RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264871
ทั้งหมด:13576154
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 177, 178, 179 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/10/2021 8:40 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.งัดเซฟที่ดิน 6.3 แสนล้าน ประมูลเช่า ล้างหนี้ ใน10 ปี
อสังหาริมทรัพย์ 14 ต.ค. 2564 เวลา 5:59 น.

รฟท.เขย่าที่ดิน 3.8 หมื่นไร่ 1.28 หมื่นสัญญา หารายได้ล้างหนี้แสนล้าน ใน 10 ปี เป้า 30 ปี โกย 6.3 แสนล้าน สั่งบริษัทลูก“เอสอาร์ที แอสเสท”จัดพอร์ตที่ดินใหม่ลุยประมูล พัฒนาเชิงพาณิชย์ประเดิมรื้อแผนพัฒนาย่านสถานีธนบุรี รับสายสีส้มเร่งหาเอกชนบริหารโรงแรมเซ็นทาราหัวหิน ปี 65

จากภาระหนี้สะสมของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีมากกว่า 1.67 แสนล้านบาท ส่งผลให้ กระทรวงคมนาคม เร่งรัดให้ รฟท. นำทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินในมือ 3.8 หมื่นไร่ ออกประมูลหารายได้ โดย ตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ขึ้นมาเป็นบริษัทลูก จัดทำแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่ เพื่อความคล่องตัวมีเป้าหมายสร้างรายได้ 1.25 แสนล้านบาท ถึงจุดคุ้มทุน 10 ปี ลบภาพขาดทุนของรถไฟไทย

รฟท.ยังตั้งเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ในระยะเวลา 30 ปีจะมีรายได้สูงถึง 6.3 แสนล้านบาท เนื่องจากที่ดินแต่ละแปลงอยู่ในทำเลศักยภาพกลางใจเมืองแนวเส้นทางรถไฟฟ้าอีกทั้งหัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญ สามารถสร้างมูลค่าการลงทุนที่สูง

รื้อประมูลที่ดินแปลงยักษ์

สำหรับการสร้างรายได้ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องจัดลำดับความสำคัญที่ดินที่ต้องนำออกพัฒนา ล่าสุดคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟท.) มีมติ วันที่ 29 กันยายน 2564 ให้เอสอาร์ทีฯนำผลศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านสถานีธนบุรีพื้นที่ 21 ไร่ มาพิจารณาพัฒนาพื้นที่ร่วมกับสถานีธนบุรี บริเวณ ตลาดศาลาน้ำร้อน ประมาณ 2.5 หมื่น ตารางเมตร (ตร.ม.) ให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช มีรถไฟฟ้าสายสีส้มผ่าน ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแปลงที่ดินดังกล่าว จากเดิมได้ จ้างบริษัทที่ปรึกษา ศึกษาความเป็นไปได้ เพียงแปลงเดียวคือบ้านพักพนักงานสถานีธนบุรี 21 ไร่ เท่านั้น

Click on the image for full size

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า พื้นที่สถานีธนบุรี บริเวณศาลาน้ำร้อนบริษัท ยูไนเต็ด โกลเบิล เอเยนซี (ประเทศไทย) จำกัด จะหมดอายุสัญญาเช่ากลางปี 2565 และเสนอขอต่ออายุสัญญา 15 ปี ขณะบอร์ด รฟท. ยังไม่อนุมัติ โดยให้เหตุผลว่าต้องการให้เอสอาร์ที แอสเสทฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกดูแลบริหารทรัพย์สินของ รฟท. พิจารณาการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีธนบุรีทั้งหมดไปในทิศทางเดียวกัน

พร้อมทั้งสั่งทบทวนแผน เร่งหาเอกชนเช่าที่ดินและอาคาร ของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน หรือโรงแรมรถไฟหัวหิน คาดว่าทั้ง 2 โครงการที่ผ่านบอร์ด รฟท. จะเปิดประมูลได้ภายในปี 2565

นอกจากนี้ยังมีแปลงสถานีรถไฟหัวหินสนามกอล์ฟ 500 ไร่ และโรงแรมอีก 3 ไร่ ที่หมดอายุสัญญาไป กว่า 6 ปี โดยจะประมูลพัฒนารูปแบบผสมผสานหรือ มิกซ์ยูสมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท เชื่อว่า กลุ่มทุนเดิมจะเข้าพื้นที่ อย่างบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่ยังเช่าบริหารสนามกอล์ฟแบบปีต่อปี

10 ปี ล้างขาดทุน

รายงานข่าวจาก รฟท. เปิดเผยว่า ตามแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่ของรฟท. จำนวน 38,000 ไร่ เอสอาร์ที ได้ศึกษาแนวทางการบริหารโครงการใหญ่ บนแปลงที่ดินต่างๆ ให้เกิดความหลากหลาย ไม่เป็นรูปแบบเช่าเพียงอย่างเดียว คาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมเดือนธันวาคมนี้ ให้ผลตอบแทนสูงถึง 125,175 ล้านบาท ภายใน 10 ปี และถึงจุดที่ทำให้ รฟท. รอดพ้นการขาดทุนลดผลกระทบหนี้สินที่มีอยู่ 1.67 แสนล้านบาทขณะ 30 ปีข้างหน้า จะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ เป็น 6.3 แสนล้านบาท

ปี 65 โอน 1.28 หมื่นสัญญา

ทั้งนี้ในปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างทยอยส่งมอบที่ดินยให้เอสอาร์ทีฯ ซึ่งมีความเป็นมืออาชีพ ทบทวนผลการศึกษาที่เคยผ่านบอร์ดแล้ว เนื่องจากที่ประชุมเล็งเห็นว่าบริษัทฯ น่าจะมีมุมมองเพิ่มเติมจากผลการศึกษามากขึ้น จึงให้นำไปทบทวนอีกครั้ง แต่ไม่ใช่การศึกษาใหม่ทั้งหมด เบื้องต้น รฟท. ต้องโอนทรัพย์สินโครงการขนาดใหญ่ที่ทำสัญญาไว้ประมาณ 75 สัญญา ก่อนสิ้นปี 2564 หลังจากนั้นจะดำเนินการโอนทรัพย์สินทั้งหมด 12,839 สัญญา ให้บริษัทเอสอาร์ทีฯ ในปี 2565 ต่อไป

ชิงพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ

ความคืบหน้าการประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ สถานีกลางบางซื่อ รฟท.อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมตามความเห็นของบอร์ดรฟท.เกี่ยวกับสูตรคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน คาดว่าจะแล้วเสร็จเบื้องต้นจะแล้วเสร็จสามารถนำเสนอบอร์ดพิจารณาเห็นชอบ และออกประกาศเอกสารประกวดราคาหาเอกชนเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และป้ายโฆษณา บริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อและสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง 12 สถานี เดือนตุลาคมนี้

ส่วนการจัดหาเอกชนบริหารพื้นที่ แบ่งออกเป็น 4 สัญญา ได้แก่ การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานีกลางบางซื่อ และจัดทำป้ายโฆษณา โดยทั้ง 2 สัญญามีสัญญาเช่า 20 ปี ขณะอีก 2 สัญญา คือ การบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟสายสีแดง 12 แห่ง และการจัดทำป้ายโฆษณา ในสถานี มีสัญญาเช่า 3 ปี เนื่องจาก รฟท. ประเมินแล้วพบว่าการทำสัญญาระยะสั้นจะจูงใจเอกชนมากกว่า อีกทั้งจะนำ 2 สัญญาดังกล่าวไปประมูลรวมกับการจัดหาเอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) เดินรถสายสีแดง เพื่อจูงใจเอกชนร่วมลงทุนมากขึ้นและเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารสัญญา

รายงานข่าว กล่าวต่อว่า ภายหลังประกาศเอกสารประกวดราคาแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาในขั้นตอนประกวดราคาราว 2 เดือนแล้วเสร็จ ได้เอกชนผู้ชนะการประมูลในคู่สัญญา ภายในช่วงต้นปี 2565 ซึ่ง รฟท. จะเร่งรัดให้มีการเข้าพื้นที่พัฒนาในทันที โดยระยะแรกที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ พื้นที่บริเวณประตู 4 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่จะพัฒนาร้านอาหารรองรับประชาชนมาใช้บริการรถไฟสายสีแดง

อย่างไรก็ตามการเข้าพื้นที่ช่วงแรกอาจต้องบริหารจัดการร่วมกับศูนย์ฉีดวัคซีน แต่ รฟท.มั่นใจว่าจะบริหารพื้นที่ไม่ให้ทับซ้อนหรือเป็นผลกระทบต่อกัน อีกทั้งการให้บริการร้านอาหาร จะรองรับประชาชนท่เข้ามาใช้บริการศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ หลังจากนั้นระยะต่อไปจะผลักดันให้มีการพัฒนาห้างร้านต่างๆ ในรูปแบบช็อปปิ้งมอลล์ มีสินค้าและบริการหลากหลาย รวมไปถึงสินค้าแบรนด์เนม คล้ายกับการบริการในท่าอากาศยาน เพื่อยกระดับให้สถานีกลางบางซื่อไม่เป็นเพียงสถานีบริการการเดินทาง

เปิดทำเลทองคลองสาน-RCA

นอกจากนี้ ในปีหน้ายังมีแผนนำที่ดินบริเวณตลาดคลองสาน หรือตลาดคลองสานพลาซ่า และท่าเรือข้ามฟากคลองสาน ใกล้กับห้างไอคอนสยามและรถไฟฟ้าสายสีทอง ออกประมูล พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ระยะยาว 30 ปี เนื่องจากผู้เช่ารายเดิม ไม่ต่อสัญญา หลังจาก รฟท. ขอปรับค่าเช่าเพิ่ม จาก 1.6 ล้านบาท เป็น 15 ล้านบาท ต่อปี ล่าสุดมอบ บริษัทลูกศึกษาแผนดังกล่าว เสนอบอร์ดพิจารณาต่อไป

ขณะที่ดินรัชดาภิเษก เชื่อมถนนพระราม9 ซิตี้อเวนิวหรือ RCAแหล่งรวมสถานบันเทิงชื่อดังในอดีต เนื้อที่กว่า 60 ไร่ กำลังจะหมดสัญญาในปีหน้า และต่อสัญญาให้กับ ที่ดินโพไซดอน เนื้อที่ 15.4 ไร่ ปรับรูปแบบใช้อาคารจาก อาบอบนวดเป็นโรงแรม 3 ดาว พื้นที่ใช้สอย 10,656 ตร.ม. สัญญาเช่าราว 753 ล้านบาท จาก เดิม 200 ล้านบาท เนื่องจากจะหมดอายุสัญญาเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ทั้งนี้ รฟท. มีแผนต่อสัญญาโรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ เนื้อที่ 6.53 ไร่ ย่านรองเมือง เขตปทุมวัน ของ บจ.โกลเด้น แอสเซ็ท จากเดิมที่หมดสัญญาในวันที่ 17 สิงหาคม2564 ซึ่งได้มีการเจรจาและต่อสัญญาเช่า ระยะเวลา 20 ปี คิดเป็นผลตอบแทน 1,575 ล้านบาท โดยประเมินมูลค่าทรัพย์สินไว้ที่ 976 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2021 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

“เขากระโดง”ประเทศ ฤา..คำพิพากษาศาลไม่มีผล
หน้าคอลัมนิสต์ ทางออกนอกตำรา
โดย...บากบั่น บุญเลิศ
วันพุธ ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14:00 น.

หากนับตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.2564 ถึงตอนนี้ก็เป็นเวลากว่า 90 วัน เข้าไปแล้ว ที่การดำเนินการยึดที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ตามคำพิพากษาของศาลฎีกายังไร้ซึ่งการดำเนินการแต่อย่างใด


นับเป็นเวลากว่า 90 วันเศษ ที่ นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำหนังสือเลขที่ รฟ1/1911/2564 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 564 ถึง อธิบดีกรมที่ดิน เรื่อง ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่


ประกอบด้วย 1.ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง กม.000 ถึง กม.8+000 เนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของ รฟท. ตาม พ.ร.ฎ.การกำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี พ.ศ.2462 และพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออก พ.ศ.2464


2.โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ออกเมื่อวันที่ 26 ต.ค.2515 เนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 55.8 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นของนายชัย ชิดชอบ (เสียชีวิต) และโฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ออกเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2518 เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา ของนางกรุณา ชิดชอบ พื้นที่รวม 44 ไร่เศษ ซึ่งที่ดินดังกล่าวตามสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกล่าวหาเลขที่ดำที่ 51910034 เรื่องกล่าวหาเลขแดงที่ 14959054 เมื่อช่วงเดือน ก.ย.2554 ที่ระบุว่า การออกโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง เป็นการออกโฉนดในที่ดินของ รฟท.



3.ที่ดินในเขตแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 842-876/2560 ลงวันที่ 16 ก.พ.2560 และคดีหมายเลขแดงที่ 8027/2563 ลงวันที่ 22 พ.ย.2561 ในลักษณะที่ว่า ที่ดินพิพาทในคำพิพากษาทั้ง 2 คดีดังกล่าว เนื้อที่รวม 194 ไร่ เป็นที่ดินของ รฟท.


ในหนังสือดังกล่าวแจ้งไปยังอธิบดีกรมที่ดิน “เพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทั้งหมด และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 90 วัน หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย จะได้ใช้สิทธิทางศาลต่อไป”


นอกจากทำหนังสือไปถึงอธิบดีกรมที่ดินแล้ว นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท.ยังทำหนังสือไปถึง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่กำกับดูแล รฟท. ให้รับทราบเรื่องที่ขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินการรถไฟฯบริเวณเขากระโดงด้วย


ทั้ง 2 คดี ศาลฎีกามีคำพิพากษาและวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทในพื้นที่เขากระโดง ตามแผนที่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของการรถไฟฯ พิพากษาให้ขับไล่ รื้อถอน และให้ราษฎรชดใช้ค่าเสียหายให้กับการรถไฟฯ เนื่องจากแนวของคำพิพากษาเป็นการพิจารณาในครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของการรถไฟฯ ทั้งแปลงมีจำนวนเนื้อที่ 5,083 ไร่ 80 ตารางวา อันเป็นที่หวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน เข้าลักษณะเป็นที่ดินรถไฟมาตรา 3(2) ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.2464 และได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 6(1) (2)




ในมาตราทั้ง 2 นั้น กำหนดห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินรถไฟ หรือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นของรถไฟ ห้ามไม่ให้เอกชนหรือบริษัทใดๆ ถือกรรมสิทธิ์ เข้าครอบครองทำประโยชน์ด้วยวิธีใดๆ ตราบใดที่ยัง “ไม่มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นพิเศษว่าทรัพย์นั้นๆ ขาดจากเป็นที่ดินรถไฟ และมีการเพิกถอนหรือแก้ไขพระราชกฤษฎีภาสงวนที่ดินของการรถไฟฯ”


ดังนั้นศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากศาลฎีกาได้แจ้งผลคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 62 กรมที่ดินต้องมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย


ประเด็นคือ หากนับจาก 23 มิถุนายน 2564 ถึงตอนเขียนต้นฉบับคือ วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เป็นเวลากว่า 109 วัน ถือว่า พ้นกำหนดระยะเวลา 90 วันแล้ว


ยังไม่มีใครทราบว่า กรมที่ดินจะดำเนินการเพิกถอนโฉนดและเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ออกทับที่ดินรถไฟฯ บริเวณเขากระโดงหรือไม่


อย่างไรก็ตาม ในแง่ของข้อกฎหมาย กรณีที่มีการออกเอกสารสิทธิโฉนดที่ดินโดยมิชอบนั้น ในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถือเป็นอำนาจของอธิบดีกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ดิน โดยกำหนดให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอน หรือแก้ไขโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือคลาดเคลื่อน


อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และสามารถขยายการสอบสวนได้อีก 60 วัน


นั่นหมายความว่า กรมที่ดินมีเวลาดำเนินการต้องสอบสวนให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน


ถ้าเป็นไปตามรูปการณ์นี้ ผมขอฟันธงลงไปตอนนี้ได้เลยว่า...การดำเนินการเอาที่หลวงคืนมาในประเทศสารขันธ์นคร จะพิลึกกึกกือเอามากๆ...เพราะจะบีบบังคับให้


1. การรถไฟฯ ต้องพลิกเกมใหม่ด้วยการฟ้องกรมที่ดินต่อศาล....อะฮ้า..มึนละสิว่าฟ้องทำไม ฟ้องกรมที่ดินเพื่อขอให้ศาลสั่งให้กรมที่ดิน ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าว เนื่องจากกรมที่ดินเป็นผู้ออกเอกสารสิทธิ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้กับชาวบ้าน....


2. การที่กรมที่ดินมีหนังสือแจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงใดบ้างที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้กรมที่ดินเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่นั้น อาจจะเป็นสัญญาณว่าจะต้องมีการฟ้องการเพิกถอนโฉนดเป็นรายแปลงก็เป็นไปได้


3. การรถไฟฯ จะไม่ดำเนินการยึดที่ดินมาเป็นของตัวเองแน่นอน แต่จะอ้างว่า การรถไฟฯ ไม่ต้องการไปทะเลาะกับชาวบ้าน และการเพิกถอนโฉนดเป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน


คดีการครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง จึงเป็นประวัติศาสตร์ของการบังคับใช้กฎหมายของรัฐกับผู้บุกรุกที่ทรงพลานุภาพของสาระขันธ์ประเทศ ไม่เพียงแต่มีครอบครอง ส.ค.1 มากกว่า 35 ราย มีการออกเอกสารสิท์ให้กับผู้ถือครอง นส. 3 ก อีกกว่า 500 ราย และมีการออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนที่ถือครองโฉนดที่ดินมากกว่า 320 ราย


ปัจจุบัน แผนที่แนวเขตที่ดินการรถไฟฯบริเวณเขากระโดงหลายแปลงเป็นของนักการเมืองในพื้นที่ เช่น บ้านพักของศักดิ์สยาม ชิดชอบ บ้านพักของซ้อต่าย-นางกรุณา ชิดชอบ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ทำการของบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด และสนามกีฬาช้างอารีนา


ความจริงการครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว จัดการได้ไม่ยากเลยในทางปฏิบัติ หาก นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมาชิกครอบครัวตระกูลชิดชอบ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดิน 1 ใน 2 แปลงที่ออกโฉนดมาตั้งแต่ พ.ศ.2554 มีคำสั่งให้ รฟท. ดำเนินการตามกฎหมายกับการออกโฉนดโดยมิชอบในที่ดินเขากระโดงซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้เป็นตัวอย่างในการบังคับใช้กฎหมาย


จากนั้นตัวเองและครอบครัวขอคืนที่ดินตามโฉนดที่ครอบครองให้แก่การรถไฟฯ ให้เป็นตัวอย่างของการที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย


แค่นี้พระเอกตัวจริงก็วิ่งมาเคาะประตูคนในบ้านของตระกูลชิดชอบ...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2021 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

ปิดตำนานคลองสานพลาซ่า-ท่าเรือข้ามฟาก 'การรถไฟฯ' พลิกโฉมใหม่ ผุดมิกซ์ยูส โรงแรม 3 ดาว
Source - มติชน
Thursday, October 21, 2021 08:11
ประเสริฐ จารึก

ย่าน "คลองสาน" ชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร วันนี้มีการพัฒนาแบบผิดหูผิดตา พลิกโฉมจาก "เมืองเก่า" สู่ "เมืองใหม่" หลังศูนย์การค้าระดับเวิลด์คลาส "ไอคอนสยาม" และ "รถไฟฟ้าสายสีทอง" เปิดบริการ กลายเป็นทำเลฮอตฮิต ติดชาร์ตทำเลทอง มีทั้งคอนโดมิเนียมและโรงแรมหรูเข้าไปปักหมุด ขณะที่ "ราคาที่ดิน" ก็อัพขึ้นหลายเท่าตัวจากตารางวาละ 1 แสนต้นๆ เป็นตารางวาละ 3-4 แสนบาท แต่มีบางแปลงอยู่ในรัศมีห้างและรถไฟฟ้าราคาพุ่งไปถึง 1 ล้านบาทต่อตารางวา

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อความเจริญเข้ามา การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นไปตามกาลเวลา เหลือไว้เพียงตำนาน

เช่นเดียวกับ "ตลาดคลองสานพลาซ่า" และ "ท่าเรือข้ามฟาก" หลังเปิดบริการมากว่า 30 ปี ในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้ จะปิดตัวอย่างถาวร เพื่อคืนพื้นที่ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังหมดสัญญาเช่าก่อนจะมาเป็น "ตลาดคลองสานพลาซ่า" ตลาดระดับตำนานย่านฝั่งธนบุรีกว่า 3 ทศวรรษ ที่ดินแปลงดังกล่าว เคยเป็นที่ตั้งของ "สถานีรถไฟปากคลองสาน" สถานีต้นทางของรถไฟสายแม่กลองวิ่งจากคลองสาน-มหาชัย ก่อนจะหยุดใช้งานไปเมื่อปี 2504 สถานีถูกรื้อถอน เหลือแต่รางรถไฟที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน

31 ธ.ค.2564 อำลา อาลัยตลาดคลองสาน-ท่าเรือข้ามฟาก

พลิกดูสัญญาเช่า ทาง "รฟท." ให้เอกชน 2 ราย เช่าจัดหาประโยชน์ โดยให้บริษัท ที่ปรึกษาการวางแผนและพัฒนา จำกัด ทำธุรกิจด้านรับเหมาก่อสร้าง เช่าระยะเวลา 30 ปี (2528-2559) พัฒนาเป็น "ตลาดคลองสานพลาซ่า" มีทั้งอาคารพาณิชย์และร้านค้า

หลังหมดสัญญาเมื่อปี 2559 บริษัทขอต่อสัญญาเช่า แต่เพราะสภาพพื้นที่ไม่เหมือนเดิม จากความเจริญที่เกิดขึ้น ทำให้ราคาที่ดินขยับ ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. จึงขอปรับค่าเช่าจากเดือนละ 1.6 ล้านบาท เป็นเดือนละ 15 ล้านบาท เลยทำให้บริษัทสู้ไม่ไหว จึงเปลี่ยนใจจากเช่าระยะยาวเป็นเช่าแบบปีต่อปี จนหมดสัญญาเช่าเมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา

ล่าสุดบริษัทส่งมอบพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างคืน "รฟท." ในส่วนเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น จำนวน 36 ห้อง และร้านค้าอีกกว่า 200 ห้อง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังเหลือที่ดินด้านหน้าเป็นร้านขายอาหาร เตรียมจะส่งคืนพร้อมกับ "ท่าเรือข้ามฟากคลองสาน" จะหมดสัญญาวันที่ 31 ธันวาคม 2564

ระหว่างรอเคลียร์พื้นที่ส่งคืน "รฟท." ทางเจ้าของตลาดยังคงให้พ่อค้า แม่ค้า เช่าพื้นที่ค้าขาย เก็บค่าเช่า 2,000 บาทต่อสัปดาห์หรือวันละ 300 บาท

ว่ากันว่า สาเหตุที่ทำให้เจ้าของตลาดถอดใจไม่ต่อสัญญาเช่า นอกจากประเด็นค่าเช่าที่ "รฟท." ขอปรับขึ้น ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวแปร ทำให้ "ตลาดคลองสานพลาซ่า" ไปต่อไม่ไหว

ทั้งสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง การคมนาคมที่เปลี่ยนไป หลังรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อขยายเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมการเดินทางฝั่งธนบุรีกับฝั่งพระนคร รวมถึงการมาของรถไฟฟ้าสายสีทอง ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของคนเปลี่ยน นั่งเรือข้ามฟากน้อยลง จากเดิมมีคนใช้บริการวันละ 30,000-40,000 คน ตอนนี้เหลือไม่ถึง 2,000 คนต่อวัน

ขณะที่รูปแบบการค้าขายปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย พ่อค้า แม่ขาย หันไปขายผ่านออนไลน์กันมากขึ้น จึงกลายเป็น "จุดเปลี่ยน" ของ "ตลาดคลองสานพลาซ่า" ไม่เฟื่องฟูเหมือนเก่า ทำให้เจ้าของตลาดตัดสินใจไม่ต่อสัญญา หลังประเมินแล้วไม่คุ้ม

'ร้านค้า' ใจหาย เสียดาย'ความผูกพัน' ที่มีมากกว่า 'ยอดขาย'

จากการสอบถามผู้ค้าในตลาด ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "รู้สึกใจหาย เพราะค้าขายอยู่ที่นี่มานาน" ขณะที่ผู้มาจับจ่ายใช้สอยและใช้บริการท่าเรือข้ามฟากก็บ่น "เสียดายตลาดในตำนาน" หลังร้านเก่าแก่และอร่อยหลายแห่งจะต้องย้ายออกไป ไม่ว่าจะเป็นร้านบัวลอย ร้านน้ำจับเลี้ยง ร้านอิ๋วก้วย (เจ้าเก่า)

"วดี จรัสนิพาพรรณ" อายุ 67 ปี เล่าว่า เช่าพื้นที่ตลาดเปิดแผงขายเสื้อผ้า มาร่วม 20 ปีแล้ว ตั้งแต่ตลาดเปิดใหม่ๆ เมื่อก่อนบรรยากาศคึกคักมาก เนื่องจากอยู่ใกล้กับท่าเรือข้ามฟากคลองสาน จะมีคนเดินตลอดทั้งวัน ปัจจุบันตลาดเงียบมาก ซึ่งซบเซามาตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา จากสภาวการณ์หลายอย่าง ทั้งการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจ และการเดินทางที่เปลี่ยนไป คนหันไปใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ไม่นั่งเรือข้ามฟาก

"เมื่อก่อนป้าจ่ายค่าเช่าเดือนละ 18,000 บาท ตอนนี้จ่ายเป็นรายวัน วันละ 300 บาท วันไหนไม่มาขายก็ไม่ต้องจ่าย รายได้ตอนนี้หายไปเยอะมาก บางวันขายได้ 600-700 บาท พอหักค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเหลือพอจ่ายค่าเช่า"
"วดี" บอกว่า ตลาดจะปิดตัวสิ้นปีนี้ ก็ใจหายเหมือนกัน เพราะขายของอยู่ตรงนี้มานานแล้ว หลังตลาดปิดแล้วคงต้องหยุดขาย เพราะอายุมากแล้ว จะไปขายที่ใหม่ ก็ไม่มีรถ ไม่มีเงินก้อนจะไปเช่าพื้นที่ใหม่

"ป้าใจ" อายุ 60 ปี เจ้าของร้าน "อิ๋วก้วย" (เจ้าเก่า) เล่าว่า เข้ามาเช่าพื้นที่ตั้งแต่ปี 2542 จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ปัจจุบันหลังตลาดจะปิด ทางตลาดคิดค่าเช่าเป็นรายวัน วันละ 350 บาท

"ตลาดเงียบมาตั้งแต่ปี 2562-2563 หลังมีโควิด คนก็ไม่ค่อยมาเดิน เพราะกลัว เมื่อก่อนเคยขายได้วันละ 500-600 บาท ตอนนี้ขายได้วันละ 200-300 บาท ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบก็เพิ่มขึ้น ก่อนโควิดจะระบาดทางร้านได้ปรับราคาจากชิ้นละ 10 บาท เป็นชิ้นละ 15 บาท หลังจากไม่ได้ปรับมานาน"
ถามว่า...หลังตลาดปิดแล้วจะทำอย่างไร "ป้าใจ" บอกว่า ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะอยู่ที่นี่มานานจนชินแล้ว ขอดูสถานการณ์ก่อน อาจจะเปิดหน้าร้านขายที่บ้าน เพราะปัจจุบันด้วยสถานการณ์โควิด ได้เปิดขายผ่านทางเพจและแกร็บด้วย ซึ่งได้รับการตอบรับพอสมควร

"ศราวุธ น้อมมนัส" หนุ่มโคราชวัย 33 ปี เจ้าของร้านตัดผม บอกว่า ได้เปิดร้านตัดผมในตลาดนี้มา 6 ปีแล้ว ตั้งแต่ตลาดยังบูม โดยเช่าพื้นที่ร้านอยู่ด้านใน จ่ายค่าเช่า 10,500 บาทต่อเดือน หลังตลาดคืนพื้นที่ให้ รฟท. เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมาได้ย้ายมาเช่าพื้นที่ด้านหน้าแทน จ่ายค่าเช่า 6,000 บาทต่อเดือน จะเปิดขายไปจนถึงวันสุดท้าย

"น่าเสียดายที่ตลาดปิด เพราะมีลูกค้าประจำเยอะ ทั้งทำงานในห้างและในละแวกนี้ เพราะตัดในราคาไม่แพงหัวละ 150 บาท หากย้ายไปที่ใหม่ก็ต้องหาลูกค้าใหม่ ซึ่งกำลังมองหาพื้นที่เช่าในตึกแถวย่านเจริญนคร วงเวียนใหญ่ ลาดหญ้า ไม่อยากย้ายไปไกลมาก เพราะลูกค้าเก่าอยู่แถวนี้เยอะ"
"เข็มจิรา" อายุ 48 ปี เจ้าของร้าน "น้ำจับเลี้ยง" กล่าวว่า เปิดร้านขายน้ำจับเลี้ยงมา 30 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่รุ่นป้า จ่ายค่าเช่าเดือนละ 10,000 กว่าบาท ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำที่มาซื้อ เมื่อตลาดปิดยังบอกไม่ได้ว่าจะไปขายที่ไหน ถ้าหาพื้นที่ใหม่ได้ก็ขาย แต่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ อยู่ที่นี่แม้ว่าตลาดจะซบเซา อย่างน้อยก็มีลูกค้าขาประจำ

"ตลาดซบเซามา 3-4 ปีแล้ว จากการเดินทางที่คนไม่ค่อยนั่งเรือข้ามฟาก หลังมีรถไฟฟ้า รวมถึงมีการระบาดของโควิด และเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี จากเดิม

'รถไฟ' ดึงเอกชนพัฒนา 30 ปีโปรเจ็กต์ 'มิกซ์ยูส' ติดแม่น้ำเจ้าพระยา

จากตำนาน "ตลาดคลองสานพลาซ่า" ที่กำลังนับถอยหลังคืนพื้นที่ "รฟท." กำลังเป็นที่จับตาว่าที่ดิน 9 ไร่เศษ อยู่ในรัศมีทำเลทองจะถูกพลิกโฉมเป็นอะไร

แหล่งข่าวจาก รฟท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการพัฒนาโครงการ ในเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นรูปแบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ประกอบด้วย โรงแรมระดับ 3 ดาว สูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ห้องพัก 270 ห้อง อาคารร้านค้า 3 ชั้น อาคารร้านอาหาร 5 ชั้น ลานกิจกรรม 400 ตารางเมตร และที่จอดรถใต้ดิน

"จะทุบอาคารเก่าทิ้งและสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ แต่เนื่องจากติดเรื่องระยะห่างระหว่างอาคาร ทำให้สร้างอาคารสูงได้ไม่เกิน 8 ชั้น ตามผังการพัฒนาที่ออกแบบไว้ บนพื้นที่กว่า 9 ไร่ ด้านหน้าติดถนนเจริญนคร จะพัฒนาอาคารร้านค้า ถัดมาเป็นโรงแรม ร้านอาหารและลานกิจกรรมเปิดโล่ง จะอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนท่าเรือหากเอกชนจะพัฒนาต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า"

จากรูปแบบโครงการแหล่งข่าว รฟท.บอกว่า ยังเป็นแค่โมเดลการออกแบบเบื้องต้น ส่วนการลงทุนพัฒนาโครงการจริงๆ นั้น ขึ้นอยู่กับเอกชนจะลงทุนพัฒนาเป็นโครงการอะไร อาจจะไม่พัฒนาเป็นโรงแรม พัฒนาเป็นศูนย์ประชุมก็ได้ โดยจะให้เช่าระยะยาว 30 ปี ก่อสร้างอีก 4 ปี รวม 34 ปี มีมูลค่าการลงทุนแยกเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 735 ล้านบาท และค่าที่ดิน 1,500 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 420,000 บาทต่อตารางวา คาดว่าจะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 270 ล้านบาท โดยได้ค่าเช่าก้อนแรก 81 ล้านบาท จากนั้นได้ค่าเช่ารายปีอีกปีละ 7.6 ล้านบาท ซึ่งค่าเช่าจะปรับขึ้นปีละ 5%

ในเร็วๆ นี้จะเปิดทดสอบความสนใจหรือ Market Sounding เพื่อซาวเสียงภาคเอกชนถึงรูปแบบโครงการที่บริษัทที่ปรึกษานำเสนอ จากนั้นในปี 2565 จะส่งมอบสัญญาที่ดินแปลงนี้ให้กับบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท.รับไม้ต่อการเปิดประมูลหาเอกชนพัฒนาโครงการต่อไป

"ที่ดินแปลงนี้ ถือว่าเป็นทำเลทองใจกลางกรุงเทพฯ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา รายล้อมไปด้วยโรงแรมระดับ 5 ดาว ศูนย์การค้าไฮเอนด์ ไอคอนสยาม และการคมนาคมก็สะดวกมีรถไฟฟ้าสายสีทองพาดผ่าน คาดว่าจะได้รับความสนใจจากภาคเอกชนเข้าร่วมประมูล เพราะโครงการจากผลการศึกษาจะถึงจุดคุ้มทุนในปีที่ 9" แหล่งข่าวกล่าวอย่างคาดหวัง

ส่วนจะมี "บิ๊กทุน" ค่ายไหน ตบเท้าชิงดำ ยังต้องลุ้นและติดตาม

บรรยายใต้ภาพ

เคยขายได้วันละ 3,000 บาท ตอนนี้เหลือวันละ 1,000 บาท เพราะคนไม่ค่อยมี บางวันก็ขายดี บางวันก็ขายไม่ดี แล้วแต่สถานการณ์ รายได้ที่ขายแต่ละวันก็เอามาถั่วเฉลี่ยจ่ายเป็นค่าเช่า" เข็มจิรากล่าว

ที่มา: นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 22 ต.ค. 2564 (กรอบบ่าย)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 7:52 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.ยื่นศาลปค.ฟ้องกรมที่ดิน ออกโฉนดทับที่ดินรถไฟมิชอบ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Monday, October 25, 2021 05:13

รฟท.ยื่นศาลปค.ฟ้องกรมที่ดิน ออกโฉนดทับที่ดินรถไฟมิชอบ

ผู้จัดการรายวัน360 - "ศักดิ์สยาม" สั่งผู้ว่าฯ รฟท.ยื่นศาลปกครอง ฟ้องกรมที่ดินปมออกโฉนดทับที่ดินของรถไฟโดยมิชอบ หลังกรมที่ดินตอบ ไม่เพิกถอนโฉนด "เขากระโดง" กรณีออกทับที่การรถไฟฯ โดยให้ดำเนินการทั่วประเทศไม่เลือกปฏิบัติ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดิน ขอให้พิจารณาดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์ นั้น ต่อมาทางกรมที่ดินได้มีหนังสือสอบถามมายัง รฟท.เพิ่มเติม ซึ่ง รฟท.ได้ตอบกลับไปเรียบร้อบแล้ว ล่าสุดกรมที่ดิน ได้มีหนังสือถึง รฟท.แล้วว่า ไม่สามารถเพิกถอนโฉนดที่ดินในพื้นที่เขากระโดงได้ เนื่องจาก รฟท. ไม่มีแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง พ.ศ. 2464

ทั้งนี้ เมื่อกรมที่ดิน ตอบว่าไม่เพิกถอน ยืนยันว่าทำถูกต้องแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ รฟท.ต้องดำเนินการคือ ฟ้องศาลปกครอง กรณีโฉนดที่ดินทั้งหมดที่กรมที่ดินออกมาโดยไม่ชอบ โดยตนได้สั่งการไปยัง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท.ให้ดำเนินการแล้ว

"ผมให้นโยบาย รฟท.ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง กรณีมีการออกโฉนดทับที่ดินของการรถไฟฯ ทั่วประเทศ ต้องดำเนินการเหมือนกันไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งรฟท.จะไม่ละทิ้งสิทธิ์ของประชาชนเมื่อกรมที่ดินมีการออกโฉนดโดยมิชอบ ก็ต้องร่วมกันต่อสู้" นายศักดิ์สยาม กล่าว

ส่วนกรณีที่ดิน เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ที่ประชาชนฟ้อง รฟท. แล้วศาลตัดสินให้ รฟท.ชนะนั้น เป็นการเอาภาพแผนที่ทหารไปแสดง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนปี 2498 เมื่อประมวลกฎหมายที่ดินออกแล้วจึงอนุญาตให้ประชาชนไปแจ้งสิทธิครอบครอง ซึ่งไม่รู้ว่าที่ดินตรงนั้นเป็นอะไร ส่วนใหญ่เป็นป่า ประชาชนจึงได้ไปแจ้งสิทธิ์

สำหรับ 35 ราย ที่ประชาชนถือครองเอกสารสิทธิ ส.ค.1 เพราะแสดงพิกัดที่ตั้ง ไม่ได้ จึงแพ้คดี เพราะไม่มีหลักฐานไปยืนยัน และตามประมวลกฎหมายแพ่ง ผลการพิพากษาไม่มีผลผูกพันต่อกรณีอื่น เป็นเรื่องเฉพาะกรณี แต่ก็มีความพยายามนำมาพูดว่า มีการฟ้องร้องและศาลตัดสินให้ รฟท.ชนะไปแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ หากจะมีการฟ้องร้องจะต้องฟ้องเป็นรายกรณี และสู้คดีกันใหม่ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

"การที่ให้ รฟท.ไปดำเนินการนั้นไม่ได้หมายความว่าให้ รฟท.ไปฟ้องประชาชน แต่ให้ฟ้องกรมที่ดิน ที่มีการออกเอกสารสิทธิ ไม่ถูกต้อง และต่อไปจะได้ไม่ต้องมาบอก เป็นที่พ่อผม ที่พี่ชายผม อีก เพราะจะเป็นที่ของใครก็ดำเนินการเหมือนกันหมด หากกรมที่ดินออกโฉนดไม่ถูกต้อง"

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ รฟท.ได้ทำหนังสือ เลขที่ รฟ 1/1911/2564 ลง วันที่ 23 มิ.ย. 64 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน เรื่องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมืองฯ จ.บุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและการหาข้อยุติกรณีที่มีการออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนกว่า 900 ราย ในที่ดินที่เชื่อว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ

โดยมีการต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์สิทธิในที่ดินรายแปลงในชั้นศาลมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อปี 61 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 พิพากษาให้รฟท. ชนะคดีในการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่ง โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งในคำพิพากษาของศาลฎีการะบุ ว่า "ศาลฎีกาเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดยการรถไฟฯ ว่าพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 จำนวนเนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ".

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 25 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

คนจนค้านสร้างแฟลตบนที่ดิน รฟท. ชี้ไม่สอดคล้องวิถีชีวิตคนหาเช้ากินค่ำ
สำนักข่าวชายขอบ 25 ตุลาคม, 2021

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เครือข่ายสลัม 4 ภาค และตัวแทนชุมชนในหลายจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ ลำปาง สุราษฎร์ธานี ราชบุรี ขอนแก่น ตรัง สงขลา และนครราชสีมา ได้เดินทางยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (คค.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ผ่านหน่วยงานราชการให้แต่ละจังหวัด เพื่อคัดค้านแนวคิดใช้ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) สร้างแฟลตให้ผู้มีรายได้น้อยอยู่อาศัย

หนังสือคัดค้านระบุว่า ตามที่มีการบันทึกความร่วมมือระหว่าง รฟท.และการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 และการแถลงข่าวของรัฐมนตรี พม.ในวันที่ 9 ตุลาคม 2564 ที่จะนำที่ดินของ รฟท.สร้างเป็นที่อยู่อาศัยรูปแบบแฟลตสำหรับผู้มีรายได้น้อยกลุ่มต่างๆ นั้น ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายชุมชนคนเมืองที่ได้รับผลกระทบ และเครือข่ายริมรางเมืองย่าโม ซึ่งมีสมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ มีความกังวลและไม่เห็นด้วยที่ พม. จะมีนโยบายทางเดียวที่จะแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย


หนังสือคัดค้านระบุอีกว่า จากการสำรวจชุมชนในที่ดินของการรถไฟฯ พบว่ามี 36 จังหวัด 397 ชุมชน 39,848 หลังคาเรือน หาก พม. และ คค. มีความจริงใจในการแก้ปัญหาโดยมีประชาชนเป็นที่ตั้ง ควรจะนำเอาโมเดลการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของ รฟท.ที่ผ่านมาศึกษา รวมถึงควรมีการหารือรูปแบบการอยู่อาศัยกับประชาชนโดยตรง

นายคมสันต์ จันทร์อ่อน เครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า การออกมาร่วมกันยื่นหนังสือคัดค้านในวันนี้ ไม่ใช่เพียงชาวบ้านในเครือข่ายสลัม 4 ภาคเท่านั้น แต่รวมไปถึงกลุ่มคนจนที่จะได้รับผลกระทบในจังหวัดต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านกลุ่มชาวบ้านที่เช่าและอาศัยอยู่ในที่ดินของ รฟท.มีกระบวนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยร่วมกับทั้ง 2 กระทรวงอยู่แล้ว โดยมีโมเดลการแก้ปัญหาการเช่าที่ดินถูกต้องตามกฎหมายแล้วนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคงของรัฐบาล ที่ชาวชุมชนสามารถมีส่วนออกแบบลักษณะที่อยู่อาศัยแนวราบให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนตนเอง แต่แนวคิดการสร้างแฟลตนั้นอาจเหมาะสมกับคนชั้นกลางที่ทำงานออฟฟิศ แต่กับชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนจนมีอาชีพเก็บของเก่าหรือค้าขาย จึงไม่สามารถไปใช้ชีวิตอยู่บนอาคารสูงอย่างแฟลตได้

“จริงๆ เรามีคณะกรรมการร่วมกันเป็นกลไกแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว แต่ไฉนจึงไม่นำแนวคิดนี้มาหารือร่วมกัน กลับลักไก่ชาวบ้าน 2 กระทรวงจับมือกันแล้วนิมิตรนโยบายที่ไม่เห็นหัวประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ชาวบ้านไม่อยากออกไเดินประท้วง แค่อยากให้รับฟังความต้องการของคนจน ไม่ใช่บีบช่องจะทำแฟลตเพียงอย่างเดียว แล้วชาวบ้านที่ทำน้ำพริกขาย ทำสตรีทฟู๊ดขาย หรือเก็บของเก่าขาย จะให้ไปอยู่บนตึกแฟลตชั้น 4 ได้อย่างไร” นายคมสันต์ กล่าว


นายคมสันต์ กล่าวอีกว่า ชาวชุมชนที่อยู่ในที่ดินการรถไฟกังวลว่าจะมีการนำนโยบายดังกล่าวผ่านเป็นมติคณะรัฐมนตรี ที่อาจส่งผลให้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดิน รฟท. เป็นไปในรูปแบบเดียวคือการสร้างแฟลตให้คนจนอยู่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชน และอาจทำให้การรถไฟสูญเสียที่ดินให้กับเอกชนได้ เนื่องจากหากชาวบ้านคนจนจะไม่ย้ายไปอยู่บนแฟลตที่สร้างขึ้นนี้ การเคหะฯ จะมีการนำโครงการไปขายต่อให้กับกลุ่มทุน หรือผู้ที่มีเงิน ดังนั้น รฟท.จะสูญเสียที่ดิน แทนที่จะเป็นการช่วยเหลือคนจน ที่ดินจะกลายเป็นแหล่งเก็งกำไรของกลุ่มทุน

“ที่ผ่านมาชาวบ้านเช่าที่ดินการรถไฟ ทำสัญญาเช่ามากกว่า 60 ฉบับ ได้งบมาปรับปรุงที่อยู่อาศัยในแนวราบ ที่ดินของการรถไฟมีเพียงพอกับชาวบ้านอยู่แล้ว เพราะมีชุมชนตั้งอยู่แล้ว เหลือเพียงความใจกว้างของการรถไฟออกแบบที่อยู่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต แต่ถ้าอ้างว่าที่ดินมีน้อย อยากพัฒนาสร้างรายได้ ตอนนี้กลุ่มทุนก็ได้ที่ดินมักกะสันไปหลายร้อยไร่ การรถไฟน่าจะได้กำไรเยอะแล้ว ไม่อยากให้เป็นนโยบายที่เคลียร์คนจนออกจากที่ดินรถไฟ ส่วนหนึ่งก็อยากให้เหลือที่ดินไว้ช่วยเหลือคนจนช่วยเหลือสังคมด้วย และอยากให้สรุปบทเรียนจากอดีตที่เคยสร้างแฟลตแล้วย้ายคนจนไปอยู่ ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง” นายคมสันต์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2021 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คนจนค้านสร้างแฟลตบนที่ดิน รฟท. ชี้ไม่สอดคล้องวิถีชีวิตคนหาเช้ากินค่ำ
สำนักข่าวชายขอบ 25 ตุลาคม, 2021

ทุเรศ เอาใจยากจังครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/10/2021 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

แถวสงขลา ก็เป็นชาวประมง เคยบอกว่า ไม่อยู่แฟลตเหมือนกันครับ เพราะไม่สะดวกเก็บเครื่องไม้เครื่องมือทำมาหากิน Evil or Very Mad
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2021 9:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แถวสงขลา ก็เป็นชาวประมง เคยบอกว่า ไม่อยู่แฟลตเหมือนกันครับ เพราะไม่สะดวกเก็บเครื่องไม้เครื่องมือทำมาหากิน Evil or Very Mad

เป็นงั้นไป แต่มาดูข่าวนี้ก็ แล้วสงสารชาวสลัมไม่ลงหรอก เพราะ เล่นรุกที่ดินรถไฟที่สร้างทางคู่อย่างงี้ชาวสลัมผิดเต็มประตู ส่อแววว่าสำนักข่าวชายขอบจะพูดความจริงไม่หมดแน่ๆ เลย

ยื่นหนังสือจี้ พม. ถูกขอคืนที่ ให้ไปอยู่แฟลต ผลกระทบจากรถไฟรางคู่
ทุกทิศทั่วไทย
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:53 น.


ชุมชนริมรางเมืองย่าโม เดือดร้อนโครงการรถไฟทางคู่ ความเร็วสูง ให้ย้ายไปอยู่แฟลต กระทบวิถีชีวิต ยื่นหนังสือจี้ พม. แก้ปัญหา


เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2564 ที่บริเวณหน้าสนามศาลากลางจ.นครราชสีมา นายนิยม พินิจพงษ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายริมรางรถไฟเมืองย่าโม พร้อมกลุ่มตัวแทน 13 ชุมชนในเขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา และรถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น มีเส้นทางผ่านเขตเมืองนครราชสีมา



ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องขอคืนพื้นที่เขตทางรถไฟด้านละ 40 เมตร ล่าสุดทยอยอนุมัติให้มีการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ พร้อมขอคืนพื้นที่ตามแนวเขตรถไฟ เพื่อพัฒนาที่ดินรถไฟ จึงได้นัดรวมตัวมายื่นหนังสือแถลงการณ์เครือข่ายริมรางเมืองย่าโมพร้อมกับชูป้ายเขียนข้อความ “เป็นกฎหมายหรือกฎหมู่ ใครรู้บ้าง ท่านแอบอ้างความเจริญให้เมืองสวย”



นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ซึ่งติดภารกิจเร่งด่วน จึงมอบหมายให้นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รอง ผวจ.นครราชสีมา มารับหนังสือแทนโดยจะเร่งนำเสนอให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบปัญหาและความต้องการโดยเร็ว


นายนิยม กล่าวว่า จากบันทึกความร่วมมือระหว่าง รฟท. และการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 64 และการแถลงข่าวของ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในวันที่ 9 ตุลาคม 64 จะนำที่ดินของ รฟท. สร้างเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยกลุ่มต่าง ๆ








ทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายชุมชนคนเมือง เครือข่ายริมรางรถไฟเมืองย่าโม ซึ่งมีที่อยู่อาศัยในที่ดิน รฟท. ทั่วประเทศ มีความกังวลและไม่เห็นด้วยที่พม. มีนโยบายเดียวในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยให้ประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีความหลากหลายทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และรายได้แตกต่างกัน ย้ายไปขึ้นแฟลตเท่านั้น



วิธีคิดเช่นนี้อันตราย หากย้ายกลุ่มคนเหล่านี้ขึ้นแฟลตแล้วจะไม่สามารถดำรงชีพได้ การทำมาหากินไม่เหมือนเดิม ปัญหาสังคมก็จะซ้ำรอยเหมือนที่การเคหะแห่งชาติได้สร้างแฟลตแก้ปัญหาชุมชนแออัด แต่ปัจจุบันชุมชนเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่ในทุกมุมเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งเป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นชัดเจน การสร้างแฟลตแล้วนำคนที่มีความหลากหลายทางวิถีชีวิตไปอยู่ร่วมกันไม่สามารถแก้ปัญหาได้

ทั้งนี้ในช่วงเวลา 18 ปี ที่ผ่านมา โครงการบ้านมั่นคงมีความยืดหยุ่นในการสร้างที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ในที่ดินของรฟท. ได้เช่าที่ดินอย่างถูกต้องและสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยได้ในแนวราบ สอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ชุมชนและอาศัยอยู่มาจนถึงปัจจุบัน



ข้อมูลของ รฟท. ในเขต ทน.นครราชสีมา มีจำนวน 13 ชุมชน ประมาณ 1,591 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ หากพม. มีความจริงใจในการแก้ปัญหาและเห็นแก่ประชาชนเป็นที่ตั้งควรนำเอาโมเดลการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในที่ดินของรฟท. ที่ผ่านมา มาศึกษารวมถึงหารือรูปแบบการพัฒนาที่อยู่อาศัยกับประชาชนโดยตรง

อย่างไรก็ตามพวกเราเห็นด้วยที่กระทรวงคมนาคมมีแนวความคิดแบ่งปันที่ดินเพื่อนำมาเป็นที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนรายได้น้อย แต่ไม่เห็นด้วยกับรูปแบบที่อยู่อาศัยที่จัดทำขึ้นโดยไม่ถามความต้องการสามารถอยู่ได้หรือไม่ได้ โดยมุ่งจะอพยพคนให้ขึ้นไปอยู่บนแฟลตเท่านั้น เพราะนั่นคือการย้ายปัญหา ไม่ใช่การแก้ปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2021 8:09 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

เป็นงั้นไป แต่มาดูข่าวนี้ก็ แล้วสงสารชาวสลัมไม่ลงหรอก เพราะ เล่นรุกที่ดินรถไฟที่สร้างทางคู่อย่างงี้ชาวสลัมผิดเต็มประตู ส่อแววว่าสำนักข่าวชายขอบจะพูดความจริงไม่หมดแน่ๆ เลย

ยื่นหนังสือจี้ พม. ถูกขอคืนที่ ให้ไปอยู่แฟลต ผลกระทบจากรถไฟรางคู่
ทุกทิศทั่วไทย
วันจันทร์ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:53 น.

คัดค้านใช้ที่ดินของการรถไฟฯ (26 ต.ค. 64)
Oct 26, 2021
CitizenThaiPBS

พิกัดนี้ จากการนัดหมายรวมตัวกันของเครือข่ายสลัม 4 ภาค และองค์กรภาคีที่อยู่อาศัย เดินทางไปยื่นหนังสือผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อคัดค้านแนวความคิดที่จะใช้ที่ดินของการรถไฟฯ สร้างแฟลตที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย


https://www.youtube.com/watch?v=gyZEIzB5e4g
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2021 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ปัดฝุ่นที่ดิน “คลองสาน” พัฒนา 839 ล้านบาท ประมูลปี 65 ผุด “โรงแรม-รีเทล” สัญญายาว 30 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:52 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:52 น.
รฟท.เปิดประมูลปีหน้า! เนรมิต “ตลาดคลองสาน” 5 ไร่ 839 ล้าน สู่โรงแรม-รีเทล
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:10 น.

รฟท. เช็กเสียงเอกชน เตรียมเปิดประมูลพื้นที่คลองสานริมน้ำ 5 ไร่ 839 ล้าน ให้เช่า 30 ปี รื้อสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด แปลงร่างจากตลาดสู่โรงแรมระดับกลาง-ร้านค้า-ร้านอาหาร เริ่มก่อสร้างปี 66

รฟท.เปิดผังพัฒนาพื้นที่ “ตลาดคลองสาน” ฟังเสียงนักลงทุน ปัดฝุ่นที่ดิน 5 ไร่ริมเจ้าพระยาผุดโรงแรมขนาดกลาง รีเทล ลงทุน 839 ล้านบาท สัญญายาว 30 ปี ผลตอบแทนโครงการ 13.49% คืนทุน 10 ปี รฟท.คาดรับผลตอบแทน 325 ล้านบาท เร่ง TOR เปิดประมูลปี 65 เริ่มสร้างปี 66

วันที่ 26 ต.ค. 2564 นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน (Market Sounding) ต่อโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน ผ่านการประชุมผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาการบริหารที่ดินของการรถไฟฯ ให้เกิดศักยภาพสูงสุด ผู้แทนจากองค์กรธุรกิจภาคเอกชน นักลงทุน และสื่อมวลชน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 คน
นายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าฯ รฟท. เปิดเผยว่า รฟท.มีแนวทางที่จะพัฒนาพื้นที่ของการรถไฟฯ ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่การรถไฟฯ ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการหารายได้จากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ โดยพื้นที่ย่านตลาดคลองสานมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 5 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนเจริญนคร มีทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อมเชื่อมต่อกับฝั่งพระนครด้วยท่าเรือข้ามฟากระหว่างท่าเรือคลองสานกับท่าเรือสี่พระยา เป็นพื้นที่ริมแม่น้ำที่มีศักยภาพสูงของริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ รฟท.ได้นำออกให้เช่าเป็นพื้นที่ตลาดคลองสานพลาซ่า และผู้เช่าจะคืนพื้นที่เช่าทั้งหมดพร้อมกับสัญญาเช่าท่าเรือคลองสานภายใน 31 ธันวาคม 2564 รฟท.จึงได้ดำเนินการจ้างบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน
เนื่องจากโครงการตั้งอยู่ในทำเลที่มีศักยภาพในการพัฒนาก่อสร้าง และใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งทางด้านพาณิชยกรรม หรือด้านอยู่อาศัย ที่ปรึกษาจึงได้ออกแบบแนวคิดเบื้องต้นในการพัฒนาโครงการ โดยวิเคราะห์โครงการเบื้องต้นพร้อมพิจารณากำหนดสมมติฐานการพัฒนาเป็นโครงการต่างๆ ทั้งนี้ แนวคิดการก่อสร้างจะอยู่ภายใต้ประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยผังเมืองรวม และข้อกำหนดกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการพัฒนาก่อสร้างใช้ประโยชน์ ซึ่งแนวทางการพัฒนาพื้นที่จะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด แล้วพัฒนาเป็นโรงแรมระดับกลาง (Midscale) และพื้นที่รีเทล (ร้านค้า) ประกอบด้วย
โรงแรมสูง 8 ชั้น (มีชั้นใต้ดิน ส่วนกลาง และจอดรถยนต์) พื้นที่รวม 6,915 ตร.ม. จำนวน 1 อาคาร, โรงแรมสูง 8 ชั้น (มีชั้นใต้ดิน ส่วนกลาง และจอดรถยนต์) พื้นที่รวม 9,985 ตร.ม. จำนวน 1 อาคาร, รีเทล (ร้านค้า) สูง 3 ชั้น (พื้นที่ค้าปลีก) พื้นที่รวม 915 ตร.ม. จำนวน 1 อาคาร, รีเทล (ร้านค้า) สูง 3 ชั้น (พื้นที่ค้าปลีก พร้อมที่จอดรถ) พื้นที่รวม 1,432 ตร.ม. จำนวน 1 อาคาร, รีเทล (ร้านค้าและร้านอาหาร) ด้านหลังโครงการ สูง 5 ชั้น พื้นที่รวม 2,000 ตร.ม. จำนวน 1 อาคาร, ลานกิจกรรม ขนาด 14.00 x 28.50 เมตร พื้นที่รวม 400 ตารางเมตร
นอกจากนี้ ได้ออกแบบเส้นทางการจราจรและระบบการขนส่งภายในอาคาร ได้แก่ การจัดให้มีทางเข้า-ออกบริเวณถนนเจริญนคร การจัดระบบจราจรบนถนนแบบเดินรถสองทาง ขนาดความกว้าง 6 เมตร การจัดให้มีทางเดินเท้ากว้าง 1 เมตร
ทั้งนี้ จะเป็นการเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ในรูปแบบการก่อสร้างอาคารโรงแรมและพื้นที่รีเทล ระยะเวลา 30 ปี มูลค่าลงทุนการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ 839 ล้านบาท ผลตอบแทนโครงการ 13.49% ผลตอบแทนที่การรถไฟฯ จะได้รับประมาณ 325 ล้านบาท ระยะเวลาคืนทุน 10 ปี ด้วยวิธีการเปิดประมูลเสนอราคาตามระเบียบการรถไฟฯ โดยไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เนื่องจากไม่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อการบริการสาธารณะ โดยปี 2565 รฟท.จะส่งมอบโครงการฯ ให้กับบริษัท เอสอาร์ที เอสเสท จำกัด (บริษัทลูกฯบริหารสินทรัพย์) รับไปดำเนินการการเปิดประมูลหาเอกชนดำเนินการ ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ในปี พ.ศ. 2565 และดำเนินการก่อสร้างโครงการในปี พ.ศ. 2566
สำหรับการศึกษาความเป็นไปตามทางการตลาด ลูกค้าเป้าหมายหลักคือนักท่องเที่ยไทย/ต่างชาติ และผู้อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งปี 2561-2562 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30-40 ล้านคน ปี 2563 สถานการณ์โควิดทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงเหลือ 6.7 ล้านคน คาดว่าการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวไปเท่าก่อนเกิดโควิดอีก 3-4 ปี

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสานครั้งนี้เป็นเพียงรูปแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เท่านั้น เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการสามารถปรับเปลี่ยนการพัฒนาในรูปแบบอื่นหรือประเภทอื่นที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดได้
อย่างไรก็ตามผลการศึกษาโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสานครั้งนี้ เป็นเพียงรูปแบบแนวทางการพัฒนาพื้นที่เท่านั้น เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการสามารถปรับเปลี่ยนการพัฒนาในรูปแบบอื่นหรือประเภทอื่นที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดได้
ทั้งนี้ รฟท.ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพัฒนาพื้นที่การรถไฟฯ การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของการศึกษาโครงการของหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน และทุกภาคส่วน นำมาใช้ในการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งหวังว่าข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับจากการจัดประชุมสัมมนาจะช่วยให้รายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการมีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 177, 178, 179 ... 197, 198, 199  Next
Page 178 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©