RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181643
ทั้งหมด:13492881
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2018 12:37 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะก.พ.ปีหน้า เปิดลงทุนมิกซ์ยูสย่าน “บางซื่อ” หมื่นล้าน พลิกโฉมฮวงจุ้ยประเทศไทยในรอบ200ปี
พร็อพเพอร์ตี้
17 ตุลาคม 2561 - - 14:50 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ต.ค.2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดงานรับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่

เพื่อให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเห็นถึงศักยภาพของสถานีกลางบางซื่อและแผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ พร้อมร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปยกร่างทีโออาร์

โดยมีเอกชนเข้าร่วมมีทั้งบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีกไทยและต่างประเทศ อาทิ ทีซีซีกรุ๊ป, ซี.พี.แลนด์, ยูนิเวนเจอร์, เซ็นทรัลพัฒนา, สิงห์เอสเตท, พร็อพเพอร์ตี้, แลนด์แอนด์เฮ้าส์, สยามแม๊คโคร, เดอะมอลล์, แสนสิริ ส่วนต่างชาติมีจากประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น





นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จัดทำ “แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” พื้นที่รวม 2,325 ไร่ แบ่งพื้นที่พัฒนา 9 แปลง มีระยะการพัฒนา 3 ระยะ ใช้เวลาพัฒนา 15-20 ปี ในระยะแรกปี 2561-2565 มีโซน A, E, D ระยะที่ 2 ปี 2566-2570 โซน C, F, G และระยะที่ 3 ปี 2571- 2575 โซน B, D, H, I

ในเบื้องต้นจะนำพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ และเป็นแปลงที่อยู่ติดสถานีกลางบางซื่อมาพัฒนาเป็นลำดับแรก เพื่อให้สอดรับกับการเปิดให้บริการของสถานีกลางบางซื่อที่จะเปิดบริการอย่างเป็นเต็มรูปแบบต้นปี 2564



สำหรับพื้นที่แปลง A มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่าการลงทุนกว่า 11,721 ล้านบาท มีแผนจะพัฒนาเป็น “ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร” รูปแบบมิกซ์ยูส โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก จะเปิดให้ภาคเอกชนและนักลงทุนที่สนใจร่วมลงทุนในรูปแบบ DBFOT คือ ออกแบบรายละเอียด ก่อสร้าง จัดหาแหล่งเงินลงทุนและบริหารจัดการโครงการ ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี และก่อสร้าง 4 ปี รวม 34 ปี นับเป็นโครงการพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่แปลงแรกที่ ร.ฟ.ท.นำมาพัฒนาเพื่อสร้างรายได้ในรอบ 10 ปี คาดว่า ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญาจากโครงการนี้ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท

“เพื่อรับกับการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อในปี 2564 จะให้เอกชนพัฒนาเฟสแรกของโซน A ก่อน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางเพื่อมาสนับสนุนการบริการสถานีกลางบางซื่อ ที่คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการประมาณ 208,000 เที่ยวคนต่อวัน เพราะจะเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางของระบบรางมีทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง และรถไฟระยะไกล ในอนาคตจะมีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จากนั้นจะเปิดบริการเต็มโครงการได้ในปี 2566”

สำหรับการเปิดประมูลคาดว่าจะประกาศทีโออาร์ได้ภายในเดือน ม.ค. 2562 จากนั้นเดือน ก.พ.-เม.ย. เปิดให้ยื่นข้อเสนอ และประเมินผลข้อเสนอกลางเดือน พ.ค.-มิ.ย. และเดือน ก.ค.-ก.ย.จะเจรจาผลตอบแทนกับเอกชนที่ชนะประมูล คาดว่าจะเซ็นสัญญาไม่เกินเดือน พ.ย.2562 เริ่มพัฒนากลางปี 2563 เนื่องจากหากโครงการจะต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทางเอกชนจะต้องยื่นขออนุมัติก่อนถึงจะดำเนินการได้



“ตอนนี้มีเอกชนไทยและต่างชาติรายหลายที่สนใจจะลงทุน ทั้งเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ญี่ปุ่น ซึ่งสามารถร่วมทุนกันมาพัฒนาก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย คือ ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49%”

ด้านผู้แทนจากบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ระบุว่า พื้นที่โซน A มีเนื้อที่ 32 ไร่ เป็นพื้นที่อยู่ในทำเลมีศักยภาพ เนื่องจากอยู่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อ 500 เมตร มีโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมการเดินทางทั้งรถไฟฟ้า รถบีอาร์ที ทางด่วนและถนนที่อยู่โดยรอบและภายในโครงการ เช่น ถนนกำแพงเพชร ถนนพระราม 6 ถนนเทอดดำริ เป็นต้น

รูปแบบการพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส มีสำนักงาน โรงแรม และศูนย์การค้า แบ่งเป็น 3 แปลงย่อย คือ A1 เนื้อที่ 9.58 ไร่ A2 เนื้อที่ 8.95 ไร่ และ A3 เนื้อที่ 13.58 ไร่ มูลค่าการลงทุน 11,721 ล้านบาท รายได้ของโครงการตลอดอายุสัญญา 156,292 ล้านบาท มี IRR 12.18% ซึ่งเป็นโครงการที่ความคุ้มค่าต่อการลงทุน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเมื่อแล้วเสร็จ จะเป็นการปรับเปลี่ยนฮวงจุ้ยใหม่ของประเทศไทย ในรอบ 200 ปี จากการพัฒนาทางด้านใต้ย่านเกาะรัตนโกสินทร์ บริเวณสถานีหัวลำโพง ย้ายมาอยู่ทางด้านเหนือ ที่ย่านบางซื่อ ต่อไปจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ หรือดาวน์ทาวน์ ส่วนหัวลำโพงจะเป็นโอลด์ทาวน์

นอกจากนี้ ย่านบางซื่อยังเป็นพื้นที่เป้าหมายของรัฐบาลจะพัฒนาเป็นสมาร์ซิตี้หรือเมืองอัจฉริยะ ซึ่งเอกชนที่สนใจลงทุนพัฒนาโครงการก็สามารถยื่นเสนอได้ ตามเกณฑ์ที่กำหนด และยังสามารถยื่นขอสิทธิพิเศษการพัฒนาได้ตามที่สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/10/2018 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

ผุดศูนย์ธุรกิจบางซื่อ1หมื่นล. รฟท.ตีปี๊บดึงเอกชนลงทุนต้นปี 2562

วันพฤหัสบดี ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 06.00 น.


เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)รับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A ที่ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว กรุงเทพฯ



นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนครั้งนี้พบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังแผนการดำเนินการทั้งเอกชนไทยและต่างชาติโดยนักลงทุนที่ให้ความสนใจได้แก่ ญี่ปุ่น อังกฤษ ขณะที่ จีน เกาหลี อยู่ระหว่างการตัดสินใจ

สำหรับการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อพื้นที่แปลง A จำนวน 32 ไร่ มูลค่า 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาให้สัมปทาน 30 ปี ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งมีพื้นที่รวม 2,325 ไร่ และตามแผนจะมีการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 และจะมีการนำพื้นที่บางส่วนมาพัฒนาเชิงพาณิชย์

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการ (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า แปลง A จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 9 แปลง และมีระยะการพัฒนา 3 ระยะโดย A1 ขนาด 9.5 ไร่, A2 ขนาด 8.9 ไร่ และA3 ขนาด 13.58 ไร่ โดยคาดว่าแปลง A1 จะสามารถเปิดได้ก่อนเนื่องจากเป็นศูนย์การค้า ส่วนแปลงอื่นๆ ที่จะทยอยเปิดประมูลต่อไป และมีกำหนดแล้วเสร็จปี 2565, ระยะที่ 2 จะเป็นในส่วนของแปลง C แปลง F และแปลง G กำหนดแล้วเสร็จปี 2570 และระยะที่ 3 เป็นแปลง B แปลง D แปลง H และแปลง I มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2575

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัด Market Sounding A ไปประกอบการร่างเอกสารการประกวดราคา(TOR) เพื่อให้เกิดความเหมาะสม โดยคาดว่าจะประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนต้นปี 2562 และในช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน2562 และลงนามกับเอกชนได้ในช่วงปลายปี 2562 เพื่อเริ่มก่อสร้างปี 2563 จะสอดคล้องกับแผนการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อในปี 2564 รวมถึงจะเห็นภาพการลงทุนพื้นที่ดังกล่าวเต็มรูปแบบในปี 2566 และจะรองรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 เช่นกัน

ส่วนลงทุนจะใช้รูปแบบเอกชนร่วมลงทุน(PPP net cost) โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ การรถไฟฯ เมื่อครบกำหนดสัญญา ในระยะเวลา 34 ปี แบ่งเป็นการก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี และดำเนินธุรกิจ 30 ปี ร.ฟ.ท.จะมีรายได้ตลอดอายุสัปทาน 3,000-4,000 ล้านบาท ส่วนรูปแบบการพัฒนาพื้นที่นั้นจะพัฒนาเป็น “ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร” โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2018 3:55 pm    Post subject: Reply with quote

กนอ.เล็งต่อสัญญาเช่าที่ ร.ฟ.ท. ปลัดอุตฯปิ๊งเปิด PPP รีโนเวตตึกมักกะสัน
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561, - 08:15 น.


บอร์ด กนอ.ไฟเขียวตั้งคณะทำงานเจรจา ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาเช่าที่มักกะสัน ก่อนหมดสัญญาปี 2565 “ปลัดพสุ” แง้ม 2 ทางเลือกย้ายที่ทำการใหม่ไปนิคมบางชัน-เปิด PPP รีโนเวตตึกใหม่จ่ายค่าเช่าเพิ่ม 3 เท่า “อุตตม” มอบนโยบายผู้ว่าการ กนอ. 25 ต.ค.นี้

นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานบอร์ดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2561 ที่ผ่านมา ตามที่ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาแนวทางการดำเนินงานและการลงทุนรูปแบบใหม่ของการนิคมฯ เนื่องจากอาคารสำนักงานการ

นิคมฯบริเวณเขตมักกะสัน ซึ่งเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังจะหมดสัญญาเช่าในปี 2565

เบื้องต้นทางคณะทำงานชุดดังกล่าวเข้าหารือกับทางการรถไฟฯไปแล้ว เพื่อขอต่อสัญญาเช่าพื้นที่เดิมตรงมักกะสัน พร้อมทั้งได้วางแนวทางรองรับไว้ 2 แนวทาง กล่าวคือ แนวทางแรก ในกรณีที่การรถไฟฯให้เช่าพื้นที่ต่อการนิคมฯ จะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดให้มีการลงทุนปรับปรุงหรือทุบอาคารเก่าทั้งหมดทิ้ง แล้วสร้างใหม่ให้เป็นตึกที่มีรูปแบบที่ทันสมัยแบบเดียวกันทั้งหมด ทั้งโซนมักกะสัน ตามแผนของการรถไฟฯ โดยทางการนิคมฯอาจจะใช้รูปแบบการเปิดให้ลงทุนสร้างตึกแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ (Public Private Partnership : PPP) ซึ่งถือเป็นรูปแบบการลงทุนธุรกิจแบบใหม่ของการนิคมฯ โดยจ่ายค่าเช่าเพิ่มเป็น 3 เท่า



สำหรับแนวทางที่ 2 หากการรถไฟฯไม่ต่อสัญญาทาง กนอ.จะต้องย้ายสำนักงานการนิคมฯไปที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน มีนบุรี

“แม้พื้นที่การนิคมฯจะหมดสัญญาในปี 2565 แต่เราจำเป็นต้องคุยกันไว้ก่อน ตามแผนใหญ่ของการรถไฟฯเองเขาจะเวนคืนโซนมักกะสันแถบนั้นทั้งหมด และจะจัดทำเป็นอาคารรูปแบบที่ทันสมัยทั้งโซน อาจเป็น community mall หรือ mixed-use ดังนั้น หากเราจะต่อสัญญาและตั้งอยู่ที่เดิมเราก็ต้องปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกันทั้งโซน คณะทำงานเราก็ต้องไปศึกษาแนวทางการดำเนินงานและลงทุนรูปแบบใหม่ของเรา ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ที่เราเน้นลงทุนพัฒนาพื้นที่สร้างนิคมอุตสาหกรรมสำหรับโรงงาน แต่ในอนาคตรูปแบบเปลี่ยนไป คือ เราอาจใช้วิธีการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนร่วมสร้างตึกใหม่กับเรา หรือเปิด PPP และเราก็เช่าพื้นที่ส่วนเดียวต่อจากตึกที่เอกชนสร้างขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แนวทางยัง

คงมีเวลาในการศึกษาเพื่อให้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด โดยคณะทำงานจะรายงานความคืบหน้ากับบอร์ดที่จัดการประชุมขึ้นทุก ๆ เดือน และในวันที่ 25 ต.ค.นี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมอบนโยบายให้กับการนิคมฯหลังจากที่ได้ผู้ว่าการการนิคมฯคนใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติ บทบาทหน้าที่ที่มีทั้งใน พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อยู่ระหว่างการแก้ไข) และภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (EEC)

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวถึงยุทธศาสตร์การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ว่า งานหลักจะยังคงมุ่งส่งเสริมและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนักลงทุนและกลุ่มอุตสาหกรรมในทุกประเภทโดยเฉพาะ (S-curve)

โดย 2 พื้นที่หลัก คือ 1.การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งขณะนี้เตรียมประกาศเชิญชวนนักลงทุนในโครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ในเดือน ต.ค.นี้

และนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทพาร์ค จ.ระยอง 2.การพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน (SEZ) ใน จ.สระแก้ว แม่สอด (จ.ตาก) สะเดา (จ.สงขลา)

ทั้งนี้ กนอ.เตรียมเงินลงทุนไว้สำหรับปี 2562 ที่ 17,122 ล้านบาท เป็นส่วนของการลงทุน PPP ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ถึง 12,900 ล้านบาท การลงทุนด้านสาธารณูปโภคใหม่ 1,831 ล้านบาท การลงทุนในงานปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค 2,391 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าแนวโน้มการลงทุนใหม่ในช่วงปี 2562 จะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสำคัญสนับสนุน อาทิ การลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ มาตรการจูงใจให้เอกชนมาร่วมลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และ กนอ.ที่จะให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนที่เข้ามาใช้พื้นที่นิคมทุกแห่งหลังจากประกาศเป็นเขตส่งเสริมพิเศษแล้ว

สำหรับผลการดำเนินงานของ กนอ. ระยะเวลา 12 เดือน (ต.ค. 2560-ก.ย. 2561) มียอดขายพื้นที่/เช่า ที่บวกพื้นที่ของเอกชนจำนวน 1,377 ไร่ มีเงินลงทุนรวมกว่า 28,042 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 3,446 คน โดยการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจสูงสุด ได้แก่

1.อุตสาหกรรมคลังสินค้า
2.อุตสาหกรรมผลิตโลหะขั้นมูลฐาน
3.อุตสาหกรรมเครื่องเรือนหรือเครื่องตกแต่งในอาคารจากไม้ แก้ว ยาง หรือโลหะอื่น ๆ
4.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์
5.อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์
ซึ่ง 5 อันดับนักลงทุนต่างชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์

ปัจจุบัน กนอ.มีนิคมอุตสาหกรรม55 แห่ง ใน 16 จังหวัด โดยมีพื้นที่สำหรับขาย/เช่า (รวมพื้นที่ระบบสาธารณูปโภค) ประมาณ 108,470 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่ขายและเช่าแล้วจำนวน 88,166 ไร่ และคงเหลือพื้นที่พร้อมสำหรับขาย/เช่าอีกจำนวน 20,304 ไร่ มูลค่าการลงทุนสะสมทั้งสิ้น 2,977,973 ล้านบาท มีผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม 4,438 ราย และมีการจ้างงานรวมทั้งสิ้น 464,667 คน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2018 11:34 am    Post subject: Reply with quote

ทางหลวง-รฟท.สร้างเครือข่ายสะดวก-ปลอดภัย ลดต้นทุนขนส่ง

24 ตุลาคม พ.ศ. 2561, -

กรมทางหลวงเผยแผนพัฒนาเส้นทางมอเตอร์เวย์ใหม่เน้นภาคตะวันตก ขณะที่ รฟท.ยันรถไฟฟ้าสายสีแดงบริหารเองค่าโดยสารไม่แพง

วันนี้(24 ต.ค.) ในงานสัมมนา “ผังเมืองใหม่ –เมกะโปรเจ็กต์ : พลิกโฉมกรุงเทพฯ” จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ช่วงการเสวนาหัวข้อ"เมกะโปรเจ็กต์กับการขยายตัวของกรุงเทพฯ" ช่วงหนึ่งนั้น นายฐากูร อินทรชม ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่า เตรียมพัฒนาพื้นที่การรถไฟฯในเขตกรุงเทพมหานคร รวมกว่า 1,000 ไร่ ทั้งบริเวณสถานีกลางบางซื่อ,พื้นที่หลัง ปตท.สำนักงานใหญ่,พื้นที่มักกะสัน,พื้นที่ถนนพระราม3(หลังเชลส์สำนักงานใหญ่) ซึ่งตรงข้ามกับบางกระเจ้า และสถานีรถไฟบางกอกน้อย


โดยหลายพื้นที่จะร่วมลงทุนกับเอกชน ทั้งทำเป็นชอปปิ้งมอลล์ มิกซ์ยูสต์ ศูนย์การประชุม-นิทรรศการ และเกตเวย์ทางน้ำ ลงทุนในแต่ละโครงการมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาทไปถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่ง รฟท.ไม่ได้ใช้พื้นที่ทั้งหมดไปเพื่อการพาณิชย์ แต่จะทำเป็นพื้นที่สาธารณะด้วย

ในส่วนการบริหารจัดการรถไฟ รฟท. ต้องก้าวผ่านจากดีเซลไปสู่การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า นำร่องสายเหนือต้องไปให้ถึง “พิษณุโลก” อีสานถึง “นครราชสีมา” ภาคใต้ถึง “สุราษฎร์ธานี” เป็นต้น

“เรามีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกสบายในการเดินทางด้วยรถไฟเท่านั้น แต่ในภาพรวมหากลดจำนวนรถบรรทุกที่วิ่งบนท้องถนนลงได้ครึ่งหนึ่ง (ให้เปลี่ยนมาขนส่งด้วยระบบราง) ถนนจะพังน้อยลง ชีวิตคนใช้ทางดีขึ้น ชุมชนตลอดเส้นทางก็ดีขึ้นด้วย”

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ-มหาชัย และตลิ่งชัน-ศาลายา เป็นโครงการที่ รฟท.บริหารจัดการเอง ยืนยันว่าค่าโดยสารอยู่ในราคายอมรับได้ เพราะไม่ได้นำต้นทุนค่าก่อสร้างมาคิดเป็นส่วนหนึ่งในค่าบริการ




ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ต้องการรองรับการพัฒนากรุงเทพมหานคร ด้วยการเพิ่มมอเตอร์เวย์อีกหลายสาย และตามแผนตั้งแต่ปีหน้า เส้นทางใหม่ๆจะขยายไปทางภาคตะวันตกมากขึ้น เช่นเส้นบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว และเส้นนครชัยศรี-ชะอำ

“เป้าหมายของกรมทางหลวงคือ แก้ไขปัญหาการจราจรแออัดในเขตเมือง การอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ทาง สามารถทำความเร็วในการเดินทางได้ และคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนมอเตอร์เวย์มีไม่ถึง 1% ของอุบัติเหตุทั้งหมด ส่วนความเร็วสูงสุดที่กำหนดไว้ 120 กม./ชม.ถือว่าเหมาะสมแล้ว” นายอานนท์ กล่าว


__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2018 4:58 pm    Post subject: Reply with quote

ฉุนตลาดรถไฟเจริญทรัพย์งดจ่ายส่วย จัดใบสั่งให้นักเลงยำรปภ.เละ
ศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2561 เวลา 18.25 น.


กลุ่มชายฉกรรจ์บุกยำ รปภ.ตลาดนัดรถไฟเจริญทรัพย์ สระบุรี เจ็บระนาว เจ๊เจ้าของตลาดนัดเชื่อ คนมีสี-นักการเมือง รู้ข่าวจะไม่ได้ส่วยในเดือนนี้กว่า 1 แสน เลยจัดใบสั่งให้พวกนักเลงมาอาละวาด


เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ชาวเน็ตต่างวิพากษ์วิจาร์ณ กระณีมีเพจเฟซบุ๊กโสพต์ว่า “สระบุรี 2561 อันธพาลครองเมือง” เป็นภาพชายฉกรรจ์จำนวนมาก วิ่งไล่ทำร้ายผู้ดูแลตลาดนัดรถไฟสระบุรี ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนต่างวิ่งหนีตายจ้าละหวั่น ทำให้มีคนเจ็บ 3 ราย ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ก่อนที่คนเจ็บจะไปแจ้งความกับ ร.ต.อ.อุทัย จอมพุทรา รอง สว.(สอบสวน)สภ.เมืองสระบุรี

โดย นางวีรณัฐ ณัฏฐมั่นคง อายุ 55 ปี หุ้นส่วนใหญ่เจ้าของตลาดนัดเจริญทรัพย์ (รถไฟ) เปิดเผยสาเหตุที่ถูกกลุ่มชายกรรจ์บุกเข้ามาทำร้ายลูกน้อง ว่า ตนและหุ้นส่วนเป็นผู้ได้รับสัมปทานการจัดตลาดนัด (เปิดท้ายขายของ) จากการรถไฟอย่างถูกต้อง นานหลายปีมาแล้ว ต่อมา 2-3 ปีหลัง กิจการไม่ค่อยดี ร้านค้าลดลงมา ทำให้รายได้หดหาย ดังนั้นเมื่อวันที่ 8 ต.ค.เราจึงสรุปมติกันว่าจะงดจ่ายส่วยให้กับคนมีสีและนักการเมืองท้องถิ่น เพราะต้องจ่ายตกเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท รวมทั้งยกเลิกผู้ดูแลตลาดชุดเดิม และนำ รปภ.ชุดใหม่จาก กทม.10 คน มาทำหน้าที่แทน

พอข่าวรั่วออกไปว่าจะงดจ่ายส่วย ทำให้คนที่เคยได้เงินไม่พอใจ ส่งคนมาข่มขู่ต่างๆนานา กระทั่งวานนี้ (18 ต.ค.) ซึ่งเป็นวันพฤหัส จะมีตลาดนัดในช่วงเช้าถึงบ่าย ก็มีกลุ่มชายฉกรรจ์บุกเข้ามาทำร้าย รปภ.ของตลาด แถมพังข้าวของเสียหาย มีคนเจ็บหลายคน อาทิ นายบิ๊ก อายุ 21 ปี ถูกตีด้วยของแข็งเข้าที่ศีรษะเย็บ 5 เข็ม นายโก้ บาดเจ็บที่หลัง ทั้งยังโดนแฉกกระเป๋าสะพายไปได้ มีเงินสด 5,000 บาท และเอกสารสำคัญ นี่มันบ้านป่าเมืองเถือนชัดๆ ยังไม่รู้เลยว่ามาแจ้งความแล้วจะช่วยอะไรได้หรือไม่ เชื่อว่าต้องไม่พอใจที่จะไม่ได้ส่วย แล้วอาละวาดเริ่มจาก รปภ.ก่อน คล้ายเตือนครั้งสุดท้าย

ด้าน พ.ต.อ.เรืองยศ โสภาพล ผกก.สภ.เมืองสระบุรี เปิดเผยทางโทรศัพท์ขณะไปราชการนอกพื้นที่ว่า เป็นการก่อเหตุที่อุกอาจ กลางวันแสกๆท่ามกลางชุมชน จากคำให้การเบื้องต้น คนเจ็บไม่สามารถจดจำและไม่รู้จักกลุ่มชายฉกรรจ์ เพราะสวมหน้ากากอนามัยปิดปากไว้ แต่คลิปมีความชัดเจนใช้เป็นเบาะแสไล่ล่าได้.
https://www.youtube.com/watch?v=7MD644BUwiE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2018 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

ใครคว้าเค้กหมื่นล้าน ปักหมุด แปลง A สถานีกลางบางซื่อ

ตื้น-ลึก-หนา-บาง
โดย : เรด ไลอ้อน
ฐานเศรษฐกิจออนไลน์

29 ตุลาคม 2561





ยกแรกของการรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน Market Sounding ที่ดินแปลง A สถานีกลางบางซื่อ 32 ไร่ มูลค่าหมื่นล้านบาท ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้เอกชนร่วมพัฒนาแบบพีพีพี มีนักลงทุนไทย-เทศ จีน ญี่ปุ่น ตัวแทนบริษัทเจ้าสัวไทย สถาบันการเงิน อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม บิ๊กค้าปลีก เข้าร่วมกันล้นหลาม
โครงการนี้รฟท. ตั้งใจว่าจะเป็น โครงการต้นแบบแผนแม่บทนำร่องในการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ของศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ที่มีพื้นที่ถึง 2,325 ไร่ แบ่งการพัฒนาเป็น 9 แปลงใน 3 เฟส ที่จะเปิดทางให้เอกชนเข้าพัฒนาโดยรอบสถานีกลางบางซื่อ เป็นโครงการมิกส์ยูส ครบวงจร รีเทล โรงแรม ศูนย์ประชุม อาคารสำนักงาน MICE คอนโดมิเนียมอยู่อาศัย เสมือนแหล่งงานกับที่พักอยู่ในทีเดียวกัน คาดว่าจะมีการลงทุนนับแสนล้านบาทตามมา

อนาคตโตเกียวสเตชัน ตีตั๋วยาวถึงปักกิ่ง

แต่รฟท.งัดที่ดินแปลง A พื้นที่ 32 ไร่ ออกมาประมูลก่อน และดูจะตั้งอยู่ในทำเลที่ตั้งดีที่สุดเพราะอยู่ใกล้กับสถานีบางบางซื่อมากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ฝั่งมีถนนคั่นกลาง ซึ่งอีกไม่นานสถานีแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมของระบบขนส่ง คมนาคมที่สำคัญของประเทศ เชื่อมโยงกับภูมิภาคอาเซียนและเชื่อมไปถึงปักกิ่ง ประเทศจีน ด้วยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อเข้าลาวที่หนองคายและไปต่อกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่ลากยาวไปยังกรุงปักกิ่ง อนาคตสถานีกลางบางซื่อจึงไม่ต่างจากโตเกียวสเตชัน ประเทศญี่ปุ่น

ภายใต้แนวคิดพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีเป็น Transit Oriented Development (TOD) โดยจะมีรถไฟฟ้าถึง 4 สายที่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ในปี 2564 คือ สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง สายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน และยังเป็นสถานีต้นทางของรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 670 กม. และกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะทาง 615 กม. และยังมีรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภุมิ –อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วิ่งผ่านอีกด้วย ถ้าหากเป็นไปตามแผนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้จะเปิดหวูดในปี 2566

เปิดปี 64 ผู้โดยสาร 2แสนคน/วัน

ดังนั้น รฟท. จึงเร่งเปิดประมูลที่ดินแปลง A ก็เพื่อให้ทันกับการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่จะให้บริการในปี 2564 เพื่อให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารที่มาใช้บริการและเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบรางของรฟท.ที่จะย้ายจากสถานีหัวลำโพงมาปักหลักที่นี่ ซึ่งจากการประเมินพบว่าในปี 2564 จะมีผู้โดยสารใช้บริการ 208,000 คน และจะเติบโตเป็น 2 เท่าใน 10 ปี หรือปี 2575 จะมีผู้ใช้บริการ 396,000 คน
แน่นอนว่า สถานีกลางบางซื่อจะกลายเป็นแหล่งธุรกิจ ซีบีดีใหม่พลิกโฉม กรุงเทพมหานคร อย่างสิ้นเชิง เป็นศูนย์รวมของระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ และยังมีพื้นที่สีเขียวจาก 3 สวนสาธารณะถึง 1 ใน3 มีตลาดนัดกลางแจ้ง จตุจักรเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก ที่ดินแปลงนี้จึงเป็นที่สนใจของกลุ่มทุนขนาดใหญ่

ไม่ว่าสถาบันการเงินไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องเข้า ร่วม 16 แห่ง บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์รายใหญ่ขานชื่อมากันพร้อม ไม่ว่า ค่ายสิงห์เอสเตทฯ แสนสิริ ศุภาลัย แลนด์แอนด์เฮ้าส์ โนเบิล บางกอกแลนด์ แสนสิริ ทีซีซีแอสเซ็ทส์ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ราชบุรีโฮลดิ้ง เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ เอสซีจี ก็ไม่ยอมเสียโอกาส ขณะที่ค่ายรับเหมาชั้นนำก็เกาะติดโครงการนี้ พาเรดมากันเพียบ ยูนิค ช.การช่าง เนาวรัตน์ ส่วนค่ายค้าปลีก ของซีพีขนมาทั้งกะบิอาทิ ซีพีออล์ สยามแมคโคร ซีพีแลนด์ เดอะมอลล์ เซ็นทรัล ส่วนต่างชาติ ไล่ตั้งแต่ แบงก์ออฟไชน่า สิงคโปร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ Mizuho Bank Hitachi Asia Nippon Koei Sumitomo Corporation Hazama Ando สถานฑูตต่าง ๆ เรียงหน้ากระดานมาครบ


สมาร์ซิตี้ได้สิทธิพิเศษบีโอไอ

รฟท.ตั้งเป้าไว้ว่าจะหลังจากรับฟังความคิดเห็นเมื่อกลางเดือนตุลาคมแล้ว ในเดือนมกราคมปี 2562 จะเปิดขายซองประมูล เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนจะยื่นข้อเสนอ สิงหาคม-พฤศจิกายนลงนาม และคาดว่าจะเปิดบริการบางส่วนในปี 64 พื้นทีแปลง A มีขนาดพื้นที่ 32 ไร่ประเมินว่าน่าจะมีพื้นที่ก่อสร้างได้ ราว 6 แสนตารางเมตร ตาม FAR อัตราส่วน 10:1 และยังจะได้โบนัสเพิ่มอีก 20 % และน่าจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็นเฟสแรกมีมูลค่าโครงการการลงทุน 5,000-6,000 ล้านบาทเหมาะสำหรับการลงทุนด้าน ค้าปลีก โรงแรมรับนักท่องเที่ยว ออฟฟิค

20 ล้านคนจะปักหลักอาศัยในกทม.

โครงการนี้ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม ให้ความเห็นว่า อยากให้นักลงทุนมองการไกล เพราะนอกจากโครงข่ายรถไฟฟ้ากว่า 500 กม.ที่รัฐบาลกำลังเริ่งก่อสร้างแล้วยังมี แผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง กทม.และปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง ระยะ2 หรือ(M-MAP 2) เตรียมพัฒนาในอนาคตอีกด้วยส่วนโครงการนี้จะเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ไร้รอยต่อ เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ลากกระเป๋าเดิน ทำทางเท้าที่เดินเชื่อมกับรถไฟฟ้าได้อย่าง ไร้รอยต่อ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นสมาร์ทซิตี้ ที่จะได้รับการส่งเสริมสิทธิ์ประโยชน์พิเศษด้านการลงทุนจาก บีโอไอด้วย

“สมาร์ทซิตี้ในที่นี่ คนมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นเมืองที่ใช้เทคโนโลยี แต่จริง ๆ เป็นเมืองที่น่าอยู่มีสภาพแวดล้อมที่ดี ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย เป็นเมืองตัวอย่าง ซึ่งที่นี่จะเป็น 1ใน10 ที่รัฐบาลต้องการผลักดัน เพื่อรองรับในอนาคตที่คนจะหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯร่วม 20 ล้านคนและอาศัยระบบรางเป็นหลัก”
ส่วนวรวุฒิ มาลา รักษาการ ผู้ว่าการ รฟท. ระบุว่า แปลง A เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ในรอบหลายสิบปืที่นำ ออกมาพัฒนา และเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำให้สถานนีกลางบางซื่อมีชีวิตชีวา มีศูนย์การค้า ร้านอาหาร เพื่อบริการคนเข้าออกในแต่ละวัน ร่วม 200,000 คน มีกำลังซื้อจากรอบด้าน และเพื่อ สนับสนุนการเดินรถ โดยตลอดระยะสัญญา 30 ปี อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ไออาร์อาร์อยู่ที่12-18 % รฟท.จะช่วยสนับสนุนทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นการเปิดให้เอกชนร่วมทุนแบบ DBFOT (Design Build Finance Operate Transfer ) เริ่มก่อสร้างได้กลางปี 2563 และเปิดบางส่วนในปีถัดไป และคาดว่าจะเปิดบริการสมบูรณ์แบบในปี 2566

เอกชนตั้ง 7 เงื่อนไขไม่เอื้อลงทุน

แต่อย่างไรก็ดีในมุมมองของภาคเอกชนหลายรายพร้อมตั้งข้อสังเกตุว่า โครงการนี้ยังมีข้อกังวลในหลายเรื่อง อาทิ
1. เรื่องสัญญาเช่าที่ดิน เอกชนต้องการ 50 ปีขึ้นไปเพื่อให้คุ้มค่าแก่การพัฒนาไม่ใช่30 ปี
2. เรื่องแหล่งเงินทุนที่น่าจะระดมทุนในรูปแบบคล้ายกองทุน อินฟาสสตรัคเจอฟันด์
3. การส่งมอบที่ดิน รฟท.ต้องเป็นผู้ดำเนินการในการเคลียร์พื้นที่ โดยเฉพาะใต้ดินที่มีทั้งท่อแก๊ส ท่อระบายน้ำ และประปา เป็นต้น
4. การขอเป็นวันสต็อปเซอร์วิส ในการขออณุญาติก่อสร้าง ที่ต้องขอผ่านถึง 12-14 ขั้นตอน
5. การคมนาคม ถนน ภายในโครงการเอกชนต้องการความชัดเจน
6. ทางเข้า-ออก โครงการถนนโดยรอบคับแคบและจะเกิดปัญหาการจราจร เหมือนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ฯลฯ
7. เสนอให้ซอยย่อยพื้นที่แปลงประมูล โดยเห็นว่าเงินลงทุนหมื่นล้านมากเกินไป ควรเปิดให้ทุนระดับกลางมีส่วนเข้าร่วมพัฒนาตามความชำนาญ

อย่างไรก็ดีด้วยมูลค่าการลงทุนสูงถึงหมื่นล้านบาท สุดท้ายก็เชื่อว่าคงก็มีแค่บิ๊กทุนไม่กี่เจ้าสัวที่จะคว้าที่ดินผืนนี้ไปครอง อย่าง เซ็นทรัล ซีพี สยามพิวรรธน์ เจริญ สิริวัฒนภักดี สิงห์เอสเตท เท่านั้นที่เอื้อมถึง คนอื่นหมดสิทธิ์หรือไม่ก็อาจไม่มีใครสนใจเลย เพราะเงื่อนไขหลายอย่างไม่เอื้อก็มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2018 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท. เล็งปรับค่าเช่าหมื่นแปลง! "โรงแรม-ห้าง-ตึกแถว" แจ็กพอต
ออนไลน์เมื่อ อาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน 2561
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,415 วันที่ 4 - 7 พฤศจิกายน 2561 หน้า 30


การรถไฟฯ เตรียมปรับค่าเช่าที่ดินกว่า 10,000 แปลง! ห้าง โรงแรม อาคารพาณิชย์ ทั่ว กทม. - หัวเมืองใหญ่ โฟกัสที่ดินทำเลรัชดาฯ 104 แปลง ราคาพุ่งเกือบ 1 ล้านบาทต่อตารางวา จากรถไฟฟ้า

หน่วยงานรัฐที่มีแลนด์แบงก์ในมือมากที่สุด คงหนีไม่พ้น "การรถไฟแห่งประเทศไทย" (ร.ฟ.ท.) นอกจากที่ดินแปลงใหญ่อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายร่วมทุนรัฐร่วมเอกชน (พีพีพี) แล้ว ที่ดินให้เช่าเพื่อการพาณิชย์ยังมีอีกมาก






แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การรถไฟฯ เตรียมทยอยปรับค่าเช่าที่ดินกว่า 10,000 แปลงทั่วประเทศ ทั้งโรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ บ้านอยู่อาศัย ฯลฯ สร้างรายได้ให้กับองค์กรปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี

ล่าสุด จ้างบริษัท 'ไนท์แฟรงค์' ประเมินทรัพย์สินให้สะท้อนราคาตลาด เนื่องจากราคาที่ดินปรับตัวสูง โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร หลายทำเลมีรถไฟฟ้าผ่าน ขณะสัญญาเช่าของการรถไฟฯ ไม่ขยับ โดยเฉพาะทำเลแนวถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว ยาวไปจนถึงถนนผังเมือง-พระราม 9 จำนวน 104 แปลง ติดถนนรัชดาฯ ลึกเข้าหาตัวอาคาร 50 เมตร ส่วนใหญ่เช่าทำทางเชื่อมเข้า-ออก ระหว่างอาคารสู่ถนนรัชดาฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นทำเลยอดนิยม ราคาที่ดินซื้อขายเกือบ 1 ล้านบาทต่อตารางวา เชื่อว่าหากมีการปรับค่าเช่า การรถไฟฯ จะมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

สำหรับอาคารขนาดใหญ่เช่าที่ดินของการรถไฟฯ หลัก ๆ 'เซ็นทรัลลาดพร้าว' ที่ต่อสัญญากับการรถไฟฯ ไป หากย้อนไปเมื่อ 40 ปีก่อน ค่าเช่าถูกมากไม่ถึง 10 ล้านบาท เนื่องจากสัญญาแรกจะเก็บค่าเช่าจากที่ดินเปล่า เพราะยังไม่มีสิ่งปลูกสร้าง แต่เมื่อหมดสัญญาจึงปรับค่าเช่า โดยรวมมูลค่าที่ดินปัจจุบันและสิ่งปลูกสร้างเข้าไปด้วย โดยค่าเช่าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,000 ล้านบาท

ส่วนที่ดินของการรถไฟฯ ทำเลอื่น ที่เอกชนสนใจมีอีกหลายทำเล แต่แปลงใหญ่ จะนำออกประมูลรูปแบบพีพีพีทั้งหมด เนื่องจากมูลค่าสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจพบผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินการรถไฟฯ ย่านสถานีแม่น้ำ 86 ไร่ หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของที่ดินทั้งหมด
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
19 พฤศจิกายน 2561



การรถไฟฯผงะพบผู้บุกรุกที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ 86 ไร่ เผยบริษัทใหญ่แอบสร้างแคมป์คนงาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561- 17:42 น.


คณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อดําเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยลงตรวจที่ดินย่านสถานีแม่น้ำพบผู้บุกรุกหรือรุกล้ำ 86 ไร่ เทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของที่ดินทั้งหมด

และได้เร่งผลักดันผู้บุกรุกออกจากพื้นที่ พร้อมดำเนินคดีกฎหมายอย่างเด็ดขาด หลังพบบริษัทขนาดใหญ่บุกรุกสร้างห้องพักคนงาน ทำเป็นจุดจำหน่ายทราย และแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่ แต่ยืนยันไม่กระทบต่อชาวบ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่


ตามที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย มีมติให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ ได้ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งจะต้องเริ่มดําเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำภายในกําหนดเวลา 2 ปี

โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดําเนินการโครงการและเป็นการป้องกันปัญหาผู้บุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ โดยผู้ที่มีสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ห้ามไม่ให้ต่อสัญญาเช่าอีก และให้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ยื่นเรื่องขอเช่า แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เช่า และผู้เข้าใช้ประโยชน์โดยไม่มีหนังสือขอเช่าในที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ พร้อมกับผลักดันผู้บุกรุกออกจากพื้นที่โดยด่วน รวมถึงให้พิจารณาว่าจ้างสํานักงานทนายความจากภายนอก เพื่อเร่งดําเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งกับผู้ที่บุกรุกที่ดิน

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อํานวยการด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อดําเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการรถไฟฯ ได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาการบุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินของการรถไฟฯ ย่านสถานีแม่น้ำ ล่าสุด คณะทํางานเฉพาะกิจเพื่อดําเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟ ได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยจัดประชุมและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มีการลงตรวจที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสถานีแม่น้ำ ถนนเชื้อเพลิง แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

ปรากฏผลดังนี้ ที่ดินย่านสถานีแม่น้ำของการรถไฟฯ ตามโฉนด มีเนื้อที่ทั้งหมด 260 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา พบพื้นที่บุกรุกหรือรุกล้ำเนื้อที่ประมาณ 86 ไร่ 35 ตารางวา หรือคิดเป็น 137,740 ตารางเมตร เท่ากับร้อยละ 33 ของที่ดินทั้งแปลง

ทั้งนี้ มีผู้บุกรุกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ที่บุกรุกพื้นที่โดยไม่มีสัญญาเช่า มีประมาณ 38 ราย กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มบริษัทรายใหญ่มีสัญญาเช่า 19 ราย ซึ่งทยอยหมดอายุสัญญาเช่าในปี 2562 และกลุ่มที่สามผู้บุกรุกที่เป็นชาวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือคนทำงานให้กับบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่และสร้างบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว และกลุ่มที่สองคือกลุ่มชาวบ้านผู้บุกรุกทั่วไป

สำหรับแนวทางการดำเนินการกับผู้บุกรุกพื้นที่นั้น การรถไฟฯ ได้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความ
ร้องทุกข์ไว้แล้ว 12 ราย เป็นบุคคลธรรมดา 4 ราย และนิติบุคคล 8 ราย เพื่อดำเนินคดีทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายกับผู้บุกรุก โดยจะมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ และปกป้องดูแลสมบัติของประเทศอย่างเคร่งครัด ส่วนผู้ที่มีสัญญากับการรถไฟฯ และใกล้หมดสัญญา จะไม่มีการขยายสัญญาให้อีก ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำเพื่อนำเงินรายได้มาพัฒนาปรับปรุงในด้านการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งลงนามจ่อยกตลาดนัดสวนจตุจักรให้กทม. 1 ธันวาคม
https://www.thebangkokinsight.com/65854/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2018 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
การรถไฟแห่งประเทศไทย ตรวจพบผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินการรถไฟฯ ย่านสถานีแม่น้ำ 86 ไร่ หรือเทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของที่ดินทั้งหมด
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
19 พฤศจิกายน 2561



การรถไฟฯผงะพบผู้บุกรุกที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ 86 ไร่ เผยบริษัทใหญ่แอบสร้างแคมป์คนงาน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561- 17:42 น.



ร.ฟ.ท.กุมขมับ เจอบุกรุกที่ดินสถานีแม่น้ำ เอกชนรายใหญ่ทั้งสร้างแคมป์คนงาน-แหล่งทิ้งขยะ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 20 พฤศจิกายน 2561- 09:57
ปรับปรุง: 20 พฤศจิกายน 2561-10:43


คณะทำงานเฉพาะกิจ ร.ฟ.ท.ลงพื้นที่สถานีแม่น้ำ เร่งเคลียร์ผู้บุกรุกที่ดินถูกบุกรุก 86 ไร่หรือ 1 ใน 3 ของที่ดินทั้งหมด พบบริษัทใหญ่บุกรุกสร้างห้องพักคนงาน ทำจุดขายทราย และเป็นแหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่ เร่งผลักดันออกจากพื้นที่พร้อมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการรถไฟฯ (บอร์ด) ได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาการบุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินของการรถไฟฯ ย่านสถานีแม่น้ำ ล่าสุดคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยจัดประชุมและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มีการลงตรวจที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสถานีแม่น้ำ ถนนเชื้อเพลิง แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

ปรากฏผลว่าที่ดินย่านสถานีแม่น้ำของการรถไฟฯ ตามโฉนดมีเนื้อที่ทั้งหมด 260 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา พบพื้นที่บุกรุกหรือรุกล้ำเนื้อที่ประมาณ 86 ไร่ 35 ตารางวา หรือคิดเป็น 137,740 ตารางเมตร เท่ากับ 33% ของที่ดินทั้งแปลง

ทั้งนี้ มีผู้บุกรุกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ที่บุกรุกพื้นที่โดยไม่มีสัญญาเช่า มีประมาณ 38 ราย กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มบริษัทรายใหญ่มีสัญญาเช่า 19 ราย ซึ่งทยอยหมดอายุสัญญาเช่าในปี 2562 และกลุ่มที่สาม ผู้บุกรุกที่เป็นชาวบ้านแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือ คนทำงานให้กับบริษัทผู้ประกอบการรายใหญ่ในพื้นที่และสร้างบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว และกลุ่มที่สองคือกลุ่มชาวบ้านผู้บุกรุกทั่วไป

สำหรับแนวทางการดำเนินการต่อผู้บุกรุกพื้นที่นั้น การรถไฟฯ ได้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว 12 ราย เป็นบุคคลธรรมดา 4 ราย และนิติบุคคล 8 ราย เพื่อดำเนินคดีทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุก โดยจะมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ และปกป้องดูแลสมบัติของประเทศอย่างเคร่งครัด ส่วนผู้ที่มีสัญญากับการรถไฟฯ และใกล้หมดสัญญาจะไม่มีการขยายสัญญาให้อีก ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำเพื่อนำเงินรายได้มาพัฒนาปรับปรุงในด้านการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยที่เร่งดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำได้ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งจะต้องเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำภายในกำหนดเวลา 2 ปี โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินการโครงการและเป็นการป้องกันปัญหาผู้บุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ

ผู้ที่มีสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดห้ามไม่ให้ต่อสัญญาเช่าอีก และให้ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ยื่นเรื่องขอเช่าแต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เช่า และผู้เข้าใช้ประโยชน์โดยไม่มีหนังสือขอเช่าในที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ พร้อมกับผลักดันผู้บุกรุกออกจากพื้นที่โดยด่วน รวมถึงให้พิจารณาว่าจ้างสำนักงานทนายความจากภายนอกเพื่อเร่งดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งกับผู้ที่บุกรุกที่ดิน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 146, 147, 148 ... 197, 198, 199  Next
Page 147 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©