View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 26/05/2009 10:57 pm Post subject: การป้องกันเหตุอันตราย ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ |
|
|
ที่มา: หนังสือที่ระลึก วันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟครบรอบ ๗๒ ปี พิมพ์เมื่อ มีนาคม ๒๕๑๓, หน้า ๑๙๙ - ๒๐๔
อุบัติเหตุรถไฟชนกับรถยนต์ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟแต่ละครั้ง ทำให้ต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และมีผลสะท้อนไปทำความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวของผู้สูญเสียชีวิตอีกด้วย ดังนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยมิได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามหาทางป้องกันอุบัติเหตุ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟอยู่เสมอมา แต่ที่จะให้ได้ผลสมบูรณ์นั้น จำเป็นจะต้องอาศัยสิ่งประกอบเหล่านี้
๑. วินัยของผู้ใช้ยวดยานบนทางท้องถนน
๒. วินัยของผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟ
๓. ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล กรมทางหลวงเป็นต้น
วินัยของผู้ใช้ยวดยานในข้อ ๑ และ ๒ หมายถึงผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟจะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของการรถไฟฯ ในขณะเดียวกันผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนนก็จะต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของเจ้าพนักงานจราจร ทั้งสองฝ่ายจะต้องเคารพต่อสัญญาณต่างๆ เช่นป้ายเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟสีฯ โดยเคร่งครัด
ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้อ ๓ หมายถึงว่าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล กรมทางหลวง สุขาภิบาล เป็นต้น คอยสอดส่องและพิจารณาว่า ทางใดสมควรติดตั้งเครื่องป้องกันเหตุอันตราย จัดสรรงบประมาณประจำปีเตรียมไว้เพื่อการนี้ ส่วนวิธีพิจารณาว่าจะใช้เครื่องป้องกันแบบใด ชนิดใด การรถไฟฯถือหลักดังต่อไปนี้
พิจารณาลักษณะของทางผ่านเสมอระดับ
๑. ระยะที่ผู้ใช้ยวดยานทางท้องถนนและทางรถไฟจะมองเห็นกันได้
๒. สภาพของถนนและทางรถไฟ ก่อนถึงจุดตัดของทางผ่านฯ มีลักษณะอย่างไร เช่น ทางขึ้น ทางลง ทางโค้ง
๓. สภาพของทางผ่านมีลักษณะอย่างไร เช่น เสมอระดับถนนหรือสูงกว่ามากน้อยเท่าไร เป็นทางผ่านไม้หรือคอนกรีต เป็นต้น
๔. พิกัดความเร็วของยวดยานทั้งสองด้าน ก่อนถึงจุดตัดของทางผ่าน
๕. ความหนาแน่นของยวดยานทั้งสองด้าน
๖. สถิติอุบัติเหตุในรอบปีที่ผ่านมา _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 26/05/2009 11:07 pm Post subject: |
|
|
ทั้ง ๖ ข้อดังกล่าว นี้เป็นหลักใหญ่ในการพิจารณาว่าจะใช้เครื่องป้องกันอุบัติเหตุชนิดใดใน ๔ ประเภทที่มีใช้อยู่ในการรถไฟคือ
๑. ปักแต่ป้ายเครื่องหมายจราจรประเภทให้ระวังอันตราย
๒. เครื่องสัญญาณไฟวาบและระฆังอัตโนมัติ
๓. เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งถนนทำงานโดยอัตโนมัติ
๔. เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งหรือเต็มถนน ทำงานโดยใช้พนักงานปิดเปิด
ในการพิจารณาขั้นแรกว่าจะใช้เครื่องป้องกันชนิดใดจึงจะเหมาะสมกับทางผ่านหนึ่งๆ ควรจะยึดถือความหนาแน่นของยวดยานทั้ง ๒ ด้านเป็นหลักพิจารณาดังนี้
สมมุติให้ A = จำนวนยวดยานทางท้องถนนในรอบ ๒๔ ชั่วโมง
R = จำนวนยวดยานทางรถไฟในรอบ ๒๔ ชั่วโมง
M = Traffic Moment = A x R
ก. ถ้า M ต่ำกว่า ๑๐,๐๐๐ ภูมิประเทศดี มองเห็นกันในระยะพอสมควร อยู่ในที่ราบ ปักแต่ป้ายเครื่องหมายจราจรประเภทให้ระวังอันตราย
ข. ถ้า M อยู่ระหว่าง ๑๐,๐๐๐ ถึง ๔๐,๐๐๐ บริเวณนั้นมีกำลังไฟฟ้าใช้ ควรจะติดตั้งสัญญาณไฟวาบพร้อมระฆังอัตโนมัติ
ค. ถ้า M อยู่ระหว่าง ๔๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บริเวณนั้นมีกำลังไฟฟ้าใช้ควรจะติดตั้งเครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งถนน ทำงานอัตโนมัติ และติดตั้งสัญญาณไฟวาบพร้อมระฆังอัตโนมัติควบคู่ไปด้วย
ง. ถ้า M สูงกว่า ๑๐๐,๐๐๐ ควรจะต้องใช้เครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งหรือเต็มถนน ทำงานโดยใช้พนักงานปิดเปิด และถ้าติดตั้งสัญญาณไฟวาบพร้อมระฆังอัตโนมัติด้วย จะได้ผลดียิ่งขึ้น
เมื่อพิจารณาความหนาแน่นของยวดยานทั้ง ๒ ด้านได้แล้ว ก็ควรจะพิจารณาต่อไปถึงลักษณะของทางผ่านฯนั้น ดังที่ได้ชี้แจงมาแล้วอีก ๕ ข้อ ว่าควรจะเพิ่มหรือลดมาตรการอย่างไรโดยถือหลักเพิ่มความปลอดภัยและประหยัดเท่าที่จะทำได้
ตัวอย่างเช่น ที่ทางผ่านแห่งหนึ่งทำการตรวจสอบและคำนวณได้ว่าความหนาแน่นของยวดยานทั้ง ๒ ข้าง M = ๘๐,๐๐๐ บริเวณนั้นมีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นควรจะติดตั้งเครื่องกั้นถนนชนิดปิดครึ่งถนน โดยทำงานอัตโนมัติ ประกอบด้วยสัญญาณไฟวาบ เพื่อประหยัดค่าจ้างพนักงานปิดเปิด แต่เมื่อได้พิจารณาลักษณะของทางผ่านฯแล้วพบว่า ทางถนนด้านหนึ่งก่อนที่จะมาถึงจุดตัดของทางผ่านเป็นทางลาดลดลงมาจากสะพาน และยังมีอาคารบ้านเรือนปลูกบังทัศนะวิสัย ระหว่างผู้ใช้ยวดยานทั้ง ๒ ด้าน ทำให้เห็นกันได้ในระยะไม่พอกับที่จะลงห้ามล้อได้ทันท่วงที ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรจะต้องใช้เครื่องกั้นถนนชนิดมีพนักงานปิดเปิด _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 26/05/2009 11:10 pm Post subject: |
|
|
ดังกล่าวแล้ว การป้องกันอุบัติเหตุ ณ ทางลักผ่านเสมอระดับทางรถไฟจะได้ผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ยวดยานทั้ง ๒ ด้านมีวินัยดี จึงขอคัดประกาศเจ้าพนักงานจราจร เรื่องการใช้เครื่องหมายจราจรและการปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายจราจร เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟดังนี้
เครื่องหมาย ระวังรถไฟ หมายความว่าทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่านและไม่มีเครื่องกั้นทาง ก่อนที่จะขับรถผ่านเครื่องหมายนี้ ให้ขับรถให้ช้าลงให้มาก และสังเกตดูรถไฟทั้งทางขวาและซ้าย ถ้ามีขบวนรถไฟกำลังจะผ่านมา ให้หยุดให้ห่างจากทางรถไฟอย่างน้อย ๕ เมตร แล้วรอคอยจนกว่าขบวนรถไฟนั้นผ่านไปพ้น และปลอดภัยแล้วจึงเคลื่อนรถต่อไปให้ ห้ามมิให้ขับตัดหน้าขบวนรถไฟในระยะที่อาจเกิดอันตรายได้เป็นอันขาด
เครื่องหมาย ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้น หมายความว่าทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน และมีรั้วหรือเครื่องกั้นกีดขวางกั้นทาง ก่อนที่จะขับรถผ่านเครื่องหมายนี้ ให้ขับรถให้ช้าลงและพร้อมที่จะหยุดเมื่อมีเสียงสัญญาณของเจ้าหน้าที่รถไฟดังขึ้น หรือเจ้าหน้าที่รถไฟได้กั้นทางหรือมีเครื่องกั้นทางของการรถไฟฯปิดกั้น ในกรณีที่หยุดรถโดยมีการกั้นทางดังกล่าวแล้วในวรรคต้น เมื่อเจ้าหน้าที่รถไฟเปิดทางแล้วจึงขับรถผ่านทางรถไฟไปได้
จำนวนทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟทั่วประเทศ ปัจจุบันนี้มีประมาณ ๑,๔๕๑ แห่ง ได้ติดตั้งเครื่องกั้นถนนหรือสัญญาณไฟวาบเสร็จแล้ว ๕๘ แห่ง ใช้แผงเข็น ๒๑ แห่ง ในปี ๒๕๑๓ จะติดตั้งอีก ๘ แห่ง อยู่ในระหว่างการพิจารณาระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะติดตั้งอีก ๗๕ แห่ง จะเห็นว่าตัวเลขระหว่างทางผ่านที่มีเครื่องกั้นและไม่มีเครื่องกั้นแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ก็เพราะติดขัดเรื่องงบประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ซึ่งเรื่องงบประมาณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องป้องกันอุบัติเหตุ ณ ทางผ่านฯนี้ การรถไฟฯปฏิบัติตามนัยแห่งหนังสือสำนักงบประมาณที่ ๕๙๓๒/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๖ และมติที่ประชุมกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖ ดังสำเนาข้อความดังต่อไปนี้ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 26/05/2009 11:11 pm Post subject: |
|
|
(สำเนา)
ที่ ๕๙๓๒/๒๕๐๖
สำนักงบประมาณ
๓ กันยายน ๒๕๐๖
เรื่อง การสร้างเครื่องกั้นถนนผ่านทางรถไฟ
เรียน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
อ้างถึง หนังสือการรถไฟที่ ๑/๕๗๕๐/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๐๖
ตามหนังสือที่อ้างถึง ขอให้สำนักงบประมาณพิจารณาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงเครื่องกั้นถนนผ่านทางรถไฟที่สะพานเสาวนีย์ และสะพานอุภัยเจษฎทิศ ซึ่งมีอยู่แล้วให้ยาวขึ้นเพื่อให้พอกับความกว้างของถนนที่ขยายออกไปว่า ควรให้เทศบาลหรือการรถไฟเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และควรอนุโลมปฏิบัติในการตั้งงบประมาณเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและบำรุงรักษาทางผ่านทางรถไฟ ที่สำนักงบประมาณเคยแจ้งให้ถือเป็นหลักปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ได้หรือไม่นั้น
สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า การก่อสร้างถนนที่ผ่านทางรถไฟนั้น เทศบาลควรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายโดยอนุโลมปฏิบัติในการขอตั้งงบประมาณเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงและบำรุงรักษาทางผ่านทางรถไฟ ตามหนังสือสำนักงบประมาณที่ ๗๒๙๘/๒๕๐๕ ลงวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๐๕ ทุกประการ และให้ถือปฏิบัติสำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างปรับปรุงเครื่องกั้นถนนผ่านทางรถไฟที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไปด้วย
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
ขอแสดงความนับถืออย่างสูง
(ลงนาม) สิริ ปกาสิต
(นายสิริ ปกาสิต)
ผู้อำนวนการสำนักงบประมาณ
กองงบประมาณฝ่ายรัฐวิสาหกิจ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
alderwood
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/04/2006 Posts: 6593
Location: กรุงเทพ-ราชสีมา
|
Posted: 26/05/2009 11:14 pm Post subject: |
|
|
(สำเนา)
การประชุม ที่ ห้องปลัดกระทรวงมหาดไทย
วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๖ เวลา ๑๐.๑๕ น.
เรื่อง ป้ายให้รถหยุด ณ ที่ทางผ่านทางรถไฟ
ลำดับที่ ๑ พระยารามราชภักดี ผู้แทนหน่วยราชการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ลำดับที่ ๒ หลวงวิเทตยนตรกิจ ผู้แทนหน่วยราชการ ผู้แทนการรถไฟฯ
ลำดับที่ ๓ นายพัฒน์ พินทุโยธิน ผู้แทนหน่วยราชการ ผู้แทนกรมมหาดไทย
ลำดับที่ ๔ พ.ต.อ.จง วีระยุทธ์ ผู้แทนหน่วยราชการ ผู้แทนกรมตำรวจ
หมายเหตุ ผู้ที่ไม่ได้มาประชุมคือ ผู้แทนกรมทางหลวงแผ่นดิน ผู้แทนกรมโยธาเทศบาล
มติที่ประชุม
๑. ทางกฎหมาย ให้พิจารณาแก้ไขพรบ.จราจรทางบกให้มีบทบังคับรถ หรือล้อเลื่อนที่ผ่านข้ามทางรถไฟให้หยุด เมื่อก่อนถึงทางรถไฟ ต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยโดยไม่มีรถไฟผ่านมาทั้งทางขวาและซ้ายแล้ว จึงให้แล่นรถหรือล้อเลื่อนนั้นข้ามทางรถไฟไปได้
๒. ทางปฏิบัติเกี่ยวกับป้ายสัญญาณให้รถหยุด การทำป้ายสัญญาณนี้ ถ้าที่ใดทางรถไฟทำไปตัดผ่านทางหลวง ให้การรถไฟฯออกค่าใช้จ่ายและจัดทำ ถ้าที่ใดทางรถไฟมีอยู่ก่อน ต่อมาทางหลวงทำไปตัดทางรถไฟ ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยราชการที่ควบคุทางหลวงนั้นออกค่าใช้จ่ายและการจัดทำ ซึ่งเป็นหน้าที่กรมโยธาเทศบาล หรือกรมทางหลวงแผ่นดิน หรือเทศบาล แล้วแต่กรณี
อนึ่ง ได้ตกลงกันให้ทางรถไฟฯจัดทำบัญชีสถานที่ที่ทางรถไฟตัดผ่านทางหลวง รวมทั้งที่ทางหลวงตัดผ่านทางรถไฟทั่วราชอาณาจักร ส่งกระทรวงมหาดไทย โดยมีหมายเหตุให้รู้ว่าที่ใดอยู่ในหน้าที่การรถไฟฯจะต้องจัดทำป้ายสัญญาณ นอกนั้นจะเป็นทางหลวงจังหวัด ทางหลวงแผ่นดิน หรือทางของเทศบาลจัดทำ ก็เป็นหน้าที่กระทรวงมหาดไทยจะติดต่อตกลงกับหน่วยราชการที่ควบคุมทางหลวงนั้นเพื่อให้จัดทำ
(ลงนาม) พ.ต.อ.จ. วีระยุทธ์ ผู้จดบันทึก
สำเนาถูกต้อง
(ลงนาม) ว่าที่ ร.ต.ท.สุจินต์ สุรชาติ
แทน หนผ.กฎหมาย วช.
ขอสรุปในตอนท้ายนี้ว่า ความปลอดภัย การป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ถนนและรถไฟอันเกิดจากอุบัติเหตุ ณ ทางผ่านเสมอระดับทางรถไฟ จะได้ผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ
๑. ผู้ใช้ยวดยานท้องถนนมีวินัยดี
๒. ผู้ใช้ยวดยานทางรถไฟมีวินัยดี
๓. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกันด้วยดี
รูปประกอบจาก พี่หนุ่มและพี่เต้ยครับ _________________ รักรถไฟมั่นใจโคปเตอร์ || Railway Racing Team || Korat Spotter
|
|
Back to top |
|
|
Dahlia
1st Class Pass (Air)
Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
|
Posted: 27/05/2009 1:06 am Post subject: |
|
|
ถ้าจะพูดถึงเรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับรถไฟ ก็คงต้องย้อนไปถึงเรื่องวินัยจราจรในบ้านเรา
ปริมาณรถยนต์ในท้องถนนมากขึ้น แต่วินัยจราจรของคนขับกลับน้อยลง บางคนแทบไม่มี ไม่มีความรับผิดชอบต่อผู้โดยสาร ไม่มีความรับผิดชอบต่อชีวิตของลูกเมียที่นั่งมาด้วย
การไม่เคารพกฎจราจร ไม่มีมายาทในการขับรถ เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดตามท้องถนน ข้อนี้แก้ลำบากจริงๆครับ
จะว่าไปแล้ว ปัญหาวินัยของผู้ขับขี่รถยนต์ ดูจะเป็นปัญหาแรกๆ สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดบนทางผ่านเสมอระดับรางรถไฟ
การไม่เคารพกฎจราจร การชะล่าใจ การอยากวัดดวง ความคึกคะนอง ความเร่งรีบ(ซึ่งไม่รู้จะรีบอะไรนักหนา) ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหามาจากผู้ขับขี่รถยนต์ทั้งสิ้น
แม้แต่การอ้างว่าไม่ชำนาญเส้นทางก็ตาม ตราบใดที่ผู้ขับขี่รถยนต์ใช้ความระมัดระวัง มีสติ สังเกตุป้ายบอกทางหรือป้ายเตือนต่างๆ อุบัติเหตุก็จะไม่มีทางเกิด
เว้นแต่จะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัยจริงๆ อันนั้นก็คงต้องเข้าใจ ว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุอันตรายขึ้น |
|
Back to top |
|
|
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
Joined: 15/05/2007 Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593
|
Posted: 27/05/2009 8:44 am Post subject: |
|
|
ผมมว่าอยู่ที่ตัวคนมากที่สุดเลย คนเราขาดวินัยจราจร ต่อให้ทำเครื่องหมายหรือสิ่งป้องกันมามากมายเท่าใด แต่ถ้าคนมันจะฝืนข้ามเพื่อความเห็นแก่ตัวเข้าว่า ก็มักจะเกิดอุบัติเหตุให้เห็นประจำ เคยนึกเหมือนกันว่า จะถ่ายภาพตอนไอ้พวกที่ "แหกเครื่องกั้น" โดนรถไฟชน เก็บเอาไว้แล้วปริ้นท์ภาพใหญ่ๆ มอบให้พี่ พ. เครื่องกั้น กม. 116 เอาไปปักก่อนเข้าทางตัด เพราะเห็นบ่อยเหลือเกินประเภทที่ว่า เครื่องกั้นลงแล้ว รถไฟมาใกล้ถึงแล้ว แต่พวกดันขับมอเตอร์ไซค์ลัดเลาะจนข้ามได้ หวาดเสียวแทน _________________
"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
|
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
|
Back to top |
|
|
GEA_4525
3rd Class Pass
Joined: 09/07/2007 Posts: 226
Location: ชพ.ะท. หจ.โอ๊ยหาเองแล้วกัน
|
Posted: 27/05/2009 10:36 am Post subject: |
|
|
มันอยู่ที่จิตสำนึกของคน ถ้าคนเรายังไม่มีจิตสำนึกในส่วนนี้ ก็ทำอะไรๆได้ยาก แม้จะมีกฏหมายเด็ดขาดก็ตามที แต่ถ้ากฏหมายไม่ศักดิ์สิทธ์ ก็เหมือนแผ่นกระดาษชำระแผ่นหนึงเท่านั้นเอง _________________
|
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
|
Back to top |
|
|
|