RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179625
ทั้งหมด:13490857
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 163, 164, 165 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2020 11:21 am    Post subject: Reply with quote

กลุ่มผู้ค้าจตุจักรริมรางฯร้องให้ยกเลิกประกาศ รื้อถอนร้านค้า
จันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2563 เวลา 15.10 น.

กลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรริมรางฯนอก-ในที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก เข้ายื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลังสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร ติดประกาศยกเลิกการอนุญาตทำการค้านอกแผงค้ากึ่งถาวร บริเวณริมรางระบายน้ำ ระบุไม่ได้รับความเป็นธรรมในการรื้อถอนร้านค้า


เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ศาลาว่าการกทม.(เสาชิงช้า) กลุ่มผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก เข้ายื่นหนังสือถึง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ สำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร ติดประกาศ เรื่องการยกเลิกการอนุญาตทำการค้านอกแผงค้ากึ่งถาวร บริเวณริมรางระบายน้ำภายในตลาดนัดจตุจักร ลงวันที่ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดย อ้างว่าผู้ค้าผิดหลักเกณฑ์ ตั้งวางแผงค้าเกินจากที่อนุญาต และการทำที่ตั้งวางสินค้าลักษณะถาวรไม่สามารถยกขึ้นได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯกทม. เป็นผู้รับเรื่อง  จากนั้นเจ้าหน้าที่ ได้เชิญตัวแทน ขึ้นไปประชุมร่วมกับ นายเกรียงพล พัฒนรัฐ เลขานุการผู้ว่าฯกทม. นางวัลยา วัฒนรัตน์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อหาข้อสรุป โดยใช้เวลานาน 1  ชั่วโมง



น.ส.ภูษณิศา ปานสายลม ตัวแทนผู้ค้าริมรางระบายน้ำในตลาดนัดจตุจักร กล่าวว่า กลุ่มผู้ค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากประกาศฉบับดังกล่าว รวมตัวกันมาเพื่อยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. เพื่อขอให้ยกเลิกประกาศสำนักงานตลาดกทม. ฉบับดังกล่าว เนื่องจากกลุ่มผู้ค้า ไม่เคยทราบเรื่องการยกเลิกดังกล่าวมาก่อน มีเพียงการติดป้ายประกาศให้รื้อถอนร้านค้าให้แล้วเสร็จภายใน 45 วันเท่านั้น ทำให้กลุ่มผู้ค้าได้รับความเดือดร้อน เพราะที่ผ่านประสบปัญหาโควิด-19 ค้าขายไม่ได้ อีกทั้งกลุ่มผู้ค้าได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้ขายของมาเป็นเวลา 30 ปี แล้ว และยังมีการเขียนคำร้องขอชำระเงินการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรด้วย ซึ่งสำนักงานตลาด ได้ออกใบเสร็จรับชำระเงินทุกเดือน  ขอยืนยันว่ากลุ่มผู้ค้าปฏิบัติตามระเบียบและให้ความร่วมมือมาโดยตลอด ไม่ได้มีการรุกล้ำหรือบุกรุกริมรางระบายน้ำแต่อย่างใด เพราะหากมีการรุกล้ำพื้นที่จริง สำนักงานตลาดคงจะไม่อนุญาตให้ขายและมีการออกใบเสร็จรับชำระเงิน


น.ส.ภูษณิศา  กล่าวต่ออีกว่า หากพบร้านค้าใดที่ตั้งวางแผงหรือสินค้า รุกล้ำเกินเข้าไปในพื้นที่ริมรางระบายน้ำควรจะตักเตือนหรือปรับเป็นรายไป อย่างไรก็ตาม ขอให้ผู้ว่าฯกทม. พิจารณาทบทวน ข้อเรียกร้องของกลุ่ม 4 ข้อดังนี้ 1.ขอให้มีการยกเลิกประกาศ เรื่อง การยกเลิกการอนุญาตทำการค้านอกแผงกึ่งถาวร บริเวณริมรางระบายน้ำภายในตลาดนัดจตุจักรและควรชี้แจงจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องวัตถุประสงค์อย่างเป็นธรรมและเมตตา 2.ขอให้สงวนสิทธิ์ให้พ่อค้าแม่ค้าให้ได้ใช้พื้นที่ส่วนนี้ก่อนจนกว่า จะมีการพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยทางพ่อค้าแม่ค้ายินยอมจ่ายค่าเช่าตามเดิมคือเดือนละ 500 -1,200 บาทต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนก.ย.นี้  3.ผู้ค้ายอมที่จะรื้อถอนพื้นที่ริมรางฯให้แก้ไขเป็นแบบพับเก็บได้ในรูปแบบที่ กทม.กำหนด แต่ขอให้ผู้ค้ายังมีสิทธิเช่าพื้นที่ดังกล่าวเหมือนเดิม และ 4. กำหนดพื้นที่ริมรางฯให้เป็นพื้นที่ที่อยู่ในทะเบียน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมกลุ่มผู้ค้า ได้ขอให้เลื่อนเวลาตามประกาศให้รื้อถอนร้านค้าให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน ออกไปก่อน เพื่อให้ผู้ค้าสามารถค้าขายได้เช่นเดิม เพราะประสบปัญหาโควิด-19 นอกจากนี้กลุ่มผู้ค้าขอให้ทำการค้าขายในวันศุกร์ช่วงกลางคืนได้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวต้องรับการพัฒนาเพราะมีการร้องเรียนจากประชาชนว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความสกปรกไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย คณะผู้บริหารจะรับข้อเสนอดังกล่าวนำไปพิจารณาต่อไป..
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2020 7:14 am    Post subject: Reply with quote

เร่งโครงข่ายบูม'ฮับบางซื่อ'ชงประมูลมิกซ์ยูสรอบใหม่ผุดจุดเชื่อมทางด่วน 5 จุด
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

รัฐระดมโปรเจ็กต์เชื่อมทุกทิศทาง บูมบางซื่อ 2,300 ไร่ สู่เมืองอัจฉริยะ ศูนย์กลางการเดินทางใหญ่สุดในอาเซียน กทพ.ทุ่ม 1.2 พันล้าน ผุด 5 แลมป์เชื่อมทางด่วน-สถานีกลาง กทม.เวนคืนสร้างสะพานเกียกกาย ขยาย 4 เลน เทอดดำริ "บขส." ไม่ย้ายสถานีหมอชิต ขอปักหลักที่เดิม เพิ่มฟีดเดอร์ เชื่อม BTS-MRT "รถไฟ" ชงบอร์ดเคาะประมูลมิกซ์ยูส 32 ไร่อีกรอบ 17 ก.ย.นี้

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พื้นที่ย่านบางซื่อ 2,300 ไร่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวมถึงสถานีกลางบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) ให้เป็นโครงการนำร่อง คาดว่าจะเปิดปลายปี 2564

โครงข่ายเชื่อมรอบทิศ

"สถานีกลางบางซื่อจะเป็นสถานีใหญ่สุดในอาเซียน เป็นศูนย์กลางระบบรางของประเทศ จึงต้องเร่งระบบขนส่งสาธารณะให้เข้าถึง ทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สีแดง บีทีเอส รถโดยสารประจำทางและฟีดเดอร์เชื่อมต่อ"

จากข้อสรุป จะมีโครงการและหน่วยงาน ร่วมผลักดันคือ ร.ฟ.ท.มีสายสีแดงตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพื้นที่เชิงพาณิชย์ แปลง A ที่ดิน กม.11 และฟีดเดอร์เข้าโครงการ

กรมการขนส่งทางบกจัดรถเมล์ 2 สาย คือ 1.สถานีกลางบางซื่อ-BTS ห้าแยกลาดพร้าว-MRT รัชดา 2.สถานีกลางบางซื่อ-กทม.2 ส่วนถนนเชื่อมต่อพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกำลังศึกษาอยู่ อีก 1 ปี จะได้ข้อสรุป

ผุดจุดเชื่อมทางด่วน 5 จุด

นายปัญญากล่าวว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะสร้างทางเชื่อมกับทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เข้าสู่ สถานีกลางบางซื่อ 5 จุด วงเงิน 1,200 ล้านบาท

"ตอนนี้กำลังหารูปแบบที่ไม่เป็นปัญหาต่อการก่อสร้าง เพื่อหารือกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ตามสัญญาสัมปทาน จะเริ่มสร้างเดือน ธ.ค.ปีหน้า เสร็จปี 2566 และมีแผนเชื่อมโทลล์เวย์กับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนตะวันตกช่วงต่างระดับรัชวิภา"

เวนคืนสะพานเกียกกาย

ขณะที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีแผน ก่อสร้าง 3 โครงการ 1.สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแยกเกียกกาย 12,717.4 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 5,225 ล้านบาท ซึ่งรัฐและ กทม.ออกค่าก่อสร้าง 50 : 50 ค่าเวนคืน 7,490 ล้านบาท รัฐอุดหนุน 100% ปัจจุบันรองบประมาณก่อสร้างจากรัฐ จึงให้ กทม.ปรับแผนงานใหม่

"โครงการนี้ยังติด พ.ร.ฎ.เวนคืน กทม.เพิ่งได้งบฯอุดหนุนปี 2562 จำนวน 1,318 ล้านบาท จ่ายค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้ทหารแล้ว ล่าสุดปี 2563 ได้รับอีก 1,793 ล้านบาท"

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า ปีนี้ได้ค่าเวนคืนพื้นที่ฝั่งธนบุรีแล้ว งานก่อสร้างจะเริ่มจากงานสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รองบฯจากรัฐบาล แต่ กทม.ตั้งงบฯบางส่วนไว้แล้วของปี 2564

"โครงการยังเดินหน้าแต่อาจเลื่อนจากปี 2564 เพราะงบฯจำกัด เพื่อรองรับการจราจรบริเวณรัฐสภาใหม่และสถานีกลางบางซื่อ"

การก่อสร้างแบ่ง 5 ช่วง ได้แก่ 1.ทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรี จาก ถ.เลียบทางรถไฟสายใต้-ถ.จรัญสนิทวงศ์ 1.05 กม. วงเงิน 4,015 ล้านบาท รอเวนคืนที่ดินเอกชน 152 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 308 รายการ 2.สะพานข้ามแม่น้ำ จาก ซ.จรัญสนิทวงศ์ 93-วัดแก้วจุฬามณี 480 เมตร วงเงิน 1,350 ล้านบาท กำลังจัดทำราคากลาง ซึ่งได้รับงบฯจากรัฐปี 2563 เป็นค่าก่อสร้าง 135 ล้านบาท 3.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนครจากแม่น้ำเจ้าพระยา-สะพานแดง 1.350 กม. วงเงิน 980 ล้านบาท รองบประมาณปี 2564 4.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนคร จากแยกสะพานแดง-ถ.กำแพงเพชร 1.4 กม. วงเงิน 1,100 ล้านบาท รอเวนคืนที่ดินเอกชน 90 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 90 รายการ และ 5.ทางยกระดับและ ถ.ฝั่งพระนคร จาก ถ.กำแพงเพชร-ถ.พหลโยธิน 1.6 กม. วงเงิน 1,025 ล้านบาท รอเวนคืนจะขอใช้ที่ดินรถไฟ 37 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง เอกชน 71 รายการ

ขยายเทอดดำริ

นอกจากนี้ กทม.มีโครงการขยายถนนเทอดดำริ ช่วงสะพานดำ-สถานีกลางบางซื่อจาก 2 เป็น 4 เลน ระยะทาง 600 เมตร พร้อมปรับปรุงสะพานข้ามคลอง ระบบระบายน้ำ ไฟฟ้าส่องสว่าง วงเงิน 620 ล้านบาท ออก พ.ร.ฎ.เวนคืนแล้ว

ที่สำคัญ กทม.จะรวมพื้นที่ 3 สวน คือ สวนจตุจักร สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พัฒนาเป็น "อุทยานสวนจตุจักร" ขนาด 727 ไร่

นายปัญญากล่าวว่า ได้หารือกับกรมธนารักษ์ กรมการขนส่งทางบก บขส. และ ขสมก. เรื่องย้ายสถานีขนส่ง ผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 ไปยังสถานีขนส่งหมอชิตเดิม โดยมี บจ.บางกอกเทอร์มินอล (BKT) เป็นคู่สัญญากับกรมธนารักษ์ ตามข้อตกลงจะมีพื้นให้ บขส. 1 แสนตารางเมตร พร้อมสร้างทางเชื่อมเข้า-ออกโครงการ

ล่าสุด บขส.ขออยู่ที่เดิม จนกว่าพื้นที่ใหม่จะมีระบบเชื่อมต่อครบถ้วน เนื่องจากในแผนไม่มีพื้นที่รองรับรถโดยสารขนาดใหญ่ โดย บขส.ขอต่อสัญญา เช่าที่ดินรถไฟอีก 5 ปี จนกว่า BKT จะสร้างทางเข้า-ออก ตอนนี้โครงการอยู่ระหว่างทำ EIA (รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม)

ชงบิ๊กป้อมเคาะ

นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รายงานข้อมูลให้คณะกรรมการรับทราบ เพื่อกำหนดเป็นแผนแม่บทต่อไป

โดยให้การรถไฟฯนำโครงการสมาร์ทซิตี้บางซื่อ ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) พร้อมขึ้นตรงกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง อัจฉริยะ ที่มีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การรถไฟฯรายงานความคืบหน้าเรื่องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ เนื้อที่ 32 ไร่ วงเงิน 11,721 ล้านบาท พร้อมเสนอคณะกรรมการวันที่ 17 ก.ย. เพื่ออนุมัติออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2556 อีกครั้ง

หากไม่มีผู้มาซื้อซองหรือยื่นประมูล จะยกเลิก พร้อมนำไปรวมกับที่ดินแปลง E เพื่อขออนุมัติจากบอร์ดให้จ้างที่ปรึกษารีวิวโครงการใหม่ รวมถึงการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ด้วย

"ในอนาคตที่ดินทั้ง 2 แปลงจะเป็นสำนักงานใหม่ของการรถไฟฯ อาจอยู่แปลง A เพราะมีทางรถไฟกั้นกลาง ไม่เหมาะพัฒนา ส่วนอาคารสำนักงานอาจอยู่พื้นที่แปลง E เพื่อให้สมาร์ทซิตี้เกิดได้จริง" นายวรวุฒิกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 14/09/2020 12:33 pm    Post subject: Reply with quote

“ประยุทธ์” มอบ “บ้านใหม่” ให้ชุมชนบึงบางซื่อ ลั่นไม่ทิ้งผู้มีรายได้น้อย
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 11 กันยายน 2563 - 20:10 น.

“ประยุทธ์” คิกออฟ “บ้านใหม่บึงบางซื่อ” สั่งลุย “คลองลาดพร้าว-แสนแสบ-เปรมประชากร” ต่อ “อัศวิน” เด้งรับพร้อมลุย “ลาดพร้าว-แสนแสบ” ต่อ ขอสำรวจความเป็นไปได้

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 ก.ย. 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบ “บ้านใหม่” ให้ชุมชนบึงบางซื่อ ตามโครงการสานพลังประชารัฐ

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โครงการนี้ใช้เวลาดำเนินการถึง 4 ปี (2559-2563) และเป็นโครงการที่เคยมาเยี่ยมชมแล้วเมื่อปี 2561 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่งานนี้เสร็จลุล่วง ยืนยันได้ว่าตั้งแต่ที่ผ่านมาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยทิ้งภาระเหล่านี้ โดยเฉพาะปัญหาผู้มีรายได้น้อยจะต้องได้รับการดูแลมากกว่ากลุ่มอื่นนิดหนึ่ง

ดังนั้น รัฐบาลไล่ตั้งแต่สมัยคสช.ถึงตอนนี้ก็พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างยิ่งยวด ที่ผ่านมาก็แก้ปัญหาก่อสร้างอาคารแฟลตดินแดงใหม่ได้ โดยที่ผ่านมาหลายๆปีไม่เคยแก้ปัญหานี้ได้เลย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชน ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะกรุงเทพฯแต่จะขยายไปในที่ต่างจังหวัดด้วยในอนาคต นอกจากประชาชนแล้ว ต้องคำนึงถึงข้าราชการชั้นผู้น้อยด้วย จะทำยังไงให้มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งก็ต้องไปคิดมา

“ในคลิปวิดีโอเปิดตัวโครงการชาวบ้านบอกว่า เขาให้เราทั้งๆที่เรามีรายได้เป็นศูนย์ ผมอยากจะบอกว่า พวกคุณมีคุณค่าความเป็นมนุษย์ รัฐบาลต้องดูแล ดังนั้น รัฐบาลไม่ได้ดูแลเฉพาะคนรวย ต้องดูทุกฝ่ายทุกเหล่า มากบ้างน้อยบ้าง ก็ใช้เวลากันไป ผมคิดว่าได้วางฐานรากไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความร่วมมือของทุกคน” พลเอกประยุทธ์กล่าว

ประยุทธ์ มอบบ้าน

สั่งลุยต่อ 3 คลอง
นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบคลองอื่นในกรุงเทพฯว่ามี คลองไหนที่พร้อมพัฒนาบ้าง ก็ให้ไปดูคลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ และคลองเปรมประชากร และคลองอื่นๆที่เหมาะสม เพราะกรุงเทพฯมีคลองเกือบ 200 คลอง ก็ค่อยๆทำไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสำเร็จอย่างรวดเร็วได้ก็ด้วยปัจจัย 2 ประการ 1) รายได้งบประมาณ และ2) ความร่วมมือร่วมใจไม่ขัดแย้งกัน

รับบัญชาลุยคลองลาดพร้าว-แสนแสบ
ด้าน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวกับ”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า จากนโยบายที่พลเอกประยุทธ์ต้องการให้มีการกระจายโมเดลพัฒนาไปยังคลองอื่นๆนั้น กทม.ได้ริเริ่มดำเนินการแล้ว โดยคลองลาดพร้าวบางส่วน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ริเริ่มโครงการ”บ้านประชารัฐริมคลอง”มอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) รับไปดำเนินงานต่อ ซึ่งริเริ่มมาก่อนบึงบางซื่อ แต่ยังติดปัญหาการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมบางส่วน ซึ่งกำลังทยอยทำ



“ส่วนคลองแสนแสบ จะต้องมีการแบ่งแนวเส้นทางคลองก่อน เพราะคลองแสนแสบมีความยาวประมาณ 72 กม. จุดเริ่มต้นของคลองอยู่ที่บริเวณท่าเรือผ่านฟ้ายาวไปสิ้นสุดที่เขตพื้นที่อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โดยมีระยะทางอยู่ในเขตกทม. 45.5 กม. ส่วนระยะทางที่เหลือจะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมชลประทาน”

ดังนั้น ทั้ง 45.5 กม. จะต้องทยอยสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาก่อน เพราะในช่วงระยะทางดังกล่าว จะมีคลองสาขาแยกย่อยที่ปล่อยน้ำลงคลองแสนแสบประมาณ 101 คลอง กทม.จะต้องหาทางแก้ปัญหาการปล่อยน้ำเสียในคลองสาขาก่อน โดยจะดำเนินการเป็นเฟสๆไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแถบบึงบางซื่อ เป็นโครงการภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐ มีบมจ.ปูนซีเมนต์ไทย (SCG) เป็นเจ้าภาพหลัก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของประชาชนที่ลักลอบเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเคยเป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตปูนซีเมนต์ของ SCG มาก่อน โดยพื้นที่ที่มีการบุกรุกอยู่อาศัยคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ 250 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 1,500 คน

โดย SCG ได้ลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัย คิดเป็นวงเงินรวม 120 ล้านบาท แบ่งเป็นทาวน์เฮ้าส์ 60 หลัง, บ้านผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังและไม่มีรายได้ 4 ยูนิต และอาคารชุด 4 ชั้น 3 อาคาร รวม 133 ยูนิต ซึ่งจะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2564

เปิดรูปแบบโครงการ
ด้านนายยุทธนา เจียรตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ด้านการบริหารกลาง SCG กล่าวว่า รูปแบบของโครงการมีทั้งหมด แบ่งเป็น 1. ทาวเฮ้าส์ 2 ชั้น พื้นที่ 48 ตร.ม.จำนวน 105 ยูนิต ยูนิตละ 500,000-600,000 บาท โดยสมาชิกในชุมชนจะออกค่าใช้จ่าย 60% และตัวโครงการจะข่วยเหลือ 40%

2.คอนโด จำนวน 133 ยูนิต แบ่งได้ 2 แบบ แบบ A 31.5 ตร.ม. และแบบ B 38 ตร.ม. ค่าใช้จ่ายยูนิตละ 400,000-500,000 บาท โดยสมาชิกในชุมชนจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย 50% และตัวโครงการช่วยเหลืออีก 50% และ 3. ห้องเดี่ยวสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ 4 ยูนิต ขนาด 20 ตร.ม. โดยสหกรณ์ของชุมชนจะช่วยกันดูแลทั้ง 4 ห้องนี้ทั้งเรื่องอาหารการกินและการพาไปพบแพทย์ โดยปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยแล้ว 90%


ทั้งนี้ ในชุมชนจะมีการจัดตั้งสหกรณ์ชุมชนขึ้นมาโดยจะบังคับให้สมาชิกในชุมชนต้องเข้าร่วมสหกรณ์ดังกล่าวและออมเงินก่อน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกให้อยู่อาศัยได้ เราจะต้องออมเงินให้ได้ 30 % ของมูลค่าที่อยู่อาศัยที่ต้องการ

โดยสหกรณ์จะรวบรวมเงินออมทั้งหมดไปที่ พอช. เพื่อดำเนินการผ่อนชำระกับ พอช.เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยการผ่อนชำระเริ่มต้นตั้งแต่ 500-3,000 บาท/เดือน ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้อยู่อาศัย ซึ่ง พอช. จะเป็นผู้ประเมินคุณสมบัติเอง
https://www.facebook.com/SCGofficialpage/posts/3975519745797789
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2020 2:06 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เปิดกรุที่ดินกม.11 เร่งตั้งบ.ลูกประมูล-เคาะออกแบบทางคู่”แม่สอด-นครสวรรค์”เชื่อมอาเซียน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 17 กันยายน 2563 - 20:25



บอร์ดรฟท.อนุมัติผลศึกษาพัฒนาที่ดิน กม.11 วางสัญญา 50 ปี ผลตอบแทน 1.68 หมื่นล. เร่งตั้งบ.ลูกสินทรัพย์ เดินหน้าประมูล ตีกลับต่อสัญญาโรงแรม ทวิน ทาวเวอร์ 20 ปี สั่งทำข้อมูลเพิ่มเปรียบเทียบ กับเปิดประมูลใหม่ เคาะจ้างออกแบบ ทางคู่ “แม่สอด-นครสวรรค์” เชื่อมการค้าอาเซียน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. ครั้งที่ 16/2563 ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน วันที่ 17 ก.ย.มีมติรับทราบผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณนิคมรถไฟ กม. 11 ซึ่งในการดำเนินการพัฒนานั้น เห็นว่า ขณะนี้ หากโครงการการพัฒนาเชิงพาณิชย์ใดยังไม่เร่งรีบมากนัก จะรอจัดตั้งบริษัทลูก บริหารสินทรัพย์ ของรฟท.ก่อน ซึ่ง อยู่ในขั้นตอนการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขออนุมัติโดยการประมูลหาเอกชนร่วมทุนพัฒนาพื้นที่ กม.11 นี้ ไม่ต้องเข้าพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน. พ.ศ.2562 จะสามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น

สำหรับนิคมรถไฟ กม.11 ตั้งอยู่ด้านหลัง เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยผลการศึกษา ได้กำหนดผัง และแนวทางเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุน พัฒนาเชิงพาณิชย์พื้นที่. 325 ไร่ สัญญาเดียว มีระยะเวลา 50 ปี (ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี บริหารสัญญา 46 ปี). มี มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ ( NPV ) ประมาณ 16,800 ล้านบาท

โดยกรอบการพัฒนาเบื้องต้น จะเป็นโครงการมิกซ์ยูส เป็นคอนโดมิเนียม สำนักงาน ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงแรม และที่พักอาศัยของพนักงานการรถไฟฯ เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามผลการศึกษา ที่ดินการรถไฟฯ ย่าน กม.11 มีมูลค่า ลงทุนโครงการประมาณ 8. หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นทั้ง ที่อยู่อาศัย. คอนโด. สำนักงาน และศูนย์ประชุมศูนย์แสดงสินค้า

@ตีกลับต่อสัญญา“ ทวิน ทาวเวอร์” สั่งเปรียบเทียบ แนวทางเปิดประมูล

นอกจากนี้ บอร์ดได้พิจารณาผลการศึกษา การต่อสัญญาเช่าที่ดินและทรัพย์สินของรฟท. โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ บริเวณถนนรองเมือง กรุงเทพฯ กับ บริษัท โกลเด้นแอสเซ็ท จำกัด ซึ่งจะครบกำหนด วันที่ 17 ส.ค.2564 ซึ่งได้มีการเจรจาและเสนอต่อสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 20 ปี คิดเป็นมูลค่าผลตอบแทน 1,575 ล้านบาท โดยประเมินมูลค่าทรัพย์สินไว้ที่ 976 ล้านบาท
ทั้งนี้ บอร์ดรฟท.ยังไม่พิจารณาอนุมัติ โดยให้รฟท.ไปพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติม รูปแบบการเปิดประมูลใหม่ เพื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ ที่รฟท.จะได้รับสูงสุดจากพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเดิมมีเพียงแนวทางการเจรจาต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิมเท่านั้น

@เคาะจ้างที่ปรึกษา ออกแบบ รถไฟทางคู่ สายใหม่ “แม่สอด-นครสวรรค์”

นอกจากนี้ บอร์ดรฟท.ได้เห็นชอบว่าจ้าง กลุ่มบริษัท เทสโก้ จำกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด และ บริษัท ดอร์ช คอนซัลท์เอเชีย เป็นที่ปรึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียด (detail&Designป และจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด วงเงิน 161 ล้านบาท ระยะเวลาศึกษา 360 วัน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการขออนุมัติเพื่อก่อสร้างโครงการต่อไป


X


สำหรับ รถไฟทางคู่ สายใหม่ ช่วงนครสวรรค์-แม่สอด มีระยะทางประมาณ 256 กม.ซึ่งเป็นโครงข่าย ตามแผนพัฒนารถไฟทางคู่ เชื่อมแนวตะวันตก-ตะวันออก ด้านบน E-W Upper) จากแม่สอด-นครสวรรค์ บ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง รวม 902 กม. แนวเส้นทางใหม่ ที่จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน และเป็นเส้นทางเชื่อมกับ ด่านพรมแดน จะเป็นประโยชน์ในการขนส่งสินค้า

โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. ครม.เห็นชอบแล้ว อยู่ในขั้นตอนเตรียมประมูลก่อสร้าง. , ช่วงนครสวรรค์-อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ระยะทาง 291 กม. อยู่ในระหว่างศึกษาความเหมาะสม (FS) และ ช่วงนครสวรรค์-แม่สอด จะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบรายละเอียด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2020 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

โอนที่รถไฟให้บริษัทลูกปลดหนี้ บี้ “เซ็นทรัล” เปิดประมูลใหม่ “โรงแรมหัวหิน”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 21 กันยายน 2563 - 11:27 น.


ร.ฟ.ท.โอนที่ดิน 2 แปลงใหญ่ “ย่าน กม.11-สถานีแม่น้ำ” ให้บริษัทลูกพัฒนาสร้างรายได้ปลดแอกหนี้แสนล้าน บอร์ดไฟเขียวพัฒนาเชิงพาณิชย์ 325 ไร่ ย่าน กม.11 เปิดประมูลให้เอกชนเช่า 50 ปี ผุดมิกซ์ยูสมูลค่า 6.9 หมื่นล้าน เนรมิตโรงแรม 4 ดาว ศูนย์แสดงสินค้า สำนักงาน คอนโดฯให้เช่า โฮมออฟฟิศ คาดได้ผลตอบแทนตลอดสัญญา 6 หมื่นล้าน ประมูลปีหน้า “โรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์” วืดต่อสัญญา ลุยเขย่าค่าเช่ทำเลหัวหิน ปลายปีนี้เปิดประมูลใหม่ “โรงแรมเซ็นทรัล” 30 ปี วงเงิน 8 พันล้าน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.อนุมัติผลศึกษาการพัฒาเชิงพาณิชย์ย่าน กม.11 เนื้อที่ 325 ไร่ ด้านหลังเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ ปตท. จะเปิดประมูลให้เอกชนเช่า 50 ปี ก่อสร้าง 5 ปี บริหารพื้นที่ 46 ปี มูลค่าการลงทุน 69,000 ล้านบาท โดยให้ บจ.บริหารสินทรัพย์ บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ที่รอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดตั้งบริษัทเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อสร้างรายได้จากการพัฒนาที่ดินลดหนี้มีกว่า 1 แสนล้านบาท

“จะเปิดให้เอกชนพัฒนาทั้งแปลงภายใต้ระเบียบ ร.ฟ.ท. เพราะไม่เข้าเกณฑ์ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2562 พัฒนาเป็นมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มีโรงแรม สำนักงาน ที่อยู่อาศัย ศูนย์แสดงสินค้า คาดว่าจะมีผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 16,800 ล้านบาท และตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท”


แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ต้องโอนที่ดิน 2 แปลงใหญ่ให้บริษัทลูกจัดหารายได้ คือ ย่าน กม.11 เนื้อที่ 325 ไร่ มูลค่า 69,000 ล้านบาท และสถานีแม่น้ำ เนื้อที่ 271 ไร่ มูลค่า 88,780 ล้านบาท ผลศึกษาพัฒนาโครงการผ่านบอร์ดแล้ว โดยในส่วนของ กม.11 ได้รีวิวโครงการใหม่ ยังคงพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส แต่ไม่มีโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรและบ้านพักพนักงาน เนื่องจากจะย้ายไปสร้างย่านตึกแดงตรงบางซื่อเป็นแฟลต 2,000 ห้องรองรับพนักงานกว่า 2,000 ครอบครัว โดยเอกชนที่ชนะประมูลที่ดิน กม.11 จะแปลงจากค่าธรรมเนียมการเช่าที่จ่ายก้อนแรก 3,900 ล้านบาทเป็นค่าก่อสร้างให้ ร.ฟ.ท. จึงทำให้มูลค่าการลงทุนโครงการลดลงจากเดิม 80,882 ล้านบาท เหลือ 69,000 ล้านบาท

“รูปแบบพัฒนาแบ่งเป็นโซน A 88 ไร่ มีศูนย์แสดงสินค้าและโรงแรม 4 ดาว กว่า 200 ห้อง โซน B, C พื้นที่ 35 ไร่ เป็นสำนักงาน 8 อาคาร ขนาดพื้นที่ให้เช่า 400,000 ตร.ม. โซน D, E เป็นที่พักอาศัยให้เช่า 6 อาคาร กว่า 7,000 ยูนิต โซน F, G, H พื้นที่ 63 ไร่ เป็นโฮมออฟฟิศให้เช่า ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการ เช่น ถนน คาดว่าจะเปิดประมูลในปีหน้าหลังตั้งบริษัทลูกเรียบร้อยแล้ว”

นายนิรุฒกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บอร์ดยังไม่พิจารณาต่อสัญญาเช่าที่ดินย่านรองเมืองของ บจ.โกลเด้นแอสเซ็ท ผู้พัฒนาโรงแรมเดอะ ทวิน ทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ จะหมดสัญญา 20 ปีวันที่ 17 ส.ค. 2564 โดยบอร์ดให้ ร.ฟ.ท.ทำข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างต่อสัญญารายเดิมกับเปิดประมูลใหม่รูปแบบไหนที่จะเป็นประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.

“เอกชนรายเดิมขอเจรจาต่ออายุสัญญาซึ่ง ร.ฟ.ท.ประเมินมีมูลค่าทรัพย์สิน 976 ล้านบาท หากให้เอกชนรายเดิมเช่าต่อ 20 ปี จะได้ผลตอบแทนที่เป็นมูลค่าสุทธิการเช่า 777 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทนตลอดอายุสัญญาอยู่ที่ 1,575 ล้านบาท ส่วนที่ดินโรงแรมเซ็นทรัล หัวหิน และพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A 32 ไร่ สถานีกลางบางซื่อ บอร์ดยังไม่ได้พิจารณา”

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ที่ดินโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน มีเนื้อที่ 71.65 ไร่ อยู่ระหว่างเสนอให้บอร์ดอนุมัติร่างทีโออาร์ประมูลหาเอกชนรายใหม่ลงทุนเช่าที่ดิน โรงแรมและปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติมแทนกลุ่มเซ็นทรัลที่จะสิ้นสุดสัญญาที่ได้รับการขยายใหม่วันที่ 15 พ.ค. 2565 เพราะได้รับผลกระทบโควิด-19 บอร์ดจึงต่อสัญญาให้อีก 2 ปี คาดว่าจะออกประกาศเชิญชวนปลายปีนี้ และเปิดยื่นซอง มี.ค.-เม.ย. 2564 ระยะเวลาเช่า 34 ปี แบ่งเป็นจัดหาประโยชน์ 30 ปี ปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเติม 4 ปี โดยที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนรวมอยู่ที่ 8,927 ล้านบาท เป็นค่าเช่ารวม 30 ปี ไม่ต่ำกว่า 5,727 ล้านบาท ทั้งนี้ อยู่ที่ข้อเสนอของเอกชนแต่ละรายซึ่งเซ็นทรัลมีสิทธิร่วมประมูลได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 25/09/2020 3:28 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดจ๊อบแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ 177 แห่ง
*ชู 3 เมืองต้นแบบ ลงทุน 33,000-76,000 ล้านบาท
*ชง ครม. ตั้งคณะกรรมการนโยบาย TOD ดันทำได้จริง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2719262368295264

เปิดชื่อพื้นที่รอบสถานีรถไฟทั่วประเทศ 177 แห่งพัฒนา TOD
ศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 16.08 น.
สนข.สรุปแผแม่บท TOD ชู 177 สถานีมีศักยภาพพัฒนา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 25 กันยายน 2563 เวลา 21:47

เปิดชื่อพื้นที่รอบสถานีรถไฟทั่วประเทศ 177 แห่งพัฒนา TOD ให้ “ขอนแก่น-พัทยา-อยุธยา” เป็นต้นแบบก่อน วงเงินลงทุนรวม 33,000-76,000 ล้านบาทพัฒนาเป็นเมืองใหม่เดินทาง-ขนส่งสะดวกด้วยระบบราง

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 25 ก.ย.ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์แอทเซ็นทรัลเวิร์ด กรุงเทพฯ นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 12 สัมมนาสรุปผลโครงการในพื้นที่กรุงเทพฯ โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”

นายปัญญา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบหลัก โดยมีแผนการใช้งบประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท ในระยะ 20 ปี (ปี 61-80) สนข. จึงศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองกับระบบ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน TOD (Transit-Oriented Development ) ขึ้น เพื่อให้แปลง ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาโครงการพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาเป็น TOD จำนวน 177 สถานี ทั่วประเทศ แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.ศูนย์ภูมิภาค (Regional Center : RC) เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเมืองหลักของแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ที่สุด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่, พิษณุโลก,นครราชสีมา, ขอนแก่น, พัทยา และ ชุมทางหาดใหญ่ 2.ศูนย์กลางเมือง (Urban Center : UC) เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระดับจังหวัด ขนาดพื้นที่ของการพัฒนาขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นๆ มี 49 แห่ง ได้แก่ รังสิต, อยุธยา, นครลำปาง, พิจิตร, อุตรดิตถ์, ลำพูน, สวรรคโลก, บ้านหมี่, บ้านตาคลี, ชุมแสง, บางมูลนาก, ตะพานหิน


สระบุรี (เดิม), อุดรธานี, ชุมทางแก่งคอย, ชุมทางถนนจิระ, ชุมทางบัวใหญ่, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีษะเกษ, อุบลราชธานี, สีคิ้ว, เมืองพล, บ้านไผ่, ชุมทางฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ชุมทางศรีราชา, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, บ้านฉาง, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ชุมพร, ยะลา, สงขลา, มหาชัย, บ้านโป่ง, โพธาราม, เขาหลวง (เพชรบุรี), ประจวบคีรีขันธ์, หลังสวน, สุราษฎร์ธานี, นาสาร, ชุมทางทุ่งสง, พัทลุง, แม่กลอง และ กาญจนบุรี



3.ศูนย์เมืองใหม่ (New Town : NT) เป็นการพัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เกิดขึ้นใหม่ตามสายทางรถไฟที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเมือง มี 20 แห่ง ได้แก่ บ้านป่าหวาย, นครสวรรค์, เชียงราย, บ้านม้า, พิจิตร, สุโขทัย, แพร่, พะเยา, กำแพงเพชร, ตาก, หนองคาย, สระบุรี, ปากช่อง, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, มุกดาหาร, นครพนม, ระยอง, ระนอง และดอนสัก


4.ศูนย์ชุมชน (Neighborhood Center : NC) พัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่าย ศูนย์กลางชุมชนระดับอำเภอส่วนใหญ่ มีทั้งพื้นที่ที่มีชุมชน และพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนามากนัก มีขนาดเล็ก พัฒนาไม่ซับซ้อน มี 84 แห่ง ได้แก่ หลักหก, คลองหนึ่ง, เชียงราก, นวนคร, เชียงรากน้อย, คลองพุทรา, บางปะอิน, บ้านโพ, มาบพระจันทร์, บ้านดอนกลาง, พระแก้ว, ชุมทางบ้านภาชี, ท่าเรือ, โพนทอง, ปากน้ำโพ, บางกระทุ่ม, พรหมพิราม, หนองตม, พิชัย, วังกะพี้, ศิลาอาสน์, เด่นชัย, หนองวัวเฒ่า, สารภี, มาบกะเบา, โคกกรวด, ภูเขาลาด, บ้านเกาะ, โนนสูง, หนองขอนกว้าง, ลำปลายมาศ, ปากช่อง (เดิม), สำราญ, นาทา, คลองอุดมชลจร, เปรง, คลองแขวงกลั่น, คลองบางพระ, บางเตย, บางละมุง, บ้านห้วยขวาง, ญาณสังวราราม, ชุมทางเขาชีจรรย์, กบินทร์บุรี, วัดสุวรรณ, คลองมหาสวัสดิ์, วัดงิ้วลาย, นครชัยศรี, ท่าแฉลบ, ต้นสำโรง, บ้านคูบัว, ปากท่อ, ห้วยทรายเหนือ, ห้วยทรายใต้, หนองแก, เขาเต่า, ปราณบุรี, กุยบุรี, หนองหิน, คลองแงะ, คลองแห, บ้านเกาะหมี, ตลาดพะวง, เขารูปช้าง, สุพรรณบุรี, ท่าเรือน้อย, ทุ่งสีทอง, รางน้ำจืด, คอกควาย, บ้านแหลม, ที่หยุดรถไฟท่าฉลอม, บ้านชีผ้าขาว, บางสีคต, บางกระเจ้า, บ้านบ่อ, บางโทรัด, บ้านกาหลง, นาขวาง, นาโคก, เขตเมือง, ลาดใหญ่, บางกระบูน, ห้วยมุด และควนเนียง

และ 5.ศูนย์แบบพิเศษ (Special Use : SU) เป็นสถานีที่เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางในบริเวณที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษ มี 4 ประเภทย่อย ได้แก่ 1.เมืองชายแดน คือ เชียงของ ด่านแม่สอด สะพานมิตรภาพ 2 สะพานมิตรภาพ 3 อรัญประเทศ ปาดังเบซาร์ สุไหงโกลก และบ้านพรุร้อน 2.เมืองการบิน คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา 3.เมืองท่องเที่ยว คือ ลพบุรี ศรีสัชนาลัย ชะอำ หัวหิน พังงา และกระบี่ และ 4.เมืองการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาลายา



ทั้งนี้จาก 177 สถานี ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ได้มีการคัดเลือกเมืองต้นแบบในการพัฒนา TOD 3 เมือง ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟพัทยา และสถานีรถไฟอยุธยา โดยสถานีรถไฟขอนแก่น จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค(Regional Center: RC) ของกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟอยุธยา จัดอยู่ในประเภทTOD ศูนย์กลางเมือง (Urban Center: UC) จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ และสถานีรถไฟพัทยา จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค (Regional Center: RC) จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก

เบื้องต้น 3 เมือง จะใช้วงเงินลงทุนรวม 33,000-76,000 ล้านบาท ตามขนาดพื้นที่ของเมือง แบ่งเป็น ภาครัฐลงทุนประมาณ 3,000-6,000 ล้านบาทต่อเมือง โดยลงทุนด้านการก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ ขณะที่ภาคเอกชน ลงทุนประมาณ 30,000-70,000 ล้านบาทต่อเมือง โดยจะลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ และจัดรูปที่ดิน ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ว่าจะเป็นพื้นที่หน่วยงานของภาครัฐ และว่างเปล่า ขณะที่บางพื้นที่เป็นพื้นที่ของประชาชน อาจจะต้องจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (เวนคืน) เพื่อจัดรูปแบบที่ดินใหม่ หรือบางพื้นที่อาจจะเปิดรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ร่วมด้วย.


Last edited by Wisarut on 28/09/2020 5:44 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/09/2020 10:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ปิดจ๊อบแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ 177 แห่ง
*ชู 3 เมืองต้นแบบ ลงทุน 33,000-76,000 ล้านบาท
*ชง ครม. ตั้งคณะกรรมการนโยบาย TOD ดันทำได้จริง
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2719262368295264

สนข.คลอดพิมพ์เขียวพัฒนาเชิงพาณิชย์บูม 177 สถานีรถไฟทั่วไทย
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 25 กันยายน 2563 - 13:39 น.

สนข. สรุปผลร่างแผนแม่บท TOD รอบสถานีรถไฟทั่วประเทศ 177 สถานี เตรียมพัฒนาพื้นที่รอบสถานีควบคู่กับการพัฒนาระบบราง นำร่อง 3 เมือง “ขอนแก่น-พัทยา-อยุธยา” บูมพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนาสรุปผลโครงการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้” มี นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเป็นประธานเปิดการสัมมนา

นายปัญญากล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้เดินหน้าลงทุนพัฒนาระบบรางให้เป็นระบบหลักด้านคมนาคมขนส่งของประเทศทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่งสินค้า รวมทั้งลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ โดยมีแผนการใช้งบประมาณ 2.7 ล้านล้านบาท ในระยะ 20 ปี เน้นให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดความคุ้มค่าสูงสุด



ทางกระทรวงคมนาคม โดย สนข. ได้นำแนวคิดการพัฒนา TOD หรือการพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานี มาดำเนินการควบคู่กับการพัฒนาระบบราง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า จากการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรางมากยิ่งขึ้น โดยจัดทำ “แผนแม่บทการพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง TOD” ขึ้น เพื่อแปลงแผนไปสู่การปฎิบัติ

จากการสำรวจและศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถนำมาพัฒนาเป็น TOD ได้จำนวน 177 สถานี ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทและขนาด TOD เป็น 5 ประเภท ได้แก่

1. ศูนย์ภูมิภาค เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางเมืองหลักของแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ที่สุด จำนวน 6 แห่ง

2. ศูนย์กลางเมือง เป็นสถานีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของจังหวัด ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระดับจังหวัด ขนาดพื้นที่ของการพัฒนาขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจของจังหวัดนั้นๆ จำนวน 49 แห่ง



3. ศูนย์เมืองใหม่ เป็นการพัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เกิดขึ้นใหม่ตามสายทางรถไฟที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเมือง จำนวน 20 แห่ง

4. ศูนย์ชุมชน เป็นการพัฒนา TOD บริเวณโดยรอบสถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่าย ศูนย์กลางชุมชนระดับอำเภอเป็นส่วนใหญ่ ทั้งพื้นที่ที่มีชุมชน และพื้นที่ที่ยังไม่มีการพัฒนามากนัก มีขนาดเล็ก การพัฒนาไม่ซับซ้อน จำนวน 84 แห่ง

5. ศูนย์แบบพิเศษ เป็นสถานีที่เป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางในบริเวณที่มีโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษ จำนวน 18 แห่ง แบ่งเป็น 4 ประเภทย่อย ได้แก่ เมืองชายแดน เมืองการบิน เมืองท่องเที่ยว และ เมืองการศึกษา เป็นต้น

“จาก 177 สถานี ที่มีศักยภาพทั่วประเทศ ได้มีการคัดเลือกเมืองต้นแบบในการพัฒนา TOD 3 เมือง ได้แก่ สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟพัทยา และสถานีรถไฟอยุธยา”

โดยสถานีรถไฟขอนแก่น จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค ของกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่สถานีรถไฟอยุธยา จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์กลางเมือง จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ และสถานีรถไฟพัทยา จัดอยู่ในประเภท TOD ศูนย์ภูมิภาค จากกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก

“กระบวนการและขั้นตอนในการพัฒนา TOD ส่วนใหญ่จะริเริ่มจากท้องถิ่นเป็นหลัก เพราะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนา รัฐบาลมีบทบาทเป็นเพียงผู้ส่งเสริมให้สามารถดำเนินการได้ “

โดยขั้นตอนการพัฒนา TOD ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก 1.การริเริ่มโดยท้องถิ่น จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมโดยปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะพัฒนาตามหลักการ TOD จัดทำแผนการลงทุนเบื้องต้น และประสานงานกับหน่วยงานผังเมืองและควบคุมอาคารในด้านกฎระเบียบในการพัฒนา

2.การจัดทำแผนผังการพัฒนาพื้นที่ระยะยาว โดยอาศัยกระบวนการด้านผังเมือง แบ่งระยะการพัฒนาให้เหมาะสม กับสภาพการณ์และมีการยืนยันรับรองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ อย่างเป็นทางการในการพัฒนาตามแนวทางที่ตกลงกัน

3.การขออนุมัติดำเนินการ ภายหลังมีข้อตกลงในการจัดทำแผนผังการพัฒนาระยะยาวแล้ว ผู้ดำเนินการจะสามารถขอรับการสนับสนุนในด้านการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐได้ โดยรัฐจะทำการตรวจสอบว่าลักษณะการพัฒนามีคุณสมบัติตามมาตรฐานของ TOD ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อพิจารณาในการจัดหามาตรการส่งเสริมการลงทุน ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

4.การดำเนินการตามแผน โดยการดำเนินงานส่วนมากจะเริ่มจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่ในระยะเบื้องต้น และจากนั้นจึงมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยมีรูปแบบการบริหารจัดการพื้นทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการพัฒนาพื้นที่

โดยตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการที่ผ่านมา สนข. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม จึงได้จัดกิจกรรมระดมความเห็นจากทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งภาคประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันพัฒนาจนได้จัดทำร่างแผนแม่บท TOD ประเทศไทยขึ้นสำเร็จ

ในอนาคตแผนแม่บท TOD นี้จะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ ที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ ยกระดับการเดินทางและการขนส่งด้วยรูปแบบทางรางให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2020 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

ปั้นมิกซ์ยูส 325 ไร่ กม.11 ดึงเอกชนลงทุน 50 ปีล้างหนี้
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 28 กันยายน 2563 - 10:30 น.

เป็นโครงการที่ถูกพูดถึงมานานนับ 10 ปี สำหรับที่ดินแปลงใหญ่ 325 ไร่ย่าน กม.11 ของ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” เพราะเป็นที่ดินผืนใหญ่ที่ประเมินแล้ว หาก ร.ฟ.ท.บริหารจัดการอย่างดี น่าจะโกยรายได้เข้าองค์กรเพื่อปลดแอกหนี้ที่แบกมายาวนาน ล่าสุดยอดทะลุ 1.6 แสนล้านบาท

โดยที่ผ่านมา “ร.ฟ.ท.” ทุ่มเม็ดเงินไปไม่น้อย ศึกษาแผนพัฒนาที่ดินแปลงนี้ จนมาลงเอยในรูปแบบมิกซ์ยูส มีมูลค่าการลงทุนกว่า 80,882 ล้านบาท ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีกลางบางซื่อ ติดเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ ปตท.และถนนวิภาวดีรังสิต จึงคิดจะเป็นแปลงเด็ดดูดให้เอกชนระดับบิ๊กเบิ้มสนใจมาลงทุนพัฒนาโครงการ

ล่าสุด “ร.ฟ.ท.” เขย่าผลการศึกษาใหม่อีกครั้ง หลังคณะกรรมการ (บอร์ด) มีมติให้ย้ายบ้านพักรถไฟ จำนวนกว่า 2,000 ครัวเรือนออกจากพื้นที่ โดยผลศึกษาเวอร์ชั่นใหม่จะให้ระยะเวลาการเช่ายาวขึ้นจาก 30 ปี เป็น 50 ปี และไม่มีโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากรและบ้านพักพนักงาน



เนื่องจากจะย้ายไปสร้างที่ย่านตึกแดง บริเวณบางซื่อแทน เป็นแฟลต จำนวน 2,000 ห้อง รองรับพนักงานกว่า 2,000 ครอบครัว โดยเอกชนที่ชนะประมูลที่ดิน กม.11 จะแปลงจากค่าธรรมเนียมการจัดหาประโยชน์ 3,982.82 ล้านบาท ให้ ร.ฟ.ท.นำไปเป็นค่าก่อสร้างบ้านพักพนักงานรถไฟ

เพื่อให้เอกชนนำที่ดินพัฒนาได้เต็มศักยภาพ เพราะเป็นที่ดินแปลงใหญ่และใช้เงินลงทุนมหาศาล ซึ่งผลจากการตัดเนื้องาน 2 ส่วนนี้ออก ทำให้มูลค่าการลงทุนของโครงการลดลงจากเดิมเหลือ 69,993.04 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.จะได้รับผลตอบแทนตลอดสัญญา 50 ปี อยู่ที่ 60,375.27 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่ 16,808.60 ล้านบาท


ด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ 325 ไร่ มีแนวคิดพัฒนาเป็น Green SRT Complex แบ่งออกเป็น 7 แปลง ได้แก่ แปลง A พื้นที่ 88.08 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์แสดงสินค้า พื้นที่เชิงพาณิชย์ โรงแรม 4 ดาวกว่า 200 ห้องและอาคารสำนักงาน, แปลง B-C เนื้อที่ 65.79 ไร่ พัฒนาเป็นอาคารสำนักงาน 8 อาคาร ขนาดพื้นที่ให้เช่า 400,000 ตร.ม., แปลง D-E-G พื้นที่ 49.20 ไร่ พัฒนาเป็นกลุ่มอาคารที่พักอาศัยแนวสูง จำนวน 6 อาคาร กว่า 7,000 ยูนิต และโฮมออฟฟิศ และแปลง F-H พื้นที่ 54.83 ไร่ พัฒนาเป็นโฮมออฟฟิศ ส่วนพื้นที่ที่เหลือพัฒนาเป็นระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการ เช่น ถนน



“นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า วันที่ 17 ก.ย. 2563 บอร์ด ร.ฟ.ท.เห็นชอบผลศึกษาการพัฒนาเชิงพาณิชย์ย่าน กม.11 เนื้อที่ 325 ไร่ หลังเอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ของ ปตท. จะเปิดประมูลให้เอกชนเช่าจัดหาประโยชน์ 50 ปี ก่อสร้าง 5 ปี บริหารพื้นที่ 46 ปี มูลค่าการลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท โดยให้ บจ.บริหารสินทรัพย์ บริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ที่รอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดตั้งบริษัทเป็นผู้ดำเนินการเป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ ลดภาระหนี้ที่มีกว่า 1 แสนล้านบาท

รูปแบบลงทุนจะเปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนาโครงการทั้งแปลง ภายใต้ระเบียบของ ร.ฟ.ท. เพราะไม่เข้าเกณฑ์ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2562 พัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ ประกอบด้วย โรงแรม สำนักงาน ที่อยู่อาศัย โฮมออฟฟิศ ศูนย์แสดงสินค้า โดย ร.ฟ.ท.จะมีผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 16,800 ล้านบาท และตลอดอายุสัญญา 60,000 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากย่าน กม.11 ยังมีที่ดินสถานีแม่น้ำ เนื้อที่ 277.5 ไร่ จะต้องโอนให้บริษัทลูกบริหารจัดการเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งผลศึกษาโครงการผ่านการอนุมัติของบอร์ดแล้ว แบ่งพัฒนา 5 พื้นที่ ระยะเวลาเช่าจัดหาประโยชน์ 30 ปี มีมูลค่าการลงทุน 88,780 ล้านบาท

“โซน 1” Gateway Commercial Park พื้นที่ 77.13 ไร่ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทางเข้าออกหลัก และสถานีระบบขนส่งรางเดี่ยวของพื้นที่โครงการ จะพัฒนาพื้นที่รูปแบบมิกซ์ยูส ทั้งพาณิชยกรรม ที่พักอาศัย และบริการประเภทของอาคาร ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และอาคารพักอาศัยรวม จะมีพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวสอดแทรกรอบกลุ่มอาคาร

“โซน 2” Iconic Marina มีพื้นที่ 44 ไร่ จะสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่พิเศษติดแม่น้ำ และเป็นแลนด์มาร์กใหม่ของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย โรงแรมระดับ 6 ดาว อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุมสัมมนา ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า พาณิชยกรรม การแสดงสินค้า ธุรกิจการค้า ที่ทำการขององค์กรการค้าเอกชน ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และท่าเทียบเรือสำราญขนาดกลาง

“โซน 3” Cultural Promenade มีพื้นที่ 78.25 ไร่ ขนาดที่ดินมีความยาวติดแม่น้ำเจ้าพระยา 900 เมตร อยู่ฝั่งตรงข้ามบางกระเจ้า การพัฒนาประกอบด้วย พื้นที่พาณิชยกรรมค้าปลีก ศูนย์กิจกรรมทั้งด้านบันเทิง การสร้างสรรค์ ร้านอาหาร ภัตตาคาร สปา คลับ และอาคารใช้งานแบบผสมผสาน ทั้งอาคารสำนักงานและสถานที่บริการ

“โซน 4” ที่อยู่อาศัยริมน้ำ พื้นที่ 55.63 ไร่ อยู่ใจกลางของโครงการ ติดกับถนนสายหลัก สามารถเชื่อมต่อกับการใช้งานในพื้นที่อื่นได้สะดวก ด้วยรูปแบบของทางเดิน ทางจักรยาน รอบคลองขุด พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา และเชื่อมต่อระบบเปลี่ยนถ่ายขนส่งมวลชนรางเบา ซึ่งการพัฒนาประกอบด้วย กลุ่มคอนโดมิเนียม กลุ่มอาคารพักอาศัย

และ “โซน 5” พื้นที่ 22.5 ไร่ อยู่บริเวณริมคลองขุดด้านทิศเหนือ เป็นย่านที่จะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับกลุ่มชุมชนเดิม เป็นที่พักของพนักงาน บุคลากรของการรถไฟฯ เป็นย่านธุรกิจการค้าระดับชุมชน สินค้าหัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ ของขวัญของที่ระลึก ร้านอาหารตามแนวริมคลองขุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 29/09/2020 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ตั้งบริษัทลูก-บ.รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ ล้างหนี้แสนล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 29 กันยายน 2563 - 15:38 น.
ครม.เห็นชอบ รฟท.ตั้งบริษัทลูกทรัพย์สิน ลุยหารายได้ล้างหนี้ 1.77 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 กันยายน 2563 - 17:29

ครม.มีมติเห็นชอบเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของรฟท. ใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท

วันที่ 29 กันยายน 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของรฟท. โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้รฟท. กู้ยืมเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียนด้วย โดยที่รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินรวมถึงพิจารณาวิธีการรกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามคความเหมาะสม

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกในครั้งนี้ว่า รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถจำนวน 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์ เนื่องจากการบริหารสินทรัพย์ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารสินทรัพย์เป็นกิจกรรมหลัก

สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วนคือ
1.รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิมจำนวน 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของรฟท.
2.รายได้จากการให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา
3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่นๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ส่วนผลประโยชน์ที่รฟท.จะได้รับนั้น รฟท.จะมีรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภารระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท เพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.เห็นชอบให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตั้งบริษัทลูก “รถไฟพัฒนาสินทรัพย์” เพื่อบริหารทรัพย์สิน ของ รฟท. โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้เห็นชอบให้กู้ยืมเงิน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียน โดย รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงิน รวมถึงพิจารณาวิธีการรกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียด ตามคความเหมาะสม
สำหรับความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกครั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานว่า เนื่องจาก รฟท.มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถ 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทน จากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1 ของมูลค่าสินทรัพย์
ขณะที่ การบริหารสินทรัพย์ ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่ รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ มาบริหารจัดการ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็น ที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่ เพื่อบริหารสินทรัพย์ เป็นกิจกรรมหลัก
สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วน ได้แก่
รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิม 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมด ยังคงเป็นของ รฟท.
รายได้จากการให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิม ที่หมดอายุสัญญา
รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชน และการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่า แปลงอื่น ๆ และในอนาคต อาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคต ให้กับกองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้น รฟท.จะนำรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภารระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินปัจจุบัน โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 รฟท. มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 กันายน 2563 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้อนุมัติการกู้เงิน เพื่อใช้ในการดำเนินงาน วงเงิน 11,500 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 800 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
เงินกู้ดังกล่าว รฟท. จะนำไปดำเนินการบรรเทา การขาดสภาพคล่อง ในปีงบประมาณ 2564 วงเงิน 11,500 ล้านบาท โดยให้ ร.ฟ.ท.กู้เงินได้ ภายหลังจากวงเงินดังกล่าว ได้รับการบรรจุไว้ใน แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ส่วนเงินกู้ระยะสั้น เป็นวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี วงเงิน 800 ล้านบาทให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงิน ด้วยวิธีการประมูล ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ รายงานจาก กระทรวงคมนาคมระบุว่า รฟท. ประสบปัญหาขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 จะมีเงินสดรับ 46,370.67 ล้านบาท และเงินสดจ่าย 57,970.67 ล้านบาท มีเงินสดยกมาจากปี 2563 จำนวน 100 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดเงินสดไว้ใช้จ่ายในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 11,500 ล้านบาท
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกู้เงินจำนวน 11,500 ล้านบาท เพื่อให้มีเงินสดหมุนเวียน ในการใช้จ่ายดำเนินงาน การลงทุน การจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ และการชำระหนี้เงินกู้ โดย รฟท.คาดว่าจะเริ่มขาดเงินในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องกู้เงินระยะสั้น เพื่อให้มีวงเงินสำรองไว้ใช้เสริมสภาพคล่องโดยทำสัญญาเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 800 ล้านบาท
https://www.thebangkokinsight.com/444925/?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2020 10:05 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท. ตั้งบริษัทลูก-บ.รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ ล้างหนี้แสนล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันอังคาร ที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 15:38 น.
ครม.เห็นชอบ รฟท.ตั้งบริษัทลูกทรัพย์สิน ลุยหารายได้ล้างหนี้ 1.77 แสนล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 17:29


https://www.thebangkokinsight.com/444925/

ล้างหนี้รฟท.! ครม.ไฟเขียวตั้ง ‘บริษัทลูก’ บริหารที่ดิน-คาดรายได้ 6.3 แสนล.ใน 30 ปี
เขียนวันอังคาร ที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 15:33 น.

รฟท.จัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ พร้อมกู้ทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท
การเมือง
workpointTODAY
วันที่ 30 กันยายน 2563

ครม. อนุมัติกรอบ-งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 64 กว่า 1.5 ล้านล้านบาท คาดทำกำไรสุทธิราว 73,503 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้เห็นชอบการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ พร้อมกู้เงิน 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียน คาดผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท





วันที่ 20 ก.ย.2563 วานนี้ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียนด้วย โดยที่รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินรวมถึงพิจารณาวิธีการรกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามคความเหมาะสม



กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกในครั้งนี้ว่า รฟท. มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถจำนวน 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1ของมูลค่าสินทรัพย์ เนื่องจากการบริหารสินทรัพย์ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารสินทรัพย์เป็นกิจกรรมหลัก


สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วนคือ 1.รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิมจำนวน 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของรฟท. 2.รายได้จากการให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา 3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่นๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์


ส่วนผลประโยชน์ที่ รฟท.จะได้รับนั้น รฟท.จะมีรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภารระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท เพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 44 แห่ง ภายใต้ 15 กระทรวง โดยปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 52 แห่ง แต่ 8 แห่ง เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นลักษณะบริษัทมหาชน จึงไม่ได้อยู่ในกรอบเงินลงทุนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันนี้ โดย 44 รัฐวิสาหกิจ จะประกอบด้วย วงเงินดำเนินการ จำนวน 1.51 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 2.91 แสนล้านบาท โดยวงเงินเบิกจ่ายใช้ในการดำเนินโครงการทั้งหมด 16 โครงการ เช่น โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Smart Park, โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ห้าแยกฉลอง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย


โครงการเพิ่มความสามารถในการจ่ายไฟด้วยสายเคเบิลใต้น้ำให้เกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และยังมีโครงการอื่นๆ อีกด้วย เป็นเพียงแต่ตัวอย่างโครงการหลักๆ เท่านั้น โดยกำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินลงทุนจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน


ทั้งนี้มีการประมาณการงบทำการปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท ในส่วนของระยะยาว ประมาณการแนวโน้มการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2567 คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยนประมาณปีละ 3.8 แสนล้านบาท จะกำไนสุทธิเฉลี่ยปีละ 1.06 แสนล้านบาท เมื่อรวมงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง แต่ไม่รวมงบที่อาจมีเพิ่มเติมระหว่างปี คาดการณ์ว่าปี 2564 จะมีวงเงินดำเนินการอยู่ที่ 1.55 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 4.32 แสนล้านบาท เท่ากับว่าปีนี้รัฐวิสาหกิจจะมีเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากรัฐวิสาหกิจ 52 แห่ง ราว 4 แสนกว่าล้านบาท


นอกจากนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบการลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โครงการนี้มีพื้นที่รวม 1,383 ไร่ ห่างจากท่าเรือมาบตาพุด 7 กิโลเมตร สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา 17 กิโลเมตร ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ 29 กิโลเมตร ท่าเรือแหลมฉบัง 53 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ 150 กิโลเมตร มูลค่าโครงการประมาณ 2,370 ล้านบาท เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)


สำหรับการใช้ประโยชน์ที่จัดสรรไว้ดังนี้ โครงการนี้มีพื้นที่รวม 1,383 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่อุตสาหกรรม 621 ไร่ พื้นที่พาณิชยกรรม 150 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภค เช่น พื้นที่จอดรถส่วนกลาง ผลิตน้ำประปา การจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย สถานีไฟฟ้าย่อย และถนน 373 ไร่ รวมถึงพื้นที่สีเขียวและจัดสรรไว้เป็นแนวกันชนอีก 232 ไร่ โดยเป้าหมายของโครงการนี้มุ่งเน้นให้กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ New S-curve ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน วงเงินลงทุน 2.48 พันล้านบาท คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ประมาณ 3 ปี และคาดว่าพื้นที่จะถูกเช่าหมดภายใน 4 ปีหลังจากก่อสร้างเสร็จ ผลของการคำนวณความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาคืนทุนคาดว่าจะเป็น 14 ปี ถ้าคำนวณค่าปัจจุบันสุทธิจะเท่ากับประมาณ 585 ล้านบาท โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการจ้างงาน ในช่วงระยะการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 200 คน นำไปสู่เงินหมุนเวียนในชุมชนประมาณ 23 ล้านบาทต่อปี แต่เมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จก็จะเกิดการจ้างงานประมาณ 7,500 คน และนำไปสู่เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านบาทต่อปี
https://www.thansettakij.com/content/450973
https://www.facebook.com/workpointTODAY/posts/1417525431950064
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 163, 164, 165 ... 197, 198, 199  Next
Page 164 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©