RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268348
ทั้งหมด:13579634
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 170, 171, 172 ... 198, 199, 200  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2021 11:06 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คอลัมน์ ทางออกนอกตำรา: ข้อเท็จจริง'รุกที่รถไฟ 5 พันไร่'ที่ดิน'เขากระโดง'บุรีรัมย์EP#1
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564
บากบั่น บุญเลิศ


รอลิงก์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้าครับ มาพอดีเลย
ข้อเท็จจริง “รุกที่รถไฟ 5 พันไร่” ที่ดิน “เขากระโดง” บุรีรัมย์ EP#1

หน้า Columnist / ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2564 16:15 น.
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ตีพิมพ์ใน คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3658 หน้า 6
ระหว่างวันที่ 4- 6 มีนาคม พ.ศ. 2564
https://www.thansettakij.com/content/470778
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2021 10:12 am    Post subject: Reply with quote

🚉 หารือเครียด หลัง รฟท.เวนที่เขตทางรถไฟ ชาวชุมชนเทศบาลนครฯ หวั่นไร้ที่ซุกหัวนอน
Korat Daily
วันที่ 10 มีนาคม 2564 เวลา 17.00 น.

🚉 เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 10 มีนาคม 2564 ที่ห้องประชุมกองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครนครราชสีมา นางภัทรวดี ปรินแคน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม ทน.นครราชสีมา พร้อมคณะทำงานประกอบด้วยผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน) หรือ พอช. เครือข่ายสลัม 4 ภาค และเครือข่ายชุมชนเมืองโคราชร่วมประชุมหาแนวทางแก้ไขผลกระทบจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมาและรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ซึ่งมีเส้นทางผ่านตัวเมือง นครราชสีมา ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องขอคืนพื้นที่เขตทางรถไฟด้านละ 40 เมตร เพื่อพัฒนาที่ดินรถไฟ
🚉 ทั้งนี้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเป็นชาวบ้านที่มีบ้านพักอาศัยและที่ทำกินในเขตทางรถไฟ รวม 13 ชุมชน จำนวนกว่า 700 หลังคาเรือน ทั้งมีสัญญาเช่าถูกต้องแต่ครบกำหนดเวลาและ รฟท.ไม่มีนโยบายให้ต่อสัญญาและกลุ่มบุกรุกหลายสิบปี ทำให้แนวทางแก้ไขปัญหาต่างบริบทรวมทั้งเงื่อนไขที่ยังไม่ตกผลึก ส่วนหนึ่งเป็นมีฐานะยากจนทั้งตระเวนเก็บของเก่าขายและหาเช้ากินค่ำหรือประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป จึงร้องขอที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของ รฟท. ประมาณ 53 ไร่ บริเวณข้างวัดป่าสาลวัน หากมีอุปสรรคขอให้สำรวจหาที่ดินตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 5 กิโลเมตร กรณีให้เช่าที่ดินหรือขายราคาประเมินต้องเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ
🚉 นางมยุรี เจริญคุณ หรือป้าติ๋ม ประธานชุมชนราชนิกูล 3 ในฐานะประธานเครือข่ายชุมชนเมืองโคราช เปิดเผยว่า พวกเราได้รวมตัวเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2558 ตั้งแต่ทราบจะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ตระเวนยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ช่วงที่เดินทางมาประชุม ครม.สัญจร, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม, ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ประเด็นสำคัญชาวบ้าน 13 ชุมชน ไม่ได้คัดค้านโครงการหรือถ่วงความเจริญของบ้านเมืองแต่อย่างใด ขอให้รัฐจัดสรรที่ดินให้มีที่ซุกหัวนอนตั้งอยู่ในละแวกเขตเมือง โดยยินดีเช่าหรือซื้อลักษณะเงินผ่อนดอกเบี้ยไม่แพงมากนัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2021 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดข้อพิพาท ‘ที่ดินเขากระโดง’ ประชาชนโผล่ฟ้อง 35 ราย
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ออนไลน์เมื่อ 11 มีนาคม 2564 เวลา 09:25 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,659
วันที่ 7 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2564

“รฟท” ยืนยันที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เป็นของรฟท. ลั่นไม่มีสิทธิพิพาทกับประชาชนตามพลการ หลังประชาชนฟ้องร้องอ้างสิทธิยึดตามโฉนดที่ดิน 35 ราย


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังกระแสข่าวกรณีที่ไม่สามารถยึดที่ดินของรฟท.หลังมีกฎหมายห้ามไว้ตั้งแต่ “ร.6” เบื้องต้นขอชี้แจงว่า ในการบริหารจัดการด้านทรัพย์สินประเภทที่ดินนั้น รฟท.ได้แบ่งประเภทของที่ดินเพื่อการบริหารจัดการไว้เป็นหลายประเภท โดยที่ดินที่มีการบุกรุกโดยประชานซนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ และที่ดินที่มีประเด็นข้อพิพาทจากการที่ประชาชนฟ้องร้องการรถไฟฯเพื่อขอออกเอกสารสิทธิ์ อาทิ โฉนดที่ดิน, ที่ดินที่มี สค.1, น.ส. 3, น.ส. 3 ก.) บนพื้นที่ที่การรถไฟฯ สันนิษฐานว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ นั้น เนื่องจากเป็นกรณีที่อาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสม ถูกต้อง และชอบธรรม เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ว่าที่ดินที่พิพาทนั้นเป็นของประชาชนหรือการรถไฟฯรฟท.เปิดข้อพิพาท ‘ที่ดินเขากระโดง’ ประชาชนโผล่ฟ้อง 35 ราย
รฟท.เปิดข้อพิพาท ‘ที่ดินเขากระโดง’ ประชาชนโผล่ฟ้อง 35 ราย

ทั้งนี้ รฟท. มีการดำเนินการบริหารจัดการอย่างมีขั้นตอนโดยยึดหลักตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดมาตลอดตามเนื้อหาในคอลัมน์ที่ระบุว่าเป็นเรื่องการบุกรุกและข้อพิพาทการถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ดินฯบริเวณที่ดินเขากระโดง โดยอ้างอิงเนื้อหาการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ความตอนหนึ่งว่า สำหรับประชาชน...รฟท. เดินหน้าเพิกถอนโฉนดที่ดิน น.ส.3 และ น.ส.3ก ของประชาชนในพื้นที่เขากระโดง...แทนที่รฟท. จะดำเนินการกับทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่ฟ้องแค่คนใดคนหนึ่ง...นั้น ยืนยันไม่เป็นความจริงในกรณีการพิพาทกับประชาชนจำนวน 35 รายที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขากระโดงนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนผู้ฟ้องคดีทั้ง 35 ราย อ้างสิทธิ์ตาม ส.ค.1 ในที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องรฟท. เพื่อขอออกโฉนดในที่ดินพิพาท ซึ่งหลังจากที่ศาลฎีกาได้พิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในคดีดังกล่าวแล้ว จึงพิพากษาว่าที่ดินที่พิพาทของประชาชนผู้ฟ้องคดีดังกล่าวทั้ง 35 ราย เป็นที่ดินของรฟท.




ขณะเดียวกันตามหลักกฎหมาย ข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานและคำพิพากษาดังกล่าวข้างต้น จะมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีนั้นๆ เท่านั้น รฟท. อาจนำเอาข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีที่มีข้อพิพาทอื่นๆอีกก็ได้ ส่วนศาลในคดีที่รับฟังข้อเท็จจริงในภายหลังนั้นจะรับฟังข้อเท็จจริงและพิจารณาเป็นประการใด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่าย ซึ่งอาจมีผลแห่งคดีที่แตกต่างหรือเหมือนกัน อย่างไรก็ตามการที่ รฟท.จะนำข้อเท็จจริงและผลคำพิพากษาในคดีที่ประชาชนจำนวน 35 ราย ฟ้องร้องไปเป็นเหตุในการมีข้อพาทเพิ่มเติมกับประชาชนในบริเวณเขากระโดงที่มีเอกสารสิทธิ์ของทางราชการที่ออกโดยหน่วยงานของทางราชการและอยู่อาศัยอย่างสงบอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์อีกกว่า 1,000 ราย นั้นเป็นเรื่องที่รฟท. ในฐานะรัฐวิสาหกิจอันเป็นองค์กรของรัฐต้องพิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบและเหมาะสม คำนึงถึงผลกระทบทั้งในทางกฎหมาย ความสงบสุขทางสังคม และผลเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ ด้วย นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเคยเป็นทนายความเรื่องดังกล่าวเมื่อปี 2550 ยืนยันว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวของประชาชนหลายร้อยครอบครัวมีการออกเอกสารสิทธิโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย ขณะเดียวกันรฟท.ได้รับรองแนวเขตที่ดินแล้ว “อย่าพยายามทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ที่ดินทุกแปลงที่ครอบครองที่ดินของรฟท.เป็นการครอบครองโดยไม่ชอบตามกฎหมาย ขณะเดียวกันที่ดินแปลงอื่นถูกยุติตามข้อเท็จจริงในการออกเอกสารสิทธิของกฎหมายที่ดินครบถ้วนถูกต้องแล้ว โดยประชาชน 35 รายไม่ได้เกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงอื่นๆ ต่อให้ตระกูลชิดชอบ อยู่ที่นั่นก็เป็นที่ดินโดยชอบธรรมตามกฎหมาย ซึ่งมีเอกสารสิทธิถูกต้อง”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า ภาพรวมที่ดินการรถไฟแห่งประเทศทั่วประเทศกว่า 2.4 แสนไร่ มีการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ของที่ดิน 2 ช่องทาง คือ จากการเวนคืน และได้มาโดยเหตุอื่นๆ ตนไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งกรณีที่ดินเขากระโดง การรถไฟฯ ได้สำรวจผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เมื่อปี 2550 พบว่า มีผู้ถือครองเอกสารสิทธ์ ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (สค.1) มากกว่า 35 ราย เอกสาร นส.3 ประมาณ 500 ราย เอกสารครอบครองที่ดินเป็นโฉนด และหน่วยงานราชการจำนวนหนึ่งปัจจุบันที่ดินแยกเขากระโดงมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์หลายราย ซึ่งการรถไฟฯ ดำเนินการอยู่นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ที่ดินดังกล่าวที่อ้างถึงเป็นที่ดินที่มีโฉนดเลขที่ 3466 มีการซื้อขายกันมาจนออกเป็นโฉนด มีการชี้แนวเขตโดยวิศวกรการรถไฟ และมีประชาชนอยู่ในที่ดินบริเวณดังกล่าวมานาน ขนาดที่ว่า เราเกิดกันไม่ทัน ตนในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำเนินการและสั่งการให้ยึดหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่เคยแทรกแซง สั่งการใดๆ ในที่ดินดังกล่าว ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่า คนใกล้ชิด หรือไม่ใกล้ชิด ต้องยึดหลักภายใต้หลักกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 1:42 am    Post subject: Reply with quote

Khon Kaen City : ขอนแก่นซิตี้
13 มีนาคม 2564 เวลา20:56 น.

ขอนแก่นตลาดเปิดรัวๆ เตรียมไปเช็คอินกันได้เลย! พลิกโฉม! หน้าสถานีรถไฟขอนแก่น ผุดแลนด์มาร์คแห่งใหม่ใจกลางเมืองขอนแก่น #สตรีทไนท์รถไฟขอนแก่น​ เปิด 1 เมษายน 2564 นี้ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 15.00-23.00น.
.
เอาใจขาช็อป ขากิน ขาเที่ยวแห่งใหม่ของชาวขอนแก่น ชิมไปเดินเล่นไป ซื้อของถ่ายรูป หรือหาอะไรแปลกๆใหม่ๆ สินค้าแปลกแหวกแนวสไตล์สตรีท, อาหารชื่อดังสไตล์​สตรีทฟู๊ด, สินค้าแฟชั่น, ร้านนั่งดื่ม, ผักผลไม้ตามฤดูกาล, สถานที่บรรยากาศสุดชิลล์ มีจุดเด่น จุดขาย มุมถ่ายรูป ลานกิจกรรมสำหรับวัยรุ่นหรือกลุ่มต่างๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 11:21 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.พลิกที่ดินใกล้โรงพยาบาลศิริราช 21 ไร่ 3 งาน
*ผุดโรงแรม-ห้าง-ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ 3.3 พันล้าน
*ลุยเช็กเสียงเอกชน/ประมูลย่านสถานีธนบุรีปีนี้!!
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2859602650927901
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 4:16 pm    Post subject: Reply with quote

ค วั น ห ล ง . . . ที่ ดิ น เ ข า ก ร ะ โ ด ง ! ! ! . . ..ก า ร อ ภิ ป ร า ย เ พื่ อ ล ง ม ติ ไ ม่ ไ ว้ ว า ง ใ จ . . .
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 21:30 น.

หลังจากที่ข้อมูลปรากฎในการอภิปรายเพื่อลงมติไม่วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลเมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา มีกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประเด็นกรณีที่ดินพิพาทบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
ในเรื่องนี้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ติดตามการดำเนินการจากผู้ที่เกี่ยวข้องมามาเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่เมื่อปี 2549 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตวุฒิสภา ได้จัดทำหนังสือ “ กระบวนการโกงชาติ ” เพื่อเปิดพฤติกรรมและกระบวนการการทุจริต ในเรื่องกรณีครอบครองที่ดินของการรถไฟฯบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยสรุปได้ว่า.....ที่ดินบริเวณเขากระโดงนั้นเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความไว้เมื่อปี 17 มีนาคม 2541 และในปี 2552 สร.รฟท. ได้ยื่นเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยคณะกรรมการ ปปช.ได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงและพิจารณาแล้วมีมติเมื่อปี 2554 ว่า ...โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และเลขที่ 8564 เป็นการออกโฉนดในที่ดินของการรถไฟ ฯ ซึ่งเป็นที่หวงห้ามเป็นการออกที่มิชอบด้วยกฎหมาย และ ปปช.ได้ส่งเรื่องให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และ พระราชบัญญัติ ปปช. 2542 มาตรา 99
และต่อมาหลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 กรณีราษฎร 35 ราย เป็นโจทก์ฟ้องการรถไฟฯเพื่อขอออกโฉนด โดยศาลมีคำพิพากษาว่า ที่ดินเป็นของการรถไฟฯ ไม่สามารถออกโฉนดได้ ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายสิ่งของทรัพย์สินและบริวารออกจากที่ดิน
ในปี 2561 สร.รฟท.ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ด) เพื่อให้มีการบริหารจัดการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่ถูกบุกรุก โดยเฉพาะพื้นที่เขากระโดง ที่ยังเป็นแผนที่แสดงแนวเขตยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ และบางส่วนมีผู้บุกรุก ออกเอกสารสิทธิ์
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า.......จากข้อเท็จจริงซึ่งประกอบไปด้วยคำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา/มติคณะกรรมการ ปปช./คำพิพากษาศาลฎีกา เป็นที่ยุติแล้วว่า..... ที่ดินบริเวณพื้นที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ตามแผนที่ที่การรถไฟฯเสนอเป็นหลักฐานพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม จำนวน 5,083 ไร่ 50 ตารางวา เป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงมหาดไทยโดยอธิบดีกรมที่ดิน ที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และ 62 ในการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบตามกฎหมาย รักษาไว้ซึ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่สงวนหวงห้ามไว้ เพื่อประโยชน์ของกิจการรถไฟฯต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัด! ‘เขากระโดง’ที่ดินรถไฟ สะเทือน‘ช้างอารีน่า-บุรีรัมย์คาสเซิล’
เขียนโดยisranews
เขียนวันอาทิตย์ ที่ 14 มีนาคม 2564 เวลา 16:45 น.



"...สำหรับที่ดินแปลงอื่นๆ ในบริเวณเขากระโดงนั้น มีที่ดินหลายแปลงที่ยังไม่มีการฟ้องศาลฯขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เช่น สนามช้างอารีนา ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มูลค่าการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท ไม่รวมราคาที่ดิน, โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ของ กรุณา ชิดชอบ เนื้อที่ 37 ไร่เศษ และโฉนดที่ดินของ บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด ที่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยเป็นที่ปรึกษาฯ โครงการ 'บุรีรัมย์ คาสเซิล' คอมมูนิตี้มอลล์และที่ตั้งปราสาทหินพนมรุ้งจำลอง มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ของ บริษัท ศิวะ บาร์ณา จำกัด ที่มี เนวิน ชิดชอบ เป็นประธานกรรมการ เป็นต้น..."

..................

กรณีพิพาทที่ดิน ‘เขากระโดน’ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์

แม้ว่าในปี 2541 คณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีคำวินิจฉัยว่า เป็น ‘ที่ดินรถไฟ’ ตามมาตรา 3 (2) และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 ก่อนโอนมาเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) (อ่านประกอบ : 23 ปียังไม่เพิกถอนโฉนด! เปิดบันทึกกฤษฎีกาชี้ชัด ‘เขากระโดง’ 5 พันไร่ ที่ดินรถไฟ)

ขณะที่เมื่อปี 2554 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติให้รฟท. แจ้งกรมที่ดิน เพื่อเพิกถอนโฉนดที่ดิน 2 แปลงของนักการเมืองตระกูลดังของจ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการโฉนดโดยมิชอบทับที่ดินรถไฟบริเวณเขากระโดง (อ่านประกอบ : พลิกแฟ้มป.ป.ช.! สั่งถอนโฉนดตระกูล ‘ชิดชอบ’ ทับที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’)

แต่ปรากฏว่าข้อมูลว่า การดำเนินการ ‘เพิกถอน’ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน เช่น ส.ค.1 น.ส.3 ,น.ส.3 ก. ,น.ส. 3 ข บริเวณเขากระโดง เนื้อที่รวมกว่า 5,000 ไร่นั้น มีที่ดินหลายแปลงที่ รฟท.ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ โดยเฉพาะการขอให้เพิกถอนโฉนดที่หรือหนังสือรับการทำประโยชน์ที่ดิน ขณะที่ รฟท.ชี้แจงว่า จะสรุปความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องนี้ในเร็วๆนี้

“กรณีที่ดินแยกเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ที่มีข้อพิพาทนั้น เมื่อปี 2550 การรถไฟฯได้เข้าไปสำรวจผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว พบผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ ส.ค.1 มากกว่า 35 ราย ถือครอง น.ส. 3 ก ประมาณ 500 ราย ถือครองโฉนดที่ดินมากกว่า 320 ราย และมีหน่วยราชการในพื้นที่หลายหน่วยงาน

การรถไฟฯได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายแล้ว 49 ราย เช่น ส.ค.1 จำนวน 35 ราย ,น.ส. 3 ก จำนวน 7 ราย ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์การรถไฟฯ และขณะนี้คณะทำงานฯอยู่ระหว่างดำเนินการกับผู้บุกรุกเพิ่มเติม และรฟท.เข้าไปทำสัญญาเช่าให้เป็นไปตามระเบียบฯแล้ว”

เป็นคำชี้แจงของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีที่ดินเขากระโดง ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2564

แต่นั่นก็ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า เหตุใดการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินอื่นๆบริเวณเขากระโดงอีกกว่า 800 แปลง จึงเป็นไปด้วยความล่าช้า และเหตุใด รฟท. จึงฟ้องร้องต่อศาลฯเพื่อขับไล่และขอเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินของประชาชนเฉพาะ ‘บางแปลง’ เท่านั้น

ทั้งๆที่หากอ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกา 2 ครั้ง ได้แก่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 เมื่อวันที่ 16 ก.พ.2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2561 จะพบว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดงกว่า 5,000 ไร่นั้น เป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และเป็นที่ดินรถไฟอย่างแน่นอน

@ที่มาแนวเขตที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’

จากส่วนหนึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 ศาลฯฟังข้อเท็จจริงได้ว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2462 มีประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้กรมรถไฟหลวงเริ่มลงมือตรวจและวางแนวรถไฟอันแน่นอนช่วงตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้แล้วเสร็จใน 2 ปีนับจากประกาศ

มีการแต่งตั้ง ‘ข้าหลวงพิเศษ’ ให้ทำหน้าที่จัดการที่ดินดังกล่าว

และในระหว่าง 2 ปีที่กำหนดไว้นี้ ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดจับจองที่ดินซึ่งว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ส่วนที่ดินที่มีเจ้าของก่อนวันประกาศพ.ร.ฎ. ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตทางรถไฟตามที่ปรากฎในแผนที่ไปยกให้หรือขายซื้อ แลกเปลี่ยนกับผู้หนึ่งผู้ใด และห้ามมิให้สร้างบ้านเรือนหรือปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาตจากข้าหลวงหรือผู้แทน

อย่างไรก็ดี หลังจากมีการประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 แล้ว ข้าหลวงพิเศษเห็นว่า การก่อสร้างทางรถไฟมีความจำเป็นต้องใช้หินเพื่อโรยทาง จึงวางแนวและดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณ ‘เขากระโดง’ และ ‘บ้านตะโก’ จ.บุรีรัมย์ อันเป็นแหล่งระเบิดหินและย่อยหิน

มีระยะทาง 8 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งในช่วง 4 กม.แรก มีผู้เป็นเจ้าของที่ดิน 18 ราย ส่วนอีก 4 กม.ถัดไปจนถึงบริเวณที่มีการระเบิดและย่อยหินนั้น เป็น ‘ป่าไม้เต็งรัง’ ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง โดยช่วง 4 กม.หลัง มีความกว้างจากแนวกึ่งกลางทางรถไฟข้างละ 1 กม. (1,000 เมตร)

ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 และมีการจัดทำบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน 18 ราย ระบุไว้ในแผนที่ด้วย

ต่อมาวันที่ 15 ส.ค.2464 พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มีผลบังคับใช้

โดยมาตรา 3 (2) บัญญัติว่า ‘ที่ดินรถไฟ’ หมายความว่า ที่ดินทั้งหลายที่ได้จัดหาหรือเช่าถือไว้ใช้ในการรถไฟ โดยชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตรา 25 บัญญัติว่า จำเดิมแต่วันที่ได้ออกประกาศพ.ร.ฎ.ให้จัดซื้อที่ดินในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นดังได้ระบุกล่าวไว้ในพ.ร.ฎ.นั้น ตกมาเป็นของกรมรถไฟทันที แต่กรมรถไฟแผ่นดินจะมีสิทธิเข้าเข้าปกครองทรัพย์นั้นได้ ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทำขวัญแล้ว

มาตรา 20 บัญญัติว่า ให้กรมรถไฟแผ่นดินเป็นธุระจัดการในการจัดซื้อที่ดินตามที่เห็นจำเป็นเพื่อสร้างทางรถไฟ

มาตรา 6 บัญญัติว่า ห้ามไม่ให้เอกชนหรือบริษัทใดๆ หวงห้ามหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรถไฟหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เว้นไว้แต่จะได้มีการประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นพิเศษว่าทรัพย์นั้นๆได้ขาดจากการเป็นที่ดินรถไฟแล้ว

ต่อมาวันที่ 7 พ.ย.2464 มีประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ขยายระยะเวลาการตรวจและวางแนวเขตทางรถไฟช่วงจังหวัดสุรินทร์ถึงอุบลราชธานีออกไปอีก 1 ปี นับจากวันที่ 8 พ.ย.2464

ในวันเดียวกัน คือ วันที่ 7 พ.ย.2464 ยังมีการออกพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง และให้ยกเลิกพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 เฉพาะตอนตั้งแต่ต.ท่าช้าง จ.นครราชสีมา ถึงจ.สุรินทร์ ซึ่งตรวจและวางแนวรถไฟได้แน่นอนแล้ว และให้ใช้พ.ร.ฎ.นี้แทนในเขตเดียวกัน

ทั้งให้ 'กรมรถไฟแผ่นดิน' เป็นธุระจัดหาซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่น ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อสร้างทางรถไฟ จาก ต.ท่าช้าง จ.นครราชสีมา ถึงจ.สุรินทร์ โดยที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซึ่งต้องจัดซื้อที่ระบุไว้ท้ายพ.ร.ฎ. และให้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.ด้วย

ต่อมาวันที่ 27 ก.ย.2465 มีพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง และให้ยกเลิกพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และฉบับลงวันที่ 7 พ.ย.2464

Kaokradong 14 03 21 1(แผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650)

@ศาลฎีการะบุ ‘เขากระโดง’ ที่ดินรถไฟ

ศาลฯ เห็นว่า เมื่อพิจารณาแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ปรากฏว่า มีแนวทางรถไฟ 2 ส่วน

ส่วนแรก 4 กม.แรก (ตั้งแต่ กม. 0+000 ถึง กม. 4+540) ซึ่งระบุความกว้างจากกึ่งกลางไม่ชัดเจน และมีการระบุชื่อเจ้าของที่ดิน 18 รายนั้น จากการเบิกความนายตรวจทางบุรีรัมย์ มีการยืนยันว่าในช่วง 3 กม.แรก (กม. 0+000 ถึง 3+000) เขตที่ดินรถไฟมีความกว้างจากกึ่งกลางทางรถไฟข้างละ 15 เมตร ถัดไปจนถึง กม.4+540 กว้างข้างละ 20 เมตร

เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินจ่ายเงินค่าทำขวัญให้เจ้าของที่ดิน 18 ราย และมีการลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือรับเงินทำขวัญแล้ว ดังนั้น ที่ดินตามแนวทางรถไฟ 4 กม.แรก และพื้นที่ข้างทางข้างละ 15 เมตรและ 20 เมตร จึงเป็นที่ดินที่กรมรถไฟแผ่นดินจัดซื้อเพื่อประโยชน์ของการรถไฟ

ขณะที่การจ่ายเงินค่าทำขวัญให้เจ้าของที่ดิน 18 รายดังกล่าว นายช่างก่อสร้างเอก สายตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีหนังสือเลขที่ ค.อ.508/67 ลงวันที่ 24 พ.ย.2567 ทูลอำมาตย์โท หม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรร รักษาราชการแทนผู้บัญชาการกรมรถไฟขณะนั้นทรงทราบ พร้อมทั้งใบสำคัญแสดงรายละเอียดแห่งค่าทำขวัญลงวันที่ 9 พ.ย.2464

ส่วนที่สอง ช่วง 4 กิโลเมตรถัดไป (จนถึงบริเวณที่มีการระเบิดและย่อยหิน) ซึ่งเป็นที่ดินที่ไม่มีเจ้าของนั้น การที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 ระบุว่า ในช่วง 2 ปีที่กำหนดไว้ในพ.ร.ฎ. ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าจับจองที่ดินซึ่งเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ

ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า ข้าหลวงพิเศษที่ได้รับแต่งตั้งตามพ.ร.ฎ. และกรมรถไฟแผ่นดินมีอำนาจกำหนดพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของเป็นที่หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างทางรถไฟได้ ข้าหลวงพิเศษและกรมรถไฟแผ่นดิน จึงมีอำนาจเจ้าไปยึดถือที่ดินที่ไม่มีเจ้าของในช่วง 4 กม.ถัดไปด้วย

“ที่ดินตามแผนที่ที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พ.ย.2462” ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 ระบุ

Kaokradong 14 03 21 3(เอกสารคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2561)

@รฟท.จ่อฟ้องเพิกถอนโฉนด-เอกสารสิทธิ์ที่ดิน

จากคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว เมื่อที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นที่ดินรถไฟ รฟท.จึงมีหน้าที่ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกแปลงบริเวณเขากระโดง เพราะเป็นที่ดิน ‘หวงห้าม’ ไม่ให้เอกชนหรือบริษัทใดๆถือครองกรรมสิทธิ์ รวมทั้งห้ามไม่ให้ยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินรถไฟด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงปี 2561 จะปรากฏข้อมูลว่า รฟท. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ และขอเพิกถอนโฉนดที่ดิน 2 แปลง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 5272 , 2971 และเพิกถอนหนังสือรับรองประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 206 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ พร้อมทั้งเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยเป็นเงินกว่า 2 แสนบาท

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2562 ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ พิพากษาให้ รฟท. ‘มีสิทธิเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน’ ทั้ง 3 แปลงได้ และให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้ รฟท.เดือนละ 23,706 บาท ซึ่งต่อมาจำเลยอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 22 เม.ย.2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาให้ รฟท. ‘มีสิทธิเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน’ เช่นเดิม รวมทั้งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้รฟท.ด้วย

แต่สำหรับที่ดินแปลงอื่นๆ ในบริเวณเขากระโดงนั้น มีที่ดินหลายแปลงที่ยังไม่มีการฟ้องศาลฯขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดิน เช่น สนามช้างอารีน่า ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มูลค่าการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท ไม่รวมราคาที่ดิน, โฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ของ กรุณา ชิดชอบ เนื้อที่ 37 ไร่เศษ และโฉนดที่ดินของ บริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด ที่ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เคยเป็นที่ปรึกษาฯ

โครงการ 'บุรีรัมย์ คาสเซิล' คอมมูนิตี้มอลล์และที่ตั้งปราสาทหินพนมรุ้งจำลอง มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท ของ บริษัท ศิวะ บาร์ณา จำกัด ที่มี เนวิน ชิดชอบ เป็นประธานกรรมการ เป็นต้น รวมถึงบ้านเรือนประชาชนอีกหลายร้อยหลังคาเรือน

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ยังพบว่า บางส่วนของสนามแข่งรถ ‘ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต’ ยังเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินรถไฟที่หวงห้ามไม่ให้เอกชนถือครองด้วย

Kaokradong 14 03 21 2(ที่ตั้งที่ดินแปลงสำคัญที่อยู่ในพื้นที่รถไฟ 'เขากระโดง' ที่มา Google earth)

จากนี้ไปคงต้องติดตามว่า รฟท. จะดำเนินการฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆกว่า 800 แปลงได้เมื่อใด

และ รฟท.จะมีทางออกของในการจัดการที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’ อย่างไร?


https://m.youtube.com/watch?v=f87I9I0JU80&feature=youtu.be
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 5:59 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟผุดบัดเจ็ตโฮเทล
ข่าวหน้าใน เศรษฐกิจ
จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 09:46 น.

รถไฟผุดบัดเจ็ตโฮเทล – นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า บอร์ด รฟท.อนุมัติให้เร่งรัดพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริเวณบ้านพักพนักงานย่านธนบุรี ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช เนื้อที่ 21 ไร่ โดยให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและ นักลงทุนโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ รฟท.มีผลศึกษาความเหมาะสมโครงการอยู่แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปีนี้

สำหรับรูปแบบการลงทุนไม่ใช่การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนแบบพีพีพี แต่จะให้เอกชนเช่าที่ดินระยะยาว พัฒนาเป็นศูนย์พักฟื้นสุขภาพ และโรงแรมระดับกลางให้เช่า รองรับผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิริราช และธนบุรี


รายงานข่าวแจ้งว่า รฟท.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นในวันที่ 19 มี.ค. คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 3.3 พันล้านบาท ให้เอกชนเช่ายาว 30 ปี แบ่งพัฒนาออกเป็น 4 โซน คือ
1.โรงแรม 3 ดาว ให้เช่าไม่เกินห้องละ 1 พันบาท/คืน และห้างสรรพสินค้า
2.ศูนย์พักฟื้นและฟื้นฟูสุขภาพให้ผู้ป่วยทั่วไป
3.ห้องพักพนักงานการรถไฟ และ
4.เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ให้กลุ่มแพทย์และผู้สูงวัยเช่า
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3885311094849140
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องทุเรศของชาวสลัมที่อาศัยที่รถไฟอยู่
https://www.facebook.com/khomsanzorori/posts/1734546303542993
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2021 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

พลิกที่รถไฟใกล้รพ.ศิริราชผุดโรงแรม-ห้าง3.3พันล้าน
วันที่ : 15 มีนาคม 2564
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

การรถไฟ พลิกโฉม ที่ดินใกล้รพ.ศิริราช สร้าง มิกซ์ยูส 3.3 พันล้านบาท ให้เอกชนเช่าระยะยาว 30 ปี
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.มีแผนเปิดประมูลที่ดินตามโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์หลายแปลงซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้ รฟท. นอกเหนือจากรายได้การให้บริการเดินรถโดยคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีมติอนุมัติให้เร่งโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านธนบุรีหรือบางกอกน้อย เนื้อที่ 21 ไร่ 3 งาน เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและนักลงทุน ให้โครงการเดินหน้าได้ ซึ่งรฟท. มีผลศึกษาความเหมาะสมโครงการอยู่แล้วคาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในปีนี้ ไม่ใช่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) แต่เป็นในลักษณะให้เช่าที่ดินระยะยาว เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์พักฟื้น ฟื้นฟูสุขภาพ และโรงแรมระดับกลางรองรับผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาใช้บริการ รพ.ศิริราชและรพ.ธนบุรี

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า วันที่ 19 มี.ค.นี้ รฟท. จะจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรี(ครั้งที่ 2) ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กทม. จากผลการศึกษาเบื้องต้นใช้เงินลงทุน 3.3 พันล้านบาท ให้เอกชนเช่าระยะยาว 30 ปี แบ่งพัฒนาพื้นที่เป็น 4 โซน คือ 1.โรงแรม และห้างสรรพสินค้า เป็นโรงแรม 3 ดาว รวม 720 ห้อง ให้ญาติผู้ป่วยพักอาศัย ค่าเช่าไม่เกิน 1,000 บาทต่อคืน 2. ศูนย์พักฟื้นและฟื้นฟูสุขภาพของผู้พักฟื้นและดูแลสุขภาพที่เข้ามารับบริการที่ รพ.ศิริราชและ รพ.ธนบุรี และ 3.บ้านพักพนักงานการรถไฟ 315 ห้อง และ 4. เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ 300 ห้อง ให้กลุ่มแพทย์และผู้สูงวัยในย่านธนบุรีพักอาศัย อัตราค่าเช่า แบ่งเป็น 2 อัตรา 1 ห้องนอน พื้นที่ 33 ตารางเมตร ค่าเช่า 9,000-18,000 บาท/เดือน และ 2 ห้องนอน พื้นที่ 45-50 ตารางเมตร ค่าเช่า 19,000-25,000 บาท/เดือน สำหรับพื้นที่ดังกล่าวทิศเหนือติดซอยวัดวิเศษการ ตลาดรถไฟธนบุรี สถานีรถไฟธนบุรี ทิศใต้มีที่อยู่อาศัยโดยรอบ ด้านทิศตะวันออกติดซอยวัดวิเศษการ ศูนย์ไตเทียมกัลยาณิวัฒนา และวัดฉิมทายกาวาส อนาคตสามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้า 2 เส้นทาง คือ สาย สีแดง ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช และสายสีส้มตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์

Wisarut wrote:
รถไฟผุดบัดเจ็ตโฮเทล
ข่าวหน้าใน เศรษฐกิจ
จันทร์ที่ 15 มีนาคม 2564 เวลา 09:46 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3885311094849140
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 170, 171, 172 ... 198, 199, 200  Next
Page 171 of 200

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©