RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181767
ทั้งหมด:13493005
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 01/08/2010 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

พื้นที่ย่านสถานีแม่น้ำ ขนาดพื้นที่ประมาณ 277 ไร่ขณะนี้ที่ปรึกษาได้ส่งรายงานขั้นกลางให้บอร์ดร.ฟ.ท.พิจารณาแล้ว และพื้นที่สถานีเชียงใหม่ ซึ่งบอร์ดร.ฟ.ท. ได้อนุมัติให้นำพื้นที่จำนวน 15 ไร่ส่วนที่เหลือจากการมอบให้เทศบาลเชียงใหม่เพื่อดำเนินการจัดทำสวนสุขภาพออกให้เช่าโดยวิธีออกประกาศเชิญชวนเสนอโครงการพัฒนาที่ดิน


หลายวันก่อนมีการรับฟังความคิดเห็นของรายงานขั้นกลางนี้ (ทีมที่ปรึกษาตือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ลาดกระบัง) เสียดายที่ไปฟังไม่ทัน แต่ได้เอกสารหน้าตาของโครงการมา โครงการนี้มีลักษณะพิเศากว่าโครงการอื่นคือติดแม่น้ำ เป็นคลังน้ำมันเก่า มีทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นปลายทางหนึ่งของทางรถไฟสายมักกะสัน-แม่น้ำ

ในแง่การพัฒนาอย่า่างยั่งยืน อยากจะให้ รฟท.นำระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางต่อเข้าไปด้วยนะครับ เป็นที่ของการรถไฟแท้ๆ อย่าให้มีแต่ขับรถ หรือ ขับเรือ เข้าไปสู่โครงการได้นะครับ ควรจะมีเอกลักษณ์ของรถไฟใส่เข้าไปด้วยครับ จริงๆเส้นทางนี้ควรจะทำตั้งแต่สมัยโฮปเวลล์เข้ามาแล้ว เส้นทางนี้มีศักยภาพมากนะครับ ถ้าเราพัฒนาที่ิดินผืนนี้เป็น River Front ที่สมบูรณ์แบบ มี Convention Center, Exhibition Center, Theater etc. ไว้ประชุมและแสดงงานระดับนานาชาติได้ เหมือนของฮ่องกงเขา
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 01/08/2010 6:09 pm    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
ในแง่การพัฒนาอย่า่างยั่งยืน อยากจะให้ รฟท.นำระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางต่อเข้าไปด้วยนะครับ เป็นที่ของการรถไฟแท้ๆ อย่าให้มีแต่ขับรถ หรือ ขับเรือ เข้าไปสู่โครงการได้นะครับ ควรจะมีเอกลักษณ์ของรถไฟใส่เข้าไปด้วยครับ จริงๆเส้นทางนี้ควรจะทำตั้งแต่สมัยโฮปเวลล์เข้ามาแล้ว เส้นทางนี้มีศักยภาพมากนะครับ ถ้าเราพัฒนาที่ิดินผืนนี้เป็น River Front ที่สมบูรณ์แบบ มี Convention Center, Exhibition Center, Theater etc. ไว้ประชุมและแสดงงานระดับนานาชาติได้ เหมือนของฮ่องกงเขา


แหะ ๆ อ.บ้านโป่งครับ...

เรื่องแบบนี้ "คนใน" เขาไม่ค่อยชอบ ครับพี่
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2010 11:59 pm    Post subject: Reply with quote

ช็อก!ขึ้นค่าเช่าจตุจักร20เท่า รถไฟบี้กทม.ต่อสัญญา30ปีจ่าย1.3หมื่นล.
ข่าว หน้า 1
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4233 วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553


การรถไฟฯเปิดศึก กทม. ซุ่มเก็บข้อมูล 8,800 แผงค้าตลาดนัดจตุจักร งัดเป็นไม้เด็ดขึ้นค่าเช่าหลังเหลืออายุสัญญาเช่าแค่ปีเศษ ชี้ค่าเช่าใหม่ต้องสะท้อนราคาตลาด ดัดหลังพวกหัวใสนำแผงค้าไปปล่อยเช่าช่วง 2-3 ทอด ปั่นราคาพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน ทั้งที่ กทม.เก็บค่าเช่าแค่ 120-2,600 บาท/แผง/เดือน เสียงแข็งหากต่อสัญญาเช่าอีก 30 ปี กทม.ต้องจ่ายผลตอบแทน 1.3 หมื่นล้านบาท ด้านรองผู้ว่าฯ กทม.เมินคำขู่ ขอจ่ายเรตเดียวกับค่าเช่า อ.ต.ก. 600 บาท/ตร.ม./ปี

เหลือเวลาปีเศษ สัญญาเช่าที่ดินบริเวณตลาดนัดจตุจักร เนื้อที่ 68-0- 95 ไร่ ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เช่าใช้ประโยชน์จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคม 2555 การเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่กำลังเป็นที่จับตามองว่า สุดท้าย ร.ฟ.ท.จะได้ผลตอบแทนมากน้อย เช่นเดียวกับที่ผู้ประกอบการและผู้ค้าที่เช่าแผงค้ากับกทม.กำลังลุ้นระทึกเพราะต้องจ่ายค่าเช่าแพงขึ้นกว่าเดิมแน่

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ร.ฟ.ท.มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สินตลาดนัดจตุจักรเนื้อที่ 68-0-95 ไร่ หรือ 109,180 ตร.ม.ใหม่ทั้งหมดแล้ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเจรจากับ กทม.ผู้เช่าเดิม ก่อนตัดสินใจว่าจะต่อสัญญาเช่าให้หรือไม่ หลังสิ้นสุดสัญญาวันที่ 1 มกราคม 2555 เพื่อให้สะท้อนราคาตลาดจริง ๆ จะไม่ใช่ราคาเดิมที่ได้ค่าเช่าจาก กทม.ตลอดอายุสัญญา 25 ปี เพียงแค่ 144 ล้านบาทเศษ เนื่องจากปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป มีศักยภาพสูงขึ้นมาก มีทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส ดังนั้นผลตอบแทนจะต้องมากกว่าเดิม เหมือนกับกรณีต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินให้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว

ร.ฟ.ท.ตั้งแท่นต่ออายุ 30 ปี 1.3 หมื่น ล.

"ผลประเมินออกมา เมื่อทรัพย์สินตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ทันทีหลังหมดสัญญาวันที่ 2 มกราคม 2555 มูลค่าอยู่ที่ 15,292 ล้านบาท ถ้าต่อสัญญาเช่าให้ กทม.อีก 30 ปี ร.ฟ.ท.ต้องได้ผลตอบแทนตลอดอายุสัญญา 13,177 ล้านบาท ทั้งหมดนี้จะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติก่อนเจรากับ กทม. หาก กทม.ยอมรับเงื่อนไขก็จบ แต่หากไม่รับราคานี้ เราจะบริหารเองโดยบริษัทลูก คือ บริษัท บริหารสินทรัพย์ฯที่ตั้งขึ้นภายใน ร.ฟ.ท."

ทั้งนี้ คำนวณคร่าวๆ ผลประโยชน์ ตอบแทน 13,177 ล้านบาท 30 ปี เฉลี่ยปีละ 440 ล้านบาท ขณะที่ปีสุดท้ายสัญญาเดิม (2555) กทม.จ่ายในอัตรา 24.2 ล้านบาท เท่ากับค่าเช่าใหมเพิ่มประมาณ 20 เท่า

ตัวเลขที่ออกมาทั้งหมด บริษัทที่ปรึกษาลงพื้นที่จริงและจัดเก็บข้อมูลโดยสำรวจราคาตลาดที่มีการเช่าจริงในปัจจุบัน ด้วยการสอบถามผู้ค้า ผลที่ออกมาปัจจุบันผู้ค้าจ่ายค่าเช่าแผงเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ในส่วนนี้บริษัทที่ปรึกษาได้จัดเก็บข้อมูลพร้อมจัดทำบัญชีและแผนผังการเช่าโดยแบ่งเป็นโซน ๆ ประเมินจากทรัพย์สินที่มีอยู่ คือ แผงค้ากึ่งถาวรใน 27 โครงการ 8,875 แผงค้า แผงค้าไก่ชน (เดิม) 85 แผงค้า นอกจากนี้ยังมีอาคารตัวแอล (แบ่งการใช้ประโยชน์เป็นธนาคารไทยพาณิชย์และร้านกาแฟดอยตุง) 1 อาคาร อาคารธนาคารออมสิน 1 อาคาร อาคารกองอำนวยการ (กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร ธนาคารทหารไทยและธนาคารกรุงเทพ) 1 อาคาร อาคารร้านภูฟ้า 1 อาคาร อาคารห้องน้ำ 8 อาคาร

"ในหลักการ ร.ฟ.ท.จะต่อสัญญาให้ ถ้า กทม.ยอมรับค่าเช่าใหม่ที่ประเมินออกมา ส่วนจะมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมจะต้องเจรจาร่วมกัน เช่น การแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าเช่า ร.ฟ.ท.ได้ตอบแทนในสัดส่วน 60% และ กทม. 40% เป็นต้น"

กทม.จ่าย 84 ล. แลกต่อสัญญาเช่า 30 ปี

แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2552 กทม.ได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ตกลงจ่ายค่าเช่าในอัตราใหม่ที่ค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2554 จากอัตราเดิมจ่าย 32 บาท/ตร.ม./ปี คือ 1.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2544-1 มกราคม 2551 อัตรา 64 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 24,688,832 บาท

2.ช่วงวันที่ 2 มกราคม 2551-1 มกราคม 2554 อัตรา 191.41 บาท/ตร.ม./ปี เป็นเงิน 59,233,888 บาท และค่าเช่าค้างจ่ายจาก กองอำนวยการตลาดนัดจตุจักร วันที่ 2 มกราคม 2552- 1 มกราคม 2554 วงเงิน 500,182 บาท รวมเป็นเงิน 84,422,902 บาท และ กทม.ได้ชำระเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมา พร้อมขอต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีก 30 ปี จาก 2 มกราคม 2555-2 มกราคม 2585

เช่าช่วงพุ่ง 1-5 หมื่นบาท/แผง/เดือน

"ปัญหาตลาดนัดจตุจักรคือ ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของแผงไม่ได้ค้าขายจริง แต่นำไปให้เช่าช่วง 2-3 ทอด ขณะที่ กทม.เก็บค่าเช่าจาก ผู้เช่าแผงราคาต่ำมากเฉลี่ย 120-2,600 บาท/แผง/เดือน ขึ้นอยู่กับทำเล แต่ผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของแผงนำไปปล่อยเช่าเฉลี่ย 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน ดังนั้น ค่าเช่าใหม่จะต้องไม่ต่ำจากนี้แน่นอน"

ทั้งนี้หาก กทม.ได้ต่อสัญญาเช่าก็จะต้องสังคายนาบัญชีชื่อผู้เช่าเดิมที่จดทะเบียน 8,875 แผงทั้งหมด เพราะถือเป็นการเริ่มสัญญาใหม่ และให้ผู้ค้ามาทำสัญญาเช่าโดยตรงกับ กทม.ในอัตราค่าเช่าใหม่ อาจจะอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท/แผง/เดือน เชื่อว่าผู้ค้าจะรับได้ เพราะปัจจุบันจ่ายค่าเช่าอัตรานี้อยู่แล้ว จะลดปัญหาเรื่องการเช่าช่วงได้ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้สอบถามผู้ค้าโนโซนทำเลดีเยี่ยมติดถนนพหลโยธิน ถนนกำแพงเพชร พบว่าค่าเช่าอยู่ที่ 10,000-30,000 บาท/แผง/เดือน ส่วนโซนระดับปานกลาง (ด้านใน)และมุมอับเฉลี่ย 5,000-10,000 บาท/แผง/เดือน ขณะที่บางแผงประกาศขายขาด โซนด้านใน 840,000 บาท/แผง โซนด้านนอก ๆ 1 ล้านบาท/แผง

กทม.ยันต่อสัญญาผู้เช่าเดิม

นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการตลาดนัดจตุจักร เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากับ ร.ฟ.ท. ขึ้นอยู่กับนโยบายผู้บริหาร ว่าจะยอมรับเงื่อนไขใหม่ได้มากน้อยแค่ไหน แต่กทม.ได้ชำระหนี้เก่าที่ค้างอยู่ 84 ล้านบาทแล้ว และให้ผู้เช่าในตลาดกว่า 10,000 แผง (จดทะเบียน 8,800 กว่าแผง ที่เหลือไม่ได้ขึ้นทะเบียน) จ่ายค่าเช่าเพิ่มเฉลี่ยแผงละ 8,100 บาท เป็นการจัดเก็บครั้งเดียว เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ต่อสัญญาเช่าตามที่ขอไป 30 ปี

"หลังได้ต่อสัญญา ร.ฟ.ท.คงปรับค่าเช่าเพิ่มแน่ เพราะเจรจาภายใต้เงื่อนไขใหม่ แต่จะได้ข้อสรุปอย่างไร ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เจรจา แต่หากปรับเพิ่มจะทำให้รายได้ตลาดเพิ่มจากเดิมปีละ 40-50 ล้านบาท"

"ยอมรับว่า ปัญหาการเช่าช่วงมี แต่จับไม่ได้ เพราะเวลาไปสอบถามจะได้รับแจ้งว่าเป็นญาติกัน ถ้าผมรู้จับไปหมดแล้ว ที่ผ่านมาหากทำผิดจะมีการปรับ เช่น เดิมจ่าย 120 บาท/แผง/เดือน จะเพิ่มเป็น 240 บาท/แผง/เดือน"

ด้านนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยว่า กทม.ทำตามเงื่อนไข ร.ฟ.ท. ที่แจ้งว่า เมื่อจ่ายหนี้ค้าง 84 ล้านบาท แล้วจะพิจารณาต่อสัญญาเช่าให้ 30 ปี แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อเจรจาสัญญาเช่าใหม่ แต่ที่ ร.ฟ.ท.ระบุว่า จะต้อง ได้ผลตอบแทนเหมือนกรณีห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว 10,000-20,000 ล้านบาท คิดว่าฝันไปหรือเปล่า ถ้าค่าเช่าสูงมากจนรับไม่ไหว กทม.ก็คงไม่ต่อสัญญา ให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินการเองดีกว่า เพราะจะอิงกับกรณีเซ็นทรัลไม่ได้ ต้องอิงกับอัตราค่าเช่าขององค์การตลาดกลางฯ (อ.ต.ก.) ที่ค่าเช่าอยู่ที่ 500-600 บาท/ ตร.ม./ปี เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2010 3:08 am    Post subject: Reply with quote

มาเฟียคุกคามผู้ค้าตลาดซันเดย์

เดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 06 สิงหาคม 2553 เวลา 14:48 น

ผู้ค้าตลาดซันเดย์ร้องถูกคุกคามวอนดีเอสไอรับคดีทุจริตที่ดิน ร.ฟ.ท.ดูแล

โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 6 สิงหาคม 2553 15:14 น.


วันนี้ (6 ส.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดนัดซันเดย์ นำโดย นายวิละ อุดม เข้าพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อขอให้รับคดีเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยทุจริต กรณีให้เช่าที่ดินในตลาดนัดซันเดย์ สวนจตุจักร โดยนายธาริต มอบหมายให้ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ รับคดีไว้สืบสวนข้อเท็จจริง พร้อมทั้งพิจารณาจัดเจ้าหน้าที่ไปดูแลคุ้มครองพยานที่อยู่ในข่ายถูกคุกคาม ให้ได้รับความปลอดภัยจากกลุ่มผู้มีอิทธิพล

พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า ตลาดนัดซันเดย์มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ โดยเป็นที่ดินของการรถไฟฯ มีร้านค้าที่เป็นห้องเช่าค้าขายจำนวน 450 ห้อง ร้านค้าหาบเร่ 120 แผง และรถเข็น 250 คัน ซึ่งการรถไฟฯเก็บค่าเช่าได้ 5-8 ล้านบาท ต่อเดือน แต่ยังมีเจ้าหน้าที่รัฐร่วมกับผู้มีอิทธิพลเดินข่มขู่เรียกเก็บค่าเช่าเพิ่มจากผู้ค้าทั้งรายวันและรายเดือน ทำให้ผู้ประกอบการรวมตัวเข้าร้องเรียนกับการรถไฟฯ จนกระทั่งการรถไฟฯได้ระงับสัญญา จากนั้นก็มีเหตุกลุ่มผู้มีอิทธิพลเข้าบุกรุกทำลายทรัพย์สิน เผาแผงค้า และใช้อาวุธยิงผู้ค้ากลางตลาด แต่ตำรวจไม่รับแจ้งความดำเนินคดีและไม่เข้าระงับเหตุตามที่ผู้ค้าร้องขอ กลับมีพฤติการณ์ข่มขู่ผู้ค้าไม่ให้แจ้งความ ซึ่งดีเอสไอจะเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย

ด้านนายวิละ กล่าวว่า คดีดังกล่าวกลุ่มผู้ค้าได้เข้าร้องทุกข์กับหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงาน ในส่วนของสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี มีความเห็นว่าไม่มีเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ หรือผู้บริหารการรถไฟฯคนใดเอื้อประโยชน์หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ขณะที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ตรวจสอบเชื่อว่ามีการทุจริตและใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของการรถไฟฯ ในส่วนของผู้ค้าที่ผ่านมาถูกข่มขู่และพยายามเอาชีวิต จนต้องร้องขอให้ดีเอสไอเข้ามาคุ้มครองพยาน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2010 3:09 am    Post subject: Reply with quote

ผู้โดยสารรถไฟโวยเก็บค่าห้องน้ำชุมทางหาดใหญ่ซ้ำซ้อน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 สิงหาคม 2553 12:37 น.


วันนี้(7 ส.ค.)ประชาชนที่ไปใช้บริการห้องน้ำสถานีรถไฟหาดใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเพราะต้องเสียค่าบริการเพิ่มขึ้นสองเท่าจาก 3 บาท เป็น6 บาท เนื่องจากมีการตั้งโต๊ะเรียกเก็บเงินค่าบริการหน้าห้องน้ำถึงสองจุดและต้องจ่ายจุดละ3 บาท ซึ่งประชาชนที่ใช้บริการทุกคนต่างงงและเกิดความไม่พอใจ

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากปัญหาสัญญาทับซ้อนระหว่างผู้เช่ารายเก่าและรายใหม่ ที่กำหนดให้ผู้เช่ารายเก่าต้องเก็บของภายในวันที่ 31 สิงหาคม ขณะที่ผู้เช่ารายใหม่ให้เข้าดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อนและเรียกร้องให้การรถไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาโดยด่วน

สำหรับปัญหาที่เกิดที่เกิดขึ้นขณะนี้นอกเหนือจากในส่วนของห้องน้ำแล้วยังมีในส่วนของร้านค้าร้านอาหาร การให้บริการขนและรับฝากส่งสินค้า ซึ่งผู้เช่าทั้งสองรายต่างส่งพนักงานมาทำงานซ้ำซ้อนและแย่งลูกค้ากัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2010 5:51 am    Post subject: Reply with quote

"โสภณ"ปิดทางกทม.ต่อสัญญา ผู้ค้าจตุจักรป่วน"ค่าเช่า-เซ้ง"วูบ

ข่าว หน้า 1
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 4234 วันที่ 9-11 สิงหาคม พ.ศ. 2553


สัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักร 68 ไร่ ที่มีคู่สัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินคือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่จะหมดอายุสัญญา 25 ปีแรก ในวันที่ 1 มกราคม 2555 แนวโน้มจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโผ เมื่อเจ้ากระทรวงคมนาคมสั่งชะลอการเจรจาต่อสัญญา

ดึงจตุจักรกลับสู่อ้อมอก "ร.ฟ.ท."

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตามที่ กทม.ทำหนังสือขอต่อสัญญาเช่าตลาดนัดจตุจักรออกไปอีก 30 ปี ขณะนี้ได้มอบนโยบายให้ ร.ฟ.ท.ชะลอการพิจารณาออกไปก่อน เนื่องจากต้องการให้ ร.ฟ.ท.นำที่ดินกลับคืนมาบริหารเอง

"ผมให้ ร.ฟ.ท.ศึกษาแนวทางว่าถ้าทำเองจะต้องมีกรอบยังไงบ้าง เพราะต่อไปตามโครงสร้างใหม่ของ ร.ฟ.ท.ที่จะเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะมีหน่วยธุรกิจด้านบริหารทรัพย์สินขึ้นมาเพื่อดูแลที่ดินและสัญญาเช่าของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมดอยู่แล้ว"

นายโสภณกล่าวว่า ร.ฟ.ท.ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยปีละกว่า 1,000 ล้านบาท การบริหารทรัพย์สินตลาดนัดจตุจักรถือเป็นทางเลือกในการเพิ่มรายได้ในอนาคต เนื่องจากทำเลตลาดนัดจตุจักรปัจจุบันเป็นทำเลที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงมาก มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดิน เป็นศูนย์กลางค้าปลีกค้าส่งที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ผู้ค้าหวั่นไม่ได้ต่อสัญญาเช่า

แหล่งข่าวจากผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร เปิดเผยว่า สัญญาเช่าระหว่าง กทม. กับ ร.ฟ.ท.เหลืออายุเช่าอีกเพียง 2 ปี บรรยากาศขณะนี้ผู้เช่าทั้งที่เป็นคู่สัญญาตรงกับ กทม.และผู้เช่าช่วงต่างก็มีความกังวลว่า กทม.จะได้ต่อสัญญาเช่า 30 ปีหรือไม่

จากความกังวลดังกล่าว ผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรจึงยินยอมปฏิบัติตามกฎกติกาที่กองอำนวยการตลาดจตุจักรเป็นผู้กำหนด แม้กระทั่งการเรียกเก็บเงินเฉพาะกิจพิเศษแผงละ 8,100 บาท เพื่อนำเงินมาสมทบจ่ายหนี้คืนให้กับ ร.ฟ.ท. วงเงินประมาณ 84 ล้านบาท เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทั้งที่ควรจะเป็นเงินของ กทม.ควักจ่ายหนี้เอง แต่กลับผลักภาระ มาให้กับผู้ค้า 8,800 แผง โดยวิธีเฉลี่ยจ่าย

อย่างไรก็ตามผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรก็ยอมจ่าย เพราะทาง กทม.ยื่นคำขาดว่า ถ้าผู้ค้าไม่ช่วยกันเฉลี่ยจ่ายหนี้ ก็จะไม่ได้สิทธิ์เช่าต่อหลังจาก กทม.เจรจาสำเร็จ

"จริง ๆ แล้วตอนนี้ก็มีแต่ กทม.ที่ยืนยันว่าการต่อสัญญาไม่มีปัญหา แต่เรายังไม่เห็นหรือได้ยินคำยืนยันจากเจ้าของที่ดินคือการรถไฟฯ ว่าจะต่อสัญญาให้หรือไม่ หรือถ้าต่อสัญญาจะได้ 30 ปีหรือไม่ เพราะแปลงใกล้ ๆ กันคือตลาด อ.ต.ก. ก็ได้ต่อสัญญาแค่ 10 ปี"

ค่าเช่า-ค่าเซ้งแผงลดฮวบ

แหล่งข่าวกล่าวถึงสถานการณ์ค่าเช่าในตลาดนัดจตุจักรด้วยว่า ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เหตุจลาจล และความกังวลเรื่องจะได้ต่อสัญญาหรือไม่ ทำให้อัตราค่าเช่าแผงค้าลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยจะเห็นว่ามีแผงค้าว่างเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้จำนวนแผงค้าในตลาดนัดจตุจักร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีสัญญาเช่ากับ กทม. ประมาณ 8,800 แผง และกลุ่มที่ไม่มีสัญญา (แผงลอย) ประมาณ 2,000 แผง ในจำนวนนี้มากกว่า 50% เป็นผู้เช่าช่วง

สำหรับค่าเช่า แหล่งข่าวกล่าวว่า เมื่อ 4-5 ปีที่แล้วเคยอยู่ที่ 18,000-25,000 บาท/แผง/เดือน ลดเหลือประมาณ 5,000-12,000 บาท/แผง/เดือน ในโซนที่คนเดินน้อย ขณะที่ก็ยอมรับว่าแผงห้องหัวมุมส่วนใหญ่ราคาไม่ตก ยืนราคาที่ประมาณ 22,000-25,000 บาท/แผง/เดือน

ขณะเดียวกันค่าเซ้งแผงหรือค่าเซ้งสิทธิ์ราคาก็ตกลงเช่นกัน แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจดี ค่าเซ้งแผงขั้นต่ำจะเป็นหลักหลายแสนจนถึง 1 ล้านบาท ล่าสุดจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่ามีการประกาศลดราคาค่าเซ้งแผงเหลือ 840,000 บาท คาดว่าเป็นเพราะสิทธิ์การเช่าแผงเหลือเพียง 2 ปีนั่นเอง

กทม.เตรียมจัดโซนนิ่งผู้ค้าใหม่

นายอรุณ ศรีจรูญ ผู้อำนวยการ กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (ตลาดนัดจตุจักร) หน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กำลังจะของบประมาณจากผู้บริหาร กทม. นำมาจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจผู้ค้าและแผงค้าในตลาดนัดจตุจักร เพื่อเก็บข้อมูลลงลึกรายละเอียดว่า ปัจจุบันมีการเปลี่ยนประเภทสินค้าหรือไม่ มีการปล่อยให้เช่าช่วงจำนวนกี่แผง มีราคาเช่าช่วงเท่าไหร่ รวมถึงสภาพแผงค้า ปัญหาความเดือดร้อน และความต้องการของผู้ค้า

ข้อมูลทั้งหมดจะนำมาแก้ไขปัญหา และทำแผนพัฒนาตลาดนัดจตุจักรระยะยาว ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นด้วยกับแนวทางนี้ หากได้รับการอนุมัติงบประมาณ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาสำรวจประมาณ 3 เดือน โดยบางส่วนอาจจะนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการเจรจาต่อสัญญาเช่า 30 ปี กับทาง ร.ฟ.ท.ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2010 9:17 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมตั้งทีมสำรวจบุกรุกที่รถไฟ
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 14 สิงหาคม 2553 - 00:00

นายประกิจ พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่เขตทางรถไฟให้นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม พิจารณา
โดยให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดการจัดตั้งสำนักงานกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟขึ้นก่อนที่จะมีการบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) วันที่ 1 ต.ค.2553 นี้ เพื่อดำเนินการตรวจสอบที่ดินทั้งหมดทั่วประเทศว่ามีการบุกรุกจำนวนเท่าไร
"เราไม่รู้ว่า ร.ฟ.ท.มีที่ดินทั้งหมดเท่าไร จะทราบหลังจากที่มีการขอคืนพื้นที่จากผู้บุกรุก ดังนั้น การจัดตั้งสำนักดังกล่าวเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจตรวจสอบว่าพื้นที่จริงของ ร.ฟ.ท.ทั่วประเทศมีจำนวนเท่าไร และมีพื้นที่ไหนบ้างที่ถูกบุกรุก รวมถึงแปลงไหนที่สามารถพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.ได้ ก่อนที่จะมีการออกเอกสารตามกฎหมายที่ดิน" นายประกิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าปัญหาในการจัดการปัญหาผู้บุกรุกในพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.มาจากเจ้าหน้าที่ของ ร.ฟ.ท.ในแต่ละท้องถิ่นปล่อยปละละเลยไม่เข้าไปตรวจสอบ ทำให้มีการเข้าไปบุกรุกในพื้นที่เพิ่มขึ้น 10% ต่อปี
นายประกิจกล่าวว่า ช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้ คณะกรรมการฯ เตรียมประชุมเพื่อพิจารณาสัญญาเช่าพื้นที่ระหว่าง ร.ฟ.ท.กับเอกชน โดยเฉพาะพื้นที่แปลงใหญ่ๆ ในเขตกรุงเทพฯ เช่น ที่ดินย่านพหลโยธิน ว่ามีสัญญาของรายใดที่กำลังจะหมดอายุสัญญา และที่หมดอายุไปแล้ว รวมถึงสัญญาใดที่อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาเช่าใหม่ เพื่อรวบรวมรายละเอียดเสนอไปยังคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณา
ก่อนหน้านี้ นายสุพจน์สั่งการไปยังฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.ให้เร่งจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน โดยเฉพาะที่ดินในเขตเมือง ก่อนสรุปและเตรียมบรรจุเข้าสู่การบริหารงานของหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท.วันที่ 1 ต.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2010 9:19 am    Post subject: Reply with quote

หนังชีวิตเรื่องยาว "ที่เช่า" ตลาดนัดจตุจักร
หน้า 10 ประชาชาติธุรกิจ
ปีที่ 34 ฉบับที่ 4236 วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลายเป็นโปรเจ็กต์คลื่นใต้น้ำสำหรับความพยายามในการ ต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดนัดจตุจักร 68 ไร่ ระหว่างคู่สัญญาคือ กทม. (กรุงเทพมหานคร) ในฐานะผู้เช่า กับ ร.ฟ.ท. (การรถไฟแห่งประเทศไทย) ในฐานะผู้ให้เช่า หรือเจ้าของที่ดิน

3 เส้า "ร.ฟ.ท.-กทม.-ผู้ค้า"

สัญญาเช่าจะหมดอายุ 25 ปีในวันที่ 1 มกราคม 2555 ข้อตกลงระหว่างกันคือถ้าจะมีการต่อสัญญาเช่าจะต้องเจรจาให้จบภายใน 5 ปีก่อนหมดอายุสัญญา นั่นหมายความว่า ถ้าการต่อสัญญาทำได้อย่างราบรื่น สัญญาเช่าจะต้องมีข้อยุติให้ต่ออายุได้ตั้งแต่ปี 2550

แต่กระทั่งบัดนี้ การเจรจาก็ยังไม่ได้ ข้อยุติ แถม รมว.คมนาคมคนปัจจุบัน "โสภณ ซารัมย์" นักการเมืองสังกัดพรรคภูมิใจไทย ออกมาส่งแรงกระเพื่อมให้หนักข้อขึ้นไปอีก ด้วยการให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สั่งให้ ร.ฟ.ท.ชะลอการเจรจาออกไปก่อน โดยต้องการให้ทบทวนนำที่ดินกลับคืนมาบริหารเอง เพื่อสร้างรายได้เข้าองค์กร

ประเด็นคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่คู่สัญญา "กทม.-ร.ฟ.ท." เท่านั้น หากแต่ยังนับรวมถึงบุคคลที่ 3 อันได้แก่พ่อค้า-แม่ค้าที่เป็นคู่สัญญาเช่าแผง ต่อจาก กทม.อีกทอดหนึ่ง

วันนี้เราจะตามไปดูว่า ในกลุ่มผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรนั้น "ไผเป็นไผ" และพวกเขาอยู่กันยังไง



1 หมื่นแผงในตลาดนัดจตุจักร

"อรุณ ศรีจรูญ" ผู้อำนวยการวัย 65 ปี กองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร (ตลาดนัดจตุจักร) ชี้แจงว่า ตลาดนัดจตุจักรมีการแบ่งแผงที่ผู้ค้าขึ้นทะเบียนประมาณ 8,800 แผง และผู้ค้าที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน (แผงลอย) อีกประมาณ 2,000 แผง เท่ากับในตลาดนัดทุกวันนี้มีแผงค้ามากกว่า 10,000 แผง

ถามถึงรายได้สุทธิที่ กทม.ได้รับจากผู้เช่าทั้ง 2 ประเภท "ผอ.อรุณ" ถึงกับถอนหายใจและกล่าวแต่เพียงว่า "รายได้เล็กน้อยมาก แค่ปีละ 40-50 ล้านบาทเท่านั้น"

ทั้งนี้ ผู้ค้าทั้งหมดในตลาดนัดจตุจักร จะมีอัตราค่าเช่าที่แตกต่างกัน เริ่มต้นที่ 120 บาท/แผง/เดือน (1 แผงเท่ากับ 5 ตารางเมตร) จนถึง 2,640 บาท/แผง/เดือน

"จริง ๆ แล้วทุก ๆ แผงมีค่าเช่าเริ่มต้นเท่ากันหมดคือ 120 บาท/แผง/เดือน กรณีที่มีการทำผิดสัญญาหรือทำผิดระเบียบ เช่น ค้างค่าเช่า เปลี่ยนสิทธิ์กันเอง ปล่อยเช่าช่วงไม่แจ้ง ฯลฯ ก็จะถูกปรับในอัตราครั้งละ 120 บาท ยกตัวอย่าง ค่าเช่าแผงละ 2,640 บาท แสดงว่าถูกปรับผิดสัญญาเช่า 22 ครั้ง" แหล่งข่าวผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรไขข้อข้องใจให้ฟัง

"ใคร" เป็นผู้กำหนดอัตราค่าเช่า

แหล่งข่าวผู้ค้ารายเดิมให้ข้อมูลว่า จำนวนแผงกว่า 10,000 แผงนั้น ประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็นกลุ่มร้านค้าที่เช่าช่วงจากเจ้าของสิทธิ์หรือผู้ค้าที่ขึ้นทะเบียนเป็นคู่สัญญากับ กทม. ก่อนหน้านี้ อัตราค่าเช่าช่วงเคยสูงตั้งแต่ 18,000 บาท/แผง/เดือนโซนในซอย และ 25,000 บาท/แผง/เดือนในโซนห้องหัวมุมและทำเลดีเยี่ยม

ล่าสุด ยอดขายชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบให้อัตราค่าเช่าลดลงต่อเนื่อง โดยโซนลึกในซอยจะหล่นเหลือ 5,000-6,000 บาท/แผง/เดือน โซนทำเลกลาง ๆ เหลือประมาณ 12,000 บาท/แผง/เดือน ขณะที่โซนห้องหัวมุมยังยืนราคา 22,000-25,000 บาท/แผง/เดือน

ขณะที่แหล่งข่าวผู้ค้าสินค้าเสื้อผ้าและแฟชั่นยืนยันว่า อัตราค่าเช่าช่วงจะอยู่ระหว่าง 10,000-50,000 บาท/แผง/เดือน โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะมีทั้งคนไทยและพ่อค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาเลือกช็อปสินค้าแฟชั่นราคาถูกจากเมืองไทยส่งกลับไปขายในต่างประเทศ

แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับเจ้าของห้องมือแรกที่ยังประกอบกิจการอยู่ จะมีความได้เปรียบเรื่องค่าเช่าที่จ่ายอยู่ที่ 120 บาท/แผง/เดือน ดังนั้นถ้ามียอดขายสัปดาห์ละ 10,000 บาทก็อยู่ได้ แต่ถ้าค่าเช่าระดับหลัก 10,000 บาทขึ้นไป รายได้ต่อเดือน (8 วัน) ต้องไม่ต่ำกว่าแสนบาทถึงจะอยู่ได้ แต่ถ้าไม่ถึง...โอกาสรอดก็ยาก

"ค่าเซ้งแผง" ราคาฮวบไม่ถึง 1 ล้าน

นอกจากนี้ มีเจ้าของห้องลักษณะแบบ "เซ้งสิทธิ์" โดยการยอมที่จะจ่ายแพงเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์เช่ากับ กทม.โดยตรงในระยะยาว ส่วนใหญ่จะอยู่ทำเลที่ดี มีคนเดินจำนวนมาก ค่าเซ้งจะอยู่ที่ประมาณหลักแสนบาทขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาท

"แต่ราคาเซ้งจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาเช่าด้วย อย่างปัจจุบันที่ระยะเวลาเช่าระหว่าง ร.ฟ.ท.กับ กทม.ที่เหลือน้อยลง ค่าเซ้งสิทธิ์ก็จะลดลงตามลำดับ เพราะผู้เซ้งสิทธิ์ยังคงมีความเสี่ยงว่า กทม.จะได้ต่อสัญญาอีกหรือเปล่า หรือถ้าต่อ อัตราค่าเช่าจะเป็นเท่าไหร่"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา พบว่าอัตราค่าเซ้งสิทธิ์จากเดิมเคยตั้งไว้ 1 ล้านบาท/แผง ลดเหลือ 840,000 บาท/แผง โดยทางเจ้าของแผงมีโปรโมชั่นจะออกค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้หมด อาทิ ค่าวางของ ภาษีโรงเรือน ฯลฯ

ทั้งหมดนี้ เป็นราคาค่าเช่าช่วง-เซ้งแผงในปัจจุบัน บนความคาดหวังว่า กทม.จะได้ต่อสัญญาเช่าออกไปอีก 30 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2010 10:45 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฯเปิดหน้าดินแสนล้านย่านกม.11 ให้เอกชนร่วมลงทุนระยะยาว 30 ปี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:20:14 น.

นายทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นโครงการพัฒนาที่ดินทำเลพหลโยธินบริเวณ ก.ม. 11 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งโครงการมีพื้นที่ 359 ไร่

ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้เป็นทำเลที่มีศักยภาพมาก ใกล้แหล่งความเจริญและการคมนาคมสะดวก

ทิศเหนือจดแนวลำรางสาธารณะและถนนวิภาวดีรังสิตจนถึงถนนกำแพงเพชร 2
ทิศใต้จดสวนรถไฟ
ทิศตะวันออกจดพื้นที่กลุ่มอาคารสำนักงานใหญ่บริษัท ปตท. จำกัดและบริษัทในเครือยาวไปถึงถนนวิภาวดีรังสิต ศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ทิศตะวันตกจดถนนกำแพงเพชร 2 เชื่อมไปสู่สถานีขนส่งหมอชิตและใกล้จุดขึ้น-ลงทางด่วนศรีรัช (ขั้นที่ 2)

"ตอนนี้ศูนย์พลังงานแห่งชาติหรือเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์เปิดใช้แล้ว ต่อไปจะมีรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และย่านบางซื่อจะเป็นสถานีกลางรถไฟฟ้าทุกสาย จะยิ่งทำให้ทำเลมีศักยภาพมากขึ้นและพัฒนาได้เร็วขึ้น ที่สำคัญการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนี้ตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สีแดง พัฒนาได้เต็มที่ทั้งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย"

นายทวีศักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันบริเวณนี้ ร.ฟ.ท.ได้ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานรถไฟฯระดับต่าง ๆ มีทั้งแฟลตจำนวน 983 ครอบครัว บ้านเดี่ยว 72 ครอบครัว และเรือนแถว 876 ครอบครัว ที่ทำการศาลาอเนกประสงค์ อาคารเรียนสำหรับเด็กอ่อน คลับเฮาส์ สนามซ้อมกอล์ฟ พื้นที่ 35 ไร่ ฝ่ายบริหารงานบุคคลด้านฝึกอบรม บริเวณสำนักงานฝึกอบรมและพัฒนา โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ พื้นที่ 58 ไร่

"ผลการศึกษาพื้นที่ทั้งหมด 359 ไร่ เป็นถนนภายในโครงการ 86 ไร่ มีถนนสายหลักขนาด 6 ช่องจราจรเชื่อมถนนวิภาวดีรังสิตกับถนนกำแพงเพชร 2 ถนนสายรองขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมถนนสายหลักภายในโครงการ และทางลอดขนาด 4 ช่องจราจรจะอยู่ระหว่างสนามฝึกซ้อมกอล์ฟกับสวนรถไฟ ต่อไปจะมีโมโนเรลวิ่งภายในโครงการเชื่อมสถานีขนส่งหมอชิต รถไฟฟ้าบีทีเอสและใต้ดินที่จตุจักรและบางซื่อด้วย"

สำหรับพื้นที่ที่เหลืออีก 273 ไร่ จะพัฒนาเป็นอาคารสูง ในรูปแบบผสมผสาน หลัก ๆ มีสปอร์ตคลับ สนามไดรฟ์กอล์ฟ พื้นที่สันทนาการ ที่อยู่อาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน เป็นต้น มีทั้งหมด 6 เฟส โดยเฟสแรกเป็นด้านติดสวนรถไฟ พื้นที่ 81.15 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารสปอร์ตคอมเพล็กซ์ มีสโมสรกีฬา สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ สนามกีฬาและพื้นที่สำหรับสันทนาการ

เฟสที่ 2 พื้นที่ตามแนววางรางสาธารณะเชื่อมต่อกับถนนกำแพงเพชร 2 ถึงถนนวิภาวดีรังสิต 55.72 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารพักอาศัยและที่ทำการของพนักงานการรถไฟฯ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนที่ติดกับถนนวิภาวดีรังสิตเป็นที่ตั้งของกระทรวงพลังงาน

เฟสที่ 3 พื้นที่ 59 ไร่ บริเวณที่พักพนักงานรถไฟฯพัฒนาเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับโครงการเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กลุ่มอาคารสำนักงานด้านธุรกิจพลังงาน และศูนย์กลางทางธุรกิจระดับสากล

เฟสที่ 4 พื้นที่ 67.42 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ส่วนกลางโครงการสำหรับสวนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง พร้อมอาคารร้านค้าและคอนโดมิเนียมพักอาศัยรองรับพนักงานการรถไฟฯและแหล่งงาน

เฟสที่ 5 พื้นที่ใกล้กับถนนกำแพงเพชร 2 พื้นที่ 57.53 ไร่ พัฒนาเป็นกลุ่มอาคารศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้าและโรงแรม รองรับกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการและการประชุมของกลุ่มผู้ใช้งานทั้งในและนอกโครงการ และเฟสที่ 6 พื้นที่ 38.29 ไร่ ติดกับทางด่วนขั้นที่ 2 พัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และสถานบันเทิงครบวงจร

นายทวีศักดิ์กล่าวว่า คาดว่าทั้งหมดจะใช้เงินลงทุนร่วม 1 แสนล้านบาท เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ เฉพาะราคาประเมินที่ดินบริเวณนี้มูลค่าสูงร่วมหลายหมื่นล้านบาท แนวทางการพัฒนาจะเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน โดย ร.ฟ.ท.ให้เช่าระยะยาว 30 ปี รวมช่วงก่อสร้างอีก 4 ปี ทั้งหมด 34 ปี โดยจะพิจารณาตาม พ.ร.บ.การเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) เนื่องจากมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท เหมือนกับกรณีการเช่าของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ส่วนผลตอบแทนที่ ร.ฟ.ท.จะได้ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชน แต่คาดว่าไม่ควรจะได้ต่ำกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ ร.ฟ.ท.ได้รับจากการต่อสัญญาเช่าของห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2010 11:30 am    Post subject: Reply with quote

เปิดกรุที่ดินทั่วประเทศ king power เล็งฮุบ ทำเลทองรถไฟ!

โดย ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ 18 สิงหาคม 2553 19:02 น.


ที่ดินผืนงามของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ที่มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนกว่า 234,976 ไร่ กำลังจะถูกรฟท.นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างรายได้เข้าองค์กรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ที่ดินหลายแปลงที่มีศักยภาพไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถสร้างรายได้เข้าองค์กรมากนัก

ปัจจุบันรฟท.ใช้ที่ดินเพื่อรองรับกิจการของรฟท.จำนวนรวม 198,674 ไร่ และเป็นที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ จำนวน 36,302 ไร่

โดยที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์นั้น แบ่งเป็นพื้นที่บริเวณสายตะวันออกจำนวน 4,952 ไร่ สายเหนือ 4,306 ไร่สายตะวันออกเฉียงเหนือ 9,032 ไร่ สายใต้ 15,186 ไร่และพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2,825 ไร่โดยที่ดินในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ มีหลายแปลงที่อยู่ในไพร์ม แอเรีย สามารถนำมาพัฒนาเป็นย่านธุรกิจ หรือคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ได้

อาทิ ที่ดินย่านพหลโยธิน สถานีมักกะสัน สถานีแม่น้ำ และรัชดาภิเษก ซึ่งรฟท.หมายมั่นปั้นมือว่าที่ดินในกรุงเทพฯจะสามารถสร้างรายได้ให้กับรฟท.อย่างมหาศาล และจะสามารถลดภาระหนี้สินของรฟท.ที่มีอยู่กว่า 77,000 ล้านบาท ลงได้ ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า หลังจากที่เปิดให้เอกชนเช่าและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

ทวีศักดิ์ สุทธิเสริม ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. ) กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ว่า "การนำที่ดินของรฟท.มาจัดหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะถูกคัดค้านจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ(สร.รฟท.) เพราะเกรงว่าภาคเอกชนจะเข้ามาหาผลประโยชน์ในรฟท.ทำให้รฟท.เสียโอกาสในการหารายได้จากที่ดินทำเลทองมานานหลายปี แต่จากนี้ไป รฟท.จะไม่ยอมเสียโอกาสทองเช่นนี้อีกต่อไป และจะนำที่ดินแปลงงามทุกแปลงออกมาให้เอกชนเช่าพัฒนา หรือร่วมทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะและรูปแบบของที่ดิน รวมถึงความเหมาะสมของการลงทุน"

ปัจจุบันรฟท.อยู่ระหว่างรวบรวมที่ดินที่มีศักยภาพสูง เพื่อนำออกมาให้เอกชนเช่า ซึ่งเฉพาะในเขตกรุงเทพฯมีที่ดินแปลงใหญ่ ตั้งอยู่ในทำเลกลางเมือง 4 แปลง ได้แก่ พื้นที่บริเวณสถานีแม่น้ำ ขณะนี้กำหนด TOR เรียบร้อยแล้ว ที่ดินบริเวณพหลโยธิน ซึ่งอยู่ระหว่างการรอสนข.สรุปผลการใช้พื้นที่ของรถไฟฟฟ้าสายสีแดง พื้นที่บริเวณสถานีมักกะสัน และบริเวณถนนรัชดาภิเษกซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่มีหลายแปลง

เนรมิต"สถานีแม่น้ำ" - ศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่

เริ่มจากที่ดินบริเวณสถานีแม่น้ำ ซึ่งมีพื้นที่มากถึง 279 ไร่ ราคาประเมินสูงถึง 5,245.20 ล้านบาท โดย รฟท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการพัฒนาสถานีแม่น้ำ ซึ่งที่ปรึกษาได้ออกแบบให้ในพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางย่านเศรษฐกิจใหม่ เพราะที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความยาวถึง 1,400 เมตร อยู่ใกล้กับเขตเศรษฐกิจเดิม คือบริเวณช่องนนทรีและยานนาวา การเดินทางสะดวกเชื่อมต่อกับถนนและทางพิเศษ เชื่อมต่อกับศูนย์กลางทางธุรกิจและสนามบินสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และรถไฟฟ้า BTS ส่วนทางเรือจะเชื่อมต่อกับศูนย์กิจกรรมทางน้ำของกทม.และต่างจังหวัด

ผลการปรึกษาของที่ปรึกษาจะให้พัฒนาเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ภายในโครงการจะมีทั้งโรงแรม ภัตตาคารลอยฟ้า อาคารสำนักงานสีเขียวในอาคารสูงใช้งานแบบผสมผสาน แหล่งประชุมสัมมนาริมน้ำ ย่านการค้าและแหล่งบันเทิง สิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่จอดเรือสำราญ ท่าเทียบเรือสำราญ และพื้นที่ริมแม่น้ำจะเนรมิตให้อยู่ในรูปแบบของกรุงเทพฯย้อนยุคในลักษณะเวนิสตะวันออก

เล็งพัฒนาอาคารสูง100 ชั้น ที่ สถานีแม่น้ำ - ลบสถิติ"ใบหยกทาวเวอร์"

โดยที่ปรึกษาแบ่งการพัฒนาออกเป็น 5 โซน โซนแรกเป็นกลุ่ม LANDMARK เป็นอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษสูง 100 ชั้น หรือสูงถึง 350 เมตร ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จจะเป็นอาคารที่สูงที่สุดในกรุงเทพฯ สูงกว่าอาคารใบหยกที่สูงที่สุดในปัจจุบันซึ่งมีความสูงเพียง 328 เมตร อาคารดังกล่าวจะถูกใช้งานแบบผสมผสาน และในอนาคตจะเป็น LANDMARK ของกรุงเทพฯประกอบด้วย โรงแรมระดับ 6 ดาว อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม สัมมนา ที่พักอาศัย ศูนย์กลางพาณิชย์กรรมและศูนย์บริการนักท่องเที่ยว การแสดงสินค้าธุรกิจการค้า และพื้นที่เว้าอ่าวที่เปิดเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งมีท่าเรือข้ามฟากเชื่อมไปยังพื้นที่สีเขียวบางกระเจ้า

โซนที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มพาณิชย์กรรมค้าปลีกและศูนย์กิจกรรมเชิงประสบการณ์ ประกอบด้วย อาคารสูง 70 ชั้น หรือ250 เมตร ร้านค้าริมทางเดินติดชายหาดเทียม และสระว่ายน้ำอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่พาณิชย์กรรมค้าปลีกและศูนย์กิจกรรม ทั้งด้านบันเทิง ด้านการสร้างสรรค์ ร้านอาหาร ภัตตาคาร สปาคลับ ธุรกิจทางด้านการดูแลรักษาสุขภาพแบบครบวงจร ศูนย์สุขภาพ และอาคารใช้งานแบบผสมผสาน จะใช้ประโยชน์เป็นทั้งอาคารสำนักงาน และสถานที่บริการทางด้านสุขภาพและการแพทย์โรงแรม โรงแรมบนอาคารสูง มีห้องอาหารชั้นลอยฟ้าสำหรับผู้มาใช้บริการ และนักท่องเที่ยวทั่วไป รวมทั้งที่พักอาศัย มีทางเดินริมชายหาดเทียมที่ยาวที่สุดในประเทศไทย อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยาว 550 เมตร บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศใต้เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เป็นศูนย์จัดการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆทั้งด้านดนตรี ละคร นิทรรศการศิลปะ และเป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม

โซนที่ 3 กลุ่มพื้นที่สำหรับการค้าชุมชนและย่านการค้าบริการสังสรรค์ริมคลอง อู่บริเวณริมคลองขุดด้านทิศเหนือ เป็นย่านที่จัดเป็นธุรกิจการค้าระดับชุมนุม สินค้าหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ ของขวัญของที่ระลึก ร้านอาหารตามแนวริมคลอง การล่องเรือเรือนแพ และการแสดงบนแพ ฯลฯ

โซนที่ 4 กลุ่มอาคารสำหรับพักอาศัยเกรดเอ ประกอบด้วย กลุ่มคอนโดมิเนียม หรือ กลุ่มอาคารพักอาศัยที่อยู่ใกล้คลองขุดและเชื่อมโยงไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

โซนที่ 5 กลุ่มเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์และศูนย์การค้า ภายในประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และที่พักพักอาศัย โดยรอบมีลานกิจกรรมริมน้ำเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสามารถพัฒนาให้เชื่อมต่อกับบริเวณสวนหย่อม โดยรอบบึงปลายคลองขุดได้อีกด้วย

มักกะสันทำเลทอง - แหล่งรับนักท่องเที่ยว

สำหรับพื้นที่บริเวณมักกะสันเป็นที่ทำเลทองแห่งหนึ่งที่บรรดานักลงทุนต่างมีความพยายามที่จะเข้ามาลงทุน เพราะที่ดินตั้งอยู่กลางเมืองติดสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิ้งค์ มีพื้นที่มากถึง 571 ไร่ ราคาประเมินสูงถึง 22,840 ล้านบาท หากรฟท.นำที่ดินแปลงนี้ออกมาให้ภาคเอกชนประมูล รฟท.จะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 2,971 ล้านบาท ค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 364 ล้านบาท และจะสร้างผลตอบแทนให้ รฟท. รวม 12,000 ล้านบาท โดยมีอายุสัญญา 5+30+25 ปี ขณะนี้บริษัท ไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด (TEC) อยู่ระหว่างปรับปรุงผลการศึกษา ซึ่งในเบื้องต้นแบ่งการพัฒนาเป็น 4 โซน ได้แก่

โซน A มีพื้นที่ 140 ไร่ มูลค่า 8,389 ล้านบาท เป็นส่วนธุรกิจเชิงพาณิชย์ประกอบด้วย City Air Terminal ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์ประชุมสัมมนา อาคารสำนักงาน และอาคารที่จอดรถ

โซน B พื้นที่ 117 ไร่ มูลค่า 7,038 ล้านบาท ส่วนอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน สถาบันการเงิน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อุตสาหกรรมของรัฐและศูนย์แสดงสินค้า

โซน C พื้นที่ 151 ไร่ มูลค่า 9,084 ล้านบาท ส่วนแสดงสินค้า (Exhibition Zone) ประกอบด้วยศูนย์แสดงสินค้าระดับนานาชาติ เซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ โรงเรียนนานาชาติ และเอ็กซิบิชั่นเซ็นเตอร์

โซน D พื้นที่ 88ไร่ มูลค่า 5,314 ล้านบาท ส่วนบางกอกแฟชั่น(Bangkok Fashion Zone) ประกอบด้วย โรงแรม สำนักงาน และเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์

"พหลโยธิน"เชื่อมจัตุจักร - ย่านธุรกิจ-แหล่งบันเทิง

สำหรับที่ดินบริเวณพหลโยธินเป็นอีกหนึ่งทำเลที่นักลงทุนสนใจเข้าลงทุน เพราะตั้งอยู่ใกล้กับสวนจัตุจักร ติดกับสวนรถไฟ ถนนกำแพงเพชร 2 ทางด่วนพิเศษศรีรัช และถนนวิภาวดีรังสิต มีพื้นที่ 2,083 ไร่ ราคาประเมิน 41,660 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างรอสรปุผลการใช้พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีแดงจากสนข. โดยปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวใช้ในกิจกรรมของ รฟท. ที่พักอาศัยและร้านค้า แต่รฟท. จะจัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินใหม่ โดยจะใช้พื้นที่เพื่อรองรับกิจการของรฟท. ทั้งที่ทำการ และที่พักอาศัยสำหรับพนักงาน พื้นที่เพื่อนันทนาการ ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า คลับเฮ้าส์ โรงแรม อาคารสำนักงาน พาณิชย์กรรม และอาคารที่จอดรถ

ปัจจบันบริเวณดังกล่าว จะเป็นแหล่งธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง ในรูปแบบร้านปลีกและค้าส่ง ทั้งขายสินค้าของตกแต่งบ้าน ต้นไม้ ร้านอาหารและสถานบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะหมดอายุสัญญาในเดือนมีนาคม 2555

ความต้องการเช่าทำเลดังกล่าว เพราะในอนาคตอันใกล้จะทำให้ย่านพหลโยธินเป็นศูนย์กลางคมนาคมบริเวณสถานีบางซื่อ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีเขียวบริเวณสถานีจตุจักร อีกทั้ง รฟท. ยังเห็นว่าควรมีระบบรถไฟรางเดี่ยว(Mono Rail) เชื่อมต่อพื้นที่ทั้งหมดมีสถานีหมอชิต 2 บริเวณศูนย์พลังงานแห่งชาติ ซึ่งจะทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น

นักพัฒนาจ้องฮุบที่ดินที่ทำเลทอง

แหล่งข่าวจากวงการพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ด้วยทำเลที่มีศักยภาพของที่ดินหลายแปลง โดยเฉพาะแปลงมักกะสัน สถานีแม่น้ำและพหลโยธิน ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและข้ามชาติ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ค้าปลีก เอ็นเตอร์เมนท์ ต่างสนใจเข้าลงทุนในพื้นที่เหล่านั้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วิชัย รักศรีอักษร เจ้าของอาณาจักร คิง เพาเวอร์ กลุ่มบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กลุ่มแสนสิริ และอีกหลายกลุ่มที่หากเอ่ยชื่อขึ้นมาล้วนเป็นที่รู้จักทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแปลงมักกะสัน และพหลโยธิน ที่กลุ่มคิง เพาเวอร์มีความสนใจเข้าลงทุนอย่างมาก เพราะวิชัยเองมีธุรกิจหลายอย่างที่สามารถเข้าไปลงทุนได้ เช่น ร้านค้าปลอดภาษีและโรงแรม ซึ่งที่ดินแปลงมักกะสันนั้น ในอนาคตจะเป็นย่านเศรษฐกิจแห่งใหม่ ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางเมือง ซึ่งจะมีทั้งที่พักอาศัย ร้านค้าปลอดภาษี โรงแรม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ศูนย์ประชุม สัมมนา ซึ่งล้วนแต่เป็นธุรกิจที่วิชัยมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังจะสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลวิชัยจึงต้องการเข้าไปลงทุน

เช่นเดียวกับที่ดินบริเวณพหลโยธิน ย่านจตุจักร ที่ในอนาคตจะเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญ เพราะจะเชื่อมต่อกับจตุจักร และห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว วิชัยก็สนใจจะเข้าไปลงทุนเช่นเดียวกัน โดยทวีศักดิ์ บอกว่า ปัจจุบันมีหลายสัญญาที่หมดอายุสัญญาเช่าแล้ว และบางสัญญากำลังจะครบอายุสัญญา รฟท. จะนำพื้นที่มาจัดประโยชน์ใหม่ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ มีทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม ศูนย์ประชุมสัมมนา ค้าปลีก และอาจจะเป็นแหล่งสันทนาการและบันเทิงด้วย

โอกาสทอง"วิชัย" - อาศัยบารมี "เนวิน"

โดยแหล่งข่าวบอกว่า โอกาสที่วิชัยจะเข้าไปลงทุนมีมาก เพราะปัจจุบันนี้ นอกจากกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมาแล้ว กลุ่มคิง เพาเวอร์ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าจับตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ซึ่งของวิชัยจะปรากฏขึ้นเกือบทุกครั้งว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง นั่นเป็นเพราะว่าวิชัยมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับระดับบิ๊กๆในรัฐบาลและบิ๊กทหาร โดยเฉพาะเนวิน ชิดชอบ เจ้าของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีเพาเวอร์สูงในรัฐบาลนี้ ที่สำคัญวิชัยเองยังมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจเหล่านั้น รวมถึงมีชื่อเสียงและมีแหล่งเงินทุนจำนวนมากพอพร้อมที่จะลงแข่งขันกับนักลงทุนทุกราย เพื่อให้ได้ครอบครองพื้นที่ทั้ง 2 แปลง

"ที่ดินบริเวณมักกะสัน และพหลโยธินมีศักยภาพสูง และสูงกว่าบริเวณซอยรางน้ำซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรคิง เพาเวอร์ ฉะนั้น วิชัยจะต้องชนะการประมูลแน่นอน หากรฟท.เปิดให้เอกชนเข้าลงทุน"แหล่งข่าวระบุ

สำหรับที่ดินของ รฟท.นั้น หากวิชัยสนใจเข้าไปลงทุนคงไม่ใช่เรื่องยากนัก เพราะ รฟท. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ซึ่งเจ้ากระทรวงคือ โสภณ ซารัมย์ เด็กสายตรงจากเนวินที่ส่งมาคุมกระทรวงเกรดเอ ที่สามารถสร้างเงินเข้ากระเป๋าได้อย่างมหาศาล ไม่ไช่เฉพาะแค่ที่ดินของรฟท.เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเข้าลงทุนในพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าที่จะมีขึ้นในอนาคตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่นานเท่าไหร่ โอกาสที่วิชัย จะได้เข้ามาหาผลประโยชน์ในพื้นที่เหล่านั้นยิ่งมีมาก เพราะเนวินจะคุมเกมหารายได้ของรฟท.โดยไม่ปลอ่ยให้ใครเข้ามายุ่งแน่นอน

แหล่งข่าวระบุว่า บริษัทพัฒนาที่ดินหลายรายก็จ้องที่จะเข้าพัฒนาพื้นที่ทำเลทองทั้งนั้น โดยในช่วงรัฐบาลทักษิณ กลุ่ม แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กลุ่มแสนสิริ และเนเชอรัล พาร์ค(N-PARK) ก็สนใจเข้าลงทุนในพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งในขณะนั้น มีความสนใจเข้าลงทุนในแปลงสถานีมักกะสัน เพราะเริ่มมีความชัดเจนในสมัยที่สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีคมนาคมที่ต้องการเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในพื้นที่บริเวณสถานีมักกะสัน เพราะต้องการให้พื้นที่บริเวณนั้น เป็นศูนย์กลางย่านธุรกิจ รองรับนักธุรกิจต่างชาติ และนักท่องเที่ยว ซึ่งตามแผนจะพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย โรงแรม เซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ ศูนย์การค้า เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสนามบิน และนักท่องเที่ยว แต่สุดท้ายเปลี่ยนรัฐบาลโครงการจึงถูกพับเข้าลิ้นชัก ซึ่งเมื่อรฟท.นำที่ดินแปลงนี้ออกมาให้ประมูล คาดว่า นอกจากนักพัฒนาที่ดินรายเดิมจะสนใจแล้ว ยังมีกลุ่มทุนกลุ่มใหม่สนใจเข้าลงทุนจำนวนมาก

รายกลางสนที่ดินแปลงเล็ก - ย่านรัชดาภิเษกจรดพระราม 9

ส่วนที่ดินที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 ล้านบาท รฟท.เตรียมจะเปิดประมูล ได้แก่ ที่ดินย่านรัชดาภิเษก ตั้งแต่ริมถนนวิภาวดีรังสิตไปจนถึงอาร์ซีเอ ถนนพระราม 9 เช่น แปลงที่ดินติดกับถนนวิภาวดีรังสิต ตัดรัชดาภิเษกใกล้กับเขตจตุจักร 3 แปลง แปลงละ 1ไร่เศษ ได้แก่ แปลงที่ 4-5-6 ราคาประเมิน 151.040 ล้านบาท กำหนดค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 83,500,000 บาท ค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 13,890,000 บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทนรวม 347 ล้านบาท ,ที่ดินแปลงที่ 9 เนื้อที่ 1.09 ไร่ ราคาประเมิน 52 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 6,829,200 บาท ค่าเช่าปีแรก 837,900 บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทน 22.46 ล้านบาท, ที่ดินแปลงที่ 34 ใกล้กับสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินเนื้อที่ 0.91ไร่ ราคาประเมิน 22 ล้านบาท ค่าจัดประโยชน์ 6,615.220 บาท ค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 811,646 บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทน 9.50 ล้านบาท เป็นต้น ทั้งนี้ที่ดินที่เป็นแปลงเล็กอาจพัฒนาเป็นอพาร์ตเมนต์ให้เช่า และถัดจากถนนรัชดาภิเษกเข้าไป ทางศูนย์วัฒนธรรม จะเป็นถนนเทิดพระเกียรติแปลง 1 พื้นที่ 4 ไร่ ราคาประเมิน 175.34 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ 27,808,000บาท ค่าเช่าปีแรกไม่น้อยกว่า 2,798,456 บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทน 75.75ล้านบาท พื้นที่ดังกล่าว ร.ฟ.ท. ได้กำหนดให้เป็นอาคารสูงพื้นที่ไม่เกิน 19,000 ตารางเมตร ซึ่งเน้นพัฒนาเป็นโรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ฯลฯ

ส่วนอีกแปลงคือ เทิดพระเกียรติ 2 พื้นที่ติดกับแปลง 1 พื้นที่ 5.87 ไร่ ยังมีปัญหาเกี่ยวกับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร กำหนดให้สีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นสีน้ำเงินหรือที่ดินสำหรับกิจการของรัฐ ดังนั้นจึงเตรียมเสนอกทม.เพื่อขอปรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่สีแดง หรือที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรงแรม อาคารสูง ซึ่งจะเปิดประมูลได้ในปี 2554

************

ที่ดินผืนงามของรฟท.ภูธร - กลุ่มทุน-การเมืองรุมทึ้ง

ทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทยมีการบุกรุกที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีทั้งนายทุนและประชาชนเข้ามาตั้งรกรากที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างใหม่ๆจนกลายเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน รวมถึงกรณีนักการเมืองบุกรุกยึดครองที่ดินของการรถไฟที่เขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคดีนี้อยู่ระหว่างรอปปช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ)ลงมติ อย่างไรก็ตามล่าสุดเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย ได้ฟ้องกลับ อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กรณีกล่าวหาว่าได้ที่ดินการรถไฟฯ เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ มาโดยมิชอบ

ที่ผ่านมามีความพยายามจะแปรมูลค่าที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของการรถไฟแห่งประเทศไทย นำมาสร้างผลตอบแทนออกมาในรูปแบบต่างๆ นับตั้งแต่โครงการของการรถไฟเอง เพื่อขยายเส้นทางใหม่ และให้เช่าที่ดินโดยการปกครองระดับท้องถิ่น และกลุ่มทุนเอกชนที่เข้ามายึดหัวหาดเข้าประมูลจัดสรรการใช้ประโยชน์ที่ดินการรถไฟพัฒนาสร้างเป็นโครงการต่างๆ

จากที่ดินของการรถไฟในต่างจังหวัดทั่วประเทศ ที่เพื่อการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ แบ่งเป็นสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 4,306 ไร่, สายตะวันออก จำนวน 4,952 ไร่, สายใต้ จำนวน 15,186 ไร่ ทั้งนี้มีที่ดินของการรถไฟในจังหวัดต่างๆ กำลังรอเปิดประมูลในเร็วๆนี้ คือ ที่ดินมหาชัย จำนวน 15ไร่ ราคาประเมิน 154 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ไม่น้อยกว่า25,456,070 บาทค่าเช่าปีแรกเข้า 3,138,876บาท อายุสัญญา 4+30 ปี ผลตอบแทน 66ล้านบาท ,ที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน14ไร่ ราคาประเมิน167 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมจัดหาประโยชน์ไม่น้อยกว่า 27,745,160บาท ค่าเช่าปีแรกเข้า 3,407,282บาท อายุสัญญา3+20ปี ผลตอบแทน 72 ล้านบาท

สำหรับพื้นที่บริเวณสถานีหัวหินรฟท.อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทพัฒนาที่ดิน ซึ่งแก้ไขตามมติคณะอนุกรรมการการพัฒนาทรัพย์สิน โดยตามแผนจะพัฒนาเป็น บูติคโฮเต็ล โรงแรมกอล์ฟอินน์ ค้าปลีก สปา โครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยและสำนักงานการรถไฟฯ โครงการก่อสร้าง Golf Coure Hotel สนามกอล์ฟหลวงหัวหิน โครงการก่อสร้างร้านขายอาหารและสินค้าที่ระลึก ปัจจุบัน บริษัท เซ็นทรัลหัวหินบีช รีสอร์ท จำกัด เป็นผู้เช่า โดยมีอัตรค่าเช่า 454,630 บาทต่อปี สัญญาเริ่ม 15 ม.ค.2529 สัญญาสิ้นสุด 15 ม.ค. 2559

สถานีอยุธยา ขนาดพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ โดยมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 100-150 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคา (TOR) ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการทำโครงการพัฒนาที่ดิน และ2. สถานีหัวหิน ขนาดพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทของบริษัทที่ ซึ่งมีเป้าหมายจะเก็บค่าเช่าปีละ 150-200 ล้านบาท

ทั้งนี้ การนำที่ดินมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยโครงการของการรถไฟเอง มีหลายโครงการในภาคใต้ อาทิโครงการบิ๊กๆ รถไฟเส้นทางแลนด์บริดจ์เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกปากบารา -ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 หรือการรื้อฟื้นรถไฟในเส้นทางสงขลา-หาดใหญ่ ซึ่งหาดใหญ่ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีชาวบ้านอยู่อาศัยทำสัญญาเช่าที่ดินในชุมชนริมทางรถไฟ 5 แห่ง คือ ชุมชนย่านรัถการ ชุมชนสะพานดำ ชุมชนวัดโคกสมานคุณ ชุมชนคลังปูนและชุมชนซอยอาจารย์ทอง

บิ๊กโปรเจกรถไฟขนสินค้า - 'แลนด์บริดจ์' ภาคใต้

การนำที่ดินมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์โดยโครงการของการรถไฟเองในภาคใต้ มีการผลักดันเส้นทางรถไฟสายใหม่เพื่อขนส่งสินค้า ภายใต้บิ๊กโปรเจ็ค'รถไฟแลนด์บริดจ์' ที่วิ่งเชื่อมเส้นทางระหว่างจังหวัดสงขลา - สตูล เพื่อเชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารากับท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ซึ่งมีรัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด กับให้เอกชนลงทุนบางส่วน โครงการนี้จะสามารถนำที่ดินรถไฟมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะจาก 4 แนวทางเลือกที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ศึกษาเส้นทางมีระยะตั้งแต่ 140 - 160 กิโลเมตร มีทั้งเส้นทางตัดผ่านที่ดินของรถไฟ และการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน ซึ่งการศึกษาถึงความเป็นไปได้ใน 42 ตำบล และหลายๆอำเภอของ2 จังหวัดคือ ปากบารา ควนกาหลง คลองหอยโข่ง บ้านพรุ รัตภูมิ หาดใหญ่ ควนเนียง สะเดาและอำเภอจะนะ

ความคืบหน้าของโครงการนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อสร้างเส้นทางรถไฟ และจัดสรรที่ดินสำหรับโครงการนี้ มีกำหนดใช้เวลาศึกษา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 สิ้นสุดเดือนกันยายปีนี้ โดยเส้นทางที่จะพาดผ่านชุมชนจะต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคม ขณะเดียวกันในเวทีประชาพิจารณ์ที่จังหวัดสตูล มีการสดงความเห็นให้เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นรถไฟโดยสารมีสถานีตามชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวด้วย

ปัดฝุ่นเส้นทางสงขลา-หาดใหญ่

ช่วง 4-5 ปีนี้มีความพยายามที่จะเปิดเส้นทางเดินรถระหว่างสถานีรถไฟสายสงขลา-หาดใหญ่ ที่ปล่อยทิ้งร้างกว่า 25 ปี ให้กลับมาเปิดบริการอีกครั้ง โดยทางจังหวัดสงขลามีการเสนอกับการรถไฟเพื่อพิจารณาปรับปรุงสถานี และเส้นทางเดินรถซึ่งมีชาวบ้านสร้างบ้านบุกรุกอยู่ แต่ผ่านมา 3-4 ปีหลังจากมีการยื่นเรื่องเสนอ การปัดฝุ่นเส้นทางรถไฟสงขลา-หาดใหญ่ จนปัจจุบันโครงการนี้ยังไม่สำเร็จ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเกรงว่าจะขาดทุนเพราะเป้าหมายการรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อเข้ามาเป็นทางเลือกในการสัญจรไปมาของคนในพื้นที่เท่านั้น

ปัจจุบันการรถไฟได้ประกาศให้พื้นที่รางรถไฟย่านสถานีสงขลา เป็นพื้นที่เลิกใช้งาน โดยขออนุญาตให้ชุมชนสามารถเช่าที่ดินได้ แต่ต้องเว้นระยะร่นจากสันรางสายประธานออกมาข้างละ 5 เมตร รวมถึงเมื่อปลายปี 52 สงขลาได้มีการจัดสรรรางรถไฟที่หมดสภาพการใช้งานบริเวณชุมชนเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จัดการให้เป็นที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินสำหรับชาวบ้านที่เข้ามาปักหลักสร้างถิ่นฐานในบริเวณนี้ตั้งแต่ปี 2517 โดยมีพิธีมอบสัญญาเช่าที่ดินการรถไฟระหว่าง พอช. กับชุมชน จำนวน 5 ชุมชน และมอบเอกสารรับรองการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (โฉนดชุมชน) ให้แก่ผู้แทนชุมชน จำนวน 1 แปลง

การเมืองท้องถิ่น เห็นประโยชน์ที่ดินรถไฟ

การนำกรรมสิทธิของการรถไฟนำมาสร้างประโยชน์โดยการเมืองระดับท้องถิ่น ทำสัญญาเช่าระยะยาว ที่ผ่านมามี เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ โดยเมื่อเร็วๆนี้ ไพร พัฒโน จัดงบ 98 ล้านเช่าที่ 17 ไร่การรถไฟ สร้างแลนมาร์ก 'นครหาดใหญ่'ปัดฝุ่นโรงภาพยนตร์พลาซ่า สร้างหอประชุม จตุรัสนครหาดใหญ่ โครงการก่อสร้างตลาดน่าซื้อและปรับปรุงภูมิทัศน์ริมทางรถไฟบริเวณพื้นที่ด้านหลังตลาดสดพลาซ่า 3 จนถึงบริเวณริมทางรถไฟ ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อม และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน

ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ที่ดินบริเวณสถานรถไฟเชียงใหม่จำนวน 15 ไร่ จะพัฒนาในรูปแบบเชิงพาณิชย์และปรับปรุงบ้านพักพนักงานให้ดีขึ้น และเมื่อเร็วๆนี้การนำที่ดินของการรถไฟมาใช้ประโยชน์ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เปิดสวนสาธารณะบริเวณที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีส่วนการบริการทั้ง สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ลานน้ำพุ ลานดนตรี ห้องประชุม และร้านค้า ก่อสร้างโดยปรับปรุงตั้งแต่ปี 2548 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 98 ล้านบาท

กลุ่มทุนเช่าที่ดินรถไฟ

ที่ดินรถไฟที่มีการเปิดให้นายทุนเอกชนมาเช่าที่ สำหรับภาคอีสานในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีกลุ่มนายทุนต่างๆที่ทำสัญญาขอเช่าที่ดินกับรถไฟกวาดรายได้ให้กับธุรกิจ ส่วนที่มีการเช่าที่ดินการรถไฟทางภาคอีสานของกลุ่มทุนอุดร ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา วรพล วีรชาติยานุกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด ได้ทำสัญญาเช่าที่ดิน 25 ไร่ จากการรถไฟเป็นระยะเวลา 34 ปี เพื่อพัฒนาโครงการเอาท์ดอร์ ช้อปปิ้ง มอลล์ ภายใต้ชื่อ "ยูดี ทาวน์ เดอะ ไลฟ์สไตล์ เดสทิเนชั่น" จับกลุ่มนักธุรกิจอุดร และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศลาว

ในส่วนที่มีข่าวความเคลื่อนไหวในใน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ คือ กลุ่มทุนจากกรุงเทพ โรงแรมโซฟิเทล เซนทาราแกรนด์ หัวหินเช่าที่ 100 ไร่ ค่าเช่าเดือนละ 3.8 แสนบาท และตลาดหัวหินบาร์ซ่าร์ โครงการสัมปทานพัฒนาที่ดินการรถไฟบริเวณสถานีหัวหิน

***********

พลิกหน้าดินหมดสัญญา- รฟท.เตรียมเซ้งลี้รอบใหม่!

เปิดพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ ทำเลทองการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใกล้หมดสัญญาเช่ากับเอกชน “ จตุจักร พหลโยธิน รัชดาภิเษก ราชปรารถ”ใกล้หมดสัญญาในปี 2553-2555 หลายร้อยแปลง กลุ่มทุนรายใหม่เล็งเข้ายึดพื้นที่ ส่วนกลุ่มทุนเก่ากอดพื้นที่แน่น

สำหรับสัญญาเช่าระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับผู้เช่าเอกชนและหน่วยงานต่างๆ มีทั้งหมดประมาณ13,000สัญญา แบ่งเป็นฝ่ายทรัพย์สินดูแล4,445สัญญาและฝ่ายเดินรถดูแล9,000สัญญา ล่าสุดมีสัญญาเช่าพื้นที่ที่ใกล้หมดสัญญาทั่วประเทศมีอยู่ประมาณ1,000สัญญา เฉพาะทำเลในกรุงเทพมีสัญญาเช่าพื้นที่ของรฟท.ให้เอกชนเช่าที่ใกล้หมดสัญญาและยังไม่มีการต่ออายุสัญญา อยู่ระหว่างการเจรจาต่อสัญญา รวมประมาณ 519 สัญญา ได้แก่ 1.ทำเลย่านบางซื่อ-คลองตัน บริเวณที่ดินแนวรถไฟ ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเช่าไว้ เพื่อเป็นสถานที่จอดรถ สัญญาเช่าใกล้สิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2553 นี้

2.ทำเลย่านจตุจักร พหลโยธิน ได้แก่ อาคารเจตเจริญสุข ซึ่งปัจจุบันห้างหุ้นส่วนเจตเจริญสุข ได้เช่าพื้นที่จำนวน 8.12 ไร่ หรือ 12,992 ตารางเมตร ให้เอกชนรายย่อยหลายราย ดำเนินธุรกิจสถานบันเทิง ผับ บาร์ อยู่ฝั่งตรงข้ามตลาด(อตก.) ซึ่งมีบางส่วนหมดสัญญาไปแล้ว และบางส่วนกำลังหมดสัญญาในปี 2553

นอกจากนี้ ยังมีทำเลย่านสวนจักตุจักร ที่สัญญาเช่าใกล้หมดลงในวันที่1 มกราคม ปี 2555 ตลาดนัดซันเดย์ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท เจริญพลาซ่า จำกัด เช่าพื้นที่ 13 ไร่ เพื่อดำเนินการเช่าพื้นที่ ขณะที่ย่านราชปรารภ บริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลพญาไท1 สัญญาเช่าพื้นที่หมดสัญญาลง เมื่อวันที่20กรกฎาคม 2553ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาต่อสัญญาเช่า

3.ทำเลบริเวณรัชดาภิเษก ส่วนใหญ่จะยังไม่หมดสัญญาในปี 2ปีนี้ เนื่องจากเป็นสัญญาระยะยาว 30 ปี และเหลืออายุสัญญาเฉลี่ย 10 ปีขึ้นไป ส่วนสัญญาที่หมดแล้วและยังไม่มีการต่อสัญญา เช่น ตลาดธนบุรี หมดสัญญาไปแล้วเมื่อ ต.ค.2552 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาต่อสัญญาเช่า

สำหรับทำเลย่านรัชดาภิเษกนั้น ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย ทวีศักดิ์ สุทธิเสริมบอกว่า ขณะนี้สัญญาเช่าที่ดินของเอกชนที่ทำสัญญาเช่ากับรฟท.บริเวณริมถนนรัชดาภิเษก มีอยู่กว่า55ราย หรือ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ200แปลง โดยอยู่ระหว่างประกาศเชิญชวน 3แห่ง เช่นที่ดินแปลง4,5,6 หรือ2.91ไร่ ซึ่งอยู่ตามแนวทางรถไฟสายบางซื่อ-คลองตัน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้ามาลงทุนในรูปแบบเชิงธุรกิจ มีการกำหนดมูลค่าโครงการที่เสนอต้องไม่น้อยกว่า 70 ล้านบาท โดยต้องก่อสร้างอาคารพื้นที่ไม่น้อยกว่า 4.500 ตร.ม พร้อมพื้นที่จอดรถตามที่กม.กำหนด และระบบสาธารณูปโภค เช่น ถนนทางเท้า ท่อระบายน้ำ เป็นต้น

อีกทั้งต้องเสนอค่าธรรมเนียมจัดประโยชน์ตามพื้นที่เช่าไม่น้อยกว่าตร.ม.4,227.60บาท เป็นเงิน19,694,280 บาท และต้องเสนอเงินค่าเช่าที่ดินเพื่อจัดประโยชน์ตามพื้นที่เช่า ปีแรก ไม่น้อยกว่าตรม.518.70 บาทต่อปีหรือคิดเป็นเงินแรกเข้า2,416,364บาทและเพิ่มค่าเช่า5% ทุกปี โดยไม่รวมภาษี เป็นต้น และอยู่ระหว่างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทรัชดาร่วมสิทธิ์ จำกัด เนื่องจากผิดสัญญาการเช่า

“ทั้งนี้ สัญญาเช่าบริเวณริมถนนรัชดาส่วนใหญ่จะยังไม่หมดอายุสัญญาใน1-2ปีนี้ เพราะสัญญามีอายุ30ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะเหลืออายุสัญญาอีกประมาณ10ปีขึ้นไป ส่วนการปรับราคาค่าเช่านั้น ขณะนี้รฟท.ยังไม่แผนที่จะปรับค่าเช่าเนื่องจากยังไม่หมดสัญญาเช่า ส่วนพื้นที่ที่มีปัญหาการเก็บค่าเช่าบริเวณรัชดา นั้นไม่มีปัญหาเพราะส่วนใหญ่เอกชนที่เช่าจะเป็นสถานบันเทิงที่มีรายได้มั่นคง โดยรฟท.มีรายได้จากการเก็บค่าเช่าที่ดินริมถนนรัชดาตลอดอายุสัญญา รฟท.มีรายได้ 150,437,289 บาท”

ส่วนที่ดินที่มีปัญหาและอยู่ระหว่างการฟ้องร้อง ได้แก่ ย่านพหลโยธิน ตลาดนัดซันเดย์ โดยรฟท.ยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายในตลาดนัดซันเดย์กับบริษัท เจริญพลาซ่า จำกัด ซึ่งอยู่ระหว่างฟ้องร้องค่าเสียหาย 175 ล้านบาท สาเหตุเพราะเอกชนต้องการขอต่ออายุสัญญาเป็น30ปีบวกอีก 4 ปี แต่รฟท.ไม่สามารถทำให้ได้ เนื่องจากสัญญาของรฟท.ระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง 2 ปี และมีสัญญาเช่า4 ปี แต่ผู้เช่ารายเดิมไม่ต้องการต่อสัญญาระยะสั้น จึงเป็นปัญหาคาราคาซังอยู่ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างฟ้องขับไล่
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 27, 28, 29 ... 197, 198, 199  Next
Page 28 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©