Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
View previous topic :: View next topic
Author
Message
nathapong
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
Posted: 21/02/2009 5:08 am Post subject:
Quote: เค้าเอามาทดสอบวิ่งอีกครั้งมั้งครับ....คราวนี้พ่วงกันมา 2 ชุด 8 คัน
ขออภัยถ้าภาพไม่ชัด เพราะขับไป ถ่ายไป
ง่า เฮียโดนัท อันตราย น่อ
เดี๋ยวไปลองเมื่อไหร่ แล้วจะบอก อะอะ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 26/02/2009 3:03 pm Post subject:
จวกเละ"รถไฟ"งานอืดกระทบเปิดแอร์พอร์ตลิงค์ - ชงคจร.แก้แอร์พอร์ตลิงค์
Thairath - Dailynews 26 Feb 2009
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191960&NewsType=1&Template=1
http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok&content=125236
เมื่อวันที่ 25 ก.พ. ที่สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ด้านการวางแผนจราจร เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีวาระการหารือที่สำคัญคือ เร่งรัดติดตามการแก้ปัญหาจราจรทางเข้า-ออกสถานีรถไฟฟ้าแอร์ พอร์ตลิงค์ที่จะเปิดให้บริการในปีนี้แล้ว แต่ทางเข้า-ออกยังมีปัญหา ได้แก่
1. สถานีมักกะสันที่เป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง
2. สถานีหัวหมาก และ
3. สถานีบ้านทับช้าง
ก่อนหน้านี้การรถไฟฯ เคยทำหนังสือมาที่ สนข.ให้ช่วยประสานหน่วยงานต่าง ๆ ให้ร่วมกันแก้ปัญหาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 แต่ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใด ๆ โดยติดขัดปัญหาในการดำเนินงานของการรถไฟฯ เอง และการขาดงบประมาณที่จะนำไปใช้ในโครงการ ทำให้ พ.ต.ต.ยงยุทธ ออกปากถึงความล่าช้า และสั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประชุมกลุ่มย่อยจัดทำโครงการคำนวณงบประมาณทั้งหมด และให้ทำหนังสือแจ้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอเปิดการประชุม คจร. พิจารณา ก่อนเสนอโครงการขออนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ที่สถานีมักกะสัน ให้
1. ก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมจากถนนจตุรทิศด้านทิศใต้ ผ่านบริเวณสถานีมักกะสัน แล้วไปบรรจบกับถนนเพชรบุรีบริเวณแยกนานา
2. เพิ่มทางเข้าสถานีที่บริเวณถนนจตุรทิศและถนนมักกะสัน พร้อมทั้งก่อสร้างสะพานยกระดับจากถนนอโศกเข้าสู่สถานี เสริมถนนโครงข่ายใกล้เคียง
3. นอกจากนี้ยังเสนอให้ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า เชื่อมระหว่างสถานีมักกะสัน ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ กับสถานีอโศกของรถไฟฟ้าใต้ดิน อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
[สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ที่สถานีหัวหมากให้ทำโดย]
1. [ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า] เชื่อมต่อสถานีหัวหมากให้ก่อสร้างถนนเชื่อมจากสถานีหัวหมากถึงถนนกรุงเทพกรีฑา ระยะทาง 900 ม.
2. สร้างสะพานข้ามคลองหัวหมาก เชื่อมการเดินทางเข้า-ออกสถานีจากถนนกรุงเทพกรีฑา
3. ก่อสร้างที่จอดรถ ก่อสร้างที่หยุดรถประจำทางบนถนนศรีนครินทร์ ด้านทิศใต้ของสถานี พร้อมสะพานลอยคนข้าม
[สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ที่] สถานีบ้านทับช้าง ให้
1. ก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ บริเวณปลายถนนสุขาภิบาล 1 กับทางคู่ขนานถนนมอเตอร์เวย์ เชื่อมโยงการเดินทางกับถนนสุขุมวิท 77
2. ทำที่หยุดรถประจำทางบนทางคู่ขนานถนนมอเตอร์เวย์ทั้งสองฝั่ง และทำทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อจากสะพานลอยคนข้ามเดิมเข้าสู่ตัวสถานี และก่อสร้างที่จอดรถ.
__________________
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 12/03/2009 9:42 am Post subject:
ครม.เพิ่มงบแอร์พอร์ตลิงค์-รถไฟฟ้าสายสีแดง
โดย : ธุรกิจออนไลน์กรุงเทพ 10/03/2009
ครม.อนุมัติงบ เพิ่มเติมสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ 548 ล้าน และเพิ่มวงเงินลงทุนรถไฟสายสีแดงอีก 1.5 หมื่นล้าน
นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อก่อสร้างทางเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ จำนวน 548 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1. การจ้างที่ปรึกษา เพื่อควบคุมงานก่อสร้างจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างจำนวน 115 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย
2. งบประมาณในการว่างจ้างที่วิศวะกรอิสระ เพื่อตรวจสอบรับรองประกันความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบจำนวน 195 ล้านบาท โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลาดำเนินการประมาณ 3 ปี จากปีงบประมาณ 2551-2554
3. งบประมาณสำหรับก่อก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมต่อระหว่างสถานีพญาไทของกทม. 11 ล้านบาท และสถานีเพชรบุรีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 87 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 98 ล้านบาท
นายพุฒิพงษ์ กล่าวต่อว่า งบทั้งหมดรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายระยะเวลาดำเนินการประมาณ 15 เดือน ส่วนการปรับแบบฐานรากต้องมีการหลบหลีกสาธารณูปโภคขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายอีกประมาณ 140.322 ล้านบาท ทั้งนี้การประปานครหลวงเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่าย 57.67 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย 82.64 ล้านบาท
นอกจากนี้ครม.ยังได้เพิ่มวงเงินก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตามข้อเสนอของกระทรวงคมนาคม เพื่อใช้ในระบบโยธา ระบบไฟฟ้า การรื้อย้าย ทั้งช่วงบางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน จากวงเงิน 59,888 ล้านบาท เป็น 75,548 ล้านบาท เนื่องจากกรอบเดิมยังไม่ได้บรรจุค่าใช้จ่ายในการนำเสนอต่อ ครม.
โดยแบ่งเป็นวงเงินก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต ในส่วนของระบบรางตลอดจนงานโยธา งานไฟฟ้าและเครื่องกล งานจ้างที่ปรึกษา คิดเป็นวงเงินรวม 62,745 ล้านบาท และ วงเงินก่อสร้าง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 2,403 ล้านบาท
รวมทั้งอนุมัติวงเงินจัดหาตู้รถไฟฟ้าสายสีแดงอีก 10,400 ล้านบาท โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดหา เพื่อให้รถไฟบางซื่อ-รังสิตและบางซื่อ-ตลิ่งชัน สามารถเดินรถให้เชื่อมเป็นระบบเดียวกันได้
REF: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090310/23378/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87.html
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 23/03/2009 9:42 am Post subject:
แอร์พอร์ตลิงก์ส่อเลื่อนวิ่งให้บริการ กมธ.คมนาคมชี้ระบบไม่พร้อมเปิด
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 23 มีนาคม 2552 01:06 น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000032578
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9520000032650
ASTVผู้จัดการรายวัน-กรรมาธิการคมนาคม ชี้แอร์พอร์ตลิงก์เสี่ยงเปิดไม่ทันกำหนด 12 ส.ค. เหตุระบบยังไม่พร้อมหลายส่วน โดยเฉพาะระบบความปลอดภัยที่ไม่มีเครื่องตรวจจับระเบิด ขณะที่ระบบควบคุมการเดินรถก็ยังไม่พร้อม ร.ฟ.ท.สบช่องใช้วิธีพิเศษจัดหาติดตั้งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยโดยไม่เปิดประมูล ยุทธนาเผยเตรียมจ้างซีเมนส์คุมเดินรถบางส่วนควบงานซ่อมบำรุง ตัดบีทีเอส บีเอ็มซีแอล เพราะเป็นเอกชน
ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กมธ.คมนาคมได้ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ( แอร์พอร์ตลิงก์) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ายังมีหลายส่วนที่ไม่พร้อมและอาจจะไม่เสร็จทันกำหนดที่จะเปิดให้บริการในวันที่ 12 ส.ค.2552 ทั้งเรื่องการเดินรถและระบบความปลอดภัย
น่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้ระบบต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัย ยังไม่มี เครื่องตรวจจับระเบิด ซึ่งจากมักกะสันสามารถเข้าไปที่อุโมงค์ใต้อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิได้ หากหิ้วกระเป๋าเข้ามา ก็ผ่านได้ เพราะไม่มีการตรวจจับระเบิดเลย ซึ่งได้เรียกร.ฟ.ท.มาชี้แจงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ก็ยอมรับว่าไม่มีจริง นายพงศ์พันธ์กล่าว
ร.ต.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ การเดินรถ ซึ่งจะต้องมีการอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องทั้งงานระบบ การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 5 เดือน แต่ขณะนี้ยังไม่มี ในขณะที่การจ้างเอกชนเข้ามาเดินรถแทนร.ฟ.ท.ทั้งกลุ่มซีเมนส์ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) ขณะนี้ยังเจรจากันไม่เรียบร้อย ดังนั้น เชื่อว่าโครงการจะพร้อมและเปิดให้บริการได้อย่างสมบูรณ์ ในต้นปี 2553
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า โครงการแอร์พอร์ตลิงก์จะเปิดให้บริการในวันที่ 12 ส.ค.2552 แน่นอน โดยขณะนี้งานก่อสร้างโดยรวมแล้วเสร็จไปแล้ว 98% เหลืออีก 2% เป็นเพียงการเก็บรายละเอียดเท่านั้น ส่วนระบบความปลอดภัยที่กมธ.คมนาคมเป็นห่วงนั้น ขณะนี้ร.ฟ.ท.ได้ขอคุณสมบัติของระบบจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. มาเพื่อจะนำมาประกอบการจัดหาโดยใช้วิธีพิเศษสั่งซื้อโดยตรง ไม่ต้องทำการประมูล โดยอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยจะมีลักษณะเดียวกับที่ทอท.ใช้ ราคาตัวละ 4 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.จะใช้ทั้งหมด 4 ตัว โดยติดตั้งไว้ที่สถานีมักกะสัน
ขณะนี้ครม.ได้อนุมัติวงเงินจัดจ้างที่ปรึกษามาตรวจสอบระบบความปลอดภัย การเดินรถและระบบต่างภายในโครงการแอร์พอร์ลลิงก์ มูลค่า 195 ล้านบาทแล้ว คาดว่าสามารถเซ็นสัญญาว่าจ้างได้ในอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากเซ็นสัญญาจะใช้เวลาในการตรวจสอบ 90 วันและอาจจะดำเนินการได้เร็วเพียง 30 วันเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่เข้ามาดำเนินการตรวจสอบจากต่างประเทศนั้นมีความเชี่ยวชาญมากๆนายยุทธนากล่าว
สำหรับการเดินรถนั้นคงไม่สามารถว่าจ้าง บีเอ็มซีแอลหรือบีทีเอสเข้ามาได้ เพราะเป็นเอกชน โดยจะพิจารณาให้บริษัท ซีเมนส์ เข้ามาดำเนินการให้ในบางส่วน ไม่สามารถเดินรถได้ทั้งหมด เพราะซีเมนส์ มีความเชียวชาญในด้านการบำรุงรักษามากกว่า ส่วนการเตรียมบุคลากรด้านการเดินรถนั้น ได้ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดูแลในเรื่องการจัดหาบุคลากร และบริหารจัดการแผนการเดินรถทั้งหมด ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นเดือนเม.ย.นี้ จะสามารถประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลได้ และจากนั้นอีก 2-3 เดือนก็จะได้ตัวคนมาดำเนินการเดินรถ
Back to top
ronaloh
3rd Class Pass Joined: 07/01/2008 Posts: 37
Location: คลองตัน
Posted: 25/03/2009 12:57 pm Post subject:
มีโอกาสได้ลองนั่งเลยเอาบรรยากาศขณะเคลื่อนที่ที่ความเร็ว 160Km/h มาฝากครับ ภาพอาจไม่ค่อยชัดนะครับ แต่พอดูได้(ถ่ายจากโทรศัพท์)
http://www.youtube.com/watch?v=LAbsBLYO8Yk
ความยาวประมาณ 8.22นาที(จะเอาฝากกับPhotobucketเค้าให้แค่5นาที เลยต้องเอาไว้ที่ Youtube)
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 06/04/2009 11:44 pm Post subject:
สารพัดโครงข่ายเชื่อม แอร์พอร์ตลิงก์ เสริมทางเข้า-ออกรอบทิศ
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4094
วันที่ 06 เมษายน พ.ศ. 2552
วันที่ 12 สิงหาคมนี้ การรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าเชื่อม ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ แต่น่าจะเป็นได้แค่การเปิดทดลองและเปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรี เพราะยังไม่พร้อมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มร้อย
"ตามแผนการเปิดให้บริการเป็นทางการน่าจะเป็นวันที่ 5 ธันวาคม เพราะจะต้อง เตรียมการหลายอย่าง ทั้งการให้เอาต์ซอร์ซ มาเดินรถ และเตรียมคนมาอบรมการ ขับรถไฟฟ้า โดยบอร์ดได้สั่งให้การรถไฟฯเร่งดำเนินการแล้ว" นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯกล่าว
แม้การรถไฟฯตั้งเป้าจะเปิดให้บริการโครงการนี้ในวันที่ 5 ธันวาคม แต่ความ ไม่พร้อมในการเข้า-ออกสถานีหลายๆ สถานียังเป็นปัญหา เนื่องจากโครงข่าย เชื่อมสถานียังไม่สมบูรณ์ บางแห่งเดินทาง ไม่สะดวกจึงต้องเร่งมือแก้ไข ขณะที่ การรถไฟฯเองก็ยังไม่มีแผนรองรับในส่วนนี้
โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะเป็นหน่วยงานกลางประสาน ด้วยการจะเร่งรัดโครงการ ที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ทั้ง 8 สถานี คือ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ
แต่ที่ต้องเร่งดำเนินการก่อนคือ สถานีมักกะสัน ซึ่งเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สถานีหัวหมาก และสถานีบ้านทับช้าง แต่ขณะนี้ไม่มีความคืบหน้า ทุกอย่างยังเป็นแค่แผนงาน ทั้งที่ หารือกันมาตั้งแต่ปลายปี 2550 สาเหตุ มาจากการรถไฟฯขาดงบประมาณ ดำเนินการ ที่คาดว่าใช้งบฯเกือบ 1,000 ล้านบาท ส่วนระยะเวลาดำเนินการอย่างน้อยต้อง 1 ปีขึ้นไปกว่าทุกอย่างจะสมบูรณ์
โดยเฉพาะสภาพปัญหาและข้อจำกัดของสถานีมักกะสัน แม้จะใกล้สถานี รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีเพชรบุรี มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่านที่ถนนอโศก แต่การ เข้าถึงสถานีมักกะสันยังไม่มีความสะดวกอื่นๆ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องทางเดินเท้า ที่หยุดรถประจำทาง สะพานลอยคนข้าม
แนวทางแก้ปัญหา คือ
1.สร้างสะพานลอยเป็นทางเดินแบบลอยฟ้า (sky walk) กว้าง 4 เมตร มีหลังคา เชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีเพชรบุรี ที่ชั้น ground กับชั้น concourse ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ที่สถานีมักกะสัน รองรับ ผู้โดยสารที่มาจากถนนอโศก ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบฯ 87 ล้านบาท ให้ดำเนินการตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน
2.สร้างโครงข่ายถนนเพิ่มเติม จากปัจจุบันเข้าออกที่ถนนอโศกด้านเดียว โดยสร้างแลมป์จากถนนอโศกเข้าสู่สถานี และปรับเพิ่มช่องจราจรถนนภายใน และส่วนที่เชื่อมต่อกับถนนอโศก ให้การ เข้า-ออกสถานีมักกะสันคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้สร้างถนนเชื่อมระหว่างถนน จตุรทิศถึงถนนเพชรบุรีบริเวณแยกนานา โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบ ใช้งบฯก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ในอนาคต การทางพิเศษ แห่งประเทศไทย (กทพ.) จะสร้างทางลงจากทางด่วนที่ด่านอโศกเข้ามาถึงภายใน โดยอยู่ระหว่างเจรจากับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ คู่สัญญาสัมปทาน ใช้เงินก่อสร้าง 1,000 ล้านบาท เพื่ออำนวยความสะดวก ผู้เดินทางด้วยระบบทางด่วน
ส่วนสถานีหัวหมาก ซึ่งตำแหน่งสถานีอยู่บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์กับมอเตอร์เวย์สายใหม่ ด้านทิศตะวันตก เฉียงใต้ ทำให้การเข้าออกสถานีลำบาก มีจุดหยุดรถโดยสารประจำทางไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขมีหลากหลายวิธี ใช้งบฯเบื้องต้น 55.98 ล้านบาท คือ 1.ปรับปรุงกายภาพบริเวณทางเข้า-ออกสถานี โดยปรับแนวถนนที่เชื่อมจากทางคู่ขนานของมอเตอร์เวย์กับถนนศรีนครินทร์ เพื่อลดระยะการตัดกระแสจราจรของรถที่จะเลี้ยวซ้ายเข้าสถานีจากถนนศรีนครินทร์ และปรับกายภาพบริเวณจุดเชื่อมเข้าออก วงเงิน 3.9 ล้านบาท
2.ยกเลิกป้ายรถประจำทางบริเวณ ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ และก่อสร้างที่หยุดรถประจำทางบนถนนศรีนครินทร์บริเวณด้านทิศใต้ของสถานี และสะพานลอยคนเดินข้ามเชื่อมการเดินทางสองฟากถนนศรีนครินทร์ 4.2 แสนบาท
3.ก่อสร้างที่จอดรถด้านทิศตะวันตกของถนนศรีนครินทร์ และก่อสร้างทางเดิน แบบลอยฟ้าเชื่อมจากที่จอดรถมายังสถานี ที่ชั้น concourse 32 ล้านบาท
4.ก่อสร้างสะพานข้ามคลองหัวหมากเชื่อมการเดินทางสู่ถนนกรุงเทพกรีฑา
5.ก่อสร้างถนนเชื่อมจากสถานีหัวหมากถึงถนนกรุงเทพกรีฑา 900 เมตร เพื่อให้ ผู้เดินทางจากด้านเหนือและใต้เข้าถึงสถานีได้ง่าย
6.ก่อสร้างถนนและที่จอดรถเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ว่างด้านทิศตะวันตกของสถานี 19.3 ล้านบาท
สำหรับสถานีบ้านทับช้าง หากจะเข้าถึงต้องใช้โครงข่ายถนนทางคู่ขนานของ มอเตอร์เวย์เท่านั้น ส่วนระบบขนส่ง สาธารณะอื่นๆ ไม่สามารถเข้าถึงได้ แนวทางแก้ไขใช้งบฯเบื้องต้น 115.2 ล้านบาท มี
1.ก่อสร้างทางเดินลอยฟ้า เชื่อมต่อจากสะพานเดิมที่ข้ามมอเตอร์เวย์เข้าสู่สถานี โดยเชื่อมที่ชั้น concourse ยาว 180 เมตร 32.4 ล้านบาท
2.ก่อสร้างที่หยุดรถประจำทาง โดยประสานกับ ขสมก.จัดการเดินรถ และก่อสร้างที่หยุดรถประจำทางบนทาง คู่ขนานกับมอเตอร์เวย์ทั้งสองฝั่ง เพื่อรองรับผู้เดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต 8.4 แสนบาท
3.ก่อสร้าง ที่จอดรถเพิ่มเติมใต้สถานีบริเวณที่ว่างระหว่างตอม่อสถานี 1.7 แสนบาท
4.ก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้เส้นทางรถไฟบริเวณปลายถนนสุขาภิบาล 1 กับคู่ขนานมอเตอร์เวย์ เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและรองรับการเดินทางจากพื้นที่ด้านทิศใต้ของสถานี และเชื่อมกับถนนสุขุมวิท 77 วงเงิน 36 ล้านบาท 5.ก่อสร้างที่จอดรถ เพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพโดยรอบสถานี เพื่อจูงใจและส่งเสริมการเดินทางเข้าออกเมืองโดยใช้รถไฟฟ้า 45.8 ล้านบาท
ขณะที่สถานีพญาไทซึ่งเป็นสถานีต้นทาง จะสร้างทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีพญาไท ซึ่ง ครม.อนุมัติงบฯให้แล้ว 11 ล้านบาท จะใช้เวลาดำเนินการ 15 เดือน
หน้า 9
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 09/04/2009 10:26 am Post subject:
แอร์พอร์ตลิงก์เสียงอ่อย"วันแม่"ได้แค่ทดลองวิ่ง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4095
บอร์ดการรถไฟฯยอมรับแอร์พอร์ตเรลลิงก์เสร็จไม่ทันวันดีเดย์ 12 สิงหาฯ เผยได้แค่ทดลองเดินรถสาย City Line จากมักกะสัน-สุวรรณภูมิ เหตุพบความไม่พร้อมอีกอื้อ จี้ ร.ฟ.ท.เร่งสางก่อนเปิดใช้จริงธันวาคมนี้ จับตาเร่งจัดซื้อจัดจ้าง outsource วงเงินกว่า 500 ล้านบาท ส่วนแผนฟื้นฟูกิจการเลื่อนเข้า ครม.หลังสงกรานต์
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามดูความพร้อมการเปิดใช้ระบบขนส่งรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารในเมือง หรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ทาง ร.ฟ.ท.รายงานว่าการเปิดใช้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ เป็นแค่การทดลองเดินรถสาย City Line จากสถานีมักกะสัน-สถานีสุวรรณภูมิ วันละ 2 ขบวน วิ่งทดสอบทุก 30 นาทีโดยไม่จอดสถานีรายทาง จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบเดือนธันวาคมนี้
เนื่องจากยังมีอีกหลายรายการที่ต้องดำเนินการให้เสร็จ คือ
1.งานก่อสร้างต้องเสร็จทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ซึ่งผู้รับเหมายืนยันว่าจะเสร็จพฤษภาคม
2.กลุ่มบริษัท วิศวกรผู้ตรวจสอบอิสระ (ICE) ต้องอนุญาตให้ทดสอบระบบโดยการทดลองวิ่งได้
3.ฝ่ายวางแผนงานบริหารกิจการเดินรถ และงานซ่อมบำรุงย้ายเข้าทำงานที่ศูนย์ซ่อมบำรุงได้หลังสงกรานต์
4.ความพร้อมของงานบริหารกิจการเดินรถและงานซ่อมบำรุง เช่น จัดจ้างพนักงาน 371 อัตรา การฝึกอบรมพนักงาน สำหรับงานด้านปฏิบัติการเดินรถและงานซ่อมบำรุงจะต้องเริ่มในพฤษภาคมก่อนทดลองวิ่ง ฯลฯ
โดย ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 40 ล้านบาท จัดหาบุคลากรและจัดจ้างพนักงานมาเดินรถ บรรจุเป็นพนักงานในบริษัทลูกของ ร.ฟ.ท.ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท. จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลังสงกรานต์
ในการเดินรถแม้จะให้บริษัทลูกดำเนินการ แต่จะว่าจ้างหน่วยงานภายนอก (outsource) มาควบคุมอีกทอดหนึ่ง โดยให้ ศศินทร์เป็นผู้จัดหามาให้ นอกจากนี้ต้องว่าจ้างหน่วยงานอื่นด้วยวงเงิน 552 ล้านบาท คือ
1.จัดจ้างบริษัท DBI เป็นที่ปรึกษาด้านปฏิบัติการเดินรถ 85 ล้านบาท
2.งานรักษาความปลอดภัยสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง 60 ล้านบาท/ปี
3.งานทำความสะอาดขบวนรถ สถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง 45 ล้านบาท/ปี
4.งานบริการระบบลำเลียงสัมภาระ 16 ล้านบาท/ปี
5.งานบำรุงรักษาอาคารสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุง 20 ล้านบาท/ปี
6.งานบริการเก็บเงิน 15 ล้านบาท/ปี
อีกทั้งจัดซื้ออุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน 20 ล้านบาท
ระบบคอมพิวเตอร์บริหารงานซ่อมบำรุงและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 140 ล้านบาท
เครื่อง X-Ray 2 เครื่อง 9 ล้านบาท
ระบบบริการเช็กอินผู้โดยสารสายการบิน 60 ล้านบาท ระบบควบคุมพื้นที่จอดรถ 15 ล้านบาท
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า เมษายนนี้จะเร่งร่างทีโออาร์เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และจัดจ้าง outsource ในส่วนงานต่างๆ ให้เสร็จโดยเร็วในแต่ละรายการ
หน้า 8
Back to top
nathapong
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
Posted: 09/04/2009 12:54 pm Post subject:
จากข่าว ขาดไปเรื่องนึง... เรื่อง ความคืบหน้า การจัดตั้งบริษัท ฯ ที่รับผิดชอบ ARL อะอะ
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 15/04/2009 1:37 pm Post subject:
แอร์พอร์ตลิงค์เปิดจริงธ.ค.นี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2417 12 เม.ย. - 15 เม.ย. 2552
http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R2524173&issue=2417
แอร์พอร์ตลิงค์อืด เปิดใช้ 12 สิงหาคมนี้ไม่เต็มระบบ ได้แค่ทดลองวิ่งสายซิตี้ไลน์รับ-ส่งผู้โดยสารจากมักกะสัน-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เหตุการรถไฟฯ เตรียมงานไม่พร้อมทั้งบริษัทลูก-พนักงาน-ขาดระบบรักษาความปลอดภัย บอร์ดจี้เร่งมือเตรียมการแก้ปัญหาด่วน คาดเปิดเต็มระบบได้ ธ.ค.นี้แน่ ด้านวงในแฉยังขาดแผนอำนวยความสะดวกแต่ละสถานีอีกเพียบ สนข.คาดส่งแผนพัฒนาสถานีตลอดเส้นทาง ให้การรถไฟฯ เอาไปทำจริงได้เมษายนนี้
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินโครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงค์จนถึงขณะนี้พบว่ายังคงมีงานอีกหลายส่วนที่ไม่พร้อม โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย จึงมีความเป็นไปได้ว่าในวันที่ 12 สิงหาคม 2552 นี้ จะเปิดบริการได้ไม่เต็มรูปแบบ อาจจะเปิดทดลองวิ่งโดยให้ตั๋วฟรีกับประชาชนไปก่อน
ทั้งนี้จะใช้ขบวนรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SA City Line) ซึ่งจะวิ่งให้บริการระหว่างสถานีพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร แต่ในระยะแรกจะเปิดให้บริการรับ-ส่งแค่สถานีต้นทางกับปลายทาง คือ สถานีมักกะสัน-ท่าอากาศยานเท่านั้น ภายหลังจากที่เตรียมความพร้อมในทุกด้านแล้วจึงจะเปิดให้บริการอย่างเต็มระบบ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดได้อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ธันวาคม 2552 นี้อย่างแน่นอน
"ยอมรับว่าอาจเปิดบริการเต็มรูปแบบไม่ทัน 12 สิงหาคมนี้ เนื่องจากยังไม่มีการจัดตั้งบริษัทลูก ยังไม่มีการจ้างพนักงาน และฝึกอบรม รวมถึงยังขาดความพร้อมด้านระบบการรักษาความปลอดภัย ซึ่งน่าจะเลื่อนไปเป็นปลายปี 2552 หรือต้นปี 2553 เพราะมีหลายอย่างที่ยังไม่พร้อมโดยเฉพาะเรื่องบริษัทเดินรถ คนขับรถ อย่างไรก็ตามบอร์ดได้กำชับให้ฝ่ายบริหารไปเร่งดำเนินการงานส่วนต่างๆ ที่เหลือให้รวดเร็ว และรอบคอบแล้ว รวมถึงให้วางแผนเตรียมการเปิดให้บริการอย่างรอบคอบ รัดกุมด้วย และวันที่ 12 สิงหาคมนี้คงเปิดให้บริการแค่บางส่วน เพื่อเป็นการทดสอบระบบ แต่คาดว่าจะเปิดแบบเต็มระบบ 100% ได้วันที่ 5 ธันวาคม 2552นี้"
สำหรับความเคลื่อนไหวทางด้านการรถไฟฯล่าสุดได้ว่าจ้างให้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการคัดเลือกบุคลากรด้านต่างๆ แล้ว โดยได้ลงนามว่าจ้างเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา โดยนโยบายจากบอร์ดให้พิจารณาลูกจ้าง-พนักงาน หรือลูกหลานของพนักงานการรถไฟฯ ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดก่อนเป็นอับดับแรก
ขณะเดียวกันในส่วนของแผนการเดินรถก็ให้ใช้วิธีการจ้างงานจากภายนอก (เอาต์ซอร์ซ) เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมาดำเนินการให้ก่อนในระยะแรก เนื่องจากการรถไฟฯ เตรียมการไม่ทัน โดยได้เจรจากับ Deutsche Bahn International (DBI) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านการเดินรถจากประเทศเยอรมนี ให้มาเป็นผู้ดำเนินการและฝึกอบรมพนักงาน รวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้านการปฏิบัติการเดินรถภายใต้กรอบวงเงินว่าจ้าง 90 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มว่าจ้างภายในเดือนเมษายน จากนั้นจะให้เริ่มงานในเดือนพฤษภาคมนี้ทันที
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากกระทรวงคมนาคม ยังได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากระบบการเดินรถแล้ว การรถไฟฯ จะต้องดำเนินการ เพื่อเสริมความสะดวกในการเดินทางเข้าไปใช้บริการ คือการพัฒนาทางเข้า-ออก ทางเชื่อมต่อแต่ละสถานีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ แต่ขณะนี้การรถไฟยังไม่เริ่มดำเนินการเลย
ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่ได้รับมอบหมายให้ไปจัดทำแผนการรองรับในเรื่องดังกล่าว ขณะนี้ สนข. ได้ทำแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และรอที่จะส่งมอบให้การรถไฟฯ นำไปปฏิบัติ เพื่อให้ทันต่อการเปิดใช้บริการ
สำหรับข้อเสนอแนะของผลงานการออกแบบเบื้องต้นการพัฒนาทางเชื่อมเข้า-ออกสถานีรายทาง ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษานำโดยบริษัท ยูทิลิตี้ ดีไซน์ คอนซัลแตนท์ จำกัด มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ อาทิ บริเวณสถานีพญาไท ให้ก่อสร้างถนนจากสถานีเพื่อเชื่อมทางเข้า-ออก ระหว่างสถานีกับถนนศรีอยุธยา (ซ.ศรีอยุธยา 1) วงเงินลงทุน 22,500,000 บาท, ก่อสร้างทางเดินเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้า-แอร์พอร์ตลิงค์ และรถไฟฟ้าสายสีแดง ขณะที่บริเวณสถานีราชปรารภ ให้ก่อสร้างที่หยุดรถประจำทาง และสะพานลอยคนเดินข้ามถนนเชื่อมเข้าสู่สถานี วงเงินลงทุน 13,800,000 บาท
ส่วนบริเวณสถานีมักกะสัน มีข้อเสนอแนะหลายข้อ เช่น ให้ก่อสร้างทางเดินแบบลอยฟ้าเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ที่สถานีเพชรบุรีฝั่งตะวันออก วงเงินลงทุน 65,400,000 บาท โครงการก่อสร้างทางเข้าสถานีเพิ่มเติมและการปรับปรุงถนนและการจราจรภายใน ซึ่งจะมีทั้งการก่อสร้างแรมป์ (Ramp) ความยาวประมาณ 300 เมตร จากถนนอโศกเข้าสู่สถานี การปรับสภาพถนนภายในโครงการบริเวณทางออกสู่ถนนจตุรทิศ (ฝั่งถนนอโศก) พร้อมเพิ่มช่องจราจร 1 ช่องทาง การก่อสร้างถนนขนาด 2 ช่องจราจรในแนวเหนือ-ใต้ขนานกับถนนอโศก และยกเลิกจุดกลับรถเดิมแล้วทำจุดกลับรถใหม่ วงเงินลงทุนรวมประมาณ 50,100,000 บาท โครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมถนนจตุรทิศกับถนนเพชรบุรี วงเงินลงทุน 59,000,000 บาท และการก่อสร้าง Ramp จากอาคารสถานี วงเงินลงทุน 75,600,000 บาท
ด้านบริเวณสถานีรามคำแหง ให้ดำเนินโครงการปรับปรุงท่าเรือคลองตัน ทางเดินเท้าเลียบคลอง และทางเดินเชื่อมต่อกับสถานี วงเงินลงทุน 14,000,000 บาท โครงการก่อสร้างที่หยุดรถประจำทาง และสะพานคนเดินแบบลอยฟ้า (Sky walk) เชื่อมต่อสถานี วงเงินลงทุน 36,400,000 บาท และการก่อสร้างถนนและที่จอดรถ วงเงินลงทุน 8,200,000 บาท
ขณะที่บริเวณสถานีหัวหมาก ให้ปรับกายภาพถนนบริเวณทางเข้า-ออกสถานี วงเงินลงทุน 3,960,000 บาท, ก่อสร้างที่จอดรถและทำทางเดินเชื่อมสถานี วงเงินลงทุน 32,300,000 บาท และก่อสร้างสะพานข้ามคลองหัวหมากและถนนเชื่อมถนนกรุงเทพกรีฑา วงเงินลงทุน 19,300,000 บาท เป็นต้น
__________________
//--------------------------------------------------------------------------
ห่วง"แอร์พอร์ต ลิ้งค์" เจ๊ง "คลัง" ติงต้นทุนพนักงานสูง
แนวหน้า 11 เมษายน 2552
ประธานบอร์ดร.ฟ.ท. เผยในที่ประชุมแผนฟื้นฟูกิจการ ทาง"คลัง-สภาพัฒน์" ค้านการจัดจ้างพนักงานนับพันคนเข้าทำงานในโครงการรถไฟฟ้า "แอร์พอร์ต ลิ้งค์" ห่วงต้นทุนสูงจนเจ๊งอีก ขณะที่ "ที่ปรึกษา" ยกข้อมูลมาอ้างยันไม่มากไป เผยเตรียมชงแผนเข้า ครม. 21 เม.ย.นี้
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมพิจารณาแผนฟื้นฟู กิจการ ร.ฟ.ท. เมื่อเร็วๆนี้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ สำนักงบประมาณ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ไม่เห็นด้วย เนื่องจากยังไม่แน่ใจถึงแนวทางการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารการเดินรถรถไฟฟ้า แอร์ พอร์ต เรล ลิ้งค์ โดยกังวลว่า จำนวนพนักงานที่มีมากเกินไปจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง และจะทำให้เกิดผลการขาดทุนในการดำเนินงานในอนาคตได้ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของแผนฟื้นฟูฯ
ทั้งนี้พนักงานในโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย พนักงานด้านการเดินรถประมาณ 400 คน และพนักงาน Outsource ประมาณ 600 คน อย่างไรก็ดีทางบริษัทที่ปรึกษาของร.ฟ.ท.ได้ชี้แจง และเปรียบเทียบกับจำนวนพนักงานของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ บีเอ็มซีแอล มาเป็นข้อมูล พร้อมยืนยันว่า มีไม่มากจนเกินไป จนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อนุมัติแผนดังกล่าว
ประธานบอร์ดร.ฟ.ท. กล่าวว่า ส่วนแผนปรับโครงสร้างทางการเงิน จะมีการแก้ปัญหาหนี้ และขาดทุนสะสม วงเงิน 72,850 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระหนี้จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ระบบอาณัติสัญญาณในอดีต 66,241 ล้านบาท และหนี้ที่เกิดจากการลงทุนในระบบล้อเลื่อน (Rolling Stock) ประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งบางส่วนจะเสนอครม.ให้รัฐรับภาระแทนต่อไป คาดว่าจะนำแผนฟื้นฟูกิจการนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในวันที่ 21 เมษายนนี้
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 45053
Location: NECTEC
Posted: 16/04/2009 10:15 pm Post subject:
เปิดใจแม่ทัพการรถไฟฯ ยุทธนา ทัพเจริญ "Airport Link to the Better"
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4097
วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02p0103160452&day=2009-04-16§ionid=0201
สัมภาษณ์
"ยุทธนา ทัพเจริญ" ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นลูกหม้อขนานแท้ ด้วยอายุงาน 32 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุค (การเมือง) ขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้ว่าการเมื่อสิงหาคม 2551 ท่ามกลางปัญหาและหนี้สินสะสมของการรถไฟฯที่สูงถึง 7.2 หมื่นล้านบาท
ตลอด 8 เดือนบนเก้าอี้ผู้ว่าการมีสิ่งเดียวที่เขาเน้นหนักคือ เรื่องการบริการ พร้อมกับรอลุ้นแผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟฯจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะเขาเชื่อว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของการสะสางปัญหาทั้งหมด ตั้งแต่การรถไฟฯก่อตั้งมา 112 ปี รายละเอียดและขั้นตอนในแผนฟื้นฟูจะเป็นอย่างไร เขาได้ฉายภาพเพื่อให้เห็นอนาคต ผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" แล้วในฉบับนี้
- ความคืบหน้าของแผนฟื้นฟู
โดยหลักจะแยกบัญชีและหน่วยธุรกิจให้ชัดเจน โครงสร้างพื้นฐานจะให้รัฐบาลรับภาระไป ส่วนล้อเลื่อนให้บริษัทลูกหรือเอกชนดำเนินการ ถ้ามาใช้โครงสร้างพื้นฐานก็จ่ายค่าใช้ทาง ส่วนภาระหนี้สินที่รถไฟมีอยู่ประมาณ 7.2 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยหนี้เงินกู้เดิมซึ่งกู้มา 112 ปี และสะสมมาเรื่อยๆ หนี้ค่าซื้อหัวรถจักรล้อเลื่อน หนี้บำเหน็จบำนาญ และหนี้อื่นๆ โดยเฉพาะบำเหน็จบำนาญที่ค้างเก่าต้องจ่าย ปีละ 2.7 พันล้านบาท บำนาญที่ต้องเลี้ยงคนที่เกษียณไป 1.2 หมื่นคน วันนี้มี พนักงานรถไฟที่จะต้องจ่ายบำนาญอีก 1.3 หมื่นคน รวมแล้วคาดว่าจะต้องจ่ายหนี้ผูกพัน 2.5 หมื่นคน คิดเป็นเงินที่จะต้องจ่าย 1.58 แสนล้านบาท แต่เงินตัวนี้ยังไม่ได้จ่ายทั้งหมด เพราะคนยังไม่ออก
ก็คิดย้อนกลับไปว่า ถ้าปีหนึ่งมีคนเกษียณแล้วต้องจ่ายเงินบำนาญ 300-400 คน จะต้องใช้เงินเท่าไหร่ คำนวณดูแล้ว สมมติคนอายุยืน 75 ปี ถ้ามีเงินก้อนหนึ่ง 52,000 ล้านบาท มาตั้งไว้ตรงกลาง และบริหารเงินแบบกองทุน นำเงินตรงนี้มาจ่ายผู้บำเหน็จบำนาญแต่ละปี ดอกผลที่ได้จะเพียงพอแก้ปัญหาได้ รัฐเลยมีความคิดว่าต่อไปทำแผนฟื้นฟูแล้ว จะนำเงินตรงนี้มาจากการแยกตั้งบริษัทลูกขึ้นมา แล้วเอา รายได้มาแก้เรื่องโมเดลต่างๆ
- หน้าที่และจำนวนของบริษัทลูก
จะตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท โดยการรถไฟฯถือหุ้น 100% คือ 1.บริษัทเดินรถ เพื่อเดินรถสินค้า ขนผู้โดยสาร รถไฟฟ้าสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) และรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต 2.ในส่วนที่ดินจะตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ขึ้นมา เพื่อปรับวิธีบริหารจัดการเรื่องทรัพย์สินให้คล่องตัวขึ้น ภายหน้าเราจะนำรายได้ที่ได้มาสนับสนุนเรื่องบำเหน็จบำนาญ
- แผนฟื้นฟูจะเข้า ครม.ช่วงหลังสงกรานต์
ใช่ครับ แต่ทั้งหมดนี้ต้องรับฟังความเห็นจากหลายหน่วยงาน ทั้งจาก สศช. (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) สำนักงบประมาณ ฯลฯ ก็มีคำถามว่า บริษัทที่ดินตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร และรถไฟบริหารจัดการได้แค่เรื่องบริหารสัญญาเท่านั้น เพราะกระทรวงการคลังมีนโยบายไม่ให้รถไฟนำที่ดินแต่ละแปลงไปพัฒนาเอง ต้องการให้หาคนมาพัฒนา เมื่อได้คนแล้ว ไปทำสัญญาโดยตรงกับการรถไฟฯ และให้บริษัทลูกบริหารสัญญาต่อไป ไม่ใช่การพัฒนาที่ดินเอง เพราะไม่ต้องการให้แข่งกับเอกชน มองว่าจริงๆ แล้วเอกชนน่าจะทำได้ดีกว่า
ดังนั้นในส่วนนี้จะเป็นลักษณะสัมปทานหรือร่วมทุนก็ได้ และบริษัทลูกก็มีสิทธิ ร่วมทุนกับเอกชนได้ ไม่ใช่ให้สัมปทานอย่างเดียว เพื่อที่จะได้ผลประโยชน์ 2 ต่อ คือต่อแรกได้ค่าเช่า ต่อที่สองได้ส่วนแบ่งรายได้เมื่อมีกำไร
- ภารกิจของบริษัทลูก
กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์มองว่า ภารกิจหลักของการรถไฟฯไม่ใช่เรื่องที่ดิน มีหน้าที่ขนส่งสินค้า ขนส่งคน อะไรที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักไม่ควรจะทำ ให้บริษัทลูกไปทำ สิ่งที่จะตามมาคือ เกิดความคล่องตัวในการบริหาร เพราะบริษัทที่ดินจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1.การบริหารที่ดินในเชิงสังคม ช่วยแก้ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการบุกรุกที่ดินการรถไฟฯ การหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้ ผู้บุกรุก 2.พัฒนาที่ดินในเชิงพาณิชย์ หาผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนามาทำสัญญากับการรถไฟฯ 3.การติดตามเรื่องหนี้สิน การบริหารสัญญา การกำกับดูแล ฉะนั้นภาพของบริษัทลูกจะชัดเจนขึ้นว่า ถ้าเป็นบริษัทลูกแล้ว กฎระเบียบต่างๆ จะคลี่คลายลง จะทำอะไรไม่ต้องไปขอบอร์ดทุกครั้ง
ส่วนบริษัทเดินรถจะเป็นส่วนสำคัญ สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ เดินรถโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รองรับการเปิด เส้นทางนี้โดยเร็วที่สุด เพราะโครงสร้างทางจะเสร็จหมดแล้ว เหลือแค่การตกแต่ง บริษัทเดินรถจะมี 2 ส่วน คือส่วนด้านการบริหารการเดินรถและส่วนพาณิชย์ เมื่อเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ได้แล้ว การหารายได้จาก 8 สถานีจะทำยังไง เพื่อนำรายได้เข้าการรถไฟฯและบริษัทลูก
ในส่วนของการเดินรถกำลังขออนุมัติตั้งบริษัทลูก จะเร่งเพื่อมารองรับการเปิดในเดือนสิงหาคมหรือเปิด 100% ในวันที่ 5 ธันวาคม สิ่งที่จะทำอย่างแรกคือ ต้องมีบริษัทลูก ถ้าไม่มีต้องเอาคนของการรถไฟฯเข้าไปบริหารก่อน ต่อมาคือการดำเนินการบริหารของบริษัท และการกำหนดแผนในระยะยาว
ในส่วนของการตั้งบริษัทอยู่ในส่วนของการดำเนินการอยู่แล้ว สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือต้องหาคน ตอนนี้แม้บริษัทยังไม่ตั้งจะต้องหาคนมาเดินรถ คนที่จะดำเนินการคือซีอีโอซึ่งยังไม่มี ต้องเอาคนรถไฟไปเป็นก่อน ได้ตั้งคุณภากรณ์ชั่วคราว (ภากรณ์ ตั้งเจตสกาว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟฯ) ประมาณ 2-3 เดือน กำลังหาคนมาทำงานเดินรถให้ได้
- โครงสร้างบุคลากรองค์กรใหม่
เราว่าจ้างสถาบันศศินทร์ของจุฬาฯมาคัดเลือกบุคลากรในตำแหน่งสำคัญๆ 51 ตำแหน่ง กับอีก 450 คน จะทยอยรับรอบแรก 120 คน ไม่จำกัดว่าเป็นคนนอกหรือคนการรถไฟฯ เดือนมิถุนายนจะเสร็จเรียบร้อย จากนั้นจะเป็นการเรียนงาน จาก 2 ส่วน คือจากบริษัทซีเมนส์ที่ต้องเทรนให้เราตามสัญญา เป็นคู่มือการเดินรถไฟฟ้า แต่ในเรื่องการบริหารจัดการเดินรถ ต้องว่าจ้างบริษัทที่มีความชำนาญมาเทรนให้ คือบริษัท DBI จากเยอรมนี เพราะเคยสอนทั้งพนักงานบีทีเอส, รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟในมาเลยเซีย ค่าจ้าง 80-90 ล้านบาทต่อปี ช่วงแรกจะว่าจ้าง 2 ปี ในอนาคตจะนำไปใช้กับการบริหารจัดการกับรถไฟสายสีแดง 2 สายคือ บางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิตได้
มีคำถามมากมายว่าที่ทำถูกต้องและเหมาะสมหรือยัง เรื่องโครงสร้างของบริษัทและจำนวนพนักงาน ขอยืนยันว่า สิ่งที่เราทำเหมาะสมและถูกต้อง เพราะมีบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเป็นไปได้มาแล้วออกมาเป็นแผนธุรกิจ และมีตัวเปรียบเทียบจากบีทีเอสและ รฟม.
- แผนธุรกิจของบริษัทลูก
ในผลการศึกษา ปีแรกรายรับและรายจ่ายจะพอๆ กัน จนถึงปี 2556 หรือปีที่ 5 รายได้ก่อนหักภาษีจะเป็นบวก รายได้จะมาจากการเดินรถ ตั้งเป้าไว้ผู้โดยสารสาย City Line วันละ 8 หมื่นคนถึง 1 แสนคน เก็บค่าโดยสาร 15-40 บาท ถ้าเป็น Express Line วันละ 1.5-2.5 หมื่นคน ค่าโดยสาร 150 บาท มีคนถามว่า ถ้าผู้โดยสารแค่ 50% จะมีกำไรหรือไม่ ยังยืนยันว่า กำไร เพราะรายได้จะมาจาก 2 ส่วน คือค่าโดยสารและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามสถานี เช่น ป้ายโฆษณา ร้านค้า ภัตตาคาร เป็นต้น ปีแรกจะได้ 50-100 ล้านบาท จะมากขึ้นในปีที่ 5 เพราะเก็บ ค่าเช่าได้สูงขึ้น โดยสรุปรายได้จากค่าโดยสารปีที่ 5 จะประมาณ 2-3 พันล้านบาท ส่วนที่ดินจะได้ประมาณ 1 พันล้านบาท และขึ้นเป็น 2 พันล้านบาท ในปีที่ 5-6 เพราะแรกๆ ค่าเช่าที่ดินจะถูกเพราะเพิ่งลงทุน รูปแบบการลงทุนจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้ามาบริหารแบบ outsource ทั่วไป
- การรถไฟฯในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ผมเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ถ้าแผนฟื้นฟูโอเค บริษัทลูก run เต็มที่ โดยมีแอร์พอร์ตลิงก์เป็นจุดเชื่อมโยงสิ่งใหม่ๆ
แต่สิ่งแรกผมอยากเห็นคนการรถไฟฯโชว์ศักยภาพเต็มที่ ไม่อยากให้ใครมาดูถูก เราต้องร่วมใจทำงานให้เห็นเป็นรูปธรรมและผลงานนั้นต้องได้รับการยอมรับ
การร่วมใจโดยมีเป้าหมาย มีความหวังและแรงจูงใจก็น่าจะทำให้การรถไฟฯดีขึ้น เรากำลังสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา และเพิ่มประสิทธิภาพ ขยายขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน ผมเชื่อว่าในโมเดลใหม่ จะช่วยให้การรถไฟฯดีขึ้น พัฒนาขึ้น นี่คือความหวัง (สีหน้าจริงจัง)
อย่าลืมว่า รถไฟวันนี้ยังบริหารของเก่าอยู่ ของใหม่จะมาอีก 3 ปี ผมเป็นผู้ว่าการมา 6 เดือน สิ่งที่ทำได้คือเน้นเรื่องบริการให้ดีที่สุด
หน้า 1
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group