เส้นทางรถไฟในประเทศไทย
|
|
การขนส่งทางรถไฟนั้น ศูนย์กลางอยู่ที่สถานีกรุงเทพ หรือที่เรียกว่าสถานี "หัวลำโพง" ตั้งอยู่บริเวณถนนพระราม 4 และปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยมีทางรถไฟทั้งหมด 4,041 กม. โดยจะเป็นระบบทางคู่ช่วงสถานีกรุงเทพ - สถานีชุมทางบ้านภาชี รวม 90 กม. จะเป็นทางสาม ช่วงสถานีรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี และมีทางคู่ที่ก่อสร้างเพิ่มอีก 4 เส้นทางได้แก่
- ช่วงสถานีชุมทางตลิ่งชัน-สถานีนครปฐม ในเส้นทางสายใต้ ระยะทาง 56 กม.
- ช่วงสถานีหัวหมาก-สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ในเส้นทางสายตะวันออก ระยะทาง 45 กม.
- ช่วงสถานีชุมทางบ้านภาชี-สถานีลพบุรี ในเส้นทางสายเหนือ ระยะทาง 43 กม.
- ช่วงสถานีชุมทางบ้านภาชี - สถานีมาบกะเบา ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 44 กม.
และนอกจากนั้น จะเป็นทางเดี่ยวทั้งหมด โดยในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเส้นทางรถไฟที่ให้บริการอยู่ 5 เส้นทางด้วยกันคือ
- สายเหนือ
- สายตะวันออกเฉียงเหนือ
- สายตะวันออก
- สายใต้
- สายแม่กลอง
เส้นทางรถไฟเริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ผ่านสถานีสามเสน ชุมทางบางซื่อ (ทางแยกสู่สายใต้) บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง รังสิต เชียงราก บางประอิน อยุธยา และสถานีชุมทางบ้านภาชี ซึ่งเป็นสถานีทางแยกระหว่างสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
-
ทางรถไฟสายเหนือ
เริ่มแยกจากสถานีชุมทางบ้านภาชี แล้วขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านสถานีท่าเรือ, ลพบุรี, บ้านหมี่, บ้านตาคลี, นครสวรรค์, ชุมแสง, บางมูลนาก, ตะพานหิน, พิจิตร, พิษณุโลก, ชุมทางบ้านดารา, อุตรดิตถ์, เด่นชัย, แม่เมาะ, นครลำปาง, ขุนตาน, ลำพูน แล้วสุดปลายทางที่สถานีเชียงใหม่ รวมระยะทางตลอดสายประมาณ 751 กิโลเมตร ลอดอุโมงค์ทั้งสิ้น 4 อุโมงค์ คือ อุโมงค์ปางตูมขอบ, อุโมงค์เขาพลึง, อุโมงค์ห้วยแม่ลาน และอุโมงค์ขุนตาน ซึ่งเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศ และในระหว่างเส้นทาง ที่สถานีชุมทางบ้านดารา จะมีทางแยกไปสุดสายที่ สถานีสวรรคโลก จ.สุโขทัย อีกด้วย
|
|
|
|
-
ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ แยกจากเส้นทางสายเหนือที่สถานีชุมทางบ้านภาชี แล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสถานีสระบุรี, ชุมทางแก่งคอย, มวกเหล็ก, ปากช่อง, นครราชสีมา, ชุมทางถนนจิระ, บุรีรัมย์, ลำชี, สุรินทร์, อุทมพรพิสัย, ศรีสะเกษ, กันทรารมย์ แล้วไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี (ระยะทางประมาณ 575 กิโลเมตร) ที่สถานีชุมทางแก่งคอย จะมีทางแยก ผ่านสถานีแก่งเสือเต้น, เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์, ลำนารายณ์, จตุรัส (จ.ชัยภูมิ) แล้วไปบรรจบกับเส้นทางจากนครราชสีมา ที่สถานีชุมทางบัวใหญ่ ที่สถานีชุมทางถนนจิระ มีทางแยกจากเส้นทางสายอุบลราชธานี ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านสถานีโนนสูง, บัวใหญ่, เมืองพล, บ้านไผ่, ขอนแก่น, น้ำพอง, กุมภวาปี, อุดรธานี แล้วไปสุดสายที่สถานีหนองคาย นอกจากนั้นยังมีการขยายทางรถไฟ ไปบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เพื่อรอเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากประเทศลาวไปยังนครเวียงจันทน์อีกด้วย (ระยะทางถึงสถานีหนองคาย ประมาณ 624 กิโลเมตร) |
|
|
|
-
ทางรถไฟสายตะวันออก มีทางแยกออกจากเส้นทางสายเหนือ ช่วงระหว่างสถานีกรุงเทพ - สถานีสามเสน บริเวณยมราช เลี้ยวผ่านไปยังสถานีมักกะสัน, คลองตัน, ลาดกระบัง, หัวตะเข้ จนถึงสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา จากนั้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง โดยเส้นทางแรกจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านสถานีชุมทางคลองสิบเก้า, ปราจีนบุรี, กบินทร์บุรี, สระแก้ว วัฒนานคร แล้วไปสุดทางที่สถานีอรัญประเทศ และเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศกัมพูชา (ระยะทางถึงสถานีอรัญประเทศ ประมาณ 254.5 กิโลเมตร) ส่วนเส้นทางที่สองจะมุ่งลงไปทางทิศใต้ ผ่านสถานีชลบุรี, บางพระ, ชุมทางศรีราชา, ชุมทางเขาชีจรรย์, บางละมุง, พัทยา, วัดญาณสังวราราม, สวนนงนุช แล้วสุดสายที่สถานีบ้านพลูตาหลวง และท่าเรือสัตหีบ โดยที่สถานีชุมทางศรีราชนั้น มีทางแยกไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และที่สถานีชุมทางเขาชีจรรย์ จะมีทางแยกไปยังนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่สถานีชุมทางคลองสิบเก้า จะมีทางแยกขึ้นไปทางทิศเหนือ เพื่อบรรจบกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสถานีชุมทางแก่งคอย โดยจะผ่านสถานีองครักษ์, วิหารแดง, บุใหญ่ และช่วงระหว่างสถานีวิหารแดง-บุใหญ่ จะต้องลอดอุโมงค์พระพุทธฉาย ความยาว 1,197.00 ม. อีกด้วย |
|
|
|
-
ทางรถไฟสายใต้ เมื่อแรกสร้างมีจุดเริ่มต้นที่สถานีธนบุรี (สถานีบางกอกน้อย) จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้สร้างทางแยกที่สถานีชุมทางบางซื่อ เพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก และไปบรรจบกับทางรถไฟสายใต้ที่สถานีชุมทางตลิ่งชัน ทางสายนี้ผ่านสถานีนครชัยศรี, นครปฐม, ชุมทางหนองปลาดุก, บ้านโป่ง, ราชบุรี, เพชรบุรี, หัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, ไชยา, ชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์, สุราษฎร์ธานี, ชุมทางทุ่งสง, ชุมทางเขาชุมทอง, พัทลุง, ชุมทางหาดใหญ ่(จ.สงขลา), เทพา, ปัตตานี (โคกโพธิ์), ยะลา, รือเสาะ, ตันหยงมัส (นราธิวาส), สุไหงปาดี สุดสายที่สถานีสุไหงโกลก (จ.นราธิวาส) และเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ (ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ-สถานีสุไหงโกลก ประมาณ 1,159 กิโลเมตร) ที่สถานีชุมทางหนองปลาดุก มีเส้นทางแยกอยู่ 2 เส้นทาง เส้นทางแรก จะมุ่งขึ้นทิศเหนือผ่านสถานีศรีสำราญ และสุดสายที่สถานีสุพรรณบุรี ในเส้นทางที่สอง จะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านสถานีกาญจนบุรี สะพานแควใหญ่ วังโพ และสุดสายที่สถานีน้ำตก ที่สถานีชุมทางบ้านทุ่งโพธ์ มีเส้นทางแยกไปสุดสายที่สถานีคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ส่วนที่สถานีชุมทางทุ่งสง มีเส้นทางแยกผ่านสถานี ห้วยยอด ตรัง และสุดสายที่สถานีกันตัง ที่สถานีชุมทางเขาชุมทอง มีเส้นทางแยกไปสุดสายที่สถานีนครศรีธรรมราช และที่สถานีชุมทางหาดใหญ๋ มีเส้นทางแยกไปสุดสายที่สถานีปาดังเบซาร์ และเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ผ่านสถานีบัตเตอร์เวิรธ์ (ปีนัง) อิโปห์ ราวัง กรุงกัวลาลัมเปอร์ และสุดสายที่ประเทศสิงคโปร์ (ระยะทางจากสถานีกรุงเทพ-สถานีปาดังเบซาร์ ประมาณ 974 กิโลเมตร) |
|
|
|
-
ทางรถไฟสายแม่กลอง
เส้นทางรถไฟสายนี้ไม่ได้เริ่มต้นที่สถานีกรุงเทพ ตัวเส้นทางจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะเริ่มต้นที่สถานีวงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี โดยไปสุดปลายทางที่สถานีมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 31 กม. ส่วนเส้นทางอีกช่วงหนึ่ง จะเริ่มต้นที่สถานีบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสาคร และไปสุดปลายทางที่สถานีแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นระยะทางอีก 33 กม.
|
|
|
|
แผนที่เส้นทางรถไฟในประเทศไทย
(Thailand Railroad Map) |
|
|
|
เรียบเรียง : CivilSpice |
ที่มา : การรถไฟแห่งประเทศไทย |
รูปภาพประกอบ : Gunners, Main Reservoir |
|
สงวนลิขสิทธิ์โดย © Rotfaithai.Com : All Right Reserved.
อนุญาตให้นำเนื้อหาไปใช้ได้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หากจะนำไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์ หรือสื่ออื่นๆ กรุณาขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมระบุอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล ให้ถูกต้องและชัดเจน ติดประกาศ: 2004-10-09 (244117 ครั้ง) [ ย้อนกลับ ] |