RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312081
ทั่วไป:13685758
ทั้งหมด:13997839
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 490, 491, 492  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2010 2:04 pm    Post subject: Reply with quote

จี้สร้างสะพานลอยข้าม87จุดตัดรถไฟ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,513 14 - 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

คมนาคมบี้กรมทางหลวงเร่งแผนงานโครงการก่อสร้างสะพานลอยข้ามจุดตัดรถไฟตามแผน 6 ปี เผยทั้ง 87 จุดกำหนดดำเนินการตั้งแต่ปี 2554-2559 รวมมูลค่าก่อสร้าง 15,990 ล้านบาท จัดเป็นงบผูกพันข้ามปี เตรียมดำเนินงานปีละ 10-16 โครงการเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.ระยะเร่งด่วน

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามที่กระทรวงคมนาคมมีแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทยระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2557 นั้นล่าสุดได้จำนวนงบประมาณทั้งหมดแล้วจำนวน 168,262 ล้านบาทโดยมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมรับไปดำเนินงานก่อสร้างหรือจัดหา โดยเฉพาะการก่อสร้างสะพานข้ามแยก และทางลอดที่ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทรับไปดำเนินการภายใต้งบประมาณของหน่วยงานนั้น ๆ ต่อไป

“การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟ กระทรวงคมนาคมได้จัดงบประมาณไว้ 168,262 ล้านบาท แยกเฉพาะการแก้ไขปัญหาจุดตัดโดยการก่อสร้างสะพาน/ทางลอดต่างระดับไว้จำนวน 114 แห่งที่จัดอยู่ในโครงการติดตั้งเครื่องกั้นเสมอระดับทางภายใต้งบประมาณ 5,456 ล้านบาทซึ่งจะเป็นการทยอยดำเนินการ ซึ่งเบื้องต้นกรมทางหลวงได้เสนอแผนมาแล้วว่าพร้อมดำเนินการทั้ง 87 จุดตัดที่อยู่ในความรับผิดชอบหากได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินการ”

ทางด้านนายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง เผยว่าได้มอบหมายให้สำนักสำรวจและออกแบบ และสำนักอำนวยความปลอดภัยรับไปดำเนินการ โดยพบว่ามีการพิจารณาก่อสร้างเป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟจำนวนทั้งสิ้น 87 จุดตัด จัดเป็นแผนดำเนินงาน 6 ปี(พ.ศ.2554-2559) แต่ได้แยกจุดตัดทางรถไฟในกรุงเทพมหานครออก 2 จุด และจุดตัดทางรถไฟบนทางหลวงหมายเลข 1 ตอนห้วยแห้ง-กม.263+122 (ต่อเขตแขวงการทางชัยนาท) จังหวัดนครสวรรค์ ออก 1 จุด และทางหลวงหมายเลข 4 ตอน ทางเลี่ยงเมืองอีจาง กม..93+930 ถึง กม.106+189 จังหวัดราชบุรี ออก 1 จุด คงเหลือดำเนินการเพียง 83 จุดเท่านั้น

“การดำเนินการให้คำนึงถึงถนนทางหลวงสายหลักที่มีปริมาณการใช้เส้นทางมากเป็นลำดับแรกและไล่เรียงไปตามลำดับโดยจะพิจารณาดำเนินการในจังหวัดหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภูมิภาคก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2553-2557 ของกระทรวงคมนาคม”

นายวีระกล่าวอีกว่าในการดำเนินการได้จัดแบ่งตามปีงบประมาณดังนี้คือ

ปีงบประมาณ 2554 จำนวน 10 โครงการ มูลค่าก่อสร้าง 2,400 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2554 จำนวน 480 ล้านบาท ปี 2555 จำนวน 1,920 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2555 จำนวน 14 โครงการ ค่าก่อสร้าง 2,750 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2555 จำนวน 550 ล้านบาท ปี 2556 จำนวน 2,200 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2556 จำนวน 15 โครงการ ค่าก่อสร้าง 2,880 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2556 จำนวน 576 ล้านบาท ปี 2557 จำนวน 2,304 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 15 โครงการ ค่าก่อสร้าง 2,730 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2557 จำนวน 546 ล้านบาท ปี 2558 จำนวน 2,184 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 16 โครงการ ค่าก่อสร้าง 2,750 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2558 จำนวน 550 ล้านบาท ปี 2559 จำนวน 2,200 ล้านบาท และ

ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 13 โครงการ ค่าก่อสร้าง 2,480 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2559 จำนวน 496 ล้านบาท และงบผูกพันข้ามปีต่อไปจำนวน 1,984 ล้านบาท

สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดของการก่อสร้างสะพานเพื่ออำนวยความสะดวกบนเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นได้รับการเปิดเผยจากนายกมล หมั่นทำ ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างสะพาน ว่ากรมทางหลวงได้เริ่มก่อสร้างสะพานข้ามแยกไทรม้า เสริมโครงข่ายรัตนาธิเบศร์แล้วมูลค่าก่อสร้าง 204 ล้านบาท โดยได้ว่าจ้างบริษัทไทยวัฒน์วิศวการทาง จำกัด ทำการก่อสร้าง รูปแบบสะพานคอนกรีตอัดแรงสะพานคู่ ขนาดฝั่งละ 3 ช่องจราจร มีความยาว 344 เมตร เว้นพื้นที่ตรงกลางไว้สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ โดยได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็นที่ละฝั่งและจัดการจราจรตามความเหมาะสมของช่วงเวลาเร่งด่วนภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานจราจรของ สภ.บางศรีเมืองและสำนักการจราจรทางบก จังหวัดนนทบุรีได้วางแผนรองรับไว้แล้ว ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างสะพานแห่งนี้จะแล้วเสร็จภายในระยะ 7 เดือนนี้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการแก้ไขปัญหาจราจรช่วงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2010 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท. เล็งเสนอ ครม.ผ่ารถไฟ 3 ส่วน คาดลงตัว เม.ย.นี้

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2553 17:12 น.
สุพจน์ลุยลบหนี้รถไฟ7หมื่นล.
หน้า เศรษฐกิจ ไทยโพสต์ 23 มีนาคม 2553

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.จะเริ่มดำเนินการตามโครงสร้างใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 โดยจะแยกเป็น 3 หน่วยธุรกิจ และอีก 1 บริษัทลูก ประกอบด้วย หน่วยธุรกิจด้านการเดินรถ , ด้านการช่างกล และด้านบริหารทรัพย์สิน และบริษัท เดินรถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน ซึ่งหน่วยธุรกิจทั้งหมดและบริษัทลูกจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รฟท.

ทั้งนี้ รฟท.จะเสนอรายละเอียดแนวทางการจัดตั้ง , ภารกิจ ตลอดจนโครงสร้างอัตรากำลังของหน่วยธุรกิจต่างๆ ให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) หรือสภาพัฒน์ พิจารณาในวันที่ 2 เมษายน 2553 นี้ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคาดว่าจะเป็นเดือนเดียวกัน พร้อมกันนี้ รฟท.จะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติล้างภาระหนี้สินสะสมจำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท ในคราวเดียวกันด้วย

สำหรับเหตุที่ รฟท.ต้องเสนอขอล้างหนี้สินสะสมทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการดำเนินงานตามโครงสร้างใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีกำไรจากการดำเนินงานภายในปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่การปรับปรุงโครงสร้างพิ้นฐานระยะแรกจะแล้วเสร็จ แต่หากคณะรัฐมนตรีไม่อนุมัติล้างหนี้สินสะสม จะส่งผลให้ รฟท.ต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าจะมีกำไร

ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต หลังจาก ร.ฟ.ท.ได้จัดส่งร่างการประกวดราคา (ทีโออาร์) ไปยังองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจกา) ซึ่งเป็นเจ้าของเงินกู้พิจารณา ซึ่งเกรงว่าโครงการจะมีความล่าช้า จึงสั่งการให้ฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.เร่งประสานไปยังไจกาเพื่อเร่งรัดการพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อจะเริ่มดำเนินการในขั้นตอนการประกาศเชิญชวนผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมลงทุน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 23/03/2010 9:50 am    Post subject: Reply with quote

แผนเพิ่มขนส่งตู้สินค้าทางรางทลฉ.อืดลุ้นครม.ไฟเขียวลงทุน2พันลบ.ในปีนี้

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2553 10:25 น.


ASTVผู้จัดการรายวัน- กทท.รอความเห็น สศช. ดันแผนลงทุนโครงการศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ทลฉ.มูลค่า 2,025.3 ล้านบาทเข้าครม. ชงให้สัมปทานเอกชนบริหารตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 เผยโครงการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายภาคขนส่งโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ลดขนส่งทางถนนมาใช้ทางรถไฟเพิ่ม

นายเฉลิมชัย มีคุณเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้า โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) มูลค่าประมาณ 2,025.3 ล้านบาทว่า หลังจากคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) มีมติเห็นชอบและได้เสนอไปยังกระทรวงคมนาคมแล้วนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างรอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งเบื้องต้น กทท.จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และให้สัมปทานเอกชนเข้ามาลงทุนเครื่องมือขนาดเล็กและบริหารโครงการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535

ทั้งนี้ ต้องรอความเห็นของสศช. ก่อน โดยเฉพาะรูปแบบ การให้สัมปทานเอกชนเข้ามาบริหาร ซึ่งเป็นรูปแบบที่กทท.ดำเนินการกับหลายโครงการ แต่เนื่องจากขณะนี้มีการลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบ Public Private Partnershipหรือ PPP ซึ่งนำมาใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงแล้ว ว่าสศช.จะมีความเห็นอย่างไร โดยทราบว่าคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เลื่อนประชุมจาก 15 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็นปลายเดือนมี.ค.นี้

สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ทลฉ. จะดำเนินการบริเวณพื้นที่โซน 4 (อยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด B และชุด C) ซึ่งสำรองไว้สำหรับพัฒนาเป็นศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ (Rail Transfer Terminal) ของ ทลฉ.จำนวน 600 ไร่ โดยกทท.จะลงทุนในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การรื้อย้ายและก่อสร้างระบบราง ลานขนถ่ายและลานกองตู้สินค้า ระบบสาธารณูปโภค งานอาคาร

รวมทั้งทางรถไฟรางคู่จากสถานีแหลมฉบังเข้าสู่ลานขนถ่ายในท่าเรือ และจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือยกขนหลัก (Major Equipments) ได้แก่

1. ปั้นจั่นชนิดเดินบนรางสำหรับยกตู้สินค้าขึ้น - ลงรถไฟ (Rail Mounted Gantry Crane : RMG) ซึ่งสามารถยกขนคร่อมรางรถไฟได้ทั้ง 6 ราง สามารถจอดขบวนรถไฟบรรทุกตู้สินค้าขบวนละ 34 แคร่ ได้รางละ 2 ขบวนรวม 12 ขบวน

2. โดยให้เอกชนผู้ร่วมลงทุนบริหารประกอบการเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือย่อย (Minor Equipments) อาทิ รถหัวลาก - หางลาก รถยกตู้สินค้า และจัดหาระบบ Operation (IT)

โดยแบ่งการลงทุนเป็น 2 ระยะระยะที่ 1 วงเงิน 1,090.675 ล้านบาท (2553-2554) เป็นการพัฒนาเพื่อรองรับตู้สินค้าจนถึงระดับจำนวน 1 ล้านทีอียู./ปี และระยะที่ 2 วงเงิน 934.625 ล้านบาท (2560-2561 ) จะสามารถรองรับตู้สินค้าเพิ่มเป็น 2 ล้านทีอียู./ปี

นายเฉลิมชัยกล่าวว่า ปัจจุบันทลฉ.มีการขนส่งตู้สินค้าทางรางประมาณ 4แสนทีอียู./ปี ที่เหลือใช้ขนส่งทางถนน ซึ่ง การพัฒนาศูนย์การขนส่งฯ ดังกล่าว จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบการขนส่งโดยรวม โดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายรวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ในการปรับเปลี่ยนการขนส่งจากทางถนนมาใช้ทางรถไฟเพิ่มขึ้นด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 23/03/2010 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

เงินรออยู่ข้างหน้าแล้ว จะทำอย่างไรให้ส่วนแบ่งตกมาในมือของการรถไฟฯ ได้มากที่สุดล่ะครับ ?
Back to top
View user's profile Send private message
jojoja
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/02/2010
Posts: 133

PostPosted: 24/03/2010 8:32 am    Post subject: Reply with quote

อยากให้รัฐสนับสนุนการขนส่งระบบรางให้มากที่สุดจังเลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2010 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดลงทุนPPP 8โครงการรถไฟ วัดผลงานยุทธนา
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 26 มีนาคม 2553 - 00:00

นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม และประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยหลังประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการของ ร.ฟ.ท.ที่เตรียมเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนจำนวน 8 โครงการ และได้ให้นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กลับไปทำรายละเอียดแต่ละโครงการเสนอบอร์ดในครั้งหน้า

โดยหากพบว่าวงเงินของโครงการมีมากกว่า 1 พันล้านบาท จะต้องเข้า พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) และโครงการทั้งหมดจะเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้ว่า ร.ฟ.ท.ในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2553 ด้วย สำหรับ 8 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการจ้างบริการระบบศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าสัมพันธ์
2.โครงการว่าจ้างบริการด้วยระบบคอมพิวเตอร์สำหรับโครงการระบบขายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่งขั้นที่สอง
3.โครงการติดตั้งโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศ
4.โครงการจัดหารถจักรเพื่อใช้ลากจูงขบวนรถบรรทุกก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว (LPG) โดย ปตท.
5.โครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เพื่อให้กับรถจักร ALSTHOM โดยใช้งบทำการจำนวน 47 คัน
6.โครงการว่าจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล ซึ่งจัดหาใหม่ขนาดน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 20 ตันต่อเพลา จำนวน 77 คัน
7.โครงการซ่อมบำรุงและฟื้นฟูรถดีเซลราง ASR.(Sprinter)
8.โครงการซ่อมบูรณะรถจักดีเซลไฟฟ้า ALSTHOM จำนวน 56 คัน

รวมทั้งได้อนุมัติว่าจ้างบริษัท Deuthsche Bahn International (DBI) จากเยอรมนีโดยวิธีพิเศษ เพื่อดูแลระบบการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เป็นเวลา 5 เดือน (เม.ย.-ส.ค.53) วงเงิน 239 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 26/03/2010 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

^
เฮียวิศครับ แหล่งขาวคลาดเคลื่อนไหมครับ Exclamation

สงสัยโครงการที่ 5. กับโครงการที่ 8. มันโครงการเดียวกันไหมครับ Question
5.โครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เพื่อให้กับรถจักร ALSTHOM โดยใช้งบทำการจำนวน 47 คัน

8.โครงการซ่อมบูรณะรถจักดีเซลไฟฟ้า ALSTHOM จำนวน 56 คัน
= = = = = = = = = = = = = = = = = = =
ส่วนโครงการที่ 6 ได้แค่ 7 หรือ 77 คันสับสนจริง แต่วางแผนงานดีครับยังไม่มีรถเลยแต่วางแผนซ่อมแล้ว และไม่สร้างโรงงานซ่อมบำรุงเองหรือ Question
v
6.โครงการว่าจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล ซึ่งจัดหาใหม่ขนาดน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 20 ตันต่อเพลา จำนวน 77 คัน
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................


Last edited by pak_nampho on 26/03/2010 1:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 26/03/2010 1:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
3. โรงซ่อมหัวรถจักร 3 แห่ง ที่ศรีราชา ลาดกระบัง และแก่งคอย อีก 1,300 ล้านบาท (เพื่อทดแทนโรงรถจักรมักกะสันที่ต้องโดนยุบเพื่อ เปิดทางทำ Makkasan Complex)


กี๊ซซซซซ มักกะสันโดนยุบบบบบ...... Crying or Very sad

แล้วถ้าเป็นแบบนี้จริงๆคุณภาพการซ่อมบำรุงจะดีเหมือนเดิม(?)รึเปล่าเนี่ย?
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2010 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

pak_nampho wrote:
^
เฮียวิศครับ แหล่งขาวคลาดเคลื่อนไหมครับ Exclamation

สงสัยโครงการที่ 5. กับโครงการที่ 8. มันโครงการเดียวกันไหมครับ Question
5.โครงการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เพื่อให้กับรถจักร ALSTHOM โดยใช้งบทำการจำนวน 47 คัน

8.โครงการซ่อมบูรณะรถจักดีเซลไฟฟ้า ALSTHOM จำนวน 56 คัน
= = = = = = = = = = = = = = = = = = =
ส่วนโครงการที่ 6 ได้แค่ 7 หรือ 77 คันสับสนจริง แต่วางแผนงานดีครับยังไม่มีรถเลยแต่วางแผนซ่อมแล้ว และไม่สร้างโรงงานซ่อมบำรุงเองหรือ Question
v
6.โครงการว่าจ้างเอกชนซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล ซึ่งจัดหาใหม่ขนาดน้ำหนักกดเพลาไม่เกิน 20 ตันต่อเพลา จำนวน 77 คัน


ข่าวเขียนไปเช่นไร ก็ เป็นไปเช่นนั้น อย่าคิดมากเลย

kikoo wrote:


กี๊ซซซซซ มักกะสันโดนยุบบบบบ...... Crying or Very sad

แล้วถ้าเป็นแบบนี้จริงๆคุณภาพการซ่อมบำรุงจะดีเหมือนเดิม(?)รึเปล่าเนี่ย?


โฮ่ย ผมได้ยินมานานแล้วที่ จะให้แก่งคอยรับไปทำ จะได้เอาที่ไปทำ Makkasan Complex ไดเสีย นี่เพิ่งเปิดเผยต่อสาธาณะให้ทราบก็วันนี้เอง

ลองดูข่าวนี้สิครับ ถ้ายังสงสัยอยู่ มีมิสเตอร์ซาเล้ง ประจำที่ รถจักรไอน้ำด้วย!

ระบบรางฟีเวอร์! ทุ่มลงทุน1.5แสนล.พัฒนาโครงสร้างรถไฟทั้งระบบ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มีนาคม 2553 16:33 น.

นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานวันสถาปนากิจการรถไฟครบรอบ 113 ปี โดยในช่วงเช้าได้มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 59 รูป และสักการะพระรูปรัชกาลที่ 5 และกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน รวมทั้งได้ทำพิธีเปิดขบวนรถพิเศษรถจักรไอน้ำ เส้นทางกรุงเทพฯ-อยุธยา

นายโสภณ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสครบรอบ 113 ปีของการดำเนินกิจการรถไฟและตรงกับปีที่กระทรวงคมนาคมมีนโยบายจะพัฒนากิจการรถไฟทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยตามนโยบายปีแห่งความปลอดภัย โดยปีนี้จะมีการเร่งรัดแก้ปัญหาเพื่อการใช้บริการรถไฟให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยเฉพาะจุดตัดรถไฟที่สำคัญ

"ปีนี้รัฐบาลทุ่มงบประมาณกว่า 150,000 ล้านบาท พัฒนารถไฟ เช่น การจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ การพัฒนารถไฟทางคู่ การปรับปรุงบริการ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางรถไฟ ซึ่งวันนี้เห็นได้ชัดว่าประชาชนจำนวนมากได้ให้ความสนใจท่องเที่ยวทางรถไฟโดยหัวรถจักร เพื่อย้อนรำลึกประวัติศาสตร์"

ขณะเดียวกันปีนี้โครงการแอร์พอร์ตลิงค์จะเปิดให้บริการด้วย โดยการพัฒนาด้านต่างๆ กระทรวงคมนาคมตั้งเป้าหมายประชาชนผู้ใช้บริการจะต้องสามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจนในปีนี้

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับปีนี้ รฟท.จะดำเนินงานเร่งรัดการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด โดยเฉพาะปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนนประมาณ 100 จุด ซึ่ง รฟท.ได้ทำการของบไทยเข้มแข็งเพื่อเร่งแก้ปัญหาจำนวน 450 ล้านบาท

โดยทั้งหมดจะมีการก่อสร้างเครื่องกั้นทางรถไฟให้แล้วเสร็จในปีนี้ โดยวันที่ 2 เมษายน 2553 นี้ ผู้บริหาร รฟท. และผู้บริหารกระทรวงคมนาคมจะชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้งบประมาณดังกล่าวกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44090
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2010 11:45 pm    Post subject: Reply with quote

ม็อบเสื้อแดงป่วนเมกกะโปรเจกต์แผนสร้างสุวรรณภูมิเฟส2-รางคู่เลื่อนยาว

โดย ผู้จัดการ 360องศา รายสัปดาห์ 26 มีนาคม 2553 14:41 น.



กระทรวงคมนาคมซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอขออนุมัติงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ก็ต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนดเช่นกัน ทั้งๆที่ครม.จะต้องเห็นชอบในหลักการแล้วใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้รฟท.ที่ต้องรองบประมาณในการปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กรไม่ว่าจะเป็น การจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ การปรับปรุงทาง ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รวมถึงการก่อสร้างรางคู่ที่รัฐบาลเร่งให้ดำเนินการต้องเลื่อนออกไปทั้งหมด ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้แผนงานที่รฟท.วางไว้ต้องช้าไปอย่างน้อย 1-2 เดือน สร้างความเสียหายแก่องค์กรและประชาชนเสียโอกาสที่จะได้ใช้ระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

นอกจากการเสนอของบประมาณโครงสร้างพื้นฐานรฟท.แล้ว กระทรวงคมนาคมยังอยู่ระหว่างนำเสนอแผนก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 มูลค่า 70,000-80,000 ล้านบาท ให้ที่ประชุม ครม.อนุมัติในปลายเดือนนี้ อาจต้องเลื่อนออกไป หากการชุมนุมยังคงยืดเยื้อและหาทางลงไม่ได้

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงส่งผลกระทบต่อการเปิดประชุมครม. ของรัฐบาลที่ไม่สามารถเปิดประชุมเพื่อพิจารณาวาระการประชุมต่างๆได้ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกไปอย่างไม่มีกำหนด ส่งผลกระทบต่อโครงการที่รอการพิจารณาอย่างแผนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานรฟท.ระยะเร่งด่วน (2553-2557) มูลค่า 175,000 ล้านบาทที่ต้องเสนอให้ครม.พิจารณาเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาไม่นิ่งอย่างเห็นได้ชัด

สอดคล้องกับแหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวว่า ขั้นตอนการดำเนินโครงการก่อสร้างรางคู่ เส้นทาง แก่งคอย-คลองสิบเก้า อาจจะล่าช้าไปจากแผน1-2 เดือน จากการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลอนุมัติให้รฟท.ดำเนินการตั้งแต่ปลายปี 2552 และสภาพัฒน์ฯไม่ดึงเรื่องออก เชื่อว่าขั้นตอนการดำเนินงานจะมีความคืบหน้ากว่านี้ เพราะรฟท.ได้เสนอเข้า ครม.ไปตั้งแต่ปลายปี 2552 แต่สภาพัฒน์ฯ กลับไม่เห็นด้วยที่ รฟท.เสนอขออนุมัติเป็นรายโครงการ โดยสภาพัฒน์ฯต้องการให้บรรจุไว้ในแผนงบประมาณโครงสร้างพื้นฐาน รฟท. ที่ใช้งบไทยเข้มแข็ง อีกทั้งง่ายต่อการคุมการใช้เงินของ รฟท. ทำให้การทำงานของ รฟท.ล่าช้า

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การบริหารจัดการ รฟท.ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลด้วยว่าจริงจังในการแก้ปัญหาเพียงใด เพราะการก่อสร้างรถไฟรางคู่ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินงบไทยเข้มแข็งอย่างเดียว

ขณะที่สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสนข. กล่าวถึงงบประมาณการปรับโครงสร้างพื้นฐานรฟท.ว่า สนข. ได้เพิ่มการจัดซื้อขบวนรถไฟ 6 ชุด หรือ เทรนเซต มูลค่า 4,700 ล้านบาท เข้าไปในรายงานที่จะต้องเสนอครม.ด้วย เพราะเห็นว่าการพัฒนารถไฟให้มีศักยภาพและดึงดูดผู้ใช้บริการ ควรซื้อขบวนรถไฟใหม่ดีกว่าจะนำขบวนรถไฟเก่ามาปรับปรุง ซึ่งคณะกรรมการสภาพัฒน์ฯเห็นด้วยกับแผนดังกล่าว สำหรับเทรนเซตประกอบด้วย 14 ตู้ แบ่งเป็น

ตู้ปั่นไฟ 2 ตู้
ตู้เสบียง 2 ตู้
หัวรถจักร 1 หัว
ส่วนที่เหลือเป็นตู้นอน ชั้น 1 ชั้น2 และ ชั้น 3 ต่อ 1 เซต

สำหรับรูปแบบการลงทุนเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจาก 3 แหล่ง คือ เงินกู้, งบประมาณ และ เอกชนร่วมทุน ซึ่งทั้ง 3 แนวทาง สภาพัฒน์ฯจะเป็นผู้กำหนดว่าสัดส่วนของแหล่งเงินเป็นอย่างไร ซึ่งงบประมาณที่สนข.เสนอให้ครม.เห็นชอบ มีมูลค่ารวม ประมาณ 179,700 ล้านบาท แบ่งเป็น

งานโยธา มูลค่า 51,124 ล้านบาท,
งานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม มูลค่า 23,750 ล้านบาท,
งานรถจักรและล้อเลื่อน มูลค่า 12,067 ล้านบาท,
โครงการก่อสร้างรางคู่ Long Loop ระยะทาง 767 กม. จำนวน 5 เส้นทาง มูลค่า 66,110 ล้านบาท

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ครม.อนุมัติก่อสร้างรถไฟรางคู่ แก่งคอย-คลองสิบเก้า มูลค่า 11,348 ล้านบาท และขอปรับปรุงรถไฟสายอีสานระยะ5-6 ไปพร้อมกัน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน รวมถึงการก่อสร้างโรงรถจักรแก่งคอยและ ICD แห่งที่ 2 รวมมูลค่า 7,396 ล้านบาท

ด้านสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการก่อสร้างรถไฟฟ้าว่า รถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างไม่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม เพราะผู้รับเหมาได้เข้าพื้นที่อยู่แล้ว อีกทั้งพื้นที่ก่อสร้างกับพื้นที่การชุมนุมของเสื้อแดงอยู่คนละพื้นที่กัน ส่วนขั้นตอนการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ก็ไม่ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยกำหนดเปิดซองคือวันที่ 29 เม.ย. ซึ่งคาดว่าการชุมนุมน่าจะยุติแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 84, 85, 86 ... 490, 491, 492  Next
Page 85 of 492

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©