RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13270233
ทั้งหมด:13581520
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2006 1:15 am    Post subject: Reply with quote

วันที่ 6 เมษายน 2472 เวลา 1545 เสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานกษัตริย์ศึก โดยมีเจ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ และ มหาอำมาตย์โพระยาสุรินทร์ราชา อธิบดีกรมนคราทร (Director of Minicipal) กล่าวถวายรายงาน จากนั้น เจ้าพนักงานประโคมสังข์แตรพิณพาทย์ แล้วทรงประทับรถยนตร์พระที่นั่งตัดแพรเป็นปฐมฤกษ์ตรงไปตามถนนพระรามที่ 1 เลี้ยวถนนพญาไท ถนนพระราม 4 ถนนเจริญกรุง ถนนสนามชัย ไปสู่พระที่นั่งบรมพิมาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2006 1:55 am    Post subject: Reply with quote

วันพุธที่ 8 มิถุนายน 2475 เวลา 1015 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพระราชวังดุสิต ถึงสถานีสวนจิตลดา พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารเฝ้าส่งเสด็จ มีพระราชปฏิสันถารแก่ผู้เข้าเฝ้า พอสมควรแล้วจึงเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่ง
Click on the image for full sizeClick on the image for full size
เวลา 1130 รถไฟพระที่นั่งออกจากสถานีสวนจิตรลดา

เวลา 1250 ขบวนรถพระที่นั่งถึงสถานีนครปฐม แล้วเสด็จด้วยรถยนต์พระที่นั่งไปยังพระปฐมเจดีย์ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระปฐมเจดีย์และพระร่วงโรจนฤทธิ์ จากนั้นจึงเสด็จไปพระราชทานธงประจำกองลูกเสือให้กองลุกเสืออิสระที่ 1 แล้วเสด็จไปยังพระราชวังสนามจันทร์

เวลา 1540 เสด็จจากสถานีหลวงสนามจันทร์ โดยรถไฟพระที่นั่ง

เวลา 1840 ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีหัวหิน เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปประทับแรม ณ สวนไกลกังวล

นี่คือการเสด็จพระราชดำเนินอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้ายของพระเจ้ากรุงสยามในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ขณะแปรพระราชฐานยังสวนไกลกังวลนั้น มีพระบรวมวงศ์เธอและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อาทิ

๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์ (พระราชบิดาในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี และ เจ้าคุณปู่ของหม่อมถนัดศรี)
Click on the image for full size

๒) นายพลเรือเอก กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้มีพลานามัยไม่สมบูรณ์ ทั้งๆที่เป็นถึงนายทหารพรรคนาวิกโยธิน)
Click on the image for full size

๓) นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ (รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้รั้งราชการกระทรวงกลาโหมที่แท้จริง ทั้งไท่ไม่ใช่คนเข้มแข็งอะไรนัก)
Click on the image for full size

๔) นายพลตรีหม่อมเจ้าฉัตรมงคล (จเรทหารบก)
๕) นายพลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ (จำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา - ผบ. พล.3 นครราชสีมา)
๖) นายพลโทพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (สมุหราชองครักษ์)
๗) นายพันโท พระเริงรุกปัจจามิตร (ราชองครักษ์)
๘) นายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการ (สิทธิ์ แสงชูโต - ผบ. กองพันทหารราบเพชรบุรี)

ระหว่างนั้น นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ สุขสวัสดิ์, นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน - แม่ทัพกองทัพที่ 1) นายพันตรีหลวงพิชิตชนะภัย (เจือ ชนะภัย) และ นายร้อยเอก หลวงโหมรอนราญ (ตุ๊ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) ได้เดินทางสำรวจาภาคใต้เพื่อเตรียมการตั้งกองทหารประจำภาคใต้ (นับแต่ชุมพร) เป็นการถาวร ซึ่งเพิ่งทำสำเร็จเมื่อปี 2481

// ------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อเกิดการอภิวัตรเมื่อเช้า วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้รวบรวมเอกสารและทรัพย์สินที่เอาติดพระองค์ไปได้ หนีจากวังบ้านดอกไม้ไปเข้าเฝ้าฯ ในหลวง ที่หัวหินโดยด่วนที่สุด พร้อมกับพระยาประกิตกลศาสตร์ และ หม่อมเจ้าวรวีรากร วรวรรณ (นายช่างกรมรถไฟหลวงทั้งคู่) โดยแอบซ่อนที่หอประแจสถานีกรุงเทพก่อนจะลักรถจักรมาได้

Click on the image for full size

สมเด็จในกรม ได้ขับรถจักรดีเซลกล 180 แรงม้า (หรือ รถจักรดีเซลไฟฟ้าสวิส 450 แรงม้า หรือ รถจักรดีเซลไฟฟ้าฟริกซ์ 900 แรงม้าก็ไม่แน่ใจ) ซึ่งพระยาประกิตกลศาสตร์ได้ลักออกมาจากโรงรถจักรดีเซลกรุงเทพ ซึ่ง เปิดใช้แต่ปี 2474 [บางกระแสว่าว่าลักรถจักรดีเซลมาจาก โรงรถจักรมักกะสันแล้ววิ่งผ่านสะพานที่ยมราชมาซึ่งไม่น่าเป็นไปได้]

ประมาณ 0800 รถจีกรดีเซลที่สมเด็จในกรมทรงขับได้มาถึง สถานีนครปฐม สมเด็จในกรมได้หยุดรถเนื่องจากพระองค์ทอดพระเนตรเห็นตำรวจภูธรสะพายปืนเกร่อยู่ที่สถานี พอทราบความจากพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา (ข้าหลวงจังหวัดนครปฐม) ที่มาตั้งกองบัญชาการที่สถานีนครปฐม แล้ว พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ได้ให้นักเรียนนายร้อยตำรวจ 24 นายขึ้นรถจักรดีเซล เพื่ออารักขาสมเด็จในกรม ถึงหัวหิน ก่อนสมทบกำลังกับทหารรักษาพระองค์

พอเสด็จถึงหัวหิน สมเด็จในกรมรีบเสด็จฯ สู่สวนไกลกังวล พร้อมนำแถลงการณ์แบบที่ 1 ที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นผู้ร่าง ถวายให้ในหลวง พร้อมสแจ้งข่าว่า ทูลกีระหม่อมบริพัตร ถูกจับไปอารักขาที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พร้มอเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์

เวลา 1100 เศษ นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ และ นายพลตรีพระยาพิชัยสงคราม ประทับที่โรงแรมรถไฟชุมพร เพื่อประชุมเรื่องการจัดตั้งกองทหารประจำจังหวัดชุมพรแก่ พระราชญาติรักษา (ข้าหลวงจังหวัดชุมพร) ขณะนั้น พระองค์ได้รับโทรเลขส่งจากเพชรบุรีจากพนักงานโทรเลข จากร้อยเอกหลวงไกรรณชิต (ปลัดกองพันทหารราบพิเศษเพชรบุรี) ว่า เกิดการจลาจลที่กรุงเทพ

ต่อมา เวลา 1300 ได้รับโทรเลขจากนายพลตรีพระยาประเสริฐสงครามว่า เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ถูกเชิยไปพระที่นั่งอนันตสมาคม นายพลโท พระองค์เจ้าอลงกฏ จึงมีพระบัญชาให้ นายพันตรีหลวงพิชิตชนะภัย (เจือ ชนะภัย - ทส. ในพระงอค์เจ้าอลงกฏ) ไปขอรถไฟไปหัวหิน แต่กว่าจะได้รถไฟพิเศษ เพื่อนำคณะนายทหารพร้อมข้าหลวงจังหวัดชุมพร พร้อมปืนพก 4 กระบอก พร้อมกระสุนนับร้อยนัด ไปหัวหินก็เวลา 1730 ... กว่ารถไฟพิเศษจะมาถึง หัวหินก็เวลา 2300 ซึ่งเป็นผลทำให้ข้าหลวงจังหวัดชุมพร โดนยัดข้อหาว่าจะล้มล้างท่านผู้นำ จนต้องอยู่เรือนจำบางขวาง ต้งแต่ปลายปี 2481 จนถึงปี 2487

// -----------------------------------------------------------------------------------------------

ขณะนั้นที่หัวหิน พันเอกไลออน (ตัวแทนจากวิกเกอร์อาร์สตรอง) ได้มาพักที่โอเตลหัวหิน
เพื่อสาธิตปืนกลเบา 4 กระบอก พร้อมกระสุน 2หมื่นนัด ที่ตกเข้ามาใหม่ ให้ ในหลวงได้ทอดพระเนตร พอได้ข่าว่าเกิดจลาจลที่กรุงเทพ นายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการเลยออกปากขอยืมปืนกลเบา ทั้ง 4 พร้อมกระสุนเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันแก่องค์ในหลวง
// ------------------------------------------------------------------------------------
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2475 เวลา 1000 เรือหลวงสุโขทัยมาทอดสมอหน้าสวนไกลกังวล มีนายนาวาตรี หลวงศุภชลาศัย (ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยชั่วคราว) และ บริวาร นำสาส์น จากคณะราษฎร ว่าจะยอมเป็นพระเจ้าอยู่หัวภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าไม่ เป็นได้ยิง ถล่มสวนไกลกังวลก็คราวนี้เอง

Click on the image for full size
เมื่อได้เข้าเฝ้าในหลวงแล้ว หลวงศุภชลาศัย จึงได้ตระหนักถึง พระบรมเดชานุภาพ ในพระองค์ จึงรีบแจ้งข่าว ให้นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (ผู้รั้งแม่ทัพเรือ) ทราบเมื่อเวลา 1050 ของวันที่ 25 มิถุนายน 2475 เพื่อถ่ายทอดถึงคณะราษฎร และ ผู้รักษาพระนคร ว่า

1) ในหลวงได้มีพระราชหัตถเลขาตอบรับคณะราษฎรอย่างเป็นทางการ ว่าจะยอมเป็นพระเจ้าอยุ่หัวภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามที่คณะราฎรได้แจ้งให้พระองค์ทราบ

2) ให้จัดขบวนรถไฟพิเศษให้พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ประทับ ตามพระราชประสงค์

รถไฟพิเศษได้มาถึงหัวหินเวลา 1700 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์,
พานพลเอก กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน, นายพลเรือเอก กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร, หม่อมเจ้าฉัตรมงคล และ นายทหารชั้นเรือเอกจากเรือหลวงสุโขทัย ได้ประทับรถไฟพระที่นั่ง

เวลา 1730 ในหลวง สมเด็จพระบรมราชินี พลโทพระยาวิชิตวุฒิไกร (สมุหราชองครักษ์) และ ข้าราชบริพาร มาถึงสถานีหัวหิน พระองค์และคณะประทับที่ห้องพักรถไฟเล็กน้อยก่อนเสด็จประทับบรถไฟพระที่นั่ง บรรยากาศรอบสถานีเยือกเย็นเปลี่ยวเปล่า

เวลา 1800 รถไฟพระที่นั่งเคลื่อนจากสถานีหัวหิน ประชาชนยืนเรียงรายกันนับ ร้อยกิโลเมตร ตั้งแต่หัวหิน ราชบุรี ดวยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ความเร็วสูงสุดที่ยอมให้ทำขบวนได้เวลานั้น)
Click on the image for full size

เวลา 2200 เศษ ขบวนรถพระที่นั่งถึงนครปฐม พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา ได้นำตำรวจ ลูกเสือตั้งกองเกียรติยศ บรรเลงเพลง สรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ มหาไชย ขบวนรถพระที่นั่งได้หยุดที่สถานีนครปฐมเปนเวลาครึ่งชั่วโมง พระเจ้าอยู่หัวนมัสการพระปฐมเจดีย์ ขระรถไฟหยุดที่สถานี

// ----------------------------------------------------------------------------------------------------
วันอาทิตย์ 26 มิถุนายน 2475 เวลา 0035 ขบวนรถไฟพิเศษจากหัวหิน เสด็จถึงสถานีจิตรลดา มหาเสวกเอก เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (มรว. เย็น อิสรเสนา ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงวัง และข้าราชการกระทรวงวัง 3-4 นาย ได้มารับเสด็จโดยไม่มีกองเกียรติยศ ในหลวงได้มีพระราชปฏิสันถานกับเสนาบดีกระทรวงวังจากนั้น เสด็จขึ้นรถพระที่นั่งไปยังวังศุโขทัย ส่วนเจ้านายที่ตามเสด็จได้ประทับรถยนต์ไปพักที่บ้านกรมหลวงสิงห์วิกรมไกร กรมพระกำแพงเพชรประทับรถกลับวังบ้านดอกไม้

ส่วนร้อยเอกหลวงโหมรอนราญ นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม และนายพลโทพระองค์เจ้าอลงกฏประทับรถไฟต่อไปยังสถานีกรุงเทพ พอถึงสถานีกรุงเทพก็เจอกับทหารที่ตั้งแถวรออยู่ และ นายเรือเอกที่ตามพระองค์เจ้าอลงกฏมา ได้ชักปืนจี้ พระองค์พรอ้มวัทยาหัตถ์ พาพระองค์ไปที่พระที่นั่งอนันตสมาคม


ต่อมาในเวลา 1000 ผู้แทนคณะราษฎร์ นำโดย พลเรือตรี พระยาสรยุทธเสนี พันโทพระประสาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น - หนึ่งใน 4 ทหารเสือ) พันตรีหลวงวีรโยธา (ผบ. ร.2 พัน. 3) อำมาตย์ตรี หลงวงประดิษฐ์มนูธรรม, ร้อยโทประยูร ผมรมนตรี นาย จรูญ ญ บางช้าง และ นายสงวน ตุลารักษ์ ได้ เข้าเฝ้าถวายพระราชกำหนดนิรโทษกรรมคณะราษฎร์ และร่างรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้ร่างไว้ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย จากนั้นเวลา 1045ผู้แทนคณะราษฎร์จึงถวายบังคมลากลับไป

วันพุธ 29 มิถุนายน 2475 ถวายตราพระพิรุณทรงนาคให้มหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ เพื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีเกษตราพาณิชยการ

วันจันทร์ 1 สิงหาคม 2475 ให้ พระยาสารศาสตร์สิริลักษณ์ ตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง ออกจากตำแหน่งหน้าที่ราชการ และ ให้พระยาสฤษดิการบรรจง รั้งตำแหน่งเปนผู้บัญชาการรถไฟหลวง แทน

วันจันทร์ 22 สิงหาคม 2475 ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดวางรถไฟและทางหลวงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

วันพุธที่ 30 สิงหาคม 2475 แต่งตั้งข้าราชการ 15 นายดำรงตำแหน่งกรรมการรถไฟ


Last edited by Wisarut on 14/01/2007 11:10 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2006 1:24 am    Post subject: ตารางเวลาขบวนรถพิเศษ เสด้๗พระราชดำเนิรเลียบมณฑลภูเก็ต Reply with quote

ขบวนรถพิเศษ ที่ 501 ระหว่างกรุงเทพ - พัทลุง ในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2471
สถานี ถึง ออก
กรุงเทพ ---- 0805
หลวงจิตรลดา 0815 0830 เสด็จพระราชดำเนิรขึ้นรถ
นครปฐม 0955 0856
ราชบุรี 1110 1120
เพ็ชร์บุรี 1226 1236
วังก์พง 1432 1452
คั่นกระใด 1613 1623
บางสพานใหญ่ 1814 1824
บางสน 2018 2028
ชุมพร 2124 2134
หลังสวน 2335 2345
หนองหวาย 0109 0119
สุราษฏร์ธานี 0309 0329
บ้านส้อง 0521 0531
ชุมทางทุ่งสง 0521 0531
ชุมทางเขาชุมทอง 0757 0805
พัทลุง 0930 --------- เสด็จพระราชดำเนิรลง

ขบวนรถพิเศษที่ 510 ระหว่างตรัง - กรุงเทพ ในวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2471
สถานี ถึง ออก
ตรัง ----- 0930 เสด็จพระราชดำเนิรขึ้นรถ
ชุมทางทุ่งสง 1107 1117
บ้านส้อง 1239 1249
สุราษฏร์ธานี 1403 1413
หนองหวาย 1542 1552
หลังสวน 1650 1700
ชุมพร 1826 1836
บางสน 1930 1940
บางสพานใหญ่ 2144 2154
คั่นกระใด 0042 0052
วังก์พง 0256 0316
เพ็ชร์บุรี 0604 0614
ราชบุรี 0720 0730
นครปฐม 0845 0846
หลวงจิตรลดา 1010 1020 เสด็จพระราชดำเนิรลง
กรุงเทพ 1030 ------

สำหรับขบวนใหญ่และของไปตรัง ขบวนรถพิเศษ ที่ 502 ระหว่างพัทลุง - ทุ่งสง ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2471
สถานี ถึง ออก
พัทลุง --- 1100
ชุมทางเขาชุมทอง 1224 1232
ชุมทางทุ่งสง 1320 ------- (เปลี่ยนไปใช้รถจักรบอลด์วิน)

ขบวนรถพิเศษ ที่ 503 ระหว่างทุ่งสง - กันตัง ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2471
สถานี ถึง ออก
ชุมทางทุ่งสง ------- 1400
ตรัง 1457 1507
กันตัง 1545 ----------

ขบวนรถพิเศษ ที่ 505 สำหรับขบวนใหญ่และของไปกันตังเพื่อลงเรือไปเกาะปันหยี ระหว่างตรัง - กันตัง ในวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2471สถานี ถึง ออก
ตรัง -------- 1100
กันตัง 1135 ----------

ขบวนรถพิเศษ ที่ 508 สำหรับขบวนใหญ่และของไปตรัง ระหว่างตรัง - กันตัง ในวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2471
สถานี ถึง ออก
กันตัง --------- 1201
ตรัง 1236 ----------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/05/2006 4:36 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ในหลวงประพาสมณฑลพายัพ 6 มกราคม - 5 กุมภาพันธ์ 2469
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2006 1:50 am    Post subject: Reply with quote

11 กุมภาพันธ์ 2472 โปรดให้เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกประกาศถอนพระบรมราชานุญาตพิเศษซึ่งพระราชทานให้ บริษัทรถรางพระพุทธบาทจำกัด เพราะปรากฏว่าบริษัทเพิกเฉย ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษไปหลายครั้งหลายคราว

13 กุมภาพันธ์ 2472 เจ้าเฟเดอริก ( Crown PrinceFrederick ) มกุฏราชกุมารแห่งกรุงเดนมาร์ก ( ต่อมาได้เป็นพระเจ้าเฟเดริกที่ 9 แห่งกรุงเดนมาร์ก - ครองราชย์แต่ปี 2490 - 2515 ) ได้เยี่ยมเยียนเมืองสยาม โดยมีเจ้าชายคนุต ( Prince Knud ) เจ้าชายเอกซ์เซล ( prince Axle ) และ เจ้าหญิงพระชายา และคณะตามเสด็จ โดยเสด็จมาที่ท่าวาสุกรี เวลา 1530 จากนั้นให้เจ้าเฟเดอริก และคณะประทับวังปารุสกวัน

เจ้าเฟเดอริก ( Crown PrinceFrederick ) มกุฏราชกุมารแห่งกรุงเดนมาร์ก

Click on the image for full size

เจ้าหญิงอิงกริด พระชายาในเจ้าเฟเดอริก

Click on the image for full size

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2472 เสด็จวัดพระแก้ว ตอนเช้า ตอนบ่ายวางพวงมาลาพระศพกรมหลวงสงขลา

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2472 เวลา 0700 เจ้าเฟรเดอริก และคณะเสด็จไปที่สถานีหัวลำโพงเพื่อประทับรถไฟไปดูกิจการป่าไม้สักเมืองแพร่ ของบริษัทอิสต์เอเชียติก เป็นเจ้าของสัมปทาน โดยเจ้าชายเอกเซลเป็นผู้อำนวยการบริษัท อิสต์เอเชียติก ทอดพระเนตรกิจการป่าไม้เมืองแพร่ 4 ราตรี

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2472 กลับถึงพระนคร เวลา 1000 เสด็จโรงงานสยามซีเมนต์ที่บางซื่อ เวลา 1300 แล้วเสงวยพระกระยาหารกลางวัน ก่อนมอบของที่ระลึก เวลา 1700 กลับวังปารุสกวัน

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2472 ทอดพระเนตรวัดบวรฯ และ ตอนค่ำ ทอดพระเนตรโขนหลวงสวนมิสกวัน ที่แสดงโขนชักรอก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2472 เสด็จสถานเสาวภา

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2472 เสด็จลงเรือยนต์ที่ท่าวาสุกรี เวฃลา 1245 เพื่อประทับเรือฟีโอเนียแล้วเสด็จกลับ เวลาคำ เจ้าเฟรเดริก เสด็จวังวรดิศ ของกรมหลวงดำรงราชานุภาพ

23 กุมภาพันธ์ 2472 เจ้าเฟรเดอริก ทอดพระเนตรมวยไทย กระบี่กระบอง และ เตะตะกร้อ ที่สวนสนุกซึ่งพระยาคทาธรจัดให้

25 กุมภาพันธ์ 2472 พระราชทานตรา ปปร 1 ให้มกุฏราชกุมารเฟเดอริก ( Crown Prince Frederick ) เจ้าชายเอกเซล ( Prince Axle ) และเจ้าหญิง เอกเซล ( Princess Axle )
26 กุมภาพันธ์ 2472 มกุฏราชกุมารเฟเดอริก ( Crown Prince Frederick ) ได้กราบบังคมทูลลา ก่อนประทับเรือฟิโอเนียที่ท่าเรือ อิสต์เอเชียติก ข้างโรงแรมโอเรียนเตล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2006 2:03 am    Post subject: Reply with quote

21 กุมภาพันธ์ 2472 ออกพระราชกฤษฎีกาสร้างทางรถไฟต่อจากขอนแก่น ไปหนองคาย และนครพนม และในวันเดียวกันให้ออก พรบ. งบประมาณประจำปี 2473
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2472 ให้กรมพระกำแพงเพชรเข้าเฝ้าที่วังสุโขทัยเวลา 1100

8 พฤศจิกายน 2472 สถาปนากรมพระดำรงราชานุภาพเป็นกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ให้มีศักดินา 350,000 และ ให้สถาปนากรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธืนเป็นกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ศักดินา 15,000
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2006 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2474 สันนิบาตชาติได้ประชุมเรื่อง การควบคุมการบริโภคฝิ่นและการปราบปรามฝิ่นเถื่อน ที่กรุงเทพ ช่วงนั้น มีการนำคณะสันนิบาตชาติขึ้นรถไฟพิเศษไปบางปะอินด้วย Smile Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2006 1:19 am    Post subject: ก่อรนกระสุนนัดแรกที่ปากช่อง Reply with quote

ก่อนกระสุนนัดแรกที่ปากช่อง

หลังจากกรณีข้อพิพาทกันระหว่างพระเจ้าอยู่กับหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง vs. สมดุปกขาว) จน
1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณนิติธาดา ประกาาศปิดสภา
2 เมษายน 2476 ประกาศใช้พรบ. ว่าด้วยคอมมูนิสต์
10 เมษายน 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้รับคำสั่งไปดูงานที่ฝรั่งเศส พร้อมค้าใช้จ่ายปีละ 1000 ปอนด์ ฐานเผป็นต้นเหตุให้เกิดวิวาทในสภาาเรื่องสมุดปกเหลือง

12 เมษายน 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม และ ภรรยยา เดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยเรือโกลา จากท่าบี.ไอ. (ใกล้ๆท่า EAC ของอิสต์เอเชียติก) โดยพันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึก (ผู้บังคับการ ทหารม้า และ กองรถรบ) ร้อยโททวน วิชัยขัทคะ (จากกองร้อยรถรบ)นายจรูญ สืบแสง ตามไปส่งถึงสิงคโปร์ ขณฯะที่คณะราษฎร์ท่านอื่นๆ และ สานุศิษย์หลวงประดิษฐ์มนูธรรมตามไปส่งที่ท่าบี.ไอ. เว้นแต่พระยาทรงสุรเดชผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม

ด้วยเหตุนี้เองสานุศิษย์และ ผู้เลื่อมใส่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (คณะราษฎร์ฝ่ายพลเรือน ประกาศตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับพระเจ้าอยู่หัวทันที ถึงกล่าวพระนามในหลวงอย่างหยาบคาย
ขั้น พันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึกและพรรคพวก พากันฉีกพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง แล้วเอามาขยำเล่น หรือไม่ก็เอารูปพระเจ้าอยู่หัวมายิงเล่นเป็นของสนุก ขณะกินกันในวงเหล้า เช่นที่สโมสรทหารม้า และที่ภัตตาคาร แถวราชวงศ์ เพราะเห็นว่าพระองค์เป้นผู้กล้างัดข้อกัยอาจารย์ที่ตนนับถือ

แม้แต่พระบรมวงศานุวงศ์ก็พลอย คนสัปดล เล่นตลกหยาบช้า แบบเดียวกะที่พระองค์โดนไปด้วย

15 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประกาศให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิกสมาคมคณะ
ราษฎรลาออกจากราชการ ทำให้ต้อแปรสภาพจากสมาคมคณะราษฎร์เป็นสโมสรคณะราษฎร ทำให้บรรดาคณะราษฏร์ต่างพากันเกลียด พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเข้าไส้ไปตามๆกัน

ที่สุด พระยาพหลพลพยุหเสนา ก็ไม่พอใจ เพราะพระยาทรงสุรเดช (รอง ผบ. ทบ.) รวบอำนาจไว้คนเดียวแถมยังกล้าคัดง้างกับพระยาพหลพลพยุหเสนา ทั้งๆที่ ตนเป็นถึง ผบ ทบ. ทำให้ พระยาพหลพลพยุหเสนา บันดาลโทษะ คว้าปังตอร้องด่าไล่ฟัน พระยาทรงสุรเดช ฐานล้างคำสั่งที่ตนออกมา ว่า

Quote:
ไอ้เทพ มึงกำแหงนัก บังอาจล้างคำสั่งกู อย่าอยู่ร่วมแผ่นดินกัน!!!
Shocked Shocked Shocked


กว่าที่ นายประยูร ผมรมนตรี พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ จะช่วยกันไกล่เกลี่ยได้ก็แทบแย่ ดังนั้นจึงไกด้วางแผนกัน จะปลดพระยาพหลฯ
โดยการให้ 4 ทหารเสือลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมด แล้วค่อยให้ 3 ทหารเสือ กลับเข้ามาแทน แต่พระยาทรงสุรเดช กลับบอกให้ลาออกจากทุกตำแหน่ง
ไม่เว้นแต่ตำแหน่งทางการทหาร

ขณะเดียวกันพระยาทรงสุรเดช ได้แนะบรรดาขุนนางเก่า และ นายพลที่โดนปลดประจำการเพราะ พระยาทรงสุรเดชยุบกองทัพให้เหลือแค่ 18 กองพันทหารราบ
และ กองพันน้อยๆ อื่นๆ

1) ผบ ทบ. ใหม่ผู้มาแทนพระยาพหลพลพยุหเสนา คือ พลตรีพระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน) - อดีตแม่ทัพที่ 1

2) รอง. ทบ. ใหม่ผู้มาแทนพระยาทรงสุรเดช คือ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) - อดีตเสนาธิการกองทัพที่ 1

คำแนะนำนี้ถูกใจบรรดาขุนนางเก่าและ นายพลนอกราชการเป็นอันมาก เพราะห็นว่าจะได้ทำงานกับคนคอเดียวกันดีกว่าจะต้องไปทะเลาะกับบรรดาทหารหนุ่ม อย่าง หลวงพิบูลย์สงครามและพรรคพวก


เสาร์ ที่ 10 มิถุนายน 2476 สี่ทหารเสือยืนใบลาออกจากราชการทุกตำแหน่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดารับใบลาออกจากสี่ทหารเสือในตอนบ่าย

อาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2476 ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ได้พา หลวงพิบูลยสงคราม ไปพบ พระยาพิชัยสงคราม และ พระยาศรีสิทธิสงคราม ที่บ้าน พระยาพิชัยสงครามที่สำเพ็ง หลวงพิบูลย์สงคราม ได้คุย กับ พระยาพิชัยสงคราม และ พระยาศรีสิทธิสงครามเรื่องการปรับปรุงกองทัพ และให้ทหารต้องถอนตัวจากการเมืองโดยหลวงพิบูลยสงครามสาบาลว่าจะไม่เข้าไปวุ่นวาย

พระยาราชวังสันและ พระยาศรีสวิศาลวาจา ได้เข้าเฝ่าในหลวงที่สวนไกลกังวล หัวหิน ในตอนเย็นวันนั้น

จันทร์ ที่12 มิถุนายน 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี เดินทางไปหัวหินเพื่อเข้าเฝ้าในหลวง ... โดยตอนเช้าให้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เข้าเฝ้า ส่วน ร้อยโทประยูร ภมรมนตรีได้เข้าเฝ้า เวลา 2200

พุธที่ 14 มิถุนายน 2476 ตอนเช้า สี่ทหารเสือ ครม. และ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ โดยจองโบกี้ชั้น 1 ไปหัวหินเพื่อเข้าเฝ้าในหลวง โดย
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นคนนำ 4 ทหารเสือเข้าเฝ้า ในหลวงเรื่องการล่าอออกจากตำแหน่ง แต่ ในหลวงท่านไม่แยแสอะไรนอกจากขอบใจเรื่องช่วยราชากรบ้านเมือง
กับ เรืองเสียพระทัยที่มาด่วนลาออกในขณะที่บ้านเมืองเกิดภาวะ ฉุกเฉิน เฝ้าเพียงครึ่งช่วโมงก็เสด็จขึ้น ... เป็นที่ผิดหวังแก่ 4 ทหารเสือไปตามๆ กัน ที่ในหลวงไม่เหนี่ยวรั้งการลาออกเลย

18 มิถุนายน 2476 ประกาศเรื่อง 4 ทหารเสือ ลาออกและ พระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ พลตรีพระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน)และ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)เป็นรัฐมนตรี

19 มิถุนายน 2476 พลตรีพระยาพิชัยสงคราม (แก๊ป สรโยธิน)และ พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)ลงมือร่างโผโยกย้ายทหารเพิ่อกำจัดทหารหนุ่มให้พ้นจากอำนาจในการคุมทหารในพระนคร ที่แผนก 1 กรมเสนาธิการทหารบก ซึ่ง พระยาศรีสิทธิสงครามได้วางแผนไว้ตั้งแต่ไปทำงานคุมลูกเสือใวห้กระทรวงธรรมการ แต่ ฝ่ายหลวงพิบูลย์สงครามรู้ทันเพราะมีเกลือเป็นหนอน ... นี่เอง เป็นต้นรากที่ให้เกิดสภาพ 3 ก๊ก ทางการเมือง คือ

1) ฝ่าย รัฐบาลเช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (นรม.) พระยาจ่าแสนยาบดี (รมต มหาดไทย) และ พตอ. พระธรณีนฤเบศร์ (ผู้บังคับการตำรวจภูธรกลาง)

2) ขุนทหารเก่า (บรรดา นายพลนอกราชการ) พระยาษศรีสิทธิสงคราม กับ พระยาทรงสุรเดช และทหารราบที่นิยมพระยาทรงสุรเดช และ พระยาศรีสิทธิสงคราม

3) ทหารหนุ่ม ที่รวมตัวกันที่บางซื่อ นำโดยหลวงพิบูลย์สงคราม รพัน 3 รพัน 8 ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารสื่อสาร และทหารเรือ จากกองเรือรบ

ขณะเดียวกัน พันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึก นำรถรบออกจากโรงเก็บที่ม้ารวม (มพัน 4 รอ.) ไปที่วังปารุศกาวัน ในเช้าวันนั้น เพื่อจับกุม พระยามโนปกรณ์นิติธาดา โชคดีที่หลวงพิบูลย์สงครามออกไปห้ามทัพไว้ก่อนที่วัดราชาธิวาส พันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึกร้องไห้เสียใจ แต่ หลวงพูลยสงครามนัดแนะให้วนรอบๆ ก่อน พอตอนเย็นถึงค่อยออกปฏิบัติการจริง

เวลา 2ทุ่มเศษ พตอ. พระธรณีนฤเบศร์ และ มือปืนเข้าพบบพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ที่บ้านพักถนนสาธร (ปัจจุบันคือสถานเอกอัครราชทูตพม่า)เพื่อขออนุมัติคำสั่งเคลื่อนตำรวจจับนายทหารหนุ่มแต่ พระยามโนปกรณ์นิคจติธาดา กลับยอมลาออก

ส่วนพลเรือโทพระยาราชวังสัน เองก็โดนกลาสีที่รักษาการณ์กองเรือกล ท่าราชวรดิตถ์ เตรียมแทงปืน

20 มิถุนายน 2476 รัฐประหารโค่นพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เวลา 0900 หลวงกาจสงคราม นาวาตรีหลวงสังวรณ์ยุทธกิจ และ ร้อยโททวน วิชัยขัทคะ
พร้อมรถรบ มาที่บ้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่สาทร เพื่อยื่นหนังสือ ให้ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อเปิดสภา พระยามโนปกรณ์นิติธาดายืนหนังสือ
ลาออกที่เตรียวไว่แล้วให้ เพื่อเอาไปให้พระยาพหลพลพยุหเสนา

21 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และ หลวงพิบูลสงครามเป็น รอง ผบ ทบ แต่ พันตรีหลวงทัศนัยนิยมศึก ถึงแก่กรรมเพราะตรากตรำทำงานหนักในการคุมรถรบ และทหารม้าและสุขภาพอ่อนแอเพราะดื่มจัด คงเป็นผลกรรมที่ อาละวาดขนาดยิงพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงจึงได้มีอันเป็นไป

24 มิถุนายน 2476 ตั้งคณะรัฐมนตรี และ ให้ปลดพลตรีพระยาประเสริฐสงคราม จากปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม เป็น กองหนุน,พลตรีพระยาพิชัยสงครามเป็นทหารกองหนุน พระยาศรีสิทธิสงคราม เจ้ากรมยุทธการทหารบก กลับไปทำงานคุมลูกเสือที่กระทรวงธรรมการ

ต่อมาได้มีคำสั่ง ให้พระยาทรงสุรเดช และ พระประศาสน์ฯ ไปดูงานด้านการทหารที่ฝรั่งเศสและยุโรป

กันยายน ต่อต้นตุลาคม 2476 พระยาศรีสิทธสงคราม ได้เชิญรุ่นน้อง เช่น พันตรีหลวงหาญสงคราม (จิตร อัคนิทัต) พันตรีหลวงโหมชิงชัย (เวก สู่ไชย) จากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก พันโทพระปัจจนิกพินาศ (แปลก เอกะศิริ)จากโคราช พันโทพระเทเวศร์อำนวยฤทธิ์ (ประเสริฐ อินทุเศรษฐ)นักบินสายแดงโคกกระเทียม (ตัวแทนเจ้ากรมอากาศยาน)และ พันเอกพระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธุ์ประพาส) ได้ประชุมกันที่ บ้าน พันตรีหลวงหาญสงคราม แถวราชวัตร เกี่ยวกับเรื่องการยึดอำนาจแบบาสายฟ้าแลบโดยให้ทหารกรุงเทพ บีบพระยาพหล ละพรรคพวก ส่วนทหารหัวเมืองให้เคลท่อนยกำลังในเชิงขู่แล้วถอนตัวกลับเมืองยึดอำนาจได้

แต่ทหารหัวเมือง ยังยึดมั่นถือมั่นว่าจะใช้การทำสงครามป้อมค่ายประชิดแบบที่ทูลกระหม่อมจักรพงศ์ได้สอนไว้ในโรงเรียนเสนาธิการ ซึ่งใช้ไม่ได้กับพื้นที่บางเขน ดอนเมือง เพราะความเคยชินตำราเก่าก่อน ยุคสงครามโลกครั้งแรก


3 กันยายน 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นั่งเรือฮาโกเนมารูจากเมืองท่า หมากเซย์ กลับกรุงสยาม

15 กันยายน 2476 นายถวัติ ฤทธิ์เดช หัวหน้ากรรมกร รถรางผู้เช่าห้องแถวพระคลังข้างที่เบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเช้าห้องแถว แถมยังตั้งทนายฟ้องร้องในหลวง ข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากพระคลังข้างที่ส่งคนมาทวงค้าเช้าห้องแถวที่ค้าง เรื่องนี้โด่งดังเอามากๆ เนื่องจาก หนังสือพิมพ์หลักเมืองของรัฐบาลประกาศถือหาง นาย ถวัติ โดยลงข่าวให้ 7 วัน เรื่องนี้ดูเป็นการประจบหลวงประดิษฐ์มนูธรรมโดยแท้

21 กันยายน 2476 หนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ประกาศถือหางพระคลังข้างที่ ถึงขี้นโต้หนังสือพิมพ์หลักเมือง

29 กันยายน 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมาถึงเกาะสีชัง ... มีการปล่อยข่าวว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจะนำลบัทธิคอมมูนิสต์เข้ามาโดยบรรดาผู้ประสบเหตุวิมานทลาย ....

1 ตุลาคม 2476 หลวงประดิษษฐ์มนูธรรมเป็นรัฐมนตรีลอย หลังจขากกลับมาพักที่วังปารุศกาวันไม่ถึงเดือน ทำให้บรรดาขุนนางเก่าเร่งหาสมัครพรรคพวกเพื่อล้มรัฐบาลเร็วยิ่งขึ้น

6 ตุลาคม 2476 นาย หลุย คีรีวัติ ได้ออกมาวิจารณ์ ผ่านบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ว่า

Quote:
"หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เจ้ากลายเป็นบุคคลที่โดนบริภาษมากกว่าใครๆ แม้เราจะเป็นรอยัลลิสต์แต่กลับปล่อยให้เจ้าโดนบริภาษทุกวัน (จากบรรดาหนังสือพิมพ์ กระบอกเสียงคณะราษฎร์อย่าง 24มิถุนายน สัจจา หลักเมือง ศรีกรุง สยามราษฎร์ ที่ใช้เสรีภาพเกินขอบเขต แต่เจ้าพนักงานการพิมพ์ ไม่กล้าแตะต้องเพราะเป็นของคนในคณะราษฎร์ด้วยกัน) รัฐธรรมนูญที่ได้มาไม่จอมปลอมไปหรือ เมื่อเราเขียนอย่างหนึ่งแต่ทำกันอีกอย่างหนึ่ง หรือจะเปลี่ยนเป็นรีปับบลิคกัน (สาธารณรัฐ) แท้ๆ จะว่าอะไรก็ว่าให้ชัดเจนเถิด มาทำกิริยาปากว่าตาขยิบกันอยู่ทำไมเล่า"


Last edited by Wisarut on 03/09/2006 7:51 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2006 1:37 am    Post subject: Reply with quote

วันอังคารที่ 31 มกราคม 2470 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรกิจการ ในกรมอากาศยาน ที่ดอนเมือง โดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง โดยออกจากสถานีหลวงจิตรลดาเวลา 9 นาฬิกา 25 นาฑีก่อนเที่ยง จกานั้นพระองคืได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสถานีหลวงจิตรลดาเวลา 3 นาฬิกา 55 นาฑีหลังเที่ยง ในวันเดียวกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2006 10:01 pm    Post subject: กระสุนนัดแรกที่ปากช่อง Reply with quote

จากกรณีเองที่จุดไฟให้บรรดานายทหารนอกประจำการ เช่นนายพลตรีพระยาเสนาสงคราม (อดีต ผบ. พล 1 รอ)พลตรีพระยาทรงอักษร (ชวน ชวนะลิขิตกร) พลตรีพระยาจินดาจักรรัตน์ (จิม อาวุธ - อดีตเข้ากรมช่างแสง)พันเอกพระยาเทพสงคราม (อดีตเสนาธิการ กองทัพที่ 2) เข้าผนึกกำลังกับพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช วางแผนปฏิวัติทันที โดยประสานกำลังจาก 3 พันเอกโคราช (พระยาไชเยนต์ฤทธิรงค์ พระยาศรีสรจักร พระยาฤทธิรงค์รณเฉท)วางแผนก่อกบฎ โดย

1) เดินทางไปภาคอีสานเพื่อเอากำลังจากโคราชไปลุยพระนคร
2) ให้พระยาเสนาสงครมเกลี้ยกลอ่มให้นำทหารลพบุรีและนครสวรรค์ สมทบให้พระองค์เจ้าบวรเดชที่ดอนเมืองโดยให้ทหารพิษณุโลกเป็นกำลังหนุน
3) แล้วให้นำทหารปราจันบุรี และ ฉะเชิงเทรายึดสถานีมักกะสันและคลองตัน
4) ทหารราชบุรี และ เพชรบุรียึดตลิ่งชัน สะพานพระราม 6 และ สถานีบางกอกน้อย
5) ทหารในพระนครอยู่เฉยๆ ขัดขืนคำสั่งรัฐบาล
6) วันลงมือ 10 ตุลาาคม 2476

จากกาารรวมตัวกันของคน 3 กลุ่มนี้ ทำให้แผนการบุกสายฟ้าแลบ โดยใช้กำลังทหารในพระนคร เป็นหลักต้องล้มเลิก เพราะทหารพระนคร รวมทั้งร้อยโท ประยูร ภมรมนตรีไม่เล่นด้วย แล้วเอาแผนการยึดดอนเมืองทำสงครามคูค่ายประชิตที่ทหารหัวเมิองถนัดแต่ก็เป็นแผนที่สุดเลื่อนลอยเพาะยึดตัวบุคคลเป็นหลัก ..... แม้แต่หลวงวีรโยธา (ผบ รพัน 6) ลูกศิษย์พระยาทรงสุรเดช ที่เข้าได้กับทุกฝ่ายก็ขอถอนตัว และ หลวงรณสิทธิพิชัยและ หลวงชำนาญยุทธศิลป์ ก็พลอยถอนตัวไปด้วย

นอกจากนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้พระยาศรีสิทธิสงคามเป้นแม่ทัพหน้า (รองแม่ทัพ) เพราะให้พระองค์เจ้าบวรรเดชเป็นแม่ทัพแล้วและ ให้ พันเอกพระยาเทพสงคราม เป้นเสนาธิการแทน พันตรีหลวงพลหาญสงครามผู้เป็นน้องชาย


เรื่องการเคลื่อนทัพของพระองค์เจ้าบวรเดชนี้ในหลวงได้รับรู้ตลอดเพราะสายข่าวของพระองค์คอยรายงานมา ทำให้พระองค์ทรงงดการทอดกระฐินที่บางปะอิน

3 ตุลาคม 2476 นายทหารนอกราชการจากพระนครเดินทางไปที่บ้านพันเอกพระยาไชยเยนทร์ฤทธิรงค์ที่โคราช โดยขึ้นไปกะรถชั้น 3 ที่ดอนเมืองบ้าง อยุธยาบ้าง
และแต่งตัวซอมซ่อเพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต ให้สายลับจับได้

ส่วนทางโคราชได้จัดกำลัง จาก จทบ นครราชสีมา (พันโทพระปัจจานึกพินาศ - แปลก เอกะศิริ) ร พัน 15 (ผบ. พันตรีปรีชากลยุทธ - ทิม คงคานนท์)
ร พัน 16 (ผบ. พันโท หลวงจรูง ฤทธิไกร - จรูญ โชติกเสถียร)
ม พัน 3 (ผบ พันตรี หลวงอาจรณรงค์ - มล. สอ พนมวัน)
ป พัน 5 (ผบ. พันตรีหลวงแผลงสะท้าน)
ป พัน 6 (รอง ผบ. ร้อยเอกหลวงหาญรณยุทธ - สงวน บูรณสัมฤทธิ์)

นอกจากนี้ กองกำลังโคราช ได้ รพัน 17 (อุบล) เป็นกำลังเสริม ซึ่งสั่งเอาวันเดียวก็ได้แล้ว

พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท ได้นำ ทหารม้า มพัน 4 (สระบุรี - ผบ พันตรีหลวงเร้าเร่งพล - ติ่ง ว่องไว) และทหารช่างอยุธยา 2 กองพัน (ช พัน 1 ของหลวงบาดาล - ดี จารุปานทุ)
และ ชพัน 2 พันตรีหลวงวรสิทธิสงคราม (เงิน วราภิโมก) ซึ้ง ทหารช่าง 2กองพันนี้เป็นที่ไว้ใจ้ได้แน่เพราะผบ พัน เป็น ลูกศิษย์ต้นกุฏิของพระยาศรีสิทธิสงคราม และ หลวงลพบาดาลก็เลือดโคราชและเป็นพี่ชายของ พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ทองคำ ไทยไชโย อดีต ผบ กรมทหารม้ารวมเกียกกาย) ด้วย

ส่วนการขนทหาร รพัน 18 (อุดรธานี) นั้นต้องนั่งรถตามทางเกวียน 100 กว่ากิโลเมตรกว่าจะถึงสถานี ขอนแก่น ทำให้ต้องยึดหัวรถจักรและรถพ่วงจาก โรงเก็บที่นครราชสีมาไปใช้ และยึด ครฟ เป็นเชลยศึก เป็นอันว่าเลิกขบวนรถสายอีสานทั้งหมดไปโดยปริยาย

จากนั้นพระศรีสิทธิสงครามจึงให้ทหารช่างอยูธยาบุกเข้ายึดดอนเมืองก่อนเพื่อน และปล่อยข้าให้ชาวโคราชว่ารัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาจะนำคอมมูนิสต์เข้ามา ต้องส่งกำลังปราบคอมมูนิสต์

8 ตุลาคม 2476 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท เดินทางจากโคราชผ่าน สระบุรีไปกรุงเทพ
9 ตุลาคม 2476 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท ได้แอบสั่งการให้ทหารม้าสระบุรีเคลื่อนพล
10 ตุลาคม 2476 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท ได้กล่าวให้พรรคพวกทหารม้าสระบุรีระหว่างงานเลี้ยงตอนเย็นที่บ้านหลวงเร้าเร่งพล ให้ทหารม้าสระบุรี ไปลุยที่ดอนเมืองโดยจัดกำลัง 3 หมวด ดังนี้

1 กองร้อยมี 3 หมวด 1 หมวด มี 3 หมู่ ในแต่ละหมู่ มีนายสิบ 1 นาย พลทหาร 8 นาย ปลบ 18 กระบอก ปืนกลเา 4 กระบอก ได้กระสุนคนละ 60 นัด
สำหรับปืนเล็กยาว 66 และ 1200 นัดสำหรับปืนกลเบา 66 นายสิบเสนารักษ์ 1 พลเสนารักษ์ 2 นายสิบสัมภาระ l พลจ่ายข้าวและสเบียง 2 จ่ายอาหารอยู่ได้ 3 วัน


วันที่ 10 ตุลาคม 2476 กองอำนวยการใหญ่สั่งเลื่อนแผนไป 1 วัน ทั้งๆที่พระยาศรีสิทธิสงครามได้ซักซ้อมความเข้าใจไว้แล้ว ถึงขั้นร่างคำขาด แล้วคงเป็นพระพระองค์เจ้าบวรเดช ต้องการทำพิธีปลุกระดม ทหารโคราชให้ลุยเมืองหลวง
เวลา 0900 เปิดการประชุมที่ศาลาร่วมเริงชัย

เวลา 1400 พระองค์เจ้าบวรเดชประกาศยึดเมืองโคราช และ มณฑลนครราชสีมา และ ได้จับกุม คนของคณะราษฎร์ และตำรวจ ในเมืองโคราชเป็นเชลยเช่น
หลวงเดชาติวงศ์ (นายช่างกรมรถไฟ - สมาชิกคณะราษฎร์)
ร้อยตำรวจเอกขุนศรศรากร (สันติบาล - สมาชิกคณะราษฎร์)
พันตำรวจตรี พระขจัดทารุณกรรม (ผบ ภูธร 4)

11 ตุลาคม 2476 เวลา 1700 เคลื่อนพลไปดอนเมือง และให้ รพัน 17 ตามไปสมทบในวันที่ 12 ตุลาคม 2476 และให้รถขต 2 คันขนปืนใหญ่ภูเขา 63 หน้ารถจักร
รถขต หลังพ่วงปืนใหกญ่ 3 กระบอก และมีทหารรับคอยรระวังหลัง 2 หมวด ในเวลาเดียวกัน พอรัฐบาลทราบว่าระบบคมนาคมสื่อสารกับโคราชโดนตัดขาด พันตำรวจโทพระกล้ากลางสมร (มงคลล หงสไกร) จากสันติบาล และตำรวจ 32 นายอาสาไปจับกบฎให้รัฐบาล

เวลา 2030 รถไฟขบวนพิเศษของรัฐบาลมาถึงสระบุรีโดยไม่รับห่วง ส่วนทหารช่างอยุธยาลงเรือโยงจากอยุธยามากรุงเทพ

เวลา 2330 รถไฟขบวนพิเศษ พร้อมหัวรถจักรดีเซลของรัฐบาลมาถึงปากช่อง เจอขบวนกองระวังหน้าของทหารโคราช ของ ร้อยโทจรูญ ปัทมินทร์ เกิดการยิงกันข้นที่ปากช่อง
สันติบาลตาย 2 เจ็บ 2 ... กระสุนนัดแรกลั่นที่ปากช่อง จับพระกล้ากลางสมรเป็นเชลย
เวลา 2400 เรือโยงของทหารช่างอยุธยามาถึงคลองรังสิต

เวลาค่ำ นายดาบแสง จุลจาริตต์ ได้ รายงานให้พันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ผุ้คุมกองพันทหารสื่อสารทราบว่าทหารช่างอยุธยายึดดอนเมืองได้แล้ว

จากนั้นหลวงเสรีเริงฤทธิ์ได้แนะรัฐบาลให้ส่งพวกทหารสื่อสารไปเจรจาก่อน เพราะทหารสือสารและทหารช่างถือว่าเป็นทหารที่กินข้าวกระทะเดียวกันพอเจรจากันได้

12 ตุลาคม 2476 เวลา 0500 เศษ กำลังทหารช่างอยุธยายึดดอนเมืองได้ ส่วนกองระวังหน้าทหารโคคราชมาถึงสระบุรี และได้ส่งงหมวดเฝ้าระวัง คุมเชิงที่สะพานข้ามคลองบางเขน
ระหว่างสถานี บางเขนและหลักสี่ พระยาศรีสิทธิสงครามรู้สึกโมโหที่ ได้กำลังแค่ทหารช่าง 4 กองร้อยที่ไม่เต็มอัตราศึกแถมแผนก็ล่าช้าไป 1 วัน

ในเวลาเดียวกัน ชาวบ้านรายงานให้ร้อยโททองคำ จาก รพัน 8 ให้ทราบการเคลื่อนไหวที่ผิดสังเกตที่บางเขน

เวลา 0640 รถขบวนพิเศษ ที่มีพระองค์เจ้าบวรเดชประทับ และ รถุตำรวจสันติบาลพ่วงได้มาถึงสระบุรี ได้ฝังศพตำรวจ 2 นาย คือ ร้อยตำรวจโทขุประดิษฐ์สกลการ และ ดาบตำรวจทอง แก่นอบเชย ส่วนที่เจ็บก็ให้เสนารักษ์ ม พัน 4 รักษา และ ให้นำ พระกล้ากลางสมรตามพระองค์ไปด้วย

เวลา 0800 พันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ร้อยโท ขุนไสวแสนยากร ร้อยโทขุนปิยยรัตน์รณยุทธ์ และ นายดาบแสง จุลจาริตต์ เดินทางจากสถานีบางซือไปบางเขนด้วยรถโยก เพื่อเจรจากับหลวงลพบาดาลตั้งกองกำลังคุมเชิงที่นั้น จากนั้นหลวงเสรีเริงฤทธิ์ได้เจรจากันพักใหญ่ หลวงลพบาดาลแจ้งว่ายินดีถอนทัพถ้าได้รับหนังสือรับรองว่าจะไม่เอาผิด จากนั้นจึกงกลับไปที่บางเขน เพื่อให้หลวงพิบูลสงคราม ผู้บังคับการกองผสม ลงนามหนังสือรับรองว่าจะไม่เอาผิดแก่ทหารช่างอยุธยา เพื่อแลกกับการถอนทัพ พอกลับไปที่บางเขนอีกครั้ง ก็โดนทหารช่างที่คุ้นหน้าปลดอาวุธกลายเป็นเชลยศึก แล้วถูกส่งไปจองจำที่กองพันทหารช่างอยุธยา

เวลาเดียวกัน นาวาโทพระแสงสิทธิการ ได้เป็นทูตของฝ่ายบวรเดช นำสาส์นจากพระยาศรีสิทธิสงครม มาให้ ซึ่งมมีรใจความให้พระยาพหลฯ ลาออกใน 1 ชั่วโมง

แม้จะเห็นว่าพระยาศรีสิทธิสงครามเป็นเพื่อนตน แต่การกระทำแบบนี้เข้าข่ายกบฏชัดๆ เลยจับ พระแสงสิทธิการไปขังคุกทันที

เวลา 0900 กองระวังหน้าทหารโคราชมาถึงดอนเมือง ขณะเดีวกันที่วังปารุศสกาวันเปิดการประชุม

เวลา 1000 ทัพหลวงพระองค์เจ้าบวรเดชมาถึงดอนเมือง และให้ส่งมอบหน้าที่การคุมดอนเมืองให้ ร พัน 16 และ ทหารม้า โคราช กองร้อย 1 มาถึงจึงได้ไปคุมเชิงที่สะพาน
ข้ามคลองบางเขน ต่อมาให้ทราช่างอยุธยายึดสถานีตำรวจบางเขน และ อำเภอบางเขนใกลๆ วัดแคราย (วัดเทวสุนทร) มีการดัดแปลงภ๔มิประเทศเป็นรังปืนกลเบา
มีการย้ายกองอำนวยการจากสถานีดอนเมืองไปที่สโมสรนายทหารอากาศ

การวางแผนและการสั้งการทหารจากกองอำนยการ มีความสับสน พระยาศรีสิทธิสงคณษฒ ต้องวิ่งขึ้นลงระหว่างบางเขนกะดอนเมืองบ่อยๆ กองพันต้องวางแผนไปกันเอง
ก็เพราะพวกเสนาธิการในกองอำนวยการหมายน้ำบ่อหน้าทั้งนั้น

พอเห็นคณะทูตทหารสื่อสารไม่กลับมา ก็ผิดสังเกต หลวงพิบูลย์สงครม ได้สั่งการให้ รพัน 8 ของหลวงอำนวยสงครามจึงเคลื่อนพลไปบางเขน พร้อมกับ ถ 76 และ ปตอ 76 ขึ้นบนรถ ขต.
แล้วให้ รพัน 3 กับป พัน 1 พร้อมรถถัง 76 ของ รพัน 3 ไปคุมเชิงที่ สถานีมักกะสันเพื่อเผชิญหน้ากะ รพัน 9 (ปราจีนบุรี)

เวลา 1445 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ประกาศกฏอัยการศึกในมณฑ,กรุงเทพ และ มณฑลอยุธยา เพราะพระยาศรีสิทธิสงครามได้ยึดดอนเมืองและยื่นคำขาดให้ฃลาออกใน 1 ชั่วโมง

เวลา 1700 ปืนใหญ่รัฐบาลจาก ป พัน 1 รอ ยิงเตรียมเบิกทาง ถล่ม ฝ่ายบวรเดชทันที ก่อนการรบจริงวันที่ 13 ตุลาคม 2476 ซึ่งจะให้ทการเรื่อนำเรือปืนสุโขทัยถล่ม หทารรดอนเมือง
จากปากคลองรังสิต ตั้งแต่เวลา 0600 วันรุ่งขึ้น


Last edited by Wisarut on 03/09/2006 7:57 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10  Next
Page 4 of 10

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©