RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180052
ทั้งหมด:13491284
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 12:44 am    Post subject: คณะนักเรียนอเมริกันมาเที่ยวกรุงสยาม นวาคม 2469 Reply with quote

วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2469

วานนี้ที่ 4 ธันวาคม คณะนักเรียนอเมริกันหญิงชาย 560 คน และ ศาสตราจารย์ผู้ควบคุม จากมหาวิทยาลัยท่องเที่ยวแห่งกรุงนิวยอร์ก ได้เดินทางเข้าประเทศสยามด้วยเรือริดัน โดยมาถึงปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อ 7.00 ก.ท.เศษ (0700) กระทรวงทหารเรือ ให้นายนาวาโทหลวงขจรจบสมุทร นำเรือวิเทศกิจการ เรือหาญทะเล เรือเจนทะเล และ เรือพระยม ถ่ายผู้ดดยสารจาเรือริดัน มาขึ้นท่าสถานีปากน้ำ เมื่อ 2.00 ลท.เศษ (1400) มีนายประดิษฐ์ สุขุม (หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นักเรียนสยามที่จบจากอเมริกา) และ นายประสิทธิ์ คอยต้อนรับ นายประสาท สุขุม และ หลวงถวิลเศรษฐ นำเครื่องถ่ายภาพยนตร์ไปในขบวนเรือหลวงด้วย

คณะนักเรียนอเมริกัน ได้เดินางเข้าพระนคร โดยรถรางไฟฟ้า ของ บริษัทรถไฟปากน้ำ มาหยุดที่ตำบลคลองเตย เวลา 3.40 ล.ท. พระยาพิพิธสมบัติ พระยาไพศาลศิลปสาตร พระยาเวียงในนฤบาล และ พระยาสารศาสตร์สิริลักษณ์ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ได้แจกเลขหมายกลัดอกเสื้อ แล้วจัดรถยนตร์ประมาณ 150 คัน นำคณะนักเรียนไปยังที่พัก คือที่ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รอแยลโฮเต็ล ออเรียนเตลโฮเต็ล คณะศาสตราจารย์กับครอบครับ พักที่โฮเต็ลพญาไท เวลา 5.00 ล.ท.(1700) กรรมการนำนักเรียนชี้ห้องพักเป็นที่เรียบร้อยใน 1 ชั่วโมง

เวลา 7.00 ล.ท.เศษ ทางวชิราวุธวิทยาลัย ได้จัดห้องทำการไปรษณีย์พิเศษ กับห้องสมุด ห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์ เวลา 7.00 ล.ท. เลี้ยงอาหารแล้ว มีมหรศพต่างๆ เช่นหนังตะลุง หุ่นกระบอก กระบี่กระบอง ตะกร้อ อังกะลุง เวลา 11.00 ล.ท. มหรศพเลิก

รุ่งขึ้น บรรดาครูแลนักเรียนแบ่งเป็น 2 พวก พวกหนึ่งชมวัดอรุณฯ โรงพยาบาลศิริราช และ โรงสีข้าวหลีแต๊กหงวน อีกพวก ชมวัดพระเชตุพน วัดพระแก้ว และ พระบรมมหาราชวัง เวลาบ่าย รวมกันไปสถานเสาวภา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ วัดเบญจมบพิตรฯ เวลา 5.00 ล.ท.(1700) เสด็จออกพระที่นั่งอัมพร พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ให้บรรดาครู และนักเรียน ที่เป็นตัวแทนจาก 46 มณฑล (ก็มลรัฐหนะครับ อย่าตกใจ) ในสหปาลีรัฐอเมริกา ผู้จะสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยท่องเที่ยวแห่งกรุงนิวยอร์ก ซึ่งมี 60 แห่ง (วิทยาเขต) ด้วยกันเข้าเฝ้า มีพระราชดำรัสตอบแล้ว นายเจมส์ เอฟ ไปรัส ซึ่งเป็นนักเรียนที่จบจากมหาวิทยาลัยแคนซัส ได้กราบบังคมทูลตอบแทนบรรดานักเรียน เวลา 6.00 ล.ท.(1800) เสด็จขึ้น บรรดานักเรียนได้โห่ร้องถวายพระพรชัยกันเซ็งแซ่ แล้วบรรดาครู และนักเรียน ออกเยี่ยมชมพระราชฐาน มีพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นต้น ตามอัธยาศัย กรมหลวงกำแพงเพชรเสด็จเยี่ยมในตอนค่ำ และประทับในที่ประชุมเพื่อฟังปฐกถา โดยเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ พร้อมฉายภาพยนตร์เรื่องการทำป่าไม้ และ ที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศ ได้แสดงปาฐกถาเรื่อง รัฏฐประศาสโนบาย (นโยบาย) ของรัฐบาลสยาม ต่อด้วยภาพยนตร์งานพระบรมศพ เมือ่วีนที่ 24 มีนาคม 2468 และ งานพระบรมราชาภิเษก 25 กุมภาพันธ์ 2468

วันที่ 6 ธันวาคม 2469

บรรดาครู และนักเรียน โดยสารรถไฟไปลพบุรี เพื่อชมสถานีที่และเครื่องโบราณวัตถุ เวลา 6.00 ล.ท. กลับถึงกรุงเทพ
เวลา 9.00 ล.ท. ทรงรถยนตร์พระที่นั่งแต่พระที่นั่งอัมพร เสด็จโรงโขนหลวงสวนมิสกวัน และโปรดให้สมาชิกสโมสรการท่องเที่ยวแหงมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ดูโขนหลวง ซึ่งมีจับระเป็นปฐม และ ชุดกล่องดวงใจเป็น ชุดที่ 2 และ ละครเบ็ดเตล็ดที่ สมาชิกสโมสรการท่องเที่ยวแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ได้จัดขึ้น ก่อนจะจบชุด กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ได้ทรงอธิบายโขนหลวงเป็นภาอังกฤษด้วย หลังจากนั้น นักเรียนอเมริกันได้ร้องเพลงถวายพรชัย และ เต้นรำให้ทอดพระเนตรด้วย เวลา 1.15 ก.ท. โขนเลิก เสด็จกลับ

วันที่ 7 ธันวาคม 2469

คณะนักเรียนอเมริกันแบ่งเป็น 3 พวก ลำเลียงไปตามกระบวนรถรางสายปากน้ำ
เที่ยวที่ 1 ใช้รถรางลำเลียงจากคลองเตย ไปปากน้ำ ออกเดินทางเวลา 1.40 ล.ท.(1340)
เที่ยวที่ 2 ใช้รถไฟลำเลียงจากคลองเตยไปปากน้ำ เวลา 2.20 ล.ท.(1420)
เที่ยวที่ 3 ใช้รถรางลำเลียงจากคอลงเตยไปปากน้ำออกเดินทางเวลา 3.10 ล.ท (1510).

เรีอหลวงทั้ง 4 ที่ได้รับมาจากเรือริดัน ได้นำนักเรียนขึ้นเรือริดัน ก่อนที่จะถอนสมอเคลื่อนจากสันดอนไปในเวลา 7.25 ล.ท.(1925) ส่วนนักเรียนและอาจารย์ที่ตกค้างเพื่อดูสิ่งๆ ต่างในพระนคร ต่อไปอีก ก็จะได้ขึ้นรถด่วนสายใต้ ในเช้าวันที่ 8 เพื่อไปลงเรือริดันที่สิงคโปร์

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2469


เวลา 5.50 ล.ท. นักเรียนกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม 5 นาย ที่สำเร้จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ มาเข้าเฝ้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 1:01 am    Post subject: เปิดสะพานพระราม 6 Reply with quote

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม 2469 (1927)

โปรดให้ทำการเปิดสะพานพระราม 6 ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดลมุดและวัดสร้อยทอง ซึ่งบัดนี้การก่อสร้างได้ทำสำเหร็จ รถไฟสายเหนือกับสายใต้เดินเดินติดต่อเชื่อมถึงกันได้ เจ้าพนักงานได้จัดการตกแต่งสพาน ตั้งโรงพระราชพิธี และพลับพลายกขึ้นที่กลางสะพาน และสิ่งต่องๆไว้พร้อมสรรพ

[ รายละเอียดขอให้อดใจรอหน่อยเพราะเยอะจริงๆ .... และคราวนี้จะเขียนตามอักขระวิธีสมัยนั้นด้วย ]

เวลา 2.00 ล.ท. เจ้าพนักงานได้นิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป มีสมเด็จวันรัตเปนประธานสวดมนต์จบแล้วคอยเสด็จอยู่

เวลา 3.20 ล.ท. ทรงเครื่องครึ่งยศทหารบกประดับตรา ทรงรถยนตร์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จประทับสถานีสวนจิตรลดา ทรงเจิมรถพระที่นั่งหลังใหม่ แล้วเสด็จขึ้นประทับรถพระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินี ร ถไฟใช้จักร์จูงรถพระที่นั่งไปยังสะพานพระราม 6 รถไฟเดินตัดผ้าแพรแถบที่ขึงกั้นสะพานออกแล้วไปหยุดที่กลางสะพาน

เสด็จประทับโรงพระราชพิธี ทรงเครื่องนมัสการแล้ว ทรงประเคนผ้าไตร ใบวัตถุปัจจัยเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ 10 รูป พระสงฆ์กรุณาถวายอติเรกแล้ว เสด็จขึ้นพลับพลายก

กรมหลวงกำแพงเพชร ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กราบบังคมทูลถวายรายงานการสร้างสะพาน มีพระราชดำรัสตอบแล้ว ถึงพระฤกษ์ 4.16 ล.ท. ทรงกดสวิตช์เปิดผ้าคลุมนามสะพานออก มีอักษรจารึกว่า "ส[ะ]พานพระราม ๖" พ.ศ. ๒๔๖๙

พระสงฆ์สวดชัยมงคลกถา มีประโคมฆ้องไชยแตรสังข์พิณพาทย์ พระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์และเหรียญดุษฎีมาลาแก่ข้าราชการ และนายช่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสะพาน แล้ว เสด็จขึ้นรถพระที่นั่ง

เจ้าพนักงานได้เชิญพระไชยวัฒน์หลังช้าง นิมนต์พระราชาคณะ ผู้ใหญ่พร้อมบาตรน้ำบาตรทรายขึ้นรถหน้า รถไฟใช้จักรจูงรถพระที่นั่งขึ้นสะพานเป็นพระฤกษ์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา และมีประโคม พระสงฆ์ประน้ำโปรยท[ร]าย พระพุทธมนต์ไปตลอดทาง ถึงสถานีชุมทางตลิ่งชัน เลี้ยวกระบวนรถพระที่นั่ง มาหยุดสถานีบางกอกน้อย เสด็จลงจากรถ ประทับเรือยนต์พระที่นั่ง ที่ท่าสถานีบางกอกน้อย ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา เทียบท่าวาสุกรี เวลา 5.40 ล.ท. เสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่ง เข้าสู่พระราชวังดุสิต

สะพานพระราม 6 ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้น และ พระราชทานนามนี้ มี 5 ช่องเรียงกันตามลำดับกันไป

ช่องที่ 1 ยาว 37.80 เมตร ช่องที่ 2 ยาว 84 เมตร ช่องที่ 3 ยาว 120 เมตร ช่องที่ 4 ยาว 84 เมตร ช่องที่ 5 ยาว 37.80 เมตร รวมความยาวของสะพาน 443.60 เมตร

ขนาดกว้างของสะพานนั้น 10 เมตร รวมความยาวและกว้าง 453.60 เมตร ปันเตรียมไว้ส่วน 1 สำหรับเปนทางหลวงให้ยวดยานทุกชนิดผ่านได้ กว้าง 5 เมตร อีกส่วนหนึ่ง เป็นทางรถไฟ นอกนั้นมีทางเดินเท้า 2 ข้างสะพาน ขนาดกว้างเมตรครึ่ง

รากสะพานก่อด้วยวิธีห้องอัดลม โดยลึกวัดจากระดับน้ำปรกติ 29.02 เมตร บริษัท Les Establishment Dayde ซึ่งอยู่ปารีส โรงงานอยู่ที่เครย์ล ในประเทศฝรั่งเศส ได้รับเหมาทำการก่อสร้างด้วยนายงานและเครื่องมืออันพิสดาร เริ่มก่อสร้าง เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ.2465 และเสร็จบริบูรณ์ เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2469

ส่วนการถมดินเชื่อมทางต่อสายรถไฟทั้ง 2 นั้น กรมรถไฟ ได้วางรางแต่สถานีบางซื่อ ถึงชุมทางตลิ่งชัน เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร

วันนี้ประทับพลับพลายกกลางสะพาน พระราชทานตราแก่ ข้าราชการ และนายช่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสะพานคือ

จ.ช. หลวงประกอบยันตรกิจ
บ.ช. ร.อ.กาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ กับ นาย แปร์ เอม ลอเต (Pirer M Lortet)
บ.ม. นาย แปร์ ซิเรท (Pirer Siret)
ร.ด.ม.ศ. นาย เจ. เอ. คลัม (J.A. Crum)

และโปรดให้ส่งไปพระราชทานแก่ชาวต่างประเทศ ผู้ที่เกี่ยวข้องแก่การสร้างสะพานพระราม 6 คือ

จ.ช. นาย เรเน ใดเด (Ren'e Dayde') เจ้าของบริษัท ใดเด
บ.ช. นาย เจคส์ ใดเด (JacquesDayde') เจ้าของบริษัท ใดเด กับ นายเอลเบิท อูเอลว์ (Albert Houel) นายช่างเอก กองแบบแผน บริษัท ใดเด
บ.ม. แก่ นายเอมิล ดอนเซ (Emile Donze') นายช่างดูแลการสร้างสะพานของบริษัท ใดเด

นี่เป็นครั้งแรก ที่ได้ใช้รถโบกี้พระที่นั่งบรรทมโดยแท้ Rolling Eyes


Last edited by Wisarut on 03/05/2006 7:45 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 03/05/2006 7:58 am    Post subject: Reply with quote

เฮียวิศ ...
ช่วงปลายปี 2475 ปีนี้ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี่นา ... จากประเด็นนี้ อะเป่า
ส่วนหลังจากนั้น .......เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึก
เพราะจุดเปลี่ยนที่การได้มาของอำนาจ ที่ทำให้ระบบงานของรัฐภาคต่าง ๆ เปลี่ยนไป
การบันทึกถึงขาดช่วง (ผมเชื่อว่าจากประเด็นนี้) ทำให้มันขาดตอนหนะ

ขอบคุณสำหรับการขุดหลาย ๆ
คงรอติดตามรับชมในช่วง ร.8 กับ ร.9 หนะเฮีย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 9:24 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 6 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2469

เสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพ พร้อม สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี โดยทางรถไฟ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ในจังหวัดพิษณุโลก แพร่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน

เรื่องเสด็จเลียบมณฑล มีเรื่องราวน่าพูดถึงมาก เพราะเป็นครั้งแรกที่ได้มีการเรียกใช้งานรถโบกี้พระที่นั่งบรรทม ที่สั่งจาก บริษัท เครเวน เมืองเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ แบบข้ามเมือง Very Happy

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2469

วันนี้ เป็นวันกำหนดเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ส่วนในกรุงเทพ ในระวางนี้ โปรดเกล้าให้ สมเด็จพระราชปิตุลาฯ ทรงสั่งราชการแทนพระองค์

เวลาเช้า เจ้าพนักงาน ตั้งโต๊ะหมู่ทอง ที่ สถานีหลวงจิตรลดา เชิญพระไชยวัฒน์ ประจำรัชกาล ปัจจุบัน ประดิษฐานพร้อมเครื่องสักการะบูชา ทอดเครื่องนมัสการ และพระท่านทรงกราบเป็น 2 ที่ ตั้งอาสนะสงฆ์ นิมนต์พระ 10 รูป มี สมเด็จพระวันรัต วัดเบญจมบพิตร เป็นประธาน มานั่งยังอาสนะ

เวลา 8.00 กท. ทรงเครื่องแบบทหารบกประดับตรา ทรงรถยนตร์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพร พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ไปประทับที่ สถานีหลวงจิตรลดา ทรงเครื่องนมัสการ พร้อมสมเด็จพระราชินี มีพระราชดำรัสแก่เจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตามสมควร แล้วเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่ง พิเศษพร้อมข้าราชบริพาร

เวลา 8.10 ก.ท. รถไฟใช้จักร ออกจากสถานีหลวงจิตรลดา พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา มีทหารกองเกียรติยศวันทยาวุธ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีทุกๆแห่ง เมื่อรถไฟผ่าน อยุธยาและลพบุรี นครสวรรค์ กองทหารและกองลูกเสือพร้อมธงประจำกอง ข้าราชการทหารพลเรือน และอาณาประชาราษฎร์ มาคอยเฝ้ารับเสด็จ

ถึง สถานีพิษณุโลก เวลา 6.00 ลท. (1800) มีข้าราชการทหาร พลเรือน และลูกเสือ ตั้งแตรวงธงประจำกอง พระยากัลยบณวัฒนวิศิษฎ์ ผู้ว่าราชการจัวงหวัดพิษณุโลก ถวายพระแสงราชศัสตราแล้วทรงรถยนตร์พระที่นั่งออกจากสถานี ไปทรงพระเก้าอี้หามข้ามฟาก ไปประทับที่ พลับพลาจวนกลาง

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2469

นมัสการพระพุทธชินราช ทรงถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองคู่ 1 เป็นพุทธบูชา เสด็จวัดราชบูรณะ และวัดนางพระยา ทอดพระเนตรการประชุมสหกรณ์ พร้อมให้พระบรมราโชวาท ตอนเย็น มีงานสมโภชพระพุทธชินราช มีจุดดอกไม้ไฟเป็นพุทธบูชา มีการเล่นลิเก และ เพลง เป็นการสมโภช ข้าราชการทหาร พลเรือน และพ่อค้าจีน เข้าเฝ้าถวายธูปเทียน ดอกไม้สีทอง กับ ติ้วแดง (กิมฮวยอั้งติ่ว)

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2469

เสด็จทอดพระเนตรวัดจุฬามณี ให้กรมหลวงกำแพงเพชร เสด็จวีดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดเทียนเครื่องนมัสการ พร้อมประเคนอาหารบิณฑบาต .... วันนี้ อ้ายหนอม นักโทษเรือนจำพิษณุโลก ฐานฆ่าคนตายศาลตัดสินจำคุก 15 ปี ได้ถวายลิงเผือกที่จับได้จากตำบล ผีมอ อำเภอป่าหมาก จังหวัดพิษณุโลก โปรดให้ทางบ้านเมือง จัดส่งลิงเผือกไปอยู่กับช้างพลายสำคัญ ที่มณฑลพายัพ เวลา 4.00 ล.ท. เสด็จบวงสรวงดวงวิญญาณที่โบราณราชวังจันทร์ หลังจากนั้น จึงเสด็จเปิดโรงเรียนพิษณุวิทยาคม มีการทูลเกล้าฯ ถวายหมอนอิงปักตราโรงเรียน พิษณุวิทยาคม มีกองเสือสวนสนามให้ทอดพระเนตร

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2469

เวลา 9.15 ก.ท. เสด็จสถานีพิษณุโลก พระราชทานตรา จ.ช. แก่ พระยากัลยาณวัฒวิศิษฐ
เหรียญรัตนาพรชั้น 4 แก่ พระยาพิพิธสมบัติ เสด็จขึ้นรถไฟไปหยุดที่อุตรดิตถ์ พระราชทานผ้าเหลืองธูปเทืยนทองเงิน ให้ฝ่ายบ้านเมืองนำไปสักการะพระเท่นศิลาอาศน์ ใช้จักรต่อไปถึงสถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ มี ข้าราชการทหาร พลเรือนเฝ้ารับเสด็จ จากนั้น จึงเสด็จไปบ้านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ทรงรถยนตร์ประพาสทอดพระเนตรในเมือง เมื่อถึงเวลาสมควรแล้ว จึงเสด็จประทับแรมในรถไฟ สถานีเด่นชัย ตามระยะทาง มีประชาชนโปรยข้าวตอกดอกไม้ และอัญเชิญพระบรมรูปประดิษฐาน จุดธูปเทียนสักการะบูชา ตลอดทาง

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2469


เวลา 8.00 น. ทรงรถไฟพระที่นั่ง ออกจากสถานีเด่นชัย ในระยะที่ผ่านไป หยุดรถ ทรงถ่ายรูปน้ำตกตามลำธาร ทอดพระเนตรช้างลากซุง เวลา 1.30 ล.ท. ถึงสถานีนครลำปาง มีข้าราชการทหาร พลเรือน ประชาชน เฝ้ารับเสด็จ พระสงฆ์สวดชยันโต ทรงรถยนตร์พระที่นั้ง พร้อม สมเด็จพระราชินี ไปประทับพลับพลาที่ประทับใกล้โรงทหาร
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=437111523144176&id=100005359969066
[ โฮ่ย ไม่ไหว เนื้อหาเยอะมาก ต้องแยกเป็นหัวข้อต่างหากแล้วหละ Embarassed ]


Last edited by Wisarut on 29/09/2020 9:55 am; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 9:25 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อกลางเดือน พฤศจิกายน 2470 มีการนำคุณพระเศวต จากเชียงใหม่ลงมายังพระนคร โดยทางรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 9:27 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 24 มกราคม -11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จเลียบมณฑลภูเก็ต โดยทางรถไฟ ทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดตรัง ระนอง ภูเก็ต และพังงา (เกาะปันหยีก็ด้วย) Laughing

นี่เป็นครั้งแรก ที่นำคุณปู่ฮาโนแม็กทำขบวนรถพระที่นั่งไปกันตัง ... แต่ช่วงทุ่งสงไปกันตัง ต้องใช้คุณย่าบอลด์วิน เพราะตัวเล็กพอกะวงเวียนกลับรถจักร ที่คุณปู่ฮาโนแม็กเข้าไปใช้ไม่ได้ Embarassed


Last edited by Wisarut on 03/05/2006 10:46 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 9:30 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 8 พฤษภาคม 2473

ขากลับจากการเสด็จเยือนอินโดจีน ได้เสด็จจากเมืองพระตะบอง ไปทางรถยนต์เข้าที่ด่านคลองลึก ไปที่สถานีอรัญประเทศ จากนั้น จึงทำขบวนรถพระที่นั่งกลับพระนคร โดยหยุดเติมน้ำ เติมฟืนที่ กระบินทร์บุรี และ โยธกา มีประชาชนมารับเสด็จกันมืดฟ้ามัวดิน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 2:48 pm    Post subject: Reply with quote

เออ... ฉบับปี 2474 ที่ขาดหาย ก็เพราะเรื่องความเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ และเทศบาลที่สัมภาษณ์กับนักข่าวอเมริกันแน่แท้เลยเทียว

ส่วนปี 2476 - 77 ก็เรื่องกบฏบวรเดช และเรื่อง กรณีจะเอาผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีไปฆ่า ฐานเป็นใจให้กบฏบวรเดช ทำให้ต้องสละราชสมบัติ เพื่อรักษาชีวิตบรรดากบฏบวรเดชไว้ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 7:52 pm    Post subject: Reply with quote

ในหลวง ร.7 ท่านเสด็จไปหัวหินเป็นคำรบที่ 4 ตั้งแต่วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ถึงวันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ 2470 (นับอย่างใหม่ต้องปี 2471) รวมเวลา 57 วัน

และ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2470 นี้

ได้เสด็จไปเปิดโฮเต็ลราชธานีของกรมรถไฟหลวง ที่สร้างในบริเวณสถานีหัวลำโพง (ต้นฉบับว่าเช่นนั้นจริงๆ) หลังจากที่รถเข้าสถานีหัวลำโพง เมื่อเวลา 4.30 ล.ท.(1630)

ในวันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2470

ได้โปรดให้กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศยกเว้นการปฏิบัติบางอย่างตามความในพระราชบัญญัติบุคคลเข้าเมืองแก่คนต่างด้าว ซึ่งถือตั๋วโดยสารรถไฟทอดเดียวผ่านพระราชอาณาจักรสยาม และบุคคลที่ตั้งถิ่นฐานใกล้พรมแดน ซึ่งเดินทางผ่านไปมาชั่วคราวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2006 7:58 pm    Post subject: Reply with quote

อันที่จริง ทูลกระหม่อม ร.7 ท่านเสด็จไปหัวหิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน 2470 ถึง 25 กันยายน 2470 และ ระหว่างวันที่ 14 กรกฎษคท 2471 ถึง 16 กันยายน 2471

แต่คราวนี้ท่านประทับในเรือพระที่นั่งมหาจักรี จากท่าวาสุกรี ถึง หัวหิน และ จากอ่าวหัวหิน ไปท่าวาสุกรีเลยเทียวครับ ....สงสัยกรมหลวงกำแพงเพชร , พระยาสารศาสตร์สิริลักษณ์ และเจ้าหน้าที่กรมรถไฟหลวงจัดหารถจักรทำขบวนให้ไม่ทันกระมัง ?

เช่นเดียวกับกรณีเสด้จเยือนมณฑลปัตตานีและมณฑลนครศรีธรรมราชทางทะเล ระหว่างวันเสาร์ที่ 14 เมษายน 2471 ถึง วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2471 กะ การเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่สายบุรี ปี พ.ศ. 2472 ที่ประทับเรือพระที่นั่งจักรีโดยตลอด Embarassed

คราวนี้แม้จะไม่ประทับรถไฟพระที่นั่งแต่ก็ตั้งกล้องดูสุริยคราส ใกล้สถานีโคกโพธิ์เสียด้วยสิ Shocked


Last edited by Wisarut on 07/06/2006 10:03 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 2 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©