Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180080
ทั้งหมด:13491312
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 167, 168, 169 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2020 11:34 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“เซ็นทรัลลาดพร้าว” จ่ายค่าเช่ารถไฟแล้ว 1 หมื่นล้าน อีก 7 ปี หมดสัญญา
ประชาชาติธุรกิจ วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 16:05 น.

การรถไฟฯ รับค่าเช่า “เซ็นทรัล” 1,165 ล้านบาท
วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 13:30 น.
การรถไฟฯ รับค่าเช่าที่ ประจำปี 2563 จาก บจก. เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา 1,165 ล้านบาท เผยผลดำเนินงานรับค่าตอบแทนการประโยชน์ รวม 13 ปี กว่า หมื่นล้านบาทบาท

เซ็นทรัลฯ จ่าย รฟท.1,165 ล้านบาท ค่าเช่าที่ย่านพหลโยธิน ปีที่13
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 เวลา 13:29 น.



รฟท.รับ 1,165 ล้าน เซ็นทรัลฯ จ่ายค่าใช้ประโยชน์ย่านพหลโยธินประจำปี 63 (ปีที่ 13) โดย รฟท.รับไปแล้วกว่า 1.09 หมื่นล้านบาท ขณะที่สัญญา 20 ปี จะรับผลประโยชน์ใช้ที่ดิน 47.22 ไร่ รวมกว่า 2.12 หมื่นล้าน ส่วนปีหน้าจ่ายเพิ่มเป็น 1,234 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2563 - 18 ธันวาคม 2564 จากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เป็นเงิน 1,165,058,000 บาท

โดยนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย การรถไฟฯ รับชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 19 ธ.ค. 2563 - 18 ธ.ค. 2564 จากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด เป็นจำนวนเงิน 1,165,058,000 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยหกสิบห้าล้านห้าหมื่นแปดพันบาทถ้วน) โดยมีการจ่ายผลตอบแทนระหว่างปี 2551-2563 รวมแล้วทั้งสิ้น 10,932,765,000 (หนึ่งหมื่นเก้าร้อยสามสิบสองล้านเจ็ดแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

สำหรับสัญญาให้สิทธิการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินระหว่างการรถไฟฯ กับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด สัญญามีระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 - 18 ธันวาคม 2571 จำนวน 47.22 ไร่ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 13 ของการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์การใช้พื้นที่ โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญา เป็นจำนวนเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดล้านแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน) กำหนดชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินภายในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปี โดยจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

สำหรับปีต่อไปจำนวนเงินที่จะได้รับการชำระค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2564 - 18 ธันวาคม 2565 จะมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,234,961,000 บาท


นอกจากนี้ หากรายได้รวมของศูนย์การค้าฯ คำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท รวมทุกๆ 5 ปี สูงกว่าประมาณการรายได้ศูนย์การค้าที่แจ้งต่อการรถไฟฯไว้ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ต้องให้ค่าผลประโยชน์ตอบแทนแก่การรถไฟฯ เพิ่มเติมในลักษณะของส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) เฉพาะส่วนที่เกินกว่าประมาณการรายได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ในอัตราร้อยละ 5 โดยใช้ประมาณการรายได้จากที่ปรึกษาของการรถไฟฯ เปรียบเทียบกับรายได้ของบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด


Last edited by Wisarut on 21/12/2020 7:48 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2020 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลใหม่!พัฒนาแปลง A บางซื่อ1.1 หมื่นล. ปรับเงื่อนไขเปิดกว้าง-ชูเปิดสีแดงกระตุ้นนักลงทุน
ข่าว คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:54 น.



รฟท.เปิดประมูลพัฒนาแปลง A กว่า 1.1 หมื่นล. ขายซอง 28 ธ.ค. 63 -29 ม.ค. 64 และยื่นประมูล 1 มิ.ย. 64 เผยเงื่อนไขเปิดกว้างมากขึ้นคาดมีเอกชนสนใจเพิ่ม ปัจจัยเปิดสีแดงและสถานีกลางบางซื่อหนุน ตั้งเกณฑ์4 ซอง แนวคิดTOD และMixed Use ผุดร้านค้า โรงแรม และสำนักงาน พื้นที่กว่า 3 แสนตารางเมตร

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.ได้เปิดประมูลสรรหาเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A ที่ดินประมาณ 32 ไร่ มูลค่าลงทุน 11,721 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 โดยขายเอกสาร ในวันที่ 28 ธ.ค. 2563 ถึง วันที่ 29 ม.ค. 2564 ราคาชุดละ 500,000 บาท และให้ยื่นข้อเสนอ ในวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ณ ห้องประชุมสถานีรถไฟบางซ่อน เวลา 09.00 น. - 15.00 น.

ซึ่งเป็นการเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่แปลง A ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก มีผู้ซื้อเอกสาร3-4 รายแต่ไม่ได้เข้ายื่นข้อเสนอ โดยรฟท.ได้ประชุมเพื่อทดสอบความสนใจ (Market Sounding) นอกจากนี้ ยังปรับปรุงเงื่อนไขที่เปิดกว้างมากขึ้น เช่น บริษัทลูกสามารถใช้ผลงานของบริษัทแม่ได้ เป็นต้น ล่าสุดมีเอกชนให้ความสนใจเพิ่มอีก 2 ราย เนื่องจากพื้นที่ แปลง A นี้อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อ ที่จะเปิดให้บริการรถไฟสายสีแดงในปี 2564 ดังนั้นคาดว่าจะมีเอกชนสนใจมากกว่าประมูลครั้งแรก

โดยเอกชนที่ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุน แปลง A จะต้องรับผิดชอบการออกแบบ จัดหาเงินทุน ก่อสร้าง บริหาร และดำเนินโครงการ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะโอนกรรมสิทธิ์อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้แก่ รฟท. (B-O-T) มีระยะเวลาสัญญา 30 ปี และมีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี

เป้าหมาย 1. พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ แนวคิด TOD โดยคำนึงถึงการสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้แก่ รฟท. 2. สนับสนุนการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการสถานีกลางบางซื่อ 3. พัฒนาพื้นทีแปลงA โดยนำแนวคิดเมืองอัจฉริยะ(Smart City) มาประยุกต์ออกแบบ ก่อสร้างดำเนินธุรกิจ ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจร (Smart Business Complex) ที่มีประเภทของกิจการทางพาณิชย์แบบผสมผสาน (Mixed Use) ได้แก่ ร้านค้า โรงแรม และสำนักงาน โดยผู้ยื่นข้อเสนอต้องก่อสร้างอาคารมีพื้นที่รวมไม่น้อยกว่า 317,000 ตารางเมตร

กำหนดผลตอบแทน ให้แก่รฟท.แบ่งเป็น 1. ค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ (Upfront Fee) ชำระ ณ วันลงนามสัญญา 2. ผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ชำระต้นปี ในระยะก่อสร้าง 4 ปี (ปีแรกปลอดการชำระ) และระยะดำเนินธุรกิจ 30 ปี

สำหรับคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอ 1. นิติบุคคลรายเดียว 2.กิจการร่วมค้า 3. นิติบุคคลควบรวมกิจการ โดยกรณีเป็นนิติบุคคลรายเดียวต้องเป็นนิติบุคคลไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งไม่น้อยกว่า3 ปี (นับถึงวันยื่นข้อเสนอ) กรณีเป็นกิจการร่วมค้า บริษัทผู้นำต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือต่างประเทศไม่น้อยกว่า 3 ปี (นับถึงวันยื่นข้อเสนอ) และมีนิติบุคคลไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% ของเงินลงทุนทั้งหมด โดยมูลค่าสุทธิของกิจการ (Net Worth) รายปีเฉลี่ยในรอบระยะ 3 ปี ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท

กำหนดประสบการณ์ผู้ยื่นข้อเสนอ ต้องเป็นผู้พัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์ โครงการเดียวหรือหลายโครงการรวมกันไม่เกิน 3 โครงการ ที่มีขนาดพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 150,000 ตารางเมตร และแต่ละโครงการต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร โดยได้ดำเนินการในเวลาไม่เกิน 10 ปี ณ วันยื่นข้อเสนอ
สำหรับการประเมินมี 6 ขั้นตอน

1.ประเมินขั้นต้น ตรวจสอบหลักฐาน(ซองไม่ปิดผนึก) ได้แก่ หนังสือมอบอำนาจ หลักฐานการซื้อเอกสารการคัดเลือกเอกชน หนังสือยืนยันการไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันจากอำนาจศาลและหลักประกันซอง

2. ด้านคุณสมบัติ (ซองที่1) ประเมินแบบผ่าน/ไม่ผ่าน

3.ข้อเสนอทางเทคนิคและแผนการลงทุน(ซองที่ 2) ประเมินมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน มีเกณฑ์ประเมิน 4 หัวข้อ คือ รูปแบบการพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการและข้อกำหนด 30 คะแนน , แผนธุรกิจ 40 คะแนน ,แผนการบริหารการก่อสร้าง และการประมาณมูลค่าการก่อสร้าง 15 คะแนน ,แผนการดำเนินโครงการ 15 คะแนน โดยผู้ผ่านซอง 2 จะต้องได้คะแนนในการประเมินแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 70 % และจะต้องได้รับคะแนนรวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 80%

ทั้งนี้กรณีมีผู้ผ่านประเมินซองที่ 2 เพียงรายเดียว หากคณะกรรมการคัดเลือกฯเห็นว่า รัฐจะได้ประโยชน์ก็สามารถดำเนินการพิจารณาข้อเสนอขั้นต่อไปได้

4. ข้อเสนอผลประโยชน์ตอบแทนแก่รฟท. (ซองที่3 ) กรณีมีผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดเท่ากันมากกว่า 1 ราย คณะกรรมการคัดเลือกจะเรียกผู้ที่ยื่นเสนอผลตอบแทนที่เท่ากันนั้น มาทำการเสนอผลประโยชน์รวมแก่รฟท.อีกครั้ง โยจะต้องไม่ต่ำกว่าข้อเสนอที่ยื่นไว้เดิม และผู้ที่เสนอสูงสุดจะถือว่าผ่าน

5. ข้อเสนอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ (ซองที่ 4 ) คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะเปิดซองที่4 ของผู้ผ่านการประเมินซอง 3 และเป็นอำนาจของคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะพิจารณารับหรือไม่รับข้อเสนอเพิ่มเติมประสิทธิภาพ ทั้งหมดหรือบางส่วน ก็ได้

6. เจรจาต่อรองสัญญาร่วมลงทุน ตามกรอบเอกสารการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/12/2020 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์หมายเลข 7 : เก็บเงินพ่อค้าแม่ค้าทำซุ้มร้านค้า อ้าง ก.คมนาคม - รฟท.
ห้องข่าวภาคเที่ยง
วันจันทร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563

หลังได้รับข้อมูลนี้ คอลัมน์หมายเลข 7, อดีตผู้ว่า สตง. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. เขต 7 ลงพื้นที่ขยายผลตรวจสอบปัญหานี้วันที่ 9 และ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา พบว่าหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและคณะ ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 10 พฤศจิกายนปีที่แล้ว
ติดตามการจัดระเบียบร้านค้าบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย จึงมอบนโยบายการจัดวางสินค้าจำหน่ายให้มีความเป็นอัตลักษณ์ เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ส่งเสริมภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว

นโยบายนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการรถไฟจึงประชุมร่วมกับพ่อค้าแม่ค้า โดยขอความร่วมมือจากพ่อค้าแม่ค้า เก็บเงินรายละ 7,000 บาท เป็นค่าทำซุ้มขายของ ปรับภูมิทัศน์จากกางร่มเปลี่ยนเป็นซุ้มขายของกว่าร้อยซุ้มจัดเป็นโซนสินค้าแต่ละประเภท ให้สิทธิขายของกับพ่อค้าแม่ค้ารายเดิมก่อน

ข้อตกลงนี้เกิดปัญหาเมื่อขอเก็บค่าซุ้มเพิ่มเป็น 15,000 บาท มีเพียง 8 รายที่จ่ายเงินให้ แต่ไม่ได้รับใบเสร็จ พ่อค้าแม่ค้าที่เหลือจึงไม่เห็นด้วย

การเก็บเงินค่าทำซุ้มจากพ่อค้าแม่ค้า มีแม่ค้าชื่อเจ๊แหม่มเป็นตัวแทนมาเก็บเงินไม่มีหลักฐานใดๆ มอบให้ สอดคล้องกับหลักฐานนี้คนงานใช้ที่ของการรถไฟทำซุ้มขายของ แต่ปฏิเสธให้ข้อมูลใครเป็นผู้จ้างทำงาน

ก่อนหน้านั้นวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้ตรวจการรถไฟมารับฟังปัญหาจากพ่อค้าแม่ค้า ยืนยันการเรียกเก็บเงินไม่ใช่นโยบายของผู้บริหารการรถไฟ

เพื่อความเป็นธรรมวันพรุ่งนี้ไปฟังคำชี้แจงจาก ส.สมคิด, เจ๊แหม่ม

คอลัมน์หมายเลข 7 : เก็บเงินพ่อค้าแม่ค้าทำซุ้มร้านค้า อ้าง ก.คมนาคม - รฟท. ตอนที่ 2
ห้องข่าวภาคเที่ยง

วันอังคาร ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563,

“อ้างนโยบาย รมว.คมนาคม-ผู้ว่า รฟท. เก็บเงินพ่อค้าแม่ค้า รายละ 15,000 บาท ได้สิทธิซุ้มขายของสะพานข้ามแม่น้ำแคว”

การตรวจสอบการจัดระเบียบร้านค้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มอบให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบนำไปปฏิบัติระหว่างลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี วันที่10 พฤศจิกายน 2562 เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยว โดยพื้นที่บริเวณนี้ จังหวัดกาญจนบุรี มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดูแลรับผิดชอบ ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2561 จึงประชุมร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้าสะพานข้ามแม่น้ำแคว เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว มีการทำข้อตกลงความร่วมมือโดยเก็บเงินพ่อค้าแม่ค้ารายละ 7,000 บาท เป็นค่าทำซุ้มขายของกว่าร้อยซุ้ม จัดเป็นโซนสินค้าประเภท ต่างๆ ให้สิทธิขายของแก่พ่อค้าแม่ค้ารายเดิมก่อน

คอลัมน์หมายเลข 7 อดีตผู้ว่า สตง. และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เขต 7 ได้รับข้อมูลจากฝ่ายต่างๆ ระหว่างลงพื้นที่ขยายผลเรื่องนี้ วันที่ 9, 14 ธันวาคม ที่ผ่านมา พบว่าข้อตกลงความร่วมมือเกิดปัญหาขึ้น เมื่อขอเก็บค่าซุ้มเพิ่มเป็นรายละ 15,000 บาท มอบให้แม่ค้าชื่อเจ๊แหม่ม เป็นตัวแทนมาเก็บเงิน มีพ่อค้าแม่ค้าเพียง 8 ราย ที่จ่ายเงินให้ แต่ไม่ได้รับใบเสร็จ พ่อค้าแม่ค้าที่เหลือไม่เห็นด้วย และนี่คือ คำชี้แจงจากเจ๊แหม่ม

การเก็บเงินครั้งนี้ เจ๊แหม่มยอมรับได้รับมอบภารกิจนี้จากเจ้าหน้าที่การรถไฟ และภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว

ขณะที่แม่ค้าที่ทราบข้อมูลเรื่องนี้ ยืนยันเจ๊แหม่ม ถูกหลอกใช้จากเจ้าหน้าที่บางคน เพื่อแลกกับการได้ซุ้มขายของในทำเลที่ดี

ส.สมคิด หรือ นายสมคิด น้อยนรินทร์ สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี เจ้าหน้าที่การรถไฟที่ถูกอ้างถึง ซึ่งเคยประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเก็บเงินพ่อค้าแม่ค้า เพื่อเป็นค่าทำซุ้มหรือไม่ ติดตามได้วันพรุ่ง


คอลัมน์หมายเลข 7 : เก็บเงินพ่อค้าแม่ค้าทำซุ้มร้านค้าอ้าง ก.คมนาคม-รฟท. ตอนที่ 3
ห้องข่าวภาคเที่ยง
วันพุธ ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563,

ส.สมคิด หรือนายสมคิด น้อยนรินทร์ สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี คือเจ้าหน้าที่การรถไฟ ที่พ่อค้าแม่ค้าสะพานข้ามแม่น้ำแควอ้างถึงว่าเป็นผู้นัดประชุมปีที่แล้ว ร่วมกับ

หน่วยงานราชการและภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว โดยขอเก็บเงินรายละ 7,000-15,000 บาท เป็นค่าทำซุ้มและสิทธิขายของบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อความสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรี ยืนยันจัดทำเรื่องนี้ไม่ได้ใช้งบทางราชการ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำข้อตกลงร่วมกัน

นอกจากค่าทำซุ้มและสิทธิขายของ พ่อค้าแม่ค้าจะต้องจ่ายค่าเก็บขยะให้แก่เทศบาลเมืองกาญจนบุรี 300 บาทและค่าสถานที่ให้การรถไฟ 300 บาท/เดือน การเก็บจากพ่อค้าแม่ค้าโดยแม่ค้าชื่อเจ๊แหม่ม นายสมคิดยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ด้านอดีตผู้ว่า สตง.ตั้งข้อสังเกตหาประโยชน์ในที่การรถไฟ เหตุใดการรถไฟไม่ทำเอง ขณะที่สารวัตรแขวงบำรุงทางกาญจนบุรียืนยันจะคืนเงินทั้งหมดให้พ่อค้าแม่ค้า

ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการจัดระเบียบร้านค้าสะพานแม่น้ำแคว แต่การเก็บเงินจากพ่อค้าแม่ค้าเพื่อทำซุ้มขายของ ใช่นโยบายของผู้ว่า รฟท.หรือไม่ ...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2020 10:46 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ประมูลใหม่!พัฒนาแปลง A บางซื่อ1.1 หมื่นล. ปรับเงื่อนไขเปิดกว้าง-ชูเปิดสีแดงกระตุ้นนักลงทุน
ข่าว คมนาคม-ขนส่ง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 18:54 น.




28 ธ.ค. รถไฟขายซองประมูล สถานีกลางบางซื่อ โซน A ดึงเอกชนลงทุนมิกซ์ยูส
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13:19 น.

การรถไฟฯ ไม่สนโควิด ฮึดประมูลอีกรอบ ที่ดินสถานีกลางบางซื่อ แปลง A เนื้อที่ 32 ไร่ ดึงเอกชนเช่ายาว 30 ปี ผุดมิกซ์ยูส เมืองอัจฉริยะ มูลค่า 1.1 หมื่นล้าน รับสายสีแดงเปิดหวูด ดีเดย์ 28 ธ.ค. ขายซอง ยื่นข้อเสนอ 1 มิ.ย. 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ออกประกาศเชิญชวนผู้ยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการพัฒนาพื้นที่พาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อแปลง A มูลค่าโครงการ 11,500 ล้านบาท จะกำหนดขายซองประมูลระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 2563 ถึงวันที่ 29 ม.ค. 2564 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 13.00-15.00 น. ราคา 500,000 บาท จากนั้นจะชี้แจงรายละเอียด จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 10 ก.พ. และวันที่ 10 มี.ค. 2564 ดูสถานที่จริงวันที่ 10 ก.พ. 2564 และเปิดรับซองข้อเสนอวันที่ 1 มิ.ย. 2564 ตั้งแต่ 09.00-15.00 น.

สำหรับที่ดินแปลง A อยู่ติดกับสถานีกลางบางซื่อทางทิศใต้ มีระยะห่างประมาณ 140 เมตร มีขนาดที่ดิน 32 ไร่ ตำแหน่งนับว่าเป็นแปลงที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทางทิศเหนือติดถนนสายหลักของอาคารสถานีกลางบางซื่อ เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อกับแปลง A ทิศใต้ติดแนวคลองบางซื่อและถนนกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดแนวรั้วพื้นที่เช่า ขสมก. และทางด่วนศรีรัช





ซึ่ง ร.ฟ..ท.จะให้เอกชนที่สนใจพัฒนาจัดหาประโยชน์โครงการ เป็นระยะเวลา 30 ปี และมีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 4 ปี โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด เมื่อสิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมดโอนให้ ร.ฟ.ท. ซึ่งกำหนดรูปแบบการพัฒนาเป็นแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส เพื่อรองรับผู้โดยสารและผู้ใช้บริการสถานีกลางบางซื่อและผู้ใช้บริการในประเภทธุรกิจต่าง ๆ ของแปลง A โดยตรง

โดยนำรูปแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีขนส่งสาธารณะ (TOD) มาใช้ในการพัฒนา รวมถึงแนวคิดเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาแปลง A ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจร ที่มีประเภทของกิจการพาณิชย์แบบผสมผสาน ไม่จำกัดเพียงร้านค้า โรงแรม และสำนักงาน

ทั้งนี้กิจกรรมที่จะพัฒนาต้องดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เชิงสร้างสรรค์ที่ไม่ก่อผลกระทบทางลบต่อสังคมและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ ร.ฟ.ท.

นอกจากนี้ผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมลงทุนโครงการ จะต้องก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในโครงการ และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยมีพื้นที่อาคารรวมไม่น้อยกว่า 317,000 ตารางเมตร โดยมีประเภทธุรกิจที่กำหนดต้องดำเนินการ ได้แก่ ร้านค้า โรงแรม สำนักงาน

โดยเอกชนจะต้องเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ ร.ฟ.ท. ไม่น้อยกว่าผลประโยชน์ตอบแทนรายได้ปี แบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ ชำระ ณ วันเซ็นสัญญาและผลประโยชน์ตอบแทนรายปี ชำระ ณ ต้นปีในระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี และระยะการดำเนินธุรกิจ 30 ปี ซึ่งผู้ที่ยื่นข้อเสนอ มีทั้งนิติบุคคลรายเดียว กิจการร่วมค้า นิติบุคคลควบรวมกิจการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/12/2020 9:30 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แก้ปัญหาผู้บุกรุกเขตทาง'มักกะสัน-แม่น้ำ'ผุดสวนสาธารณะแลกขยายสัญญาเช่าเพิ่มรายได้
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ผู้จัดการรายวัน360 - บอร์ด รฟท.เคาะขยายสัญญาเช่าที่ดินแนวรถไฟสายมักกะสัน-แม่น้ำ หลังโรงงานยาสูบ ให้ติดตั้งป้ายโฆษณาพร้อมปรับพื้นที่เป็นสวนสาธารณะ และพัฒนาเชิงพาณิชย์แก้ปัญหาบุกรุก เพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างรายได้เพิ่มเกือบเท่าตัว

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 63 มีมติอนุมัติให้บริษัท เวอริซายน์ จำกัด ปรับปรุงพื้นที่เช่าที่ดินติดตั้งป้ายโฆษณาเป็นสวนสาธารณะและให้ขยายอายุสัญญาเช่าที่ดินเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณา ออกไปอีก 30 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป ตามแนวเส้นทางรถไฟสายมักกะสัน-แม่น้ำ ระยะทางประมาณ 2 กม. ช่วงระหว่างถนนพระราม ๔- ถนนเพชรบุรี คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 12,000 ตารางเมตร (มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ประมาณ 700 ตารางเมตร)

โดย รฟท.จะได้รับค่าตอบแทนรวม 222 ล้านบาทตลอดระยะ 30 ปี แบ่งเป็น ค่าเช่าพื้นที่สำหรับติดตั้งป้ายโฆษณา จำนวน 103 ล้านบาท และค่าติดตั้งป้ายโฆษณาแบบดิจิทัล จำนวน 119 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค่าเช่าพื้นที่ปัจจุบันที่ รฟท.ได้รับเฉลี่ยประมาณ 4 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ บริษัท เวอริซายน์ จำกัด เป็นผู้เช่าติดตั้งป้ายโฆษณา กับ รฟท. ในพื้นที่ดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2543 โดยสัญญาจะครบกำหนดในปี 2569 ดังนั้น เมื่อพิจารณาขยายสัญญาใหม่ จึงตกลงเริ่มนับตั้งแต่ปี 2564 ระยะเวลา 30 ปี โดยนอกจากติดตั้งป้ายโฆษณา เอกชนได้เสนอปรับปรุงพื้นที่ ปรับภูมิทัศน์ เป็นสวนสาธารณะ เป็นปอดให้คนกรุงเทพฯ เข้าไปออกกำลังกาย และมีร้านค้าบริการบางส่วน

"พื้นที่ดังกล่าว ตั้งอยู่ติดกับโรงงานยาสูบ ที่ผ่านมา มีปัญหาจากการบุกรุกจากบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทางเอกชน เสนอแนวทางแก้ปัญหา และยังเป็นของขวัญให้คนกรุงเทพฯ ในปี 2564 ที่จะมีพื้นที่ออกกำลังกายเพิ่มด้วย บอร์ด รฟท.เห็นด้วย เพราะเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจาก สวนลุมพินี มีความเหมาะสม โดยบริษัทฯ จะทำการออกแบบ การปรับปรุงพื้นที่ และรูปแบบร้านค้านำเสนอ รฟท.อนุมัติก่อนที่ดำเนินการ และจะแล้วเสร็จในต้นปี 2564" นายนิรุฒกล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่าสัญญาเช่าเดิม เป็นการใช้ประโยชน์ในการติดตั้งป้ายโฆษณา ซึ่งประสบปัญหามีผู้บุกรุกเข้าไป ทั้งใช้เป็นที่จอดรถ จอดรถเข็น พักอาศัย ร้านค้า โดยที่ผ่านมา ทางสำนักงานเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้มีหนังสือถึง รฟท.และบริษัทผู้เช่าพื้นที่ เพื่อให้แก้ปัญหาในพื้นที่ เนื่องจากพบว่าเป็นแหล่งเสื่อมโทรม และมีโอกาสที่จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะช่วงระหว่างโรงงานยาสูบถนนเพชรบุรี มีกว่า100 ราย ดังนั้น การที่มีแผนปรับปรุง เป็นสวนสาธารณะและร้านค้า นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประชาชนแล้ว และช่วยแก้ปัญหาบุกรุกได้อีกด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/12/2020 7:36 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.แก้ปัญหาผู้บุกรุกเขตทาง'มักกะสัน-แม่น้ำ'ผุดสวนสาธารณะแลกขยายสัญญาเช่าเพิ่มรายได้
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563


ลิงก์มาแล้วครับ : รฟท.แก้ปัญหาบุกรุกสาย “มักกะสัน-แม่น้ำ” ผุดสวนสาธารณะแลกขยายสัญญาเช่าพื้นที่เพิ่มรายได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:17
https://mgronline.com/business/detail/9630000132384
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 31/12/2020 9:04 am    Post subject: Reply with quote

ศักดิ์สยาม จี้รถไฟส่งแผนบริหารที่ดิน-สายสีแดง
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 ธันวาคม 2563 - 21:56 น.


ศักดิ์สยาม จี้รถไฟส่งแผนบริหารที่ดิน-สายสีแดงเผย ”ประยุทธ์” สั่งส่องรถตู้วิ่งชายแดนสกัดต่างด้าว

หลังปีใหม่ “ศักดิ์สยาม” ขอตรวจการบ้านรถไฟ “บริษัทลูก-บริหารสายสีแดง” แจง”ประยุทธ์” ทราบปัญหาปรับแบบมอเตอร์เวย์แล้ว สั่ง “ขนส่ง-ทางหลวง” สแกนรถตู้-สองแถว-ด่านชายแดน สกัดต่างด้าว หวั่นโควิดลาม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารและหัวหน้าหน่วยในกระทรวงคมนาคม วันที่ 29 ธ.ค. 2563 ได้กำชับกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้รายงานความคืบหน้าของการจัดตั้งบริษัทลูกบริหารทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาที่ดินและการบริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต



โดยให้แยกแผนบริหารการเดินรถและแผนบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้นำรูปแบบการบริหารอาคารผู้โดยสารของ บมจ.ท่าอากาศยาน (ทอท.) มาปรับใช้โดยหลังปีใหม่จะติดตามความคืบหน้า

ชงครม.เคาะโปรเจ็กต์พันล้านม.ค.นี้
ส่วนการของงบประมาณปี 2565 ในส่วนของโครงการลงทุนที่เกิน 1,000 ล้านบาทที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาก่อนบรรจุในร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 2565 พบว่ากระทรวงคมนาคมมีโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 26 โครงการ เป็นโครงการของกรมทางหลวง (ทล.) 19 โครงการ และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) 7 โครงการ คาดว่าจะเสนอครม.ได้ในวันที่ 5 ม.ค. 2564 หรือช้าสุดวันที่ 12 ม.ค. 2564

นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้รับทราบในที่ประชุมครม.ถึงความคืบหน้าการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 2 สายทาง ช่วงบางใหญ่ – กาญจนบุรี และช่วงบางปะอิน – นครราชสีมา รวมถึงปัญหารการปรับแบบทั้ง 17 ตอนของมอเตอร์เวย์บางปะอินแล้ว

โดยกำชับให้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหา และกลับมารายงานโดยเร็ว นอกจากนี้ ยังขอให้กระทรวงคมนาคมดูเรื่องการดำเนินการงานติดตั้งและบริหารระบบเก็บเงิน (O&M) และนโยบาย M-FLOW ให้ชัดเจน และให้กระทรวงไปดูว่าในบางช่วงที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถให้รถขึ้นไปวิ่งได้หรือไม่

ส่วนมาตรการเรื่องโควิด-19 นายกรัฐมนตรีกำชับให้กระทรวงคมนาคมโดยเฉพาะกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) สอดส่องการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวโดยขอให้ตรวจเข้มกับรถสองแถวและรถตู้ พูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการขนส่ง

หากพบการลักลอบขนแรงงานต่างด้าว ให้เพิกถอนใบอนุญาตขนส่งทันที และให้กรมทางหลวง (ทล.) คอยสำรวจด่านผ่านแดนตามชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2021 1:53 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” ติงแผนพัฒนาพื้นที่ย่านพหลโยธิน จ่อรื้อผังเชิงพาณิชย์ 9 แปลงหวั่นไม่คุ้ม
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:05



“ศักดิ์สยาม” เรียก รฟท.แจงแผนพัฒนาย่านพหลโยธิน และสถานีกลางบางซื่อ ติงเฟสแรกผุดศูนย์การค้าก่อน หวั่นไม่สร้างดีมานด์ และต้องไม่กระทบต่อแผน PPP สายสีแดง แนะใช้ต้นแบบพัฒนาเชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ว่า โครงการรถไฟสายสีแดงมี 3 ส่วน คือ เรื่องการบริหารจัดการเดินรถ การบริหารสถานี และการบริหารพื้นที่ ซึ่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมข้อมูลแผนงานในแต่ละเรื่องว่ามีแนวทางและรายละเอียดอย่างไร โดยกระทรวงฯ จะเรียกประชุมภายในเดือน ม.ค.นี้ เพื่อพิจารณาแนวทางที่วางไว้ว่ามีความเหมาะสมและต้องปรับแก้อย่างไรหรือไม่

โดยเฉพาะพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน จำนวนรวม 2,325 ไร่ ซึ่งมีแบ่งออกเป็น 9 แปลง โดย รฟท.มีแนวทางที่จะบริหารจัดการเอง จะต้องมาดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากมีเรื่อง PPP สำหรับสายสีแดง ต้องดูว่าจะเชื่อมต่อกันอย่างไร การจัดพื้นที่ต้องวางแผนไว้ก่อน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีที่ รฟท.วางแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ออกเป็น 3 ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565, 2570 และ 2575 (ตามลำดับ) โดยระยะแรกจะเป็นโครงการพัฒนาศูนย์ราชการ ระยะที่ 2 พัฒนาเป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และระยะที่ 3 พัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยนั้นจะสอบถามเหตุผลหลักการของแนวทางดังกล่าวว่ามีที่มาอย่างไร เนื่องจากในความคิดของตนเห็นว่าควรก่อสร้างที่อยู่อาศัยก่อนในเฟสแรก เพราะจะทำให้เกิดดีมานด์ก่อน

“เบื้องต้นเรื่องพื้นที่เชิงพาณิชย์ รฟท.มีแนวทางที่จะบริหารจัดการเอง ซึ่งจะต้องมาดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร และและกรณีในอนาคตมี PPP จะเชื่อมต่อกันอย่างไร ผมมอบหมายให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมเตรียมประชุมผู้เกี่ยวข้องในเดือนนี้ การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ของกระทรวงคมนาคม โดยวิธีง่ายที่สุดให้ดูต้นแบบการบริหารพื้นที่ของสนามบินสุวรรณภูมิ เพียงแต่ของ รฟท.ไม่มีเรื่องดิวตี้ฟรีเท่านั้น” นายศักดิ์สยามกล่าว

สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เดินรถนั้น ขณะนี้ รฟท.กำลังศึกษารายละเอียดซึ่งจะรวมการเดินรถสายสีแดง การบริหารสถานีทั้งหมดและการก่อสร้าง สายสีแดงส่วนต่อขยายอีก 4 เส้นทาง มูลค่ากว่า 6.7 หมื่นล้านบาทด้วย ได้แก่
1. สายสีแดงเข้มส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มธ.ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กม. กรอบวงเงิน 6,570.40 ล้านบาท
2. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา กรอบวงเงินลงทุน 10,202.18 ล้านบาท มีระยะทาง 14.8 กม.
3. สายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ระยะทาง 4.3 กม. กรอบวงเงิน 6,645.03 ล้านบาท
4. รถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/01/2021 10:26 am    Post subject: Reply with quote

ชื่นชม! พ่อค้าแม่ค้ากาดรถไฟลำปางลงขันซื้ออุปกรณ์-ตั้งกฎสกัดโควิด กันถูกสั่งปิด-ดึงลูกค้าเข้าตลาด
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 07:50 น.




ลำปาง - น่าชื่นชมตลาดตัวอย่าง..พ่อค้าแม่ขายตลาดรถไฟลำปาง อยู่นอกการดูแลของเทศบาลฯ ตัดสินใจลงขันกันเองจัดซื้ออุปกรณ์-วางกฎสกัดโควิด-19 กันถูกสั่งปิด พร้อมสร้างความมั่นใจลูกค้าเดินจับจ่ายซื้อของได้สบายใจ



ตลาดรถไฟ หรือที่คนลำปางเรียกจนติดปากว่า “กาดรถไฟ” ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสถานีรถไฟนครลำปาง โดยมีพ่อค้าแม่ค้านำอาหารชนิดต่างๆ ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ขนม เครื่องดื่ม และมีร้านอาหารตามสั่ง ร้านสเต๊ก หมูจุ่ม หมูกระทะ รวมอยู่ในที่เดียวกันกว่า 40 ร้าน ทุกเย็นนั้น

แต่เดิมเทศบาลนครลำปางเป็นผู้เช่าพื้นที่แห่งนี้กับทางสถานีรถไฟ แต่หลังจากที่เทศบาลค้างค่าเช่ากับการรถไฟเป็นเงินกว่าหนึ่งล้านบาท และไม่สามารถชำระได้ ท้ายสุดการรถไฟจึงยกเลิกสัญญาและขอคืนพื้นที่ไปดูแลเอง ทำให้ปัจจุบันประกอบกับช่วงที่ผ่านมาเจอสถานการณ์โควิด ทำให้การรถไฟฯ อนุโลมให้พ่อค้าแม่ค้าที่ค้าขายอยู่เดิมให้ค้าขายกันต่อไปก่อน

และเมื่อตลาดรถไฟไม่ได้อยู่ในการดูแลของเทศบานครลำปางแล้ว ทำให้มาตรการดูแลเฝ้าระวังโควิด-19 ก็ไม่สามารถเข้ามาดูแลได้ แต่พ่อค้าแม่ค้ายังต้องการค้าขายต่อโดยไม่ถูกสั่งปิด จึงมีการพูดคุยตกลงกันว่าจะต้องมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายว่าตลาดรถไฟมีมาตรการเฝ้าระวังโรคโควิดเป็นอย่างดี

กระทั่งมีมติลงขันค่าใช้จ่ายกันตามกำลังของแต่ละร้านทั้งร้านเล็กร้านใหญ่จนได้เงินกว่าหนึ่งหมื่นบาท ทางตัวแทนกลุ่มจึงนำไปจัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิรุ่นล่าสุดที่สามารถวัดอุณหภูมิและแสดงเสียงบอกได้มาติดตั้งไว้บริเวณทางเข้าออก รวม 3 จุด พร้อมนำเชือกขึงไว้โดยรอบ ตั้งจุดเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ทั้งทางเข้าออกและภายในตลาดเป็นระยะ ร้านค้าทุกร้านพ่อค้าแม่ค้าต้องสวมหน้ากาก มีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบริการทุกร้าน และตั้งกฎให้ลูกค้าก่อนรับประทานอาหารต้องล้างมือด้วย



ตัวแทนของพ่อค้าแม่ค้าตลาดรถไฟบอกว่า เหตุที่ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันเรื่องนี้คือ ทุกคนไม่อยากให้ตลาดถูกปิดซึ่งหากเป็นเช่นนั้นทุกคนจะต้องได้รับผลกระทบ จึงได้มีการพูดคุยกันว่าเราจะทำอย่างไร เสียงส่วนใหญ่ก็ลงความเห็นว่าขอให้ช่วยกันลงขันเพื่อซื้อเครืองวัดอุณหภูมิ เพราะหากต้องขอ อสม.มาทำหน้าที่ก็จะต้องมีค่าทำงานนอกเวลาซึ่งตลาดแห่งนี้มี 3 ประตูเข้าออก ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายกว่าหมื่นบาทต่อเดือนซึ่งคงไม่ไหว

ดังนั้นจึงตกลงซื้ออุปกรณ์วัดอุณหภูมิอัตโนมัติมาใช้แทน และปิดกั้นโดยรอบตลาดเพื่อให้มีจุดเข้าออกเพียง 3 ทาง และทำป้ายบอกทางเข้าออกให้ชัดเจน มีการจัดซื้อเจลแอลกอฮอล์มาไว้ในจุดต่างๆ โดยรอบเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ได้ทันทีและคอยเติมหากเจลหมด สิ่งที่ทำออกมาลูกค้าก็พอใจและมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการเดินทางมาซื้ออาหารที่ตลาดรถไฟ



นายชาญยุทธ์ คำวรรณ์ รองนายแพทย์ สสจ.ลำปาง พร้อมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดลำปาง ที่ได้เข้าดูมาตรการเฝ้าระวังของตลาดเย็นที่ผ่านมา (13 ม.ค. 64) กล่าวว่าตลาดรถไฟแห่งนี้ถือว่ามีการบริหารจัดการดีมาก และขอชื่นชมในความร่วมมือของพ่อค้าแม่ค้าของตลาดที่ร่วมแรงร่วมใจกันบริหารจัดการเฝ้าระวังกันเองโดยไม่รอภาครัฐ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเพราะหากตลาดปลอดภัยผู้ซื้อก็ปลอดภัย ผู้ขายก็ปลอดภัย และตลาดก็จะค้าขายได้ตามปกติต่อไป



จากที่เดินดูโดยรอบได้มีการขอเสริมในเรื่องคิวอาร์โค้ดหมอชนะ ไทยชนะ และทาง สสจ.ลำปาง จะช่วยดูเรื่องเชือกหรือเทปกั้นแนวมาช่วยเพื่อให้การบริการจัดการที่ดียิ่งขึ้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ถือว่าบริหารจัดการได้ดีมาก ส่วนตลาดอื่นๆ ที่ดำเนินงานโดยภาคประชาชนและที่ถูกสั่งปิดอยู่ในขณะนี้ อาจจะต้องมีการวางมาตรการร่วมกันและให้ยื่นแผนการดำเนินให้คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดพิจารณา หากสามารถทำได้ก็จะมีการพิจารณาอนุญาตให้เปิดตลาดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2021 10:46 am    Post subject: Reply with quote

เขย่าที่รถไฟย่านรัชดา “โพไซดอน” ทุบอ่างสร้างโรงแรม
อสังหาริมทรัพย์

เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:04 น.

ร.ฟ.ท.เขย่าสัญญารัชดาฯ 124 แปลง อัพค่าเช่า ตั้งแต่เดอะสตรีท-ตึก SCB ไฟเขียว “บางกอกไนท์บาซาร์” เช่ายาวถึงปี’92 ชงบอร์ดเคาะ “โพไซดอน” ขอต่ออีก 30 ปี ปรับโฉมใหม่จากอาบอบนวดเป็นโรงแรม 3 ดาว หลังธุรกิจขาลง นักเที่ยวผวาโควิด กลางปีประมูลที่ดินโรงแรมเซ็นทรัลหัวหิน รื้อสัญญาสนามกอล์ฟเบียร์สิงห์-ทวินทาวเวอร์ และย่าน RCA เพิ่มรายได้ปีละ 3 พันล้าน

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณาและประเมินมูลค่าทรัพย์สินสัญญาเช่าที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก 124 แปลง (124 สัญญา) ตั้งแต่แยกศูนย์การค้าเดอะสตรีท ไปตลอดแนวจนถึงสำนักงานใหญ่ SCB และจุดตัดถนนวิภาวดีรังสิต ที่ทยอยหมดสัญญาเช่าในปี 2563-2567

จัดระเบียบ 124 แปลง
อาทิ พื้นที่ลานจอดรถของศูนย์การค้าเดอะสตรีท ที่จอดรถโรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ สถานบริการอาบอบนวดโพไซดอน สถานีตำรวจสุทธิสาร สถานีตำรวจพหลโยธิน ศาลอาญา บางกอกไนซ์บาซาร์ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าย่านถนนรัชดาฯเฉลี่ยปีละ 200 กว่าล้านบาท หากมีการเจรจาต่อสัญญาใหม่จะทำให้ ร.ฟ.ท.ได้ค่าเช่าเพิ่ม

“ตอนนี้ผู้เช่าหลายแปลงแจ้งความประสงค์จะต่อสัญญาเช่า บางรายอนุมัติไปแล้ว บางรายขอดัดแปลงอาคารใหม่ให้สอดรับกับเศรษฐกิจปัจจุบัน”

แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนที่คณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติต่อสัญญาแล้ว อาทิ บจ.แบงค์ค็อกไนท์บาซาร์ เจ้าของโครงการบางกอกไนท์บาซาร์ แยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว เนื้อที่ 9 ไร่ โดยต่อให้อีก 30 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2592 ร.ฟ.ท.ได้ผลตอบแทน 5,000 ล้านบาท และต่อสัญญาเช่าที่ดิน 7 ไร่ ให้กับ บจ.ไทยวัฒน์เคหะ อีก 20 ปี เริ่มปี 2565-2585 ได้ค่าตอบแทน 83 ล้านบาท

ทุบอ่างสร้างโรงแรม
ส่วนที่อยู่ระหว่างการพิจารณาต่อสัญญา อย่างที่ดินแปลงโพไซดอน 15.4 ไร่ เมื่อเดือน มิ.ย. 2559 บริษัทยื่นหนังสือขอต่อสัญญาอีก 30 ปี เดิมจะสิ้นสุดวันที่ 29 ก.พ. 2567 พร้อมกับขอปรับปรุงดัดแปลงอาคารสูง 11 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 10,656 ตร.ม. ปัจจุบันประกอบธุรกิจอาบอบนวด สู่ธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาว วงเงิน 200 ล้านบาท เนื่องจากธุรกิจเข้าสู่ช่วงขาลง ประกอบกับมีภาระต้นทุนมากขึ้น ล่าสุดยังมีปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยว

“การเช่ามี 2 สัญญา คือ สัญญาสร้าง 4 ปี วันที่ 1 มี.ค. 2533-วันที่ 28 ก.พ. 2537 และสัญญาจัดหาประโยชน์ที่ดิน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2537-29 ก.พ. 2567 มีอาคาร 11 ชั้น เป็นสถานที่อาบอบนวดโพไซดอน 1 อาคาร และอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น 32 คูหา และ 7 ชั้น 3 คูหา”

มูลค่าทรัพย์สิน 753 ล้าน
แหล่งข่าวกล่าวว่า ร.ฟ.ท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สินและประเมินผลตอบแทนค่าเช่าที่จะได้รับตลอดอายุสัญญา ซึ่งมีหลายแนวทาง ทั้งขยาย 10-15-20-30 ปี โดยผลประเมินมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 753 ล้านบาท แยกเป็นที่ดิน 611 ล้านบาท อาคาร 41 ล้านบาท การประเมินยึดตามราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 215,000 บาท/ตารางวา

ด้านผลตอบแทนตั้งแต่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ถึงมากกว่า 3,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเช่า เช่น 20 ปี ประมาณ 1,600 ล้านบาท 30 ปี จะมากกว่า 3,000 ล้านบาท จะเสนอให้บอร์ด ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติในเร็ว ๆ นี้ หากได้รับอนุมัติถือว่าต่อสัญญาได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 เนื่องจากได้รับการยกเว้น จะดำเนินการต่อสัญญาภายใต้ระเบียบของการรถไฟฯ


“เงื่อนไขสัญญาเมื่อครบกำหนดเช่า ทรัพย์สินจะตกเป็นของ ร.ฟ.ท. หากให้เช่าต่อต้องพิจารณาให้สิทธิผู้เช่ารายเดิมก่อน โดยแจ้งล่วงหน้า 1 ปีก่อนสัญญาสิ้นสุด” แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ประมูลที่ รร.หัวหิน
นอกจากนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างพิจารณาที่ดินแปลงใหญ่ที่หมดสัญญา หลังบอร์ดมีนโยบายให้เปิดประมูล อาทิ โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ โดย บจ.เซ็นทรัลหัวหินบีช รีสอร์ท จะสิ้นสุดวันที่ 15 พ.ค. 2565 เตรียมการเปิดประมูลกลางปี 2564 ได้เอกชนต้นปี 2565 เร่งให้เสร็จก่อนสัญญาหมด 3 เดือน ซึ่งเซ็นทรัลมีสิทธิยื่นประมูล

“ที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนรวมที่ ร.ฟ.ท.จะได้ตลอด 30 ปี เป็นเงิน 8,927 ล้านบาท เป็นค่าเช่าไม่ต่ำกว่า 5,727 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขว่าต้องลงทุน 3,200 ล้านบาท สร้างโรงแรมระดับ 3-4 ดาวเพิ่ม รีโนเวตตึกเก่าอีก 1,200 ล้านบาท”


รื้อสัญญา 3 บิ๊ก
ยังมีสัญญาเช่าของ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่ (เบียร์สิงห์) ซึ่งเช่าอาคารและสนามกอล์ฟรถไฟหัวหิน ติดสถานีรถไฟ 500 ไร่ ครบกำหนด 30 ปี 31 มี.ค. 2558 ระหว่างรอต่อสัญญาใหม่ บริษัทจ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เป็นรายปี ในอัตราเท่ากับปีสุดท้ายที่ 476,000 บาท ล่าสุดบอร์ดให้ศึกษาพัฒนาโครงการใหม่ที่ไม่ใช่สนามกอล์ฟอย่างเดียว

“กำลังทบทวนผลตอบแทน ซึ่งต้องทดสอบความสนใจภาคเอกชนด้วย จากเดิมประเมินมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาท จะต่อให้ 30 ปี แต่ต้องลงทุนเพิ่มไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ปรับสนามกอล์ฟ สร้างคลับเฮาส์ โรงแรมและพูลวิลล่า หากเบียร์สิงห์ไม่ต่อ จะประมูลใหม่”

สำหรับโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของ บจ.โกลเด้น แอสเซ็ท จะครบสัญญา 20 ปี วันที่ 17 ส.ค. 2564 ทางบอร์ดให้ทำข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างต่อสัญญารายเดิมกับเปิดประมูลใหม่ รูปแบบไหนจะเป็นประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.มากที่สุด

ส่วนที่ดินย่านโครงการรอยัลซิตี้อเวนิว (RCA) ถนนพระราม 9 ที่ บจ.นารายณ์ร่วมพิพัฒน์เช่า 3 แปลง จะหมดสัญญาเดือน ต.ค. 2565 โดยบริษัทขอต่ออีก 30 ปี ร.ฟ.ท.จะรวบเป็นสัญญาเดียว เนื้อที่ 62 ไร่ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษากำลังประเมินมูลค่า ผลตอบแทน จะสรุปได้ในปีนี้

“หาก ร.ฟ.ท.จัดระเบียบสัญญาค่าเช่าได้หมด จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากที่ได้อยู่ 3,000 ล้านบาทต่อปี” แหล่งข่าวย้ำ


Last edited by Wisarut on 19/01/2021 8:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 167, 168, 169 ... 197, 198, 199  Next
Page 168 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©