View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Compressor
1st Class Pass (Air)
Joined: 05/12/2007 Posts: 1775
Location: ตลอดปลายทางอุบลราชธานี
|
Posted: 05/06/2009 12:21 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | Schnellzug wrote: | ขณะนี้ขบวนรถด่วนที่ 67/68 ไม่มีการพ่วงรถนั่งชั้นสามแล้วครับ
มีการพ่วงแต่รถนอนพัดลมและรถนอนปรับอากาศรวมถึงพ่วงชุดรถบลูเทรน 3 คัน |
ทีนี้ก็เหลือแต่เวลาเท่านั้น ที่จะเปลี่ยนสถานะ ด. 67/68 เป็น ดพ. 67/68 และ ด. 69/70 อย่างไรเสียก็คงไม่พ้นที่จะเป็น ดพ. 69/70 |
ผังขบวน 67 กท. ตลอด อน. (ปัจจุบัน)
ดีเซล
คันที่ 1 บพห.
คันที่ 9 บนท.32
คันที่ 10 บนท.32
คันที่ 7 บชท.48
คันที่ 8 บชท.48
คันที่ 6 บกข.
คันที่ 12 บนท.ป.40
คันที่ 13 บนท.ป.40
คันที่ 14 บนท.ป.40
คันที่ 15 บนท.ป.40
คันที่ 15/1 บนท.ป.JR
คันที่ 15/2 บนท.ป.JR
คันที่ 15/3 บนท.ป.JR
คันที่ 16 บนอ.ป.24
รวมรถพ่วง 14 คัน
ผังขบวน 68 อน. ตลอด กท. (ปัจจุบัน)
ดีเซล
คันที่ 1 บพห.
คันที่ 2/1 บนท.ป.JR
คันที่ 2/2 บนท.ป.JR
คันที่ 2/3 บนท.ป.JR
คันที่ 2 บนอ.ป.24
คันที่ 3 บนท.ป.40
คันที่ 4 บนท.ป.40
คันที่ 5 บนท.ป.40
คันที่ 6 บนท.ป.40
คันที่ 12 บกข.
คันที่ 10 บชท.48
คันที่ 11 บชท.48
คันที่ 8 บนท.32
คันที่ 9 บนท.32
รวมรถพ่วง 14 คัน
สำหรับรถ บชส.76 ที่มากับชุดขบวน 67/68 เดิม 4 คันนั้น
2 คันแรก ได้ให้ไปพ่วงกับขบวน 141/142 เป็นคันที่ 1/1 และ 1/2 ตามลำดับ
ส่วนอีก 2คัน ไม่ทราบชะตากรรม |
|
Back to top |
|
|
puggi
3rd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 119
|
Posted: 07/06/2009 9:07 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | nop2 wrote: | บอร์ด รฟท.ไฟเขียวแผนจัดซื้อขบวนรถไฟ 6 ชุด
.....
สำหรับรถใหม่ทั้ง 6 ชุด มูลค่า ประมาณรวม 4,736 ล้านบาท รฟท.จะนำมาวิ่งให้บริการในเส้นทาง
1. กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี 2 ขบวน
2. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2 ขบวน
3. กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ 2 ขบวน
รวมทั้งหมด 94 คัน [color=red]โดยคาดว่าจะมีการจัดซื้อในอีก 2-3 ปีข้างหน้านับจากวันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติและเห็นชอ[/color]บ
http://manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000061830 |
อึมมม 84 (1ชุด 14ตู้) + 10 (สำรอง) ตู้ หละสินะ
คงใช้แทนขบวน ด. 67/68, ดพ. 1/2 - ดพ. 13/14 และ ดพ. 35/36 - ดพ. 37/38
โดยให้ บนทป. หม่ เข้า BW ส่วนรถนอนแดวู ก็จะปลดถ่ายให้ ด. 83/84 ด. 69/70 เป็นทอดๆ กระมัง |
คาดว่าจะซื้อ ได้ในอีก 2-3ปี แล้วกว่าจะได้รับมอบ คงอีกหลายปี นานไป หรือเปล่า |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 08/06/2009 3:26 am Post subject: เอาเข้าให้เสียแล้ว |
|
|
แผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ส่อไม่รอด ชี้พฤติกรรมผู้บริหารก่อปัญหา
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 8 มิถุนายน 2552 00:18 น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000063976
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000064150
ASTVผู้จัดการรายวัน- จับตาร.ฟ.ท.ไปไม่รอด แม้มีแผนฟื้นฟูฯ คนร.ฟ.ท.เผยการทำงานผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในรอบ 1 ปี ไม่เห็นการพัฒนา ประสิทธิภาพการให้บริการลดลงทุกด้าน ถูกผู้โดยสารร้องเรียน ทั้ง ล่าช้า สกปรก แต่ไม่ได้รับการปรับปรุง แฉซ้ำพฤติกรรมแต่งตั้งคนใกล้ชิด ทำโครงสร้างองค์กรมีปัญหา ขาดคนทำงานในระดับล่าง แต่คนระดับบนเงินเดือนสูงมีมากล้นงาน
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2552 เห็นชอบแผนปรับโครงสร้างและฟื้นฟูการรถไฟฯ ซึ่งจะมีการตั้ง 2 บริษัทลูกคือ บริษัท เดินรถ และบริษัท บริหารทรัพย์สิน นอกจากนี้จะมีการปรับโครงสร้างทางการเงินโดยภาครัฐรับภาระจากปัญหาหนี้และขาดทุนสะสมในอดีต วงเงิน 72,850 ล้านบาท และแก้ปัญหาภาระเงินบำนาญของพนักงานร.ฟ.ท.จำนวน 25,749 คน วงเงิน 156,000 ล้านบาทเพื่อให้ร.ฟ.ท.จะสามารถแก้ไขภาระหนี้ และนำเงินรายได้มาปรับปรุงบริการในอนาคต
ทั้งนี้แผนฟื้นฟูฯ จะช่วยปลดล็อคปัญหาการขาดทุนสะสมจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การรับภาระบริการเชิงสังคม และ 2 บริษัทลูกจะทำให้การบริหารงานมีความคล่องตัวและทำให้รายได้เพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.จะต้องมีการปรับปรุงวิธีการบริหารงานภายในด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนก.ค.2551 ที่นายยุทธนา ทัพเจริญ ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.อย่างเป็นทางการเป็นต้นมานั้นตามมาตรฐานการสรรหาฯ ผู้บริหารจะต้องพัฒนาองค์กรให้มีการคุณภาพมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงพบว่าผลการดำเนินงานของร.ฟ.ท. ตกต่ำลง ในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะส่วนงานด้านบริการ และมีการโยกย้ายแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมและไม่ก่อประโยชน์ให้แก่องค์กรจำนวนมาก จนเป็นที่ครหาของพนักงานอย่างมาก
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการของรถไฟอย่างมาก ทั้งขบวนรถไม่ตรงเวลา ล่าช้ากว่ากำหนดมาก ห้องน้ำไม่สะอาด อาหารที่จำหน่ายบนรถราคาแพง เป็นต้น ซึ่งผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานปี 2552 (ต.ค. 51-มี.ค. 52) ด้านคุณภาพการให้บริการเดินรถในเรื่องความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคม เชิงพาณิชย์ ขนส่งสินค้าอยู่ในเกณฑ์ที่ตกต่ำลงเมื่อเทียบกับปี 2551
โดยความตรงต่อเวลาของขบวนรถเชิงสังคมทำได้เพียง 51.54% ซึ่งถือว่าตก เกณฑ์วัดระดับ 1 ที่ต้องมีความตรงต่อเวลา 53% ในขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานคือระดับ 3 หรือไม่ต่ำกว่า 76.50% ขณะที่ปี 2551 ความตรงต่อเวลาอยู่ที่ 59.67%
ความตรงต่อเวลาของขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์อยู่ที่ 52.42% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 73.70% ขณะที่ปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 65.88 % และความตรงต่อเวลาของขบวนรถขนส่งสินค้า ประเภทตู้คอนเทนเนอร์ อยู่ที่ 16.56% ตกเกณฑ์วัดระดับต่ำสุดที่ต้องไม่ต่ำกว่า 30% ขณะที่เกณฑ์ชี้วัดถือว่าเข้ามาตรฐานต้องไม่ต่ำกว่า 40% ส่วนปี 2551 ทำได้ที่ระดับ 26.21 %
ในส่วนของการแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานนั้น เกิดข้อครหาภายในร.ฟ.ท.อย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร.ฟ.ท.มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยเฉพาะส่วนงานด้านปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น ฝ่ายเดินรถ เพราะติดเงื่อนไขมติครม.ที่ให้รับพนักงานเพิ่มในแต่ละปีไม่เกิน 5% ของจำนวนพนักงานที่เกษียณ
แต่ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.มีการแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตั้งแต่ระดับ 7- ระดับ 11 เป็นจำนวนมาก โดยยืมอัตราจากส่วนอื่นๆ มารองรับ เช่น สำนักงานแพทย์ เป็นต้น ทำให้โครงสร้างพนักงานไม่เหมาะสมกับความต้องการจริง
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการแต่งตั้งตั้งบุคคลในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) ถึง 10 อัตรา ตำแหน่งหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) 10 อัตราจากปกติที่ตำแหน่งดังกล่าวมีเพียง 1- 2 อัตรา เท่านั้นเนื่องจากเป็นส่วนงานฝ่ายสนับสนุนไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรมาก และขึ้นกับสำนักงานผู้ว่าฯ ซึ่งโครงสร้างประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงาน 1 คน คุม 2 กองและ 5 แผนก ดังนั้นตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประจำการรถไฟ ฯ (ระดับ 11) และหัวหน้ากองประจำการรถไฟฯ(ระดับ 10) จึงเป็นตำแหน่งลอย ที่ไม่มีเนื้องานดูแลที่ชัดเจน และยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนของร.ฟ.ท.อีกเพราะเป็นระดับสูง
นอกจากนี้ยังทำให้เกิดปัญหากับโครงสร้างร.ฟ.ท.ที่มีระดับบริหารหรือฝ่ายสนับสนุนมากเกินความจำเป็น แต่เนื้องานมีน้อย และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยดังกล่าวทำให้การรับพนักงานในระดับล่างซึ่งเป็นฝ่ายปฎิบัติการเพิ่มไม่ได้ เพราะเหลืออัตราจ้างน้อยลง ตามเงื่อนไขรับพนักงานได้ไม่เกิน 5% ของพนักงานที่เกษียณในแต่ละปี
ร.ฟ.ท.จึงมีปัญหาคนทำงานไม่พอโดยเฉพาะในส่วนงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบสูงเช่น พนักงานกั้นทางตัดถนน พนักงานสับประแจ ที่ต้องรับเป็นลูกจ้างชั่วคราวเข้ามาทำงานแทน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเนื่องจากรายได้และสวัสดิการต่างจากพนักงาน
ขณะนี้ โครงสร้างร.ฟ.ท.บิดเบี้ยว และการแต่งตั้งตำแหน่งลอยโดยเฉพาะในระดับ 11 ขององค์กร ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องขออนุมัติบอร์ด เพราะเป็นอัตราเพิ่มเพื่อรองรับกรณีบุคคลถูกสอบสวน จำเป็นต้องออกจากหน้าที่ปกติ ก็ให้มาแขวนในตำแหน่งนี้ เป็นปัญหาที่หากไม่แก้ไข แผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.ก็คงไม่สามารถเป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากไม่มีคนทำงานแหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ลักษณะการแต่งตั้งจะใช้อำนาจผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ลงนามคำสั่ง ซึ่งมีข้อสังเกตุที่ไม่ปกติ เช่น บางคนได้รับการแต่งตั้งในคราวเดียวขึ้น 2 ระดับจาก ระดับ 8 เป็น ระดับ 10 ภายในเวลาชั่วข้ามวัน ทั้งๆ ที่การแต่งตั้งเลื่อนระดับพนักงานตามระเบียบรถไฟฯ ข้อ 1.1
จะต้องตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมซึ่งจะต้องใช้เวลาในการพิจารณา มากกว่า 1 วันแน่นอน
**ทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ล่าช้ากว่า 10 %
นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่แหลมฉบัง-ศรีราชา ที่มีระยะทาง 78 กิโลเมตร ว่าขณะนี้มีความล่าช้ากว่าแผนประมาณ 10 % เนื่องจากการรับมอบและส่งงานล่าช้า เช่น ปัญหาการขนส่งไม้หมอนคอนกรีต และการส่งมอบงานบางจุดแล้วไม่มีการรายงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าจากนี้อีก 2 เดือน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 08/06/2009 11:07 pm Post subject: |
|
|
ภูมิใจไทยยึดขุมทรัพย์รถไฟ
งบซื้อรถใหม่ 6 ขบวน / จัดประโยชน์ทำเลทองย่านหมอชิต 35 ไร่
สยามธุรกิจ 6-9 มิถุนายน 2552
http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413337586
ครม.ลับ-ลวง-พราง กล่อม “ภูมิใจไทย” ชะลอ แผนเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4 พันคัน แลกสอดไส้แผนฟื้นฟูการรถ ไฟฯมูลค่ากว่า 4.7 พันล้านบาท จ้องกินรวบที่ดินรถไฟ ลือสะพัด ผุด 2 บริษัทพัฒนาที่ดินแบ่งเค้ก ใหม่เอื้อกลุ่มทุน ประเดิมรื้อใหม่ ทำเลทองขนส่งหมอชิต 2 กว่า 35 ไร่ ผู้เช่าหวั่นถูกฮุบกรรมสิทธิ์ ลุกฮือประท้วงหากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
หลังจากกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างแกนนำพรรคภูมิใจและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ รวมไปถึงกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ออกมาคัดค้านการเสนอโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คัน มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท ของ “นายโสภณ ซารัมย์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแกนนำพรรคภูมิใจไทย ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เนื่องจากเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณที่สูงมากและมีแนวโน้มเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น
ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม ครม. มีมติตีกลับโครงการเช่ารถเมล์เอ็มจีวี 4,000 คันของกระทรวงคมนาคม พร้อมทั้งมอบหมายในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษา โดยได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ นำไปศึกษาโครงการดังกล่าว โดยกำหนดกรอบระยะเวลา 1 เดือน ก่อนเสนอเข้าครม.อีกครั้ง
โดยนายโสภณ ซารัมย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนยอมรับมติ ครม.ที่ให้สภาพัฒน์ไปศึกษา หาแนวทางในการจัดซื้อหรือเช่ารถเมล์ NGV 4000 คัน และขอยืนยันว่า โครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีมีความเหมาะสมที่สุด และโปร่งใสตรวจสอบได้ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่สภาพัฒน์ทำการศึกษาโครงการดังกล่าว จะส่งผลให้ ขสมก. ต้องขาดทุนต่อไป 16 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ มติดังกล่าว จะไม่สร้างปัญหาในทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล แต่ปัญหาจะตกที่ คนกทม.จะได้ใช้รถเมล์ที่ด้อยคุณภาพ และขสมก.ต้องประสบกับการขาดทุนอยู่ต่อไป
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงภายใน ครม. เปิดเผยว่า การถูกตีกลับโครงการรถเมล์เอ็นจีวีครั้งนี้ ได้มีการเจรจาในเบื้องต้นระหว่าง แกนนำพรรคภูมิใจไทยและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ในซีกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้มีการชะลอโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีออกไปก่อน เพื่อลดกระแสต้าน โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว. ที่ขู่ล้ม พ.ร.ก.เงินกู้ 40 ล้านบาทที่จะเข้าสภาในการประชุมวิสามัญระหว่างวันที่ 15-27 มิถุนายนนี้ หาก ครม.อนุมัติเห็นชอบในโครงการดังกล่าว และรอความชอบธรรมในขั้นการพิจารณาในขั้นตอนของสภาพัฒน์ฯ
อย่างไรก็ตาม พรรคภูมิใจไทยได้มีการต่อรองให้ ครม.รับหลักการแผนฟื้นฟูการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มูลค่าประมาณ 4,700 พันล้านบาท เพื่อจัดซื้อขบวนรถไฟ 6 ชุด โดยแต่ละชุดประกอบด้วย หัวรถจักร รถนอนปรับอากาศเอก รถนอนปรับอากาศโท ตู้เสบียง และรถผลิตกำลังไฟฟ้า (พาวเวอร์คาร์) ซึ่งแผนการจัดซื้อบวนรถไฟดังกล่าว ไม่เคยมีการกล่าวในแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ ก่อนหน้านี้เลย ขณะที่ผู้ว่าการรถไฟฯ เพิ่งจะออกมาให้ข่าวในวันจันทร์ที่ผ่านมาเท่านั้นว่าจะมีการเสนอเรื่องดังกล่าวให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 3 มิ.ย.2552
โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรับมือกับความต้องการใช้บริการ ของผู้โดยสารในอนาคต โดยร.ฟ.ท.จะนำขบวนรถไฟใหม่ทั้ง 6 ชุด มาวิ่งให้บริการในเส้นทางกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี 2 ขบวน, กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2 ขบวน, กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ 2 ขบวน รวมทั้งหมด 94 คัน โดยแผนนี้ได้รวมการจัดซื้อขบวนรถสำรองไว้ด้วยแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการจัดซื้อในอีก 2-3 ปีข้างหน้านับจากวันที่ได้รับอนุมัติจากครม.
ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวระดับสูงใน รฟท. เปิดเผยว่า ส่วนหนึ่งในแผนพัฒนา รฟท. ของพรรคภูมิใจไทยนั้น มีนโยบายที่จะพัฒนา ที่ดินบริเวณรอบรางรถไฟ ซึ่งถือว่าเป็นทำเล ทองและมีผลประโยชน์จำนวนมากมาย โดยใช้เหตุผลเรื่องการขาดทุนเฉกเช่น ขสมก. ในการเข้ามาพัฒนาที่ดินบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ มีแนวโน้มเป็นไปได้สูงว่าจะมีการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาจัดจ้างบริษัทพัฒนาที่ดินอีกต่อหนึ่งเพื่อเข้ามาจัดการเรื่องนี้ และมีแนวโน้มว่าบริษัทเอกชนรายใหญ่จะได้กรรมสิทธิ์ในการเข้ามาใช้พื้นที่รอบรางรถไฟ
“ในขณะนี้ มีการเคลื่อนไหวในการพัฒนาที่ดินรอบรางรถไฟ ทั้งที่แผนฟื้นฟู รฟท. ยังไม่ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยเป็นพื้นที่ทำเล ทองจำนวน 35 ไร่ ย่านขนส่งหมอชิต 2 ซึ่งเป็นบริเวณที่เปิดให้เอกชนเข้าไปเช่าเปิดร้าน อาหาร รวมถึงสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีการเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ใหม่ในที่ดินผืนดังกล่าวเป็นพื้นที่แรก”
ด้านผู้ประกอบการร้านอาหารในบริเวณดังกล่าวรายหนึ่ง เปิดเผยกับ “สยาม ธุรกิจ” ว่า ทราบมาบ้างแล้วว่าอาจจะมีการจัดสรรพื้นที่ให้เช่าในบริเวณนี้ใหม่ ซึ่งส่วนตัวก็รู้สึกตกใจอย่างมาก และเกรงว่าหากมีการจัดสรรใหม่ ผู้ประกอบการรายเล็กอย่างตน อาจจะไม่ได้สิทธิ์ในการเช่าพื้นที่ เพราะที่ผ่านมา ในพื้นที่ที่ดินรถไฟหลายแห่ง พบว่ามีเอกชนรายใหญ่หลายบริษัท เข้าไปรับสัมปทานเช่าที่เพื่อประกอบกิจการ
“ผมยอมรับว่า หากมีการจัดสรรที่ดินใหม่ ย่อมเป็นเรื่องยากที่รายเล็กจะมีศักยภาพ เข้าไปแข่งขันกับรายใหญ่ แต่ที่ผ่านมาการเข้ามาเช่าที่ดินบริเวณดังกล่าวพวกผมและผู้ประกอบการรายอื่น ต่างเข้ามาเช่าอย่างถูกต้อง และมีสัญญาเช่าตามเงื่อนไขข้อกฎหมาย ทุกอย่าง จึงอยากเรียกร้องไปถึงรัฐบาลควรให้ความเป็นธรรมกับผู้เช่าระดับรากหญ้า และยิ่งหากพบว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการจัดสรรที่ดินใหม่ครั้งนี้ ทางผู้ประกอบการที่เช่าอยู่เดิมจะมีการรวมตัวเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมแน่นอน”
อนึ่ง ตามแผนพัฒนาที่ดินรถไฟนั้น ร.ฟ.ท.มีแผนที่พัฒนาที่ดินทั่วประเทศกว่า 200,000 ไร่ทั่วประเทศ โดยในเบื้องต้นจะนำที่ดินแปลงที่มีศักยภาพกว่า 34,000 ไร่ มาพัฒนาก่อน อาทิ ที่ดินย่านพหลโยธินกว่า 1,000 ไร่ ที่ดินย่านมักกะสัน 745 ไร่ ฯลฯ ดังนั้น ประเด็นการจัดตั้งบริษัทพัฒนาที่ดินรถไฟ จึงเป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นผู้กุมผลประโยชน์ในที่ดินรถไฟทั่วประเทศ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 11/06/2009 9:27 pm Post subject: |
|
|
บอร์ดรถไฟฯ ตั้ง 2บริษัทลูก โกย1.1หมื่นล.
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2434 11 มิ.ย. - 13 มิ.ย. 2552
http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R3324345&issue=2434
บอร์ดรถไฟฯ เด้งรับมติครม.เร่งจัดตั้ง 2บริษัทลูกภายใน 30 วัน เตรียมเปิดตัวบริษัทเดินรถ
ก่อนเพื่อบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ให้ทันแผนเปิดใช้คาดปีแรกมีรายได้ 0% เหตุต้องหักเงินจ่ายหนี้
เล็งเจรจาขอพักชำระหนี้ 4 ปีพร้อมดันบริษัทบริหารทรัพย์สินตามเป็นอันดับ 2 มั่นใจ 10 ปีมีรายได้กว่า 1.1 หมื่นล้าน
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมามีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของการรถไฟฯตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยอนุมัติให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบจำนวน560 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจการเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์ 500 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดให้บริการในปลายปี 2552 และการดำเนินงานของบริษัทบริหารทรัพย์สินใช้ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท
ทั้งนี้จะจัดสรรงบประมาณปี 2552 จำนวน 140 ล้านบาทและงบปี 53 จำนวน 420 ล้านบาท ซึ่งหลังครม.อนุมัติแล้ว บอร์ดได้สั่งการให้การรถไฟฯ เร่งดำเนินการจัดตั้งให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน โดยให้เร่งดำเนินงานในส่วนของการเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์ก่อนซึ่งได้ตั้งเป้าว่าจะมีรายได้เชิงพาณิชย์ในปีแรกไว้ที่ 0% เนื่องจากบริษัทจะมีรายจ่ายในการดำเนินงานรวม 1.5 ล้านบาทต่อวันและต้องชำระหนี้หัวรถจักรและระบบจำนวน 7,035 ล้านบาทต่อปี
สำหรับภาระหนี้จำนวน 7,035 ล้านบาทต่อปีนั้น ในเบื้องต้นบริษัทลูกจะต้องเจรจากับการรถไฟฯ ในฐานะบริษัทแม่เพื่อขอพักชำระหนี้เงินต้น พร้อมดอกเบี้ย 4% ในช่วง 4 ปีแรกจากนั้นจึงจะเริ่มต้นชำระคืนในปีที่ 5 เป็นต้นไป และคาดว่าจะสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดภายใน 15 ปี เนื่องจากพิจารณาจำนวนผู้โดยสารแล้วคาดว่าจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นกว่า 10% ต่อปี ซึ่งจะสามารถนำรายได้จากส่วนนี้มาช่วยได้
ประธานบอร์ด การรถไฟฯ กล่าวอีกว่า ในส่วนของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับจากการเดินรถเชิงพาณิชย์นั้นในเบื้องต้น ปีแรกที่เปิดให้บริการโดยเทียบจากผลการศึกษาประกอบด้วย ระบบ City Line คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 40,000 คนต่อวัน จากเดิมที่ 80,000 คนต่อวัน คิดค่าโดยสารเฉลี่ย 30 บาท จากฐานราคาค่าโดยสารปกติ 15-45 บาท จะทำให้มีรายได้ประมาณ 1,200,000 บาทต่อวัน ส่วน Express Lineคาดว่าจะมีผู้โดยสารมาใช้บริการประมาณ 4,000 คนต่อวัน จากเดิมที่คาดไว้ 10,000 คนต่อวัน คิดค่าโดยสาร 150 บาท จะทำให้มีรายได้ประมาณ 600,000 บาทต่อวัน
อย่างไรก็ตามในส่วนของบริษัทบริหารทรัพย์สินนั้น การรถไฟฯจะเร่งดำเนินการจัดตั้งพร้อมกับบริษัทเดินรถ โดยจะดูแลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพย์สินของการรถไฟฯทั้งหมด
รวมทั้งการบริหารจัดการสถานีแต่ละสถานีด้วย ในลักษณะบริษัทจัดการ(Management Agency) ซึ่งคาดว่าภายใน 10 ปี บริษัทจะมีรายได้รวมกว่า 11,000 ล้านบาท |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 11/06/2009 10:49 pm Post subject: |
|
|
เฮียหมี....
ช่วยมาทำการบ้านกับผม เรื่อง "โครงการศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างสาขาการขนส่งทางรถไฟของประเทศ ของ TDRI " ดีกว่า
เอาข่าวจากหน้า นสพ. มาก็อบมาแปะดีกว่ามั้ง.... มันส์กว่ากันเยอะ
เพราะบทสรุป ขึ้นอยู่กับบริบท ของรฟท ว่าจะไปทางไหน ธง มันมีอยู่แล้ว หึหึ.. |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 11/06/2009 11:10 pm Post subject: |
|
|
nathapong wrote: | เฮียหมี....
ช่วยมาทำการบ้านกับผม เรื่อง "โครงการศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างสาขาการขนส่งทางรถไฟของประเทศ ของ TDRI " ดีกว่า
เอาข่าวจากหน้า นสพ. มาก็อบมาแปะดีกว่ามั้ง.... มันส์กว่ากันเยอะ
เพราะบทสรุป ขึ้นอยู่กับบริบท ของรฟท ว่าจะไปทางไหน ธง มันมีอยู่แล้ว หึหึ.. |
กรณีนี้ ถ้ารักจะขนตู้คอนเทนเนอร์ มีหวังได้ปรับ ย้่าน ทรส. ให้รองรับ ตู้คอนเทนเนอร์กันอุตลุต นอกเหนือจากการการเพิ่ม CY ให้ตามสถานต่างๆ ในกรณีที่ไม่สามารถยัด CY เข้าย่านสถานีใหญ่ได้ เพราะ ติดปัญหากับเทศบาล
นอกจากนี้ การคิดหารถจักรมาตรฐาน (ไม่ต่ำกว่า 50-60 หัว) ที่มาทดแทน ปู่ยีอี และ ต้อม 41-44 ที่ต้องมีมหกรรมปลดระวาง ไม่ช้าก็เร็ว ก็สำคัญ เพราะ อย่างที่รู้กัน แต่ ติดอยู่ที่ว่าเกิดการแตกันเกิดแตกเป็น 2 ความคิดคิือ
1. รถจักรมาตรฐานกำลังปานกลางแต่ โหลด 15 ตัน
2. รถจักรมาตรฐานกำลังสูงแต่ โหลด 20 ตัน
ต่างฝ่ายก็มีเเหตุผลรองรับ จนยากที่ จะชี้ขาดได้ แม้ในระยะสั้น ฝ่ายที่ถือหาง รถจักรมาตรฐานกำลังปานกลางแต่ โหลด 15 ตัน จะได้เปรียบ
แม้ TDRI อยากให้มี รถคอนเทนเนอร์ แบบ 12 ล้อ เพื่อ รองรับ ตู้ 40 ฟุต + ตู้ 20 ฟุต ในคันเดียว แต่ก็ยังคิดไม่เห็น
ส่วนการเพิ่มความเร็วรถคอนเทนเนอร์ ก็หนีไม่พ้น ลมอัด 2 ลูกต่อหลัง แบบ รถโดยสาร และแคร่ ความเร้วสูงแต่แบกน้ำหนักได้มาก แต่ปัญหาคือ จะมีแคร่ 16 ตันมาเปลี่ยนแทน แคร่ เพนน์ฯ + แคร่กาบเพลาเรียบ + แคร่ ซูมิโตโม่ และ ห้ามล้อลมอัดพอเปลี่ยนหรือเปล่าก็ไม่รู้ |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 12/06/2009 1:41 pm Post subject: |
|
|
เฮีย หมี ...อย่ามั่ว ดิ...
รายงานของทีดีอาร์ไอ ชุดนี้ เปิดให้อ่านแว้บๆ ที่บ้านมะขาม
พร้อมกับเรื่องท่าเรือปากบารา ไปแล้ว สงสัยมัวแต่ห่วงกินปลา เลยไม่สนใจ ในประเด็นนี้ ซะ
รายละะอียดที่มาที่ไป หากระบบราง เปลี่ยนไปนั้นต่างหาก บริบทนี้ ค่อย ๆ เป็นไปตามธรรมชาติ ว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด..
ส่วนที่เฮียเขียนข้างบนเนี่ย เป็นรายละเอียดปลีกย่อย
ที่เกิดขึ้นตามหลัง หลังจาก มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนไข การมีส่วนร่วมของ เอกชน
หลังจากจัดตั้งบริษัทลูก ไปแล้วต่างหาก
ตอนนี้สื่อสารไม่ดี เดี๋ยวมีเรื่องขึ้นมา จะพาตัวเดือดร้อน น่อ
มาอ่านให้ละเอียดก่อน ค่อยไปแสดงความเห็นก็ได้ .... ใจเย็น ๆ
ปล.ไม่ต้องไปเม้าท์ให้เพื่อนบ้านเขาฟัง ว่าบ้านเราเป็นอย่างไร
เดี๋ยวทำไปทำมาเพื่อนบ้านจะมาฮุบไป .....แบบดาวเทียม ซะงั้น... |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 12/06/2009 2:05 pm Post subject: |
|
|
^^^^
ถ้าเป็นกรณี การแก้เงื่อนไข ระเบียบวิธีการทำ JV ระหว่างรัฐกะเอกชน
งานนี้ จะให้ผมค้นเรื่องอะไรบ้างครับ เพราะเรื่องนี้ ต้องคิดหนักหน่อย เนื่องจากมัน
ผิดกับที่ผมเขียนไปในคราวที่แล้วซึ่งผมคุ้นเคยกว่ากันมากกว่า |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 12/06/2009 3:34 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | ^^^^
ถ้าเป็นกรณี การแก้เงื่อนไข ระเบียบวิธีการทำ JV ระหว่างรัฐกะเอกชน
งานนี้ จะให้ผมค้นเรื่องอะไรบ้างครับ เพราะเรื่องนี้ ต้องคิดหนักหน่อย เนื่องจากมัน
ผิดกับที่ผมเขียนไปในคราวที่แล้วซึ่งผมคุ้นเคยกว่ากันมากกว่า |
ไม่ได้ให้ค้น...ว้อย
แค่เอาไปอ่านแล้วมาเขียนแบบคิดวิเคราะห์ ก็พอแล้ว
ในแต่และ Business Model มีข้อดีข้อเสีย อย่างไร นะนะ
และหากการปรับทิศทางของรูปธุรกิจเปลี่ยนไป
เราอาจจะได้เห็น บ.เดินรถ (รถไฟ) จำกัด มาร่วมลงทุนกับ บ.ไปรษณีย์ไทย หรือไม่
รูปแบบ การขนส่งต่อเนื่อง (MultiModel Transport)... แข่ง กับ ต่างชาติเช่น DHL UPS หรือ TNT ในตลาด GMS ในอนาคต |
|
Back to top |
|
|
|