Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274887
ทั้งหมด:13586183
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ร.5 กับการเสด็จฯ ทางรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ร.5 กับการเสด็จฯ ทางรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2023 11:46 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“#ผาเสด็จ”
.
รภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ประมาณ 25 กิโลเมตร ระหว่าง กม.ที่ 132-133 หากไปจากสระบุรีเลี้ยวซ้ายตรงบริเวณโรงเรียนบ้านซับบอนไปประมาณ 3 กิโลเมตร ผาเสด็จอยู่เลยจากสถานีรถไฟไปประมาณ 50 เมตร
https://www.facebook.com/groups/132481274010271/posts/1196823757576012


เรื่องลี้ลับที่
ผาเสด็จ
บุญญาธิการของล้นเกล้ารัชกาลที่5
เมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่แล้วรัฐบาลสยาม ได้จ้างสถาปนิกฝรั่งให้มาสำรวจเส้นทาง การสร้างทางรถไฟสายหัวลำโพง -นครราชสีมา คณะสำรวจก็ได้บุกป่าฝ่าดงเลาะไต่เขาปีนเขากันไปตลอดทาง คราวนี้คณะสำรวจก็มาถึงบริเวณผาเสด็จ
ก็พบต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีขนาด 3 คนโอบ จะเลี้ยวไปทางซ้ายก็ตกเหว จะเลี้ยวทางขวาหรือก็เจอผาเขา ยากที่จะปีนจะต้องตัดต้นตะเคียนต้นนี้ออก พอตัดต้นตะเคียนก็มีคนล้มตายลงเรื่อยๆ
จนไม่มีใครกล้าตัดโดนไข้ป่าตายกันบ้าง
ฝรั่งเป็นชาติที่ไม่เชื่อเรื่องผีสางอยู่แล้วก็จะตัดให้ได้ ทั้งคนงานในคณะสำรวจซึ่งเป็นคนไทยส่วนมาก และก็จ้างคนมามากมายแต่ไม่มีใครกล้าตัด ความทราบถึงรัชกาลที่ 5 ที่ทำทางรถไฟไม่สำเร็จเพราะมีอุปสรรคอย่างนั้น
พระองค์ท่านทรงตัดสินพระทัยจะเสด็จไปดูด้วยพระองค์เอง
ก็เสด็จมาทางรถไฟซึ่งยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยดี แต่ก็แล่นได้
มาประทับกลางดง ซึ่งทางข้างหน้านั้นมีผาสูง
รัชกาลที่ 5 ก็ทรงบวงสรวงตะเคียนต้นนั้น เพื่อขอขมาลาโทษแก่เจ้าที่เจ้าทางเพื่อที่จะทำทางรถไฟต่อไป พระองค์โปรดฯให้นำตราแผ่นดินไปตีประทับโคนต้นไม้ขนาดใหญ่บริเวณนั้นเป็นการเอาเคล็ด แล้วรับสั่งให้ดำเนินการสร้างทางต่อไป และโปรดฯให้สร้างศาลพระภูมิขึ้นแห่งหนึ่ง ณ ที่เงื้อมผานั้น แล้วเสด็จไปทรงจารึกพระปรมาภิไธย จปร. และ ส.ผ. ไว้บนชะง่อนหินนั้นด้วย
พอตกกลางคืนก็ได้ยินเทวดา ผีป่า นางไม้ มาพูดกันว่า “ เจ้าบ้านครองเมืองเขามาขอก็ให้เขาเสียเถอะ พระบารมีพระเจ้าอยู่มีบุญญาธิการมากนัก ข้าจำเป็นต้องให้เขาแล้วไปหาที่อยู่ใหม่ ”
ตั้งแต่นั้นมาการโค่นต้นไม้และการสร้างทางรถไฟก็เสร็จลงด้วยดี
เมื่อตัดเส้นทางรถไฟเฉียงเลี่ยงออกจากเงื้อมผานี้เล็กน้อยก็ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น การสร้างทางรถไฟจึงประสบความสำเร็จ
เมื่อพระองค์เสด็จมาทำพิธีเปิดทางรถไฟ ขณะเสด็จกลับได้ผ่านป่าใหญ่ดงดิบ (ปัจจุบันคือบริเวณเขื่อนลำตะครอง) ถึงสถานีรถไฟปากช่องก็ได้ทรงรับสั่งถามว่า "ป่านี้ชื่อว่าอะไร" ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้กราบบังคมทูลว่าชื่อ "ป่าดงพญาไฟ" พระองค์ทรงรับสั่งว่า "ป่านี้ชื่อฟังดูน่ากลัว" จึงตรัสว่า "ให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดงพญาเย็น เพื่อความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของอาณาประชาราษฎร์ในวันข้างหน้า"
https://www.facebook.com/muhnee/posts/2346165619038510
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/01/2024 3:07 am    Post subject: Reply with quote

จาก พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จ ประพาสมณฑลราชบุรี ในปีระกา ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) มีเล่าเรื่องการจราจรทางน้ำผ่านคลองภาษีเจริญ ที่แสนจะคับคั่งปานถนนเจริญกรุง แต่เป็นช่วงผ่าน ระหว่างพระนครกะ นครปฐม เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมณฑลราชบุรี เมื่อ 11 สิงหาคม ร.ศ. 128 เนื่องจากขุดกว้่างแค่ หกวา ไม่ได้กว้างตั้งแปดวา เพราะสมเด็จเจ้าพระยาหมาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต้องการหาประโยชน์จากที่ดินริมคลองภาษีเจริญ กว่าจะถึงประตูน้ำบางยาง ก็กินเวลานาน แถมต้องรอให้น้ำขึ้นมาเสมอกันด้วย เนื่องจากระดับนำ้ผิดกันตั้งศอก

จากนั้นจึงเสด็จตาม คลองดำเนินสะดวก คลองบางน้องฝั่งตะวันออก และ คลองบางป่า ฝั่งตะวันออก เพื่อเลี่ยงการรอน้ำขึ้นขึ้นที่ประตูน้ำ กว่าจะมาถึงแม่น้ำแม่กลอง แล้วถึงเมิองราชบุรี เมื่อ 30 สิงหาคม ร.ศ. 128

วันที่ 2 กันยายน ร.ศ. 128 ได้ประทับรถลาก (รถเจ๊ก) ชมเมืองราชบุรี ข้ามสะพานรถไฟดูการตั้งโรงทหาร (กองพลที่ 4 ที่กลายสภาพเป็นค่ายภาณุรังษี เมื่อทหารช่างเข้ามาอยู่แทนหลังยุบกองพลที 4 ลงเหลือกองพันทหารราบประจำเมืองราชบุรี)

นอกจากนี้ได้ทอดพระเ้นตรสถานีรถไฟราชบุรีก็พบความไม่สะดวกหลายเรื่องที่กรมรถไฟต้องแก้ไขด้วย เพราะ การขนสินค้าจากนครปฐมและเพชรบุรี มาลงสถานีราชบุรี นั้นถ้าลงทางถนนหลังสถานีก็ต้องพึ่งพารถเจ๊ก ถ้าลงคลองหลังสถานี ก็มีปัญหาทำนบกั้นน้ำทำให้คลองหลังสถานีเน่าเฟอะฟะ
ควรเร่งทำคันดินคลองให้สูง เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้ระหัดวิดน้ำ เพื่อถ่ายน้ำอย่าให้เน่า และ ยังมีปัญหาถ่ายสินค้าลงเรือที่ ต้องเดินข้ามย่านสถานีที่จำต้องอลุ้มอหล่วยให้ แต่ตอนหลังถมคลองแล้วทำถนนทำทางลอดเชิงสะพานราชบุรีเชื่อมถนนเข้าด้วยกัน เลยค่อยยังชั่ว

วันที่ 3 กันยายน ร.ศ. 128 เสด็จจากราชบุรีนครปฐม ทำให้รู้ว่าสถานีรถไฟนครปฐม อยู่กลางทุ่ง หน้าพระปฐมเจดีย์ แต่ก็เริ่มมีตลาดขึ้นหนาแน่นจากสถานีไปถึงพระปฐมเจดีย์ แต่ถนนเป็นโคลนต้องโรยแกลบเพื่อ แก้ปัญหาถนนเป็นโคลน แต่จะให้ดีต้องถมหินแบบเดียวกะเมืองราชบุรีที่เอาศิลาจากเขาหลาว ถมทำถนนโดยหิน เสียแต่ว่าวันนั้นฝนตก เลยต้องล่าช้าไป และ วันนั้นทำให้ทรา่บว่ายังเรียกบ้านสนามจันทร์ของพระบรมโอรสาธิราชว่า บ้านสนามจันทร์ฺ พอตอนบ่ายสาม จึงเดินทางต่อไปบ้านโป่ง เพื่อประทับเรือกลไฟแล่นทวนน้ำไป กาญจนบุรี ที่ออกเดินทางวันที่ 4 กันยายน ร.ศ. 128 ถึงเมืองกาญจนบุรีเมื่อ วันที่ 5 กันยายน ร.ศ. 128 ตอนนี้เริ่มปลูกยาสูบที่กาญจนบุรีกันมากขึ้น ได้ขึ้นไปขึ้นไปลำแควน้อย เมื่อ วันที่ 6 กันยายน ร.ศ. 128 และ ได้เสด็จตัวเมืองกาญจนบุรี เมื่อ วันที่ 7 กันยายน ร.ศ. 128 ทอดพระเนตรวัดใต้ วัดเหนือ ประตูเมือง ตลาดในเมือง ที่กาญจนบุรีมีเสือกะ ผลไม้พื้นเมืองนอกเหนือจากของจากกรุงเทพ
ไ้ดพบชาวตำบลหนองขาวที่ฝีปากกล้า ที่เคยทำให้ ร. 4 ปลดเจ้าเมืองกาญจนบุรีที่ปกครองหย่อนยานมาแล้ว ได้ทอดพระเนตรวัดญวนเมืองกาญจนบุรีด้วย ที่สวดอย่างไทยแต่มีจุดประทัด มีพระพุทธรูปหินทราย เอาจากเมืองกาญจนบุรีเก่าที่ ลาดหญ้า เมืองกาญจนบุรีที่ปากแพรก เล็กกว่าที่ราชบุรีแต่ภูมิสถานดีกว่าเมืองเก่าที่ ลาดหญฺ้า เพราะ น้ำแรง ถ้าแล่นทวนน้ำตามแควใหญ่ ก็ 3 ฃั่วโมง และ ต้องเดินทางทวนน้ำอีก 1 ฃั่วโมง กว้าจะถึง เขาชนไก่ และ ถ้าไปศรีสวัสดิ์ต้องแจวเรือ 15 วัน เพราะ น้ำแรงมาก จนใบจักรเรือกลไฟบิ่น เลยต้องเลิกล้มแผนการลงเรือทวนน้ำ ไปกาญจนบุรีเก่า และ ศรีสวัสดิ์
ต่อมาจึงล่องเรือจากกาญจนบุรี มาทางโพธาราม พบว่ามีคนที่โพธารามมากกว่าที่ตัวเมืองราชบุรีเสียอีก ก่อนจะล่องเรือถึงแม่กลอง ก่อนไปวัดอัมพวันเจติยาราม เมื่อ วันที่ 10 กันยายน ร.ศ. 128 ก่อน เสด็จ ออกปากน้ำแม่กลอง ออกทะเลเลียบฝั่งต่อไปที่บ้านแหลม ก่อน ลงเรือ เข้าปากน้ำเพชรบุรี ไปถึงเมืองเพชรบุรี วันที่ 11 กันยายน ร.ศ. 128 จากนั้นจึงเสด็จทอดพระเนตรเมืองเพชรบุรี วันที่ 12 กันยายน ร.ศ. 128 จนถึงวัดสุวรรณาราม และ ได้ประทับพับพลา ในบริเวณที่กะจะทำเป็นวัง (วังบ้านปืน) เพื่อประทับในฤดูฝน เนื่องจากเวลาประทับที่กรุงเทพ ในฤดูฝนทีไร มักประชวร ซึ่งจะกระทบพระโรควักกะพิการ ต่อมา วันที่ 13 กันยายน ร.ศ. 128 ได้เสด็จวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง) ใกล้ๆ พระนครคีรี ที่มักมีปัญหาขาดแคลนน้ำ และ วัดอยู่บนเขาหินปูน พอโดนฝนหินปูนมักคายความร้อน จนทำให้พระสงฆ์ อาพาธไปตามๆกัน เลยบริจาคเงินขุดบ่อน้ำ และ ให้เลี้ยงพระด้วย และได้ทราบสาเหตุที่ไม่ใช้พระนครคีรีเป็นที่ประทับอีก หลังจากการเสด็จเมืองเพชรบุรี เมื่อปี ร.ศ. 106 ที่เกิดเหตุความไข้ที่ทำให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย ทรงพระประชวร ก่อนจะ สิ้นพระชนม์ เมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว จากนั้นจึงเสด็จวัดเขาบันไดอิฐ และ วันนั้นได้พบท่านทูตอเมริกันและภรรยาที่มาเที่ยวเมืองเพชรบุรีด้วย

วันที่ 14 กันยายน ร.ศ. 128 เสด็จทางชลมารคตามลำน้ำเพชรบุรี และได้กล่้าวถึงแม่น้ำทั้ง 5 เพื่อใช้ในงานบรมราฃาภิเษก คือ แม่น้ำบ่างปะกง แม่น้ำป่าศักดิ์ แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรีที่ท่าไชย ไม่ยักกะเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเสียนี่

วันที่ 17 กันยายน ร.ศ. 128 เสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครทางรถรถไฟจากเพชรบุรี เนื่องจากแผนเดินที่จะเสด็จทางเรือ ไปขึ้นรถไฟที่ แม่กลอง ไม่สมประสงค์ เพราะ ติดปัญหาเรื่องน้ำในฤดูฝน

ในหลวงรัชกาลที่ห้า ท่านเล่าเรื่องในพระราชหัตถเลขาว่า อากาศที่เมืองเพชรบุรีในฤดูฝนนี้ดีจริงๆ
ดีกว่าที่กรุงเทพเสียอีก ไม่มีความไข้ไม่มียุงรบกวน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 2:50 am    Post subject: Reply with quote

จาก จดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี ร.ศ. ๑๒๑ พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2516 ทำให้ทราบว่าได้มาการเดินรถไฟสายเพชรบุรีแบบพิเศษก่อนที่จะเปิดรับผู็โดยสารอย่างไม่เป็นทางกา่รระหว่างสถานีบางกอกน้อยและเพชรบุรี เมื่อ 1 เมษายน ร.ศ. 122 ดังนี้:

วันอังคารที่ 3 มีนาคม ร.ศ. 121

เช้า 2 โมง 15 นาที: ออกรถไป ศาลายา ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่หนึ่ง แสดงว่า ทางระหว่างบางกอกน้อย กับศาลายา ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

เช้า 3 โมง ครึ่ง: ถึงสเตชั่นบ้านเขมร (นครชัยศรี) ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่สอง หยุดมีถังน้ำ แสดงว่า ทางระหว่างศาลายา กับ บ้านเขมร ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

เช้า 4 โมง: ถึงสถานีพระปฐม มีสเตชั่น ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่สาม หยุด มีคนลงมาก แสดงว่า ทางระหว่างบ้านเขมร กับพระปฐม ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

เช้า 4 โมง 35 นาที: ถึงบ้านด่าน (คลองบางคาล) สเตชั่นเตี้ย และ ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่สี่ แสดงว่า ทางระหว่างพระปฐมกับบ้านด่าน (หนองปลาดุก) ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

เช้า 4 โมง 50 นาที: ถึงบ้านโป่ง มีสเตชั่นไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่ห้า มีถังน้ำหยุดมีผู้โดยสารจำนวนมาก แสดงว่า ทางระหว่างบ้านด่าน กับ บ้านโป่ง ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

เที่ยง 15 นาที ถึงราฃบุรี สเตชั่นมีไซดิ้ง บ่าย 2 โมง 40 นาที ออกจากราชบุรี

บ่าย 3 โมง 10 นาที ถึงสถานีบ้านโพธิ์ (ปากท่อ) สเตชั่นเตี้ย และ ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) ที่หก แสดงว่า ทางระหว่างพระปฐมกับบ้านโพธิ์ (ปากท่อ) ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

บ่าย 4 โมง ถึงสถานีบ้านน้อย (เขานัอย) สเตชั่นชั้นเดียว และ ไซดิ้ง (หลีกรถไฟ) แสดงว่า ทางระหว่างบ้านโพธิ์ (ปากท่อ) กับบ้านน้อย (เขาน้อย) ไม่มีหลีก หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

บ่าย 4 โมง 30 นาที ถึงสถานีเพชรบุรี สเตชั่นใหญ่ มีไซดิ้ง แสดงว่าระหว่างบ้านน้อย (เขาน้อย) กับ เพชรบุรี หรือ มีหลีกเพิ่มมาภายหลังเมื่อเดินรถเพิ่ม

น่าเสียดายมาก ว่า บันทึกวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม ร.ศ. 121 นั้นได้สูญหายไป ทำให้ไม่ทราบว่าใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนครเท่าไหร่

http://www.snc.lib.su.ac.th/libmedia/west/westbk/letter-ratchaburi.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 2:56 am    Post subject: Reply with quote

วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๔๗ : เสด็จไปประทับที่บ้านปลัดเทศาภิบาล และเสด็จทอดพระเนตรในที่บริเวณนั้นแล้วเสด็จรถไฟชั้นที่ ๓ ปะปนไปกับราษฎร เสด็จขึ้นรถพ่วงที่บ้านกล้วย ทำครัวเย็นที่โพธาราม แล้วประทับเรือประทุน ๒ แจวที่เช่า ล่องจากโพธารามกลับเมืองราชบุรี

วันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๔๗ :เสด็จกระบวนต้นขึ้นทางหัวเวียงออก บางโผงเผง ถึงบางหลวงอ้ายเอียง ประพาส บ้านนายช้าง-นางพลับ เสด็จทางบ้านกุ่ม กลับถึงบางปะอิน แล้วทรงรถไฟพิเศษ กลับกรุงเทพฯ ประทับในพระบรม มหาราชวัง

https://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/f6f8DSfhg8Thu84813.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 2:56 am    Post subject: Reply with quote

วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๔๗ : เสด็จไปประทับที่บ้านปลัดเทศาภิบาล และเสด็จทอดพระเนตรในที่บริเวณนั้นแล้วเสด็จรถไฟชั้นที่ ๓ ปะปนไปกับราษฎร เสด็จขึ้นรถพ่วงที่บ้านกล้วย ทำครัวเย็นที่โพธาราม แล้วประทับเรือประทุน ๒ แจวที่เช่า ล่องจากโพธารามกลับเมืองราชบุรี

วันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๔๗ :เสด็จกระบวนต้นขึ้นทางหัวเวียงออก บางโผงเผง ถึงบางหลวงอ้ายเอียง ประพาส บ้านนายช้าง-นางพลับ เสด็จทางบ้านกุ่ม กลับถึงบางปะอิน แล้วทรงรถไฟพิเศษ กลับกรุงเทพฯ ประทับในพระบรม มหาราชวัง

https://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/f6f8DSfhg8Thu84813.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7
Page 7 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©