกว่าปัจจุบัน จากที่ปัจจุบันพื้นที่รอบๆ สถานีมักกะสันมีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมมากที่สุด โครงการประเภทอื่นๆ มีไม่มากนักและเป็นโครงการเก่าทั้งสิ้นโดยเฉพาะอาคารสำนักงาน

อย่างไรก็ตามปัจจุบันพื้นที่รอบๆ สถานีมักกะสันมีโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ทั้งหมดประมาณ 7,445 หน่วยขายไปได้ประมาณ 96% เหลือขายอยู่ไม่มากนัก และส่วนใหญ่เป็นโครงการที่เปิดขายมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้วมีเพียงแค่ไม่กี่โครงการเท่านั้นที่เปิดขายในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา ราคาขายเฉลี่ยในพื้นที่นี้ก็ค่อนข้างสูงคือมากกว่า 1.6 แสนบาทต่อตารางเมตร สำหรับโครงการที่ยังเหลือขายอยู่ แม้ว่าจะมีบางโครงการที่เปิดขายต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อตารางเมตรแต่ว่าปิดการขายไปแล้ว ทำเลรอบๆ สถานีมักกะสันทั้งพื้นที่ตามแนวถนนเพชรบุรี ราชปรารภ และรัชดาภิเษก ล้วนเป็นทำเลที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้วมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายต่อเนื่องมาทุกปี และได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อเป็นอย่างดีในช่วงที่ผ่านมา

ขณะที่พื้นที่รอบๆ สถานีแม่น้ำยังมีการพัฒนาไม่มากนัก อาจเป็นเพราะว่าการเข้าถึงไม่สะดวก ติดขัดเรื่องของที่ดินการรถไฟฯ ชุมชนแออัด สะพาน และสถานที่ราชการ ทำให้พื้นที่รอบๆ มีการพัฒนาน้อยมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ถ้าพิจารณาในพื้นที่ที่ไกลออกมาอีกระยะ ก็จะพบว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมอยู่หลายโครงการ โดยโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจึงกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ตามแนวถนนเย็นอากาศ ถนนจันทน์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระราม 3 ซึ่งถ้าแผนการพัฒนาสถานีแม่น้ำที่พูดถึงกันมาหลายปีแล้วเป็นรูปธรรมมากกว่าปัจจุบันก็มีความเป็นไปได้ที่พื้นที่รอบๆ จะกลายเป็นอีกหนึ่งทำเลทองที่น่าสนใจในอนาคต

ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมที่เปิดขายอยู่ในพื้นที่ตามถนนต่างๆ ข้างต้นนั้นอยู่ประมาณ 2,768 หน่วยขายไปได้แล้วประมาณ 93% แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของพื้นที่ดังกล่าว จากอัตราการขายคอนโดมิเนียมที่สูงเกือบ 100% อาจจะเป็นเพราะว่าทำเลนี้อยู่ไม่ไกลจากสีลม สาทร และการเดินทางเข้าเมืองชั้นในก็ไม่ได้ลำบาก แต่ราคาขายอาจจะแตกต่างกัน เพราะมีโครงการหลากหลายรูปแบบ ราคาขายเฉลี่ยในทำเลนี้ของโครงการที่เปิดขายอยู่ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.2 แสนบาทต่อตารางเมตร อาจจะมีบางโครงการที่เปิดขายที่ราคามากกว่า 1.5 แสนบาทต่อตารางเมตร แต่ก็มีบางโครงการที่ราคาขายต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อตารางเมตรเช่นกัน ในอนาคตถ้าสถานีแม่น้ำเป็นไปตามแผนที่การรถไฟแห่งประเทศไทยเคยประกาศมาก่อนหน้านี้ พื้นที่โดยรอบจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแน่นอน อีกทั้งพื้นที่นี้ยังไม่ไกลจากที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยที่มีแผนจะพัฒนาในอนาคตอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2016 9:36 am    Post subject: Reply with quote

ทุ่งสงฝันศูนย์สินค้า ปี 64
เดลินิวส์
อังคารที่ 23 สิงหาคม 2559 เวลา 09.30 น.

เมืองคอน เร่งพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง เสร็จปี 64 หวังเชื่อมส่งออกทั้งในและต่างประเทศ
                ดร.นครินทร์  สัทธรรมนุวงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี   ดร. นครินทร์    กล่าวในการลงพื้นที่จัดกิจกรรมย่อยร่วมกับสื่อมวลชน(เพรส ทัวร์) ครั้งที่ 2 การศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (StrategicEnvironmental Assessment : SEA)   สำหรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลใต้   ที่พาชมโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง(ICD) อ.ทุ่งสง ว่า พื้นที่ นครศรีธรรมราชจะเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง เนื่องจากมีโครงการพัฒนาศูนย์ กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง (ICD)  เพื่อกระจายสินค้าทางรางและทางรถยนต์ไปทั่วประเทศ   โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ลดจำนวนการใช้รถบรรทุกขนส่งสินค้าหันมาขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพและ ประหยัดต้นทุน  
                ด้านนาย อนุชา ธนาวุฒิ  ผอ.กองช่าง เทศบาลเมืองทุ่งสง อ.ทุ่งสง กล่าวว่า ศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง พื้นที่ 85 ไร่วงเงินประมาณ 800 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.พัฒนาพื้นที่ขนส่งสินค้าเทกองโดยขนส่งไม้ยางพาราและสินค้าอื่นๆ ไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์  ใช้งบสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยอาทิ สุราษฏร์ธานี ชุมพร พัทลุง 100 กว่าล้านบาท ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างก่อสร้างโกดังศูนย์เก็บสินค้า2 หลัง ขนาด 5,000 ตรม.คืบหน้า 40% แล้วเสร็จปีนี้ เป้าหมายใช้เป็นศูนย์รวมขนส่งสินค้าฮาลาลกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ  
                ระยะที่ 3พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จใน จุดเดียว  เช่น สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อขยายถนนเข้าสู่ศูนย์กระจายสินค้า สร้างลานคอนกรีตเพิ่มเติมครอบคลุมพื้นที่ 8,800ตรม. ใช้สำหรับรวบรวม สินค้าพักสินค้าชั่วคราวก่อนกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศสร้างระบบรางเพิ่มเติม ให้ศุลกากรมาจัดการสินค้าใน พื้นที่ แต่ยังขาดงบประมาณ 600 กว่าล้านบาท ภายในเดือน ก.ย.จะประชุมหน่วยงานทีเกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาศูนย์ให้เสร็จ สมบูรณ์ปี 64. 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2016 12:02 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งแผนปั้นรายได้รอบสถานี จ่อเสนอครม.ไฟเขียวเล็งย่านหลักตลอดแนวสายสีแดง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,185 วันที่ 21 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เร่งแผนปั้นรายได้รอบสถานี จ่อเสนอครม.ไฟเขียวเล็งย่านหลักตลอดแนวสายสีแดง
ร.ฟ.ท.ดันแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟสายสีแดง จุดพลุพัฒนาหัวเมืองหลักรอบกทม. ตลอดแนวเส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน บางซื่อ-รังสิต และมิสซิ่งลิงค์เชื่อมโยงพื้นที่ในเขตเมืองหลวง “วุฒิชาติ” ยันแปลงใหญ่สถานีกลางบางซื่อเดินหน้าต่อแน่ ส่วนหัวลำโพงยังอนุรักษ์ของเก่าไว้ก่อน ด้านเซียนประเมินที่ดินแนะจับตาโซนรังสิต ดอนเมือง ราชปรารภ หัวหมาก รับแผนพัฒนารถไฟฟ้าของร.ฟ.ท.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามที่ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และเร่งรัดประมูลสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทางประมาณ 25.9 กิโลเมตร หรือมิสซิ่งลิงค์ ประกอบด้วย 9 สถานี ได้แก่ สถานีสามเสน สถานีราชวิถี สถานียมราช สถานียศเส สถานีหัวลำโพง สถานีพญาไท สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง และสถานีหัวหมากนั้น พบว่าหลายสถานีมีศักยภาพ สามารถนำมาต่อยอดการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะสถานีดอนเมือง รังสิต ตลิ่งชัน ศาลายา ราชปรารภ และหัวหมาก ตลอดจนสถานีกลางบางซื่อ และหัวลำโพง ล้วนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมากขึ้นจากปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อให้แผนการพัฒนาสอดคล้องกับการเปิดให้บริการเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงเร่งสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำพื้นที่ไปพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อหารายได้เพิ่ม โดยร.ฟ.ท.เตรียมเสนอรองนายกรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อจะได้ผลักดันต่อไปภายในเดือนสิงหาคมนี้

“พื้นที่ทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่ระหว่างเร่งสรุปผลการศึกษา ทั้งรังสิต หรือหัวหมากและโซนตลิ่งชัน ทุกทำเลล้วนมีผลดีต่อการช่วยกระจายความเจริญของเมืองได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะสถานีหัวหมาก ในเร็ว ๆ นี้จะสามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่แยกลำสาลี สายสีเหลืองที่ถนนศรีนครินทร์ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น เรียกว่าจะช่วยกระจายความเจริญไปสู่โซนศรีนครินทร์ได้อย่างมาก เช่นเดียวกับย่านรังสิตจะส่งผลต่อความเจริญย่านโซนเหนือ ส่วนโซนตะวันตกนั้นสถานีตลิ่งชันและศาลายายังมีบทบาทอย่างมากเช่นกัน”

นายวุฒิชาติยังกล่าวถึงความคืบหน้าแผนการพัฒนาสถานีหัวลำโพงว่า ยังเน้นการอนุรักษ์รูปแบบการพัฒนาไว้ ขณะนี้หากร้านค้ารายใดครบกำหนดเช่าพื้นที่จะปรับรื้อตกแต่งให้ดี มีความแข็งแรง เพื่อนำออกประมูลเปิดให้ค้าขายได้ต่อไป จนกว่าจะย้ายไปที่บางซื่อทั้งหมด สำหรับสถานีย่านพหลโยธิน สถานีกลางบางซื่อโดยเฉพาะแปลง D ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่ ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งสรุปผลการศึกษา หลังจากนั้นก็จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันต่อไป

ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จุดดอนเมือง และสถานีอื่น ๆ คงจะพัฒนาอะไรไม่ได้มาก นอกเหนือจากการเปิดร้านค้าบนสถานี ส่วนพื้นที่ด้านล่างสถานี ก็จะให้เปิดประมูลบริหารพื้นที่ใหม่ทั้งหมด โดยอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละเส้นทางนั้นจะสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างไร พื้นที่สถานีจะทำอะไรได้บ้าง พื้นที่ระหว่างสถานีบริเวณใดบ้างที่จะประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจได้ ให้มีการพัฒนาต้นแบบคร่าว ๆ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการให้เอกชนสามารถประมาณการณ์ตัวเลขการลงทุนได้ใกล้ความเป็นจริง นักลงทุนจะสามารถมองผลตอบแทนทางการลงทุนได้ อีกทั้งยังได้กำชับอีกหนึ่งโครงการ ที่ต้องการให้เร่งนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)โดยเร็ว คือ โครงการพัฒนาพื้นที่ศูนย์พหลโยธิน หรือสถานีกลางบางซื่อ ที่ขณะนี้ผลการศึกษามีความพร้อมมากที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมประมูลใช้ประโยชน์จากที่ดินให้รัฐได้ประโยชน์จริง ๆ ”

ด้านนายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด กล่าวว่า รถไฟสายสีแดงเมื่อก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการ จะมีผลต่อการพัฒนาเมืองในโซนด้านนอกกรุงเทพมหานครได้ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะพื้นที่รังสิต ที่ศักยภาพและผังการกำหนดกรอบของผังเมือง สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ เช่นเดียวกับสถานีหัวหมากที่จะมีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีส้ม และแอร์พอร์ตลิงค์อำนวยความสะดวกในการเดินทาง

“ศูนย์กลางสำคัญยังอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อและศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่จะส่งผลให้สายสีแดงได้รับความสนใจ แม้บางพื้นที่จะมีข้อจำกัดอยู่บ้างก็ตาม ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบนอกสถานี ยังสามารถเพิ่มศักยภาพการพัฒนาได้หลายจุด โดยเฉพาะสถานีราชปรารภ ซึ่งจะเชื่อมกับสายสีส้ม(ตะวันตก) หัวหมาก หัวลำโพง ตลิ่งชัน รวมถึงพื้นที่ย่านหลักสี่ ที่จะเชื่อมกับสายสีชมพู น่าจับตาว่าอาคารพาณิชย์เก่า ๆ ในโซนนั้น จะมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไร สำหรับรองรับการพัฒนารถไฟและรถไฟฟ้าของร.ฟ.ท.”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2016 12:37 am    Post subject: Reply with quote

เปิดตลาดใต้สถานีแอร์พอร์ตลิ้งก์รองรับหาบเร่
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 10.22 น.

เปิดตลาดใต้สถานีแอร์พอร์ตลิ้งก์รองรับหาบเร่โดนไล่รื้อกว่าพันราย

รายงานข่าวแจ้งว่า ความคืบหน้า การจัดระเบียบหาบเร่ แผงลอยในพื้นที่ บริเวณประตูน้ำ ถนนราชปรารภ ถนนสีลม และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่ กรุงเทพมหานคร(กทม.)กำหนดไม่ให้มีการทำการค้าในทั้ง 4 จุด จำนวนผู้ค้าประมาณ 1,183 ราย แยกเป็น บริเวณปากซอยอุดมสุข ถนนสุขุมวิท เขตบางนา ผู้ค้า 223 ราย ปากซอยอ่อนนุช ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา ผู้ค้า 66 ราย ถนนราชปรารภ ประตูน้ำ เขตราชเทวี ผู้ค้า 602 ราย ถนนราชปรารภ ประตูน้ำ เขตราชเทวี ผู้ค้า 602 ราย หน้าศูนย์การค้าบิ๊กซี ถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ผู้ค้า 292 ราย
ซึ่งกทม.ได้เตรียมพื้นที่รองรับ เป็นความร่วมมือ กับ
การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)

โดยนายเฉลิมชัย เขียวประดิษฐ์ ผู้อำนวยการตลาดนัด
กทม.ได้รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย(มท.)ถึงการจัดตลาดแห่งใหม่ในบริเวณพื้นที่ ใต้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ โดยใข้ชื่อว่า “ตลาด 2 สถานี “ รับผิดชอบโดยกองอำนวยการตลาดนัด กทม.พื้นที่ตั้งของตลาด อยู่ในเขตราชเทวี บริเวณใต้สถานีแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ช่วงระหว่างสถานีราชปรารภและสถานีพญาไท ขนาดพื้นที่ 5,637 ตารางเมตร ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนก.ย.นี้ รูปแบบของตลาดจะเป็นการทำการค้าตั้งแต่เวลา 12.00-24.00 น.โดยในช่วงกลางวัน จะเป็นตลาดนัดในรูปแบบซอยละลายทรัพย์ ถนนสีลม
ประเภทสินค้า เสื้อผ้า อาหาร เบ็ดเตล็ด ช่วงกลางคืนเป็นแบบตลาดโต้รุ่ง

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า สำหรับการบริหารจัดการจะเป็นการทำสัญญาเช่าที่ดินกับ รฟท. ในระยะยาว โดย สำนักโยธา
กทม. ดำเนินการ ปรับปรุงพื้นที่ตามแบบของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ซึ่งได้ส่งมอบแบบที่ต้องปรับปรุง ทำรั้วป้องกันความปลอดภัย เสาตอม่อ รางระบายน้ำ และอื่นๆ จัดหาเต็นท์เพื่อทำการค้า จัดหาระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และระบบรักษาความปลอดภัย ความสะอาด และสุขอนามัย ทั้งนี้ มท.ได้กำชับว่า ให้เน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนอบย่างต่อเนื่องว่ามี การย้ายผู้ค้ามาทำการค้าในจุดดังกล่าวและกำชับให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแล ควบคุมไม่ให้มีการค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาและผู้ค้าต่างด้าวในพื้นที่ที่ดำเนินการค้าขายและในจุดที่ จัดระเบียบอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้จะดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อทำการค้าให้แล้วเสร็จเตรียมรองรับผู้ค้าที่กำหนดให้ยกเลิกขายในจุดเดิมในเดือนก.ย.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2016 9:53 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เร่งแผนปั้นรายได้รอบสถานี จ่อเสนอครม.ไฟเขียวเล็งย่านหลักตลอดแนวสายสีแดง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,185 วันที่ 21 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559


รถไฟตื่นผันสมบัติเจ้าคุณปู่เป็นเงิน ปัดฝุ่นหยิบที่ดินทำเลทองพัฒนา
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 06:45
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/08/2016 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

เทศบาลนครยะลา เข้ารื้อถอนร้านค้าริมทางรถไฟ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย อนุญาตให้เทศบาลนครยะลาใช้สิทธิเหนือพื้นดิน บริเวณตลาดเสรี
by Modern Radio - FM 100.5 31 ส.ค. 2559, 13:40 น.

นายสถาพร กาญจนบุษย์ รองนายกเทศมนตรีนครยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ยะลา และ เจ้าหน้าที่กองช่างเทศบาลยนครยะลา นำรถแบ็คโฮ รถบรรทุก และเครื่องมือช่าง เข้ารื้อถอนร้านค้าริมทางรถไฟ ที่บริเวณตลาดเสรี ตั้งแต่ริมทางรถไฟจากถนนสิโรรส ไปถึงบริเวณสะพานดำ ในเขตเทศบาลนครยะลา หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย อนุญาตให้เทศบาลนครยะลาใช้สิทธิเหนือพื้นดินบริเวณตลาดเสรีริมทางรถไฟ จากถนนสิโรรสไปถึงบริเวณสะพานดำ พื้นที่ 6,032 ตารางเมตร เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยการสร้างถนน ทางเท้า ระบบระบายน้ำและทำสวนสาธารณะ เพื่อความสวยงามและความสะอาด

ด้านนายสุชาติ ชัยทอง สารวัตรแขวงบำรุงทางเทพา เผยก่อนหน้านี้ทางเทศบาลนครยะลา ประชุมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในจังหวัดยะลา ชี้แจงและหาแนวทางในการดำเนินการรื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งพูดคุยกับผู้ประกอบการค้าในพื้นที่ดังกล่าวให้เข้าใจตรงกันแล้ว ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรื้อถอน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะดำเนินการปรับสภาพพื้นที่ และเร่งดำเนินการปรับภูมิทัศน์ เชื่อว่าหลังดำเนินการเสร็จจะช่วยให้เมืองยะลามีความเป็นระเบียบและน่าอยู่ยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2016 3:37 pm    Post subject: Reply with quote

จัดระเบียบสองข้างทางรถไฟ! "บิ๊กตู่" สั่งเคลียร์คนเร่ร่อน-บุกรุกพื้นที่ข้างรถไฟ-ปรับภูมิทัศน์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 กันยายน 2559 เวลา 14:45:39 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในพิธีเปิดใช้ขบวนรถไฟโดยสารรุ่นใหม่เส้นทางกรุงเทพฯ – นครปฐม เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีการบุกรุกที่ดินบริเวณสองข้างทางของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นจำนวนมาก

โดยคนเร่ร่อนไร้บ้านได้สร้างที่พักอาศัยชิดแนวเส้นทางเดินรถ รวมทั้งทิวทัศน์ทั้งสองข้างทาง ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการช่วยเหลือให้คนเร่ร่อนเหล่านี้มีที่อยู่อาศัยในพื้นที่อื่นที่มีความเหมาะสมและให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของสองข้องทางดังกล่าวให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยรวมทั้งเส้นทางอื่นๆ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 129, 130, 131 ... 198, 199, 200  Next
Page 130 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©