Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180321
ทั้งหมด:13491555
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 179, 180, 181 ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2021 7:13 am    Post subject: Reply with quote

โรงพักสินค้าหนองคาย ไร้เงาเอกชนชิงประมูล
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Tuesday, December 07, 2021 04:16

กรุงเทพธุรกิจ ร.ฟ.ท.เผยโควิดทำพิษ ไร้เงาเอกชนยื่นข้อเสนอประมูล เช่าพื้นที่ ปั้นโรงพักสินค้าสถานีหนองคาย 4 แปลง 80 ไร่หันปรับลานยกขนสินค้า รับดีมานด์รถไฟลาว - จีน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้งความคืบหน้า การพัฒนาบริเวณสถานีรถไฟ หนองคาย โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ตามศักยภาพในการ ทำโรงพักสินค้าที่สถานีหนองคาย หลังจากที่เปิดขายซองข้อเสนอโครงการดังกล่าว และพบว่ามีเอกชนสนใจซื้อซอง 2 ราย แต่เมื่อถึงกำหนดให้ยื่นข้อเสนอกลับพบว่าไม่มีเอกชนเข้ามายื่นข้อเสนอราคา

อย่างไรก็ดี ร.ฟ.ท.ประเมินว่า สาเหตุที่เอกชนไม่ยื่นข้อเสนอ อาจเป็น เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงระบาดต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณขนส่งสินค้าอาจจะ ยังไม่คุ้มทุน เพราะปัจจุบันสถานีรถไฟ หนองคายยังมีปริมาณขนส่งสินค้าไม่มากนัก อีกทั้งในช่วงเกิดโควิด-19 ปริมาณสินค้า และสปป.ลาวปิดประเทศ ทำให้ปริมาณการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศลดน้อยลงมาก ทั้งนี้ คงต้องดูอีกสักระยะว่าจะมีเอกชนรายใดมีความต้องการพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ หากมีความต้องการ ร.ฟ.ท.ก็จะเปิดให้เสนอราคาค่าเช่าพื้นที่อีกครั้ง

ขณะเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีเอกชนรายใดมายื่นเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ ยืนยันว่าไม่ได้ส่งผลกระทบ เพราะปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวใช้เป็นย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ขนถ่ายสินค้าอยู่แล้ว อีกทั้ง ร.ฟ.ท. ได้เตรียมดำเนินการ ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้า (โรยหินคลุกและบดอัดความหนา 10 เซนติเมตร) เพื่ออำนวยความสะดวก ให้ผู้ที่จะมาใช้งาน รับปริมาณ การขนส่งสินค้าที่จะเพิ่มเข้ามาจากการเปิดเดินรถไฟลาว-จีน เบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.2565

สำหรับการประกาศเชิญชวน เสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ตามศักยภาพในการทำโรงพักสินค้า ที่สถานีหนองคายในครั้งนี้ มีกำหนดให้เช่าระยะ 3 ปี รวมพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 แปลง มีราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 2.75 บาทต่อ ตารางเมตร (ตร.ม.) ซึ่งการเสนอราคา แต่ละแปลงจะแยกจากกัน โดย ผู้เสนอราคาแต่ละราย สามารถเสนอราคาแปลงใดแปลงหนึ่งได้เพียง 1 แปลงเท่านั้น

โดยการพัฒนาบริเวณสถานีรถไฟ หนองคาย ถือเป็นการพัฒนาใน ระยะเร่งด่วน เพื่อรองรับการ ขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จากปัจจุบัน ร.ฟ.ท. เปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้า ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง(สปป.ลาว) โดยจะมีการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง ให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง ส่วนอีก 1 แปลงจะใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยรองรับ การเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีน

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2021 10:28 am    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านสุดทน! ถุงยางอนามัยใช้แล้วทิ้งเกลื่อนลานสถานีรถไฟพัทยา แฉเคยเห็นรถหรูมาจอด
วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.56 น.


7 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบถุงยางอนามัยใช้แล้วจำนวนมาก ถูกทิ้งไว้เกลื่อนพื้นใกล้เคียงกับ ลานเอนกประสงค์สถานีรถไฟพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี สร้างความหวั่นวิตกให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าวเป็นอย่างมาก เพราะเกรงว่าจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อของโรคติดต่อร้ายแรง รวมถึงเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นเส้นทางการคมนาคมที่ต้องมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปมาโดยใช้บริการของสถานีรถไฟอีกด้วย

เมื่อเดินทางไปตรวจสอบ ในจุดที่ชาวบ้านแจ้ง ก็พบกระดาษชำระ ซองถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยที่ใช้แล้วมากกว่าร้อยชิ้น ทิ้งกระจัดกระจายเกลื่อนพื้น และบนกองหมอนรถไฟที่ทำด้วยคอนกรีต ซึ่งวางเรียงรายกว่าพันท่อน ทำให้เป็นจุดอับสายตา รวมถึงบนรางรถไฟ ส่งกลิ่นเหม็น มีแมลงวันตอม สร้างความน่าสะอิดสะเอียนให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก


สอบถามชาวบ้าน ทราบว่า ในช่วงเวลาเช้ามืด ตนเองมาออกกำลังกาย สังเกตเห็นกลุ่มชายรักชาย จะขับรถยนต์หรูมาจอดบริเวณลานอเนกประสงค์ แล้วลงมานั่งมั่วสุมกัน แต่ไม่เคยเห็นขณะทำกิจกรรมทางเพศ ส่วนวัยรุ่นหนุ่มสาวนั้นไม่ค่อยพบเห็น จึงไม่รู้ว่าเศษถุงยางที่ใช้แล้วนั้นเป็นของใคร

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความเสื่อมโทรมของมนุษย์ ซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายภาพลักษณ์ของเมืองท่องเที่ยว รวมถึงอาจเป็นแหล่งมั่วสุมที่อยู่ใกล้เคียงกับสถานศึกษา และการคมนาคม ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าเข้มงวด ตรวจสอบแก้ไข รวมถึงจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี เพื่อกู้ภาพลักษณ์หลังเปิดเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2021 11:16 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชาวบ้านสุดทน! ถุงยางอนามัยใช้แล้วทิ้งเกลื่อนลานสถานีรถไฟพัทยา แฉเคยเห็นรถหรูมาจอด
วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.56 น.

ผกก.สภ.บางละมุงสั่งตรวจเข้มพื้นที่ข้างสถานีรถไฟเมืองพัทยา หลังวัยรุ่นรวมตัวมั่วสุมเสพกาม
เผยแพร่: 8 ธ.ค. 2564 09:25 ปรับปรุง: 8 ธ.ค. 2564 09:25 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

Click on the image for full size

ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผกก.สภ.บางละมุง สั่งการเจ้าหน้าที่ตรวจเข้มพื้นที่ข้างสถานีรถไฟเมืองพัทยา หลังชาวบ้านร้องวัยรุ่นใช้เป็นแหล่งมั่วสุมรวมตัวเสพกาม ซ้ำทิ้งถุงยางนับ 100 ชิ้นให้ดูต่างหน้า

จากกรณีมีชาวบ้านร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบบริเวณด้านหลังกองแท่งคอนกรีตหมอนรางรถไฟ ซึ่งอยู่ใกล้กับลานอเนกประสงค์สถานีรถไฟพัทยา ต.หนองปรือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังมักมีวัยรุ่นรวมตัวมั่วสุม และยังพบว่ามีถุงยางอนามัยที่ใช้แล้วถูกทิ้งเกลื่อนนับ 100 ชิ้น จนวิตกว่าจะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

รวมทั้งยังเป็นการทำลายภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางคมนาคมที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการยังสถานีรถไฟแห่งนี้เป็นจำนวนมากนั้น

ล่าสุด พ.ต.อ.นาวิน สินธุรัตน์ ผกก.สภ.บางละมุง จ.ชลบุรี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจเพิ่มความเข้มงวดด้วยการนำกำลังตรวจสอบบริเวณลานอเนกประสงค์สถานีรถไฟพัทยา เพื่อป้องกันการแอบลักลอบมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่แล้ว

ส่วนบริเวณที่มีการทิ้งถุงยางอนามัยจำนวนมากนั้น ขณะนี้ยังไม่พบตัวผู้กระทำผิด ซึ่งหลังจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้มงวดกวดขันให้มากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันการก่อเหตุร้ายในจุดเสี่ยง จุดล่อแหลม

อย่างไรก็ดี ผู้สื่อข่างรายงานเพิ่มเติมว่าบริเวณดังกล่าวยังเป็นพื้นที่สำหรับออกกำลังกายของประชาชนในช่วงเย็นและหัวค่ำอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2021 1:43 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะทำเลที่ดินรถไฟ “ตลาดคลองสาน “สู่โรงแรมลักชัวรี ริมเจ้าพระยา
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันพุธ ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:13 น.

เปิดทำเลที่ดินรถไฟริมน้ำเจ้าพระยา “ตลาดคลองสาน” ปั้นโรงแรมหรูใจกลางเมือง ดึงต่างชาติร่วมลงทุน คาดโกยรายได้คืนทุน 10ปี แตะ 325 ล้าน

ที่ผ่านมามีโครงการอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจขนาดใหญ่เกิดขึ้นจำนวนมากบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นทำเลที่มีศักยภาพสูง เพราะสามารถใช้เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเข้าพื้นที่ ขณะแปลงที่ดินค่อนข้างหายากมักตกอยู่ในมือของนายทุนรายใหญ่เกือบทั้งหมดแล้ว







บิ๊กทุนจ้อง

ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีแผนนำที่ดิน5ไร่บริเวณตลาดคลองสาน ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนเจริญนครออกประมูล สร้างรายได้ ขณะศักยภาพของแปลงที่ดิน สามารถเชื่อมต่อกับฝั่งพระนครด้วยท่าเรือข้ามฝากระหว่างท่าเรือคลองสานกับท่าเรือสี่พระยา รายล้อมด้วยโรงแรมระดับ 5 ดาว ซึ่งถือเป็นจุดขายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีทอง ทำให้ผู้เดินทางได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งมีเส้นทางทางเรือเป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ใกล้บริเวณศูนย์การค้าไอคอนสยาม จึงเหมาะพัฒนาเป็นโรงแรมหรู-มิกซ์ยูส ส่งเสริมให้ทำเลในย่านนี้คึกคักและเชื่อว่ามีนายทุนหลายรายจับตามอง







จากตลาดสู่โรงแรมหรู

ปัจจุบัน พื้นที่ตลาดคลองสานพลาซ่า จำนวน 36 คูหา พร้อมกับสัญญาเช่าท่าเรือคลองสาน ผู้เช่าจะคืนพื้นที่ภายใน 31 ธันวาคม 2564 รฟท.จึงได้ดำเนินการจ้างบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสานต่อไปจากการประเมินมูลค่าที่ดินพบว่ามูลค่าตลาดของที่ดินในโครงการฯ พื้นที่ 5 ไร่ หรือ 2,000 ตารางวา มีมูลค่าตลาดที่เหมาะสม อยู่ที่ 450,000 บาทต่อตารางวา รวมเป็นเงิน 900 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาเปรียบเทียบการซื้อขายที่ดินในบริเวณใกล้เคียง



นายปรัชญา บุษยพันธ์ ผู้จัดการโครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณตลาดคลองสาน เปิดเผยว่า สำหรับการพัฒนาโครงการฯ นี้เป็นโครงการในรูปแบบโรงแรมระดับกลาง 3 ดาว พื้นที่ก่อสร้าง 21,647 ตารางเมตร มีห้องพัก 270 ห้อง ที่จอดรถรวม 144 คัน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเยี่ยมชมวิถีของชุมชนริมน้ำที่เก่าแก่ของย่านคลองสาน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเป็นคู่แข่งกับโรงแรมในรูปแบบลักชัวรี หลังจากจัดทำมาร์เก็ตซาวดิ้งแล้ว หลังจากนั้นรฟท.จะเปิดประมูลโดยให้เอกชนยื่นซองประมูลที่ดินแปลงฯ นี้ ในปี 2565 ระยะเวลาเช่า 30 ปี และจะเริ่มก่อสร้างโครงการฯ ภายในปี 2566 ระยะเวลา 3 ปี และเปิดให้บริการปี 2569







10ปีคืนทุน

ขณะที่ผลตอบแทนด้านการเงินและการลงทุนของโครงการฯ จากการวิเคราะห์พบว่า โครงการฯ มีค่าก่อสร้าง วงเงิน 839 ล้านบาท ระยะเวลาเช่า 30 ปี โดยรฟท.จะได้รับผลตอบแทน 325 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่นักลงทุนต้องชำระค่าเช่าให้แก่รฟท. อัตราผลตอบแทนโครงการ (IRR) อยู่ที่ 13.49 ระยะเวลาคืนทุน ปีที่ 10 ของการดำเนินกิจการ ด้วยวิธีการเปิดประมูลเสนอราคาตามระเบียบการรถไฟฯ โดยไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เนื่องจากไม่เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อการบริการสาธารณะ







ปี 2565 รฟท. ส่งมอบโครงการฯ ให้กับบริษัท เอสอาร์ที เอสเสท จำกัด (บริษัทลูก) รับไปดำเนินการการเปิดประมูลหาเอกชนดำเนินการ ขณะที่การประมาณการรายได้กระแสเงินสดของโรงแรม จำนวน 270 ห้อง เฉลี่ย 1,650 บาทต่อห้องต่อคืน และอัตราการเข้าพัก ดังนี้ ปีที่ 1 อยู่ที่ 60% ณ วันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการ ปีที่ 2 อยู่ที่ 70% ปีที่ 3 อยู่ที่ 75% ปีที่ 4 เป็นต้นไป อยู่ที่ 80% ส่วนการประมาณการรายได้รีเทล พื้นที่รวม 2,155 ตารางเมตร โดยรายได้จากพื้นที่เช่า ดังนี้ ปีที่ 1 อยู่ที่ 75% ปีที่ 2 อยู่ที่ 85% ปีที่ 3 อยู่ที่ 90% และปีที่ 4 เป็นต้นไปอยู่ที่ 95%


สำหรับรูปแบบการออกแบบอาคารของโครงการฯ รวมทั้งหมด 5 อาคาร ประกอบด้วย 1.อาคารโรงแรม มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 8 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ห้องพักชั้น 2-8 ที่จอดรถชั้น 1 และชั้นใต้ดิน พื้นที่ 6,915 ตารางเมตร 2.อาคารโรงแรม มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 8 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น ห้องพักชั้น 2-8 ที่จอดรถชั้น 1 และชั้นใต้ดิน พื้นที่ 9,905 ตารางเมตร 3.รีเทล สูง 3 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ร้านค้า 3 ชั้น พื้นที่ 915 ตารางเมตร 4.รีเทล สูง 3 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นที่ร้านค้า ชั้น2-3 ที่จอดรถ ชั้น 1 พื้นที่ 1,432 ตารางเมตร 5.รีเทล สูง 5 ชั้น อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ร้าค้าและร้านอาหาร พื้นที่ 2,000 ตารางเมตร มีลานกิจกรรมบริเวณด้านข้างพื้นที่ร้านค้าและร้านอาหาร พื้นที่ 400 ตารางเมตร



เจาะทำเลที่ดินรถไฟ “ตลาดคลองสาน “สู่โรงแรมลักชัวรี ริมเจ้าพระยา





โครงการใหญ่ในระแวก

ทั้งนี้ในอนาคตยังมีการพัฒนาโครงการพื้นที่ย่านคลองสาน ทั้งหมด 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการ ICS Tower ซึ่งเป็นโครงการส่วนต่อขยายของศูนย์การค้าไอคอนสยาม ระยะที่ 2 พื้นที่ 5 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามศูนย์การค้าไอคอนสยาม คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดให้บริการได้ภายในปี 2565 2.โครงการศูนย์ราชการมหาดไทย เป็นอาคารสำนักงานจำนวน 1 อาคาร 6 ทาวเวอร์ ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น เนื้อที่ 18-0-17 ไร่ติดถนนเจริญนคร พื้นที่ก่อสร้างรวม 226,000 ตารางเมตร มูลค่าการก่อสร้าง 5,574 ล้านบาท โดยบริษัทเพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง 3.โครงการโรงภาษีร้อยชักสาม เป็นโครงการที่พัฒนาเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาว ลักชัวรีประกอบด้วย ห้องพัก ร้านอาหาร ห้องจัดเลี้ยง และห้องประชุมสัมมนา เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านบางรักและริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเน้นจุดขายด้านการอนุรักษ์อาคารประวัติศาสตร์อายุ 130 ปี พื้นที่ใช้สอย 13,600 ตารางเมตร งบประมาณ 3,000 ล้านบาท คาดว่าโครงการเปิดให้บริการปี 2568และ4 บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ของทายาทเจ้าจัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ประกาศเช่าล้ง1919 ของบริษัท หวั่งหลี จำกัด ย่านคลองสานใกล้ไอคอนสยาม สร้างจุดหมายปลายทางที่สำคัญของคนรักสุขภาพ ดึงดูดนักท่องเที่ยวด้านสุขภาพจำนวนมากจากทั่วโลก บริหารโครงการโดย “เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน โฮเทล คอมพานี” ให้บริการโรงแรมหรู 86 ห้องพัก เรสซิเดนซ์หรู 56 ยูนิต และบริการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เจาะนักท่องเที่ยวกลุ่มลักซ์ชัวรี่ เตรียมเปิดบริการครบวงจรปี 2569








หากโครงการในพื้นที่ย่านคลองสาน ของรฟท.สามารถดำเนินการได้ตามแผนจะเป็นอีกทำเลที่ช่วยให้การท่องเที่ยวริมแม่น้ำเจ้าพระยากลับมามีสีสันขึ้นอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2021 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โรงพักสินค้าหนองคาย ไร้เงาเอกชนชิงประมูล
Source - กรุงเทพธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 04:16


เงียบกริบ เปิดสาเหตุเอกชนเมินประมูล พื้นที่สถานีรถไฟหนองคาย 80 ไร่
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันอังคาร ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:51 น.

รฟท.เผยเอกชนไม่มายื่นประมูลเช่าสถานีรถไฟหนองคาย 80 ไร่ สร้างโรงพักสินค้า คาดโควิด-19 พ่นพิษหนัก เล็งปรับปรุงลานยกขนสินค้า คาดแล้วเสร็จ ก.พ.65

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพัฒนาบริเวณสถานีรถไฟหนองคาย จ.หนองคายว่า ปัจจุบัน รฟท. ได้ประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์ตามศักยภาพในการทำโรงพักสินค้าที่สถานีหนองคาย รวมพื้นที่ประมาณ 80 ไร่เป็นการชั่วคราวแล้ว มีราคาขั้นต่ำอยู่ที่ 2.75 บาทต่อตารางเมตร (ตร.ม.) กำหนด 3 ปี แบ่งพื้นที่เป็น 4 แปลง ซึ่งการเสนอราคาแต่ละแปลงจะแยกจากกัน โดยผู้เสนอราคาแต่ละราย สามารถเสนอราคาแปลงใดแปลงหนึ่งได้เพียง 1 แปลงเท่านั้น ที่ผ่านมาจากการเปิดจำหน่ายซองเสนอราคา พบว่า มีเอกชนสนใจซื้อซองจำนวน 2 ราย แต่เมื่อถึงกำหนดให้ยื่นซองเสนอราคา เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันกลับไม่มีเอกชนรายใดมายื่นซองเสนอราคา









“สาเหตุส่วนหนึ่งที่ไม่มีเอกชนมายื่นซองเสนอราคานั้น คาดว่าเป็นเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงระบาดต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณขนส่งสินค้าอาจจะยังไม่คุ้มทุน เพราะปัจจุบันสถานีรถไฟหนองคายยังมีปริมาณขนส่งสินค้าไม่มากนัก โดยเฉพาะในช่วงเกิดโควิด-19 ปริมาณสินค้า และประเทศลาวปิดประเทศ ทำให้ปริมาณการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศลดน้อยลงมาก อย่างไรก็ตามหลังจากนี้คงต้องดูอีกสักระยะว่าจะมีเอกชนรายใดมีความต้องการพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ หากมีก็จะเปิดให้เสนอราคาค่าเช่าพื้นที่อีกครั้ง”





รายงานข่าวจาก รฟท. กล่าวต่อว่า กรณีที่ไม่มีเอกชนรายใดมายื่นเสนอราคาค่าเช่าพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ รฟท. แต่อย่างใด เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวใช้เป็นย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard : CY) ขนถ่ายสินค้า เบื้องต้น รฟท. ได้เตรียมดำเนินการปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้า (โรยหินคลุกและบดอัดความหนา 10 เซนติเมตร) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่จะมาใช้งานด้วย คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.65






ส่วนการพัฒนาบริเวณสถานีรถไฟหนองคาย เป็นการพัฒนาในระยะเร่งด่วน เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ซึ่งปัจจุบัน รฟท. เปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้า ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง(สปป.ลาว) ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง ส่วนอีก 1 แปลงจะใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งนี้หากทั้ง 4 แปลงมีเอกชนเข้ามาดำเนินการบริหารจัดการพื้นที่ จะช่วยเพิ่มและพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟให้มีประสิทธิภาพ และมาตรฐานสากล รวมทั้งทำให้เพิ่มปริมาณการขนส่งทางรถไฟ รองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟระหว่างประเทศไทย-ลาว-จีนด้วย





ทั้งนี้การพัฒนาในระยะยาวนั้น ปัจจุบันรฟท. อยู่ระหว่างการพิจารณาพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ พร้อมทั้งเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดยจะพัฒนาเป็นศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) และ CY ปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างของบประมาณ เพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จ.หนองคาย ตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะสามารถคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนแล้วเสร็จใน 2 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2021 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

Royal City Avenue หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า RCA
ในปีหน้า คือปี 2565 จะครบกำหนดสิ้นสุดสัญญา 30 ปี
ที่กลุ่มบริษัทจำกัดนารายณ์ร่วมพิพัฒน์ ในกลุ่มธนาคารกรุงเทพ
ทำกับเจ้าของที่ดินเดิมคือการรถไฟแห่งประเทศไทย
ร้านแรกๆ ที่มาเปิดที่นี่คือ Brown Sugar จากซอยหลังสวน
หลังจากนั้นก็มีมาเปิดตามๆ กันคือ Detail, Baby, Hang, Grappa และ Orgy
ต่อจากนั้นก็จะมีร้าน X Symbol กับร้าน School Bus และร้าน Baby Hang
นอกจากนี้บรรดาดาราและนักร้องก็นิยมมาเปิดร้านที่นี่อีกมาก เช่น
Detail ของ โชคชัย เจริญสุข (มาก่อนใคร)
Baby Hang ของ พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร กับแจ๊ค ไอเฟล
Grappa ของ ยู่ยี่ อลิสา อินทุสมิทธิ์
Orgy ของ ต้าร ดร.คิดส์
Dinette ของ พี่เจี๊ยบ กาญจนาพร ปลอดภัย
E-Ba ของ วรวิทย์ นัยสำราญ
Shooter ของ ชุดาภา จันทเขตต์ กับรัญญา ศิยานนท์
Devine ของ ลูกเกด เฮเลน จ๋า ญาสุมินทร์ และปู ปริศนา
อะไรก็ได้ ของ วิชชุดา พินดัม กับคลาวเดีย จักรพันธุ์
Barcode ของ เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
Spin ของ ทูน หิรัญทรัพย์
Contrast ของ ต๋อย ไฮแจ๊ค
ชมรมชมจันทร์ ของ ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง
ตอแหล ของ บดินทร์ ดุ๊ก
Casper's Palace ของ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
นอกจากนั้นยังมีร้านอาหาร Cool Tango ของแป๊ะ บราวน์ ชูการ์
บ้านหนังไทย ของเสกสรรค์ ชัยเจริญ
Metropolis ของ มาเรีย เกตุเลขา
Crime Zone ของ วินิจ เลิศรัตนชัย
ร้านจั่นเจา ของ เศรษฐา ศิระฉายา
รูปข้อมูลจากนิตยสารแอล ไทยแลนด์ ฉบับเดือนมีนาคม 2539
***รายชื่อนี้คือเมื่อปี 2539 ซึ่งยังไม่ครบแน่นอน
เพราะที่นี่บูมมากหลายปี ที่แน่ๆ คือร้าน รูท 66 ที่ตกสำรวจไป
ที่คนคำนวนว่าที่นี่น่าจะมีผับประมาณ 80 ร้านเป็นอย่างต่ำ
ช่วงบูม มีร้านเปิดใหม่ทุกวัน บางวันเปิดใหม่ทีละหลายๆ ร้าน
ปัจจุบันร้านที่เหลืออยู่คือ โอลด์เล้ง กับ รูท 66 แค่สองร้าน

https://www.facebook.com/groups/weloveoldphoto/posts/3019607025035463/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2021 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

บขส.เปิดแผนย้าย ยกเครื่อง ”สถานีขนส่ง” หมอชิต รังสิต เอกมัย สายใต้
วันที่ 12 ธันวาคม 2564 - 14:36 น.

นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ภายในกลางปี 2565 บขส.ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯหรือสถานีหมอชิตใหม่ ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชรให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ประมาณ 14 ไร่ ทำให้เหลือพื้นที่ 50 กว่าไร่ มีแผนจะทำเป็น “เซฟตี้โซน” พร้อมปรับปรุงพื้นที่ภายในสถานีใหม่ ให้โมเดิร์นและสอดรับกับพื้นที่ในปัจจุบัน หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนรถโดยสารมาใช้บริการน้อยลง ตอนนี้มีรถโดยสารขนาดใหญ่บางเส้นทางและรถตู้โดยสารบอกเลิกสัญญาไปประมาณ 30%

สำหรับแผนการย้ายสถานีไปยังสถานีหมอชิตเก่าอยู่ติดสถานีบีทีเอสหมอชิตนั้น ในเบื้องต้นมีข้อสรุปร่วมกับกรมธนารักษ์แล้ว จะย้ายการเดินรถโดยสารขนาดเล็กหรือมินิบัส ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV) วิ่งระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร เข้าใช้บริการพื้นที่สถานีขนส่งอยู่ในโครงการคอมเพล็กซ์ของบริษัท บากกอกเทอร์มินอล จำกัด หรือ BKT ผู้รับสัมปทานพัฒนาโครงการ ซึ่งได้กันพื้นที่ไว้ให้ตามข้อตกแล้วประมาณ 112,000 ตารางเมตร และบขส.ได้ขอสงวนสิทธิ์การใช้พื้นที่ไปแล้ว ส่วนจะย้ายไปเมื่อไหร่นั้นยังตอบไม่ได้

“เมื่อโครงการของBKTแล้วเสร็จ จะทำให้บขส.มีสถานีขนส่ง 2 แห่งในการปล่อยรถจากกรุงเทพฯคือที่หมอชิตใหม่ที่เราจะเช่าที่ดินรถไฟต่อไป เพราะจุดนี้มีความสะดวกในการเดินทางใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางของระบบราง ส่วนอีกแห่งจะอยู่ที่หมอชิตเก่าเป็นจุดปล่อยรถระยะสั้น ตอนนี้เรารอรูปแบบการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนจากBKT”

นายสัญลักข์กล่าวอีกว่า ด้านสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ยังคงอยู่ที่เดิม ส่วนสถานีขนส่งสายใต้เก่าอยู่ตรงปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ตอนนี้เหลือเฉพาะรถตู้ที่มาใช้บริการ อยู่ระหว่างพิจารณาจะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ในระยะยาวเพื่อชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไป

ขณะที่สถานีขนส่งเอกมัย เนื้อที่ 7 ไร่ ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส ในอนาคตจะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้เช่นกัน อยู่ระหว่างทำการศึกษา อาจจะต้องย้ายสถานีขนส่งเอกมัยไปอยู่ที่อื่นแทน ลดปัญหามลพิษจากฝุ่นPM2.5 และนำที่ดินมาประมูลให้เอกชนพัฒนาโครงการ


ล่าสุดมีข้อเสนอจากทางศูนย์แสดงสินค้าไบเทค จะให้พื้นที่เพื่อให้บขส.จอดรถโดยสารได้ จากการลงไปดูพื้นที่ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเหมาะสม ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส การเดินทางสะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2566 หากสำเร็จจะเป็นความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทางไบเทคได้ส่วนแบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการจอดรถ และได้ผู้โดยสาร ทางบขส.ก็ได้พื้นที่จอดรถ รองรับการย้ายสถานีขนส่งเอกมัย

อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาสถานีขนส่งรังสิตเพิ่ม เพื่อรองรับการเดินรถเส้นทางใหม่ โดยอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่ดูแลพื้นที่อีอีซี จะเปิดเส้นทางเดินรถไฟฟ้าจากสถานีขนส่งรังสิตไปยังพื้นที่อีอีซี กำลังทำประมาณการผู้โดยสาร คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2566


“ต้องคิดแผนสร้างรายได้ระยะยาว เพราะเรามีเงินสดเหลืออยู่ในมือประมาณ 1,000 ล้านบาท ใช้ได้อีก 1-2 ปี ตอนนี้จากสถานการณ์โควิดทำให้รายได้เราหายไป 80% และปี 2564 น่าจะเป็นปีแรกที่เราขาดทุนมากที่สุดตั้งแต่ตั้งบขส.มา 91 ปี คาดว่าจะขาดทุนร่วม 1,000 ล้านบาท “

นายสัญลักข์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในปี 2565 บขส.จะรุกธุรกิจขนส่งพัสดุภัณฑ์มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ โดยเตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทบทวนให้บขส.สามารถดำเนินการขนส่งพัสดุภัณฑ์ได้ตามกฎหมาย รองรับตลาดขนส่งสินค้ามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในแผนจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าข้ามภาค เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ เพิ่มการอำนวยความสะดวกให้สามารถรับส่งพัสดุภัณฑ์แบบข้ามภาคได้ โดยจะนำร่องก่อน 4 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น

เนื่องจากมีเส้นทางเชื่อมต่อเมืองสำคัญในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จะช่วยส่งเสริมการขนายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ รวมทั้งเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนนสามารถใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบและส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาคได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2021 12:32 am    Post subject: Reply with quote

ปี65บขส. ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารไปชานเมืองยกแผง
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 9:59 น.

บขส.เปิดแผนย้าย ยกเครื่อง ”สถานีขนส่งบขส.” ไปอยู่ชานเมือง แก้รถติด ลุยสร้าง สถานีขนส่งสายใหม่ ที่รังสิตใหม่เชื่อมโยงอีอีซี โดยรถไฟฟ้า จุดพลุ ขนส่ง “เอกมัย” ไปอยู่บนที่ดินไบเทค บางนาติดBTSสีเขียว หมอชิตใหม่คืนท่ี่ให้รฟท. 14 ไร่ กลับหมอชิตเก่ายังไร้กำหนด



จากปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมืองและหากมีศูนย์กลางเดินทางขนาดใหญ่ อย่างสถานีขนส่งแต่ละภาค ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ตั้งให้บริการ จะเป็นการซ้ำเติมการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้รถติดขัดเป็นเวลานาน



ประกอบกับที่ดินแต่ละแปลงมีศักยภาพสูง อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เหมาะนำออกพัฒนาเชิงพาณิชย์มากกว่า อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ บขส.ประสบความสำเร็จ จากการย้ายสถานีขนส่งสายใต้ไปอยู่พุทธมณฑลสาย1และคาดว่าปี2565 สามารถทยอยย้ายสถานีขนส่งในพื้นที่อื่นๆตามไป






นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส.ระบุว่า ภายกลางปี 2565 บขส.ต้องคืนพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯหรือสถานีหมอชิตใหม่ ตั้งอยู่บริเวณถนนกำแพงเพชรให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ประมาณ 14 ไร่ ทำให้เหลือพื้นที่ 50 กว่าไร่ มีแผนจะทำเป็น “เซฟตี้โซน” พร้อมปรับปรุงพื้นที่ภายในสถานีใหม่ ให้มีความทันสมัยสอดรับกับพื้นที่ในปัจจุบัน หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 มีจำนวนรถโดยสารมาใช้บริการน้อยลง ตอนนี้มีรถโดยสารขนาดใหญ่บางเส้นทางและรถตู้โดยสารบอกเลิกสัญญาไปประมาณ 30%

ปี65บขส. ย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารไปชานเมืองยกแผง

สำหรับแผนการย้ายสถานีไปยังสถานีหมอชิตเก่าอยู่ติดสถานีบีทีเอสหมอชิตนั้น ในเบื้องต้นมีข้อสรุปร่วมกับกรมธนารักษ์แล้ว จะย้ายการเดินรถโดยสารขนาดเล็กหรือมินิบัส ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV) วิ่งระยะทางไม่เกิน 300 กิโลเมตร เข้าใช้บริการพื้นที่สถานีขนส่งอยู่ในโครงการคอมเพล็กซ์ของบริษัท บากกอกเทอร์มินอล จำกัด หรือ BKT ผู้รับสัมปทานพัฒนาโครงการ ซึ่งได้กันพื้นที่ไว้ให้ตามข้อตกแล้วประมาณ 112,000 ตารางเมตร และบขส.ได้ขอสงวนสิทธิ์การใช้พื้นที่ไปแล้ว ส่วนจะย้ายไปเมื่อไหร่นั้นยังตอบไม่ได้


“เมื่อโครงการของBKTแล้วเสร็จ จะทำให้บขส.มีสถานีขนส่ง 2 แห่งในการปล่อยรถจากกรุงเทพฯคือที่หมอชิตใหม่ที่เราจะเช่าที่ดินรถไฟต่อไป เพราะจุดนี้มีความสะดวกในการเดินทางใกล้กับสถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางของระบบราง ส่วนอีกแห่งจะอยู่ที่หมอชิตเก่าเป็นจุดปล่อยรถระยะสั้น ตอนนี้เรารอรูปแบบการพัฒนาโครงการที่ชัดเจนจากBKT”



นายสัญลักข์กล่าวอีกว่า ด้านสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ยังคงอยู่ที่เดิม ส่วนสถานีขนส่งสายใต้เก่าอยู่ตรงปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ตอนนี้เหลือเฉพาะรถตู้ที่มาใช้บริการ อยู่ระหว่างพิจารณาจะนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ในระยะยาวเพื่อชดเชยรายได้ค่าโดยสารที่หายไป



ขณะที่สถานีขนส่งเอกมัย เนื้อที่ 7 ไร่ ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอส ในอนาคตจะนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้เช่นกัน อยู่ระหว่างทำการศึกษา อาจจะต้องย้ายสถานีขนส่งเอกมัยไปอยู่ที่อื่นแทน ลดปัญหามลพิษจากฝุ่นPM2.5 และนำที่ดินมาประมูลให้เอกชนพัฒนาโครงการ



ล่าสุดมีข้อเสนอจากทางศูนย์แสดงสินค้าไบเทค จะให้พื้นที่เพื่อให้บขส.จอดรถโดยสารได้ จากการลงไปดูพื้นที่ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเหมาะสม ใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส การเดินทางสะดวก ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปี 2566



หากสำเร็จจะเป็นความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทางไบเทคได้ส่วนแบ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมการจอดรถ และได้ผู้โดยสาร ทางบขส.ก็ได้พื้นที่จอดรถ รองรับการย้ายสถานีขนส่งเอกมัย



อีกทั้งยังมีแผนจะพัฒนาสถานีขนส่งรังสิตเพิ่ม เพื่อรองรับการเดินรถเส้นทางใหม่ โดยอยู่ระหว่างหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่ดูแลพื้นที่อีอีซี จะเปิดเส้นทางเดินรถไฟฟ้าจากสถานีขนส่งรังสิตไปยังพื้นที่อีอีซี กำลังทำประมาณการผู้โดยสาร คาดว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2566



"ต้องคิดแผนสร้างรายได้ระยะยาว เพราะเรามีเงินสดเหลืออยู่ในมือประมาณ 1,000 ล้านบาท ใช้ได้อีก 1-2 ปี ตอนนี้จากสถานการณ์โควิดทำให้รายได้เราหายไป 80% และปี 2564 น่าจะเป็นปีแรกที่เราขาดทุนมากที่สุดตั้งแต่ตั้งบขส.มา 91 ปี คาดว่าจะขาดทุนร่วม 1,000 ล้านบาท"



นายสัญลักข์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในปี 2565 บขส.จะรุกธุรกิจขนส่งพัสดุภัณฑ์มากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ โดยเตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ทบทวนให้บขส.สามารถดำเนินการขนส่งพัสดุภัณฑ์ได้ตามกฎหมาย รองรับตลาดขนส่งสินค้ามีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในแผนจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าข้ามภาค เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ เพิ่มการอำนวยความสะดวกให้สามารถรับส่งพัสดุภัณฑ์แบบข้ามภาคได้ โดยจะนำร่องก่อน 4 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น



เนื่องจากมีเส้นทางเชื่อมต่อเมืองสำคัญในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จะช่วยส่งเสริมการขนายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ รวมทั้งเส้นทางคมนาคมขนส่งทางถนนสามารถใช้เป็นเส้นทางกระจายสินค้า ลำเลียงวัตถุดิบและส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาคได้
.
https://www.facebook.com/thansettakij/posts/5146146058738241
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2022 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

“สร.รฟท.” จี้หน่วยงานรัฐเร่งเคลียร์ปัญหาออกโฉนดที่ดิน “เขากระโดง”
เดลินิวส์ 27 มกราคม 2565 13:35 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

สร.รฟท. ยื่นหนังสือผู้ตรวจการแผ่นดิน ไล่บี้หน่วยงานรัฐจัดการปัญหาออกเอกสารสิทธิที่ดิน “เขากระโดง” ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชี้เพื่อประโยชน์ของชาติ-รฟท.

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นายสราวุธ สราญวงศ์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เปิดเผยว่า สร.รฟท. ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยขอร้องเรียนให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตาม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีปัญหาการออกเอกสารสิทธิที่ดินบริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนในการดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งสาธารณะสมบัติของแผ่นดินนั้น ยังมิได้เร่งดำเนินการตามที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้ให้คำแนะนำไว้

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า รายงานการไต่สวนข้อเท็จจริง และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อปี 54 มีมติว่า โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 (ถือกรรมสิทธิ์โดย นายชัย ชิดชอบ) และเลขที่ 8564 (ถือกรรมสิทธิ์โดยนางกรุณา ชิดชอบ) เป็นการออกโฉนดในที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นที่หวงห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นการออกโฉนดที่มิชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตามนับแต่มีกรณีพิพาทดังกล่าวเป็นต้นมา สร.รฟท. มิได้นิ่งนอนใจ ได้ช่วย รฟท. ติดตามเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรีบดำเนินการ เพื่อให้ได้มาซึ่งสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมาย

แต่เสมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวข้างต้น ยังมิได้เร่งรัดดำเนินการเท่าที่ควร ซึ่ง สร.รฟท. ไม่มีที่พึ่งทางใดในการปกป้องรักษาทรัพย์สินของ รฟท. จึงขอยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อโปรดช่วยติดตามให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตาม และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 53 ที่ได้บัญญัติไว้โดยเร่งด่วน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ และประชาชนต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2022 10:49 pm    Post subject: Reply with quote

ชูโมเดลชุมชนริมคลองลาดพร้าว - เปรมประชากร แก้ปัญหาที่อยู่อาศัยริมทางรถไฟ
หน้าข่าวทั่วไป
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 11:33 น.

ชูโมเดลชุมชนริมคลองลาดพร้าว-คลองเปรมประชากร ต้นแบบแก้ปัญหาคนจนอยู่อาศัยริมทางรถไฟ มอบพอช. กระทรวงพม. เร่งสางปมสร้างบ้านคนจนพ่วงพัฒนาคุณภาพชีวิต จ่อถกนัดสุดท้าย 31 มค. ก่อนชง ครม.พิจารณาอนุมัติ

เมื่อวันที่ 29 ม.ค.นายสยาม นนท์คำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ในฐานะโฆษก พอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยถึงกรณีน.ส.เฉลิมศรี ระดากูล รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (ผอ.พอช.) เข้าร่วมการประชุมกรรมการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)ที่มีนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายยกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า


การประชุมดังกล่าวมีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับ พอช. สรุปได้ดังนี้กรณีประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ที่ได้รับผลกระทบจาการพัฒนาระบบราง ดังนี้ 1.ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติให้ รฟท. นำมติคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 ก.ย.43 มาเป็นนโยบายและแนวในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยชุมชนผู้มีรายได้น้อยในที่ดินของ รฟท. ทั่วประเทศในลักษณะเดียวกันที่ดำเนินการมาแล้ว





โดย รฟท.ให้ความเห็นอยากให้ยืดยุ่นในเรื่องหากรื้อย้ายไม่เกิน 5 กิโลเมตร และขปส. ให้ความเห็นว่าที่ผ่านมาพื้นที่รองรับใหม่จะมีการหารือกันทั้งสองฝ่าย แต่ในหลักการให้มีมติบอร์ดเป็นกรอบและแนวในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ซึ่งมติในที่ประชุมเห็นด้วย และให้นำเสนอต่อในการประชุมวันที่ 31ม.ค. เพื่อพิจารณาเข้าครม.ต่อไป



2.ให้ครม. มีมติให้ รฟท.ใช้มติอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมเป็นแนวทางการแก้ปัญหาชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ถูกรฟท. ฟ้องร้องหรือดำเนินคดีให้สามารถเช่าที่ดินเดิมที่อาศัยอยู่ในลักษณะสัญญาเช่าที่ดินชั่วคราว ระยะเวลา 1 ปี ในอัตราค่าเช่า 20 บาทต่อตารางเมตรต่อปี หากไม่สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว ให้รฟท. ไปแถลงต่อศาลเพื่อชะลอการดำเนินคดีระหว่างดำเนินการทำสัญญาเช่าชั่วคราว




กรณีคดีสิ้นสุดแล้วให้ รฟท.จัดหาพื้นที่รองรับใกล้เคียงกับชุมชนระหว่างรอที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ โดย รฟท.ให้ความเห็นว่าหากให้เช่าชั่วคราวในที่เดิมที่เป็นคดี และเป็นพื้นที่ต้องส่งมอบพื้นที่ให้ตามสัญญาจะดำเนินการไม่ได้เพราะ รฟท.จะเสียค่าปรับ แต่หากเช่าชั่วคราวนอกพื้นที่ที่จะส่งมอบพื้นที่อันนี้รับได้ ทำได้ และขปส. ให้ความเห็นชาวชุมชนยืนยันว่าไม่ได้ต้องการอาศัยในพื้นที่เดิม เพียงแต่ต้องการระยะเวลาในการเตรียมโยกย้ายไปสร้างที่อยู่อาศัยใหม่


ดังนั้นหากมีที่รองรับชั่วคราวใกล้กับชุมชนเดิมระหว่างรอการโยกย้าย และขอใช้พื้นที่ยังไม่ได้ส่งมอบให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างก็จะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ ซึ่งมติในที่ประชุมก็เห็นด้วย และให้นำเสนอต่อในวันที่ 31ม.ค. เพื่อพิจารณาเข้า ครม.ต่อไป



3.ให้ครม. มีมติให้พอช. กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ดำเนินการเสนอโครงการแก้ไขปัญหาประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจาการพัฒนาระบบรางต่อที่ประชุม ครม.ในระยะต่อไปโดยเร่งด่วน เพื่อเป็นโครงการรองรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ


โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัยโดยเทียบเคียงมติ ครม.กรณีการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองลาดพร้าวและคลองเปรมประชากร ที่ได้รับผลกระทบจาการสร้างเขื่อนริมคลองและการพัฒนาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2559 กล่าวคือ มีการอุดหนุนงบประมาณการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและอุดหนุนที่อยู่อาศัย ครัวเรือนละ 80,000 บาท และงบประมาณช่วยเหลือผู้ได้รับกระทบและเสียโอกาส ครัวเรือนละ 80,000 บาท


เรื่องนี้พอช. ให้ความเห็นในคราวการประชุมอนุกรรมการที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ เมื่อ 27 ธ.ค.64 โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานในที่ประชุม มีผู้บริหารกระทรวงที่เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย นางพัชรี อารยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ นายอนุกูล ปีดแก้ว อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นางอภิญญา ชมภูมาศ รองอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ นาย ปฎิภาณ จุมผา รักษาการผอ.พอข.และผู้แทนเครือข่ายชุมชนที่เป็นอนุกรรมการเข้าร่วมการประชุม


ซึ่งที่ประชุมพิจารณาเห็นว่าเป็นความเดือดร้อนของประชาชนและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนจนในเรื่องนี้ เห็นควรดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว ขณะที่ขปส. ให้ความเห็น ไม่มีความเห็น โดยมติในที่ประชุด เห็นด้วย ให้นำเสนอต่อในวันที่ 31ม.ค. เพื่อพิจารณาเข้า ครม.ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 179, 180, 181 ... 197, 198, 199  Next
Page 180 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©