Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 11/08/2022 8:00 am Post subject:
พัทยารื้อแผนวางท่อแก้น้ำท่วม เลี่ยงไฮสปีดซ้ำรอยอุโมงค์ กทม.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 7 สิงหาคม 2565 - 06:42 น.
ขุดท่อระบายน้ำ
นายกเมืองพัทยา สั่งรื้อแผนแก้น้ำท่วม เร่งปรับเส้นทาง-วางท่อใหม่อ้อมแนวรถไฟฯ เลี่ยงปัญหาทับซ้อนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน หลังผู้รับสัมปทานปักหมุดเลือกจุดที่ตั้งสถานีรถไฟฟ้าพัทยาชัดเจนแล้ว เผยโครงการต้องล่าช้า งบประมาณบานปลาย ซ้ำรอยอุโมงค์เจ็ดชั่วโคตรสี่แยกไฟฉาย
นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า ขณะนี้ได้มีการปรับแผนแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองพัทยา โดยปรับแนวเส้นทางใหม่ในการวางท่อระบายน้ำเลียบทางรถไฟ เพื่อให้น้ำระบายลงสู่คลองนาเกลือและทะเล
วันสารทจีน 2565 ตรงกับวันไหน วิธีทำบุญ ของไหว้ ข้อห้าม ทุกเรื่องต้องรู้
ระเบิดเวลาลูกใหม่
ราคาน้ำมันวันนี้ (11 ส.ค. 65) เช็กราคาดีเซล-แก๊สโซฮอล์ล่าสุด
เจอตอม่อไฮสปีดเทรน
เนื่องจากติดปัญหาทับซ้อนแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่มีแผนจะก่อสร้างเป็นสถานีพัทยาในอนาคต เพราะไม่สามารถกำหนดจุดที่ตั้งของสถานีได้ชัดเจน หลังเมืองพัทยาได้กำหนดวางท่อระบายน้ำตามแผนงานแล้วเสร็จ
ปรากฏว่าแนวเกิดซ้อนกัน จึงตัดปัญหาด้วยการปรับแนวใหม่ โดยวางท่อระบายน้ำอ้อมตอม่อสถานีไฮสปีดเทรน ส่งผลให้โครงการแก้น้ำท่วมเมืองพัทยาล่าช้า และต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก 50 กว่าล้านบาท
ช่วงที่กำลังทำโครงการวางท่อฯ โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูง สถานีพัทยายังไม่ได้มีการปักหมุดสถานที่แน่ชัด หลังวางท่อระบายน้ำลงเส้นทางสู่คลองนาเกลือและทะเลแล้ว ล่าสุดได้รับการยืนยันมาว่า จะมีการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางดังกล่าว นายปรเมศวร์กล่าวและว่า
แผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองพัทยาดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2561 ใช้งบประมาณปี 2562 ปัจจุบันใช้งบฯไปแล้ว 2,000 ล้านบาท ด้วยการตั้งงบประมาณแต่ละปีประมาณ 2,500 ล้านบาท
งานหลักคือการจัดทำโครงการวางท่อระบายน้ำเลียบทางรถไฟ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 600 กว่าล้านบาท
ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 3.8 กิโลเมตร เหลือระยะทางอีก 1.2 กิโลเมตร หลังโครงการแล้วเสร็จจะรับน้ำได้ 50-60 มิลลิเมตร พร้อมระบายน้ำลงสู่คลองนาเกลือและทะเล
ครม.ไฟเขียวงบ 2.6 หมื่นล้าน
ก่อนหน้านี้กรมโยธาธิการและผังเมืองและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ได้เสนอการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของเมืองพัทยาและคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ซึ่งการสำรวจพบว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบต้องใช้งบประมาณถึง 26,000 ล้านบาท ด้วยการขุดอุโมงค์น้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงทะเล
แต่ปัญหาคือ ครม.อนุมัติโครงการแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณให้ โดยให้ทางเมืองพัทยากู้เงินทำโครงการเองทั้งหมด เมืองพัทยาจึงเลือกแก้ไขปัญหาด้วยการเพิ่มเส้นทางการระบายน้ำตามแนวที่เหมาะสม
ติดเงื่อนไขต้องกู้จ่าย ดบ.10%
การกู้เงินมีเงื่อนไขต้องจ่ายดอกเบี้ย 10% ของงบประมาณรายได้ทั้งหมดในแต่ละปี ซึ่งงบประมาณของเมืองพัทยาอยู่ที่ประมาณ 1,700 ล้านบาท ฉะนั้นต้องใช้เงิน 170 ล้านบาทในการจ่ายดอกเบี้ยแต่ละปี ผมมองว่าไม่คุ้มค่า
จากรายงานข่าวพบว่า โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบเมืองพัทยา ครม.มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2564 กรอบวงเงิน 26,000 ล้านบาท ประกอบด้วยระยะเร่งด่วน วงเงิน 9,500 ล้านบาท ระยะกลาง 7,500 ล้านบาท และแผนระยะยาว 9,000 ล้านบาท
ทั้งโครงการจะรองรับปริมาณน้ำฝนได้ไม่น้อยกว่า 128 มม./วัน และเมืองพัทยาต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ 60-80 มม. ซึ่งอยู่ในศักยภาพที่บริหารจัดการได้
แผนแก้ปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำเมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่องจะเป็นการปรับปรุงระบบระบายน้ำสายหลักและสายรอง, ปรับปรุงคลอง ระบบระบายน้ำริมทางรถไฟ, ก่อสร้างอุโมงค์ ท่อรวม และขนส่งน้ำ
เปิดแผนแก้น้ำท่วมทั้งระบบ
การปรับปรุงและก่อสร้างท่อระบายน้ำสายหลักและสายรอง วงเงิน 26,000 ล้านบาท แบ่งตามพื้นที่ลุ่มน้ำ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยเมืองพัทยา (เมืองพัทยา เทศบาลเมืองหนองปรือ และเทศบาลตำบลนาจอมเทียน) พื้นที่ 43 ตร.กม. ค่าก่อสร้าง 17,140 ล้านบาท
2.พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยคลองนาเกลือ-ห้วยมาบประชัน และคลองกระทิงลาย (เมืองพัทยา เทศบาลเมืองหนองปรือ และเทศบาลตำบลหนองปลาไหล) พื้นที่ 118 ตร.กม. ค่าก่อสร้าง 7,160 ล้านบาท
3.พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยห้วยใหญ่ (เทศบาลตำบลห้วยใหญ่ และเทศบาลตำบลนาจอมเทียน) พื้นที่ 64 ตร.กม. ค่าก่อสร้าง 1,700 ล้านบาท
โรดแมประยะเร่งด่วน 1-5 ปี มีดังนี้ 1.พื้นที่ระบายน้ำกลุ่มพัทยาใต้ วงเงิน 5,300 ล้านบาท ระยะดำเนินการ 5 ปี โดยมีโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหลัก วงเงิน 4,233 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี
และโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักส่วนต่อเชื่อม 1,067 ล้านบาท เวลาก่อสร้าง 4 ปี 2.พื้นที่ระบายน้ำกลุ่มพัทยาเหนือ-พัทยากลาง 1,700 ล้านบาท ระยะก่อสร้าง 4 ปี แบ่งเป็นโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหลัก 1,400 ล้านบาท สร้าง 4 ปี และโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักส่วนต่อเชื่อม 300 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
3.พื้นที่ระบายน้ำกลุ่มเทพประสิทธิ์ วงเงิน 2,000 ล้านบาท รวม 4 ปี โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายหนัก 1,900 ล้านบาท โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลักส่วนต่อเชื่อม 100 ล้านบาท 4.พื้นที่การระบายน้ำกลุ่ม รพ.บางละมุง วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นต้น
จริง ๆ แล้วเรื่องปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นไม่กี่ครั้งที่รุนแรง มีครั้งเดียวที่กลายเป็นภาพจำ วันนั้นฝนตกหนัก พัทยาเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ แล้วมีรถลอยน้ำ ทำให้คนกลัวและตื่นตัว
ปัญหาซ้ำรอยอุโมงค์ กทม.
ทั้งนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นของสิ่งก่อสร้างในเมืองพัทยา ไม่ต่างจากโครงการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยเฉพาะโครงการทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพรานนก หรือ อุโมงค์แยกไฟฉาย งบฯก่อสร้าง 700 ล้านบาท ซึ่งต้องใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 13 ปี ตั้งแต่ปี 2552 และเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา
เนื่องจาก กทม.และผู้รับเหมาต้องปรับแผนใหม่ในการก่อสร้างอุโมงค์ โดยลดความยาวให้สั้นลง และบีบความกว้างให้แคบขึ้น เพื่อรองรับโครงการใหม่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เตาปูน-ท่าพระ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ทำหนังสือขอเปิดไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้า ขอใช้พื้นที่ 100% และออกแบบลงรายละเอียดด้านวิศวกรรม
เช่น ขอตอกเสาเข็มกลางอุโมงค์เป็นการนำฐานรากรถไฟฟ้ามาฝากไว้ในฐานรากผนังของอุโมงค์ ทำให้งานอุโมงค์ของ กทม.ต้องหยุดก่อสร้างนาน 4-5 ปี และได้เริ่มกลับมาก่อสร้างอุโมงค์ใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนมกราคม 2563 และได้มีการเปิดใช้งานเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 36230
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 16/08/2022 6:15 am Post subject:
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง งานสัญญาที่3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
15 ส.ค. 65 08:42 น.
อัพเดตความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
งานสัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
https://www.facebook.com/watch?v=1042537489741663
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 38771
Location: NECTEC
Posted: 16/08/2022 10:59 am Post subject:
ไฮสปีด-เมืองการบินเดินหน้า เพิ่มสิทธิประโยชน์ดึงลงทุน
หน้าอสังหาริมทรัพย์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันเสาร์ ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 8:17 น.
อีอีซีบูมสนั่น ไฮสปีดเจรจาลงตัว ตอกเข็มพร้อมอู่ตะเภา ต.ค. นี้ ชง กพอ.-ครม.เคาะแก้สัญญา ลุยออกระเบียบ เพิ่มสิทธิประโยชน์ เมืองการบิน
การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)โครงการต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกหรืออีสเทิร์นซีบอร์ด หนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ผลักดัน ให้เขตอีอีซี เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
โดยอาศัยการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมือง เพื่อดึงดูดนักลงทุนในพื้นที่พิเศษใน 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ส่งเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศ ด้วยกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับสูงเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเปิดประตูเศรษฐกิจสำคัญเชื่อมโยงประเทศไทยสู่ทวีปเอเชีย
2โปรเจ็กต์ยักษ์เดินหน้าบูมอีอีซี
ขณะความคืบหน้าของอภิโปรเจ็กต์ หัวใจหลักของอีอีซีทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) รวมถึงโครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบินภาคตะวันออกมีความพร้อมลงมือก่อสร้าง ภายหลังจากการหาทางออกร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนผู้รับสัมปทานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ล่าสุดมีแผนส่งมอบพื้นที่ พร้อมกันทั้งสองโครงการ ให้เดินหน้าก่อสร้างภายในเดือนตุลาคม นี้
ประเมินว่าจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติให้เข้าพื้นที่หลังจาก ที่ผ่านมานาย คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้รายงานความคืบหน้าต่อ คณะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อไม่นานมานี้ ถึงความก้าวหน้า 2 โครงการแรก(โครงการระยะที่1) คือ
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกมีกำหนดที่จะออกหนังสือส่งมอบที่ดินให้กับเอกชนที่ชนะการประมูลในโครงการ (NTP) เพื่อเริ่มก่อสร้างในเดือน ตุลาคม2565และการปรับปรุงรายงานเพื่อนำเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.) เดือนกันยายน 2565
โดยการก่อสร้างโครงการฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 รวมถึง โครงการศูนย์ธุรกิจและเมืองและเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ 14,619 ไร่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ที่ต้องขับเคลื่อนระยะยาว
ไฮสปีด-เมืองการบินเดินหน้า เพิ่มสิทธิประโยชน์ดึงลงทุน
ไฮสปีดจบ! ลุยแก้สัญญา
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยกับ ฐานเศรษฐกิจ ว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาร่วมแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย
ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เครือซีพี ผู้รับสัมปทาน ที่ผ่านมาการเจรจาแก้ไขสัญญาโครงการฯ ระหว่างรฟท.และเอกชนได้ข้อยุติแล้วรวมถึงการชำระค่าโฮนสิทธิ์บริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ไม่เกิน7งวด
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดโครงการฯ หากดำเนินการแล้วเสร็จจะเสนอคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ขออนุมัติหลักการแก้ไขปัญหาของโครงการฯ หากผ่านความเห็นชอบจะเข้าสู่การแก้ไขสัญญาดังกล่าว
หลังจากนั้นจะเสนอร่างแก้ไขสัญญาฯต่อสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ รวมทั้งเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป คาดว่าจะลงนามแก้ไขสัญญาภายในเดือนตุลาคม 2565 เพื่อเร่งรัดให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างโครงการฯ
เร่งสร้างใช้เวลา 3 ปี
อย่างไรก็ตามสกพอ.ได้พยายามเร่งรัดการก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินและโครงการสนามบินอู่ตะเภาให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตั้งระบบและทดสอบความปลอดภัยของรถไฟความเร็วสูง เพื่อเปิดให้บริการได้พร้อมๆ กัน เนื่องจากโครงการฯ มีการเคลียร์พื้นที่แล้ว
ขณะเดียวกันหลังจากลงนามแก้ไขสัญญาโครงการฯแล้วเสร็จ จะดำเนินการให้เอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ก่อน เนื่องจากช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ต้องเร่งรัดการก่อสร้าง
เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนดำเนินการติดตั้งระบบและทางวิ่งรถไฟในโครงการไฮสปีดไทย-จีน ภายใน 3 ปี ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ โดยให้เอกชนคู่สัญญาโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด
ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 3 ปี โครงการไฮสปีดไทย-จีน สามารถนำรางเหล็กรถไฟมาวางเพื่อติดตั้งระบบได้ จากเดิมที่จะต้องก่อสร้างบริเวณคานและเสาตอม่อเพื่อส่งมอบให้โครงการไฮสปีดไทย-จีน มาดำเนินการ
รายงานข่าวจาก สกพอ. กล่าวต่อว่า ด้านความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกในพื้นที่อีอีซี ที่ผ่านมาได้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้วเสร็จ
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรียบร้อยแล้วจะเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งสุดท้าย และเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป หลังจากนั้นกองทัพเรือในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการฯจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้
ให้สิทธิ์ประโยชน์เมืองการบิน
รายงานข่าวจาก สกพอ. กล่าวต่อว่า ขณะที่ความคืบหน้าเมืองการบินภาคตะวันออก ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมืองการบินภาคตะวันออก (อีอีซีเอ) กำหนดให้เป็นเมืองการบิน (airport city) จำนวน 1,032 ไร่ อยู่ในเขตอีอีซีเอ ซึ่งเป็นเขตประกอบการเสรีนั้น หลังจากนี้จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงมหาดไทย,กรมสรรพากร,กรมสรรพสามิต ฯลฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆให้มีผลทางกฎหมายตามมติครม.เห็นชอบ คาดว่าจะออกระเบียบดังกล่าวแล้วเสร็จไม่เกินในปี 2565
เจาะลึกเกณฑ์ปรับปรุงสิทธิประโยชน์
สำหรับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และกำหนดสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นและเหมาะสมของมาตรการสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) ที่ ครม.เห็นชอบในวันนี้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1.กลุ่มผู้ประกอบกิจการในพื้นที่เมืองการบิน รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ คือ
(1)การดำเนินกิจกรรมสันทนาการตลอด 24 ชั่วโมง (2) การจำหน่ายแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง (3) ตั้งด่านนำเข้าและส่งออกสุราและยาสูบ (4)กำหนดเขตปลอดอากรและจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน (5)การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดไม่เกิน 15 ปี และยกเว้นให้ไม่ต้องนำเงินปันผลจากการประกอบกิจการไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
2.กลุ่มคนทำงาน รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ คือ (1)การผ่อนปรนข้อจำกัดด้านกฎหมายแรงงาน โดยให้คนต่างด้าวสามารถทำงานบางประเภทได้ (2)ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนสิทธิประโยชน์ที่อยู่ระหว่างการหารือ คือ การปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.กลุ่มคนเดินทางและนักท่องเที่ยว รูปแบบสิทธิประโยชน์ที่สามารถดำเนินการได้ คือ การยกเว้นภาษีอากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคในพื้นที่เมืองการบินในช่วง 10 ปีแรก ส่วนสิทธิประโยชน์ที่ยังอยู่ระหว่างการหารือ ได้แก่ (1)การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับนักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าในพื้นที่ EECa Free Trade Zone รวมไม่เกิน 20,000 บาท/คน/ปี เฉพาะช่วง 10 ปีแรก
และ (2)ขยายการยกเว้นภาษีอากรและภาษีสรรพสามิตสำหรับของติดตัวผู้เดินทางระหว่างประเทศขาเข้าให้ครอบคลุมสินค้าที่ซื้อในพื้นที่ EECa Free Trade Zone รวมไม่เกิน 200,000 บาท/คน/ปี เฉพาะช่วง 10 ปีแรก
https://www.youtube.com/watch?v=0nNcyuLhV8c
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group