View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36257
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36257
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 24/06/2022 8:43 pm Post subject:
Follow Mee Ep.31 Review สถานีรถไฟนครหลวงเวียงจันทน์ แบบละเอียดยิบ
Jun 24, 2022
Follow Mee
รีวิวรถไฟไปแล้ว มารีวิวสถานีรถไฟกันบ้าง แบบละเอียดยิบ เท่าที่จะคิดได้
เดินทางจากตัวเมืองยังไง? ค่ารถเท่าไหร่? เข้าออกสถานียังไง? ขึ้นรถไฟยังไง?
ที่สถานีมีอะไรบ้าง?
คลิปนี้มีคำตอบจ้าาาา
เดินทางเองได้ กำหนดงบประมาณได้
https://www.youtube.com/watch?v=7GbYPObHltE
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38788
Location: NECTEC
Posted: 28/06/2022 1:22 pm Post subject:
รถไฟลาว-เวียดนาม ผลักดัน สปป. ลาว สู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภูมิภาค
🇱🇦🚂🚂🚂🇻🇳
AEC Connect by Bangkok Bank PCL
24 มิถุนายน 2565 เวลา 18:00 น.
โครงการรถไฟลาว-เวียดนาม เป็นเส้นทางรถไฟที่เชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์ไปยังเมือง หวุงอ๋าง ของเวียดนาม มีระยะทางราว 555 กิโลเมตร และประมาณการงบประมาณการก่อสร้างอยู่ที่ราว 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยโครงการนี้มุ่งที่จะเปลี่ยน สปป. ลาว ให้เป็นประเทศ land-linked มากขึ้น ที่สามารถอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างเมืองต่างๆ และชาติสมาชิกอาเซียนต่างๆ มากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้ สปป. ลาว กลายเป็น ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน 2565 นี้ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างชัดเจน
.
จุดสำคัญ คือ ทางรถไฟสายนี้เชื่อมระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์และเมืองท่าอย่างเมือง หวุงอ๋าง ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใกล้นครหลวงเวียงจันทน์ที่สุด จากนั้นทางรถไฟลาว-เวียดนาม สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟลาว-จีน ได้ นั่นหมายความว่าการขนส่งสินค้าทางเรือจะสามารถขยายออกไปไปสู่ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว และทางใต้ของประเทศจีนได้ มากไปกว่านั้นรถไฟลาว-เวียดนามจะมีจุดสับเปลี่ยนกับเส้นทางรถไฟเหนือ-ใต้ ของเวียดนาม ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้กับเส้นทางการขนส่งระหว่างกรุงฮานอย-นครหลวงเวียงจันทน์ ในอนาคตด้วย
🛳⛴🚢
ท่าเรือน้ำลึก หวุงอ๋าง มีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวลาวผ่านการค้าทางทะเลและการแลกเปลี่ยนการขนส่ง ซึ่งรัฐบาลของ สปป. ลาว มีสัดส่วนการถือครองหุ้นในท่าเรือราว 60% โดยท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้จะช่วยให้ สปป. ลาว เข้าถึงทะเลจีนใต้, เวียดนามตอนกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและตลาดเอเชียต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น เกาหลีใต้, จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น
.
ปัจจุบัน ท่าเรือน้ำลึกดังกล่าวสามารถรับเรือบรรทุกสินค้าทั่วไปได้มากสูงสุด 50,000 เดดเวทตัน และเรือคอนเทนเนอร์ได้สูงสุด 2,000 TEU ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดการเรือสินค้าเทกองแห้งได้มากกว่า 20 ล้านตัน ภายในปี 2573
🚉🚉🚉
ขณะที่ เครือข่ายรถไฟนั้นเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ สปป. ลาว กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเครือข่ายรถไฟสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งสูงสุด 40% และจะกลายเป็นทางเลือกของการขนส่งสำหรับผู้ส่งออกจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ รวมถึงไทย เนื่องจากราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น และรายงานจากธนาคารโลกระบุว่าการค้าผ่านแดนทาง สปป. ลาว คาดว่าจะเพิ่มจาก 1.6 ล้านตัน ในปี 2559 เป็นราว 3.9 ล้านตัน ภายในปี 2573
.
ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นของการขนส่งทางถนน, ทางอากาศและการขนส่งสินค้าทางทะเล ดังนั้นการขนส่งทางรถไฟจะเปิดโอกาสทางการค้ามากขึ้น ไม่เพียงแต่การค้าใน สปป. ลาว, จีน และชาติสมาชิกอาเซียน แต่ยังเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าไปยังยุโรปด้วย โดยการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังยุโรปอาจใช้เวลากว่า 10 วัน ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้ดีกว่าจากปัจจุบันที่ผู้ส่งออกในภูมิภาคนี้ใช้ท่าเรือน้ำลึกของสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการขนส่งหลัก ซึ่งใช้เวลาราว 45 วัน สำหรับการขนส่งสินค้าไปยังยุโรป
✨🇱🇦✨
ดังนั้นเมื่อโครงการรถไฟลาว-เวียดนาม ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ก็ยิ่งส่งเสริมให้ สปป. ลาว ได้รับประโยชน์จากการเชื่อมโยงระดับภูมิภาคที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของ สปป. ลาว ยังจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ต่อไปและนำเสนอสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รวมถึงการฝึกอบรมแรงงานท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้ สปป. ลาว บรรลุเป้าหมายการเป็น ศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งภูมิภาค ในอนาคตอันใกล้
ผู้เรียบเรียง: ศิริอาภา คำจันทร์
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36257
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36257
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 28/06/2022 3:37 pm Post subject:
Wisarut wrote:
ลาวสร้างจุดเชื่อมต่อรถไฟลาว-จีน (เวียงจันใต้) หา รถไฟลาว-ไทย (ท่านาแล้ง ผ่านสถานีท่าเรือบกท่านาแล้ง) โดย เป็นทางจากสถานีเวียงจันใต้ไปท่าเรือบกท่านาแล้ง 2.8 กิโลเมตร และ ท่าเรือบกท่านาแล้ง ไปสถานีท่านาแล้ง 1.2 กิโลเมตร ซึ่งจะ เปิด 26 มิถุนายน 2022
https://www.youtube.com/watch?v=-BlbR-j5jvQ
ส่งออกไทยเฮ!ลาวเชื่อมรางรถไฟระบบมาตรฐานเพิ่มศักยภาพการขนส่งทางราง
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2565 11:41
ปรับปรุง: 1 ก.ค. 2565 11:41
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หนองคาย-สปป.ลาว เชื่อมโยงระบบรางมาตรฐาน รางหนึ่งเมตร เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าไปจีน เอกชนไทยมองเป็นโอกาสอันดีในระบบส่งออกที่สะดวก รวดเร็ว อนาคตส่งสินค้าไปยุโรปผ่านรางได้สบายต่อไปนี้การขนส่งจากไทย - ลาว - จีน -รัสเซีย และประเทศอื่นๆ ในยุโรป จะมีความเร็วมากขึ้น ช่วยทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าในแต่ละประเทศ
เช้าวันนี้ (1 ก.ค.65) ได้มีพิธีเปิดการเชื่อมโยงระบบรางมาตรฐานและราง 01.00 เมตร จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า นครหลวงเวียงจันทน์ อย่างเป็นทางการ ณ ท่าบกท่านาแล้ง สปป.ลาว โดยมีนายสอนไซ สีพันดอน รองนายกรัฐมนตรี แห่ง สปป.ลาว เป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมกับ นายหยวน หมิง ฮ่าว ผู้อำนวยการใหญ่ (Managing Director of LCRC) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา สามารถดำเนินการเชื่อมต่อระบบรางแบบมาตรฐานได้ในวันนี้
นายปัญญา ปะพุธสะโร ประธานบริหารบริษัทเก้าเจริญเทรนทรานสปอร์ต พร้อมด้วยภาคเอกชนในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานสำคัญในครั้งนี้ด้วย ได้กล่าวว่า วันนี้เป็นวันดีที่ได้เห็นการเชื่อมต่อราง 2.8 ก.ม. จากท่าบกท่านาแล้งไปยังสถานีเวียงจันทน์ใต้ ซึ่งรอมานาน ต่อไปต้นทุนการขนสินค้าจะต่ำลง ความเร็วจะเพิ่มขึ้น บริษัทเก้าเจริญทรานสปอร์ต ปตท PIS , AEL และ ONB ได้รับตู้คอนเทนเนอร์ 54 ตู้ จะนำไปขนทุเรียนที่จังหวัดชุมพร ซึ่งภาคใต้เป็นฤดูผลไม้ ส่งไปยังคุนหมิง โดยจะทำการขนส่งในเดือน ก.ค.65 จำนวน 54 ตู้
ส่วนเดือน ส.ค.65 ได้รับการประสานงานล่วงหน้าแล้วจำนวน 300 ตู้ และมีอีก 200 ตู้ คาดว่าปีนี้ทุเรียนภาคใต้จะส่งออกทางรถไฟได้มากขึ้น รางขนาด 1.435 เมตร เป็นรางมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางรถไฟ ทำให้การขนส่งเร็วขึ้น ไม่จำเป็นต้องยกตู้ยกลงบ่อย ๆ
ต่อไปนี้การขนส่งจากไทย - ลาว - จีน -รัสเซีย และประเทศอื่นๆ ในยุโรป จะมีความเร็วมากขึ้น ช่วยทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าในแต่ละประเทศ
ทั้งนี้ในช่วงเดือน ก.ค.65 บริษัทโอเรียนทอล เมอร์เซนท์ เอ็กเพรส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนมีแผนดำเนินการขนส่งทุเรียนร่วมกับบริษัทพันธมิตร อันได้แก่ บริษัทแพนเอเชีย ซิลค์โรด จำกัด บริษัทเก้าเจริญเทรนทรานสปอร์ตจำกัด และบริษัทเอเชียเอ็กเพรสโลจิสติกค์จำกัด จะทำการขนส่งทุเรียนด้วยระบบรางไปยังประเทศจีน โดยใช้เส้นทางรถไฟลาว จีน ผ่านด่านโม่หาน ไปยังนครคุนหมิง ประเทศจีน ปริมาณการขนส่งทุเรียนหมอนทองด้วยตู้สินค้าขนาด 40 ฟุต จำนวน 108 ตู้ ด้วยปริมาณน้ำหนักทุเรียนประมาณ 2,000 ตัน
โดยครั้งนี้ตู้สินค้าจะสามารถดำเนินการขนส่งด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีการเชื่อมระบบรางขนาด 1.435 เมตร Standard Gauge จากประเทศจีน และระบบราง ขนาด 1 เมตร Meter Gauge จากประเทศไทย เอาไว้ที่จุดเดียวกันที่ท่าบกท่านาแล้ง เวียงจันทน์ โลจิสติกส์พาร์ค ทำให้สามารถประหยัดทั้งระยะเวลาและต้นทุนในการขนส่ง
ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งด้วยระบบรางให้สามารถแข่งขันกับการขนส่งด้วยวิธีอื่นได้เป็นอย่างดี
ทั้งยังเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับผู้ส่งออกที่ต้องการจะส่งสินค้าไปยังประเทศจีน อีกทั้งยังเป็นการขยายตลาดผลไม้จากประเทศไทยทำให้ผู้บริโภคในประเทศจีนโดยเฉพาะบริเวณจีนตอนใต้และตะวันตก สามารถเข้าถึงและได้รู้จักผลไม้จากประเทศไทยมากขึ้นด้วย.
Last edited by Mongwin on 01/07/2022 12:02 pm; edited 1 time in total
Back to top