View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/12/2022 6:57 am Post subject: |
|
|
สมาร์ตซิตี้มักกะสัน4.2หมื่นล. พัฒนา5โซนสร้างเกตเวย์อีอีซี
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, December 09, 2022 04:19
กรุงเทพธุรกิจ สกพอ.เร่งทำแผนผัง ใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีมักกะสัน ตั้งเป้าเสร็จใน 1 ปี แบ่งพัฒนา 5 โซน เตรียมส่งมอบให้ "ซีพี" 140 ไร่ พัฒนาโซน A สร้างเมืองอัจฉริยะ พื้นที่มิกซ์ยูส 8 แสนตร.ม.ยึดแนวคิดเกตเวย์ของอีอีซี รฟท.ประเมินมูลค่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท พร้อมวางกรอบสร้างพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 60% พร้อมพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (TOD) มักกะสัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด ที่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้สิทธิพัฒนาทั้งพื้นที่มักกะสันและศรีราชา โดยขณะนี้อยู่ใน ขั้นตอนการจัดทำไกด์ไลน์เพื่อเป็นแนวทางให้เอกชนพัฒนา
สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เร่งจัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่องแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณ สถานีรถไฟความเร็วสูงมักกะสัน) พ.ศ. ...." เพื่อเป็นไกด์ไลน์การพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีมักกะสันให้กับบริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด นำไปเป็นไกด์ไลน์ ในการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน
นายวรวุฒิ มาลา ที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ.ระบุว่า ขณะนี้ สกพอ.ได้เริ่มขั้นตอน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงหน่วยงานเป็นที่เกี่ยวกับกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน
ทั้งนี้ สกพอ.จะนำข้อเสนอแนะไปจัดทำ ร่างประกาศเรื่องแผนผังใช้ประโยชน์ที่ดินสถานีมักกะสัน เพื่อเตรียมส่งมอบพื้นที่ ดังกล่าวให้กับเอกชนคู่สัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม สามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) นำไปพัฒนาตามข้อกำหนด ซึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสันนี้ ถือเป็นโครงการต้นแบบ ของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี ไฮสปีดเทรนที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำหนดไว้ 6 พื้นที่ ได้แก่ มักกะสัน บางซื่อ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา และพัทยา
"ตามที่รัฐบาลได้เร่งรัดผลักดัน การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบโครงการรถไฟ เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสในการสร้างรายได้และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ภาคตะวันออก ขณะนี้เราจะนำร่องในการศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในโครงการรถไฟเชื่อมสามสนามบินใน 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่รอบสถานีมักกะสัน และสถานีศรีราชา"
สร้างเกตเวย์"อีอีซี"
สำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีมักกะสันนั้น จะดำเนินการพัฒนาในพื้นที่ 140 ไร่ ให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ในฐานะ Global Gateway และศูนย์กลางของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นประตูสู่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการเดินทาง โดยมี แนวคิดของการพัฒนา ต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mix-used) ตามหลักการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง หรือ TOD สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Smart City)
นอกจากนี้ ตามแผนผังเบื้องต้น สกพอ.ได้กำหนดมาตรฐานการใช้ประโยชน์ที่ดิน และกำหนดการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสาธารณะ โดยภายในโครงการจะต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 60% OSR (Open Space Ratio) หรือ พื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม อีกทั้งต้องมี สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะ ไม่น้อยกว่า 78,000 ตารางเมตร การเพิ่มต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 4,000 ต้น ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจน 1,040 ตันต่อปี และดูดซับคาร์บอน 192 ตันต่อปี เพื่อให้เป็นปอดใจกลางกรุงเทพมหานคร
อีกทั้งภายในโครงการพัฒนา รอบสถานีมักกะสันนี้ ยังจะมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพในย่านศูนย์กลางสำหรับประชาชนทั่วไป และผู้มีรายได้น้อย ไม่น้อยกว่า 10,000 หน่วย และมีการบริหารจัดการสาธารณูปโภคอย่างยั่งยืนของประเทศ ต้องวางระบบการจัดการป้องกันน้ำท่วม เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในโครงการ กักเก็บและหมุนเวียนน้ำใช้ในโครงการไม่น้อยกว่า 19,000 ลบ.ม. ลดภาระระบบระบายน้ำพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ
นายวรวุฒิ กล่าวว่า โมเดลที่ สกพอ. วางไว้ในขณะนี้ ต้องการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน ให้เป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยต้องมีพื้นที่ สีเขียว มีแผนบริหารจัดการน้ำและ ระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย มีพื้นที่ประโยชน์สำหรับประชาชนเข้ามาใช้ฟรี และต้องมีการพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำกว่าท้องตลาด ต้องมีราคาต่ำกว่าราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของโครงการไม่น้อยกว่า 20% เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในโครงการนี้
แบ่งพัฒนาพื้นที่5โซน
นายมณเฑียร อัตถจรรยา รอง ผู้อำนวยการฝ่ายด้านบริหารโครงการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า แผนผังพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสัน เบื้องต้น ร.ฟ.ท.แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ประกอบด้วย
โซน A พื้นที่ 140 ไร่ จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Gateway of EEC เน้นเป็นการพัฒนาโครงการ Commercial แบบผสมผสาน
โซน B จะภายใต้คอนเซ็ปต์ Business and Heritage Park เน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเปิดให้ประชาชน เข้ามาใช้บริการ
โซน C จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Energetic Zone ปัจจุบันเป็นพื้นที่ โรงพยาบาลบุรฉัตรก็จะปรับปรุงให้ ทันสมัยมากขึ้น
โซน D จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ SRT Museum ปัจจุบันเป็นพื้นที่ โรงซ่อมของ ร.ฟ.ท.ก็จะพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์
โซน E จะพัฒนาภายใต้คอนเซ็ปต์ Business Zone เนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้ปัจจุบันมีสัญญาเช่าอยู่ ดังนั้นเป้าหมายในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นโครงการเชิงธุรกิจแบบผสมผสาน
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ในขณะนี้ พบว่า มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่โซน A เป็นส่วนแรก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีความพร้อมที่จะส่งมอบให้เอกชน อีกทั้งยังเป็นพื้นที่อยู่ติดกับสถานีรถไฟ ไฮสปีดเทรดมากที่สุด หากเร่งพัฒนา จะสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร ทั้งนี้ จากผลการศึกษา ร.ฟ.ท.ประเมินว่าการลงทุนในโครงการนี้ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาท และมีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 8 แสนตารางเมตร
คาดสรุปผัง"มักกะสัน"1ปี
นายสันติชัย สุขราษฎร์ ผู้ช่วย ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สกพอ. กล่าวว่า ขั้นตอนดำเนินงานหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้แล้ว สกพอ.จะรวบรวมข้อคิดเห็นนำไปปรับปรุงร่างแผนผัง ดังกล่าว โดยจากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าดำเนินการจัดทำร่างแผนผังเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อเตรียมประกาศใช้ โดยแผนผังฉบับนี้จะมีผลบังคังใช้เฉพาะในส่วนของการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีมักกะสันเท่านั้น ส่วนพื้นที่พัฒนา สถานีอื่นๆ สกพอ.จะดำเนินการจัดทำร่าง ให้สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ใน พื้นที่นั้นๆ
ขณะที่ข้อคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีความกังวลใจต่อการพัฒนาโครงการที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยรอบ อาทิ การถูกเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม รวมทั้งหากมีการพัฒนาโครงการที่แม้จะมีข้อกำหนดว่าต้องก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย แต่ประชาชนก็มีข้อกังวลว่าราคาที่อยู่อาศัยดังกล่างอาจสูงเกินกว่าที่จะซื้อเพื่ออยู่อาศัยได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอแนะให้ สกพอ.เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ เปิดโอกาสให้ได้ทำงานในโครงการต่างๆ ที่จะพัฒนาในสถานีมักกะสัน
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 ธ.ค. 2565 |
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 09/12/2022 8:33 pm Post subject: |
|
|
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ
9 ธ.ค. 65
ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ เดือนพฤศจิกายน 2565
https://www.facebook.com/watch?v=483829000550101 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40118
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/12/2022 7:00 am Post subject: |
|
|
ต้นปีหน้า! ชงบอร์ด รฟท. เคาะรถไฟไฮสปีด เฟส 2 รวม 13 สัญญา 3 แสนล้าน
เดลินิวส์ 13 ธันวาคม 2565 12:48 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
รฟท. เตรียมชงบอร์ด รฟท. เคาะรถไฟไฮสปีด เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย 13 สัญญา 3 แสนล้าน ต้นปีหน้า ลุยประมูลได้ผู้ชนะปลายปี 66 เริ่มก่อสร้างปี 67 เปิดบริการปี 71 นำปัญหางานล่าช้าเฟส 1 มาปรับใช้ ต้นปีหน้าเร่งขับไล่ผู้บุรุก-รื้อย้ายสาธารณูปโภคให้จบ ก่อนเซ็นสัญญา
รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 3 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ และได้ยื่นขอพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (สผ.) แล้ว คาดว่าจะเสนอโครงการฯ ต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. พิจารณาในเดือน ม.ค.-ก.พ. 66 ก่อนเสนอกระทรวง และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า หากที่ประชุม ครม. เห็นชอบภายในเดือน เม.ย.-พ.ค. 66 คาดว่า รฟท. จะสามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคา (ประมูล) และได้ผู้ชนะการประมูล พร้อมลงนามสัญญาภายในปลายปี 66 จากนั้นในปี 67 จะเริ่มงานก่อสร้าง และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ใช้เวลา 4 ปี โดยงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณจะสามารถเริ่มงานได้ ต้องให้งานโยธาดำเนินการผ่านไปแล้วประมาณ 2-3 ปี ซึ่งตามแผนคาดว่าโครงการฯ จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 72 แต่กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้เร่งรัดดำเนินการ เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 71 อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นโครงการดังกล่าวมีการแบ่งสัญญาออกเป็น 13 สัญญา โดยเป็นงานโยธา 12 สัญญา และงานระบบอาณัติสัญญาณ 1 สัญญา
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า รฟท จะนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งมีความล่าช้า มาเป็นประสบการณ์ เพื่อให้งานเฟสที่ 2 เดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนเฟสที่ 1 โดยสาเหตุของความล่าช้านั้น นอกจากเพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แล้ว ประสิทธิภาพของผู้รับจ้างก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้งานล่าช้า สังเกตได้จากบางสัญญาทำงานได้อย่างรวดเร็วขณะที่บางสัญญาสถานะของงาน คืบหน้าช้ามาก ขณะเดียวกันยังพบปัญหาการเวนคืน และผู้บุกรุก รวมถึงการประท้วง และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เบื้องต้นวางแผนไว้ว่า ตั้งแต่ต้นปี 66 จะให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มดำเนินการเรื่องขับไล่ผู้บุกรุก ซึ่งอยู่อาศัยบริเวณพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้าง อาทิ สถานีบัวใหญ่, สถานีขอนแก่น และสถานีอุดรธานี พร้อมทั้งจะประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เร่งดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เพราะเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทำให้โครงการล่าช้ามาก โดยจะต้องดำเนินการให้จบก่อนลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลในช่วงปลายปี 66 ส่วนเรื่องการเวนคืนสำหรับโครงการฯ เฟสที่ 2 คาดว่าจะไม่มีปัญหา เพราะพื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของ รฟท. โดยใช้เขตรถไฟเดิมเกือบทั้งหมด มีการเวนคืนพื้นที่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าเขา
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับโครงการฯ เฟส 2 มีเส้นทางครอบคลุม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น, จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย แนวเส้นทางตลอดระยะทาง 356 กม. แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่, สถานีบ้านไผ่, สถานีขอนแก่น, สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย โดยมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย รวมทั้งจะก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และสถานีนาทา จ.หนองคาย ส่วนการออกแบบรางมีขนาด 1.435 เมตร โดยรถไฟสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุด 250 กม. ต่อชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังหนองคาย ระยะทางรวม 609 กม. ประมาณ 3 ชั่วโมง 15 นาที |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40118
Location: NECTEC
|
Posted: 15/12/2022 12:51 am Post subject: |
|
|
"กรมราง" ถก "ญี่ปุ่น" เร่งศึกษาลงทุนรถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" จบใน มี.ค. 66
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 14 ธันวาคม 2565 เวลา 14:27 น.
ปรับปรุง: 14 ธันวาคม 2565 เวลา 14:27 น.
กรมรางหารือ MLIT-JICA เร่งสรุปการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใน มี.ค. 2566 และขอให้ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพิ่มเติมด้วย
วันที่ 14 ธ.ค. 2565 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธานการประชุมหารือด้านเทคนิคโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยมีผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนจากฝ่ายญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) Japan Railway Construction, Transport and Technology Agency (JRTT) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อร่วมกันพิจารณารายงานฉบับกลางของการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินของโครงการ
นายพิเชฐกล่าวว่า ฝ่ายญี่ปุ่นได้รายงานความเป็นมา วัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์ทางการเงิน นับตั้งแต่องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA ได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study : FS) ในปี พ.ศ. 2560 เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ การลดต้นทุน และการประเมินความต้องการเดินทางอีกครั้ง โดยการวิเคราะห์ทางการเงินจะจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย และใช้สมมติฐานที่เปลี่ยนไป
รวมถึงความก้าวหน้าของการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางจราจรที่ใช้ในการศึกษาที่ผ่านมา และการทบทวนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยฝ่ายญี่ปุ่นจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งผลกระทบของการลดการปล่อย CO2 จะถูกนำมารวมอยู่ในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
โดยฝ่ายญี่ปุ่นนำเสนอกรอบระยะเวลาการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงิน โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2566
ทั้งนี้ กรมรางได้เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาศึกษาการคาดการณ์ผลตอบแทนเศรษฐกิจเชิงกว้าง (Wider Economic Benefits) จากการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยนำกรณีศึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางดำเนินการ เช่น กรณีการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีมินาโตะมิไร เมืองโยโกฮามา ซึ่งเป็นสถานีที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่าน โดยบริเวณสถานีมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ นำมาซึ่งการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวที่นำไปสู่การพัฒนาเมืองใหม่ มาใช้ในการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อเพิ่มความเหมาะสมของโครงการต่อไป
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เบื้องต้นแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1. เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 2.12 แสนล้านบาท
2. เส้นทางพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. วงเงินลงทุนประมาณ 2.32 แสนล้านบาท โดยกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างศึกษาสรุปรูปแบบการลงทุน
https://www.facebook.com/DRT.OfficialFanpage/posts/454334906890977 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40118
Location: NECTEC
|
Posted: 15/12/2022 11:45 am Post subject: |
|
|
ความก้าวหน้ารถไฟด่วนสามสนามบินเดือนตุลาคม 2565:
การเวนคืนที่ดินช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา : 100%
การเวนคืนที่ดินช่วงfดอนเมือง พญาไท : 73.74%
REF: ความก้าวหน้า ประจำเดือน ตุลาคม 2565 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40118
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Mongwin
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007 Posts: 39052
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 17/12/2022 4:47 pm Post subject: |
|
|
โปรเจ็กต์EECไฮสปีดเทรนไม่คืบรถไฟเร่งปูทางแจ้งเกิดมักกะสัน
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 17, 2022 04:19
แกะรอยเมกะโปรเจ็กต์ EEC ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน "ไม่คืบ" การรถไฟฯชี้ติดหล่ม 3 เงื่อนไขเดิม รอ ครม.ทุบโต๊ะแก้สัญญาร่วมลงทุน ฉบับใหม่ อธิบดีกรมรางยันข่าวลือเอกชนทิ้งสัมปทานไม่เป็นความจริง รัฐเร่งปูทางเคลียร์ที่ดินมักกะสัน-แอร์พอร์ตลิงก์
การแก้สัญญาร่วมลงทุนฉบับใหม่ โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของโครงการ และมี บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) เป็นเอกชนผู้รับสัมปทานเป็นระยะเวลา 50 ปี
ซึ่งคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ได้ประชุมคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สกพอ. และบริษัท เอเชีย เอรา วัน (เอกชน คู่สัญญา) เพื่อเจรจาหาข้อยุติในร่างสัญญาร่วมกัน เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 นั้น ล่าสุด สัญญาดังกล่าว ยังรอความเห็นและการอนุมัติจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดปัญหา 3 เงื่อนไขเดิม
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการรออนุมัติร่างสัญญาฉบับแก้ไขตามที่เคยเป็นข่าวไป
ซึ่งมีสาระสำคัญเรื่องการแก้ไขใน 3 ประเด็น คือ 1.การชำระสิทธิบริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จากเดิม ต้องจ่ายก้อนเดียว 10,671 ล้านบาทนั้น เป็นแบ่งจ่าย 7 งวด โดย 6 งวดแรกนั้น จ่ายงวดละ 1,067.11 ล้านบาท และในงวดที่ 7 จะชำระคืนที่เหลือทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย ด้วยเหตุผลจากผลกระทบต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
2.แก้เงื่อนไขการจ่ายเงินร่วมลงทุน จากเดิมภาครัฐจะจ่ายเงินลงทุนในโครงสร้างงานโยธาของโครงการใน ปีที่ 6-15 เป็นระยะเวลา 10 ปี ตกปีละ 14,965 ล้านบาท เป็นรัฐเริ่มจ่ายในปีที่ 2-8 รวม 7 ปี ปีละ 18,922 ล้านบาท
3.การก่อสร้างงานโยธาในพื้นที่ช่วงทับซ้อนระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่มีระยะทางร่วมทับซ้อนกันระหว่าง "บางซื่อ-ดอนเมือง"
"ขณะนี้อยู่ระหว่างการอนุมัติร่างสัญญาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อรอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบการแก้ไขร่างสัญญาดังกล่าว จากเดิมคาดหมายว่าจะดำเนินงานตามขั้นตอนได้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อให้การแก้สัญญาร่วมลงทุนแล้วเสร็จช่วงปลายปี 2565 หรือต้น ปี 2566 ก่อนจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเป็นทางการในเดือนมกราคม 2566"
ขณะที่ ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำหรับข่าวลือเรื่อง เอกชนที่ได้รับสัมปทานจะทิ้งสัญญานั้น เป็นเพียงข่าวลือ ไม่มีข้อมูลรองรับใด ๆ
เดินหน้าปูทางมักกะสัน
มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ระบุว่า โครงการขนาดใหญ่ในเชิงพาณิชย์ที่มีความเกี่ยวเนื่อง ถึงกันโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการส่งมอบพื้นที่บริเวณที่ดินโรงงานมักกะสัน เนื่องจากติดปัญหาลำรางสาธารณะ
ซึ่ง ครม.ได้เห็นชอบตามที่ สกพอ.เสนอ โดยขอความเห็นชอบจาก ครม.ตามมติที่ประชุม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 สกพอ. และกรมที่ดินได้ประชุมร่วมกัน โดยกำหนดแนวทางตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่ให้ สกพอ. กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย เร่งสรุปปัญหาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับ การขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ทั้งนี้ ที่ประชุมระหว่าง สกพอ.และกรมที่ดินเห็นควรเสนอให้มีการแก้ไข หรือทบทวนระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 กรณีที่ใช้บังคับในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากปัจจุบันระเบียบดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่สะดวก ล่าช้า ซ้ำซ้อน หรือเป็นการเพิ่มภาระการดำเนินการโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการรถไฟสามสนามบินได้เต็มศักยภาพ
ซึ่งเสนอให้แก้ไขหรือทบทวนระเบียบกระทรวงมหาดไทย อาทิ ข้อ 25 วรรคสอง ของระเบียบดังกล่าว กำหนดให้การอนุญาต ให้อนุญาตตามกำหนดเวลา ซึ่งสมควรกับกิจการที่กระทำภายในกำหนดไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต และข้อ 27 ของระเบียบดังกล่าว กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่กระทำให้พื้นดินที่ได้รับอนุญาตหรือพื้นที่ซึ่งติดต่อเสียสภาพตามสมควร เช่น ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่าห้าเมตร
ดังนั้น หากกรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทยดำเนินการแก้ไข หรือทบทวนระเบียบมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตตามมาตรา 9 พ.ศ. 2543 แล้ว โครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ก็จะสามารถพัฒนาฟี้นที่ดังกล่าวได้ตามวัตถุประสงค์โดยไม่ติดขัดปัญหาและอุปสรรค
สกพอ.จึงได้ดำเนินการยื่นขอเพิกถอนลำรางสาธารณะดังกล่าวตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว โดยอยู่ระหว่างเสนอให้สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป สกพอ.ในฐานะหน่วยงานเลขานุการ กพอ. จึงขอ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชน และโครงการดังกล่าวจะได้รับมอบพื้นที่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งทางเอกชนคู่สัญญาหลังได้รับทราบความคืบหน้าแล้วก็พร้อมจะเริ่มงานก่อสร้างในส่วนอื่นก่อน เพื่อไม่ให้โครงการในภาพรวมล่าช้าไปกว่าที่กำหนด
ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 - 21 ธ.ค. 2565 |
|
Back to top |
|
 |
|