View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44443
Location: NECTEC
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/10/2017 9:40 am Post subject:
กทม.กวดขันปลอดภัยเข้ม จับตางานก่อสร้างรถไฟฟ้า
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 13 ต.ค. 2560 05:45
รายงานข่าวจากสำนักการโยธา กทม. แจ้งว่า ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีแดง อยู่ระหว่างการก่อสร้าง สายสีส้ม สายสีเหลือง สายสีชมพู อยู่ระหว่างการขอพื้นที่ก่อสร้าง และสายสีทอง อยู่ระหว่างการสำรวจสาธารณูปโภค ซึ่งการขอใช้พื้นที่ถนนสาธารณะในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจะต้องมีการยื่นข้อมูลเพื่อแสดงให้แก่กรุงเทพมหานครได้รับทราบ ซึ่งเมื่อ กทม. ส่งมอบพื้นที่ให้ดำเนินการแล้ว กทม.มีสิทธิ์ที่จะระงับการก่อสร้างชั่วคราว หากการดำเนินการเข้าข่ายไม่ปลอดภัย ไม่เป็นไปตามแผนงาน ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ กทม.กำชับให้ควบคุมอย่างเข้มงวด หากพบบกพร่องจะต้องสั่งระงับการก่อสร้างทันที.
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 13/10/2017 11:27 am Post subject:
แผ่นพับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง
https://goo.gl/MbVHj9
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44443
Location: NECTEC
Posted: 18/10/2017 12:31 pm Post subject:
แจกบัตรแมงมุม7จังหวัดวันแรกคึกคัก แห่รับแน่นหลายหมื่นคน
อังคารที่ 17 ตุลาคม 2560 เวลา 17.53 น.
บรรยากาศแจกบัตรคนจนวันแรกคึกคัก ชาวบ้านต่อคิวรับบัตรแมงมุมแน่นหลายหมื่นคน แต่เริ่มขึ้นรถเมล์ได้ 1 พ.ย. ส่วนรถไฟฟ้ารอไปปีหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศการแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบบัตรแมงมุม ในวันแรกเมื่อวันที่ 17 ต.ค.60 ให้กับผู้มีสิทธิในพื้นที่ 7 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร จำนวน 1.3 ล้านคน พบว่าเต็มไปด้วยความคึกคัก มีผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเข้ามาทยอยรับบัตรอย่างต่อเนื่องหลายหมื่นคน ผ่านสาขาธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร โดยยอดการรับบัตรผ่านสาขาธนาคารออมสิน ณ วันที่ 17 ต.ค.60 มารับแล้วกว่า 2.03 ล้านบัตร ในจำนวนนี้เป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 จังหวัด 20,056 บัตร
สำหรับสิทธิในการการใช้งานบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบบัตรแมงมุม นอกจากจะสามารถซื้อสินค้าในร้านธงฟ้า และใช้เป็นส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม ค่าเดินทางรถไฟ รถโดยสาร บขส. ได้แล้ว ยังสามารถใช้สิทธิขึ้นรถเมล์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. เป็นต้นไป ส่วนรถไฟฟ้า อยู่ระหว่างปรับปรุงระบบการขายตั๋วของรถไฟฟ้าให้รองรับบัตรแมงมุม ซึ่งจะพร้อมใช้งานกลางปีหน้า
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารออมสินมีผู้ลงทะเบียนใน 7 จังหวัด ประมาณ 437,673 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวกรุงเทพฯ 173,000 คน โดยการแจกบัตรจะใช้เป็นบัตรคิวเพื่อให้ประชาชนใช้บริการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยภาพรวมการแจกบัตรสวัสดิการของธนาคารออมสินทั่วประเทศสามารถแจกไปแล้วกว่า 2.1 ล้านใบ จากทั้งหมด 3 ล้านใบ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/10/2017 3:29 pm Post subject:
พรุ่งนี้ได้ฤกษ์เซ็น MOU บีทีเอส-บีอีเอ็ม ติดตั้งระบบตั๋วร่วมแมงมุม พร้อมใช้กลางปีหน้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 17 ตุลาคม 2560 - 14:57 น.
นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าวันที่ 18 ต.ค. 2560 จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ และ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (บีทีเอสซี) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในการปรับปรุงระบบรถไฟฟ้ารองรับบัตรแมงมุม
โดยหลังจากที่มีการลงนาม ทาง รฟม. บีอีเอ็ม และบีทีเอส จะต้องหารือทำสัญญา (SP argeement) ทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่าย ในขณะที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิ้งก์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐ ซึ่งได้มีการตั้งงบประมาณ และประกาศราคาจัดซื้อจัดจ้างได้อยู่แล้ว
“ไทม์ไลน์การใช้บัตรแมงมุมจะใช้กับรถไฟฟ้า 4 สาย เริ่มทยอยตั้งแต่กลางปีหน้า ได้แก่ แอร์พอร์ตลิ้งก์ สายสีม่วง สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน ซึ่งพิจารณาจากความยากง่ายในการปรับปรุงระบบ หากปรับปรุงระบบได้เร็วก็เป็นผลดีกับผู้ประกอบการเนื่องจากจะเพิ่มการรองรับบัตรสวัสดิการได้อีกด้วย” นายเผด็จกล่าวและว่า
ทั้งนี้วันที่ 1 พ.ย. 2560 สามารถใช้บัตรแมงมุมร่วมกับรถโดยสารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า การเซ็น MOU ในวันที่ 18 ต.ค.นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสให้สามารถรองรับบัตรแมงมุมและบัตรสวัสดิ์การของรัฐได้ ทั้งนี้คาดว่าปลายปี 2561 จะพร้อมให้บริการเพราะต้องใช้เวลาดำเนินการ
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/10/2017 6:18 pm Post subject:
1 พ.ย. คิกออฟบัตรแมงมุมใช้แตะรถเมล์ กลางปีหน้าแอร์พอร์ตลิงก์ ส่วน BTS-รถไฟฟ้าใต้ดิน-ทางด่วนรอ ต.ค.61
วันที่ 18 ตุลาคม 2560 - 16:34 น.
“อาคม” สั่งบัตรแมงมุมใช้แอร์พอร์ต ลิงก์ มิ.ย.61 บีอีเอ็ม-บีทีเอส-เรือด่วน ตั้งเป้า ต.ค.61
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามเพื่อดำเนินการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วม ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) และลงนามบันทึกข้อตกลงดำเนินงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ระหว่าง รฟม.และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการใช้บัตรเพียงใบเดียวสามารถเดินทางได้ทุกระบบขนส่ง ใช้แทนเงินสดในการเดินทางและชำระค่าสินค้า รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์จากการใช้งานบัตร สนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพและปริมณฑล
กระทรวงคมนาคมโดย สนข.ได้ดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 พ.ค. 2555 เพื่อจัดทำนโยบายกำหนดมาตรฐานระบบตั๋วร่วม ดำเนินการจัดหาผู้พัฒนาระบบตั๋วร่วมและจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง และการกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้พัฒนาระบบ
ซึ่ง ครม. วันที่ 29 ส.ค.2560 ได้มอบหมายให้ รฟม.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม เนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของระบบและดำเนินโครงการระบบขนส่งทางราง ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งภูมิภาค อย่างภูเก็ต เชียงใหม่ นครราชสีมา เป็นต้น จึงมีความเหมาะสมและความพร้อมในการดำเนินงานในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
“เป้าหมายแรกคือบัตรแมงมุมสามารถใช้กับรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ภายในวันที่ 1 พ.ย. 60 เพราะบัตรแมงมุมอยู่ในบัตรสวัสดิการ ส่วนแอร์พอร์ต ลิงก์ จะเริ่มภายในเดือนมิ.ย.61 เป้าหมายต่อมา รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ สีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน รถไฟฟ้าบีทีเอส เรือเจ้าพระยา ต.ค.61 คาดว่าจะใช้บริการได้ในเดือน ต.ค.61 หรืออาจจะเริ่มได้เร็วกว่านั้น” นายอาคมกล่าว
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 18/10/2017 9:11 pm Post subject:
เดดไลน์ 3 เดือนสรุปแบบก่อสร้าง-ส่งมอบพื้นที่สายสีชมพู-เหลือง เปิดทางรับเหมารื้อสาธารณูปโภค พ.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 18 ตุลาคม 2560 - 16:51 น.
เดดไลน์ 3 เดือนสรุปแบบก่อสร้าง-ส่งมอบพื้นที่สายสีชมพู-เหลือง เปิดทางรับเหมารื้อสาธารณูปโภค พ.ย.นี้ ตอกเข็มปีหน้า
นายพีระพล ถาวรศุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และกรมทางหลวง (ทล.) ในการขอเข้าพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท
โดยสายสีชมพูหารือแบบรายละเอียดการก่อสร้าง 2 จุด คือ การก่อสร้าง บนถนนแจ้งวัฒนะ- ติวานนท์ และรามอินทรา และสถานีหลักสี่ สายสีเหลืองมี 4 จุด คือ สะพานทางแยกข้ามบางกะปิ-แยกลำสาลี ทางข้ามคลองแสนแสบที่บางกะปิ อุโมงค์ทางลอดพัฒนาการ และวัดศรีเอี่ยม
นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ช่วยผู้ว่าการรฟม. กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้ประสานงานกับ กทม.บ้างแล้วในการปรับปรุงแบบการก่อสร้าง แต่ต้องรอข้อสรุปอีกครั้ง ส่วนทางข้ามคลองแสนแสบ ยังไม่ได้ข้อยุติ
ด้านสายสีชมพู ตำแหน่งสถานีหลักสี่กำลังหารือกับกรมทางหลวงขอใช้พื้นที่ อีกทั้งกรมทางหลวงยังแสดงความกังวลในการจราจรบริเวณถนนรามอินทรา เพราะมีการจราจรติดขัด จะเร่งหารือให้ได้ข้อสรุปที่แน่นอนภายใน 3 เดือนนับจาก พ.ย.นี้
“แบบรายละเอียดสะพานข้ามแยกเดอะมอลล์บางกะปิ ก่อนหน้านี้จะต้องรื้อสะพานเดิมที่เป็นเหล็ก และก่อสร้างใหม่ ทางกองบัญชาตำรวจนครบาล (บชน.) มีความกังวลว่าจะเกิดปัญหาจราจรซึ่งต้องกลับไปพิจารณาแบบอีกครั้ง” นายสุรเชษฐ์กล่าวและว่า
ในเดือน พ.ย.นี้ ผู้รับเหมาสามารถเข้าพื้นที่เพื่อรื้อย้ายสาธารณูปโภคในพื้นที่สายสีชมพู-เหลืองได้ก่อน และคาดว่าเริ่มว่าส่งมอบพื้นที่ได้ภายในเดือน ก.พ.2561 ซึ่ง รฟม.ปรับแผนใหม่หากไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ ก็ไม่เริ่มสัญญากับเอกชนป้องกันการเสียค่าปรับระหว่างการส่งมอบพื้นที่ทางเอกชนก็รับภาระดอกเบี้ย
ส่วนนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง ส่วนต่อขยายของสายสีชมพูและสายสีเหลืองอยู่ในระหว่างที่ รฟม.ให้ที่ปรึกษาศึกษาอีกครั้ง ส่วนการชำระดอกเบี้ยยังไม่ได้จ่าย เพราะยังไม่ได้เบิกเงินกู้มาใช้ จะเริ่มเบิกเมื่อมีการก่อสร้าง
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/10/2017 7:57 am Post subject:
เริ่มใช้ มิ.ย.61 "บัตรแมงมุม" นั่งแอร์พอร์ตเรลลิงก์-รถเมล์
ThaiPBS 07:23 | 19 ตุลาคม 2560
กระทรวงคมนาคม ยืนยันประชาชนได้ใช้ "บัตรแมงมุม" มิ.ย.61 แอร์พอร์ตเรลลิงก์-รถเมล์ เริ่มก่อน ส่วนรถไฟฟ้า MRT รถไฟฟ้าบีทีเอส เรือด่วนเจ้าพระยา เริ่ม ต.ค.61
เมื่อวันที่ 18 ต.ค.2560 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในเดือน มิ.ย.61 ประชาชนจะสามารถใช้ตั๋วร่วมกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง และ รถไฟฟ้าบีทีเอส นั้นประชาชนจะสามารถใช้ตั๋วร่วมได้ประมาณเดือน ต.ค.61 ส่วนระบบขนส่งทางน้ำคาดว่าจะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมได้ในเดือน ต.ค.2561
https://www.youtube.com/watch?v=gRyXvqiAheI
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44443
Location: NECTEC
Posted: 19/10/2017 12:44 pm Post subject:
บีทีเอสลุยสร้างโมโนเรล”ชมพู-เหลือง”ธ.ค.นี้
วันที่ 19 ตุลาคม 2560 - 07:30 น.
บีทีเอสเซ็นกู้เงิน 6.3 หมื่นล้านลุยโมโนเรล 2 สายแรกประเทศไทย “ชมพู-เหลือง” เผย รฟม.ส่งมอบพื้นที่เปิดไซต์ก่อสร้างทันที ดีเดย์ ธ.ค.นี้ ด้านกรมทางหลวงขอเวลาตรวจแบบรายละเอียด แนะขยับตำแหน่งสถานี สร้างอุโมงค์ระบายน้ำตลอดแนวถนนแจ้งวัฒนะ
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 10 ต.ค. 2560 ได้เซ็นสัญญาเงินกู้ วงเงิน 63,360 ล้านบาท กับสถาบันการเงิน 3 รายใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย และไทยพาณิชย์ สำหรับลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ในการก่อสร้างสถานี ทางวิ่งยกระดับงานระบบเครื่องกลงานระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถไฟฟ้าโมโนเรลรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่าง ๆ
ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียดโครงการและรอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างภายในเดือน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2563
“สัญญาเงินกู้ แบ่งเป็น 2 ฉบับ สำหรับสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี วงเงิน 31,680 ล้านบาท และสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 31,680 ล้านบาท เป็นสัญญากู้เงินระยะยาว 14 ปี จะเริ่มชำระนับจากปีที่เปิดเดินรถ” นายสุรพงษ์กล่าว
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด กล่าวว่า รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวโมโนเรล แบบยกระดับ 2 สายแรกของประเทศ และเป็นโครงการร่วมทุนในลักษณะ PPP net cost ระหว่างรัฐและเอกชน โดยบีทีเอสร่วมกับผู้ร่วมลงทุน ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป
โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ร่วมลงทุนกันพัฒนาโครงการ จะใช้ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลของกลุ่มบริษัทบอมบาดิเอร์ นับจากนี้จะเริ่มก่อสร้างได้ทันที หลัง รฟม.ส่งมอบพื้นที่แล้ว
นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารกรุงเทพมีส่วนปล่อยสินเชื่อคิดเป็น 33% ของวงเงินรวม หรือประมาณ 21,120 ล้านบาท จะทยอยเบิกจ่ายตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2561
นายมนตรี เดชาสกุลสม ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 13 (พื้นที่กรุงเทพฯ) กรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมอยู่ระหว่างพิจารณาแบบรายละเอียดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับสีเหลือง ก่อนจะอนุญาตให้ รฟม.ใช้พื้นที่
โดยสายสีชมพูสร้างบนถนนแจ้งวัฒนะ กรมกำลังพิจารณาสร้างอุโมงค์รับน้ำหรือท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าแนวถนนแจ้งวัฒนะใหม่ เนื่องจากพื้นที่เกาะกลางถนนจะหายไปหลังจากมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู เพราะเป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังอยู่แล้ว อีกทั้งยังให้ รฟม.พิจารณาขยับตำแหน่งสถานีหลักสี่ให้มาใกล้กับสายสีแดง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับสายสีเหลืองอยู่ระหว่างพิจารณาการเข้าใช้พื้นที่ถนนศรีนครินทร์และถนนเทพารักษ์ ที่ดินของแขวงสมุทรปราการตรงแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ก่อสร้างทางวิ่ง สถานี และอาคารจอดแล้วจร จะให้ขยับไปยังฝั่งตรงข้าม มีพื้นที่ว่างประมาณ 10 ไร่แทน
ด้านนายสุรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการปรับตำแหน่งสถานีของสายสีชมพูและสีเหลืองแต่อย่างใด ซึ่งบริษัทออกแบบรายละเอียดตามที่ รฟม.ศึกษาไว้ ยกเว้น รฟม.จะไม่ได้รับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง อาจจะมีการปรับแบบใหม่ในอนาคต
Back to top
Mongwin
1st Class Pass (Air) Joined: 24/09/2007 Posts: 48083
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
Posted: 19/10/2017 1:43 pm Post subject:
คมนาคมชงสคร.ตั้งบริษัทลูกตั๋วร่วม
โพสต์ทูเดย์ 19 ตุลาคม 2560 เวลา 09:09 น.
คมนาคมชงสคร.ตั้งบริษัทลูกตั๋วร่วม เอกชนควัก300ล้านลงทุนงานระบบ
นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าสำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้ามา จัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) ตลอดจนหน้าที่บริหารจัดการรายได้และกำหนดแนวทางดำเนินธุรกิจตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างการของบจากกระทรวงคมนาคมเพื่อนำไปจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กรและสัดส่วนผู้ถือหุ้น คาดว่าจะดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ภายในปีนี้เพื่อให้ได้ตัวเอกชนที่ปรึกษาโครงการภายในต้นปี 2561 ก่อนใช้ระยะเวลาศึกษาราว 4 เดือน ตลอดจนสรุปผลศึกษาฉบับสมบูรณ์รายงานสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในมิ.ย. 2561 หากได้รับการอนุมัติแล้วจะเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกใช้เวลาราว 8เดือน-12เดือน หรือจะก่อตั้งบริษัทแล้วเสร็จภายในปี 2562 สำหรับเป้าหมายที่รมว.คมนาคมได้ให้เอาไว้ว่าจะต้องเร่งสรุปแนวทางรูปแบบธุรกิจของบริษัทลูกภายใน 3 เดือนนั้น ก็จะเร่งดำเนินการตามเป้าหมายเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมตลอดจนนำข้อสรุปดังกล่าวไปรวมกับผลศึกษาของที่ปรึกษาโครงการเพื่อเสนอที่ประชุมสคร.ต่อไป
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีทีเอส) กล่าวว่า ในส่วนของรถไฟฟ้านั้นทาง บีทีเอส และ บีอีเอ็ม(ผู้ให้บริการรถใต้ดินเอ็มอาร์ที) ได้ลงทุนเพื่อดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม กว่า 300 ล้านบาทในการพัฒนาระบบ มั่นใจว่าเมื่อเปิดให้บริการตั๋วร่วมอย่างเต็มรูปแบบจะเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการได้อย่างมาก
Back to top