RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181739
ทั้งหมด:13492977
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2021 11:17 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รฟท.ปัดฝุ่นที่ดิน “คลองสาน” พัฒนา 839 ล้านบาท ประมูลปี 65 ผุด “โรงแรม-รีเทล” สัญญายาว 30 ปี
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:52 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:52 น.
รฟท.เปิดประมูลปีหน้า! เนรมิต “ตลาดคลองสาน” 5 ไร่ 839 ล้าน สู่โรงแรม-รีเทล
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:10 น.


รฟท.รื้อตลาดคลองสาน ผุดโรงแรม-ศูนย์การค้า839ล้าน
หน้าโลกธุรกิจ
วันพุธ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.


“รฟท.” จ่อเปิดประมูลสร้างโรงแรม 3 ดาว บูมที่ดินย่านคลองสาน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 12:17 น.

บ๊ายบายคลองสานพลาซ่า!! รื้อตลาดผุดโรงแรม-รีเทล
*รฟท.เช็กเสียงเอกชนเปิดประมูลพื้นที่ริมน้ำ 5 ไร่
*มูลค่า839ล้านเช่า30ปีจ่ายผลตอบแทน325ล้าน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3031743550380476

รฟท. เคาะราคาเช่าที่ดิน “ตลาดคลองสาน” เริ่ม 325 ล้านบาท เตรียมเปิดประมูลปี’65
By Pattarat
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การรถไฟฯ เตรียมประมูลตลาดคลองสาน ปรับโฉมปั้นโรงแรม - รีเทล
วันอังคาร ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:59 น.

การรถไฟฯ เตรียมส่งมอบพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน ดึง “เอสอาร์ที” เปิดประมูลภายในปี 2565 หาเอกชนร่วมทุน ปั้นโครงการโรงแรมระดับกลาง และพื้นที่รีเทล คาดคืนทุนภายใน 10 ปี


ที่ดิน “ตลาดคลองสาน” ในมือ รฟท. เปิดประชุม Market Sounding บริษัทใหญ่ส่งตัวแทนเข้าฟังคับคั่ง นำเสนอเบื้องต้นเหมาะพัฒนามิกซ์ยูสโรงแรม 3 ดาว พ่วงค้าปลีก เคาะราคาประมูลเช่า 30 ปีเริ่มต้น 325 ล้านบาท ขายซองปี 2565

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดประชุมออนไลน์รับฟังความคิดเห็น (Market Sounding) โครงการประมูลสัมปทานเช่าที่ดินบริเวณ คลองสานพลาซ่า หรือ ตลาดคลองสาน ที่ดินขนาด 5 ไร่

โดย รฟท. มีการศึกษาทำเลรอบข้าง ความเป็นไปได้ทางการตลาดและการเงิน เพื่อกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำที่เหมาะสม และกำหนดราคามาที่ 325 ล้านบาทสำหรับการเช่า 30 ปี เตรียมขายซองประมูลปี 2565

Click on the image for full size
ที่ดินตลาดคลองสานของ รฟท. ติดถนนเจริญนคร และท่าเรือคลองสาน
บรรยากาศการรับฟัง Market Sounding มีตัวแทนจากบริษัทรายใหญ่หลายรายร่วมเข้าประชุม ได้แก่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), ไอคอนสยาม, บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, บริษัท สยามรีเทล ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด และ มิตซุย ฟุโดซัง กลุ่มทุนจากญี่ปุ่น

ขายจุดเด่นที่ดินริมน้ำ
ที่ตั้งของที่ดินแปลงนี้เป็นที่ตั้งตลาดคลองสานเก่า ด้านหน้ากว้าง 16 เมตรติดถนนเจริญนคร ด้านหลังกว้าง 30 เมตรติดริมน้ำ โดยผู้ชนะประมูลจะได้สิทธิบริหารที่ดินท่าเรือข้ามฟากคลองสาน-สี่พระยาด้วย (ต้องขออนุญาตกับกรมเจ้าท่าเพิ่มเติม)

ที่ดินเป็นทรงเส้นก๋วยเตี๋ยวแนวลึกเข้าไป 268 เมตร ทิศเหนือติดกับ The Jam Factory ทิศใต้ติดกับโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน ห่างจากไอคอนสยามและ BTS สถานีเจริญนครประมาณ 300 เมตร ซึ่งทำให้ทำเลที่ดินเดินทางได้ทั้งรถ ราง เรือ และเป็นที่ดินติดริมน้ำอันหาได้ยาก


ลักษณะผังการใช้ที่ดินเดิมซึ่งกำลังรื้อถอน และภาพบรรยากาศโดยรอบตลาดคลองสาน
สภาวะปัจจุบันของที่ดินกำลังทยอยให้ผู้เช่าเดิมของตลาดย้ายออกและรื้อถอนพื้นที่ โดยยังเหลืออาคารพาณิชย์ 36 คูหาที่สัญญาจะหมดสิ้นปี 2564 และทาง รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ให้ผู้ชนะประมูลเป็นที่ดินเปล่า

รฟท. แจกแจงผังเมืองของที่ดินคลองสาน พื้นที่นี้ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่ผังสีน้ำตาล ย.8-18 ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก อัตราส่วน FAR 6 : 1 (มีร่างกฎหมายผังเมืองของ กทม. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ที่จะปรับให้พื้นที่นี้เป็นเขตผังสีแดง พ.6-2 ซึ่งจะทำให้ FAR เพิ่มเป็น 7 : 1 แต่คาดว่าจะเลื่อนบังคับใช้ไปอีก 2-3 ปี)

รวมถึงมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2542 กำหนดระยะร่นจากแม่น้ำ 3 เมตรห้ามก่อสร้างอาคาร ระยะ 3-15 เมตร ให้สร้างได้สูงไม่เกิน 8 เมตร และระยะ 15-45 เมตรให้สร้างได้สูงไม่เกิน 16 เมตร เหล่านี้จะเป็นข้อจำกัดให้กับโครงการ



แนะนำพัฒนามิกซ์ยูสโรงแรม-ค้าปลีก
ด้านความเป็นไปได้ของตลาด รฟท.ได้ข้อมูลจากไนท์แฟรงค์ ที่ปรึกษาการพัฒนาโครงการ พบว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพสูงต่อภาคท่องเที่ยวทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ และในอนาคตพื้นที่ใกล้เคียงบนถนนเจริญนครจะมี ศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย แห่งใหม่บนที่ดิน 18 ไร่ห่างไปเพียง 1.5 กม. ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ใช้ชีวิตในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีประชาชนอยู่อาศัยจำนวนมากอยู่แล้ว

ทำให้โครงการเบื้องต้นที่แนะนำเป็นมิกซ์ยูสโรงแรมและค้าปลีก ประกอบด้วย

    โรงแรมสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร
    อาคารรีเทล 5 ชั้น 1 อาคาร
    อาคารรีเทล 3 ชั้น 2 อาคาร
    ลานโล่งทำกิจกรรมขนาด 400 ตร.ม.

รวมจำนวนห้องพัก 270 ห้อง ที่จอดรถ 144 คัน พื้นที่ค้าปลีก 2,155 ตร.ม.

Click on the image for full size
การออกแบบโครงการเบื้องต้น บริเวณสีแดงคืออาคารรีเทล 3 ชั้น ถัดมาเป็นอาคารโรงแรม 8 ชั้น และขวาสุดบริเวณสีเทาคืออาคารรีเทล 5 ชั้น

ลักษณะของโรงแรมที่แนะนำ มองว่าควรเป็นโรงแรมระดับกลาง 3-3.5 ดาว เนื่องจากสำรวจพบว่า โรงแรมริมน้ำในกรุงเทพฯ ที่เป็นระดับลักชัวรีมีอยู่แล้วถึง 9 แห่ง แต่โรงแรมริมน้ำระดับกลางที่มีเชนโรงแรมชื่อดังบริหารหรือเป็นโรงแรมไทยที่มีคุณภาพ ปัจจุบันมีอยู่เพียง 6 แห่ง รวมห้องพัก 700 ห้อง เช่น ไอบิส กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์, โฮเทล วันซ์ กรุงเทพฯ, โอ๊ควู๊ด โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ

ส่วนค้าปลีกนั้น รฟท. เห็นว่าควรจะเป็นส่วนเสริมของผู้มาพักในโรงแรม โดยแบ่งเป็นอาคารรีเทลริมแม่น้ำ เหมาะปล่อยเช่าให้กับร้านอาหาร กินดื่ม บรรยากาศดี ส่วนอาคารรีเทลด้านติดถนนควรจะเป็นบล็อกขนาดเล็กทำให้มีร้านค้าหลากหลาย


ภาพเรนเดอร์เบื้องต้นของโครงการคลองสาน
การออกแบบควรเน้นความเป็นเอกลักษณ์เข้ากับพื้นที่ อนุรักษ์วิถีชีวิตเดิม ตกแต่งสวยงามเหมาะกับการเป็นจุดท่องเที่ยว ถ่ายรูป เช็กอิน ภาพรวมควรวางเป้าหมายที่ไม่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของไอคอนสยามซึ่งเป็นศูนย์การค้าใหญ่ใกล้เคียงและกำลังพัฒนาเฟส 2 เพิ่ม



คำนวณตามแผนคาดนักลงทุนคืนทุนภายใน 10 ปี
จากการวางโครงการเบื้องต้นของ รฟท. คาดว่าโครงการนี้จะใช้งบก่อสร้างราว 839 ล้านบาท และค่าเช่าที่ดินเริ่มต้น 325 ล้านบาท ส่วนรายได้คาดว่าโรงแรมจะได้ค่าห้องพักเฉลี่ย 1,650 บาท/ห้อง/คืน และค่าเช่าส่วนค้าปลีกเฉลี่ย 1,100 บาท/ตร.ม./เดือน ทำให้คาดว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนโครงการ (IRR) ประมาณ 11% และคืนทุนได้ใน 10 ปี

“ศาลา ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป” ทุ่ม 300 ล้านเปิดตัว “ศาลาบางปะอิน” บูติกรีสอร์ท
ทั้งนี้ ค่าเช่าเริ่มต้น 325 ล้านบาท ได้จากการคำนวณมูลค่าที่ดินในย่านนี้ที่ติดริมแม่น้ำ มูลค่าขายตารางวาละ 500,000 บาท อย่างไรก็ดี รฟท. เข้าใจถึงรูปร่างที่ดินเป็นแนวลึกทำให้พัฒนาค่อนข้างยาก จึงคิดมูลค่าที่ดินที่ตารางวาละ 450,000 บาท เท่ากับมูลค่าที่ดินแปลงนี้หากขายขาดจะอยู่ที่ 900 ล้านบาท โดยปกติที่ดินแบบลีสโฮลด์จะคิดมูลค่าการเช่า 30 ปีในอัตราส่วน 35-45% ของมูลค่าขายขาด จึงเคาะราคาเริ่มต้นไว้ที่ 325 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจสามารถปรับแบบโครงการได้ตามต้องการ อาจนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ เช่น ศูนย์ประชุม เพียงแต่อยู่ในข้อกำหนดของกฎหมายผังเมือง และสามารถตอบแทนการลงทุนให้กับ รฟท. ได้


Last edited by Wisarut on 28/10/2021 6:38 pm; edited 5 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2021 2:30 pm    Post subject: Reply with quote

โควิดฉุดแผนพัฒนาที่ดินย่านสถานีธนบุรีลากยาวรฟท.ต่อสัญญาศาลาน้ำร้อน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, October 27, 2021 05:33

โควิดฉุดแผนพัฒนาที่ดินส่อลากยาว รฟท.ยันประมูลบ้านพักพนักงานธนบุรี 21 ไร่ 3.5 พันล้าน ยังไม่คืบ หลังดึงบริษัทเอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เข้ามาบริหารกระทบเปิดประมูลล่าช้า คาดเริ่มปลายปี 65 ยืนยันต่อสัญญาศาลาน้ำร้อนให้สิทธิ์เอกชนผู้เช่ารายเดิม 10-15 ปี

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของภาคเอกชนต่อการประมูลที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ดินผืนใหญ่ย่านสถานีธนบุรี ประกอบกับ คณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) มีมติให้บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด บริษัทลูก ศึกษาใหม่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพิจารณา นำที่ดินแปลงที่จะหมดอายุสัญญามา พัฒนาให้สอดรับกันสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายหลังจากรฟท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาไปแล้วโดยเฉพาะที่ดินบริเวณบ้านพักพนักงานรถไฟ สถานีธนบุรีเนื้อที่ 21 ไร่ ติดกับโรงพยาบาลศิริราชและจุดตัดสถานีรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีแดง

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการพัฒนาย่านสถานีรถไฟธนบุรี บริเวณบ้านพักพนักงานย่านธนบุรี พื้นที่ 21 ไร่ มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท ขณะนี้รฟท.ได้มอบหมายให้ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ รฟท. ดำเนินการศึกษาโครงการดังกล่าวตามมติของคณะกรรมการ รฟท. คาดว่าโครงการนี้จะใช้เวลาศึกษานาน เนื่องจากบริษัทลูกยังไม่ค่อยมีความรู้ความชำนาญในด้านระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ส่วนการประมูลโครงการฯ ให้สิทธิเอกชนหาประโยชน์ระยะยาว 30 ปี รวมระยะเวลาก่อสร้างอีก 4 ปี คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปี 2565 หรือภายในปี 2566 เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านให้บริษัทลูกรับช่วงเพื่อไปดูแลต่อ รวมทั้งสัญญาในการว่าจ้างยังไม่ได้ดำเนินการ

ขณะเดียวกันโครงการฯนี้ รฟท.ยังไม่ได้ดำเนินการลงพื้นที่เคลียร์บ้านพักพนักงาน จำนวน 305 ครัวเรือน เนื่องจาก รฟท. ยังไม่ได้ริเริ่มการประมูลและยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างอาคารที่พัก รวมทั้งยังไม่ได้จ่ายค่าเช่าบ้าน เพราะในส่วนนี้จะมีการผูกสัญญาร่วมกับสัญญาการก่อสร้างโครงการดังกล่าว เบื้องต้นตามผลการศึกษาพบว่าโครงการฯนี้ จะทำให้ รฟท.ได้รับผลตอบแทนกว่า 10% "จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดต่อเนื่อง ส่งผล กระทบต่อการดำเนินโครงการฯ ซึ่งทำให้การจ่ายเงินชดเชยเยียวยาราว 50% ล่าช้าออกไป หากโควิด-19 คลี่คลายลง เชื่อว่าศักยภาพและแหล่งเงินทุนธุรกิจต่างๆ จะดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมลงทุนมากขึ้น"

ที่ผ่านมาจากผลการศึกษาภายหลังเปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชน จำนวนพื้นที่ 21 ไร่ 3 งานนั้น เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 14 ไร่ มีมูลค่าที่ดิน 1,770 ล้านบาท ให้เอกชนเช่า 30 ปี มีผลตอบแทนให้ รฟท. 1,125 ล้านบาท เมื่อลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูล เอกชนต้องจ่ายทันที 337 ล้านบาท หรือประมาณ 30% ของผลตอบแทน จากนั้นจะทยอยจ่ายเป็นรายปีจนครบ 30 ปี โดยจะจ่ายปีละ 47.48 ล้านบาท จากนั้นเพิ่มขึ้น 10% ทุก 3 ปี ปีสุดท้ายจ่าย 196.69 ล้านบาท เมื่อรวม 30 ปี รฟท. จะได้ผลตอบแทนรวม 3,584 ล้านบาท ทั้งนี้สิ่งแรกที่เอกชนต้องดำเนินการหลังจากลงนามสัญญาคือ เคลียร์พื้นที่บ้านพนักงานการรถไฟที่อยู่ในปัจจุบัน 305 ครัวเรือน โดยในสัญญากำหนดให้ก่อสร้างบ้านพักสำหรับพนักงานฯ 315 ห้อง ทดแทนบ้านพักเดิมบนพื้นที่ 3 ไร่

สำหรับรูปแบบการพัฒนาโครงการพื้นที่บริเวณบ้านพักพนักงานย่านธนบุรี พื้นที่ 21 ไร่ เป็นโครงการมิกซ์ยูส ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับโรงพยาบาลและเป็นโรงแรมสำหรับที่พักเพื่อเยี่ยมผู้ป่วย ประกอบด้วย 1.โรงแรมและรีเทล เพื่อรองรับญาติผู้ป่วยโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลธนบุรี ค่าห้องไม่เกิน 1,000 บาท/คืน 2. ศูนย์พักฟื้นสุขภาพ รองรับผู้ป่วยพักฟื้นและดูแลสุขภาพโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลธนบุรี ค่าห้องค่าห้อง 40,000-60,000 บาท/เดือน และ 3.เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และที่อยู่ผู้สูงวัย ค่าเช่า 30,000-50,000 บาท/เดือน 4.บ้านพักพนักงานรถไฟ 315 ยูนิต พื้นที่ใช้สอย 35-50 ตร.ม. ทดแทนบ้านพักเดิม 5.พื้นที่โรงแรมและศูนย์การค้าสูง 13 ชั้น

ส่วนการต่อสัญญาพื้นที่สถานีธนบุรี บริเวณศาลาน้ำร้อน ประมาณ 2.5 หมื่นตารางเมตร (ตร.ม.) ของบริษัท ยูไนเต็ด โกลเบิล เอเยนซี (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ทำสัญญาเช่ากับ รฟท. โดยพื้นที่ดังกล่าวจะหมดอายุสัญญาเช่าประมาณกลางปี 2565 นั้น เบื้องต้นจะมีการต่ออายุสัญญาให้กับบริษัทรายเดิมอีก 10-15 ปี รวมทั้งผู้เช่ารายเดิมจะมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างให้กับ รฟท. ซึ่ง รฟท. จะมีการปรับเพิ่มค่าเช่าราว 2% เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สามารถอาศัยอยู่ได้

"ยืนยันว่าการต่อสัญญาเช่าโครงการฯ บริเวณศาลาน้ำร้อนนั้น ไม่มีการบีบให้ผู้เช่าสัญญารายเดิมออกไป เนื่องจากที่ดินพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้เป็นโครงการฯช่วยประชาชนในพื้นที่ชุมชนมีรายได้จากการค้าขาย รวมทั้งบริเวณพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ห้ามสร้างอาคารสูงเกิน 2 ชั้น (พื้นที่สีน้ำเงิน) หากบีบให้ผู้เช่ารายเดิมออกไป เชื่อว่าผู้เช่ารายใหม่คงทำงานได้ไม่ดีเท่าผู้เช่าสัญญารายเดิม เชื่อว่าเจ้าของพื้นที่รายเดิมยังมีพันธะสัญญาร่วมกับผู้เช่าที่ค้าขายในพื้นที่ของโครงการฯ ซึ่งมีสิทธิ์ที่จะได้ต่อสัญญาเช่าในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป"

"คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปี 2565 หรือภายในปี 2566 เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านให้บริษัทลูกรับช่วงเพื่อไปดูแลต่"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 28 - 30 ต.ค. 2564

-------

"กรมที่ดิน" ฟัด‘รถไฟฯ’พิษเขากระโดงบานปลาย
หน้าแรก อสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 29 ต.ค. 2564 เวลา 9:44 น. 26

กรมที่ดินซัดรฟท.ปม“เขากระโดง” 5,083 ไร่ ขอแผนที่ ชี้แนวเขต-รังวัด 3 เดือนยังเงียบ หลังพลิกเกมไม่ฟ้องผู้บุกรุก ยันยึดคำตัดสินศาล ด้านศักดิ์สยาม ระบุฟ้องกรมที่ดินให้เป็นขั้นตอนกฎหมาย เรื่องยังไม่เข้าสู่บอร์ดรถไฟฯ

ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เกิดพลิกเกมนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างรัฐกับรัฐ หรือรฟท.กับกรมที่ดิน แทนเอกชน ประชาชนผู้บุกรุก กรณีกรมที่ดิน ยังไม่สามารถ ตั้งคณะกรรมการ

ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินปี 2497 เพิกถอนเอกสารสิทธิ์บนที่ดินเนื้อที่ 5,083 ไร่คืนรฟท.ตามที่มีหนังสือร้องขอ โดยมีชนวนเหตุมาจาก ความไม่ชัดเจนในแนวเขตที่ดินรฟท.ไม่สามารถชี้ชัดกรรมสิทธิ์ ว่าอยู่บริเวณใดบ้าง ขณะเดียวกัน กรมที่ดินมีความจำเป็นต้อง รักษาสิทธิ์ในที่ดินให้กับประชาชนที่ถือครอง ตามกฎหมาย หากเพิกถอนโดยพละการจะถูกฟ้องร้องจากประชาชนได้

แหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่ากรมที่ดินต้องการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงแบบตรงไปตรงมา หากออกเอกสารสิทธิ์ไม่ถูกต้องก็พร้อมเพิกถอน แต่ปัญหาใหญ่ รฟท.ไม่ทราบแนวเขตที่ดินของตัวเองว่าอยู่จุดใด กรมที่ดินจึงมีหนังสือ เมื่อเดือนสิงหาคม 2564

ขอให้รฟท.ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1. ให้รฟท.รังวัดรับรองแนวเขตที่เขากระโดงส่งให้กรมที่ดิน 2.ยื่นขอรังวัดสอบเขตณ ที่ตั้งที่ดิน หากกรมที่ดินได้รับหลักฐานจะตั้งกรรมการ ตามมาตรา 61 ทันทีแต่ปัญหาคือเกือบ 4 เดือนแล้วที่เรื่องเงียบหายไปแต่กลับจะฟ้องรัฐ คือกรมที่ดินแทน เอกชน/ชาวบ้านมองว่านี่คือเกมการเมือง โดยเฉพาะที่ดินจำนวน 2 แปลงของนักการเมืองดังในพื้นที่ กรมที่ดินต้องยึดคำพิพากษาศาล

ภายหลัง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ร้องเรียนต่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวออกไป และในเวลาต่อมา รฟท.ได้มีหนังสือย้ำขอเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่อ้างว่าออกโดยมิชอบทั้งที่กรมที่ดินได้ดำเนินการตรวจสอบส่งเรื่องไปที่จังหวัดบุรีรัมย์อยู่ก่อนแล้ว

ต่อข้อถามที่ว่าเหตุใดกรมที่ดินจึงออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินรถไฟฯ แหล่งข่าวระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการชี้แนวเขต โดยรฟท.ยืนยันว่าไม่ใช่แนวเขตที่ดินรถไฟ ทั้งนี้การออกโฉนดแต่ละแปลงต้องใช้เวลาไม่ได้ออกได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามรฟท.สามารถฟ้องผู้บุกรุกได้แต่ไม่ดำเนินการหากจะฟ้องกรมที่ดินมองว่าอยากให้เป็นเช่นนั้นเพราะเรื่องจะได้คลี่คลายโดยเร็ว

“กรมที่ดินขอให้ รฟท.ยืนยันว่า แผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เป็นแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง พ.ศ.2464 หรือไม่ หากเป็นแผนที่แนบท้ายขอให้แจ้งกรมที่ดินทราบด้วย หากไม่ใช่แผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ฯ ดังกล่าว ขอให้รฟท.จัดส่งแผนที่ให้กรมที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณา”

ขณะกรณีสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยให้การรถไฟฯ ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ นั้น กรมที่ดินได้ขอทราบเหตุผลที่ รฟท. ไม่ดำเนินการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นไปตามความเห็นของอัยการสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้ประกอบการออกคำสั่งตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อไป

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีรฟท. เตรียมฟ้องกรมที่ดินหลังออกเอกสารสิทธิไม่ถูกต้องในที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า เรื่องดังกล่าวให้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

นายจิรุฒม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการฟ้องร้องกรมที่ดินในการออกเอกสิทธิพื้นที่เขากระโดง เป็นแนวปฏิบัติและอำนาจของรฟท.ดำเนินการ ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการรฟท. หากมีความคืบหน้าในการฟ้องร้องฯ รฟท.จะเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ แต่ปัจจุบัน รฟท.ยังไม่ได้เสนอที่ประชุมรับทราบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า เมื่อปี 2550 รฟท. เข้าไปสำรวจการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟฯบริเวณแยกเขากระโดง เนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ ส.ค.1 มากกว่า 35 ราย, ถือครอง น.ส. 3ก ประมาณ 500 ราย และถือครองโฉนดที่ดินมากกว่า 320 ราย รวมทั้งมีหน่วยราชการในพื้นที่หลายหน่วยงาน

ล่าสุดในช่วงต้นปี 2564 รฟท.สำรวจพื้นที่เขากระโดงอีกครั้ง พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน 700 ราย ,ที่ดินที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย , น.ส. 3 ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์จำนวน 53 แปลง และอื่นๆที่ไม่ปรากฎเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง


Last edited by Mongwin on 29/10/2021 10:20 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2021 5:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟท.ยื่นศาลปค.ฟ้องกรมที่ดิน ออกโฉนดทับที่ดินรถไฟมิชอบ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันจันทร์ที่ ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:13 น.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 25 ต.ค. 2564


เอาให้สุดไปเลยพี่! รัฐฟัดรัฐ “ที่ดินเขากระโดง”
หน้าคอลัมนิสต์
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา โดย... บากบั่น บุญเลิศ
เอาให้สุดไปเลยพี่! รัฐฟัดรัฐ “ที่ดินเขากระโดง”
วันพุธ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:30 น.

เปิดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคมขึ้นมา มีข่าวชิ้นหนึ่งที่สื่อหลายสำนักนำเสนอแล้วต้องอ้าปากค้างไปตามๆกันคือ “ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. ยื่นศาลปกครองฟ้องกรมที่ดินปมออกโฉนดมิชอบ ลั่นประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรม (ผู้จัดการออนไลน์ วันจันทร์ 25 ตุลาคม 2564)


“ศักดิ์สยาม” เผย “กรมที่ดิน” มีหนังสือถึง “รฟท.” เพิกถอนที่เขากระโดงไม่ได้ (กรุงเทพธุรกิจ 25 ตุลาคม 2564)


ข้อพิพาทเรื่องการบุกรุกที่ดินการรถไฟฯ 5,000 ไร่ บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ได้แปรสภาพการต่อสู้จาก “รัฐ-เอกชนนำทีมโดยกลุ่มตระกูลชิดชอบ+ชาวบ้านอีกกว่า 800 ราย” ที่ลากมายาวนาน แม้จะมีคำตัดสินของศาลฎีกาแล้วก็ตามแต่ มาเป็น “หน่วยงานของรัฐฟัดกับหน่วยงานของรัฐ” ไปเสียแล้ว


ประเด็นที่ถูกเปิดเผยออกมาจากปากของ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ผ่านสื่อว่า ปมความขัดแย้งในเรื่องการบุกรุกที่ดิน 5,000 ไร่เศษ ที่แปรสภาจากความขัดแย้งระหว่าง “การรถไฟฯ ที่เป็นเจ้าของที่ดิน-เอกชนที่เป็นผู้บุกรุก” มาเป็น “การรถไฟฯ-กรมที่ดิน” สาระใหญ่คือ...

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินขอให้พิจารณาดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อเดือนมิถุนายน ล่าสุด กรมที่ดินได้มีหนังสือถึง รฟท.แล้วว่า “ไม่สามารถเพิกถอนโฉนดที่ดินในพื้นที่เขากระโดงได้ เนื่องจาก รฟท.ไม่มีแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง พ.ศ. 2464”




...เมื่อกรมที่ดินมีหนังสือตอบว่า ไม่เพิกถอน ยืนยันว่าทำถูกต้องแล้ว “ศักดิ์สยาม” ให้ข่าวว่า สิ่งที่ รฟท.ต้องดำเนินการคือ ไปฟ้องศาลปกครองว่า โฉนดที่ดินทั้งหมดที่กรมที่ดินออกมา เป็นการดำเนินการโดยมิชอบ


“ผมได้สั่งการไปยัง คุณนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าฯ รฟท.ให้ดำเนินการแล้ว”


“ผมให้นโยบาย รฟท.ว่า ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง กรณีมีการออกโฉนดทับที่ดินของการรถไฟฯ ทั่วประเทศ ต้องดำเนินการเหมือนกัน ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน รฟท. จะไม่ละทิ้งสิทธิของประชาชนเมื่อกรมที่ดิน มีการออกโฉนดโดยมิชอบ ก็ต้องร่วมกันต่อสู้” ศักดิ์สยาม ชี้แจง






ศักดิ์สยาม ชี้แจงว่า “การที่ให้ รฟท.ไปดำเนินการนั้น ไม่ได้หมายความให้ รฟท.ไปฟ้องประชาชน แต่ให้ฟ้องกรมที่ดินที่มีการออกเอกสารสิทธิไม่ถูกต้อง ต่อไปจะได้ไม่ต้องมาบอกเป็นที่ดินพ่อผม ที่ดินพี่ชายผมอีก เพราะจะเป็นที่ของใคร ก็ดำเนินการเหมือนกันหมด หากกรมที่ดินออกโฉนดไม่ถูกต้อง”....มันส์ พะยะค่ะ....


ใครที่คิดว่ากรณีการบุกรุกที่ดินที่รถไฟฯ จะจบง่ายๆ และใครที่คิดว่า “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม เป็นรัฐมนตรีแล้วละเว้นการปฏิบัติจนเข้าข่ายขัดกับรัฐธรรมนูญว่าด้วยการขาดจริยธรรมอย่างร้ายแรง....ขอบอกว่าผิดถนัดกันทั้งหมด....ท่านรัฐมนตรีศักดิ์สยาม ทำงานอย่างเต็มที่เหนือกว่าที่ใครจะคาดคิดเสียด้วยซ้ำไป


ใครที่สงสัยว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 รฟท.ได้ทำหนังสือ เลขที่ รฟ 1/1911/2564 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน เรื่องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและการหาข้อยุติกรณีที่มีการออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนกว่า 900 รายในที่ดินที่เชื่อว่า เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯนั้นทำไปทำไม บัดนี้มีคำตอบอยู่ในตัว






แต่ก่อนจะเกิดการต่อสู้กันทางคดีระหว่าง “หน่วยงานของรัฐ-หน่วยงานของรัฐ” ในการทำหน้าที่ระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน-เจ้าหน้าที่ผู้ออกโฉนดที่ดิน โดยที่ “จำเลย-ผู้ครอบครองที่ดินที่เป็นเอกชนยืนกอดอกคอยชี้นิ้วสั่งการ” นั้น


ผมพามาดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 เมื่อวันที่ 22 พ.ย.2561 ระบุว่า “ศาลฎีกาเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดยการรถไฟฯ ว่าพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เนื้อที่ราว 5,083 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ”


ศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2462 มีประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้กรมรถไฟหลวงเริ่มลงมือตรวจและวางแนวรถไฟอันแน่นอนช่วงตั้งแต่นครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ให้แล้วเสร็จใน 2 ปีนับจากประกาศ


และในระหว่าง 2 ปีที่กำหนดไว้นี้ “ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดจับจองที่ดินซึ่งว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ..






ส่วนที่ดินที่มีเจ้าของก่อนวันประกาศพ.ร.ฎ. ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตทางรถไฟตามที่ปรากฏในแผนที่ไปยกให้หรือขายซื้อ แลกเปลี่ยนกับผู้หนึ่งผู้ใด..


และห้ามมิให้สร้างบ้านเรือนหรือปลูกต้นไม้ หรือทำไร่ ก่อนได้รับอนุญาตจากข้าหลวงหรือผู้แทน


อย่างไรก็ดี หลังจากมีการประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี วันที่ 8 พ.ย.2462 แล้ว ข้าหลวงพิเศษเห็นว่า การก่อสร้างทางรถไฟมีความจำเป็นต้องใช้หินเพื่อโรยทาง จึงวางแนวและดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดงและบ้านตะโก จ.บุรีรัมย์ อันเป็นแหล่งระเบิดหินและย่อยหินระยะทาง 8 กม.


ปรากฏว่า ในช่วง 4 กม.แรก มีผู้เป็นเจ้าของที่ดิน 18 ราย ส่วนอีก 4 กม.ถัดไปจนถึงบริเวณที่มีการระเบิดและย่อยหิน เป็นป่าไม้เต็งรังไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความกว้างจากแนวกึ่งกลางทางรถไฟข้างละ 1 กม. มีการจัดทำบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน 18 ราย ระบุไว้ในแผนที่ด้วย




ต่อมาวันที่ 15 ส.ค.2464 พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟและทางหลวง พ.ศ.2464 มีผลบังคับใช้ โดยมาตรา 3 (2) บัญญัติว่าที่ดินรถไฟหมายความว่า ที่ดินทั้งหลายที่ได้จัดหาหรือเช่าถือไว้ใช้ในการรถไฟ โดยชอบด้วยพระราชกำหนดกฎหมาย


มาตรา 20 บัญญัติว่า ให้กรมรถไฟแผ่นดินเป็นธุระจัดการในการจัดซื้อที่ดินตามที่เห็นจำเป็นเพื่อสร้างทางรถไฟ


มาตรา 6 บัญญัติว่า ห้ามไม่ให้เอกชนหรือบริษัทใดๆ หวงห้ามหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรถไฟหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เว้นไว้แต่จะได้มีการประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นพิเศษว่าทรัพย์นั้นๆได้ขาดจากการเป็นที่ดินรถไฟแล้ว


กระทั่งวันที่ 7 พ.ย.2464 มีประกาศพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ขยายระยะเวลาการตรวจและวางแนวเขตทางรถไฟช่วงจังหวัดสุรินทร์ถึงอุบลราชธานีออกไปอีก 1 ปี นับจากวันที่ 8 พ.ย.2464


ในวันที่ 7 พ.ย.2464 ยังมีการออกพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง และให้ยกเลิกพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 เฉพาะตอนตั้งแต่ต.ท่าช้าง จ.นครราชสีมา ถึงจ.สุรินทร์ ซึ่งตรวจและวางแนวรถไฟได้แน่นอนแล้ว และให้ใช้พ.ร.ฎ.นี้แทนในเขตเดียวกัน





ทั้งให้กรมรถไฟแผ่นดิน เป็นธุระจัดหาซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่น ตามที่เห็นว่า จำเป็นเพื่อสร้างทางรถไฟ จาก ต.ท่าช้าง จ.นครราชสีมา ถึงจ.สุรินทร์ โดยที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นซึ่งต้องจัดซื้อที่ระบุไว้ท้ายพ.ร.ฎ. และให้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.ด้วย


ต่อมาวันที่ 27 ก.ย.2465 มีพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง และให้ยกเลิกพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พ.ย.2462 และฉบับลงวันที่ 7 พ.ย.2464


ศาลฯ จึงเห็นว่า เมื่อพิจารณาแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ปรากฏว่า มีแนวทางรถไฟ 2 ส่วน


ส่วนแรก 4 กม.แรก (ตั้งแต่ กม. 0+000 ถึง กม. 4+540) ซึ่งระบุความกว้างจากกึ่งกลางไม่ชัดเจน และมีการระบุชื่อเจ้าของที่ดิน 18 รายนั้น จากการเบิกความนายตรวจทางบุรีรัมย์ มีการยืนยันว่าในช่วง 3 กม.แรก (กม. 0+000 ถึง 3+000) เขตที่ดินรถไฟมีความกว้างจากกึ่งกลางทางรถไฟข้างละ 15 เมตร ถัดไปจนถึง กม.4+540 กว้างข้างละ 20 เมตร เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินจ่ายเงินค่าทำขวัญให้เจ้าของที่ดิน 18 ราย และมีการลงลายมือชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือรับเงินทำขวัญแล้ว ที่ดินตามแนวทางรถไฟ 4 กม.แรก และพื้นที่ข้างทางข้างละ 15 เมตรและ 20 เมตร จึงเป็นที่ดินที่กรมรถไฟแผ่นดินจัดซื้อเพื่อประโยชน์ของการรถไฟฯ





ส่วนที่สอง ช่วง 4 กิโลเมตรถัดไป เป็นที่ดินที่ไม่มีเจ้าของนั้น การที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 ระบุว่า ในช่วง 2 ปีที่กำหนดไว้ในพ.ร.ฎ. ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าจับจองที่ดินซึ่งเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า ข้าหลวงพิเศษที่ได้รับแต่งตั้งตามพ.ร.ฎ. และกรมรถไฟแผ่นดิน มีอำนาจกำหนดพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ว่างเปล่าไม่มีเจ้าของเป็นที่หวงห้ามไว้ เพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างทางรถไฟได้ ข้าหลวงพิเศษและกรมรถไฟแผ่นดิน จึงมีอำนาจเจ้าไปยึดถือที่ดินที่ไม่มีเจ้าของในช่วง 4 กม.ถัดไปด้วย






“ที่ดินตามแผนที่ที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ฉบับลงวันที่ 8 พ.ย.2462”


เมื่อคำพิพากษาศาลฎีการะบุว่า ที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เป็นที่ดินรถไฟฯ การรถไฟฯ จึงมีหน้าที่ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกแปลงบริเวณเขากระโดง ไม่ให้เอกชน หรือ บริษัทใดๆ ถือครองกรรมสิทธิ์ รวมถึงห้ามไม่ให้ยกกำหนดอายุความขึ้นต่อสู้สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินรถไฟด้วย เช่นกัน...


แต่ตอนนี้อย่าว่าแต่จะยึดเลย แค่เพิกถอนยังทำไม่ได้...แล้วที่ดินปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใครครอบครองมูลค่าเท่าใด


สนามช้างอารีน่า ของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด มูลค่าการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท


โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล คอมมูนิตี้มอลล์และที่ตั้งปราสาทหินพนมรุ้งจำลอง มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท


ที่ดินของการรถไฟฯ ตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ยังมีบางส่วนของสนามแข่งรถ ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต


ไม่อยากพูดมาก…เจ็บคอ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2021 12:07 pm    Post subject: Reply with quote

"กรมที่ดิน" ฟัด‘รถไฟฯ’พิษเขากระโดงบานปลาย
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:44 น.

กรมที่ดินซัดรฟท.ปม“เขากระโดง” 5,083 ไร่ ขอแผนที่ ชี้แนวเขต-รังวัด 3 เดือนยังเงียบ หลังพลิกเกมไม่ฟ้องผู้บุกรุก ยันยึดคำตัดสินศาล ด้านศักดิ์สยาม ระบุฟ้องกรมที่ดินให้เป็นขั้นตอนกฎหมาย เรื่องยังไม่เข้าสู่บอร์ดรถไฟฯ



ข้อพิพาทที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เกิดพลิกเกมนำไปสู่การฟ้องร้องระหว่างรัฐกับรัฐ หรือรฟท.กับกรมที่ดิน แทนเอกชน ประชาชนผู้บุกรุก กรณีกรมที่ดิน ยังไม่สามารถ ตั้งคณะกรรมการ

ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินปี 2497 เพิกถอนเอกสารสิทธิ์บนที่ดินเนื้อที่ 5,083 ไร่คืนรฟท.ตามที่มีหนังสือร้องขอ โดยมีชนวนเหตุมาจาก ความไม่ชัดเจนในแนวเขตที่ดินรฟท.ไม่สามารถชี้ชัดกรรมสิทธิ์ ว่าอยู่บริเวณใดบ้าง ขณะเดียวกัน กรมที่ดินมีความจำเป็นต้อง รักษาสิทธิ์ในที่ดินให้กับประชาชนที่ถือครอง ตามกฎหมาย หากเพิกถอนโดยพละการจะถูกฟ้องร้องจากประชาชนได้


แหล่งข่าวจากกรมที่ดินเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่ากรมที่ดินต้องการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงแบบตรงไปตรงมา หากออกเอกสารสิทธิ์ไม่ถูกต้องก็พร้อมเพิกถอน แต่ปัญหาใหญ่ รฟท.ไม่ทราบแนวเขตที่ดินของตัวเองว่าอยู่จุดใด กรมที่ดินจึงมีหนังสือ เมื่อเดือนสิงหาคม 2564

ขอให้รฟท.ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ 1. ให้รฟท.รังวัดรับรองแนวเขตที่เขากระโดงส่งให้กรมที่ดิน 2.ยื่นขอรังวัดสอบเขตณ ที่ตั้งที่ดิน หากกรมที่ดินได้รับหลักฐานจะตั้งกรรมการ ตามมาตรา 61 ทันทีแต่ปัญหาคือเกือบ 4 เดือนแล้วที่เรื่องเงียบหายไปแต่กลับจะฟ้องรัฐ คือกรมที่ดินแทน เอกชน/ชาวบ้านมองว่านี่คือเกมการเมือง โดยเฉพาะที่ดินจำนวน 2 แปลงของนักการเมืองดังในพื้นที่ กรมที่ดินต้องยึดคำพิพากษาศาล

ภายหลัง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ร้องเรียนต่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวออกไป และในเวลาต่อมา รฟท.ได้มีหนังสือย้ำขอเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่อ้างว่าออกโดยมิชอบทั้งที่กรมที่ดินได้ดำเนินการตรวจสอบส่งเรื่องไปที่จังหวัดบุรีรัมย์อยู่ก่อนแล้ว

ต่อข้อถามที่ว่าเหตุใดกรมที่ดินจึงออกเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินรถไฟฯ แหล่งข่าวระบุว่า ที่ผ่านมาได้มีการชี้แนวเขต โดยรฟท.ยืนยันว่าไม่ใช่แนวเขตที่ดินรถไฟ ทั้งนี้การออกโฉนดแต่ละแปลงต้องใช้เวลาไม่ได้ออกได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามรฟท.สามารถฟ้องผู้บุกรุกได้แต่ไม่ดำเนินการหากจะฟ้องกรมที่ดินมองว่าอยากให้เป็นเช่นนั้นเพราะเรื่องจะได้คลี่คลายโดยเร็ว

“กรมที่ดินขอให้ รฟท.ยืนยันว่า แผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 เป็นแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง พ.ศ.2464 หรือไม่ หากเป็นแผนที่แนบท้ายขอให้แจ้งกรมที่ดินทราบด้วย หากไม่ใช่แผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ฯ ดังกล่าว ขอให้รฟท.จัดส่งแผนที่ให้กรมที่ดินเพื่อประกอบการพิจารณา”

ขณะกรณีสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยให้การรถไฟฯ ดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ นั้น กรมที่ดินได้ขอทราบเหตุผลที่ รฟท. ไม่ดำเนินการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นไปตามความเห็นของอัยการสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อจะได้ใช้ประกอบการออกคำสั่งตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อไป

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีรฟท. เตรียมฟ้องกรมที่ดินหลังออกเอกสารสิทธิไม่ถูกต้องในที่ดินเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า เรื่องดังกล่าวให้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย

นายจิรุฒม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมขนส่งทางบก (ขบ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้ความคืบหน้าการฟ้องร้องกรมที่ดินในการออกเอกสิทธิพื้นที่เขากระโดง เป็นแนวปฏิบัติและอำนาจของรฟท.ดำเนินการ ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการรฟท. หากมีความคืบหน้าในการฟ้องร้องฯ รฟท.จะเสนอต่อที่ประชุมเพื่อรับทราบ แต่ปัจจุบัน รฟท.ยังไม่ได้เสนอที่ประชุมรับทราบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า เมื่อปี 2550 รฟท. เข้าไปสำรวจการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินรถไฟฯบริเวณแยกเขากระโดง เนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ ส.ค.1 มากกว่า 35 ราย, ถือครอง น.ส. 3ก ประมาณ 500 ราย และถือครองโฉนดที่ดินมากกว่า 320 ราย รวมทั้งมีหน่วยราชการในพื้นที่หลายหน่วยงาน

ล่าสุดในช่วงต้นปี 2564 รฟท.สำรวจพื้นที่เขากระโดงอีกครั้ง พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน 700 ราย ,ที่ดินที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย , น.ส. 3 ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์จำนวน 53 แปลง และอื่นๆที่ไม่ปรากฎเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 01/11/2021 3:52 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวปลอม อย่าแชร์! การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง

วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารประเด็นเรื่อง การรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ยอมปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกาที่ให้เรียกคืนที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการให้ข้อมูลที่ระบุว่าผู้ว่าการรถไฟประเทศไทย ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งศาลฏีกา ที่ตัดสินคดีให้ยึดที่ดินป่ารถไฟเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นดังกล่าวว่า สำหรับที่ดินที่มีข้อพิพาทการรถไฟฯ ได้ยึดแนวทางในการดำเนินการทุกขั้นตอนบนหลักการว่าประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการ และอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต โดยจะต้องมีการดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดจากกระบวนการสำรวจ และออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อนในอดีตทำให้เกิดกรณีของการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ์ และขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด

สำหรับปัญหาที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ 1. ปัญหาการบุกรุกที่ดินบริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน มีผู้บุกรุกประมาณ 83 ราย ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกตามขั้นตอนภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด และ 2. ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง มีปัญหามาอย่างยาวนาน และมีความสลับซับซ้อน เกิดขึ้นจากกระบวนการสำรวจการออกเอกสารสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการรถไฟฯ ได้เสาะหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด โดยล่าสุดเมื่อต้นปี 2564 การรถไฟฯ ได้ดำเนินการสำรวจที่ดินบริเวณเขากระโดงโดยไม่ได้มีการสำรวจที่ดินของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นการเฉพาะ พบว่ามีผู้ถือครองเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยหน่วยงานราชการประมาณ 900 ราย แบ่งเป็น โฉนดที่ดิน จำนวน 700 ราย ที่มีการครอบครอง (ท.ค.) จำนวน 19 ราย น.ส.3ก. จำนวน 7 ราย หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 1 ราย ทางสาธารณประโยชน์จำนวน 53 แปลง และอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏเลขที่ดินในระวางแผนที่อีกจำนวน 129 แปลง

โดยการดำเนินการกรณีประชาชนฟ้องการรถไฟฯประชาชน ได้ฟ้อง รฟท. โดยอ้างสิทธิ์ตาม ส.ค.1 และ นส.3 ก. และการรถไฟฯ ได้เข้าต่อสู้คดีตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาในคดีเหล่านั้นเชื่อข้อเท็จจริงตามแผนที่ที่นำเสนอโดยการรถไฟฯ ว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดในแต่ละคดีแล้ว อย่างไรก็ดีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นจะผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีโดยไม่ผูกพันบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คู่ความตามคดีนั้นๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 การดำเนินการกรณีไม่มีข้อพิพาทในศาลการรถไฟฯ ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเพื่อหาข้อยุติในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์บนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้กรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เพื่อพิจารณาทบทวนการใช้อำนาจดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 การรถไฟฯ ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน ขอให้กรมที่ดินดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 61 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุว่า “เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือได้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใด โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่สั่งเพิกถอนหรือแก้ไขได้” ทั้งนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยยืนยันที่จะดำเนินการในเรื่องนี้จนถึงที่สุด และหากในอนาคตจะปรากฏผลการวินิจฉัยอันถึงที่สุดเป็นประการใด การรถไฟแห่งประเทศไทยก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวอย่างเคร่งครัดต่อไป

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมไม่ฟ้องประชาชนตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรณีที่กรมที่ดินได้มีหนังสือหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ซึ่งการรถไฟฯ ไม่ทราบว่ากรมที่ดิน ได้หารือประเด็นใดรวมถึงการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดเพียงใด อย่างไรก็ดีการรถไฟฯ ได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาในการดำเนินการแล้วเห็นว่า การที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับบนที่ดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต การรถไฟฯ จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการ จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และมีข้อเท็จจริงปรากฏตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ทำให้การรถไฟฯ เชื่อได้ว่าการออกเอกสารสิทธิ์ในพื้นที่บริเวณเขากระโดงโดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมายย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการรถไฟฯ จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป



ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากการรถไฟแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่ เฟซบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์ www.thairailwayticket.com หรือโทร Call Center 1690

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การรถไฟฯ ดำเนินการตามขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิ์ ขั้นตอนของกฎหมายมาโดยตลอด โดยเมื่อได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณา เห็นว่าประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าว เป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต การรถไฟฯ จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนั้นการรถไฟฯ จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/11/2021 3:28 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟลุก! ทวงคืนที่ดินรถไฟ 5 พันไร่ l ลึกแต่ไม่ลับ l THAN TALK l 04/11/64
Nov 4, 2021
ฐานเศรษฐกิจ Thansettakij


https://www.youtube.com/watch?v=HXjbadLxohE

กรมที่ดินซัดรฟท.ปม“เขากระโดง” 5,083 ไร่ ขอแผนที่ ชี้แนวเขต-รังวัด 3 เดือนยังเงียบ หลังพลิกเกมไม่ฟ้องผู้บุกรุก ยันยึดคำตัดสินศาล ด้านศักดิ์สยาม ระบุฟ้องกรมที่ดินให้เป็นขั้นตอนกฎหมาย เรื่องยังไม่เข้าสู่บอร์ดรถไฟฯ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2021 12:38 am    Post subject: Reply with quote

'รฟท.'ยื่นโนติส'กรมที่ดิน'ฉบับที่ 2! ยันต้องเพิกถอนโฉนดเขากระโดง 5 พันไร่-ขู่ฟ้องศาล
เขียนโดยisranews
เขียนวันที่วันพุธ ที่ 03 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16:24 น.

“…ทำให้ รฟท.เชื่อได้ว่า เป็นการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่บริเวณเขากระโดง โดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมาย ย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…”

....................................

จนถึงบัดนี้ยังคงไม่มีบทสรุป

สำหรับมหากาพย์ ‘ทวงคืน’ ที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’ จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ 5,083 ไร่ โดยเฉพาะการเดินหน้าเพิกถอนโฉนดที่ดิน 2 แปลง ที่ออกโดยมิชอบ ได้แก่

โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการครอบครองของบริษัท ศิลาชัย บุรีรัมย์ (1991) จำกัด ของคนในตระกูล ‘ชิดชอบ’ และโฉนดที่ดินเลขที่ 8564 ที่อยู่ในการครอบครองของคนในตระกูลชิดชอบเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งบ้านพักของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ด้วย

แม้ว่าล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2564 วีระ สมความคิด ในฐานะเลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.) เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ขอให้ไต่สวน นิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยละเว้นไม่ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้บุกรุกครอบครองที่ดิน รฟท. บริเวณเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ (อ่านประกอบ : เปิดหนังสือ‘เลขาฯคปต.’ ยื่น‘ป.ป.ช.’ไต่สวน‘ผู้ว่าฯรฟท.’ ผิด ม.157 กรณีที่ดินเขากระโดง)

แต่ทว่าการเดินหน้าเพิกถอนโฉนดที่ดินรถไฟเขากระโดงกว่า 700 แปลง ซึ่งรวมถึงโฉนดที่ดินอีก 2 แปลง ที่มีความเกี่ยวพันกับคนในตระกูลชิดชอบนั้น กำลังจะกลายเป็น ‘ข้อพิพาททางกฎหมาย’ ระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ 2 หน่วยงาน คือ กรมที่ดิน และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

ซึ่งในท้ายที่สุดอาจถึงขั้นต้องมีการ ‘ฟ้องร้อง’ กันเองในศาลฯ

@ย้อนไทม์ไลน์ ‘รฟท.’แจ้ง ‘กรมที่ดิน’ ถอนโฉนดเขากระโดง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2564 ผู้ว่าฯรฟท. (นิรุฒ มณีพันธ์) ทำ หนังสือที่ รฟ1/1911/2564 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2564 ถึงอธิบดีกรมที่ดิน (นิสิต จันทร์สมวงศ์) โดยขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ในพื้นที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ (อ่านประกอบ : ‘ผู้ว่าฯรฟท.’ แจ้ง ‘กรมที่ดิน’ เพิกถอนโฉนด'เขากระโดง' บุรีรัมย์ 5 พันไร่)

ต่อมา กรมที่ดิน มี หนังสือกรมที่ดินที่ มท 0516.2/15527 ลงวันที่ 27 ก.ค.2564 ตอบกลับไปยัง รฟท. พร้อมออกเอกสารข่าวแจ้งต่อสื่อมวลชนในวันเดียวกัน (27 ก.ค.) มีเนื้อหาสรุปได้ 3 ประเด็น ได้แก่

ประเด็นแรก กรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 842-872/2560 และที่ 8027/2561 ว่า ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 194 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟฯ แต่มีราษฎรได้ยื่นขอออกโฉนดที่ดินตาม ส.ค.1 และมีหลักฐาน น.ส.3 นั้น กรมที่ดินได้แจ้งให้จังหวัดบุรีรัมย์พิจารณาดำเนินการเพิกถอน ส.ค.1 และ น.ส.3 แล้ว

ประเด็นที่สอง กรณีขอให้กรมที่ดินเพิกถอน ‘หนังสือแสดงสิทธิ’ ในที่ดินทุกแปลง ที่ออกในพื้นที่ของ รฟท. เนื้อที่ 5,083 ไร่ นั้น กรมที่ดินขอให้ รฟท.ส่งแผนที่แนบท้ายพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ พ.ศ.2464 ให้กรมที่ดิน เพื่อให้จังหวัดบุรีรัมย์ตรวจสอบว่า มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแปลงใดบ้างที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และดำเนินการเพิกถอนต่อไป

ประเด็นที่สาม กรณีโฉนดที่ดินเลขที่ 3466, 8564 ต.อิสาณ อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ 44 ไร่ กรมที่ดินขอให้ รฟท.ฟ้องต่อศาลฯเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนโฉนดทั้ง 2 แปลง ตามคำแนะนำของสำนักงานอัยการสูงสุด เนื่องจากกรมที่ดินไม่ใช่ผู้เสียหาย (อ่านประกอบ : เก็บเรื่อง 9 ปี! 3 ผู้ว่าฯรฟท.ไม่สั่งฟ้องศาลถอนโฉนด ที่ดิน 'เขากระโดง' โยง 'ชิดชอบ')

@รฟท.ยืนยัน ‘กรมที่ดิน’ ต้องใช้ ‘ม.61’ เพิกถอนโฉนด 2 แปลง

อย่างไรก็ดี ในอีกไม่ถึง 1 เดือนต่อมา ผู้ว่าฯรฟท. (นิรุฒ มณีพันธ์) มีหนังสือที่ รฟ 1/2291/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564 เรื่อง ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถึงอธิบดีกรมที่ดินอีกครั้ง แจ้งว่า กรณีการเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466,8564 นั้น

รฟท.ยืนยันว่า กรมที่ดินต้องดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เนื่องจากการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่บริเวณเขากระโดงดังกล่าว เป็นการออกเอกสารสิทธิ์ ที่เกิดจากความ ‘คลาดเคลื่อน’ ของเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินของ รฟท. ดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

“…ตามที่กรมที่ดินได้หารือสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า การออกโฉนดที่ดิน 3466 และ 8564 เป็นการออกโฉนดในที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดิน จึงเป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ให้แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61…

ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำวินิจฉัย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีอำนาจฟ้องดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ นั้น

รฟท.ขอเรียนให้ทราบว่า ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรณีที่กรมที่ดินได้มีหนังสือหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่แจ้งให้กรมที่ดินดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61

ซึ่ง รฟท. ไม่ทราบว่ากรมที่ดินได้หารือประเด็นใด รวมถึงการจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยช่องสำนักงานอัยการสูงสุดเพียงใด

อย่างไรก็ดี รฟท.ได้นำคำวินิจฉัยของสำนักงานอัยการสูงสุดมาพิจารณาในการดำเนินการแล้วเห็นว่า การที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับบนที่ดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. เป็นกรณีที่ประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโดยทางราชการและอาศัยอยู่ในที่ดินตามเอกสารสิทธิ์ดังกล่าวเป็นผู้อาศัยในที่ดินโดยสุจริต

รฟท.จึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยทางราชการ แต่จะดำเนินการโดยมุ่งเน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

เมื่อกรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และมีข้อเท็จจริงปรากฎตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังข้างต้น

ทำให้ รฟท.เชื่อได้ว่า เป็นการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่บริเวณเขากระโดง โดยความคลาดเคลื่อนเกิดจากเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกโฉนดที่ดินตามกฎหมาย ย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น รฟท.จึงยืนยันขอให้กรมที่ดินพิจารณาดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่โดยพิจารณาการเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ต่อไป" หนังสือที่ รฟ 1/2291/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564 (อ่านเอกสารประกอบ)

srt 3 11 21 1

srt 3 11 21 2

srt 3 11 21 3

@‘กรมที่ดิน’ ส่งหนังสือยืนยันครั้งที่ 2 ให้ ‘รฟท.’ ฟ้องเอง

ล่าสุดแหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวกับสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ว่า หลังจากทาง ผู้ว่าฯ รฟท. ได้ส่งหนังสือฉบับที่ 2 (หนังสือที่ รฟ 1/2291/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564) ไปยังอธิบดีกรมที่ดิน โดย รฟท.ยืนยันว่า ขอให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนดที่ดิน 2 แปลง คือ โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

แต่ปรากฏว่าในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา กรมที่ดินได้ส่งหนังสือฉบับที่ 2 ตอบกลับมายัง รฟท. ว่า ขอให้ รฟท.ฟ้องศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลงเอง โดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. พร้อมทั้งยืนยันว่า กรมที่ดินจะไม่ใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพิกถอนโฉนดที่ดินตามที่ รฟท.ร้องขอมา

ดังนั้น ผู้ว่าฯรฟท.เตรียมทำหนังสือฉบับที่ 3 ส่งไปยังอธิบดีกรมที่ดิน เพื่อขอให้กรมที่ดินใช้อำนาจตามมาตรา 61 เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 3466 และ 8564 อีกครั้ง โดยจะให้เวลากรมที่ดินเป็นเวลา 15 วัน ในการเริ่มกระบวนการเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง แต่หากกรมที่ดินไม่ดำเนินการ รฟท.จะฟ้องศาลฯเพื่อขอให้ศาลฯสั่งให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนด

“ที่กรมที่ดินทำหนังสือฉบับที่ 2 ตอบกลับมายัง รฟท. โดยยืนยันจะไม่เพิกถอนโฉนดที่ดิน 2 แปลง (3466 และ 8564) โดนอ้างว่าเป็นที่ดินที่ รฟท.ครอบครอบนั้น ในขั้นตอนต่อผู้ว่าฯ รฟท. จะทำหนังสือกลับไปยังกรมที่ดินอีกรอบ โดยให้เวลา 15 วันในการเริ่มกระบวนการเพิกถอนโฉนด และถ้ากรมที่ดินยังไม่ทำ รฟท.จะฟ้องกรมที่ดินต่อไป” แหล่งข่าวระบุ

เหล่านี้เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด เกี่ยวกับความคืบหน้าในการเพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดง 2 แปลง ที่มีการเกี่ยวพันกับนักการเมืองตระกูลดัง ‘ชิดชอบ’ ในขณที่หน่วยงานของรัฐ ทั้ง ‘รฟท.’ และ ‘กรมที่ดิน’ ต่างก็โยนลูกกันไปมา ว่า การเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง

ใครจะต้องรับหน้าที่ไปดำเนินการ!
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2021 9:32 am    Post subject: Reply with quote

ฟ้าผ่า..โฉนดที่ดินเขากระโดง จนท.ที่ดิน“ทำผิดเอง”หุหุ
หน้าแรก
คอลัมนิสต์
ทางออกนอกตำรา
ฟ้าผ่า..โฉนดที่ดินเขากระโดง จนท.ที่ดิน“ทำผิดเอง”หุหุ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 พ.ย. 2564 เวลา 7:00 น.
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา โดย...บากบั่น บุญเลิศ

Arrow https://www.thansettakij.com/blogs/columnist/502264

Click on the image for full size

-------

กลุ่มผู้ค้าตลาดสดบ่อบัว ฉะเชิงเทราโวยนายทุนเช่าที่การรถไฟฯโขกราคาเช่าแผงสวนทางเศรษฐกิจ
เผยแพร่: 8 พ.ย. 2564 08:17 ปรับปรุง: 8 พ.ย. 2564 08:17 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

ฉะเชิงเทรา – เดือดร้อนหนัก !กลุ่มผู้ค้าในตลาดสดบ่อบัว จ.ฉะเชิงเทรา โวยนายทุนเช่าที่การรถไฟฯโขกราคาค่าเช่าแผงเพิ่มอีกเท่าตัว ร้องหน่วยงานพื้นที่เข้าตรวจสอบเป็นธรรมหรือไม่ ชี้แบกรับต้นทุนไม่ไหวแล้ว

วันนี้ ( 8 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มผู้ค้าในตลาดสดบ่อบัว ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ริมถนนชุมพล ต.หน้าเมือง ว่า กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักหลังถูกนายทุนผู้เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เรียกเก็บค่าเช่าที่ดินที่มีการจัดแบ่งเป็นล็อคให้แก่ผู้เช่าในราคาที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกเท่าตัว

โดย นายประดิษฐ เพิ่มปัญญา อายุ 52 ปี พร้อมด้วยกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า บอกว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค. ที่ผ่านมานายทุนผู้เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แจ้งต่อพ่อค้าแม่ค้าภายในตลาดสดบ่อบัว (โซนลานกลางเต็นท์) ว่าจะขึ้นราคาค่าเช่าแผงค้าขายจากเดิมล็อคละ 50 บาทต่อวันเป็นล็อคละ 100 บาทต่อวัน

ถือเป็นการซ้ำเติมและเอารัดเอาเปรียบผู้ค้ารวมทั้งยังเป็นการสร้างภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับสภาพการค้าขายในปัจจุบันที่ประชาชนทั้งประเทศได้รับผลกระทบถ้วนหน้าจนทำให้มีลูกค้าเข้ามาจับจ่ายสินค้าในตลาดลดน้อยลง

ประกอบกับตลาดบ่อบัวแห่งนี้ได้ถูก จ.ฉะเชิงเทรา สั่งปิดเป็นเวลา 14 วันเมื่อ 2 เดือนก่อนหลังมีพบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายในตลาดจนให้ผู้ค้าขายสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก และขณะนี้สภาพการค้าก็ยังไม่ฟื้นตัวซ้ำยังต้องแบกรับปัญหาราคาสินค้าที่ขยับสูงขึ้นจากต้นทุนการขนส่งจึงทำให้ขายสินค้าไม่ค่อยได้

นายประดิษฐ ยังบอกอีกว่าเดิมผู้ค้าในตลาดบ่อบัวเก่าที่ค้าขายกันมานานกว่า 30 ปี จ่ายค่าแผงเพียงวันละ 20 บาทและไม่เคยมีค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม แต่เมื่อมีนายทุนอ้างว่าเป็นผู้เช่าที่ดินของการรถไฟฯ เข้ามาขอให้ผู้ค้าย้ายพื้นที่การขายออกมายังด้านนอกตลาดเพราะต้องการใช้พื้นที่ตลาดเก่าสร้างตึก กลุ่มผู้ค้าก็ยินยอมและได้พากันย้ายพื้นที่ขายออกมากางเต็นท์อยู่ด้านนอก

และยังเรียกเก็บค่าเช่าล็อคขนาดกว้าง 2 เมตรยาว 2.5 เมตรในราคาล็อคละ 50 บาทต่อวัน ทั้งยังต้องจ่ายค่าน้ำและอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดละ 10 บาทต่อวันจนทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งผู้ค้าก็ยังยินยอมมานานถึง 3 ปี

“ วันนี้ยังจะมีการเรียกเก็บขึ้นค่าเช่าล็อคเพิ่มเป็น 100 บาท ทั้งที่ยังไม่เคยมีความชัดเจนในเรื่องการเช่าที่ดินจากการรถไฟฯ รวมถึงยังไม่มีการทำสัญญาเช่าล็อคกับผู้ค้าอย่างเป็นเรื่องเป็นราว พวกเราจึงคิดว่าถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งที่ผู้ค้าบางรายต้องการใช้พื้นที่ค้าขายขนาดใหญ่ขึ้นจึงยอมจ่ายค่าเซ้งพื้นที่ในราคานับแสนบาทมาแล้ว”

โดยในวันนี้กลุ่มผู้ค้าในในตลาดสดบ่อบัว ได้เรียกร้องให้หน่วยงานใน จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาดูแลความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งพิจารณาว่านายทุนรายดังกล่าวกระทำการอย่างถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งเรียกร้องให้รับฟังเสียงจากพ่อค้าแม่ค้าบ้าง

เช่นเดียวกับ น.ส.จันทร์เพ็ญ ศรีอารยะ ที่บอกว่าการขึ้นราคาค่าเช่าแผงค้าของนายทุนบนที่ดินรถไฟฯ เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมอีกทั้งที่ผ่านมายังไม่เคยมีเอกสารใดๆ ในการแจ้งล่วงหน้า และที่ผ่านมายังมีเพียงแค่คนเก็บเงินรายวันที่เดินบอกต่อกลุ่มผู้ค้าเท่านั้น

และการกระทำดังกล่าวถือเป็นการปรับราคาตามใจชอบ โดยยกข้ออ้างเพียงเรื่องการครบสัญญาเช่า 3 ปีเท่านั้น

ด้าน นายอเนก ทองนาคหุ่น อายุ 46 ปี บอกว่าตนเองได้เปิดแผงขายอาหารทะเลสดในตลาดดังกล่าวโดยใช้พื้นที่หลายล็อคและต้องเสียค่าเช่าสูงถึล็อคละ 2 หมื่นบาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาทต่อเดือน วันนี้หากต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีก 550 บาทต่อวันก็ถือเป็นเรื่องที่หนักเกินไปทั้งที่ยังต้องแบกภาระเรื่องค่าแรงงานคนงาน ในสถานการณ์ที่การค้าขายยังไม่กระเตื้อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2021 10:54 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.จ่อฟ้องศาลปกครอง เบรกถอนเอกสารสิทธิ์รุกที่ดินเขากระโดง
หน้าเศรษฐกิจ คมนาคม
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19:29 น.

รฟท.เตรียมฟ้องศาลปกครอง เหตุกรมที่ดินไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง หลังละเลยหน้าที่ ยันมีแผนที่รับรองความถูกต้อง

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องข้อพิพาทที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง รฟท.เตรียมนำคดีการออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของรฟท.ในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 เบื้องต้นอยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ หากกรมที่ดินยืนยันไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะดำเนินการจัดทำคำฟ้องคดีปกครองยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อพิจารณาต่อไป

ขณะเดียวกันที่ผ่านมากรมที่ดินมีหนังสือ ที่ มท 0516.2/3530 ลงวันที่ 27 กันยายน 2564 ถึงการรถไฟฯ ว่าไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนหรือแก้ไขตามมาตรา 61 วรรคแปด แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้ เนื่องจากการเพิกถอนหรือแก้ไขตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดว่า เป็นการออกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในกรณีนี้คำพิพากษาของศาลฎีกาทั้งสองคดีไม่ได้พิพากษาให้เพิกถอนหรือแก้ไขแต่อย่างใด


หากรฟท. ยืนยันว่า แผนที่ที่ใช้ในการพิจารณาของศาลเป็นแผนที่ที่มีความถูกต้อง และรฟท.สามารถถ่ายทอดแนวเขตลงไปในระวางรูปถ่ายทางอากาศที่กรมที่ดินจัดส่งให้ และรับรองความถูกต้อง ซึ่งกรมที่ดินจะใช้ระวางแผนที่ที่รฟท.ได้ขีดเขตและรับรองเป็นหลักฐานอย่างหนึ่ง นอกจากหลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) ในการประกอบการพิจารณา โดยกรมที่ดินจัดส่งระวางแผนที่ดังกล่าวให้จังหวัดบุรีรัมย์ตรวจสอบว่า ที่ดินแปลงใดต้องดำเนินการเพิกถอนทั้งแปลงหรือบางส่วนต่อไป เว้นแต่กรณีที่รฟท.ไม่สามารถกำหนดแนวเขตลงในระวางแผนที่ได้ รฟท.สามารถนำหลักฐาน สค.1 เลขที่ 1180 หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง ไปยื่นขอออกโฉนดที่ดินในส่วนที่เหลือ 4,605 ไร่ 1 งาน 71.2 ตารางวา ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ได้ เพื่อให้ครอบคลุมตามหลักฐาน สค.1 เลขที่ 1180 ดังกล่าว และเมื่อได้แนวเขตที่ดินที่ชัดเจนกรมที่ดินจะได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

"รฟท.เห็นว่ากรมที่ดิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎรและให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์เมื่อได้รับทราบความตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842–876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 จนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดงเป็นที่ดินของรฟท.ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินรถไฟหลวงดังกล่าว หากได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมายรวมถึงขอบเขตของที่ดินในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดงดังกล่าวก่อนที่จะทำการออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า กรมที่ดินจึงมีหน้าที่ที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อกรมที่ดินไม่ดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 จึงอาจเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (2)



"รฟท.ได้ดำเนินการในเรื่องที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักความถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความเป็นธรรมและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อพี่น้องประชาชน รักษาผลประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติ"


อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 รฟท. ได้จัดทำหนังสือที่ รฟ 1/1911/2564 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ถึงอธิบดีกรมที่ดินเพื่อให้ดำเนินการตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ในการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับซ้อนที่ดินของรฟท. ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ภายใน 90 วัน ภายหลังจากมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842–876/2560 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ได้วินิจฉัยสอดคล้องกันว่าสำเนาแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟตอนแยกไปยังที่ย่อยศิลา ย่อมถือได้ว่าเป็นที่ดินที่จัดหามาเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ โดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อรฟท. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรถไฟฯ พ.ศ. 2494 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้โอนทรัพย์สินและหนี้สินของกรมรถไฟแผ่นดินให้แก่รฟท. ทำให้รฟท.จึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท

รฟท. เตรียมยื่นฟ้องกรมที่ดิน “คดีเขากระโดง” ออกโฉนดทับที่การรถไฟฯ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19:35 น.

รฟท. ลุยเตรียมเอกสารยื่นฟ้องกรมที่ดิน “คดีเขากระโดง” หลังออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของการรถไฟฯ ย้ำหากยังไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดิน ฟ้องศาลปกครองกลางแน่


นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องข้อพิพาทที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่า รฟท. ได้ดำเนินการเรื่องที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักความถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความเป็นธรรม และปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อประชาชน รักษาผลประโยชน์ต่อองค์กร และประเทศชาติ

นายเอกรัช กล่าวต่อว่า ขณะนี้ รฟท. อยู่ระหว่างเตรียมยื่นฟ้องคดีการออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของ รฟท. ในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ต่อศาลปกครองกลาง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 ซึ่งเวลานี้ รฟท. กำลังจัดเตรียมเอกสารต่างๆ หากกรมที่ดินยืนยันที่จะไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าว ก็จะจัดทำคำฟ้องคดีปกครองยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อพิจารณาต่อไป

นายเอกรัช กล่าวด้วยว่า กรมที่ดิน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินงานออกหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้ราษฎร และให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อได้รับทราบความตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842–876/2560 ลงวันที่ 16 ก.พ.60 และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 ลงวันที่ 22 พ.ย.61 ว่าเป็นที่ยุติแล้วว่า ที่ดินในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดง เป็นที่ดินของ รฟท. ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินย่อมต้องทราบถึงการมีอยู่ของที่ดินรถไฟหลวงดังกล่าว และใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบกฎหมาย รวมถึงขอบเขตของที่ดินในพื้นที่ทางแยกบริเวณเขากระโดงดังกล่าวก่อนที่จะทำการออกโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน.


การรถไฟฯ ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องข้อพิพาทที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยยึดหลักถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยยึดถือความเป็นธรรมต่อพี่น้องประชาชนในภาพรวม
และรักษาผลประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติ
***********
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4592057220841187
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2021 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

รฟท. เตรียมยื่นฟ้องกรมที่ดิน “คดีเขากระโดง” ออกโฉนดทับที่การรถไฟฯ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 19:35 น.


Arrow https://www.bangkokbiznews.com/business/970723

รฟท.จ่อฟ้องศาลปกครอง ’ยึดคืน’ ที่ดินเขากระโดง | กรุงเทพธุรกิจ BIZ INSIGHT | 09 พ.ย. 2564
Nov 9, 2021
กรุงเทพธุรกิจ

ความคืบหน้าข้อพิพาทที่ดินบริเวณเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดินเพื่อให้ดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกทับซ้อนที่ดินของ รฟท. ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ภายใน 90 วัน ภายหลังจากมีคำพิพากษาศาลฎีกา


https://www.youtube.com/watch?v=zptYRehMUT8


-------------


บิ๊กทุนยึดที่ดินริมเจ้าพระยา 11 โปรเจ็กต์ 7.3 หมื่นล้าน
หน้าแรก อสังหาริมทรัพย์ ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 26 พ.ย. 2564 เวลา 13:48 น.

ทำเลโค้งน้ำเจ้าพระยา เดือด ทุนยักษ์แห่ขยายอาณาจักร สร้างจุดขายอาคารอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ AWC ใต้ปีกเจ้าสัวเจริญ มีที่ดินในมือมากสุด พลิก“ล้ง 1919” ตระกูลหวั่งหลี อายุ 200 ปี แลนด์มาร์คสุขภาพ เขย่าไอคอนสยาม รถไฟ-ธนารักษ์ลุยประมูล คาด พรึบ11 โปรเจ็กต์ 7.3 หมื่นล้าน

ทำเลริมแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดแรงกระเพื่อมอีกครั้ง เมื่อบริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (AWC) บริษัทในกลุ่มทีซีซี.ใต้ร่มเงาเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ประกาศขยายอาณาจักร สร้างแลนด์มาร์คสุขภาพจุดหมายปลายทางย่านคลองสานฝั่งธนบุรี บนที่ดินเช่าเนื้อที่ 8ไร่ “ล้ง 1919” คฤหาสน์จีนของตระกูลหวั่งหลี

ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์บรรพบุรษจีนมากว่า 200 ปี หรือในยุคสมัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่มีมูลค่า 3,436 ล้านบาท คาดหมายว่าอีกไม่เกิน 5 ปีนับจากนี่จะเปิดให้บริการประเมินว่าอนาคตจะมีโครงการใหม่เกิดขึ้นริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ไม่ตํ่ากว่า 11 โครงการ มูลค่า 7.3 หมื่นล้านบาท

ชนเจ้าถิ่นย่านคลองสาน

การขยับ เข้ามายังย่านคลองสานของ AWC อาจกลายเป็นตัวเร่งให้เจ้าถิ่น อย่างกลุ่มสยามพิวรรธน์ และพันธมิตรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ผู้พัฒนาห้างยักษ์ อย่างไอคอนสยาม มูลค่า 55,000 ล้านบาท จุดหมายปลายทางนักท่องเที่ยวทั่วโลก ปรับทีเด็ด ให้มีสีสัน อย่างการวางแผนพัฒนาหอคอยชมวิว และตามด้วยการลงทุนโครงการเฟสใหม่ตอกยํ้าความยิ่งใหญ่ แต่เนื่องจากระยะนี้อยู่ในช่วงสถานการโควิด-19 เข้าใจว่าจะรอดูท่าทีอีกระยะ

นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ถือเป็นการยกระดับมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ที่ตระกูลหวั่งหลีให้ความไว้วางใจร่วมสร้างคุณค่าพัฒนาสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวด้านสุขภาพระดับโลก เชื่อมโยงกับโครงการอื่นของ AWC ซึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสอดคล้องกับแนวคิด The River Journey ประสบการณ์ท่องเที่ยวริมน้ำที่สำคัญของไทย”

Click on the image for full size

เชื่อมวังค้างคาว 100 ปี

การเดินทางมายัง ล้ง 1919 หรือ ฮับสุขภาพในอนาคต สามารถเดินทางมาทางเรือฟรี ที่รับส่ง จาก ท่าเรือสี่พระยา มาลงที่ท่าเรือหวั่งหลี ทั้งนี้ ในทำเลย่านคลองสาน ใกล้กับล้ง 1919 มีโบราณสถานเก่าแก่ วังค้างคาว หรือบ้านพระยาประเสริฐวานิช ที่กรมธนารักษ์นำออกประมูล และเปิดซองเมื่อเดือนกันยายน ที่ผ่านมา แม้เนื้อที่จะไม่มาก แต่ใครได้ที่ดินไปสามารถใช้เป็นจุดขายที่ดีได้ เพราะมีอายุกว่า 100 ปี

ลุยตลาดคลองสาน-สถานีธนบุรี

เช่นเดียวกับ ที่ดินตลาด คลองสานพลาซ่า เนื้อที่ 5 ไร่ใกล้ท่าเรือสี่พระยา นายอำนวย ปรีมนวงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทเอสอาร์ทีแอสเสท จำกัด (SRTA) บริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ภายในปี 2565 เตรียมนำที่ดินบริเวณดังกล่าวออกประมูลให้เอกชนเช่า พัฒนาเชิงพาณิชย์เนื่องจากทำเลมีศักยภาพติดแม่น้ำเจ้าพระยา โอบล้อมไปด้วย โรงแรมระดับ 5-6 ดาวตึกสูงใหญ่

ห้างยักษ์อย่างไอคอนสยาม รถไฟฟ้าสายสีทองเชื่อมการเดินทางราคาที่ดินค่อนข้างสูงสำหรับรูปแบบพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม 3 ดาว มั่นใจว่านักลงทุนรายใหญ่จะให้ความสนใจ นอกจากนี้ แปลงที่ดินย่านสถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีบางกอกน้อย บริเวณด้านหน้าของสถานีฯ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแปลงนำร่องจะเป็นบ้านพักพนักงานรถไฟ เนื้อที่ 21 ไร่ พัฒนาเป็นศูนย์สุขภาพ ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช และเอกชน

เจ้าพระยาแม่เหล็กดูดลงทุน

สอดรับกับนายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาที่ดินของรัฐ ประเมินว่า ที่ดินรถไฟตลาดคลองสานมีศักยภาพราคาที่ดิน 4-5 แสนบาทต่อตารางวา หากพัฒนาราคาจะขยับสูงได้อีก เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ไอคอนสยาม

รถไฟฟ้าสายสีทองที่ปัจจุบันที่ดินรัศมีรอบห้างยักษ์ดังกล่าวขยับไปที่กว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวา ที่สำคัญแม่น้ำเจ้าพระยา ยังเป็น ทำเลที่มียุทธศาสตร์สำคัญที่นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจ โดยเฉพาะนักลงทุนจีน-ฮ่องกง ที่กำลังมองหาที่ดินริมแม่น้ำพัฒนาโครงการหรู และดึงชาติเดียวกันเข้าซื้อโครงการ รวมทั้งบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ของไทยเช่นเดียวกับ ที่ดินย่านสถานีรถไฟธนบุรี

ฝั่งเจริญกรุงสุดรุ่ง

ข้ามมายังฝั่งพระนคร บนถนนเจริญกรุง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินราคาตารางไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อตาราง ของ AWC เวิ้งนาครเขษม บนเนื้อที่ 14 ไร่เศษที่มีแผนเนรมิต เป็นโรงแรมหรู ย่านช็อปปิ้งทันสมัย ผสมผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมกรุงเก่าไชน่าทาวน์ ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569-2570

อีกแปลงที่วางแผนพัฒนา 4 เฟส บนที่ดิน 100 ไร่ของเจ้าสัวเจริญนั่นคือ โครง การเอเชียทีคเดอะริเวอร์ฟร้อนท์ ตั้งอยู่บนที่ดินเอเชียทีค มูลค่า 30,000 ล้านบาท ที่จะสร้างปรากฎการณ์ โรงแรมทั้งหรูและสูงที่สุดในไทย ที่จะสร้างมูลค่าบนที่ดินราคากว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวา

บีทีเอสกรุ๊ป ผุดโรงแรม 5 ดาว

ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันทรงคุณค่า ที่กรมธนารักษ์ ร่วมลงทุนกับ บริษัทยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ U กำลังพัฒนาโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว สร้างจุดขายอาคารอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์ ที่มีอายุกว่า 130 ปี ซึ่งมีเป้าหมายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวในปี 2568 ที่จะพร้อมเปิดให้บริการเช่นเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 178, 179, 180 ... 197, 198, 199  Next
Page 179 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©