Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180445
ทั้งหมด:13491679
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/12/2018 9:48 am    Post subject: Reply with quote

ทวงคืนที่รถไฟหมื่นล.ประเดิม3จังหวัดกว่า7พันไร่
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 04 ธ.ค. 2561 เวลา 07:58 น.

เดินหน้าเคลียร์ผลประโยชน์ที่ดิน รฟท. ปักหมุดบุรีรัมย์ กาญจนบุรี พังงา เร่งฟื้นฟูรายได้องค์กร

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.มีแผนจัดตั้งชุดทำงานพิเศษขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาบุกรุกที่ดินรถไฟ พร้อมดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัยและใช้พื้นที่ของ รฟท.ทั่วประเทศ ในปัจจุบันนั้นการบุกรุกพื้นที่ รฟท.มีแทบเกือบจะทุกจังหวัดตั้งแต่พื้นที่ริมทางรถไฟไปจนถึงที่ดินแปลงงามติดภูเขาหรือทะเล

ทั้งนี้ มีจังหวัดเป้าหมายอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ จ.บุรีรัมย์ กาญจนบุรี และพังงา รวม 6,928 ไร่ มูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ใน จ.บุรีรัมย์ รฟท.มีที่ดินราว 5,000 ไร่ ถูกนำไปใช้งานหลายรูปแบบโดยไม่มีการจ่ายค่าเช่าให้ รฟท. อาทิ สถานที่ราชการ เรือนจำ และพื้นที่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนพื้นที่ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทั้งศูนย์ฝึก สนามแข่งขัน ร้านค้าปลีก และสนามแข่งรถชื่อดัง

"นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ได้แสดงความเป็นห่วงถึงการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ดังกล่าว พร้อมเสนอให้ รฟท.หาแนวทางเจรจากับเจ้าของพื้นที่หลังจากจบมหกรรมแข่งขันโมโตจีพี โดยการเจรจาที่ผ่านมาเจ้าของพื้นที่ยินดีจะจ่ายค่าเช่า โดยขอดำเนินการเป็นสัญญาเช่าพื้นที่เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย" นายสมยุทธิ์ กล่าว

สำหรับพื้นที่ จ.กาญจนบุรี มี 1,070 ไร่ บริเวณสถานีรถไฟน้ำตก อ.ไทรโยค ด้านหน้าติดน้ำตก ด้านหลังติดแม่น้ำ จึงถูกบุกรุกไปใช้เชิงพาณิชย์ตอบสนองการท่องเที่ยว ทั้งที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการรูปแบบต่างๆ โดยมีทั้งทำสัญญาเช่าและผู้ที่ลักลอบใช้พื้นที่ โดยไม่มีสัญญา เช่นเดียวกับ จ.พังงา มีจำนวน 858 ไร่ติดทะเล บริเวณ อ.ท่านุ่น ติดกับสะพานสารสิน

"ปัญหาพวกนี้ปล่อยไว้นานไปมันยิ่งเรื้อรังทำให้แก้ไขได้ยาก วันนี้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการจัดหารายได้เชิงพาณิชย์ จึงต้องเร่งจัดระเบียบการใช้พื้นที่ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูกิจการขององค์กรที่ต้องเร่งสร้างรายได้เพิ่มจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์" นายสมยุทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม รฟท.จะเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมเจรจากับเอกชนเพื่อขอเก็บค่าเช่าการใช้พื้นที่ให้เป็นรูปธรรม และอาจจะมีการรื้อย้ายบางส่วนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เช่น แขวงตลิ่งชัน แขวงบางระมาด และฝั่งธนบุรี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2018 10:44 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทวงคืนที่รถไฟหมื่นล.ประเดิม3จังหวัดกว่า7พันไร่
โพสต์ทูเดย์ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 07:58 น.

รฟท.เร่งทวงคืนพื้นที่ 7 พันไร่กว่า 1 หมื่นล้าน
อังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 14.28 น.

รฟท.เดินหน้าทวงคืนพื้นที่รถไฟล็อดแรก 3 จังหวัด บุรีรัมย์-กาญจนบุรี-ตรัง รวมเกือบ 7 พันไร่ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท หลังพบถูกลักลอบใช้ประโยชน์สารพัดแต่ไม่จ่ายค่าเช่า



นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าภายหลังจากกรณีการบุกรุกพื้นที่สถานีแม่น้ำ เพื่อลักลอบนำเอาไปหาผลประโยชน์นั้น คณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟท.ได้แสดงความเป็นห่วง จึงตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่รฟท.ทั่วประเทศ ซึ่งมีแทบทุกทุกจังหวัด ตั้งแต่พื้นที่ริมทางรถไฟไปจนถึงที่ดินติดภูเขาหรือทะเล ซึ่งจากข้อมูลขณะนี้มีจังหวัดเป้าหมายที่ต้องเร่งแก้ปัญหาอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ จ.บุรีรัมย์ จ.กาญจนบุรีและจ.ตรัง รวมพื้นที่ 6,928 ไร่ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท

นายสมยุทธิ์ รฟท.จะเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ในจ.บุรีรัมย์ที่มีอยู่ราว 5,000 ไร่ ซึ่งปัจจุบันถูกนำไปใช้งานหลายรูปแบบโดยไม่มีการจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท. อาทิ สถานที่ราชการ เรือนจำและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนอาณาจักรของอดีตนักการเมืองชื่อดังอย่างพื้นที่ของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทั้งศูนย์ฝึก สนามแข่งขัน ร้านค้าปลีก ตลอดจนสนามแข่งรถชื่อดัง ซึ่งนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ได้แสดงความเป็นห่วงถึงการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ดังกล่าว พร้อมเสนอให้รฟท.หาแนวทางเจรจากับเจ้าของพื้นที่หลังจากจบมหกรรมแข่งขันโตจีพี อย่างไรก็ตามการเจรจาที่ผ่านมานั้นเจ้าของพื้นที่ยินดีที่จะจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท.โดยขอดำเนินการเป็นสัญญาเช่าพื้นที่ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย

นายสมยุทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนพื้นที่จ.กาญจนบุรีนั้นมีจำนวน 1,070 ไร่ บริเวณสถานีรถไฟน้ำตก อ.ไทรโยค เป็นพื้นที่ติดน้ำตกข้างหลังติดแม่น้ำ ซึ่งถูกบุกรุกไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ตอบสนองการท่องเที่ยว ทั้งที่พัก ร้านอาหาร และธุรกิจบริการรูปแบบต่างๆ โดยมีทั้งทำสัญญาเช่าและผู้ที่ลักลอบใช้พื้นที่โดยไม่มีสัญญา เช่นเดียว กับจ.ตรัง มีพื้นที่จำนวน 858 ไร่ ติดทะเล บริเวณ อ.ท่านุ่นติดกับสะพานสารสิน ปัจจุบันมีเอกชนหลากหลายแห่งใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ทั้งร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ตลอดจนสถานบันเทิง หลังจากนี้หากมีการตั้งคณะทำงานดังกล่าวขึ้นมาแล้ว รฟท.จะลงพื้นที่ตรวจสอบ พร้อมเจรจากับเอกชน เพื่อขอเก็บค่าเช่าการใช้พื้นที่ให้เป็นรูปธรรมและอาจจะมีการรื้อย้ายบางส่วน ให้สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูกิจการขององค์กรที่ต้องเร่งสร้างรายได้เพิ่มจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์

สนามแข่งรถ สโมสรฟุตบอลชื่อดัง ที่ดินรถไฟเขากระโดง งานนี้ ต้องเจรจากะ Magnificent Bastard of Buriram เสียแล้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2736935599653821&set=a.213819491965457&type=3&theater

//-------------------

รฟท.ลุยทวงคืนพื้นทึ่รถไฟเฉียด 7 พันไร่มูลค่าหมื่นล้าน

4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08:33 น.

รฟท.ลุยทวงคืนที่รถไฟหมื่นล้านปักหมุด 3 จังหวัดเฉียด 7 พันไร่ หลังพบลักลอบใช้ประโยชน์สารพัดแต่ไม่จ่ายค่าเช่า ด้านรมช.คมนาคมสั่งเคลียร์ปัญหา บอร์ดรฟท.เตรียมคลอดทีมพิเศษปฏิบัติภารกิจทวงคืน


นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่าภายหลังจากกรณีการบุกรุกพื้นที่สถานีแม่น้ำเพื่อลักลอบนำเอาไปหาผลประโยชน์นั้นคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด)รฟท.ได้แสดงความเป็นห่วงถึงเรื่องดังกล่าว และมีแผนที่จะตั้งชุดทำงานพิเศษขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั่วประเทศควบคู่ไปกับการขึ้นทะเบียนผู้อยู่อาศัยและใช้พื้นที่ของรฟท.ทั่วประเทศ


อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนั้นการบุกรุกพื้นที่รฟท.มีแทบเกือบจะทุกจังหวัดตั้งแต่พื้นที่ริมทางรถไฟไปจนถึงที่ดินแปลงงามติดภูเขาหรือทะเล จากข้อมูลขณะนี้มีจังหวัดเป้าหมายอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ จ.บุรีรัมย์ จ.กาญจนบุรีและจ.พังงา รวม 6,928 ไร่ มูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท เริ่มจากพื้นที่ในจ.บุรีรัมย์นั้นรฟท.มีที่อยู่ราว 5,000 ไร่ ในวันนี้ถูกนำไปใช้งานหลายรูปแบบโดยไม่มีการจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท. อาทิ สถานที่ราชการ เรือนจำและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ตลอดจนอาณาจักรของอดีตนักการเมืองชื่อดังอย่างพื้นที่ของสโมสรฟุตบอล ทั้งศูนย์ฝึก สนามแข่งขัน ร้านค้าปลีกตลอดจนสนามแข่งรถชื่อดัง นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมได้แสดงความเป็นห่วงถึงการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ดังกล่าวพร้อมเสนอให้รฟท.หาแนวทางเจรจากับเจ้าของพื้นที่หลังจากจบมหกรรมแข่งขันโตจีพี อย่างไรก็ตามการเจรจาที่ผ่านมานั้นเจ้าของพื้นที่ยินดีที่จะจ่ายค่าเช่าให้กับรฟท.โดยขอดำเนินการเป็นสัญญาเช่าพื้นที่เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย


นายสมยุทธิ์ กล่าวต่อว่าสำหรับพื้นที่จ.กาญจนบุรีนั้นมีจำนวน 1,070 ไร่ บริเวณสถานีรถไฟน้ำตก อ.ไทรโยค เป็นพื้นที่แปลงงามข้างหน้าติดน้ำตกข้างหลังติดแม่น้ำดังนั้นจึงถูกบุกรุกไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์ตอบสนองการท่องเที่ยวทั้งที่พัก ร้านอาหารและธุรกิจบริการรูปแบบต่างๆ โดยมีทั้งทำสัญญาเช่าและผู้ที่ลักลอบใช้พื้นที่โดยไม่มีสัญญา เช่นเดียวกับจ.พังงา มีจำนวน 858 ไร่ติดทะเล บริเวณ อ.ท่านุ่นติดกับสะพานสารสิน ปัจจุบันมีเอกชนหลากหลายแห่งใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งร้านอาหาร ร้านค้าปลีกตลอดจนสถานบันเทิง


อย่างไรก็ตามหลังจากนี้หากมีการตั้งคณะทำงานดังกล่าวขึ้นมารฟท.จะลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมเจรจากับเอกชนเพื่อขอเก็บค่าเช่าการใช้พื้นที่ให้เป็นรูปธรรมและอาจจะมีการรื้อย้ายบางส่วน สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูกิจการขององค์กรที่ต้องเร่งสร้างรายได้เพิ่มจากกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ขณะที่ประชาชนทั่วไปที่บุกรุกพื้นที่รถไฟดังกล่าวเพื่อทำเป็นที่พักอาศัยและชุมชมนั้น รฟท.อาจพิจารณาไม่เวนคืนหรือเก็บค่าใช้พื้นที่เนื่องจากเป็นการใช้ประโยชน์เชิงสังคมมิได้เป็นไปเพื่อการค้าทำกำไร ทั้งนี้บริเวณชานเมืองของกรุงเทพมหานครที่พบว่ามีการบุกรุกใช้พื้นที่รฟท.จำนวนมากได้แก่ แขวงตลิ่งชัน แขวงบางระมาด และฝั่งธนบุรี


“ปัญหาพวกนี้ปล่อยไว้นานไปมันยิ่งเรื้อรังทำให้แก้ไขได้ยาก วันนี้ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการจัดหารายได้เชิงพาณิชย์จึงต้องเร่งจัดระเบียบการใช้พื้นที่ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย”นายสมยุทธิ์กล่าว


นายสมยุทธิ์ กล่าวต่อว่าสาเหตุของปัญหาการลักลอบบุกรุกใช้พื้นที่หรือพวกเอกชนที่ตีเนียนใช้พื้นที่นั้นเป็นปัญหาทุจริตของเจ้าหน้าที่ภาครัฐโดยทำเป็นขบวนการทั้งฝ่ายเจ้าของที่ดินอย่างรฟท. หน่วยงานที่ดูแลเรื่องที่ติด ตลอดจนหน่วยงานด้านไฟฟ้า ประปาและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่เข้าไปสนับสนุนให้กิจกรรมเชิงพาณิชย์เกิดบนพื้นที่รถไฟ จะเห็นได้ว่ามีข้าราชการหลายฝ่ายเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นรฟท.ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มากขึ้นเช่นเดียวกับกรณีของสถานีแม่น้ำที่มีการกระทำความผิดแบบไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองอีกทั้งยังกอบโกยผลประโยชน์จำนวนมากอีกด้วย


Last edited by Wisarut on 14/01/2019 12:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2018 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ทวงคืนที่รถไฟหมื่นล.ประเดิม3จังหวัดกว่า7พันไร่
โพสต์ทูเดย์ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 07:58 น.

รฟท.เร่งทวงคืนพื้นที่ 7 พันไร่กว่า 1 หมื่นล้าน
อังคารที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 14.28 น.

รฟท.เดินหน้าทวงคืนพื้นที่รถไฟล็อดแรก 3 จังหวัด บุรีรัมย์-กาญจนบุรี-ตรัง รวมเกือบ 7 พันไร่ มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท หลังพบถูกลักลอบใช้ประโยชน์สารพัดแต่ไม่จ่ายค่าเช่า
สนามแข่งรถ สโมสรฟุตบอลชื่อดัง ที่ดินรถไฟเขากระโดง งานนี้ ต้องเจรจากะ Magnificent Bastard of Buriram เสียแล้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2736935599653821&set=a.213819491965457&type=3&theater


บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ขอชี้แจงไม่เคยใช้ที่ดินรถไฟ - และตูจะเชื่อใครดีหละหวา
https://www.buriramunited.com/main_news/detail/609
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2018 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ขอชี้แจงไม่เคยใช้ที่ดินรถไฟ - และตูจะเชื่อใครดีหละหวา
https://www.buriramunited.com/main_news/detail/609

"บุรีรัมย์" แจงกรณีฮุบที่ "การรถไฟ" ทำสนามฟุตบอล
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 6 ธันวาคม 2561 เวลา 17:47

จากกรณีที่มีสื่อมวลชนบางสำนัก ระบุว่า สนามแข่งขันของสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย จนกลายเป็นกระแสข่าววิจารณ์ในโลกออนไลน์ถึงความไม่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามล่าสุด ทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ได้ออกหนังสือชี้แจงกรณีดังกล่าวว่าสโมสรไม่เคยได้รับหนังสือแจ้งจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และที่ดินทั้งหมดยังเป็นที่ที่มีเอกสารสิทธิจากกรมที่ดินอย่างถูกต้อง

เรื่อง บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ขอชี้แจงไม่เคยใช้ที่ดินรถไฟ
ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทยทวงที่ดินของการรถไฟฯ ในหลายจังหวัดรวมถึงจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีการระบุว่าครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งสนามฟุตบอลและร้านค้าของสโมสรฟุตบอล ด้วยนั้น

บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด ขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ ไม่เคยได้รับการติดต่อ ไม่เคยได้รับหนังสือแจ้งเรื่องที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมาก่อน

กรณีที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งสนามแข่งขันและที่ตั้งร้านค้าของสโมสรฯ เป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ ซึ่งออกโดยกรมที่ดินทุกฉบับ เช่นเดียวกับที่ดินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกันไม่น้อยกว่า 2,000 ครอบครัว

จึงเรียนมาเพื่อทราบ
นายทัดเทพ พิทักษ์พูลสิน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จำกัด


Last edited by Wisarut on 12/12/2018 11:38 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2018 11:37 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟยึดคืนที่ดินทั่วปท. 7 พันไร่หมื่นล. สร้างทางคู่-ไฮสปีด-ลุยมิกซ์ยูสนำร่อง”แม่น้ำ”ปีหน้า
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 12 ธันวาคม 2561 เวลา 08:36 น.

ปัจจุบันและอนาคต - สภาพพื้นที่260 ไร่ของสถานีแม่น้ำ ที่การรถไฟฯเตรียมจะนำเปิดประมูลหาเอกชนมาพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันถูกบุกรุก 86 ไร่ และฟ้องขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ใน 2 เดือนนี้

การรถไฟฯปฏิบัติการยึดคืนที่ดินทั่วประเทศ หลังถูกบุกรุกมานาน เปิดประมูลให้เอกชนพัฒนาโครงการเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ระยะยาว เคลียร์หน้าดินรับรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า ไฮสปีดเทรน ปีหน้าประเดิม “สถานีแม่น้ำ” 260 ไร่ ขึ้นมิกซ์ยูส 8 หมื่นล้าน ลุยรื้อ 7.5 พันไร่ กาญจนบุรี พังงา บุรีรัมย์

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.มีแผนจะนำที่ดินแปลงใหญ่มาเปิดให้เอกชนร่วมพัฒนาจัดหาประโยชน์รูปแบบ PPP เช่น สถานีแม่น้ำ ย่าน กม.11 รวมถึงเตรียมพื้นที่รองรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟความเร็วสูง ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) จึงเร่งรัดให้ ร.ฟ.ท.สำรวจการบุกรุกที่ดินทั่วประเทศเพื่อจะได้เร่งดำเนินการก่อนที่จะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนต่อไป เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้

สถานีแม่น้ำโมเดลนำร่อง

“ตอนนี้มีสถานีแม่น้ำเป็นโมเดลแล้ว จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป จะต้องเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด เพราะปีหน้าจะมีการเปิดประมูล PPP แล้ว”

นายสมยุทธิ์ เรือนงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านปฏิบัติการ ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ เปิดเผยว่า บอร์ด ร.ฟ.ท.มีมติให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินการกับผู้บุกรุกหรือรุกล้ำที่ดินรถไฟ เริ่มพื้นที่สถานีแม่น้ำ 260 ไร่เป็นที่แรก ได้สำรวจตั้งแต่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีพื้นที่ถูกบุกรุกรวม 86 ไร่ คิดเป็น 33% ของพื้นที่ทั้งหมด และพบว่ามีเอกชนบุกรุกในพื้นที่ประมาณ 40 ราย รูปแบบการบุกรุกมีทั้งทำลานจอดรถบรรทุก, กองเก็บวัสดุก่อสร้างและบ่อคอนกรีต, ที่พักคนงาน, กองขยะขนาด 1 ล้านคิว, ที่พักคนงาน, กองเก็บทรายและหิน,อู่ซ่อมรถและที่เก็บเครื่องจักรขนาดใหญ่ ส่วนสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่เป็นตู้สินค้าคอนเทนเนอร์, บ้านชั้นเดียวแบบน็อกดาวน์ (บ้านสำเร็จรูป) และเพิงสังกะสีที่พักคนงาน

“แจ้งดำเนินคดีอาญาไปแล้ว 16 ราย แบ่งเป็นคดีบุกรุก 15 คดี ปลอมแปลงเอกสารสัญญาเช่า 1 คดี และฟ้องแพ่ง 5 ราย รวมมูลค่าความเสียหายที่ฟ้องร้อง 23 ล้านบาท ศาลนัดพิจารณาคดีนัดแรกวันที่ 12 ก.พ. 2562”

ส่วนคดีอาญามีผู้รับมอบอำนาจจาก 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท พงษ์ระวี จำกัด, บริษัท สยามคอนสตรัคชั่นกรุ๊ป จำกัด, บริษัท โอ แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด, บริษัท เวิลด์ โพร-ฟิกซ์ จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เดชประเสริฐ ขนส่ง และห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.เอส.เอส.ซัพพลาย ขอเจรจากับ ร.ฟ.ท.ที่สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยขอเวลา 6 เดือนขนย้ายอุปกรณ์และเครื่องจักรขนาดใหญ่ รถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ และอื่น ๆ แต่คณะทำงานไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว โดยจะดำเนินการฟ้องร้องทั้งแพ่งและอาญาภายในเดือน ธ.ค.นี้

เร่งขับไล่ใน 2 เดือน

“บอร์ดให้เวลาขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกไปจากพื้นที่ภายใน 2 เดือนโดยไม่ต้องรอผลคดีแพ่งที่กว่าจะรู้ผลคดีต้องใช้เวลา 7-8 เดือน เมื่อผู้บุกรุกออกไปจากพื้นที่ได้แล้ว จะต้องเคลียร์พื้นที่ภายใน 1 ปี หรือภายในปีหน้า เพื่อนำพื้นที่เปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาต่อไปตามแผนงาน” นายสมยุทธิ์กล่าวและว่า ปัจจุบันพื้นที่สถานีแม่น้ำทั้ง 260 ไร่ สามารถตีมูลค่าที่ดินตามการประเมินของกรมธนารักษ์ได้ทั้งสิ้น 13,000 ล้านบาท (คิดเป็นไร่ละ 25 ล้านบาท และตารางวาละ 62,500 บาท) ส่วนอัตราค่าเช่าของ ร.ฟ.ท.ในปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 825 บาท/ตารางเมตร/ปี

เปิดหน้าดินรับมิกซ์ยูส

สำหรับการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการที่ดินมี 6 รูปแบบ ประกอบด้วย อาคารพาณิชยกรรมและค้าปลีก อาคารพักอาศัย สำนักงาน ศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติ และโรงแรม แบ่งพัฒนา 5 โซน

โซนที่ 1 gateway commercial park 77 ไร่ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม ที่พักอาศัยและบริการประเภทของอาคารประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน

โซนที่ 2 iconic marina 44 ไร่ เหมาะสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงาน ศูนย์ประชุมสัมมนาที่พักอาศัย ศูนย์การค้า พาณิชยกรรม การแสดงสินค้า ธุรกิจการค้า ที่ทำการขององค์กรการค้าเอกชน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และท่าเทียบเรือสำราญขนาดกลาง

โซนที่ 3 cultural promenade 78 ไร่ เหมาะพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมค้าปลีก และศูนย์กิจกรรมทั้งด้านบันเทิง ด้านการสร้างสรรค์ ร้านอาหาร ภัตตาคาร สปา คลับและอาคารใช้งานแบบผสมผสาน (mixed-use tower)

โซนที่ 4 riverfront residence 55 ไร่ เหมาะสร้างกลุ่มคอนโดมิเนียมหรือกลุ่มอาคารที่พักอาศัย สามารถเชื่อมต่อกับการใช้งานในพื้นที่อื่นของพื้นที่โครงการส่วนอื่นได้อย่างสะดวก และโซนที่ 5 affordable community 22 ไร่ ติดริมคลองด้านทิศเหนือ เหมาะพัฒนารองรับธุรกิจการค้าระดับชุมชน สินค้าหัตถกรรม ร้านอาหารตามแนวริมคลองขุด มีมูลค่าก่อสร้างโครงการและสาธารณูปโภค 88,780 ล้านบาท

ขยายผล 3 จังหวัด 7.5 พันไร่

นายสมยุทธิ์กล่าวว่า นอกจากสถานีแม่น้ำแล้ว จะลงพื้นที่สำรวจพื้นที่อื่นอีก ในเบื้องต้นมีผู้บุกรุกใน 3 จังหวัด คือ กาญจนบุรี พังงา บุรีรัมย์ รวมประมาณ 7,588 ไร่ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งคณะทำงานจะขยายผลไปที่ จ.กาญจนบุรี พื้นที่รวม 1,750 ไร่ แบ่งเป็น 1.พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟกาญจนบุรี 140 ไร่มีปัญหาร้านค้าและบ้านเรือนประมาณ 20-30 หลังคาเรือนเข้าไปบุกรุก แต่เบื้องต้นตกลงกันได้แล้ว

2.พื้นที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว 540 ไร่ประสบปัญหามีแรงงานต่างด้าวทั้งชาวเมียนมาและชนกลุ่มน้อย เช่น กะเหรี่ยง พักอาศัยอยู่เพื่อรอเดินทางต่อเข้ามาในประเทศ และ 3.บริเวณน้ำตกไทรโยค 1,070 ไร่ พบว่ามีปัญหาการบุกรุกเข้าไปทำที่พักทั้งรีสอร์ตและโรงแรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่นี้ในอนาคต ร.ฟ.ท.มีแผนจะนำมาเปิดประมูลให้เอกชนพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม หรือรีสอร์ตอยู่แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการอยู่

ถัดมาจะเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่าง จ.พังงาและภูเก็ตที่มีสะพานสารสินเป็นจุดเชื่อมต่อ พื้นที่รวม 838 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา เบื้องต้นพบว่าบริเวณใกล้ ๆ กับสะพานสารสินมีการบุกรุกเพื่อขุดดินนำไปขายทำวัสดุก่อสร้าง และมีเรื่องการออกโฉนดที่ดินทับซ้อนในเขตที่ดินของ ร.ฟ.ท. โดยกำลังสำรวจพื้นที่ว่าถูกบุกรุกเท่าไหร่ และพื้นที่ที่มีโฉนดทับซ้อนมีจำนวนมากหรือไม่

บุรีรัมย์บุกรุก 5 พันไร่

นายสมยุทธิ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของ จ.บุรีรัมย์มีพื้นที่บริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีขนาดพื้นที่รวม 5,000 ไร่ที่ถูกบุกรุก ห่างจากแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ช่วงจิระ-อุบลราชธานีประมาณ 2 กม. ซึ่งมีชาวบ้านรุกพื้นที่เข้าไปทำเกษตรกรรมจำนวน 100 ไร่ และมีกรณีชาวบ้านที่อยู่อาศัยในที่ดินของการรถไฟฯบางส่วนฟ้องร้อง เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ไม่ยอมออกโฉนดที่ดินให้ แต่ในท้ายที่สุดศาลฎีกามีคำสั่งให้ชาวบ้านแพ้คดี จนชาวบ้านมาติดต่อขอเช่าพื้นที่เพื่ออยู่อาศัย ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพูดคุยกันอยู่

รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้ มีที่ดินบางส่วนของ จ.บุรีรัมย์ที่ถูกครอบครองโดยนักการเมืองชื่อดังนำไปพัฒนาประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการดำเนินการจะต้องให้ทางผู้ใหญ่ในกระทรวงคมนาคมเป็นผู้กำหนดนโยบายดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2018 9:38 am    Post subject: Reply with quote

เปิดผังที่ตั้งกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ ใช้พื้นที่ร.ฟ.ท.5 ไร่ที่สถานีกลางบางซื่อ

วันที่ 12 ธันวาคม 2561

คมนาคมร่อนหนังสือขอเช่าพื้นที่ 8-15 ไร่ของร.ฟ.ท.ตั้งกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ หลังจากพลาดหวังใช้ที่ดินรฟม.ที่พระราม 9 มาแล้ว จี้เร่งชงบอร์ดอนุมัติก่อนตั้งงบปี 2563 ไปดำเนินการ ด้านร.ฟ.ท.เตรียมชงบอร์ดไฟเขียวใช้พื้นที่ 5 ไร่ของกองโรงงานโยธาให้ดำเนินการ


แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้มีหนังสือถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เรื่องขอเช่าพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ ภายหลังจากที่ช่วงก่อนนี้พลาดหวังจากการขอที่ดินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ที่พระราม9 มาแล้วโดยอ้างถึงตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือที่ คค0205/1014 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงคมนาคมมีความประสงค์ขอเช่าพื้นที่ของร.ฟ.ท.จำนวน 8-15 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่ของกระทรวงคมนาคม และร.ฟ.ท.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 แจ้งให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมทราบว่าได้พิจารณาโดยการใช้แนวทางการให้เช่าของกรณีให้หน่วยงานราชการต่างๆ และเปรียบเทียบกับสัญญาเช่าที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานต่างๆ โดยเรื่องการให้เช่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการร.ฟ.ท.ที่จะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ



โดยคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้มีมติให้ขอเช่าพื้นที่ของร.ฟ.ท. บริเวณย่านถนนพหลโยธิน(ริมถนนกำแพงเพชร 2) เป็นพื้นที่ก่อสวร้างอาคารที่ ทำการกระทรวงคมนาคมแห่งใหม่ และขอให้ร.ฟ.ท. นำเสนอคณะกรรมการร.ฟ.ท.เพื่อพิจารณาในโอกาสต่อไป หลังจากนั้นจะนำไปประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2563 ในภาพรวมของกระทรวงคมนาคมต่อไป

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของร.ฟ.ท.รายหนึ่ง กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างนำพื้นที่ 5 ไร่เสนอคณะกรรมการร.ฟ.ท.พิจารณาตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมนำเสนอขอเช่าพื้นที่ร.ฟ.ท. โดยจะเป็นพื้นที่กองโรงงานโยธา ตรงข้ามสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ใกล้ทางขึ้นทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงคมนาคม

ประการสำคัญยังมีหน่วยงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์ และร.ฟ.ท.เรื่องการพัฒนาบริการและวิชาการด้านการแพทย์ ฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2561 ร.ฟ.ท.มีบทบาทในการจัดพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธิน (บริเวณใกล้โรงงานผลิตและซ่อมบำรุงสะพานเหล็ก) ให้กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำหรับก่อสร้างโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรแห่งใหม่



“คมนาคมคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 5 ไร่โดยจะนำทั้ง 2 หน่วยงานไปร่วมในการรังวัดพื้นที่จริงในวันที่ 20 ธันวาคมนี้พร้อมเตรียมเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท. พิจารณา โดยกำหนดอัตราค่าเช่าเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ แต่มีส่วนลดในอัตราเดียวกับราชการอื่นๆ 25% นั่นคือเป็นอัตราเดียวกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อตก.) เช่าใช้ที่อยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอตก.ส่วนหนึ่งจะพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์ ราคาจึงแตกต่างกัน ระหว่างสำนักงาน และเชิงพาณิชย์ โดยภาพรวมจะคิดในอัตรา 2.75% ของอัตราประเมิน ราคาเช่าคิดเป็นต่อตารางเมตร ระยะเวลาเช่า 15 ปี ราคาเช่าปีแรก 1,546 บาทต่อตารางเมตร ปรับเพิ่มปีละ 5% สำหรับเขตดังกล่าวสามารถสร้างอาคารความสูงได้ประมาณ 150 เมตร”

ทั้งนี้ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวใช้เป็นที่ตั้งกองโรงงานโยธา ร.ฟ.ท. ติดกับสำนักงานก่อสร้างโครงการรถไฟสายสีแดง นับเป็นอีกหนึ่งทำเลที่ใกล้กับตลาดนัดจตุจักร ใกล้กับสวนสาธารณะสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สะดวกสบายด้านการเดินทางทั้งรถไฟฟ้า MRT ราว 300-500 เมตร ใกล้จุดขึ้น-ลงทางด่วนศรีรัช- วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตก และตลาดอตก. อีกทั้งยังใกล้กับจุดให้บริการเดินทางของสถานีผู้โดยสารกรุงเทพ(หมอชิตใหม่) ของบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) บนพื้นที่ 16 ไร่ นอกเหนือจากใกล้กับสถานีกลางบางซื่อเพียงไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/12/2018 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

“เซ็นทรัลฯ”จ่ายรฟท.กว่า 1 พันล.ตามสัญญาค่าที่ดิน สามเหลี่ยมพหลฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 ธันวาคม 2561 18:24


“เซ็นทรัลฯ”จ่ายค่าตอบแทนรฟท.กว่า 1 พันล. ชำระผลประโยชน์ที่ดิน สามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ปี 61 ซึ่งเป็นปีที่ 10 ซึ่งจ่ายผลตอบแทนรวมแล้ว กว่า 8.6 พันล. ขณะที่สัญญาอายุ 20 ปี (51-71)รฟท.ต้องได้รับผลตอบแทนรวม 2.1 หมื่นล.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟ
แห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า วันที่ 18 ธ.ค. รฟท.ได้รับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2561 จากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด เป็นจำนวนเงิน 1,036,897,000 บาท (หนึ่งพันสามสิบหกล้านแปดแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันบาท) ซึ่งทำให้ระหว่างปี 2551-2561 รฟท.ได้รับค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน รวมแล้วทั้งสิ้น 8,668,596,000 บาท (แปดพันหกร้อยหกสิบแปดล้านห้าแสนเก้าหมื่นหกพันบาทถ้วน)

สำหรับการชำระเงินครั้งนี้ สืบเนื่องจากสัญญาให้สิทธิการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด สัญญามีระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551 – 18 ธันวาคม 2571 จำนวน 47.22 ไร่ โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นจำนวนเงิน 21,298,833,000 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันสองร้อยเก้าสิบแปดแปดแสนสามหมื่นสามพันบาทถ้วน)

นายวรวุฒิกล่าวว่า รายละเอียดสัญญาการชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ที่บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ต้องมอบให้แก่การรถไฟฯ ตลอดระยะเวลาสัญญา ประกอบด้วย ค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิตามข้อ 8 ของสัญญาเดิม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,611,103,000 บาท (สองพันหกร้อยสิบเอ็ดล้านหนึ่งแสนสามพันบาทถ้วน) โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ค่าภาษีค่าอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ (ถ้ามี) โดยแบ่งชำระเป็น 5 งวด งวดแรกชำระในวันที่สัญญา
มีผลบังคับงวดที่เหลือแต่ละงวด มีกำหนดระยะเวลาชำระห่างกัน 12 เดือน นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระงวดก่อนหน้านั้น ซึ่งปัจจุบันได้ชำระในส่วนนี้ครบถ้วนแล้ว

นอกจากนี้ยังมีค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าเป็นเวลา 20 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,687,730,000 บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยแปดสิบเจ็ดล้านเจ็ดแสนสามหมื่นบาทถ้วน) โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ค่าภาษี ค่าอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ (ถ้ามี) ทั้งสิ้น โดยจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

ขณะเดียวกัน หากรายได้รวมของศูนย์การค้าฯ คำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท รวมทุก ๆ 5 ปี สูงกว่าประมาณการรายได้ศูนย์การค้าที่แจ้งต่อรฟท.ไว้ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ต้องให้ค่าผลประโยชน์ตอบแทนแก่ รฟท. เพิ่มเติมในลักษณะของส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) เฉพาะส่วนที่เกินกว่าประมาณการรายได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ในอัตรา 5%

โดยใช้ประมาณการรายได้จากที่ปรึกษาของรฟท. เปรียบเทียบกับรายได้ของบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เช่น ประมาณการรายได้ระหว่างปี 2562-2566 รวมรายได้ช่วง 5 ปี จำนวน 26,281,000,000 บาท โดยบริษัทจะต้องจ่ายตอบแทนดังกล่าวให้การรถไฟฯ จำนวน 1,314,050,000 บาท ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของทุก ๆ 5 ปี

//------------------------------



มาตามสัญญา! การรถไฟฯ รับค่าผลตอบแทนศูนย์การค้า “เดอะวัน พาร์ค” 1,036 ล้านบาท
พร็อพเพอร์ตี้

วันที่ 18 ธันวาคม 2561 - 17:41 น.

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2561 จากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ผู้พัฒนาศูนย์การค้า “เดอะวัน พาร์ค” เป็นเงิน 1,036 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้รับค่าผลประโยชน์ระหว่างปี 2551-2561 รวมแล้วทั้งสิ้น 8,668 ล้านบาท

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟ
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯได้รับการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินประจำปี 2561 จากบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์ พัฒนา จำกัด เป็นจำนวนเงิน 1,036.897ล้านบาท ส่งผลให้จนถึงปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้รับค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ระหว่างปี 2551-2561 รวม 10 ปี 8,668.596 ล้านบาท

สำหรับการชำระเงินครั้งนี้สืบเนื่องจากสัญญาให้สิทธิการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธินระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด สัญญา
มีระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2551-18 ธันวาคม 2571 จำนวน 47.22 ไร่ โดยผลตอบแทนรวมตลอดอายุสัญญาเป็นจำนวนเงิน 21,298.833 ล้านบาท

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า ในรายละเอียดสัญญาการชำระค่าผลประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน ที่บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ต้องมอบให้แก่การรถไฟฯ ตลอดระยะเวลาสัญญา
มีรายละเอียดประกอบด้วย ค่าผลประโยชน์ตอบแทนการได้สิทธิตามข้อ 8 ของสัญญาเดิม เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,611.103 ล้านบาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย

ค่าภาษีค่าอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ (ถ้ามี) แบ่งชำระเป็น 5 งวด งวดแรกชำระในวันที่สัญญา
มีผลบังคับงวดที่เหลือแต่ละงวด มีกำหนดระยะเวลาชำระห่างกัน 12 เดือน นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระงวดก่อนหน้านั้น ซึ่งปัจจุบันได้ชำระในส่วนนี้ครบถ้วนแล้ว

นอกจากนี้ยังมีค่าผลประโยชน์ตอบแทนการใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าเป็นเวลา 20 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,687.73 ล้านบาท โดยไม่หักค่าใช้จ่าย ค่าภาษี ค่าอากร และค่าธรรมเนียมใดๆ (ถ้ามี) ทั้งสิ้น โดยจะต้องชำระให้แก่การรถไฟฯ เป็นรายปี รวม 20 งวด ตลอดระยะเวลาสัญญา

ขณะเดียวกันหากรายได้รวมของศูนย์การค้าฯ คำนวณตามรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท รวมทุกๆ 5 ปี สูงกว่าประมาณการรายได้ศูนย์การค้าที่แจ้งต่อการรถไฟฯไว้ บริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด ต้องให้ค่าผลประโยชน์ตอบแทนแก่การรถไฟฯ เพิ่มเติมในลักษณะของส่วนแบ่งรายได้ (Revenue Sharing) เฉพาะส่วนที่เกินกว่าประมาณการรายได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ในอัตราร้อยละ 5

โดยใช้ประมาณการรายได้จากที่ปรึกษาของการรถไฟฯ เปรียบเทียบกับรายได้ของบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด เช่น ประมาณการรายได้ระหว่างปี 2562-2566 รวมรายได้ช่วง 5 ปี จำนวน 26,281 ล้านบาท โดยบริษัทจะต้องจ่ายตอบแทนดังกล่าวให้การรถไฟฯ จำนวน 1,314 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของทุกๆ 5 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2018 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

สภากทม.จี้ล้างผู้มีอิทธิพล ปล่อยเช่าช่วงแผงจตุจักร
พฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2561 เวลา 09.47 น.

"สภา กทม." จี้ฝ่ายบริหารเสนอแผนจัดการตลาดนัดจตุจักร โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอิทธิพล ปล่อยแผงเช่าช่วง ด้าน กทม.เร่งสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รายงานต้นปี 62

เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมสภากทม. นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ สมาชิกสภา กทม.ได้ยื่นญัตติ เรื่องขอให้กรุงเทพมหานครรายงานแผนการดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โอนความรับผิดชอบการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักร และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบัน กทม. ได้เข้าบริหารจัดการพื้นที่ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา จึงขอให้กำหนดแผนในการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ เช่น การบริหารจัดการแผงค้า ค่าเช่า เงื่อนไขการเช่า ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล รวมถึงการปรับภูมิทัศน์และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ ที่จอดรถและเรื่องอื่นๆ โดยสมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่มีความเป็นห่วงและกังวลปัญหาเงื่อนไขการเช่า ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มผู้มีอิทธิพล ไม่น้อยกว่า 10 ราย ปล่อยแผงเช่าช่วงต่อ 50-100 แผง

นอกจากนี้ยังพบว่ามีแผงค้าที่ตั้งวางอยู่บนพื้นถนน ซึ่งหากแก้ไขปัญหาการปล่อยแผงเช่าช่วงต่อได้ จะทำให้ตลาดนัดจตุจักร เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาระบบระบายน้ำ ห้องน้ำ ถนน ทางเดินในซอยโครงการต่างๆ รวมไปถึงโครงสร้างกายภาพของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน ควรจะแก้ไขด้วย เพราะตลาดนัดจตุจักร มีผู้ใช้บริการ 1-2 แสนคนต่อวัน ร้อยละ 50 เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งควรทำให้เป็นตลาดนัดที่สะอาด สะดวก และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เพิ่มความเชื่อมั่นทั้งผู้ค้าและผู้ใช้บริการ ทั้งนี้นายจักกพันธุ์ได้มอบหมายให้เลขานุการ ไปรวบรวมรายละเอียด เพื่อรายงานผลและเสนอแผนในการเข้าบริหารจัดการพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร ซึ่งคาดว่าในต้นปี 2562 จะสามารถสรุปและรายงานแผนได้



ด้านนายเกรียงพล พัฒนรัฐ เลขานุการผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า เบื้องต้นกทม.จะต้องจ่ายค่าเช่ากับ รฟท. 169 ล้านบาทต่อปี ส่วนจำนวนแผงค้า อยู่ระหว่างตรวจสอบสิทธิ แต่เบื้องต้นพบว่ามีผู้ค้าประมาณ 8,000 ราย ที่มีการเสียภาษี ให้กับสำนักงานเขต ซึ่งขณะนี้ รฟท.ได้ทยอยส่งรายชื่อผู้ค้า เพื่อให้กทม.ตรวจสิทธิ อย่างไรก็ตามจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน คาดว่าต้นปี 2562 น่าจะรวบรวมและรายงานข้อมูลให้ทราบได้

ทั้งนี้ที่ประชุมสภา กทม. มีมติรับทราบในญัตติดังกล่าว พร้อมทั้งจะติดตามแผนการดำเนินการบริหารจัดการตลาดนัดจตุจักร และรอผลสรุปรายงานการ บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2018 11:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.เซ็น MOU ปตท. พัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ
21 ธันวาคม 2561

รฟท.เอ็มโอยูร่วม ปตท.พัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาระบบสนับสนุนและขนส่งสินค้ากลุ่ม ปตท. ทางระบบราง

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2561 รฟท.ได้ลงนามความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาระบบสนับสนุนและขนส่งสินค้า กลุ่ม ปตท. ทางระบบราง ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อให้สอดรับตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งให้เข้าสู่ระบบรางมากขึ้น โดยมีหลักการ “ขนส่งมวลชน ขนสินค้า คุ้มค่าใช้จ่าย กำหนดเวลาได้”

อีกทั้งเป็นการยืนยันความร่วมมือในพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ และพัฒนาระบบสนับสนุนและขนส่งสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและจัดทำแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่โดยรอบศูนย์การคมนาคมพหลโยธินให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายใต้การบริหารพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งศึกษา และจัดทำแผนการดำเนินงานการพัฒนาขนส่งสินค้าของกลุ่ม ปตท. และพัฒนาธุรกิจสนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางราง โดยจะมีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค และสาธารณูปการแบบองค์รวม ตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ (Feasivility Study) รวมถึงรูปแบบทางธุรกิจ (Business Model) ที่เหมาะสม และจัดทำแผนการดำเนินงาน (Execution Plan) ร่วมกันต่อไป

“ความร่วมมือสมาร์ทซิตี้ที่ทำกับ ปตท. คือจะให้ทาง ปตท.เข้ามาช่วยศึกษาโครงการ ว่าจะต้องทำอย่างไร รูปแบบไหน โดยจะศึกษาไปพร้อมๆ กับของทางไจก้า และหลังจากนี้ก็จะมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างทั้งทาง ปตท.และไจก้า เพื่อทำการศึกษาให้สอดคล้องกันด้วย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2018 6:03 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดประมูลที่ดินรถไฟแถวสถานีธนบุรีทำที่พักนักเรียนแพทย์ ที่พักพนักงาน
https://www.thebangkokinsight.com/78519/
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2780981518582562&set=a.213819491965457&type=3&theater
http://daily.bangkokbiznews.com/detail/354899


ร.ฟ.ท.เร่งศึกษาแผนพัฒนาสถานีธนบุรี 150 ไร่

เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV

24 ธันวาคม 2561 12:06


ร.ฟ.ท.จ้างบริษัท โมเดอร์นพร็อพเพอร์ตี้ ศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี 150 ไร่ ตั้งเป้าเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนร่วมทุนพีพีพีนำร่องพื้นที่ 22 ไร่ปลายปีหน้า


รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. วรวุฒิ มาลา ระบุ ได้จัดสรรงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท ว่าจ้างบริษัท โมเดอร์นพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ให้ศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี พร้อมทั้งออกแบบก่อสร้างเบื้องต้น เพื่อเตรียมจะเปิดประมูลให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐในรูปแบบพีพีพี

โดยการพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรี จะเริ่มตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราช จนถึงบริเวณใกล้กับถนนจรัญสนิทวงศ์ พื้นที่รวมประมาณ 150 ไร่ คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2562 ซึ่งร.ฟ.ท.ตั้งเป้าจะเปิดประมูลปลายปี 2562

ร.ฟ.ท. จะเปิดให้เอกชนร่วมประมูลพัฒนาพื้นที่นำร่องในโซน 3 ซึ่งจะมีพื้นที่ประมาณ 22.43 ไร่ มูลค่าที่ดินสูงถึง 1.2 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าการลงทุนทั้งหมด จะต้องรอทีมที่ปรึกษาสรุปวงเงินที่ชัดเจนก่อน

เบื้องต้นจะพัฒนาเป็นพื้นที่โซนที่พักอาศัยให้พนักงาน ร.ฟ.ท. ประมาณ 700 ครัวเรือน และพัฒนาเป็นพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยใหม่ รวมไปถึงที่พักนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช

พื้นที่บริเวณสถานีธนบุรีในปัจจุบันถือเป็นทำเลทองในการพัฒนา เนื่องจากอยู่ในเขตเมืองชั้นใน และยังมีโครงข่ายคมนาคมเชื่อมต่อสะดวก สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ โดยพื้นที่ดังกล่าวตามแผนพัฒนาของ ร.ฟ.ท. จะแบ่งเป็น 4 โซน โดยโซน 1 พื้นที่ภายใต้การใช้กิจกรรมรถไฟเดิม เป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพื้นที่สถานีธนบุรี สถานีรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชานเมืองสายสีแดง พื้นที่แนวรถไฟ ศูนย์ซ่อมบำรุง

โซน 2 พื้นที่ภายใต้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้กำกับดูแล โดยจะปล่อยเช่าให้กับภาคเอกชนหรือภาครัฐ ในการใช้ประโยชน์ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช ตลาดศาลาน้ำเย็น สถานีบริการน้ำมัน ลานจอดรถ หอพักโรงพยาบาลศิริราช ส่วนพื้นที่โซน 3 จะพัฒนาเป็นโซนที่พักอาศัย รองรับกลุ่มผู้อยู่อาศัยใหม่ในบริเวณพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็น 3 อาคาร ที่พักอาศัยพนักงานและที่พักอาศัยนักศึกษาแพทย์ ที่พักอาศัยพนักงาน ร.ฟ.ท.และที่พักอาศัยนักศึกษาแพทย์ และผู้อยู่อาศัยใหม่ รวมไปถึงอาคารที่พักอาศัยแพทย์

และโซน 4 พื้นที่ส่วนกลางที่เป็นส่วนของตลาด เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรองรับผู้อาศัยใหม่ในพื้นที่ และรองรับผู้ค้าขายในพื้นที่เดิม โดยมีแนวเส้นทางการเชื่อมต่อที่เชื่อมกับศูนย์กลางด้านคมนาคม ได้แก่ สถานีธนบุรี และสถานีรถไฟฟ้าศิริราช ที่จะมีการก่อสร้างในอนาคต โดยการพัฒนาบริเวณนี้จะเน้นพัฒนาให้เป็นศูนย์ที่อยู่อาศัยและพาณิชย์กรรมสำหรับชุมชน เชื่อมโยงการเดินทางด้วยเส้นทางเดินเท้า และคมนาคมทางบกให้มีการเชื่อมโยงกัน

ร.ฟ.ท.ได้มอบที่ดินบริเวณสถานีธนบุนีให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จำนวน 33 ไร่ ตั้งแต่ปี 2546 จึงไม่มีการเดินรถไฟสายใต้จากสถานีธนบุรีแห่งนี้อีก หากแต่มีการเปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปยังสถานีบางกอกน้อย เป็นสถานีแห่งใหม่ ถัดออกไปราว 800 เมตร ซึ่ง ร.ฟ.ท.ได้จัดตั้งไว้ก่อนหน้านี้ และในปี 2547 ได้เปลี่ยนชื่อสถานีบางกอกน้อยเป็นธนบุรี
https://www.youtube.com/watch?v=721dTVvEcn0
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150 ... 197, 198, 199  Next
Page 149 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©