View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 01/12/2008 10:47 pm Post subject: |
|
|
ครับ คืนนั้น ข.107 แผ่วตอนปลาย ปล่อยให้ ข.105 แซงผ่านที่สถานีพิษณุโลก และเข้าเทียบชานชาลาสถานีอุตรดิตถ์ล่ากว่ากำหนดประมาณ 30 นาทีเศษ
ชาวคณะส่วนใหญ่ลงที่นี่ ปล่อยให้ทีม อ.ตุ้ยไปชื่นชมไอหมอกที่สถานีเด่นชัย ก่อนย้อนกลับมาสมทบกับชาวคณะอีกครั้งหนึ่งด้วย ข.112 เด่นชัย - กรุงเทพ
ขอเก็บภาพสักนิดกับ ข.673 ทำขบวนผ่านสถานีอุตรดิตถ์
ถึงตอนนี้ บรรยากาศเริ่มคึกคักอีกครั้งหนึ่งกับสมาชิกต่างแจ้งรายงานตัว ก่อนรวมพลเข้าชมโรงรถจักรอุตรดิตถ์กันต่อไป
เอ...จะมีใครทราบไหมหนอว่า นับตั้งแต่ทางรถไฟได้ก่อสร้างวางรางมาจนถึงอุตรดิตถ์ และก่อสร้างอาคารสถานีรถไฟและที่รับส่งสินค้ามาจนถึงปัจจุบันนี้ เกือบครบ 100 ปีแล้วนะครับ เพราะอาคารสถานีอุตรดิตถ์แห่งแรก ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2452 และเปิดใช้งานในปีถัดมา น่าจะมีงานฉลองกันบ้างนะครับ
สำหรับความเป็นมาของการก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือมาถึงอุตรดิตถ์ ท่านที่สนใจสามารถศึกษาได้จากกระทู้ซึ่งบันทึกโดยชาวอุตรดิตถ์ที่เกรงข้อมูลประวัติศาสตร์จะสูญหาย ตามข้างล่างนี้ครับ
เรื่องจากประวัติศาสตร์ : ตำนานเมืองอุตรดิษฐ์
ถึงเวลาเข้าชมภายในบริเวณโรงรถจักรอุตรดิตถ์กันแล้วครับ เจ้าของสถานที่เขามาพร้อมรอต้อนรับแล้วล่ะ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 01/12/2008 11:20 pm Post subject: |
|
|
ถึงแม้ผมจะทำงานและตั้งรกรากอยู่ที่อุตรดิตถ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เป็นต้นมา เพิ่งได้มีโอกาสเดินเข้าเยี่ยมชมภายในโรงรถจักรอุตรดิตถ์ และโรงงานอุตรดิตถ์โดยใกล้ชิดคราวนี้เองครับ ดังนั้น จึงเป็นความตื่นเต้นสำหรับผมไม่แพ้ชาวคณะรายอื่นๆ เช่นกัน แต่ช่วงเช้านั้น มี GEK 4044 จอดพักภายในโรงรถจักรเพียงคันเดียวเท่านั้น
โรงรถจักรแห่งนี้แต่เดิม จะสั้นกว่าปัจจุบันครึ่งหนึ่ง เพราะมีการก่อสร้างอาคารขยายความยาวให้สามารถรับรถจักรเพื่อรับการซ่อมบำรุงได้มากขึ้นกว่าเดิมในภายหลังครับ
สิ่งที่น่าสนใจ แต่ดวงไม่ค่อยสมพงษ์กันกับผมอีกอย่างหนึ่ง คือ บปก. หมายเลข 1 ยี่ห้อ Ishikawajima นี้แหละครับ ถ้าไม่จอดที่โรงเก็บข้างใน ที่หาโอกาสถ่ายรูปไม่ได้แล้ว จะอยู่แถวๆ ย่านศิลาอาสน์ ซึ่งผมไม่มีธุระผ่านบริเวณนั้นอีกเช่นกัน วันนี้โชคดีครับ ได้เห็นอย่างใกล้ชิดด้วยสีส้มใหม่เอี่ยม แทนสีแดงดั้งเดิม จอดในโรงเก็บรถจักรไอน้ำ (เดิม) จึงถือโอกาสเก็บภาพเอาไว้หน่อย
ทราบจากทางแขวงฯ อุตรดิตถ์ว่า เป็น บปก.เครื่องยนต์ต้นกำลังเป็นเครื่องดีเซลรุ่นแรกที่การรถไฟฯ จัดซื้อมาใช้งานเมื่อปี พ.ศ.2499 (ร่วมรุ่นปีกับผมแฮะ ) และมีรุ่นนี้เพียงคันเดียวเท่านั้นใน รฟท.
สมัยผมเป็นเด็กช่วงปี พ.ศ.2508 ขณะที่นั่งรถหวานเย็นจากเชียงใหม่มายังสถานีนครลำปางนั้น ได้รอหลีกขบวนรถช่วยอันตรายที่ไปช่วยยกขบวนรถตกรางบริเวณช่วงสถานีปางม่วง กับสถานีแม่ตานน้อย โดยขบวนรถช่วยอันตรายนั้น นำขบวนโดยรถไอน้ำมาจากแขวงฯ ลำปาง และจากแขวงฯ อุตรดิตถ์ สีแดงสดทั้งขบวน ดูแล้วตื่นเต้น น่ากลัวตามประสาเด็กๆ ตอนนั้นล่ะครับ
ดูจากแผ่น nameplate ที่ติดอยู่โครงตัวรถ ระบุว่าสร้างโดยบริษัท Tokyu Car Mfg.Co., Ltd. เข้าใจว่า แต่ละบริษัทได้รับผิดชอบผลิตแต่ละชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบเป็นคันรถอีกทีหนึ่งกระมัง ?
อีกสักภาพกับบั้นท้าย บปก.1 ก่อนที่จะเดินไปรวมกับชาวคณะที่ห้องประชุมของแขวงฯ ต่อไป
คืนนี้ ขอเข้านอนก่อนนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47157
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 01/12/2008 11:58 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | โรงรถจักรแห่งนี้แต่เดิม จะสั้นกว่าปัจจุบันครึ่งหนึ่ง เพราะมีการก่อสร้างอาคารขยายความยาวให้สามารถรับรถจักรเพื่อรับการซ่อมบำรุงได้มากขึ้นกว่าเดิมในภายหลังครับ |
จากภาพถ่ายทางอากาศวันที่ 18 พ.ย. 2518 เห็นได้ชัดเจนว่า โรงรถจักรเดิมสั้นกว่าปัจจุบันครับ (ปัจจุบันยาวถึงแนวถนนซ้ายมือ)
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/12/2008 8:46 pm Post subject: |
|
|
ต้องขออภัยที่ปล่อยให้กระทู้ค้างครับ พอดีงานเข้า ต้องเตรียมการประชุมในวันที่ 9 ธันวาคม เลยรวบรวมมาเสนอกันต่อช่วงวันหยุดยาวนี่แหละครับ
หลังจากรวมพลพร้อมเพรียงกันแล้ว คุณหมอรักษ์พงศ์ ประธานเวปไซต์ได้กล่าวต้อนรับสมาชิกและเปิดกิจกรรม
หลังจากนั้น ทางวิศวกรกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ ได้กล่าวต้อนรับ และแนะนำหน่วยงานในสังกัด และภารกิจหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งขออนุญาตนำมาสรุปในที่นี้แก่ผู้สนใจได้ทราบนะครับ
................
กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์
กองลากเลื่อนอุตรดิตถ์ เป็นหน่วยงานตั้งอยู่ในภูมิภาคขึ้นตรงต่อศูนย์ลากเลื่อน ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยวิศวกรกำกับกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานในสังกัด มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
- ควบคุมและวางแผนการซ่อมบำรุงรักษารถจักร รถพ่วง และล้อเลื่อนที่ใช้งานในพื้นที่รับผิดชอบให้สอดคล้องกับแผนงานที่ศูนย์ลากเลื่อนกำหนด
- ควบคุมและวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เครื่องมือกลที่ใช้ในการซ่อมบำรุงรถจักร รถพ่วง
- ควบคุมและวางแผนการจัดพนักงานรถจักร ทำขบวนรถให้เป็นไปตามกำหนด และให้สอดคล้องกับความต้องการด้านการเดินรถในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
- ดำเนินการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านช่างกลในเขตรับผิดชอบ เช่น งานด้านเทคนิค ด้านเหตุอันตราย งานกู้ภัย สวัสดิการพนักงานตลอดจนด้านแรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ
กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ เริ่มตั้งแต่เสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีชุมทางบ้านภาชีบนเส้นทางสายเหนือ จนถึงสถานีเชียงใหม่ รวมถึงทางแยกจากสถานีชุมทางบ้านดาราถึงสถานีสวรรคโลก รวมระยะทางทั้งสิ้น 690 กม. แบ่งความรับผิดชอบเป็น 4 แขวงงาน และหน่วย 10 รวม 2 แห่ง (ที่พิษณุโลก และเชียงใหม่) ได้แก่
แขวงโรงงานอุตรดิตถ์ มีสารวัตรแขวงโรงงานอุตรดิตถ์ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานในสังกัด รับผิดชอบในการซ่อมบำรุงรถโดยสาร รถสินค้า และอุปกรณ์ส่วนประกอบบางส่วนของรถพ่วง เพื่อใช้งานในกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ ยังดำเนินการซ่อมระบบไฟฟ้าและสุขภัณฑ์ขบวนรถโดยสารที่สถานีศิลาอาสน์ ด้วย
แขวงสารวัตรรถพ่วงปากน้ำโพ มีสารวัตรแขวงรถพ่วงปากน้ำโพเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานในสังกัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่เสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีชุมทางบ้านภาชี ถึงเสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีตะพานหิน รวมระยะทาง 229 กม. รับผิดชอบการจัดพนักงานในสังกัดหมุนเวียนทำขบวนรถตาม link ทำการตรวจซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล รถดีเซลราง และรถพ่วงให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งควบคุมงานด้านตรวจรถตามสถานีรายทาง มีหน่วยงาน พตร.ประจำอยู่ที่สถานีลพบุรีและสถานีนครสวรรค์
แขวงสารวัตรรถจักรอุตรดิตถ์ มีสารวัตรแขวงรถจักรอุตรดิตถ์เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานในสังกัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่เสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีตะพานหิน ถึงเสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีเด่นชัย และในส่วนทางแยกจากสถานีชุมทางบ้านดารา ถึงสถานีสวรรคโลก รวมระยะทาง 244 กม. รับผิดชอบการจัดพนักงานในสังกัดหมุนเวียนทำขบวนรถตาม link ทำการตรวจซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล รถดีเซลราง และรถพ่วงให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งควบคุมงานด้านตรวจรถตามสถานีรายทาง มีหน่วยงาน พตร.ประจำอยู่ที่สถานีบึงพระ สถานีพิษณุโลก สถานีศิลาอาสน์ และสถานีเด่นชัย นอกจากนี้ยังมีงานบำรุงรักษาขบวนรถพิเศษช่วยอันตราย ซึ่งมีรถปั้นจั่นกลใช้งานเพียงแห่งเดียวในเขตพื้นที่รับผิดชอบกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์
แขวงสารวัตรรถจักรลำปาง มีสารวัตรแขวงรถจักรลำปางเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานในสังกัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่เสาสัญญาณออกอันนอกด้านเหนือสถานีเด่นชัย ถึงสถานีเชียงใหม่ รวมระยะทาง 217 กม. รับผิดชอบการจัดพนักงานในสังกัดหมุนเวียนทำขบวนรถตาม link ทำการตรวจซ่อมบำรุงรถจักรดีเซล รถดีเซลราง และรถพ่วงให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งควบคุมงานด้านตรวจรถตามสถานีรายทาง มีหน่วยงาน พตร.ประจำอยู่ที่สถานีลำปาง และสถานีเชียงใหม่
ในปัจจุบัน หน่วยซ่อมในสังกัดกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะที่แขวงสารวัตรโรงงานอุตรดิตถ์ มีการประสานงานกับกองซ่อมบำรุงรถจักร บางซื่อ ในการช่วยยกแคร่เปลี่ยนมอเตอร์ขับเคลื่อน (Tracktion Motor) ให้กับรถจักร ALS , GEA , GEK นอกเหนือจากการซ่อมประจำ และดูแลรักษารถปั้นจั่นกลที่มีประจำการในแขวงฯ อีกด้วย
ปัญหาอุปสรรคที่ประสบ ได้แก่
- สถานการณ์รถจักรตึงตัว ไม่พอต่อการใช้งาน หากมีขบวนรถพิเศษจัดเฉพาะ เช่น E&O ทำขบวนในเขตพื้นที่ ต้องดึงรถจักรจากขบวนรถสินค้าปกติเข้าทำขบวน และงดเดินรถสินค้าขบวนนั้นไปก่อน
- มาตรการจำกัดกำลังคนภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล ทำให้อัตรากำลังที่มีอยู่ โดยเฉพาะพนักงานรถจักรต้องปฏิบัติงานเกินเวลาโดยไม่มีพนักงานสำรองสับเปลี่ยน
- งบประมาณที่ได้รับมีจำกัด
................
จากบรรยายสรุป ทำให้ทราบภารกิจที่ค่อนข้างหนักหน่วงของกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ ซึ่งรับผิดชอบการเดินรถบนเส้นทางสายเหนือ ซึ่งเป็นเส้นทางภูเขา มีความลาดชันสูง แตกต่างจากกองลากเลื่อนเขตพื้นที่อื่น ต้องมีความพร้อมตลอดเวลาทั้งตัวพนักงาน รถจักร ล้อเลื่อน และการซ่อมบำรุง เพื่อให้บริการเดินรถโดยสารและรถสินค้าดำเนินได้ตลอดไป
หลังจากเสร็จสิ้นการบรรยายสรุป ทางเจ้าหน้าที่ได้นำชาวคณะของ RFT.Com เข้าชมบริเวณพื้นที่ของแขวงโรงงานอุตรดิตถ์กันล่ะครับ แต่ไม่ลืมเตือนให้ระวังความปลอดภัยในการเข้าชมด้วย เพราะมีเครื่องจักรกล และพนักงานอยู่ปฏิบัติหน้าที่ล่วงเวลาซ่อมตามวาระรถ บชส. ร่วม 8 คันทีเดียว
การซ่อมตามวาระ ถึงขั้นใช้ไฟลอกสีที่หนาเตอะออก เพื้อให้ถึงตัวเนื้อเหล็ก จึงสามารถตัดผุ ปะแผ่นเหล็กใหม่ ก่อนทำสีโป้ว ลงสีใหม่ ซึ่งใช้งานได้ทนนานกว่าโป้วสีทับอย่างเดียว
ที่สร้างความสนใจแก่สมาชิกผู้เยี่ยมชมเป็นอย่างมากคือการกลึงล้อรถไฟครับ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้สาธิตให้เห็นกันจะๆ ตาทีเดียว เศษเหล็กที่กลึงจากล้อ ยาวเป็นเกลียวสวยครับ แต่ให้ระวังมือตอนจับ เพราะคมบาดมือเอาง่ายๆ นะครับ
ทราบว่า ล้อที่ส่งเข้ากลึง จะต้องกลึงเท่ากันทุกล้อด้วย ก่อนประกอบเข้ากับแคร่ตัวรถ มิฉะนั้นจะมีปัญหาตัวรถด้านหัว-ท้ายสูงต่ำไม่เท่ากัน มีผลต่อการต่อพ่วงไม่สนิท งานนี้ต้องขอคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้รู้ด้วยครับ
สำหรับล้อที่กลึงเสร็จ จะนำมาเก็บตรงรางเก็บล้อกลางแจ้งด้านหลังโรงงานครับ โดยมีแคร่เลื่อนไปมาระหว่างรางเก็บ นำล้อเข้าจัดเก็บ แต่ล้อที่เก็บในภาพไม่ใช่ล้อที่กลึงนะครับ
Last edited by black_express on 11/12/2008 9:15 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/12/2008 9:37 pm Post subject: |
|
|
ภาพที่เห็นเจนตาตอนที่ผมขับรถผ่านไปมาด้านหลังโรงงาน คือตู้รถโดยสารสมัยโบราณ ทำด้วยไม้คันนี้แหละครับ พอมีโอกาสเข้าเดินชมข้างในโรงงานได้ ก็ไม่ลืมแวะเข้าไปดูใกล้ๆ กันหน่อย
แต่พอเข้าไปเห็นใกล้ๆ เอ..รู้สึกว่าตัวรถดูกว้างๆ กว่าปกติแฮะ
คำตอบอยู่ที่ล้อคู่นี้แหละครับ ทำให้แปลกใจซ้ำสองว่าเหลือรอดหูรอดตาไปได้อย่างไร เพราะเป็นล้อใช้กับขนาดรางมาตรฐาน 1.453 เมตร ของกรมรถไฟหลวง ก่อนแก้ขนาดรางสายเหนือลงเป็นขนาดกว้าง 1 เมตร ช่วงรัชกาลที่ 7 โน้นครับ
เลยกลายเป็นจุดสนใจของบรรดาตากล้องในวันนั้นไปอย่างช่วยไม่ได้
ออกมาด้านหน้าโรงงาน ต่างเฮโลไปดูบรรดารถจักร รถพ่วง ที่เก็บในย่านกันครับ
เห็นจะไม่พ้นดาราประจำแขวงโรงงานอุตรดิตถ์คันนี้แหละครับ Davenport หมายเลข 571 ที่ตอนนี้จอดหมดสภาพ ไม่สามารถใช้งานได้อีก นอกจากบูรณะขึ้นมาใหม่ ซึ่งทางโรงงานอุตรดิตถ์บอกว่าสามารถทำได้ ถ้ามีเงินงบประมาณ แต่เครื่องยนต์นั้นต้องส่งไปให้โรงงานมักกะสันดำเนินการซ่อมให้
ว่าแล้วมีสมาชิกใจกล้าปีนขึ้นไปดูภายในรถจักรกันหลายคน รวมถึงท่านประธานเวปไซต์ด้วยล่ะ
ขึ้นไปดูแบบไม่กลัวเสื้อผ้าเปื้อนคราบน้ำมันกับฝุ่นที่รถจักรแล้ว ผมเพิ่งรู้เหมือนกันว่ายังมีเครื่องยนต์อยู่ครบทั้ง 2 เครื่อง ดูแล้วเต็มห้องเครื่องครับ ไม่เหมือนรุ่น 500 แรงม้าที่คิดว่าจะโล่งกว่า
ต่อมาอีกสักคันนะครับ เป็นรุ่น 500 แรงม้า หมายเลข 525 ส่วนเครื่องยนต์ถูกถอดออกมาอยู่ข้างนอก โดยวิธีรื้อหลังคาบ้านออกมาครับ ยังไม่ทราบว่าจะมีโอกาสกลับมาใช้งานได้เมื่อใด
Last edited by black_express on 07/12/2008 10:13 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/12/2008 9:50 pm Post subject: |
|
|
เพิ่งเห็นห้องขับรถจักรไอน้ำเพิ่มเติมอีกหลังหนึ่งครับ ข้างโรงรถจักรดีเซลอุตรดิตถ์ คราวนี้ก็ถึงเรื่องราวของรถจักรและล้อเลื่อนที่ถึงแก่วาระบ้างครับ
คงจำอัลสตอมคันนี้ได้นะครับ หมายเลข 4127 ประสบอุบัติเหตุตกรางที่ อ.พิชัย แถมเจอไฟไหม้ซ้ำช่วงกู้ภัยจนหมดสภาพ จากข่าว นสพ. คมชัดลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
ระทึกกู้ซากรถไฟที่อุตรดิตถ์ ระเบิดเจ็บสาหัส 3 คน
กับทรากโบกี้รถตามกระทู้ ภาพ - ข่าวในอดีต : ข.38 ตกราง ครับ
โบกี้ท้ายขบวนรถด่วนราชพฤกษ์ ที่ประสบอุบัติเหตุถูกชนท้ายครับ 26 พ.ย.49 ข.11 ชนท้าย ข.963 ที่ห้วยเกตุ
เนื้อเรื่องช่วงนี้มีแต่เศร้าๆ ทั้งนั้นเลย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/12/2008 10:33 pm Post subject: |
|
|
เจอทรากหลังคาโบกี้โดยสารวางกองอยู่ เจ้าของหลังคาตอนนี้ ขอยืมภาพจากคุณ Donatt76 มาแปะให้ชมครับ
กับโบกี้รถช่วยอันตรายรุ่นตัวถังไม้ ใช้ขอพ่วง เอบีซี.ครับ
คันนี้ใหม่นิดหน่อย ปลดวาระใช้งานจากแขวงสารวัตรรถพ่วงปากน้ำโพ
สภาพภายในก็ดังที่เห็น สังเกตจากช่องหน้าต่างแล้ว สมัยก่อนน่าจะเป็นรถสำหรับนอนชั้นหนึ่งในสมัยโน้นนะครับ
โบกี้รถช่วยอันตรายที่ใช้งานในปัจจุบัน สีแสดที่พ่นเอาไว้ เจอกับแดด ซีดเร็วจริงๆ ครับ
หวีดโรงงานดังหมดยกพอดี ต้องรีบตามไปดูการสาธิตใช้วงเวียนกลับรถจักรตามคำเรียกร้องของคณะดูงานก่อนครับ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 07/12/2008 10:53 pm Post subject: |
|
|
งานนี้ ท่าทางจะเดินตามไม่ทันชาวคณะครับ เลยใช้วิธีมองจากมุมสูง สมทบกับหลายคนที่เลือกวิธีนี้
ปีนขึ้น-ลงบนบันไดแคบๆ ที่เปื้อนน้ำมัน ไม่ใช่ของง่ายๆ เหมือนกันครับ กลัวไถลลงมาอายชาวบ้านเขาหนะ
ตอนนี้ขอตามไปดูในระยะใกล้ เห็นสมาชิกบนรถจักร อุ่นหนาฝาคั่งจริงๆ เลย
อีกสักนิด กับภาพคุณหมอครับ...
ยิงเก็บภาพ กลไกการล็อกวงเวียนให้อยู่ตรงกับราง พร้อมแท่งไม้จีมล้อรถจักรไม่ให้เคลื่อนตกจากวงเวียนขณะหมุนกลับรถครับ
เสร็จการสาธิต พนักงานก็นำรถจักรออกจากวงเวียน กลับเข้าโรงรถจักรล่ะครับ พอดีเวลามื้อเที่ยงร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ก่อนแยกย้ายกันไปชมเมืองตามนัดหมายกันไว้ในช่วงบ่ายต่อไปครับ
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/12/2008 12:19 pm Post subject: |
|
|
หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาดูงานและตัวแทนเวปไซต์ร่วมมอบของที่ระลึกแก่ตัวแทนวิศวกรกำกับกองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์ สารวัตรแขวงโรงงานอุตรดิตถ์ และสารวัตรแขวงรถจักรอุตรดิตถ์แล้ว ชาวคณะต่างแยกย้ายกันไปชมเมือง หรือสำรวจเส้นทางสายสวรรคโลกกันตามที่นัดหมายล่วงหน้ากันล่ะครับ
จุดหมายแรกที่ชุดชมเมืองอุตรดิตถ์แวะ อยู่ตรงหน้าศาลากลางจังหวัดนั่นเองครับ เรียกว่าไม่แวะ ก็เหมือนมาไม่ถึงอุตรดิตถ์ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก และพิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกันครับ
คงไม่กล่าวถึงประวัติของท่านอีกแล้วนะครับ เพียงบอกว่าช่วงเช้าบางวัน โดยเฉพาะวันหยุด ผู้ที่มาแวะสักการะ อาจโชคดีได้ชมมวยรุ่นเล็กชกแก้บนกันหลายคู่เป็นของแถม แสดงว่ามีผู้สมปรารถนากันหลายราย ยกเว้นขอบนบานท่านไม่ให้ถูกจับใบแดง เพราะท่านเป็นทหารเสือคู่ใจพระเจ้าตาก
อย่าได้เผลอเชียว
อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมไปเยี่ยมชมครับ เพราะอยู่ในบริเวณเดียวกัน คือ พิพิธภัณฑ์ดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งชื่อเสียงของเหล็กน้ำพี้นั้น เป็นที่รู้จักกันดีจนปรากฎในคำขวัญของจังหวัดอุตรดิตถ์เลยทีเดียว
" เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก "
สำหรับเรื่องราวความเป็นมาของการสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ขอคัดจากข้อความที่ติดแสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑ์มาให้ดูกันอีกหนหนึ่งนะครับ เผื่อใครไม่ทันอ่านตอนเข้าไปเข้าชมดาบฯ
...............
ประวัติดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก
เหล็กน้ำพี้เป็นเหล็กกล้าโบราณของไทย ที่มีความแข็งแรงและเหนียวรวมอยู่ด้วยกัน และมีอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ที่บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
เหล็กน้ำพี้มีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นมาด้วยระยะเวลายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบัน เช่น ใช้ทำพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงใช้กระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ทำดาบล้างอาถรรพ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทำดาบฟ้าฟื้นของขุนแผนขุนศึกของพระพันวษา และที่สำคัญที่สุดใช้สร้างดาบ " นันทกาวุธ " ซึ่งเป็นดาบที่ถืออยู่มือซ้ายเคียงคู่กับดาบเหล็กธรรมดาด้านขวามือของพระยาพิชัยดาบหัก ขุนศึกคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ใช้รบกับพม่าแบบตะลุมบอน ณ กลางทุ่งเมืองพิชัย จนดาบข้างขวาหัก จนได้รับสมญาว่า " พระยาพิชัยดาบหัก " ตั้งแต่บัดนั้น
ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 จังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จัดสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ
2. เพื่ออนุรักษ์เหล็กน้ำพี้ ที่มีอยู่แห่งเดียวในโลกที่บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน
3. เพื่อเชิดชูดาบไทยที่บรรพบุรุษไทยได้ใช้เป็นอาวุธต่อสู้กับข้าศึกศัตรูจนได้รับเอกราชตราบทุกวันนี้
4. เพื่อส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์
ขั้นตอนการสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก
วันที่ 5 ธันวาคม 2534 นายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยนั้น ได้ร่วมกับนายสุขสันต์ วนะภูติ นายอำเภอทองแสนขัน ได้ไปเก็บรวบรวมเหล็กน้ำพี้โดยซื้อจากราษฎรบ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้ ได้เหล็กทั้งหมด 557.8 กิโลกรัม รวมเป็นเงิน 278,000 บาท ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมนานถึง 6 เดือน
วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 ได้นำเหล็กน้ำพี้ไปทำการหลอมและหล่อ ที่โรงหล่อเหล็กห้างหุ้นส่วนจำกัด สุเทพการธรณีลำปาง อำเภอเมืองลำปาง แล้วนำดาบฯ ไปให้ศูนย์ปฏฺบัติการ รพช.ลำปาง ทำการตกแต่งให้เรียบร้อย แล้วได้ให้บริษัทเชียงใหม่สุดารักษ์ จำกัด จ.เชียงใหม่ เป็นผู้สร้างฝักดาบพร้อมด้ามไม้ประดู่ฝังลวดลายมุก รวมทั้งให้ร้านวัวลายศิลป์ จ.เชียงใหม่ ทำการหุ้มปลอกเงินสลักลาย โดยมีนางวันเพ็ญ ปานขาว ผู้อำนวยการกองสถาปัตยกรรม กรมโยธาธิการ เป็นผู้ตกแต่งและออกแบบลายฝักดาบและควบคุมอย่างใกล้ชิด
เมื่อการสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกเสร็จเรียบร้อย จึงได้จัดพิธีและขบวนแห่อัญเชิญมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ มาถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2535 และจัดพิธีบวงสรวงพร้อมเฉลิมฉลองดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 ณ สนามกีฬาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งในการสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้ ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น 3 เดือนจึงสร้างเสร็จสมบูรณ์
.............
นอกจากจะสร้างดาบน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ เมื่อปี 2541 อีกด้วย เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาประวัติศาสตร์สำหรับผู้สนใจ ต่อไป หากผู้ใดสนใจและพอมีเวลาเที่ยวอุตรดิตถ์แล้ว น่าเดินทางเป็นวงรอบจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ไปเที่ยวชมเขื่อนสิริกิติ์ วนอุทยานสักใหญ่ และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ ได้ครับ ใช้เวลาเดินทางและพักชิมปลาที่เขื่อนสิริกิติ์ช่วงมื้อเที่ยงรวม 1 วัน และเป็นเส้นทางลาดยางตลอดสาย
สำหรับท่านใดที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของ อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก และ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ สามารถคลิ๊กเข้าไปดูในวิกิพีเดีย ตรงชื่อตัวหนาข้างต้นได้เลยครับ
ชวนชาวบ้านชาวเมืองเขามาเที่ยวเมืองอุตรดิตถ์เสร็จสรรพแล้ว ชาวคณะก็ออกเดินทางไปเที่ยว อ.ลับแล กันต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Adithepc20
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/07/2006 Posts: 3403
Location: ลาดพร้าว 71 หรือ ชานเมือง 9
|
Posted: 11/12/2008 2:46 pm Post subject: |
|
|
หายไปหลายวันเลยนะครับพี่ตึ๋ง กว่าจะกลับมาลงภาพ สงสัยงานเข้าเยอะช่วงนี้ _________________ ฮิตาชิ 4506 ขณะทำขบวนรถสินค้าที่ 879 ออกจากสถานีชุมทางศรีราชา วันที่ 20 เม.ย. 2553 เวลา 16.50 น.
|
|
Back to top |
|
|
|