Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311726
ทั่วไป:13467493
ทั้งหมด:13779219
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การเสด็จประพาสทางรถไฟ สมัย ร. ๖
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การเสด็จประพาสทางรถไฟ สมัย ร. ๖
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43374
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2024 12:54 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
วันนี้ได้ซื้อหนังสือ เรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๖๐ พิืมพ์เมื่อปี 2537 ทำให้เราได้ทราบว่าสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้นการเดินทางตรวจราชการ (ตรวจการณ์คณะสงฆ์) เขาไปมากันอย่างไร และ ในสมัย ร. ๖ นี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ ตามหัวเมืองต่างๆดังนี้

มณฑลปักษ์ใต้ ๙ มิถุนายน - ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ครั้งนี้ไปทางเรือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเสด็จฯ เมืองเกาะหลัก ชมสถานีรถไฟ เกาะหลัก (ประจวบคีรีขันธ์) ด้วย และ เสด็จ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง เวลานั้น ถนนจากพัทลุงไปตรัง (ทับเที่ยง) ได้ทำเสร็จแล้ว และ ทอดพระเนตรทางรถไฟ จาก ตรัง (กันตัง) ด้วย
มณฑลฝ่ายเหนือ ๑๔ พฤศจิกายน - ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ครั้งได้เสด็จโดยทางรถไฟจากโดยประทับรถ สาลูนพ่วงพิเศษ (ต่อมาได้เรียกรถ สาลูน ว่า รถจัดเฉพาะ) จาก สถานีกรุงเทพ (สมยนั้นไม่ระบุชัดแต่จากบันทึกก็พอสันนิษฐานได้ว่าเป็น ที่สถานีกรุงเทพ) ผ่านสถานีบางปะอิน และ หยุดรถที่สถานีกรุงเก่า ๓ นาที โดย พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และ คณะ มารับเสด็จ จากนั่้นรถไฟออก ถึงสถานีบ้านพาชี เวลาสเที่ยง ๓๗ นาที ซึ่งใหญ่กว่า สถานีบางปะอิน และ สถานีกรุงเก่า ยาวไม่ต่ำกว่า ๒ เส้น มีโรงพักรถและที่เก็บรถ มีโณงไว้กองฟืนกองโตๆ ๒-๓ โรง รถไฟสายนครราชสีมาและ พิษณุโลกแยกกันที่นี่ รถสายพิษณุโลกมาถึงนี่แบ่งรถพ่วงออกเสียครึ่งหนึ่ง รอคอยกลับรถและหลีกที่นี่ ถอยหน้าถอยหลังอยู่ ๑๖ นาที จึงออกเดินทางต่อไป ถึงสถานีท่าเรือ บ่้าย ๑ โมง ๓ นาที รถหยุด ๕ นาที เห็นรถไฟเล็กไปพระพุทธบาท ต่อไปอีก ๑๘ นาที ถึงสถานีบ้านหมอ มีคนขึ้นลงราว ๑๐ คน ที่บ้านหมอเป็น บ้านหมู่ใหญ่ ตอ่ไปถึงสถานีหนองโดน อำเภอพระพุทธบาท ทางขวาเห็นเขาพระพุทธบาท แต่ข้างซ้ายไม่มี

เวลาบ่าย ๒ โมง ๒ นาทีถึง สถานีลพบุรี แลเห็นวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดใหญ่ และ ปรางค์เทวสถาน (พระปรางค์สามยอด) มีโรงทหารตั้งอยู่ริมทางรถไฟข้างขวา (ต่อมายกเป็นค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ ปี ๒๔๘๓) แต่ มีเรื่องน่าเสียใจคือเรืองการที่คณะสงฆ์เมืองลพบุรีไม่มีการจัดแถวพระสงฆ์ออกมารับเสด็จ เมื่อ รถไฟมาถึงลพบุรี มีแต่คฤหัสถ์ออกมาตั้งแถวรับเสด็จแต่เพียงเล็กน้อย ก็แต่ลูกศิษย์และ ข้าราชการกระทรวงธรรมการ

เวลาบ่าย ๓ โมง ๒๑ นาทีถึง แดนเมืองลพบุรี กับ เมือง นครสวรรค์ ต่อกัน ต่อไป ๑๔ นาที ถึงสถานีช่องแค มีเขาใกล้ทางรถไฟมาก ที่พาดรางต้องระเบิดเขาให้ต่ำลง ที่เขานี้ระเบิดหินบรรทุกรถไฟลงไปถมที่กรุงเทพ เห็นคนขึ้นไปทำหินบนเขาประมาณ ๒๐ คน เป็นคนตัวเล็กขนาดเด็กอายุ ๑๐ ขวบ ถึงสถานีนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) เวลาบ่าย ๕ โมง ๔๖ นาที มีพระสงฆ์และข้าราชการ เช่นเสือป่า เข้าแถวเป็น ๓ แถวรับเสด็จ จาากนั้นจึงประทับเรือ กลไฟ อบเชย ที่จอดรอที่ท่าลงแม่น้ำน่าน ผ่านแควแม่น้ำปิง และ เกาะญวนก่อนถึงท่าปากน้ำโพที่ แม่น้ำเจ้าพระยา

ขณะที่ประทับเมืองปากน้ำโพ ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์และ การศึกษาที่โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลนครสวรรค์ ในเมือง นครสวรรค์ และ ประทับเรือกลไฟอบเชย เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ที่โกรกพระ เก้าเลี้ยว บรรพตพิสัย ก่อน จะเสด็จทวนน้ำขึ้นไปยังกำแพงเพชร โดยป่านแดนเมืองนครสววรรค์กับกำแพงเพชรที่ ตำบลบางแก้ว และ หาดชะอม กิงอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี (บ้านแสนตอ) มีนายอำเภอแม่กลอง รับเสด็จ (ต่อมาถูกยุบเป็นหมู่บ้านแม่กลอง หลังยุบอำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี ไปรวมกับ บ้านอุ้มผาง เพื่อตั้งกิ่งอำเภออุ้มผาง จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2469 เมื่อยกขึ้นเป็นอำเภออุ้มผางปี 2499 ก็โดนไปสังกัดจัดหวัดตากแทน) จากนั้นจึงเสด็จยังคลองขลุงที่ความไข้ไม่แรงเท่าที่บ้านแสนตอ

การเดินทางเรือสมัยนั้น พอหน้าแล้งเรือกลไฟมักติดสันดอนแม่น้ำปิง เพราะ น้ำลงมาก และ คงต้องรอฤดูน้ำหลากเพื่อเดินเรือต่อไปได้ซึ่งไม่สะดวกเลย จากนั้นจึงประทับเรือชะล่าขึ้นเหนือไปยังเมืองกำแพงเพชร และ เมืองตาก ก่อนเสด็จกลับคืนกำแพงเพชรและนครสวรรค์ จากนั้นจึงเสด็จลองไปยังเมือง พยุหคีรี ด้วยเรือที่กระทรวงทหารเรือจัดให้

หลังจากที่ทอดพระเนตรเจดีย์วัดมหาธาตุเมืองกำแพงเพชรที่ พ่อค้าพม่าซ่อมแปลงจากพระปรางค์เป็นเจดีย์ทรงพม่าแล้ว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้แนะนำให้พระครู และ เจ้าคณะแขวงทั้งหลาย ให้รู้จักวิธีรักษาวัด อย่ายอมให้ญาติโยมผูัมีจิตศรัทธาแต่ไร้ปัญญาซ่อมแปลงพระเจดีย์หรือ อุโบสถ ตามใจชอบซึ่งทำให้ ของเก่าๆ ดีๆ ต้อง เสียหายไปอย่างน่าเสียดาย

หลังจาก เสด็จพยุหคีรีแล้ว จึงเสด็จยังเมืองมโนรมย์ เข้าแม่น้ำสะแกกรัง (แม่น้ำบ้านตากแดด) ไปยังเมืองอุทัยธานี เขวงอุทัยเก่า (อำเภอหนองฉาง) อำเภอหนองหลวง (อำเภอหนองขาหยั่ง) จากนั้นจึงเสด็จเมืองชัยนาท เมืองอินทบุรี เมืองสิงห์บุรี และ ทอดพระเนตรพระนอนจักรสีห์ที่เป็นของคู่บ้านคู่เมืองสิงห์บุรี จากนัี้นจึงเสด็จเมืองอ่างทอง ป่าโมกก่อนเสด็จล่องมายังเมืองกรุงเก่า ทอดพระเนตรพระไตรรัตนนายกวัดพนัญเชิง จากนั้นจึงเสด็จลองมายังวัดสำแล ที่เชียงราก ทอดพระเนตรประตูน้ำประปา ทีวัดสำแลทอดพระเนตรวัดไก่เดี้ย วัดประทุมทอง และ วัดบางหลวงใน เมือง ปทุมธานีก่อนเสด็จถึงท่ากรมตำรวจภูธร ก่อนประทับรถยนต์พระที่นั่งกลับวัดบวรนิเวศวิหาร
และเสด็จกลับคืนกรุงเทพ

มณฑลฝ่ายเหนือ ๑๘ พฤศจิกายน - ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ คราวนี้เสด็จถึงตัวเมืองพิษณุโลก โดยเสด็จยังสถานีรถไฟสายเหนือ (สถานีกรุงเทพ) ขึ้นไปภาคเหนือ คราวนี้มีการตั้งขบวนรับเสด็จที่สถานีเชียงราก ที่เป็นรอยต่อแดนมณฑลกรุงเก่า มีการตั้งขบวนรับเสด็จที่กรุงเก่า ลพบุรี บ้านหมี่ ช่องแค นครสวรรค์(ปากน้ำโพ) คราวนี้่กระบวนรับเสด็จดูเรียบร้อยกว่าเมือปีกลาย พอถึงสถานีชุมแสง อำเภอเกยชัย (ปัจจุบันคืออำเภอชุมแสง) ที่เป็นรอยต่อแดน มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก ได้หยุดรถ เพื่อ ให้ข้าราชการเข้าเฝ้า จากนั้น จึงหยุดรถที่บางมูลนาก (สมัยที่บางมูลนากยังเรียกว่าอำเภอภูมิ) ตะพานหิน พิจิตร ถึงเมืองพิษณุโลก ก็ย่ำค่ำ

วันต่อมาจึงเสด็จวัดมหาธาตุเพื่อนมัสการพระพทธชินราช วัดนางพระยาเพื่อทอดพระเนตรโรงเรียนตัวอย่าง จากนั้นได้เสด็จกรมทหารกองพลงที่ 7 (ค่ายพระเนศวร) พลบค่ำจึงเสด็จวัดมหาธาตุเพื่อถวายโคมลอนดอนเป็นพุทธบูชา วันสต่อมาเจ้าคณะสวรรคโลก และ เจ้าคณะลำปาง มาเข้าเฝ้า จากนั้นจึงเสด็จสโมสรเสือป่า มณฑลพิษณุโลก เวลาบ่้ายเสด็จวัดท่ามะปราง ก่อน ประทับรถไฟพระที่นั่งยังเมืองพิชัยใหม่ (สถานีอุตรดิตถ์) รถไฟออก เมื่อเวลาบ่าย ๑ โมง ๔๐ นาที ผ่าน บ้านตูม แควน้อย กรับพวง หนองตม บ้านโคน เมืองพิชัยเก่า ก่อน ข้ามสะพานปรมินทร์ (ต้นฉบับไพล่เรียกเสียว่าสะพานจุฬาลงกรณ์เสียนี่) ยาว เกือบ 3 เส้น ถึงสถานีบ้านดารา ข้างซ้ายมือมีทางรถแยกไปที่สวรรคโลก ผู้ว่าราชการเมืองพิชัยมาคอยรับเสด็จที่ บ้านดารา และ นายไวเลอร์ นายตรวจทางรถ (ถ้าไม่ใช่ลูกของเจ้ากรมไวเลอร์ก็คงจะเป็นเจ้ากรมไวเลอร์ขณะเดินทางตรวจพินิจการก่อสร้างทางรถไฟไป ลำปางเป็นแน่) เฝ้า ก่อนจะให้ประชาชนเข้าเฝ้า จากนั้นรถผ่าน สถานีท่าสัก วังหิน (ตรอน) วังกะพี้ ถึงสถานีเมืองพิชัยใหม่ (สถานีอุตรดิตถ์) บ้าย ๕ โมง ๒๐ นาที

วันต่อมา (๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) จึงเสด็จท่าเสาด้วยทางรถยนต์ เสด็จวัดใหม่ท้ายตลาด ซึ่งเจ้าอาวาสมีประสงค์ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ซึ่งสมควรแก่การเพราะ ห่างจากวัดอื่นอยู่แต่ ทรงแนะให้จะสิ่งปลูกสร้างภายในวัดให้เป็นระเบียบอย่าให้รกเป็นที่รำคาญเสียก่อนจึงจะขอพระราชทาน วิสุงคามสีมาได้ จากนั้นจึงเสด็จวัดดอยท่าเสา พบว่า เจ้าอาวาสปล่อยให้วัดรกรุงรังไปด้วยหญ้า และ ยังให้พระลูกวัดสวดแทนต้นทั้งที่เจ้าอาวาสควรนำสวดเอง ซึ่งเป้นเรื่องไม่ดีเลย จึงให้ เจ้าคณะมณฑลพิษณุโลกอายัดตัวไว้ และ ภาคทัณฑ์ไว้ว่าถ้าผู้ตรวจการคณะสงฆ์ ได้ทอดพระเนตรวัดนี้ แล้่วยังปล่อยให้รกรุงรัง จะลงโทษ แก่เจ้าอาวาส ที่โดนอายัดตัวไว้

หลังจากทอดพระเนตรวัดต่างๆแล้ว จึงเสด็จกลับที่ประทับ เจ้าคณะเมืองแพร่ และ ผู่ว่าราชการเมืองแพร่เข้าเฝ้า ทำให้ได้ทราบว่า แต่ก่อน ท่าอิฐ ยังคึกครื้นเพราะ เป็นที่ประชุมเรือสินค้า แต่พอมีรถไฟ คนหนีไปที่ท่าเสาที่สะดวกกว่าและ น้ำไม่ท่วมเท่าที่ท่าอิฐ ทำให้ ท่าอิฐซบเซาขนาดเรือนราคาหลายพันยังขายในราคาพันเดียว จดหมดสภาพการเป็นตลาด มีตลาดแต่ที่บางโพที่เป็นของคนไทยและตลาดท่าเสาของคนจีนและตั้งแต่รถไฟเดินถึงเด่นไชย มีผู้คนยกไปตั้งเรือนที่เด่นไชยกัีนมากขึ้น

วันต่อมา (๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาศน์ และ พระธาตุทุ่งยั้งที่มีเจดีย์ทรงพม่า และ ทอดพระเนตรเวียงเจ้าเงาะ และ วัดท่าถนน ทรงแนะให้เจ้าอาวาศวัดท่าถนน ใช้แต่กระเบื้องไทย แทนที่จะเป็นกระเบื้องไทยปนไปกับกระเบื้องซีเมนต์ซึ่งดูไม่งามตา ก่อน ประทับรถไฟพระที่นั่งเสด็จยังเด่นไชย รถออกเวลา เช้า๔ โมง ๒๑ นาที ผ่านสถานีท่าเสา ผ่านเขาพลึง และ อุโมงค์ ๒ แห่ง อุโมงค์แรกยาว ๓ เส้น อุโมงค์หลังในเขตเมืองแพร่ ยาวเกือบ ๑๐ เส้น เวลาเที่ยว ๘ นาทีถึงเด่นใจ มีฝนตก

ขณะที่มีการรับเสด็จ ผู้ว่าราชการเมืองแพร่ ได้จัดรถโถงพิเศษเพื่อทอดพระเนตเส้นทางรถไฟจากเด่นใจ ไป บ้านปินซึ่งเป็นปลายรางในสมัยนั้น เนื่องจาก มีพระประสงค์จะทอดพระเนตร ภูมิสถานถนัด เนื่องจาก ทางผ่านจากเด่นใจไปบ้านปิน นั้นเลียบ แม่น้ำยมอันดาษดื่นไปด้่วยแก่งและหินผา รถโถงออกเมื่อ เวลา บ่ายโมง ๓๓ นาที ได้ผ่าน สถานีปากปาน แก่งหลวง ถึงบ้านปินเวลา บ่าย ๓ โมง ๒๕ นาที ซึ่งแขวงอำเภอลองของจังหวัดลำปาง - ทางรถเปิดได้เพียงเท่านี้ ต่อไปถึงบ้านผาคอ ทางทำแล้ว รถงานเดินได้ แต่ยังไม่เปิดให้คนเดินสาร ความไข้มันแรง บ่าย ๔ โมงเเศษ เสด็จกลับ ถึงสถานีเด่นใจ บ้่าย ๕ โมง ๒๑ นาที เสด็จประทับรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังเมืองแพร่ ซึ่งเชื่อมต่อกับเด่นใจด้วยถนน ยาว ๖๒๐ เส้น ทางกว้างขวางสะอาดสะอ้านดีมีต้นไม่ปลูกสองข้างทางแต่ยังเล็ก มีการทำซุ้มกล้วยอ้อยผ้าแดงและตั้งแถวรับเสด็จ ดูงามตาดี

จากนั้นจึงประทับพลับพลาซึ่ง พระยาบุรีรัตน์ ผู้ว่าราชการเมืองแพร่จัดถวาย ขณะประทับที่พลับพลา มีพระสงฆ์ จากมณฑลฝ่ายเหนือ เช่นที่เชียงใหม่ น่าน แม่ริม แม่วาง ลำพูน เถิน เมืองลอง เชียงราย สบปราบ เชียงคำ เวียงป่าเป้า ลำปาง มาเข้าเฝ้าซึ่งมีน้ำใจภักดีจึงยอมลำบากเดินทางมาเมืองแพร่ ทั้งๆที่ ทางไปมายังไม่สะดวก จึงได้พระราชทานเหรียญ มหาสมณุตมาภิเษก และ เหรียญอริยสัจให้เป็นที่ระลึก

วันต่อมา (๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) ได้เสด็จโรงทหารที่เด่นใจ และ เสด็จโรงเรียน พิริยาลัย ก่อน เสด็จกลับที่พลับพลา ที่พลับพลามีพวกเงี้ยวและพม่าที่ทำงานปางไม้ของฝรั่งในเมืองแพร่ ราว ๑๐๐ คน ขอ เข้าเฝ้า ถึงขนาด นำผ้าโพกหัว และ ผ้าห่มมาปูกับพื้นดินให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพระดำเนินเหยียบเพื่อเป็นสิริมงคล จากนั้นจึงเสด็จ วัดน้ำคือ ที่ ไทยพายัพ พวกเงี้ยว พวกพม้่า ต้องสู้ อุปถัมภ์ มีการตีกลองยาวถวายด้วย

วันต่อมา (๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) เสด็จวัดเหมืองม่อ และ นมัสการพระธาตุช่อแฮ ซึ่งทรงกล่าวว่าแม้พระธาตุช่อแฮสูง ๑๕ วา จะเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองแพร่ แต่ การหุ้มแผ่นทองแดงรอบพระธาตุยังดูปุปะ ไม่งามตา ควรทำตามพระเจดีย์หุ้มแผ่นทองแดงที่บัดกรีอย่างดีที่หน้าพระพุทธปรางค์ปราสาท (ประสาทพระเทพบิดร) จึงจะงาม

จากนั้น เสด็จ วัดชัยมงคลและ วัด เงี้ยว ชาวเงี้ยวและชาวจีนมีการปูลาดผ้าขาว และ ผ้าแดงให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงพระดำเนินเหยียบ เพื่อเป็นสิริมงคลจนผ้าขาดตลาด (!) แม้แต่ คนตาบอดก็ยังส่งเสียงอันดัง เมื่อ ถึงที่พลับพลา เงี้ยวบางคนมีแก่ใจล้างพระบาทให้ แล้วแก้ผมของตนที่เกล้าไว้มาเช็ดพระบาทซึ่งถือว่าเป็นการบูชาขั้นสูงของชาวพม่าและเงี้ยว และ การปกครองคณะสงฆ์เมืองแพร่ดูเรียบร้อยดีมาก วัดไทย วัดพม้่า วัดเงี้ยวไม่แก่งแย่งกัน

วันต่อมา (๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) ได้ทอดพระเนตรอนุสาวรีย์พระยาราชฤทธานนท์ (อยู่) ผูว่าราชการเมืองแพร่ที่ถูกพวกก่อจลาจลฆ่าตาย ได้เสด็จเปิดโรงเรียนวัดร่องอากาศ (ร่องกาด) จากนั้นจึงประทับเสวยเพลที่สำนักสงฆ์ใกล้สถานีรถไฟเด่นใจ พระองค์ตรัสให้ยกสำนักสงฆ์ใกล้สถานีรถไฟเป็นวัดเด่นใจ เพราะ อยู่ใกล้ตลาด ใกล้แหล่งชุมชน สมควรยกขึ้นเป็นวัด เที่ยงเศษจึงเสด็จสถานีเด่นใจประทับรถไฟไปเมืองพิชัย รถออก บ้าย ๑ โมง ๒๕ นาที ถึงเมืองพิชัยใหม่ บ้าย ๓ โมง ๒๕ นาที

วันต่อมา (๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๗) เสด็จเมืองลับแล และ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน จึงเสด็จสถานีทหารม้าที่ ๗ (กรมทหารม้าที่ ๗) ก่อน จะ เสด็จวัดใหม่ วัดป่าข่อย ทรงวิพากษ์วิจารณ์ว่า คณะสงฆ์เมืองพิชัย อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เพราะ มีวัดที่ ยังปล่อยให้รกรุงรัง การนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มารยาไม่สู้ดี ยังขาดความสามัคคีในคณะสงฆ์ เพราะ ชั้นแต่ พระสงฆ์ที่ท่าถนน และ พระสงฆ์ที่ท่าเสายังไม่รู้จักกัน เพราะ ขาดหัวหน้าผู้จะชักจูงไปในทางที่ชอบ และ เจ้าคณะเมืองไม่มีความชำนาญในการปกครอง และ ไม่เอาใจใส่ในการงานจึงได้เกิดเรื่องบกพร่องขึ้นมา อีกทั้งการศึกษาของราษฎรยังบกพร่อง

ต่อมาในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน จึงเสด็จ เมืองสวรรคโลก รถไฟเคลื่อนจากสถานีพิชัยใหม่ ผ่านวังกะพี้ วังหิน ท่าสัก มีการตั้งแถวรับเสด็จ บ่าย ๔ โมง ๒๑ นาที ถึงบ้านดารา จึงหยุดรถ ประทับพลับพลาที่นายไวเลอร์ ปลุกและ ตกแต่ง เวลาบ้าย ๔ โมง ๓๙ นาที จึงขบวนรถเข้าทางแยก ผ่านคลองมาปรับ คลองละมุง ราษฎรตั้งที่บูชา ที่ ตามริมทางรถไฟ บ่าย ๕ โมง ๓๙ นาทีถึงสถานีสววรรรคโลก มีพระสงฆ์หลายรูปตั้งแถวรับเสด็จ สมุหเทศาภิบาล และ คณะรับเสด็จ

จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพลับพลาเมืองสวรรคโลก วันต่อมาจึงเสด็จวัดสว่างอารมณ์ และ ได้ทอดพระเนตรโรงเรียนสวรรควิทยา ที่เป็นโรงเรียนตัวอย่างประจำเมืองสวรรคโลก

จากนั้นจึงเสด็จด้วยเรือข้ามฟากไปยังวัดสววรคาราม และ วัด สวัสดิการาม ก่อน ยังท่าเรือตำรวจภูธร ก่อน เสด็จกลับพลับพลา ทรงวิจารณ์ว่าวัดส่วนใหญ่ ในเมืองสวรรคโลกยังไม่สู้เรียบร้อย แม้ วัดสว่างอารมย์ก้ไม่ดีนัก แต่ก็มีเหตุผล คือ วัดสว่างอารมณ์ นี้ถูกแม่น้ำยมท่วมประจำ ทำให้ ไม่มีเหตุสมควรจะแต่งพื้นให้ราบเรียบ

วันที่ ๑ ธันวาคมเสด็จข้ามฟากไปทอดพระเนตรเมืองศรีสัชนาลัย จากนั้นจึงเสด็จวัดคุ้งยางผ่านหน้าห้างอิสต์เอเซียติกที่มาทำไม้ที่สวรรคโลก ก่อน จะเสด็จวัดบรมธาตุ ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมเต็มทีเพระาเป็นวัดร้าง

วันต่อมา(๒ ธันวาคม ๒๔๕๗) จึงเสด็จวัดพระบรมธาตุอีกครั้งก่อน เสด็จไปยังวัดช้างรอบ วัดเจดีย์เจ็ดแถวซึ่สันนิษฐานว่าเป็นวัดไว้พระบรมอัฐิและ พระอัฐิของราชวงศ์พระร่วง โดยประทับเรือเป็ด มีผู้ตามเสด็จเป็นตำนวนมากรวมมทั้งคนเข็ญใจ จนสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ตรัสให้พระวรพรตบำรุง จ่ายกัปปิยภัณฑ์ (เงินทอง) ไปซื้ออาหารเลี้ยงคนเข็ญใจที่ตามเสด็จ หมดไปเพียงไม่กี่บาทก็เพราะ บรรดา คนเข็ญใจเหล่านั้นไม่มีคนโลภ กินแต่พออิ่ม

วันต่อมา (๓ ธันวาคม ๒๔๕๗) ทอดพระเนตรของโบราณ ที่ได้จากวัดพระบรมธาตุ และ ได้เห็นปัญหาแม่น้ำกัดเซาะตลิ่งวัดพระบรมธาตุ วันนั้นได้ทอดพระเนตรเตาทุเรียง ทำเครื่องสังคโลก ที่อำเภอด้ง ด้วย

วันต่อมา (๔ ธันวาคม ๒๔๕๗) ทอดพระเนตร เมืองสวรรคโลกใหม่ และ วันต่อไป (๕ ธันวาคม ๒๔๕๗) ได้พระราชทานนามเด็กตามที่ราษฎรขอไว้ ก่อนเสด็จเมืองสุโขทัย ก่อนเสด็จไปยังสวรรคโลก - ที่อยู่ห่างจากสถานีรถไฟไป ๑๐ เส้น มี แค่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอเมือง และ อำเภอด้ง

การคณะสงฆ์เมืองสวรรคโลก ดูเรียบร้อยกว่าคณะสงฆ์เมืองพิชัยแม้จะเป็นเพียงสำนักสงฆ์เสียโดยมาก เจ้าคณะเมืองยังใหม่อยู่เลยไม่คล่องการงานการสวดมนต์นั้นทำได้ดีมาก แต่ ไม่สู้จะพร้อมเพรียงกัน แต่การเรียนพระธรรมวินัยไม่สู้เจริญ ส่วนดรงเรียนมีเพียง มัธยม ๓ (ม. ๑ ในปัจจุบัน)

๕ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จเมืองสุโขทัย ต่อมาวันที่ ๖-๗ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ ไปตามลำน้ำยม

วันที่๘ ธันวาคม ๒๔๕๗ ได้รับเด็กที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ ขณะบิณฑบาท ตามธรรมเนียมชาวบ้านที่เลี้ยงลูกไม่อยู่ (ลูกตายไปแล้ว ๓ คน) ให้ถวายพระจะได้มีชีวิตรอด

วันที่๙ ธันวาคม ๒๔๕๗ ทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองสุโขทัย เช่น วัดป่ามะม่วง เป็นต้น

วันที่๑๐ ธันวาคม ๒๔๕๗ พระราชทานเหรียญ มหาสมณุตมาภิเษก และ เหรียญอริยสัจ ก่อนจะทอดพระเนตร โบราณสถานในเมืองสุโขทัย เช่นวัดศรีชุมเป็นต้น สุโขทัยตั้งอยู่ในแม่าน้ำแม่ลำพันซึ่งเป็นแต่เพียงแม่น้ำสายเล็กๆ เลยต้องขุดตระพังเพื่อกักน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค

วันที่๑๑ ธันวาคม ๒๔๕๗ ทอดพระเนตรวีัดตระพังททองหลาง วัดกำแพงงามเป็นต้น ต่อมาได้ตั้งพระครูศีลวัตรวิจารณ์ให้รั้งตำแหน่งเจ้าคณะเมืองสุโขทัยและให้เป็นเจ้าอาวาส วัดคูหาสวรรคแทน พระประดับ เจ้าคณะเมืองสุโขทัยเก่า ที่โดนปลดออกจากราชการคณะสงฆ์ เพราะ ไม่ส่งตัวสามเณรผู้ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร เมื่อเดือนกันยายน ๒๔๕๗ และ ให้ ถอดจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรคด้วย

วันที่๑๓ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จกลับสวรรคโลก และ กล่าวว่าคณะสงฆ์เมืองสุโขทัยค่อนข้างเรียบร้อยไม่ค่อยมีอธิกรณ์ แต่พวกเจ้าคณะมักเปรียวบ่อยเพราะ ไม่เคยเข้ากับผู้ใหญ่ และการรักษาวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยังไม่มี ส่วนเรื่องการตั้งเจ้าคณะแขวงข้ามผู้ใหญ่ นั้นให้แก้โดยการตั้ง เจ้าอธิการ เผือก เป็นคณะแขวง กิตติมศักดิ์ และ ให้พระมา ลูกศิษย์ เจ้าอธิการ เผือก รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวง

วันที่๑๔ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จประทับรถไฟ จาก สวรรคโลก รถออกเช้า ๑ โมง ๓ นาที ไปส่งถึงบ้านดารา เวลา เช้า ๒ โมง เสด็จประทับที่นายไวเลอร์จัดถวายแล้วเสด็จต่อไปยังสะพานปรมินทร์ เพื่อประทับเรือพระที่นั่งล่องไปตามลำน้ำยมไปยังเมืองพิชัยเก่า ดูการคณะสงฆ์เมืองพิชัยเก่าแล้วรักษาวัดให้สะอาดสะอ้านด้กว่าที่สุโขทัยและสวรรคโลก แต่ วัดที่ พิชัยมีพระสงฆ์เพียง ๗-๘ รูป มีวัดที่มีพระรูปเดียวก็มี

วันที่๑๕ ธันวาคม ๒๔๕๗ ล่องเรือไปยังยังเมืองพิษณุโลก พระหมพิราม มีพระราชทานของแจกและผูกข้อมือเด็ก ไปวัดกรับพวงใต้ แควน้อย

วันที่๑๗ ธันวาคม ๒๔๕๗ ได้รับบัตรสนเท่ห์กล่าวร้ายพระครูพรหมพรตบริหาร และให้สมเด็จพระสังฆราชเจ้าปลด พระครูพรหมพรตบริหาร ออกจากตำแหน่งเสีย ดังนั้นจึงให้มีการสอบสวนว่าต้องอธิกรณ์จริงตามที่บัตรสนเท่ห์กล่าวหาหรือไม่ จากการสอบสวนได้ความว่า แต่ก่อน พระอธิการเชยเป็นเจ้าอาวาสวัด กระบังแต่ภายหลัง พระครูพรหมพรตบริหาร เป้นเจ้าอาวาสแทน ทำให้เป็นเรื่องเป็๋นราวกันขึ้นมา ที่สุดก็แก้ปัญหาโดยการให้ พระครูพรหมพรตบริหาร กินตำแหน่งเจ้าคณะแขวงแต่ให้คง พระอธิการเชยเป็นเจ้าอาวาสวัดกระบังตามเดิม จึงได้คลี่คลายกันไป

การคณะสงฆ์ในเมืองพิษณุโลก บางวัดอยู่ติดๆ กัน แต่บางวัดเว้นระยะไว้ดี แต่ การรักษาความสะอาดไม่สู้่ดี เจ้าคณะเมืองเป็นผู้เฉี่อยชา ส่วนรองเจ้าคณะเมืองก็ไม่สันทัดการปกครองและ ชันแต่วัดที่ตนครองยังปล่อยให้่สกปรก แต่ พระครูพรหมพรตบริหาร เจ้าคณะแขวงพรหมพิรามทำงานเอาใจใส่ดี ส่วนพระครู แขวงชุมแสง, ป่าหมาก และ นครไทย นั้นเอาใจใส่การคณะสงฆ์ในแขวงดี การเล่นเรียนพระธรรมวินัยยังขาดมาก เมืองแพร่ทำได้ดีกว่านี้ ส่วนที่พิษณุโลก มีชันมัธยม ๖ (เทียบเท่า ม. ๕)

วันที่๑๙ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จเมืองพิจิตรทางเรือ
วันที่๒๑ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จตะพานหิน
วันที่๒๒ ธันวาคม ๒๔๕๗ เสด็จล่องจากเมืองพิจิตร ไปยังอำเภอเกยชัย จังหวัดนครสวรรค์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ ออกมาต้อนรับ

วัดในเมืองพิจิตรสู้วัดทางเมืองสวรรคโลกและสุโขทัยไม่ได้ แต่การรักษาความสะอาดทำได้ดี การคณะสงฆ์เรียบร้อย แต่เจ้าคณะแขวงเมืองพิจิตรปกครองได้อ่อนแอ ตรวจวัดได้ไม่ทั่ว ส่วนพระอธิการรูปเป็นเจ้าคณะหมดประจำแขวงเมืองทำงานได้ดีกว่า พระครูมาเป็นเจ้าคณะแขวงไม่ถึงศกก็ทำงานได้ดี ส่วนพระอธิการอินเจ้่าคณะหมวดประจำแขวงบางคลานอายุถึง ๘๐ พรรษา ยังเอาใจใส่งานได้ดี น่าอนุโมทนา

อำเภอภูมิ์ (ปัจจุบันคืออำเภอบางมูลนาก) มีถนนจากท่าเรือเชื่อมทางรถไฟไปยังเพชรบูรณ์ - แต่ตอนหลังทำถนนไปจากตะพานหินสะดวกกว่ามาก จนสมัย ร. 7 เคยความคิดจะย้ายอำเภอเมืองพิจิตรไปอยู่ที่ตะพานหินเสียด้วยซ้ำ

วัดหางสลาดที่เกยชัยแม้จะยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคมสีมาก็รักษาวัดได้สะอาดดีมาก เลยแนะให้ปลูกโรงขึ้นเป็นพระอุโบสถลำลอง แล้วค่อยขอพระราชทานวิสุงคามสีมาก็ได้

วันที่๒๔ ธันวาคม ๒๔๕๗ เวลาเช้า ๔ โมง ๔๘ นาที เสด็จประทับรถไฟพระที่นั่ง จากสถานีปากน้ำโพ ถึงกรุงเทพ ย่ำค่ำ ๒ นาที - ให้เจ้านายเข้าเฝ้าก่อนเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร

ตรวจการณ์คณะสงฆ์มณฑลกรุงเก่า พ.ศ. ๒๔๕๗ (นับอย่างปัจจุบันต้องปี ๒๔๕๘ เพราะ อยู่ในช่วง ๑๗ มกราคม - ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๗) - ขาไปเสด็จทางรถไฟ แต่ ขากลับเสด็จล่องเรือไปตามลำน้ำเจ้าพระยาสะดวกกว่ามาก เพราะ วัดวาอารามสมัยก่อนอยู่ริมแม่น้ำเสียโดยมาก

ครั้งนี้ได้เสด็จขึ้นรถไฟเล็กสายพระพุทธบาทด้วย

//----------------------------------------------------------------------------------

๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ เวลาเช้า ๓ โมง ๑๕ นาที สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระมหาสมณะ เสด็จจากวัดบวรนิเวศวิหาร โดยรถยนต์ ประทับสถานีรถไฟสายเหนือ (สถานีหัวลำโพง) มีพระสงฆ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้าราชการ มาส่งเสด็จดุจคราวก่อน พอได้เวลาแล้วเสด็จขึ้นประทับรถไฟที่นั่งสาลูน พ่วงพิเศษ (รถจัดเฉพาะ)

เวลาเช้า ๓ โมง ๔๕ นาที รถที่นั่ง รถที่นั่งเคลื่อนจากสถานี - การตรวจการณ์คณะสงฆ์ครั้งนี้สืบเนื่องจากการตรวจการณ์คณะสงฆ์ มณฑลพิษณุโลก ที่ ต้องกลับเสียคราวหนึ่งเนื่องจาก ทรงติดงานพระราชพิธีพุทธาภิเษกและ งานเฉลิมพระชนมพรรษา กระบวนพระสงฆ์และคฤหัสถ์ นี้ก็ชุดเก่าเสียโดยมาก มีเปลี่ยนตัวพระภิกษุบางรูป ผู้เตรียมสอบความรู้ความรู้ในสนามหลวง และ ข้าราชการบางนายที่ต้องไปราชการ รถผ่านสถานีบางปะอินและ สถานีกรุงเก่า ซึ่งมีพระสงฆ์ และ ข้าราชการมาคอยเฝ้่ารับเสด็จ

เวลาบ่าย ๒ โมง หย่อน ๔ นาที (๑๓.๕๖ น.) ถึงสถานีเมืองลพบุรี มีเจ้าคณะเมืองสิงห์บุรี, เจ้าคณะเมืองลพบุรี ผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี และ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่ามาเข้าเฝ้า ได้เสด็จลงตลาดท่าโพ และ ตามคันทำนบ ถึงวัดมณีชลขันธ์ จากนั้นจึงทอดพระเนตรวัดเสาธงทอง (ที่อยู่เจ้าคณะเมือง) วัดรวก วัด กวิศราราม วัดมหาธาตุ (โบราณสถาน) และ วัดเชิงท่า ก่อนเสด็จยังที่ประทับ - เวลา ๒ ทุ่ม ได้แสดงธรรมเทศนา -

ในวันนั้น ได้มีพระบัญชาให้รวมวัดเสาธงทองและวัดรวกเข้าเป็นวัดเดียวกัน เพราะมีเขตแดนติดกัน วัดเสาธงทองมีวิหารและวัดรวกมีโบสถ์ สมควรแก่การรวมเป็นวัดเดียวกัน และ ให้ยก เจ้าอาวาสวัดรวกเป็นเจ้าอาวาสโดยกิตติมศักดิ์ และ ให้ เจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง ปกครองวัดเสาธงทองที่รวมใหม่ด้วย

จากนั้น ให้แก้ไขปรับปรุงการปกครองวัดกวิศราราม ซึ่งเป็นวัดมอญ อันตั้งขึ้นบนวัดขวิดซึ่งเป็นวัดร้างเมื่อ ร. ๔ บูรณะเมืองลพบุรี ลงเป็นพิพิธภัณฑ์เนื่องจาก ชาวรามัญ ไม่นิยมมาทำบุญที่วัดกวิศราราม ซึ่งตังในเขตพระราชวัง (ภายหลังได้แปรสภาพเป็นศาลาว่าการเมืองลพบุรี) และ ชาวไทยมักทำบุญที่วัด เชิงท่า มากกว่า และ ให้ย้ายพระวัดกวิศราราม ไปรวมกับวัดรามัญเช่นวัดบวรมงคล และ ให้พระไทยจากวัดเชิงท่า รักษาวัดกวิศราราม

วัดเชิงท่า เจ้าอธิการรุ่ง เป็นเจ้าอาวาสเป็นผู้ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาเพราะ เป็นผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง พื้นวัดสะอาด มีการรื้อปรับกุฏิที่ปลุกไม่เป็นระเบียบ โดย เจ้าอาวาสเป็นนายช่างเอง แต่งานยัีงไม่เสร็จจึง ได้ให้ไวยาวัจกรในพระองค์ จ่ายกัปปิยภัณฑ์ ช่วยการบูรณะปฏิสังขรวัด และ พระราชทานย่าม ตรา มหาสมณุตมาภิเษก แก่เจ้าอธิการรุ่ง เป็นประสาทการ และให้ เจ้าอธิการรุ่ง ปกครอง วัด วัดกวิศราราม แม้วัดทั้งสอง จะไม่อยู่ติดกัน เป็นแต่ ให้พระวัด เชิงท่ามาอยู่รักษาวัดกวิศราราม เวลาทายก มาทำบุญวัดเชิงท่าก็ให้ พระวัดกวิศรารามได้รับด้วย จะเว้นก็แต่กฐินเท่านั้นที่ให้แยกกันรับ

๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ เสด็จทอดพระเนตรวัดต่างๆรอบเมืองลพบุรี วันนั้นมีการซ้อมรบไม่ไกลจากวัดมณีชลขันธ์ด้วย และ วันนั้น ได้ออกพระมหาสมณศาสน์ ถอดเจ้าคณะแขวง โพหวี (อำเภอท่าวุ้ง) ฐานไม่เอาใจใส่ในการงาน โดยโปรดให้ เจ้าอธิการสาย วัดเสือ รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวง โพหวีแทน และ ถอด เจ้าคณะแขวงเมือง (อำเภอเมืองลพบุรี) ฐานอาพาธถึงขนาดสติฟั่นเฟือน โดยโปรดให้ เจ้าอธิการรุ่ง วัดเชิงท่า รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองแทน พร้อมพระราชทานย่าม ตรา มหาสมณุตมาภิเษก เป็นบำเหน็จแก่ เจ้าคณะแขวงผู้รับตำแหน่งใหม่ ทั้้ง ๒ รูปด้วย

นอกจากนี้ได้พระราชทานย่าม ตรา มหาสมณุตมาภิเษก แก่ เจ้าอธิการเรือง เจ้าคณะหมวดตำบลถนนต้นแค เพราะ เป็นผู้ที่พระองค์เลื่อนใสในการปกครองและการผูกสามัคคี ทั้งชาววัดและชาวบ้าน และ ได้มีพระปฏิสันฐานกับพระอุปัชฌา วัดธงขาว ผู้เพ็ดทูลได้่คล่องแคล่วแม้จะมีอายุถึง ๗๐ กว่าปีแล้ว


๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๗ เสด็จทอดพระเนตรพระปรางค์สามยอด และบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ก่อนเสด็จเรืองจำจังหวัด แล้วประทานโอวาทแก่คนโทษ 105 คนที่เคยเป็นเสือปล้น จากนั้นจึงเสด็จวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ กอ่นเสด็จประทับรถไฟพระที่นั่ง จากสถานีลพบุรีไปยังสถานีบ้านหมี่ มี ชาวบ้านมาคอยรับเสด็จอย่างงล้านหลามจนล้นชานชลา


หนังสือเล่มนี้ มีที่เป็น e-book ดูได้ที่นี่ครับ:

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2455-2460


Last edited by Wisarut on 19/02/2024 6:44 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46281
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/02/2024 8:08 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
หนังสือเล่มนี้ มีที่เป็น e-book ดูได้ที่นี่ครับ:

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2455-2460

textsสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2455-2460
by -

Publication date 1994
Topics พระพรหมมุนี (วิชมัย), 2462-2536, วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, 2403-2464, จดหมายเหตุไทย, หนังสืองานศพ, หนังสืออนุสรณ์งานศพ, Cremation, วัดบวรนิเวศวิหาร, Wat Bowonniwet Vihara, หนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร, หนังสืองานศพวัดบวรนิเวศวิหาร, ห้องสมุดหนังสืออนุสรณ์งานศพวัดบวรนิเวศวิหาร, ห้องสมุดหนังสืองานศพวัดบวรนิเวศวิหาร, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Thammasat University Libraries
Publisher โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย
Collection thaicremationcopy; thammasat_university; globallibraries
Contributor Thammasat University
Language Thai
มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ พิมพ์ถวายเป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ พระพรหมมุนี (ปุญฺญารามเถร วิชมัย บุญมาก) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 10 มิถุนายน 2537

Arrow https://kasets.art/upN8pe
Arrow https://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/245524600000unse.pdf
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11
Page 11 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©