Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180080
ทั้งหมด:13491312
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2018 10:05 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ชงเคาะประมูลที่ดินเชิงพาณิชย์สถานีบางซื่อ SCG-Central รอชิงเค้ก

25 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 09:14 น.

รฟท.ชงสคร.เคาะประมูลที่ดินบางซื่อหมื่นล้าน SCG-Central รอชิงเค้ก เร่งเคลียร์บ.ลูกรับสายสีแดง แจงค่าโดยสาร 14-45 บาท ปักหมุด ‘รังสิต’ เป็น Interchange station พร้อมแจงแผนลงทุนทางคู่เฟส 2

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกด้านทรัพย์สินนั้นขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดตั้งบริษัทภายในปีหน้า ส่วนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อนั้นจะเริ่มจากแปลงเอ พื้นที่ 32 ไร่วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาทนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมทุนตามมาตรา 35 ในวันนี้ 26 ต.ค.นี้หากได้รับอนุมัติจะส่งเรื่องไปกระทรวงคมนาคมและสคร.ต่อไป คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาสแรก 2562

รายงานข่าวแจ้งว่าพื้นที่แปลงเอจะเป็นแห่งแรกในสถานีกลางบางซื่อที่จะเปิดประมูล โดยกายภาพนั้นจะมีรางรถไฟตัดผ่านกลางพื้นที่ดังนั้นจึงแบ่งพื้นที่เชิงพาณิชย์เป็นสองฝั่งโดยอาจจะทยอยพัฒนาทีละฝั่งแต่คงต้องเปิดให้บริการภายในต้นปี 2564 เมื่อเปิดเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดง ทั้งนี้ล่าสุดบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC และ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด (Central Group) แสดงความสนใจ เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้กับจุดยุทธศาสตร์เชิงที่ตั้งของทั้งสองบริษัท

นายวรวุฒิ กล่าวต่อว่าส่วนความคืบหน้าการก่อตั้งบริษัทลูกด้านเดินรถนั้นต้องชะลอการก่อตั้งออกไปก่อนเป็นปี 2562 เพราะต้องรอปรับโครงสร้างบริษัทลูก รฟฟท. ที่ต้องบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ต่ออีก 2 ปีภายหลังลงนามสัญญาโครงการสามสนามบิน ดังนั้นช่วงปลายปีหน้า-2563 จะเร่งฝึกอบรมบุคลากรจำนวนมากเพื่อเปิดบริการรถไฟสายสีแดงช่วงรังสิต-บางซื่อ ในเดือน ม.ค. 2564 เบื้องต้นคาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะสามารถถึงจุดคุ้มทุน(Breakeven) ได้ตั้งแต่ปีแรกคือ 8 หมื่นคน/วัน ส่วนด้านราคานั้นคงอิงจากราคารถไฟฟ้าเป็นเกณฑ์มีราคาเฉลี่ยที่ 34 บาทต่อการเดินทางหนึ่งครั้ง โดยราคาเริ่มต้นที่ 14-15 บาทและราคาสูงสุดไม่เกิน 45 บาท ส่วนสถานีที่รฟท.เชื่อว่าจะมีผู้โดยสารจำนวนมากจนต้องพัฒนาเป็นสถานีหลักที่มีจุดเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนอื่นคือสถานีรังสิต ทั้งนี้เชื่อว่าปริมาณผู้โดยสารจะมากกว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์แน่นอน

นายวรวุฒิ กล่าวอีกว่าความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 วงเงิน 4 แสนล้านบาท ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเสนอโครงการให้สภาพัฒน์พิจารณาความเหมาะสมในการลงทุน เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถเสนอเข้าสู่ ครม. ได้ภายในปลายปีนี้ก่อนทยอยเปิดราคาในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าเป็นรายเส้นทางไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพัฒน์ว่าจะเลือกเส้นไหนบ้าง

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นจากการพิจารณาในมุมของ รฟท.นั้นพบว่าเส้นทางที่มีศักยภาพควรลงทุนนั้นส่วนใหญ่เน้นทางภาคอีสานเพราะสามารถขนส่งได้ทั้งผู้โดยสารและสินค้าเชื่อมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย-สปป.ลาวและเชื่อมต่อกับเส้นทางโลจิสติกส์กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง(GMS) เช่น ไทย-สปป.ลาว-จีน อาทิ รถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท รถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.วงเงิน 3.7 หมื่นล้านบาทและรถไฟทางคู่สายใหม่บ้านไผ่-นครพนม ส่วนภาคใต้นั้นเน้นลงทุนต่อขยายเส้นทางเพื่อเพิ่มขีดการรองรับผู้โดยสารสนับสนุนการท่องเที่ยว อาทิ รถไฟทางคู่ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 324 กม. วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาทเป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/09/2018 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

26 ก.ย.61 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าพบที่กระทรวงคมนาคม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าพบและหารือเกี่ยวกับการเพิ่มอัตรากำลังของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ความคืบหน้าในการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง และขอให้เร่งรัดการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยมีนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม และนายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมหารือ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/1959022474144688
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/09/2018 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

เครือข่ายสลัม4ภาคร้องสิทธิที่อยู่อาศัย
INN News 26 กันยายน 2018 - 16:57

เครือข่ายสลัม 4 ภาค บุกสถานีรถไฟตรัง ร้องสิทธิที่อยู่อาศัยต่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ยื่น 4 ข้อเรียกร้อง

ที่ชุมชนถนนเลียบทางรถไฟ สวนสมเด็จย่า 95 ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง เครือข่ายสลัม 4 ภาคและผู้ที่อาศัยในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รวมตัวกัน เดินเท้ามายัง สถานีรถไฟตรัง อ.เมือง จ.ตรัง เครือข่ายสลัม 4 ภาค กว่า 300 คน นำโดย นางวารินทร์ ดำรงธรรม ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค เดินทางมา เพื่อเรียกร้องขอสิทธิที่อยู่อาศัยจากการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังประสบปัญหาความเดือดร้อนถูกไล่ที่ บางรายถูกจับกุมดำเนินคดี นางวารินทร์ อ่านคำแถลงการณ์ตอนหนึ่งว่า “ข้อเสนอ ต่อผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในวาระที่อยู่อาศัย 4 ข้อประกอบด้วย

1)ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีคำสั่ง หยุดติดไมล์ไล่รื้อชุมชนจนกว่าจะมีการสำรวจข้อมูลผู้อาศัยในที่ดินการรถไฟแล้วเสร็จ

2)ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีนโยบายเปิดพื้นที่ให้ชุมชนเช่าที่ดิน ให้ถูกต้องตามกฎหมายตามแนวทางนโยบายเช่าที่ดินในนาม 6-11 ชุมชน

3)ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีคำสั่งไปยังหน่วยงานและเจ้าหน้าที่การรถไฟให้มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยแห่งชาติระยะ 20 ปี และ

4)ให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีคำสั่งเร่งรัดเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดร่วมสำรวจข้อมูลที่อยู่อาศัยในที่ดินรถไฟ กับทางคณะทำงานระดับจังหวัด

ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาคจึงขอเรียกร้องให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องและตามมติข้อตกลง ในวงประชุมอนุกรรมการกระทรวงคมนาคมในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยอย่างจริงจังและจริงใจ”

ต่อมากลุ่มสมาชิกเครือข่ายสลัม 4 ภาคได้เดินทางต่อไปยัง ศาลากลางจังหวัดตรัง เพื่อพบหารือ นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ให้ช่วยเหลือปัญหาดังกล่าว โดยที่นายศิริพัฒ ลงมาพบปะเครือข่ายพร้อมทั้งรับปากว่าจะประสานให้ความช่วยเหลือเครือข่ายสลัม 4ภาคที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 2:15 am    Post subject: Reply with quote

สลัม 4 ภาคบุกคมนาคมทวงแก้ปัญหาที่อยู่เขตรถไฟ
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 16.14 น.


  เครือข่ายสลัม 4 ภาค บุกกระทรวงคมนาคม ทวงคำตอบแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยเขตทางรถไฟ ชงบอร์ดเคาะอัตราค่าเช่าที่ดินสิ้นเดือน ต.ค.นี้ สั่ง รฟท.เร่งสำรวจพื้นที่เขตรถไฟทั่วประเทศ รับทางคู่ต้องไม่มีที่อยู่อาศัย เพื่อความปลอดภัย

 เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่กระทรวงคมนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค กว่า 200 คน นำโดยนายจำนง หนูพันธ์ กรรมการบริหารเครือข่ายสลัม 4 ภาค มาติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม หลังจากได้เคยมาร้องเรียนไว้เมื่อ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ได้กางเต็นท์ปักหลักอยู่รอคำตอบที่ชัดเจนบนฟุตบาทตลอดแนวถนนบริเวณหน้ากระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตามการเดินทางมาในครั้งนี้ ได้ส่งผู้แทน 17 คน ขึ้นไปประชุมหารือกับนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะรักษาการปลัดกระทรวงคมนาคม, นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และนายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 3 ชั่วโมง
    นายชัยวัฒน์  เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับผู้แทนเครือข่ายสลัม4ภาคว่า ทางตัวแทนสลัม4ภาค จำนวน 61 ชุมชนได้มาติดตามความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย และขอชะลอการดำเนินคดีกรณีผู้บุกรุกตามแนวเขตทางรถไฟ ตามที่ทางกลุ่มสลัม 4 ภาคเคยเข้ามาขอให้กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ช่วยเหลือ ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบ และพร้อมจะเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับขั้นต่อไป นอกจากนี้ทางเครือข่ายสลัมต้องการความชัดเจนในเรื่องค่าเช่าที่ทาง รฟท.จะจัดเก็บกับชุมชน โดยในวันที่ 12 ต.ค. นี้ทางคณะอนุกรรมการบริหารทรัพย์สิน รฟท.จะมีการพิจารณาเรื่องอัตราค่าเช่าที่ดิน และเสนอให้บอร์ด รฟท พิจารณาอนุมัติภายในสิ้นเดือนต.ค.นี้
  
 นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทางคณะทำงานจะต้องประชุมร่วมกับ รฟท. เพื่อให้เร่งสำรวจพื้นที่เขตทางรถไฟทั่วประเทศ ว่าพื้นที่ใดสามารถทำประโยชน์อะไรได้บ้าง เนื่องจากการดำเนินงานของ รฟท. ในอนาคตจะต้องสร้างทางคู่ทั่วประเทศ ดังนั้นทาง รฟท. ต้องกันพื้นที่เขตทางรถไฟไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัย หรือที่บุกรุก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการบริการรถไฟทางคู่ก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อมีการสำรวจเขตทางชัดเจนแล้วขั้นตอนต่อไปทาง รฟท. ถึงจะมากำหนดเขตทางพื้นที่ที่จะสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และพื้นที่สำหรับผู้บุกรุกในการเป็นที่อยู่อาศัย และกำหนดค่าเช่าพื้นที่ได้ต่อไป
    
ด้านนายจำนง หนูพันธ์ กรรมการบริหารเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ ได้มาติดตามความก้าวหน้าของปัญหาที่ได้เคยมาร้องเรียนไว้เมื่อ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้รับปากที่จะนำปัญหาไปแก้ไขให้ แต่จากที่มาติดตามวันนี้ทาง รมว.คมนาคม ไม่ได้มาพบเครือข่ายด้วยตนเอง  ดังนั้นจึงทำให้ทางสลัม4ภาคไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนของการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหา โดยทางคมนาคมขอไปหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ถึงจะได้ข้อสรุป ซึ่งตนมองว่าทางคมนาคมไม่ได้แก้ไขปัญหาจริงจัง และทางเครือข่ายฯ เสียเวลามาโดยตลอด มาเรียกร้องกี่ครั้งก็ต้องเริ่มใหม่ โดยวันที่ 2 ต.ค.61 ทาง รมว.คมนาคม จะลงพื้นที่พบเครือข่ายด้วยตนเองภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.).

//----------------

สลัม 4 ภาคบุกคมนาคม ทวงคำตอบแก้ปัญหาเช่าที่ดินรถไฟทั่วประเทศ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 16:17 น.
ปรับปรุง: จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 16:56




เครือข่ายสลัม 4 ภาค ชุมนุมหน้าคมนาคม ทวงคำตอบเช่าที่ดินรถไฟ พร้อมเรียกร้องให้รัฐตั้งกองทุนช่วยเหลือ ด้าน “ปลัดคมนาคม” เผยเร่งแก้ปัญหาให้ตามขั้นตอน ยันหลักการรถไฟต้องมีเขตรัศมีปลอดภัย ซึ่งทางคู่และความเร็วสูง รถจะวิ่งเร็วขึ้น ด้าน ร.ฟ.ท.ชงบอร์ดปลายเดือน ต.ค.กำหนดอัตราค่าเช่าใหม่

วันนี้ (1 ต.ค.) เครือข่ายสลัม 4 ภาค ประมาณ 300-400 คน ได้ชุมนุมด้านหน้ากระทรวงคมนาคม พร้อมยื่นหนังสือถึงนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อทวงถามความชัดเจนเกี่ยวกับที่อาศัยในที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กรณีที่ได้รับผลกระทบในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาของ ร.ฟ.ท. รวมถึงการกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ พร้อมกันนี้ได้ยื่นข้อเสนอใหม่ 3 ข้อ คือ ให้รัฐต้องจัดตั้งงกองทุน ไว้ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านที่อยู่อาศัย, จัดงบอุดหนุนการพัฒนาพื้นที่ และการเปิดพื้นที่ให้เช่าที่อยู่อาศัย

โดยปัญหาที่ชุมชนอยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟฯ ได้แก่ ชุมชนตลาดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา, ชุมชนหนองยวน 2 จ.ตรัง, ชุมชนโรงปูนตะวันออก กรุงเทพฯ, ชุมชนรถไฟสามัคคี จ.เชียงใหม่, ชุมชนย่านสถานีบางระมาด กรุงเทพฯ, ชุมชนริมทางรถไฟสายใต้-ตะวันตก กรุงเทพฯ, ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จ.ขอนแก่น, ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาที่ดินย่านสถานีแม่น้ำ กรุงเทพฯ, ชุมชนบ่อเสียด จ.ตรัง, ชุมชนเมือง 1 โซน 2 จ.ขอนแก่น, ชุมชนสถานีรถไฟหลักหก กรุงเทพฯ และชุมชนวงเวียนสถานีรถไฟบางกอกน้อย กรุงเทพฯ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รักษาราชการในตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังประชุมร่วมกันแกนนำว่า ทางผู้ชุมนุมมาติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาตามที่ได้เคยยื่นข้อร้องเรียนมาก่อนหน้านี้ซึ่ง ร.ฟ.ท.อยู่ในกระบวนการแก้ปัญหา โดยมี 61 ชุมชนที่อยู่ระหว่างดำเนินการแต่มีเพิ่มเติมเข้ามาอีก โดยได้กำชับให้ ร.ฟ.ท.ลงพื้นที่และเร่งดำเนินการ

ทั้งนี้ หลักการในการแก้ปัญหาของกระทรวงฯ และ ร.ฟ.ท.คือ จะต้องเดินรถไฟด้วยความปลอดภัย ซึ่งรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จะวิ่งเร็วขึ้น ดังนั้น ต้องยึดหลักตามเขตปลอดภัย ระยะห่างจากแนวกึ่งกลางรางที่ไม่น้อยกว่า 3.75 เมตร นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและส่วนรวม เช่น การขยายสถานีเพื่อรองรับการให้บริการส่วนรวม หรือการก่อสร้างย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า (CY) ตามแนวรถไฟทางคู่ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า เป็นต้น ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุม โดยหากมีพื้นที่เหลือและสามารถจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัยได้ จึงจะดำเนินการต่อไป หากไม่ได้ ร.ฟ.ท.จะต้องไปหาพื้นที่รองรับ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาการกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่นั้น ร.ฟ.ท.จะนำเข้าพิจารณาในคณะอนุกรรมการทรัพย์สินฯ ร.ฟ.ท.ในวันที่ 12 ต.ค.และจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ในปลายเดือน ต.ค.เพื่อพิจารณารวมถึงประเด็นอื่นๆจะมีการรายงานบอร์ดด้วย ซึ่งอัตราเดิม 20 บาทต่อตารางเมตรต่อปีใช้มานานแล้ว ต้องปรับให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ซึ่งเรื่องที่ดินรถไฟได้แก้ปัญหาร่วมกันมา 3-4 ปีแล้วซึ่งได้กำชับให้ทำแผนที่ชัดเจน ลงพื้นที่สำรวจร่วมกัน ขึ้นบัญชีผู้ได้รับผลกระทบให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายฯ ต้องการพบนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยจะยุติการชุมนุมในวันที่ 2 ต.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2018 11:52 am    Post subject: Reply with quote

ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 1/10/61 : ร.ฟ.ท.เล็งปรับค่าเช่าที่ทั่วประเทศ
วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561


รายการ ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 13.00-14.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณบากบั่น บุญเลิศ และ คุณกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล เจาะลึกประเด็น ร.ฟ.ท.เล็งปรับค่าเช่าที่ทั่วประเทศ - รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ
https://www.youtube.com/watch?v=ZlvMWjx1C9Y
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2018 11:01 am    Post subject: Reply with quote

ปี’62 อ.ต.ก. เล็งขึ้นค่าเช่าแผงหลังการรถไฟขึ้นค่าเช่า 129%

วันที่ 22 สิงหาคม 2561 - 18:42 น.


นายกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เปิดเผยว่า ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับเพิ่มค่าเช่าที่ของตลาด อ.ต.ก. ขึ้นเป็น 109 ล้านบาท/ปี เพิ่มขึ้น 129% จากเดิมเคยจ่ายประมาณ 50 ล้านบาท/ปี ส่งผลให้อ.ต.ก. เตรียมพิจารณาปรับค่าเช่าแผงในปี 2562 ใหม่ แต่จะเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ต้องพิจารณาก่อน ปัจจุบันอ.ต.ก. เก็บค่าเช่าแผงในราคาต่ำสุด 75 บาท/วัน และสูงสุดค่าเช่าแผงอยู่ที่ 377 บาท/วัน

ดังนั้น ในเดือนต.ค.นี้ จะมีการประกาศความชัดเจนเรื่องของการหารายได้ตามแผน 3 ปี ระหว่างปี 2562-2564 อ.ต.ก. ตั้งใจจะสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร ภายใต้เครือข่ายการส่งเสริมของอ.ต.ก. ให้ถึง 20,000 ล้านบาท โดยในปี 2561 ตั้งเป้าไว้ที่รายได้ 3,000 ล้านบาท ปี 2562 มูลค่าสินค้าเพิ่มเป็น 5,000 ล้านบาท และปี 2563 มูลค่าสินค้าเพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อถึงปี 2564 ทุกร้านค้าในอ.ต.ก. จะต้องรับซื้อสินค้าจากเกษตรกรโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางไม่น้อยกว่า 60% โดยราคารับซื้อสูงกว่าตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยตรง และทำให้ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้น

สำหรับ ปีนี้อ.ต.ก. ปรับสัดส่วนแผนการทำธุรกิจเป็นธุรกิจหลักสัดส่วน 60% และธุรกิจดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลสัดส่วน 40% จากเดิมแผนการทำธุรกิจเป็นธุรกิจหลักสัดส่วน 70% และดำเนินธุรกิจตามนโยบายรัฐบาลสัดส่วน 30% เพื่อลดการขาดทุนสะสม ให้สามารถมีกำไรได้ในปี 2562 โดยปี 2562 อ.ต.ก.จะประกาศให้เป็นปีที่อ.ต.ก.เริ่มมีกำไรอย่างยั่งยืนและถาวร และคาดว่าจะมีรายได้จากส่วนธุรกิจของอ.ต.ก. จำนวน 30-50 ล้านบาท

ส่วนผลประกอบการในปี 2559 อ.ต.ก. ขาดทุน 120 ล้านบาท และปี 2560 ขาดทุน 80 ล้านบาท ซึ่งการขาดทุนมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ในปีนี้คาดว่าจะขาดทุนน้อยกว่า 60 ล้านบาท ขณะนี้กำลังให้ผู้เช่าแผงในตลาดอ.ต.ก. ทุกรายมาลงทะเบียนใหม่ เพื่อตรวจสอบประวัติ ว่าเป็นผู้เช่าตัวจริง หรือผู้เช่าช่วง เพราะตามระเบียบอ.ต.ก. ไม่ให้มีการปล่อยให้เช่าช่วง ซึ่งล่าสุดได้ยกเลิกสัญญาเช่าของผู้เช่า 1 ราย เนื่องจากนำแผงไปให้เช่าช่วง เมื่อขึ้นทะเบียนใหม่ในปีงบประมาณหน้า



อ.ต.ก. แบ่งพื้นที่เช่าตลาดออกเป็น 3 โซน ได้แก่ 1. ตลาดเกษตรอินทรีย์ ให้เกษตรกรขายฟรี โดยต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นเกษตรอินทรีย์จริง 2. ตลาดประจำเชิงพาณิชย์ จำนวน 600 แผง ทั้งหมด 11 โซน ซึ่งมีทั้งเกษตรกรและผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกร โดยปัจจุบันมีกลุ่มเกษตรกรอยู่ 35 แผงค้า โดยอ.ต.ก. คิดค่าเช่า 50% ของค่าเช่า และ 3. ตลาดสินค้าเกษตรคุณภาพอ.ต.ก. ซึ่งให้เกษตรกรจากทั่วประเทศเข้ามาหมุนเวียนขาย โดยเกษตรจังหวัดและเกษตรอำเภอส่งจะต้องส่งรายชื่อมากับทางอ.ต.ก.

นายกมลวิศว์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ อ.ต.ก. ลงนามความร่วมมือกับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ค.ส.) ผลิตแบรนด์วัวไทย ส่งไปขายขายที่เมืองจีน โดยอ.ต.ก.เป็นผู้ทำตลาด และอ.ค.ส. ทำการผลิต และ ปัจจุบันอ.ต.ก. มีแบรนด์รังนกของตนเองที่รับรองเรื่องรังนกแท้ และเชื่อว่าเร็วๆ นี้ จะนำไปขายเมืองจีนได้

สำหรับข้าวล็อตสุดท้ายที่อยู่ในโกดังของอ.ต.ก. ซึ่งเป็นของโครงการรับจำนำข้าวปี 2551–2557 ประมาณ 100,000 กว่าตันกำลังจะขายหมด เท่าที่ตรวจสอบข้าวในโกดังอ.ต.ก. ไม่มีปัญหาเรื่องรับมอบ และปัญหาเรื่องข้าวหาย ตัวเลขข้าวที่หายไปอาจเกิดจาดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลเท่านั้น ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เข้ามาตรวจสอบเพื่อยืนยันตัวเลขข้าวที่มีอยู่ในสต๊อกอีกครั้ง และปริมาณข้าวที่หายไปอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพลงของข้าว ซึ่งคณะกรรมการนโยบายบริหารและจัดการข้าวทาง (นบข.) กำหนดค่าเสื่อมสภาพที่รับได้อยู่ที่ 1% ทำให้ตัวเลขคลาดเคลื่อนบ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2018 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดกรุที่ดินรถไฟประมูล 4 ทำเลทอง ดึงเอกชนลงทุนมิกซ์ยูส 3.8 แสนล้านแลกสัมปทาน 50 ปี
วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2561 เวลา 11:22 น.


โปรเจ็กต์มิกซ์ยูส - ที่ดินย่านสถานีกลางบางซื่อ เป็น 1 ในทำเลทองของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่เตรียมจะนำมาเปิดประมูลให้เอกชนที่สนใจร่วมลงทุน PPP Net Cost 50 ปี ในรูปแบบมิกซ์ยูส นำร่องที่ดินติดสถานี 35 ไร่ปลายปีนี้ มูลค่าลงทุน 15,400 ล้านบาท รับรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จะเปิดบริการในปี 2563

การรถไฟฯเร่งล้างท่อที่ดินแปลงใหญ่เปิดประมูล PPP พื้นที่ 4 ทำเลทอง สถานีกลางบางซื่อ ย่าน กม.11 แม่น้ำ มักกะสัน ดึงเอกชนลงทุนโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส กว่า 3.8 แสนล้าน แลกสัมปทาน 50 ปี คาดสิ้นปีนี้กดปุ่มสถานีกลางบางซื่อ 35 ไร่ มูลค่า 1.5 หมื่นล้าน รับฮับระบบราง ปีหน้าเทกระจาดย่าน กม.11 สถานีแม่น้ำ มักกะสัน ไล่เช็กบิลสัญญาเช่าที่ดินหัวหิน สนามกอล์ฟเบียร์สิงห์ โรงแรมเซ็นทรัล จ่อรื้อค่าเช่าที่ 100 สัญญาริมถนนรัชดาฯ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สินและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้ส่งแผนการพัฒนาโครงการที่ดินแปลงใหญ่ของ ร.ฟ.ท.ที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost ระยะเวลา 50 ปี ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว จำนวน 3 แปลง คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 369,662 ล้านบาท ได้แก่ ย่าน กม.11 เนื้อที่ 359 ไร่ ย่านมักกะสัน 347 ไร่ เหลือจากเอกชนที่ชนะประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไป 150 ไร่ และสถานีแม่น้ำ เนื้อที่ 277 ไร่ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในต้นปี 2562 เนื่องจากจะต้องผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการ PPP ก่อนถึงจะดำเนินการได้

สิ้นปีกดปุ่มบางซื่อ 35 ไร่

“ส่วนที่ดินโซน A ของสถานีกลางบางซื่อ เนื้อที่ 35 ไร่ บอร์ด PPP อนุมัติแล้ว คาดว่าปลายปีนี้จะเปิดประมูล โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ภายใต้รูปแบบ BOT คือ สร้าง บริหาร และโอนกรรมสิทธิ์ให้ ร.ฟ.ท. เมื่อครบกำหนดสัญญา ในระยะเวลา 34 ปี ส่วนแผนก่อสร้างใช้เวลา 4 ปี และดำเนินธุรกิจตลอด 30 ปี มีมูลค่าลงทุนรวม 15,400 ล้านบาท”

สำหรับย่าน กม.11 มีมูลค่าลงทุน 80,882 ล้านบาท พัฒนาเป็นมิกซ์ยูส มีคอนโดมิเนียมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เช่น สำนักงาน เพราะโดยรอบเป็นที่ตั้งของสำนักงาน ปตท. ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ และบ้านพักของพนักงาน ร.ฟ.ท. โดยเฉพาะบ้านพักจะสร้างใหม่เป็นรูปแบบคอนโดมิเนียม ส่วนอาคารสำนักงานให้เช่าจะต่อเนื่องกับศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ยาวไปถึงสถานีรถไฟฟ้าจตุจักร

บูมมักกะสันต่อยอดไฮสปีด EEC

ขณะที่สถานีแม่น้ำ 277.5 ไร่ จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์กริมน้ำ มีศูนย์การค้าและที่อยู่อาศัย มูลค่าลงทุน 88,780 ล้านบาท ส่วนสถานีมักกะสัน ลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท แบ่ง 4 โซน ได้แก่ โซน A 139.82 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจการค้า เช่น city air terminal ร้านค้าปลอดภาษี ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์ประชุม-สัมมนา สำนักงาน และอาคารจอดรถ ซึ่งส่วนนี้ยกให้เอกชนรับสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จัดหาประโยชน์ 50 ปีแล้ว อีก 3 โซน ร.ฟ.ท.จะเปิดให้เอกชนเช่า 50 ปี ได้แก่ โซน B 117.31 ไร่ เป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อุตสาหกรรมของรัฐ และศูนย์แสดงสินค้า โซน C 151.40 ไร่ เป็นส่วนที่อยู่อาศัยและสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล โรงเรียนนานาชาติ อาหารระดับโลก ศูนย์แสดงสินค้าและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และโซน D 88.58 ไร่ เป็นพิพิธภัณฑ์ ร.ฟ.ท. โรงแรม

เร่งสรุปสัญญาเช่าขาใหญ่

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเจรจาสัญญาเช่าที่ดินแปลงใหญ่ ๆ ที่ครบกำหนดสัญญาไปแล้ว โดยประเมินมูลค่าทรัพย์สินใหม่ให้เป็นปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท และต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 รูปแบบ PPP โดยจะเจรจาผลตอบแทนบนพื้นฐานใหม่ให้เป็นราคาปัจจุบัน ในเบื้องต้นจะเจรจารายเดิมก่อน หากไม่ได้ข้อยุติถึงจะเปิดประมูลใหม่

ประกอบด้วย สัญญาเช่าของ บจ.บุญรอดบริวเวอรี่ (เบียร์สิงห์) เป็นการเช่าอาคารและสนามกอล์ฟรถไฟหัวหิน อยู่ติดสถานีรถไฟหัวหิน เนื้อที่ 500 ไร่ ครบกำหนด 30 ปี เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2558 ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาผลตอบแทน เนื่องจาก ร.ฟ.ท.จะขอพื้นที่คืนประมาณ 1 ไร่เศษ ก่อสร้างสถานีของรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่จะเบี่ยงแนวเข้าไปในสนามกอล์ฟ ต้องให้เอกชนลงทุนเพิ่ม 1,000 ล้านบาท เพื่อปรับการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ซึ่งระหว่างรอต่อสัญญารอบใหม่ ทางเบียร์สิงห์จ่ายค่าเช่าให้ ร.ฟ.ท.เป็นรายปีในอัตราค่าเช่าเท่ากับปีสุดท้ายอยู่ที่ 476,000 บาท

นอกจากนี้มีโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เนื้อที่ 71.65 ไร่ มีมูลค่าทรัพย์สินเกิน 1,000 ล้านบาท โดย บจ.เซ็นทรัลหัวหินบีช รีสอร์ท ครบสัญญาเช่า 30 ปี ช่วงต้นปี 2559 แต่ได้ต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ 3 ปี จะครบกำหนดกลางปี 2562 ซึ่งการศึกษาผลตอบแทนได้ข้อสรุปเบื้องต้นจะต่อสัญญาเช่าให้ 30 ปี จากสัญญาเดิมกำหนดต่อได้ 15 ปี 2 ครั้ง

กำลังจะครบสัญญา 30 ปี ในปี 2564 มีโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง ของ บจ.โกลเด้น แอสเซ็ท โดย ร.ฟ.ท.ได้ค่าเช่าปีสุดท้ายอยู่ที่ 3.29 ล้านบาท ขณะนี้ศึกษาผลตอบแทนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนเสร็จแล้ว มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 700 ล้านบาท คาดว่าจะต่อสัญญาเช่าให้อีก 20 ปี

รื้อค่าเช่ารัชดาฯ 100 สัญญา

อีกทั้งจะทยอยปรับสัญญาเช่าย่านถนนรัชดาภิเษกกว่า 100 แปลง หรือ 100 กว่าสัญญา ตั้งแต่แยกห้างสรรพสินค้าโรบินสันเก่า ไปตลอดแนวถนนจนถึงสำนักงานใหญ่ SCB และจุดตัดถนนวิภาวดีรังสิต จะครบกำหนดปี 2563-2565 อาทิ ลานจอดรถของโรบินสันเก่า ที่จอดรถโรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ สถานบริการอาบอบนวดโพไซดอน ศาลอาญา เป็นต้น จะประเมินค่าเช่าใหม่ก่อนต่อสัญญาเช่า เนื่องจากสัญญาเช่าเดิมทำไว้เมื่อ 20-30 ปีและมีรายได้เฉลี่ยปีละ 200 ล้านบาทเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2018 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเปิดประมูลเช่าบริหารสนามกอล์ฟกม.11 จำนวน 38 ไร่ ดิ้นปั๊มรายได้เพิ่ม
เศรษฐกิจ
วันที่ 16 ตุลาคม 2561 - 17:12 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2561 การรถไฟฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเช่าที่ดินบริเวณสนามฝึกซ้อมกอล์ฟรถไฟ กม.11 และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 60,800 ตารางเมตร หรือประมาณ 38 ไร่ ระยะเวลาเช่า 3 ปี เพื่อให้เอกชนเข้ามาประมูลเช่าบริหารจัดการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟรถไฟ บริเวณกม.11 (เขตจตุจักร) เนื่องจากปัจจุบันการรถไฟได้ดำเนินการบริหารสนามฝึกซ้อมกอล์ฟเองมาเป็นเวลายาวนาน แต่ยังมีไม่มีประสิทธภาพมากนัก ทำให้ยังมีรายได้ไม่มากนัก จึงมีแนวคิดที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าบริหารจัดการแทน เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ค่าเช่าให้กับการรถไฟได้ในระดับหนึ่ง

“รถไฟฯ กำลังเร่งปรับปรุงการให้เช่าที่ดินของรถไฟฯ ใหม่ทั้งหมดเพื่อหารายได้อื่นๆ (นอนคอร์) เพิ่ม มาเสริมรายได้หลัก หรือรายได้จากการเดินรถ สำหรับปีงบประมาณ 2562 คาดว่าจะมีรายได้ส่วนนี้ 3,100 ล้านบาท สูงกว่าปีงบประมาณ 2561 ที่ได้ 2,800-2,900 ล้านบาทเล็กน้อย ซึ่งยอมรับว่ายังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะเรายังหารายได้ส่วนนี้ไม่ได้เต็มที่ เนื่องจากรถไฟฯ ยังจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เสร็จและยังใช้วิธีบริหารแบบเก่าๆ เป็นระบบ Manual อยู่”


รายงานข่าวจากรฟท. จะให้เอกชนเช่าบริหารสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ โดยให้สัมปทาน 3 ปี โดยเอกชนจะต้องจ่ายค่าตอบแทนจากค่าเช่าที่ดินปีแรกเป็นเงินไม่น้อยกว่าปีละ 8,500,000 บาท และมีอัตราเพิ่ม 5% ทุกปี ส่วนสาเหตุที่ให้เช่าระยะสั้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนั้นในอนาคตจะถูกนำไปพัฒนาตามแผนพัฒนาพื้นที่ กม.11

อย่างไรก็ตาม รฟท. ได้เปิดจำหน่ายเอกสารเสนอราคาไปตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. 2561 ถึงวันที่ 15 พ.ย. 2561 และกำหนดให้เอกชนที่สนยื่นซองเสนอราคาในวันที่ 30 พ.ย. 2561 ซึ่งการรถไฟจะทำการเปิดซองราคาในวันเดียวกันด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2018 11:42 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปูพรมแดงรอรับเอกชนพัฒนาบางซื่อ
17 ตุลาคม 2561 - 08.55 น.
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันที่ 17 ต.ค.นี้ รฟท.ได้จัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A ซึ่งถือเป็นพื้นที่นำร่องของการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน เนื่องจากเป็นที่ดินที่มีศักยภาพ ติดกับสถานีกลางบางซื่อ และมีความพร้อมในการพัฒนามากที่สุด ซึ่ง รฟท.ได้ศึกษาที่ดินแปลงดังกล่าว เพื่อพัฒนาโครงการห้างสรรพสินค้า และโครงการอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบมิกซ์ยูส ทั้งนี้หลังเปิดรับฟังความคิดเห็น รฟท.จะเร่งรัดขั้นตอนเปิดประมูลให้ได้ภายในปีนี้ คาดว่าจะประกาศผู้ชนะประมูลได้สิทธิ์ลงทุน และลงนามสัญญาพัฒนาพื้นที่ได้ในไตรมาสแรกปี 62 “พื้นที่แปลงเอ มีที่ดินรวมประมาณ 35 ไร่ จะประมูลพร้อมกันทั้งหมด คาดว่าจะเปิดให้พัฒนาเฟสแรกก่อน 16 ไร่”.

รฟท.เปิดPPPแปลงA กว่าหมื่นล.ในม.ค.62 คาด30ปีสร้างรายได้ 4 พันล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: พุธที่ 17 ตุลาคม 2561 เวลา15:52



รฟท. เปิดเวทีรับฟังความเห็นนักลงทุนนำร่องแปลง A ศูนย์พหลฯ 32 ไร่ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล. ก่อนเปิดประมูล PPP ในม.ค.62 เซ็นสัญญาปลายปี เปิดให้บริการ64 รองรับเดินรถสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ มีผดส.ไม่ต่ำกว่า2 แสนคน/วัน “วรวุฒิ”เผยพื้นที่ไข่แดงของ TOD พหลโยธิน คาดแปลงA สร้างรายได้4 พันล.ใน30ปี

วันนี้ (17 ต.ค. 61) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้จัดงานรับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A เพื่อให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเห็นถึงศักยภาพของสถานีกลางบางซื่อและแผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี และเปิดรับฟังความเห็นและมุมมอง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจาก หน่วยงานจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มนักลงทุน สมาคมการค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 68 หน่วยงาน กว่า 200 คน ที่เข้าร่วม

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พื้นที่แปลงA ตั้งใกล้กับสถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการพร้อมกับรถไฟสายสีแดงช่วงต้นปี 64 ซึ่งการศึกษาประเมินว่าจะมีผู้ใช้บริการรวมกว่า 2 แสนคนต่อวัน และปี 70 เพิ่มเป็น 3.2 แสนคนต่อวัน และปี 75 เพิ่มเป็น 3.96 แสนคนต่อวัน ซึ่งอาจจะประเมินที่น้อยไปด้วย เพราะสถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางของระบบขนส่ง รถไฟฟ้า รถไฟทางไกล รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์อย่างยิ่ง

“จะเป็นครั้งแรกในรอบ200ปี ที่จะเกิดการขยับจุดศูนย์กลางคมนาคม จากพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ สัมพันธวงศ์ ซึ่งมีสถานีรถไฟที่หัวลำโพง มาที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็ดาวทาวน์ใหม่ ที่รองรับการขยายตัวธุรกิจของกทม. ซึ่งอยากได้ผู้ลงทุนที่มองอนาคต และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยบริหารจัดการ เพื่อรองรับการเดินทางและการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่ เป็นสมาร์ทซิตี้ ที่ต้องเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อ “ยายไพรินทร์กล่าว

***รฟท.คาดแปลงA สร้างรายได้4 พันล.ใน30ปี

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า รฟท.จะเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุน (PPP) พื้นที่แปลงA นำร่อง เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่าลงทุน 11,721 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ระยะเวลาสัมปทาน 30ปี ซึ่งจะรับฟังความเห็นจากนักลงทุนเพื่อประกอบการพิจารณาการจัดทำร่างTOR ซึ่งคณะกรรมการมาตรา35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 กำหนดประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนและเปิดขายเอกสารในเดือนม.ค. 62 ,ยื่นข้อเสนอเดือนก.พ.-ส.ค.62, ลงนามสัญญาในเดือนส.ค.- พ.ย.62

และเข้าสู่การออกแบบรายละเอียดและขออนุมัติสิ่งแวดล้อมตามระเบียบการก่อสร้างอาคาร และก่อสร้าง เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการบางส่วนในกลางปี 64 ซึ่งจะเปิดให้บริการเต็มแปลงA ในปี 66 ซึ่งจะสอดคล้องกับการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา โดยคาดว่า รฟท.จะมีผลตอบแทนจากการพัฒนาพื้นที่แปลง A ประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาทตลอดอายุสัมปทาน 30 ปี ซึ่งจะเป็นการร่วมทุน ภายใต้กฎหมายไทยสัดส่วนเอกชนต่างชาติไม่เกิน49%

“เปิดสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ จะมีคนเกือบ 2 แสนต่อเที่ยวคนต่อวัน ซึ่งมีทั้งจากระบบรถไฟฟ้า และสำนักงาน โรงแรมในแปลง A ส่วนฝั่งตรงข้ามมี SCG ซึ่งมีกำลังซื้ออีก 8,000 คน โดยแปลงA อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาของรถไฟ โดยวันนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น,เกาหลี,จีน,อังกฤษ,มาร่วมฟังกันมากมาย”

ทั้งนี้ รฟท.ได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จัดทำ “แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน” พื้นที่รวม 2,325 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 9 แปลง มีระยะการพัฒนา 3 ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565, 2570 และ 2575 โดยจะนำร่องพัฒนาแปลง A ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้เป็น “ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร” มีอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก โดยจะเปิดให้ภาคเอกชนและนักลงทุนที่สนใจร่วมลงทุนในรูปแบบ DBFOT (Design / Build / Finance / Operate / Transfer) ประเมินผลตอบแทนโครงการ(IRR) ที่ 12.6-18%. ประมาณการณ์ผู้โดยสารที่สถานีกลางบางซื่อ ในปี64 จำนวน 208,000 คน/วัน ปี 70 เป็น 320,000 คน/วัน ,ปี 75 เป็น 396,000 คน/วัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รฟท.ได้ศึกษาการพัฒนาพื้นที่ต่อไป ของพหลโยธิน โดยคาดว่าจะเป็น แปลงA,E,D ภายในปี 65 ระยะ2 ในปี 66-70 พัฒนาแปลงC,F,G ระยะ3 ปี 71-75 แปลงB,D,H,I ซึ่งแปลงต่อไป ที่ได้ศึกษาการพัฒนาและเตรียม เสนอบอร์ดรฟท.พิจารณาคือ แปลง G (กม.11) และแปลงC (สถานีขนส่งหมอชิต2)

สำหรับเอกชนที่เข้าร่วมสัมมา เช่น บ.ซีพีแลนด์ ,บ. เซ็นทรัลพัฒนาจำกัด ,บ.สิงห์ เอสเตท จำกัด ,บ.ซีพีออล์ จำกัด, บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด ,บ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด ,บ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด,บ.บางกอกแลนด์ จำกัด , บ.ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด, บ.เอสซีจี ซีเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด,บ.พร๊อพเพอร์ตี้เพอร์เฟคจำกัด, บ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด ,บ.ศุภาลัย ,บ.แสนสิริ ,บ.อารียา,บ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี,บ.มิตซุย(ไทยแลนด์)

ธนาคารกรุงไทย,ธนาคารกรุงเทพ,ธนาคารกสิกรไทย,ธนาคารไทยพาณิชย์,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย,แบงก์ ออฟ ไชน่า,เจแปนแบงก์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2018 9:15 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปล่อยเช่าพื้นที่ปั้นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
17 ตุลาคม 2561 - 14:00
รฟท. เปิดพื้นที่ 2,325 ไร่ สถานีกลางบางซื่อ แปลง A ปั้นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เปิดมิติใหม่แห่งการพัฒนาเมือง

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานเสวนารับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ แปลง A ว่า รฟท.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อ พื้นที่แปลง A จำนวน 32 ไร่ มูลค่า 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน พื้นที่รวม 2,325 ไร่ โดยสถานีกลางบางซื่อจะเปิดให้บริการ ในปี 2564 และรฟท.จะนำพื้นที่บางส่วนมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ จากการเปิดเสวนาพบว่ามีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังแผนการดำเนินการ ทั้งเอกชนไทย และต่างชาติ อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ ส่วนจีน เกาหลี อยู่ระหว่างการตัดสินใจ สำหรับการลงทุนร่วมกับต่างชาตินั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ภายใต้ข้อกฎหมายไทยเท่านั้น




ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รฟท. เปืดเผยว่า รฟท.จะประกาศร่างเอกสารประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง หรือ TOR ได้ในต้นปี 2562 และคาดว่าจะได้เอกชนผู้ร่วมลงทุนเข้ามาเซ็นสัญญากลางปีเริ่มก่อสร้างต้นปี 2563 ก่อนเปิดให้บริการปี 2564 สำหรับรูปการลงทุนจะเป็นการลงทุนแบบผสมผสานหรือ โครงการลงทุนแบบมิกส์ ยูส อาทิ ธุรกิจครบวงจร อาคารสำนักงาน โรงแรม เป็นต้น ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่า ภายในระยะเวลา 30 ปี จะได้ผลตอบแทนโครงการราว 3,000-4,000 ล้านบาท



อย่างไรก็ตาม คาดว่าการก่อสร้างโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อพื่นที่ แปลง A จำนวน 32 ไร่ จะก่อสร้างแล้วเสร็จเต็มรูปแบบในปี 2566 ซึ่งจะสอดคล้องกับการเปิดให้บริการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่จะเปิดให้บริการในปี 2566 เช่นกัน รองรับการใช้บริการและการเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่เมือง

//--------------------

PTT-ไทยเบฟ-ซีพี-CPN-ERW-S-UV-SCC-CK-BEM-SIRI-NWR-BLAND-NOBLE-SENA-PLE ร่วมเวที Market Sounding พื้นที่แปลง A บางซื่อ

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 17 ตุลาคม 2561 15:47:47 น.
ผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 200 คนจาก 68 หน่วยงานเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A มูลค่า 1 หมื่นล้านบาทที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดขึ้นในวันนี้ ซึ่งเป็นตัวแทนจากสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงซัพพลายเออร์ ผู้รับเหมาก่อสร้าง และองค์กรต่างประเทศ



ตัวแทนจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN), บมจ. สิงห์ เอสเตท (S), บมจ.ดิ เอรวัณ กรุ๊ป(ERW), TCC Group ซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในคเรือไทยเบฟ , บมจ.ยูนิเวนเจอร์(UV), บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ (NOBLE), บมจ.บางกอกแลนด์ (BLAND) , บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) , บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด ,

บริษัท เค.อี.แลนด์ จำกัด ,บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (ENCO) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบมจ.ปตท (PTT), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.ช.การช่าง (CK) , บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR), บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) , บมจ.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง (PLE)

บมจ.ซีพีแลนด์ ,บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) , บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO), ,บมจ. เสนาดีเวลอปเม้นท์ (SENA), บมจ.แสนสิริ (SIRI), บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด ,บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ,ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารกสิกรไทย ,บลจ.ภัทร,บริษัท โจนส์ แลง ลาซาล์ (ประเทศไทย)จำกัด, บริษัท ซีบีอาร์อี (ประเทศไทย) จำกัด

Bangkok Shuho International ,Hankyu Hanshin Properties, Kyushu Railway Company, Marubeni Thailand Co.,Ltd, Mitsubishi Estate Asia Pte.Ltd ,Mitsubishi heavy Industries (Thailand) , Sumitomo Realty&Development ,Sumitomo Corporation, Singapore Technologies Engineering Ltd. เป็นต้น

สำหรับพื้นที่แปลง A มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท มีแผนพัฒนาเป็นศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน โรงแรม และพื้นที่การค้าปลีก โดยจะเปิดให้เอกชนและนักลงทุนที่สนใจร่วมลงทุนในรูปแบบ DBFOT (Design/Build/Finance/Operate/Transfer) ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี โดยกระทรวงคมนาคม และ รฟท.ร่วมกับองค์การร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศุนย์คมนาคมพหลโยธิน พื้นที่รวม 2,325 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 9 แปลง มีการพัฒนา 3 ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565, 2570 และ 2575 ตามลำดับ ในเบื้องต้น รฟท.จะนำพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีบางซื่อ และเป็นแปลงที่อยู่ติดสถานีกลางบางซื่อมาพัฒนาเป็นลำดับแรกเพื่อให้สอดรับกับการเปิดให้บริการของสถานีกลางบางซื่อ

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า พื้นที่แปลง A จะเป็น Smart Business Complex เพราะอยู่ใกล้สถานีกลางบางซื่อประมาณ 100 เมตร ที่จะเป็นชุมทางการเดินทาง โดยในปี 64 จะมีรถไฟชานเมืองสายสีแดงเปิดให้บริการ ปี 65-66 รถไฟสายสีชมพูเปิดให้บริการ และในปี 66 รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ- นครราชสีมา และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเปิดให้บริการ และปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดินรถอยู่และจะเดินรถครบทั้งเส้นทางในปี 64

ทั้งนี้ คาดว่าพื้นที่แปลง A ดำเนินโครงการ Mixed Use ทั้งนี้เปิดประมูลต้นปี 62 และคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ปลายปี 62 ในปี 63 ดำเนินการจัดทำผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) และจะเริ่มก่อสร้างในปี 63 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีในปี 66 แต่จะเปิดบางส่วนในปี 64

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การสร้างสถานีกลางบางซื่อแห่งใหม่นี้ ทำให้พื้นที่โดยรอบกลายเป็น CBD แห่งใหม่ ฮวงจุ้ยกรุงเทพจะเปลี่ยนไป จากเดิมมีสถานีรถไฟหัวลำโพงเป็นศูนย์กลางและบริเวณรอบจะเป็น Old City ทั้งนี้ สถานีกลางบางซื่อจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางแห่งใหม่โดยคาดว่ามีจำนวนผู้โดยสาร 2 แสนเที่ยว/วันในปี 64 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 แสนเที่ยว/วันในปี 75 ทั้งนี้หากเอกชนเสนอเป็น Smart City จะได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุน (BOI) ด้วย

"สถานีกลางบางซื่อจะเป็นฮวงจุ้ยใหม่ เป็น New CBD และตั้งใจจะให้รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร ...มีความเป็นไปได้ที่เอกชนไทยจะร่วมกับต่างประเทศ"รมช.คมนาคมกล่าว

ขณะที่ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า พื้นที่เชิงพาณิชย์ แปลง A มีพื้นที่ใช้สอย 2.6 แสนตร.ม.นับว่าเป็นโครงการให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) เป็นแปลงใหญ่ และไม่เคยมีการพัฒนาในลักษณะนี้มาก่อน ทำให้มีผู้สนใจและติดต่อเข้ามามาก ถือว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพสูง ทั้งนี้ หลังจากประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ แปลง A ที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจสมัยใหม่ครบวงจรแล้ว จากนั้นจะพัฒนาระยะที่ 2 ในปี 66-70 มี Zone C, Zone F และ Zone D ส่วนการพัฒนาระยะที่ 3 ในปี 71-75 มี Zone B, Zone H และ Zone I

ในที่ประชุม ได้มีคำถามส่วนใหญ่เป็นเรื่องอายุสัมปทานที่เห็นว่าให้ระยะเวลาน้อยเพียง 30 ปี โดยเสนอให้เป็นสัญญาเดียว 90 ปี หรือ 60 ปี หรือ 50 ปี , เงินที่ต้องจ่ายหรือค่าเช่ามีรายละเอียดไม่ชัดเจน, ที่ดินที่ส่งมอบ หากเซ็นสัญญาแล้วไม่สามารถส่งมอบได้ก็จะเป็นปัญหาในการดำเนินการ เรื่องนี้ รฟท.ต้องเคลียร์พื้นที่ให้เร็ว ขณะที่ที่ดินแปลง A ทำอาคารสูงได้เพียง 25 ชั้น จะต้องสร้างลงใต้ดิน ซึ่งพื้นที่ใต้ดินมีทั้งประปา ท่อระบายน้ำ ท่อก๊าซ รฟท.จำเป็นต้องเคลียร์พื้นที่ทั้งหมดด้วย รวมทั้งเห็นว่าการขออนุญาตควรจะรวมเป็นศูนย์เดียว จากปัจจุบันขออนุญาตหลายหน่วยงาน

แหล่งข่าวจากกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า โครงการนี้มีเอกชนสนใจมากแต่ไม่กล้าออกตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมี 3 กลุ่มเข้ามาประมูล ได้แก่ กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งถอยไม่ได้แล้ว เพราะเป็นรายเดียวที่ยึดทำเลพหลโยธินเห็นหลักเหมือนอยู่หัวถนนแล้ว นอกจากนี้ คาดว่ากลุ่มสิงห์จะมาร่วมประมูลแน่นอน และกลุ่มซีพี ขณะที่กลุ่มไทยเบฟเวอเรจ มองว่ากลุ่มนี้มีโครงการใหญ่อยู่ในมืออยู่แล่ว คือ โครงการ One Bangkok

นอกจากนี้ ยังเห็นว่าควรจะย่อยพื้นที่เพื่อให้เริ่มพัฒนาได้ก่อน โดยพื้นที่เชิงพาณิชย์ แปลง A ที่แยกเป็น A1, A2 และ A3 นั้น ควรจะซอยย่อยเป็น A1.1 เพื่อให้เข้าพัฒนาช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ และที่จอดรถ เพราะเงินลงทุนไม่สูงประมาณ 5 พันล้านบาท เพื่อรองรับการเปิดสถานีกลางบางซื่อในปี 64

--อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: sasithorn@infoquest.co.th--


รถไฟเร่งเครื่องพัฒนาแปลงA ไทย-เทศแห่สนใจ
วันพุธ ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561, 14.06 น.
รฟท.ปลื้มต่างชาติ เล็งร่วมพัฒนาพื้นที่บางซื่อ เป็นศูนย์คมนาคมและธุรกิจครบวงจร(ชมคลิป)
วันที่ 17 ตุลาคม 2561 - 15:40 น.

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดรับฟังความเห็นภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธินแปลง A เพื่อให้ภาคเอกชนและนักลงทุนเห็นถึงศักยภาพของสถานีกลางบางซื่อ และแผนการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาดังกล่าวจะเป็นการรองรับการให้บริการระบบรางในอนาคต ตามแผนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2564 ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเริ่มพัฒนาในส่วนแรกคือ แปลง A อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ถือว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก หากการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จก็จะถือเป็นจุดศูนย์กลางแห่งใหม่ที่รวมการให้บริการของระบบราง







“กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) จัดทำ “แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน”พื้นที่รวม 2,325ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 9แปลง มีระยะการพัฒนา 3ระยะ มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565 /2570 และ2575 ตามลำดับในเบื้องต้น การรถไฟแห่งประเทศไทย จะนำพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ และเป็นแปลงที่อยู่ติดสถานีกลางบางซื่อ มาพัฒนาเป็นลำดับแรก เพื่อสอดคล้องกับการเปิดให้บริการของสถานีกลางบางซื่อ สำหรับการพัฒนาศักยภาพของที่ดินโดยรอบสถานีขนส่งทางราง การใช้ประโยชน์ที่ดินตามหลัก TOD และแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ศูนย์คมนาคมพหลโยธิน แปลง A”

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า สำหรับพื้นที่แปลง A มีเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ มูลค่าลงทุน 10,000 ล้านบาท มีแผนพัฒนาเป็น “ศูนย์กลางธุรกิจครบวงจร” โดยเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงานโรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก โดยจะเปิดให้เอกชนและนักลงทุนที่สนใจร่วมลงทุนในรูปแบบ DBFOT ในระยะเวลาสัมปทาน 30ปี และบวกการก่อสร้าง 4ปี รวมโครงการดังกล่าว 34ปี โดยคาดว่าการเบื้องต้นรถไฟจะมีการรายได้จากการพัฒนาพื้นที่แปลง Aประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งการพัฒนาโครงการจะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ แก่ผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าที่สถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย จะนำความเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับไปประกอบการร่างข้อกำหนด หรือTOR สำหรับนักลงทุน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่ง โดยคาดว่าประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน ประมาณเดือนม.ค. 2562 /ลงนามในสัญญาได้ปลายปี 2562/ เอกชนเริ่มดำเนินโครงการได้ ต้นปี 2563 และตามแผนจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความสนใจและตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี

สำหรับการลงทุนดังกล่าว ขณะนี้ถือว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ส่วนประเทศจีน และเกาหลีใต้อาจจะเป็นม้ามืดที่ให้ความสนใจที่จะลงทุนเช่นกัน แนวทางการพัฒนาจะต้องครบสมบูรณ์แบบไร้รอยต่อ


Last edited by Wisarut on 18/10/2018 12:37 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 145, 146, 147 ... 197, 198, 199  Next
Page 146 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©