Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312060
ทั่วไป:13654771
ทั้งหมด:13966831
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 489, 490, 491  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 04/07/2009 8:11 am    Post subject: Reply with quote

nop2 wrote:
http://www.thairath.co.th/content/region/17275

กิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืน .38 ยิงทหารสังกัดหน่วยข่าวกรอง....



ย้ายไปลงชุด 3 จังหวัดชายแดนใต้ไม่ดีกว่าหรือครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 06/07/2009 11:14 am    Post subject: ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ Reply with quote

ข่าวนี้มาจากกรุงเทพธุรกิจพาดหัวหน้า 1 ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 เป็นข่าวความเคลื่อนไหวในการเสนอให้มีการปรับโครงสร้างของ ร.ฟ.ท.

จาก Link นี้: http://www.bangkokbiznews.com/2009/07/06/news_29056461.php?news_id=29056461

สำหรับรายละเอียดนั้นมีดังนี้

คลังจี้รื้อ"ร.ฟ.ท."รับแผนลงทุน2แสนล้าน

คลัง ยัน ร.ฟ.ท. ต้องเร่งปรับโครงสร้างองค์กรรองรับแผนลงทุนไทยเข้มแข็ง มูลค่าเกือบ 2 แสนล้านบาท ระบุว่า ปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ส่งผลให้มียอดขาดทุนอย่างต่อเนื่อง มั่นใจตั้งสองบริษัทลูกมาบริหารงาน จะทำให้ภายใน 6 ปีมีจำนวนรถที่วิ่งบนรางเพิ่มขึ้น 100% ส่งผลขาดทุนลดลงและลดภาระการชดเชยจากภาครัฐด้วย
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งปรับโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อรองรับแผนการลงทุนตามโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล กว่า 195,000 ล้านบาท ระหว่างปี 2553-2557 หากไม่สามารถปรับโครงสร้างได้ทัน จะไม่สามารถลงทุนได้ตามกำหนด เนื่องจากประสิทธิภาพการลงทุนตามโครงสร้างองค์กรปัจจุบันนั้นไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ล่าสุด ในช่วงปีนี้สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 45.18% ของงบลงทุน 24,746 ล้านบาท

"เมื่อก่อน ร.ฟ.ท. มีงบลงทุนแค่ 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ยอดเบิกจ่ายงบลงทุนทำได้แค่ประมาณ 50% แต่ต่อไปงบลงทุนจะเพิ่มเป็น 4-5 เท่าตัว หรือ ประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี เหมือนเราโยนน้ำถังใหญ่ลงไป ถ้าจัดการภายใต้โครงสร้างปัจจุบัน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แผนลงทุนก็จะเป็นแค่แผน" เขากล่าว

ทั้งนี้ การจัดตั้งสองบริษัท ประกอบด้วย บริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งมี ร.ฟ.ท.ถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นหนึ่งในแผนหลักสำหรับการปรับโครงสร้างองค์กรของ ร.ฟ.ท.ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประกอบการของแต่ละหน่วยธุรกิจมีความชัดเจนยิ่งขึ้น มีคณะกรรมการของแต่ละหน่วยงานสามารถกำกับดูแลการดำเนินงานได้ครอบคลุมมากขึ้น โดย ร.ฟ.ท.จะสามารถลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานตามแผนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และ ส่งผลให้กำลังการผลิตของรางเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนบริษัทเดินรถก็สามารถจัดหาหัวรถจักรได้รวดเร็วและสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ด้านบริษัทบริหารทรัพย์สินสามารถจัดหาเอกชนเข้าพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพของ ร.ฟ.ท. ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

เขากล่าวด้วยว่า หากสามารถลงทุนได้ตามแผน ภายใน 6 ปีจะมีจำนวนรถที่วิ่งบนรางเพิ่มขึ้นเป็น 100% มีปริมาณขนส่งโดยสารเพิ่มขึ้น 25% และ ปริมาณขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 100% ซึ่งจะส่งผลให้ผลขาดทุนจากการดำเนินงานลดลง โดยคาดว่าถึงปี 2561 รายได้จะขยับ 1 หมื่นล้านบาท ในปัจจุบันเพิ่มเป็น 2 หมื่นล้านบาท

นอกจากนั้น การปฏิบัติตามแผนปรับโครงสร้างจะทำให้ ร.ฟ.ท. สามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้นและสามารถให้บริการได้อย่างเพียงพอ และบริษัทเดินรถก็จะมีผลการดำเนินงานที่เป็นบวกภายใน 3-4 ปี ท้ายสุดรัฐก็จะชดเชยผลการขาดทุนที่ลดลง

สคร. งง สหภาพประท้วงทั้งที่หารือตลอด

"แผนการปรับโครงสร้างนี้ เราได้คุยกับทางสหภาพแรงงานของ ร.ฟ.ท. มาตลอด ซึ่งเขาก็รับหลักการนี้ แต่ไม่เข้าใจว่า ในช่วงที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้น ทำให้มีการนัดหยุดงาน และ ไม่ยอมรับทุกข้อเสนอของทางการ อย่างไรก็ตาม เราได้แก้ไขปัญหา ขณะนี้ ทางกระทรวงคมนาคมก็ต้องเจรจากับสหภาพแรงงาน ร.ฟ.ท. ให้ยอมรับข้อเสนอ ซึ่งเราก็พร้อมที่จะเพิ่มเติมในมติคณะรัฐมนตรีในประเด็นเรื่องการถือหุ้น 100% โดย ร.ฟ.ท. ในสองบริษัทลูก ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ" เขากล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่าการหารือระหว่างนายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการ ร.ฟ.ท. กับ นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ยังไม่มีข้อยุติถึงรายละเอียดแผนการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของ ร.ฟ.ท. โดยสหภาพฯ ยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งบริษัทลูกทั้งสองบริษัท คือ บริษัทเดินรถ และบริษัทบริหารทรัพย์สิน

ส่วนการบริหารจัดการเดินรถในโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ซึ่งจำเป็นต้องจัดตั้งบริษัทลูกมาดำเนินการ โดย ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% นั้น สหภาพฯ ขอเวลาศึกษารายละเอียด 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะหารือกับฝ่ายบริหาร ก่อนนำข้อสรุปเสนอให้คณะกรรมการ ร.ฟ.ท.พิจารณาต่อไป

ในเบื้องต้นสหภาพฯ เห็นว่าไม่ควรจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อเดินรถในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ โดยเสนอให้แยกหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการแอร์พอร์ตลิงค์เป็นหน่วยธุรกิจ หรือ Business Unit ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ร.ฟ.ท. แทนการรับพนักงานใหม่ ขณะที่ฝ่ายบริหารเห็นว่าแนวทางที่เหมาะสมคือการจัดตั้งบริษัทลูกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและการบริหารจัดการ แนวทางนี้ผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสำนักงบประมาณหรือกระทรวงการคลัง อีกทั้งการจัดตั้งหน่วยธุรกิจจำเป็นต้องรับพนักงานใหม่เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม หากการเจรจากับฝ่ายบริหารและสหภาพฯ ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ หรือมีความเห็นแตกต่างกัน ร.ฟ.ท.จะเสนอความเห็นของทั้ง 2 ฝ่ายไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) และ ครม.พิจารณาตัดสินใจต่อไป

สถานะถดถอยขาดทุนต่อเนื่อง

นายอารีพงศ์ กล่าวว่า สำหรับภาพรวมของปัญหา ร.ฟ.ท. ในแผนระบุว่า ร.ฟ.ท. มีภาระหนี้สินเงินกู้ ทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง โดยมีหนี้เงินกู้ประมาณ 72,800 ล้านบาท มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อปีประมาณ 2,100 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ก็มีภาระบำเหน็จบำนาญเป็นจำนวนมาก โดยมีพนักงานที่อยู่ในระบบบำนาญกว่า 25,700 คน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 2,700 ล้านบาทในปี 2551 และ คาดว่าจะสูงขึ้นถึง 4,500 ล้านบาทต่อปีในปี 2570

ในแง่ผลการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท. นั้น ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ถดถอย มียอดขาดทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปี 2551 ขาดทุนสุทธิ 10,152 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ยังขาดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน เนื่องจาก โครงสร้างองค์กรซับซ้อน และ ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ ขาดความชัดเจนด้านนโยบายการดำเนินงาน

“ในส่วนภาระหนี้สินเงินกู้นั้น ทางกระทรวงการคลังก็กำลังพิจารณาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในอดีตให้ ส่วนภาระบำเหน็จบำนาญนั้น จะมีการตั้งกองทุนวงเงิน 6 หมื่นล้าน เพื่อมารับภาระของบำเหน็จบำนาญ โดยการบริหารทรัพย์สินในเชิงรุกจะทำให้ ร.ฟ.ท. มีรายได้เพียงพอที่จะจ่ายบำเหน็จบำนาญได้" เขากล่าว

สำหรับผลการดำเนินงานของ ร.ฟ.ท. นั้น มีผลขาดทุนมาโดยตลอดและมีแนวโน้มที่จะขาดทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผลการดำเนินงาน 5 ปีย้อนหลัง ปรากฏว่า ในปี 2547 มีผลขาดทุน 7,584 ล้านบาท ปี 2548 ขาดทุน 6,387 ล้านบาท ปี 2549 ขาดทุน 6,427 ล้านบาท ปี 2550 ขาดทุน 7,863 ล้านบาท และ ปี 2551 ขาดทุน 10,142 ล้านบาท

จบ ว.8
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2009 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟห้องสมุดรับนายกฯที่บุรีรัมย์: รฟท.ปรับแต่งรถไฟ5โบกี้เป็นห้องสมุดติดตั้งที่บุรีรัมย์รอรับนายกฯ

Post Today วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 16:28

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำโบกี้รถไฟที่ปรับแต่งเป็นห้องสมุดแล้วเสร็จจำนวน 5โบกี้ มาติดตั้งที่บริเวณสวนสาธารณะเทศบาลเมือง หน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์ ก่อนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานเปิดในวันที่ 11 ก.ค.นี้ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ได้ปรับแต่งโบกี้รถไฟเป็นห้องสมุด และศูนย์การศึกษานอกระบบตามอัธยาศัยบุรีรัมย์ เป็นผู้จัดหาหนังสือมาไว้ในห้องสมุดจากนั้นจะมอบให้ทางเทศบาลเมือง เป็นผู้ดูแลรักษา พร้อมทั้งจะมีการติดตั้งอินเตอร์เนตไร้สายเสริม เพื่อให้ประชาชนมาใช้บริการฟรีโดยไม่คิดมูลค่าด้วยเชื่อว่าห้องสมุดดังกล่าว จะมีผู้มาใช้บริการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นจำนวนมาก

นาง ปาลีรัตน์ สมานประธาน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ระบุว่า โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าติดอาวุธทางปัญญา ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งให้ผู้โดยสารที่มารอรถไฟ อ่านและศึกษาค้นคว้าด้วย ห้องสมุดรถไฟที่ จ.บุรีรัมย์แห่งนี้ เป็นแห่งที่สอง ต่อจาก จ.หนองคาย

//-------------------------------------------------------------

บุรีรัมย์เร่งติดตั้งห้องสมุดตู้รถไฟ “สีน้ำเงิน”- ผุดป้ายต้อนรับ “มาร์ค” พรึบทั่วเมือง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 กรกฎาคม 2552 21:07 น.


Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
Click on the image for full size
การรถไฟฯ นำตู้รถไฟที่ปรับแต่งเป็นห้องสมุด“สีน้ำเงิน” จำนวน 5 ตู้ มาเร่งติดตั้งที่สวนสาธารณะหน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์ รอ นายกฯอภิสิทธิ์เป็นประธานเปิด วันนี้ ( 6 ก.ค.)


Click on the image for full size
นางปาลีรัตน์ สมานประธาน นายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์

Click on the image for full size
ผุดป้ายคัตเอาท์ต้อนรับนายกฯมาร์คทั่วเมือง


บุรีรัมย์ – จนท.การรถไฟฯ นำตู้รถไฟที่ปรับแต่งเป็นห้องสมุด “สีน้ำเงิน” จำนวน 5 ตู้ มาเร่งติดตั้งที่สวนสาธารณะหน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์แล้ว เพื่อรอนายกฯมาร์ค เป็นประธานเปิด “โครงการห้องสมุดรถไฟ” 11 ก.ค.นี้ ขณะทางจังหวัด และองค์กรท้องถิ่นขึ้นป้ายคัตเอาต์ขนาดใหญ่ต้อนรับนายกฯ อภิสิทธิ์ พรึบทั่วเมือง

วันนี้ (6 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น.นายพรสุธิ ทองสาด ผู้อำนวยการศูนย์ ควบคุมปฏิบัติการและความปลอดภัย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้นำตู้รถไฟที่ปรับแต่งเป็นห้องสมุดรถไฟ จำนวน 5 ตู้ ทาสีน้ำเงิน คาดเหลือง มาเร่งติดตั้งที่บริเวณสวนสาธารณะ หน้าสถานีรถไฟบุรีรัมย์ ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ให้แล้วเสร็จก่อนที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางมาเป็นประธานเปิด “โครงการห้องสมุดรถไฟ” ดังกล่าว

ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐมนตรี เดินทางลงพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เพื่อไปปฏิบัติภารกิจและรับทราบปัญหาจากประชาชน ใน 4 อำเภอ คือ อ.เมือง ,ลำปลายมาศ, คูเมือง และ อ.แคนดง ในวันที่ 11 ก.ค.นี้

ทั้ง นี้ โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ได้ปรับแต่งโบกี้รถไฟเป็นห้องสมุด และศูนย์การศึกนอกระบบตามอัธยาศัยบุรีรัมย์ เป็นผู้จัดหาหนังสือมาไว้ในห้องสมุด จากนั้นจะมอบให้ทางเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นผู้ดูแลรักษา พร้อมติดตั้งอินเตอร์เน็ตไร้สาย เพื่อให้ประชาชนมาใช้บริการฟรีโดยไม่คิดมูลค่า เชื่อว่าจะมีผู้มาใช้บริการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เป็นจำนวนมาก

นายพรสุธิ ทองสาด ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมปฏิบัติการและความปลอดภัย การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำตู้สินค้ารถไฟ จำนวน 5 ตู้ มาดัดแปลงเป็นห้องสมุด เพื่อให้ชาวบุรีรัมย์ ได้ใช้ประโยชน์ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จไปแล้วกว่า 70 % จากนั้นจะตกแต่งภายในและนำหนังสือและอุปกรณ์ต่างๆ มาใส่ไว้ในห้องสมุดรถไฟ ซึ่งหลังพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยนายกรัฐมนตรี แล้ว จะทำการการส่งมอบให้แก่ชาวบุรีรัมย์ต่อไป
“โครงการทำห้องสมุดรถไฟ เป็นนโยบายของผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หากจังหวัดไหนต้องการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนก็แจ้งความประสงค์มา ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายจังหวัดต่อไป” นายพรสุธิ กล่าว

ด้าน นางปาลีรัตน์ สมานประธาน นายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าติดอาวุธทางปัญญา ให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนรักการอ่าน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะที่ทางจังหวัดบุรีรัมย์ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ทำการติดตั้งขึ้นป้ายคัตเอาท์ขนาดใหญ่ ข้อความต้อนรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กันทั่วเมืองบุรีรัมย์ โดยเฉพาะเส้นทางที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี จะเดินผ่านในวันที่ 11 ก.ค.เพื่อไปปฏิบัติภารกิจ ใน 4 อำเภอ คือ อ.เมือง ลำปลายมาศ คูเมือง และ อ.แคนดง

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงชนบท ยังได้เร่งดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมถนน เส้นทางที่นายกรัฐมนตรีและ คณะรัฐมนตรี ใช้เดินทาง ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่ชำรุดเป็นหลุม เป็นบ่อตลอดเส้นทาง

ขณะ ที่ชาวบ้านต่างรู้สึกตื่นเต้นดีใจและเตรียมให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ที่จะเดินทางมารับทราบปัญหาของประชาชนในครั้งนี้ พร้อมเตรียมขอให้นายกฯ ได้ผลักดันโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับรากหญ้าให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วย

นางสิริลักษณ์ เอื้ออารยะทัศนี อายุ 54 ปี ชาวบ้าน บ.แสลงพันพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เปิดเผยว่า การที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเดินทางมา จ.บุรีรัมย์ ครั้งนี้ รู้สึกดีใจ และอยากให้มารับทราบและแก้ไขปัญหาการว่างงาน ปัญหาข้าวของแพง และช่วยเหลือให้ผลผลิตทางการเกษตรให้มีราคาสูงขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านและเกษตรกรสามารถอยู่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ทุกข์ยากลำบากกันมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2009 2:35 am    Post subject: Reply with quote

ขนส่งระบบรางฟาดงบ1.7แสนล้าน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2441 05 ก.ค. - 08 ก.ค. 2552

คลัง เผยแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งใน 5 ปีรัฐบาลเทงบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขนส่งระบบรางสูงถึง 1.7 แสนล้านบาท หวังปั้นร.ฟ.ท.ให้ เป็นฮีโร่ ด้านการขนส่งสินค้าระบบรางตั้งเป้าจาก 2 %

เพิ่ม 18 % ในอีก 6 ปี เพื่อทดแทนทางบกที่ต้องเจอวิกฤติน้ำมันแพง ลดภาระต้นทุนขนส่งภาคเอกชน ย้ำหากการจัดการบริหารเหมือนเดิม ไปไม่รอด ต้องปรับโครงสร้างบริหารรับมือ

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าตามแผนปฏิบัติการ ไทยเข้มแข็ง 2555 ของรัฐบาล ได้มีการจัดสรรงบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระบบราง ไว้ถึง 170,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจำเป็นที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องปรับปรุงการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพจะบริหารจัดการเหมือนเดิมไม่ได้ ต้อง

มีการปรับโครงสร้างการบริหาร

"งบดังกล่าวถือว่าสูงมากหรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของงบประมาณทั้งหมดที่รัฐบาล ได้จัดสรรให้ เพื่อต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งระบบรางของประเทศ รวมทั้งยังมีงบซื้อหัวรถจักรใหม่อีกจำนวนหนึ่ง จากเดิมที่รัฐบาลเคยให้งบ ร.ฟ.ท. เพียงปีละ 1 หมื่นล้านบาท และในปี 2551 ได้เพิ่มเป็น 2 หมื่นล้านบาทเนื่องจากมีการลงทุนโครงการ แอร์พอร์ตเรลลิงค์เท่านั้น"

อย่างไรก็ตามการที่รัฐทุ่มเทงบประมาณจำนวนมาก นั้นเพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานระบบการขนส่ง (โลจิสติกส์) ทางรางมีมากขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ภาคเอกชนในการขนส่งสินค้าเพื่อลดภาระ ด้านต้นทุน และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นตลอดเป็นอุปสรรคสำหรับการขนส่งทาง บก จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบรางมารองรับที่จะทำให้การขนส่งถูกลง

นายอารีพงศ์ กล่าวอีกว่า เดิมนั้นการขนส่งระบบรางมีอยู่เพียง 2 %เท่านั้น ทำให้ประเทศเสียโอกาส เพราะไม่มีระบบการขนส่งทางรางที่ดีพอ รัฐบาลจึงมีเป้าหมายให้ขยายการขนส่งระบบรางเพิ่มเป็น 18 % ภายใน 6 ปีข้างหน้า ส่วนปริมาณการขนส่งผู้โดยสารนั้น ต้องการเพิ่มอีก 25 % โดยจะมีการพัฒนาระบบรางคู่ เพื่อให้ร.ฟ.ท.ตรงเวลา ถ้าหากไม่ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารให้มีประสิทธิภาพเกิดความคล่องตัว ทุกอย่างก็จะเป็นภาระต่อรัฐบาลต่อไป และรถไฟจะเป็นฮีโร่ในอนาคต และสร้างความแข็งแกร่งอีกด้วย

ตามแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ นั้นจะแยกตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท โดยการรถไฟฯถือหุ้น 100 %มีการแยกบัญชี อย่างชัดเจนซึ่งจะทำให้รู้ว่าแต่ละบริษัทมีผลประกอบการเป็นอย่างไรทำให้ สามารถตรวจสอบได้ง่าย และลดปัญหาการขาดทุนที่จะเป็นภาระของรัฐบาลปีละหมื่นล้านบาท จากเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ขาดทุนปีละ 6-7 พันล้านบาทแต่ขณะนี้ขาดทุน 8 พันล้านบาท รัฐบาลก็ต้องจัดงบสนับสนุนอีก 2,500 ล้านบาท

ทั้งนี้ การแยกบัญชีจะทำให้รู้ถึงประสิทธิภาพ ในการบริหารงาน ลดขนาดการทำงานให้สั้น เล็กลง มีกำไรมากขึ้นเหมือนเอกชน มีการเปิดเผยข้อมูลทุกไตรมาส แม้จะล่าช้าไปบ้างแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ ผ่านทางเว็บไซต์ได้ ว่าแต่ละรัฐวิสาหกิจมีผลประกอบการเป็นอย่างไร จากปีที่แล้วได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกทำให้ปี 2551 รายได้ลดจากปีละ 2 แสนล้านบาทเหลือ 1.5 แสนล้านหรือหายไป 5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพลังงาน

ส่วนกรณีที่การรถไฟฯ แยกผลประกอบการออกมายังสามารถแยกแยะได้ว่าการใช้ที่ดินนำมาหาผลประโยชน์นั้น ได้เท่าไร ต้องหามืออาชีพเข้ามาบริหาร การตั้งบริษัทลูกขึ้นมาก็เพื่อให้เข้ามาบริหาร แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ที่ต้องดูแลบริหารจัดการอย่างมีระบบ ทั้งนี้ตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.นั้น

จะตั้ง 2 บริษัทใหม่คือ บริษัทเดินรถ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท และบริษัทบริหารทรัพย์สินจำกัด มีทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100 % จดทะเบียนภายใน 30 วันหลังมติครม.เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา จนเป็นที่มาของการประท้วงนัดหยุดงานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 08/07/2009 9:47 am    Post subject: โครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับระบบราง Reply with quote

ข่าวๆนี้ เป็นข่าวที่เกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งในระบบราง ซึ่งจะมะการกล่าวถึงการเชื่อมต่อระบบขนส่งระบบรางนี้กับประเทศเพื่อนบ้าน การก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง และสุดท้ายก็ได้กล่าวถึงโครงการการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนสงมวลชนในกรุงเทพฯนะครับ

จากประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 4120 วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
(จากLink นี้: http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02rea01060752&sectionid=0217&day=2009-07-06)

เขย่าแผนแม่บท รถไฟ-รถไฟฟ้า ดีเดย์ 1 เดือนโฟกัสโปรเจ็กต์เร่งด่วนสปีดลงทุน

1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ รัฐบาลมาร์ค 1 ได้พิจารณาแผนการลงทุนระบบรางของกระทรวงคมนาคม ทั้งรถไฟและรถไฟฟ้า สานแผนเดิมที่รัฐบาลสมัครเคยอนุมัติไว้ หลังรับทราบถึงความคืบหน้าแต่ละโครงการ ครม.เศรษฐกิจได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำ รายละเอียดเพิ่มเติมภายใน 1 เดือน เพื่อให้ได้ภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และนำเสนออีกครั้งในเดือนสิงหาคมนี้

ปูพรมทางคู่ทั่วประเทศเชื่อมเพื่อนบ้าน

โดยให้จัดทำแผนแม่บทรถไฟทางคู่ ทั่วประเทศ เชื่อมต่อเส้นทางเดิมที่มีอยู่กว่า 4,000 กิโลเมตร เร่งรัดพัฒนาเส้นทางคู่สายตะวันออก คือรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 10,900 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างทบทวนผลการศึกษา ทางคู่สายขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย และนครสวรรค์-ลพบุรี

ขณะเดียวกันให้คมนาคมไปเปรียบเทียบความคุ้มค่ารางขนาด 1 เมตร กับ 1.435 เมตร เพราะในอนาคตจะเปิดให้เอกชน เข้ามาร่วมลงทุนเดินรถสินค้าและโดยสาร

ส่วนการพัฒนาทางรถไฟสายประธาน จะก่อสร้างทางจาก อ.เชียงของ จ.เชียงราย ไป อ.เด่นชัย จ.แพร่ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะขอ แปรญัตติเพิ่มเติมงบประมาณปี 2553 เนื่องจากเส้นทางนี้จะเชื่อมต่อกับระบบ ทางรถไฟของจีนได้ พร้อมกับให้ไปศึกษาว่าจะสร้างผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือกัมพูชา

"โสภณ ซารัมย์" รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปหารือรัฐบาลจีน เกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟ ที่จีนต้องการเชื่อมต่อเส้นทางมายังประเทศไทย เพื่อขอความชัดเจน โดยปลายกรกฎาคมนี้ตนจะเดินทางไปหารือเรื่องนี้กับจีน

ดันรถไฟความเร็วสูงไป 4 หัวเมืองหลัก

นอกจากนี้ให้จัดทำรายละเอียดการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมหัวเมืองหลัก ห่างจากกรุงเทพฯรัศมี 200-300 กิโลเมตร เบื้องต้นมี 4 เส้นทาง คือกรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กรุงเทพฯ-จันทบุรี และกรุงเทพฯ-โคราช งบฯ 37.5 ล้านบาท

แก้จุดตัดทางรถไฟ 2,400 จุดทั่วประเทศ

อีกเรื่องที่เร่งรัด คือการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟทั่วประเทศ 2,400 จุด ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้งบประมาณไม่เพียงพอ โดยเสนอขอติดตั้งเครื่องกั้นทางรถไฟอัตโนมัติ 988 จุด วงเงิน 4,372.2 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2553 แต่ได้รับอุดหนุนเพียง 70 จุด

นอกจากนี้ให้ ร.ฟ.ท.เร่งซ่อมบำรุงคันทาง โดยจะดำเนินการ 2 เส้นทางก่อน คือโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 ช่วงแก่งคอย-แก่งเสือเต้น-สุรนารายณ์-บัวใหญ่-ชุมทางถนนจิระ รวม 308 กิโลเมตร วงเงิน 8,498 ล้านบาท และปรับปรุงทางระยะที่ 6 ช่วงชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย 278 กิโลเมตร 6,769 ล้านบาท รวมทั้งซื้อรถจักรและโบกี้บรรทุกตู้สินค้า ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.มีแผนจะจัดดหารถจักร 20 คัน วงเงิน 1,920 ล้านบาท และรถแคร่อีก 308 คัน วงเงิน 1,061 ล้านบาท

จี้คลอดแผนแม่บทรถไฟฟ้า

Click on the image for full size


ด้านระบบขนส่งมวลชน เดดไลน์ในสิงหาคมนี้ แผนแม่บทรถไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่จากเดิม 7 สาย จะต้องแล้วเสร็จ เพื่อเร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ โดยเฉพาะสายสีชมพู จากแคราย-มีนบุรี เพื่อรองรับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ

อย่างไรก็ตาม แผนที่ สนข.ศึกษาไว้ ยังไม่สรุปว่าจะมีกี่สาย แต่มีทั้งหมด 384.1 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 8 แสนล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะ 5 ปีแรก มีบางสายเริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ที่เปิดประกวดราคาเสร็จแล้ว สายสีน้ำเงินและสีเขียว 2 สาย กำลังรอเงินกู้ (ดูตาราง)

ส่วนระยะที่ 2 (ปี 2558-2562) มีสายสีแดง ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ 10 กิโลเมตร สีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี 34.5 กิโลเมตร สายสีส้ม ช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี 32 กิโลเมตร จะเร่งสร้างสายบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมก่อน สายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-ตากสิน-(มหาชัย) 36 กิโลเมตร ช่วงมักกะสัน-ยมราช-ราชดำเนิน-บางกอกน้อย-ตลิ่งชัน 10.5 กิโลเมตร ซึ่งสายนี้ สนข.บูรณาการมาจากส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬา-พรานนกเดิม สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ 19.8 กิโลเมตร

ระยะที่ 3 (2563-2572) มีสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ-สำโรง 30.4 กิโลเมตร สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสายสี่ 8 กิโลเมตร สายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกาคลองห้า 7.6 กิโลเมตร สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู 9.5 กิโลเมตร และสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระราม 4-สะพานพระรามเก้า 26 กิโลเมตร

"สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า แผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ จะต่อขยายเส้นทางบางสายไปชานเมืองมากขึ้น และเร่งบางสายให้เร็วขึ้น เช่น สายสีเขียว จากสะพานใหม่-ลำลูกกาคลอง 5 จะสร้างช่วงสะพานใหม่-คูคตก่อน ส่วนที่เหลือไปลำลูกกาจะเป็นระยะต่อไป

สำหรับส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 ช่วง คือหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ "โสภณ" ว่าที่ประชุมยืนยันตามมติ ครม.เดิม คือคมนาคมก่อสร้าง ส่วนการเดินรถ ที่ประชุมให้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.)

หน้า 7

โดยได้นำมาเสนอกันอีกครั้งในข่าวๆนี้นะครับ
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2552

(จาก Link นี้: http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01eco01080752&sectionid=0103&day=2009-07-08 )

เปิดแผนระบบขนส่งทางราง-แผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่ วัดใจครม."มาร์ค"-โอเคหรือตีกลับ


ในการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น มีการตีกลับแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของกระทรวงคมนาคม จนทำให้กระทรวงต้องกลับมาทำรายละเอียดใหม่แล้วนำเสนอกลับมาใหม่ภายใน 1 เดือน ทั้งในส่วนของการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ และสถานการณ์ดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง และระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

โดยในส่วนของการขนส่งทางรถไฟนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ไปเรียงลำดับความสำคัญของโครงการรถไฟทางคู่ในการที่จะพัฒนาเส้นใดก่อนหลัง และให้ไปดูว่า การพัฒนาระบบรางรูปแบบมิเตอร์เกตต์ ความกว้างของราง 1.00 เมตร และแบบสแตนดาร์ดเกตต์ ความกว้างของรางที่ 1.43 เมตร แบบใดจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ากัน การเชื่อมต่อกับจีนนั้นก็ให้ไปคุยกับรัฐบาลจีนว่าหากไทยทำรางไปถึงเชียงของ จังหวัดเชียงรายแล้วจีนจะต่อรางเข้ามาเชื่อมด้วยหรือไม่

ระบบขนส่งมวลชนทางรางนั้นก็ให้กลับไปทบทวน กรณีที่ กระทรวงคมนาคมเสนอขอใช้เงิน 400 ล้านบาท ที่ ครม.เคยอนุมัติให้ใช้ทำการศึกษาส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงวงแหวนรอบใน ตามแนวถนนรัชดาภิเษก มาใช้ศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสีชมพูเพื่อรองรับศูนย์ราชการแทน เนื่องจากโครงการนี้มีความจำเป็นกว่าเพราะศูนย์ราชการกำลังเปิดใช้หากรอให้ทำตามกำหนดการเดิมเกรงว่าจะก่อให้เกิดปัญหาการจราจรแน่นอน ขณะที่สีน้ำเงินช่วงวงแหวนรอบในยังมีความจำเป็นน้อยกว่าโครงการนี้

จากมติดังกล่าว "มติชน" ได้เปิดแผนการดำเนินการและแผนแม่บทที่กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอต่อ ครม.อีกครั้ง ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีรายละเอียดคือ

การขนส่งด้วยระบบราง

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาดูความคืบหน้าในส่วนของระบบการขนส่งทางรถไฟนั้น ครม.เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 เห็นชอบแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟไทย 3 แนวทางคือ

แนวทางที่ 1 การดูแลรักษาและเชื่อมต่อเส้นทางเดิมที่มีอยู่กว่า 4,400 กิโลเมตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งคนและสินค้า โดยใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยรัฐบาลรับภาระในการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก โดยการกำหนดกรอบการดำเนินงานให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินการด้วยการ

-พัฒนาเส้นทางคู่สายตะวันออก เพื่อรองรับการเดินรถขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือแหลมฉบังในเส้นทางแก่งคอย-คลองสิบเก้า-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 106 กิโลเมตร เพื่อสอดรับกับการก่อสร้างทางคู่เส้นทางจากฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร ที่ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยจะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งจาก 250,000 ตัน/ปี เป็น 570,000 ตันต่อปี ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 32% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2553

-แก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ-ถนนทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 2,400 จุด

-การซ่อมบำรุงคันทางและเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างทาง

-การซื้อล้อเลื่อน ทั้งรถจักรและโบกี้บรรทุกสินค้า ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีแผนในการจัดหารถจักรอยู่แล้ว 20 คัน มูลค่ากว่า 1,920 ล้านบาท และการจัดหาแคร่รถสินค้า 308 คัน วงเงิน 1,061 ล้านบาท

-ปรับเปลี่ยนการเดินรถเป็นระบบไฟฟ้าและการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณให้มีความทันสมัย โดยโครงการนี้จะใช้เงินประมาณ 13,861 ล้านบาท

-การปรับปรุงองค์กร เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

แนวทางที่ 2 การพัฒนาและก่อสร้างโครงข่ายระบบรถไฟขนาดรางมาตรฐาน เพื่อตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งในภูมิภาค ซึ่งโครงการนี้จะต้องพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐานซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง และเพื่อช่วยลดภาระหนี้ของรัฐบาล จึงมีนโยบายให้ร.ฟ.ท.และกระทรวงคมนาคมศึกษาแนวทางเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาโครงการ ซึ่งจะต้องมีการศึกษารูปแบบและสัดส่วนการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสมสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

แนวทางที่ 3 การพัฒนาและก่อสร้างระบบรถไฟด่วนระหว่างเมือง (ความเร็วไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ไปสู่หัวเมืองหลักของประเทศ เพื่อใหม่บริการประชาชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว ในรัศมี 200-300 กิโลเมตร จากกรุงเทพมหานครในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งในระยะแรกกำหนดเส้นทางไว้ 4 เส้นทาง คือกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 27 นาที กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 40 นาที กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 190 กิโลเมตร ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที และกรุงเทพฯ-พัทยา-จันทบุรี ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 53 นาที

ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

ส่วนสถานะความคืบหน้าในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง และระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งในแผนเบื้องต้นมีโครงข่ายระบบขนส่งรถไฟฟ้า 7 สายทาง ซึ่ง ครม. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ได้เห็นชอบหลักการไว้รวมระยะทาง 291 กิโลเมตร ที่ดำเนินการระหว่างปี 2547-2552 ประกอบด้วยสายสีเขียวอ่อนตั้งแต่ พรานนก-สมุทรปราการ สายสีเขียวแก่ จากสะพานใหม่-บางหว้า สายสีน้ำเงินวงแวนรอบใน สายสีม่วง บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ สายสีส้มบางบำหรุ-บางกะปิ สายสีแดงจากรังสิต-มหาชัย และสายสีชมพูจากตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 มีการอนุมัติโครงการอีก 5 สาย ระยะทาง 135 กิโลเมตร ดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี 2550-2555 และต่อมามีมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 ครม.ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีองค์ประกอบการดำเนินงาน 2 ระบบคือ

1.ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะทางก่อสร้างในระยะแรก 4 โครงการ รวม 75 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร 2.โครงการสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ-บางแค และช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร 3.โครงการสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร และ 4.โครงการสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ระยะทาง 15 กิโลเมตร

2.ระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ระยะทางก่อสร้างระยะแรก 3 ช่วง รวมประมาณ 60 กิโลเมตร ประกอบด้วย โครงการสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กิโลเมตร โครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กิโลเมตร และโครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง/บางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก ระยะทาง 19 กิโลเมตร โดยกำหนดให้ศูนย์พหลโยธิน (สถานีรถไฟกลางบางซื่อ) และศูนย์มักกะสัน เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระบบรถไฟชานเมือง ผู้โดยสารที่เดินทางไกลมาด้วยระบบรถไฟ และ บ.ข.ส. เดินทางไปยังจุดหมายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

จากแผนข้างต้นทั้งหมดนั้นปัจจุบันมีการเปิดใช้บริการแล้ว 3 เส้นทาง คือ 1.โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 24 กิโลเมตร มีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอส) รับสัมปทานเดินรถใน กทม. ระยะเวลา 30 ปี นับจากปี 2542-2572 2.โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) ระยะทาง 20.8 กิโลเมตร มีบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล รับสัมปทานเดินรถจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระยะเวลา 25 ปี จากปี 2547-2571 3.โครงการสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร เปิดบริการเมื่อ 15 พฤษภาคม 2552 โดยขณะนี้ยังไม่เก็บค่าโดยสารและจะเก็บค่าโดยสารอย่างเป็นทางการในกลางเดือนสิงหาคม 2552 โดยปัจจุบัน กทม.ได้จ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด บริหารจัดการเดินรถด้วยวงเงินงบประมาณมูลค่า 850 ล้านบาท เพื่อจัดหาและติดตั้งระบบตั๋ว เตรียมความสมบูรณ์ของสถานี ระบบและบุคลากรในการเดินรถ และบริษัท กรุงเทพธนาคาร จำกัด ได้จ้างบีทีเอสให้บริการเดินรถวงเงินค่าจ้าง 450 ล้านบาท

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างประกอบด้วย 3 โครงการ ระยะทางรวม 37.8 กิโลเมตร คือ 1.โครงการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ระยะทาง 28 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม 2552 2.โครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงตากสิน-บางหว้าระยะทาง 4.5 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้าง 2551 กทม.เตรียมประมูลจัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณระบบรางและก่อสร้างสถานี จะเปิดบริการปี 2554 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ระยะทาง 5.25 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างสิงหาคม 2549 และขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมประมูลจัดซื้อระบบเดินรถปลายปี 2552 คาดจะเปิดใช้บริการในต้นปี 2554

ปรับแผนแม่บทรถไฟฟ้าใหม่

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าในปัจจุบันการพัฒนาโครงการเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้บางโครงการไม่มีความทันสมัยพอส่งผลให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มีการทบทวนแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินการต่อไป โดยแผนดังกล่าวจะเสร็จเป็นรูปร่างอย่างสมบูรณ์ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งในเบื้องต้นประกอบด้วยเส้นทางและระยะเวลาการดำเนินการประกอบด้วย 3 ระยะ ตั้งแต่ปี 2553-2572 ระยะทางรวม 384.1 กิโลเมตร ตามรายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 โครงการที่เริ่มก่อสร้างในระยะ 5 ปีแรก (พ.ศ.2553-2557) ประกอบด้วย 5 โครงการ รวมระยะทาง 145.8 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และช่วงบางซื่อ-รังสิต ระทาง 15 และ 26 กิโลเมตรตามลำดับ 2.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร 3.สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ช่วงสะพานใหม่-คูคต ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ช่วงตามสิน-บางหว้า ระยะทาง 11.4,6.3,12.8 และ 5.3 กิโลเมตรตามลำดับ 4.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร และ 5.สายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง/บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก ระยะทาง 19 กิโลเมตร

ระยะที่ 2 โครงการที่เริ่มก่อสร้างใน 5 ปีถัดไป พ.ศ.2558-2562 มี 5 โครงการ รวมระยะทาง 156.8 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการสายสีแดงช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตระยะทาง 10 กิโลเมตร 2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร 3.สายสีส้มช่วง (บางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรม) -บางกะปิ-มีนบุรี ระยะทาง (12) + 20 กิโลเมตร 4.สายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-ตากสิน (มหาชัย) ระยะทาง 8+ (28) กิโลเมตร ช่วงมักกะสัน-ยมราช-ถนนราชดำเนิน-บางกอกน้อย-ตลิ่งชัน (ปรับแนวเส้นทางจากช่วงพญาไท-บางซื่อ) ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร ช่วงตลิ่งชัน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร

ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มก่อสร้างใน 10 สุดท้าย (พ.ศ. 2563-2572) ประกอบด้วย 5 โครงการ ระยะทาง 81.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 1.โครงการสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-พัฒนาการ ช่วงพัฒนาการ-สำโรง ระยะทาง 12.6 และ 17.8 กิโลเมตรตามลำดับ 2.สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสายสี ระยะทาง 8 กิโลเมตร 3.สายสีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกาคลอง 5 ระยะทาง 7.6 กิโลเมตร 4.สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร และสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ลาดพร้าว-พระรามสี่-สะพานพระรามเก้า ระยะทาง 26 กิโลเมตร

รฟม.ขอโยกงบฯศึกษาสีน้ำเงินวงแวนรอบในมาเร่งโครงการสีส้ม-ชมพูแทน

อย่างไรก็ตาม ในแผนดังกล่าวไม่มีโครงการรถไฟฟ้าสายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่คณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชนในคราวประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551 รับทราบและได้มอบหมายให้ รฟม.ดำเนินการศึกษาและออกแบบโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษกและได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปี 2552 วงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อดำเนินการ ต่อมาคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ได้มีมิติให้ รฟม.ยกเลิกการศึกษาความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2552 และในการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคมและ รฟม. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 กระทรวงคมนาคมมีความเห็นว่าปัจจุบันสภาพการจราจรบนถนนแจ้งวัฒนะบริเวณศูนย์ราชการและบนถนนรามคำแหง บริเวณบางกะปิ-ลำสาลี หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีปัญหาจราจรติดขัดขึ้นมาก แม้ว่ากระทรวงคมนาคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามหาแนวทางแก้ไขผ่อนคลายเฉพาะหน้าไปขั้นหนึ่งแล้ว แต่ในระยะยาวจำเป็นจะต้องมีระบบขนส่งมวลชนเพื่อขนคนส่วนใหญ่เข้าสู่ใจกลางเมือง ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยึ่งยืน จึงควรเร่งรัดดำเนินการเตรียมความพร้อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพูให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป

ซึ่ง รฟม.ได้เสนอให้มีการโอนเงิน 400 ล้านบาทดังกล่าว มาทำการศึกษาทบทวนความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียดจัดทำเอกสารประกวดราคา และจัดทำรายงานวิเคราะห์ โครงการรถฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางบำหรุ-สถานีศูนย์วัฒนธรรม-บางกะปิ-มีนบุรี (รวมสายสีน้ำตาล) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในบริเวณดังกล่าวและเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

หน้า 17
จบ ว.8
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44012
Location: NECTEC

PostPosted: 09/07/2009 11:17 am    Post subject: Reply with quote

ผ่าแผนฟื้นฟูกิจการ "ร.ฟ.ท."
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4121 วันที่ 09 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

35 ปีมาแล้วที่ผลประกอบการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ตกอยู่ในสภาพหนี้สินล้นพ้นตัวขาดทุนบักโกรกมาตั้งแต่ปี 2517

ปัจจุบันมียอดหนี้สะสม 72,850 ล้านบาท จากโครงสร้างพื้นฐานในอดีต 14,320 ล้านบาท รถจักรและล้อเลื่อน 12,331 ล้านบาท โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 22,345 ล้านบาท หนี้สินอื่นๆ ได้แก่ เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง 23,854 ล้านบาท และภาระบำเหน็จบำนาญที่ยังอยู่ในระบบ 25,749 ล้านบาท เป็นเงิน 156,000 ล้านบาท หรือมูลค่าปัจจุบัน 52,600 ล้านบาท

หลังจากรอคอยมา 10 ปี ในที่สุดได้มีมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา เห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.รายละเอียด คือ 1.ปรับโครงสร้างการบริการจัดการใหม่ ตั้งบริษัทลูก 2 บริษัท มี ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% ประกอบด้วย "บริษัท เดินรถ จำกัด" ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท

ภารกิจแรกคือเดินรถให้ "แอร์พอร์ตเรลลิงก์" ในอนาคตจะมีพนักงาน 478 คน ตารางเวลาคือเร่งเปิดทดลองใช้วันที่ 5 ธันวาคมนี้ และเปิดเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2553 กับ "บริษัท บริหารทรัพย์สินจำกัด" ทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท

2.ให้รัฐรับภาระการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานในอนาคตของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด 505,212 ล้านบาท แบ่งเป็นระยะ 10 ปีแรกลงทุน 196,833 ล้านบาท เช่น ทางคู่ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย ปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 เป็นต้น 3.ให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณช่วยแก้ไขภาระหนี้สิน โดยใช้รายได้ของ ร.ฟ.ท.และบริษัทลูกจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่ง "คลัง" ยังไม่รับปากจะรับภาระหนี้ทั้งหมด ขอดูประมาณการรายได้ของบริษัทลูกก่อน

ตามแผนฟื้นฟู มีการประมาณการรายได้ไว้ดังนี้ "บริษัทบริหารทรัพย์สิน" คาดว่าระยะเวลา 15 ปี (2553-2567) จะมีรายได้ปีแรกที่ 1,744 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นทุกปี เฉลี่ยปีละ 5% โดยปีสุดท้าย (ปี 2567 รายได้จะอยู่ที่ 3,013 ล้านบาท รวม 15 ปี จะมีรายได้ 37,033 ล้านบาท)

ส่วน "บริษัท เดินรถ" เบื้องต้นจะรับเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ คาดว่าจะมีรายได้รวมตั้งแต่ปี 2553-2561 ประมาณ 12,325 ล้านบาท

ร.ฟ.ท.คาดว่าหากมีการดำเนินการตามแผน จะทำให้ ร.ฟ.ท.มีความสามารถในการสร้างรายได้จากการเดินรถในระยะเวลา 10 ปี (2552-2561) รวม 109,521 ล้านบาท แต่หากไม่เป็นตามแผน จะทำได้เพียง 79,683 ล้านบาท

ส่วนการขอเงินอุดหนุนภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงทาง และการจัดการเดินรถหรือ IMO (infrastructure maintenance and operation) 70% หากทำตามแผนรัฐจ่ายเพียง 48,426 ล้านบาท แต่หากไม่ได้ตามแผนรัฐต้องจ่ายถึง 116,945 ล้านบาท ด้านเงินสนับสนุน PSO หรือการบริการทางสังคมสำหรับผู้มี รายได้น้อย จะอยู่ที่ 25,376 ล้านบาท แต่หากไม่ได้ตามแผนรัฐต้องจ่ายถึง 40,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 47343
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/07/2009 10:26 pm    Post subject: แกนนำสหภาพ รฟท.เสนอขึ้นค่าโดยสารแก้ปัญหาขาดทุน Reply with quote

แกนนำสหภาพ รฟท.เสนอขึ้นค่าโดยสารแก้ปัญหาขาดทุน

กรุงเทพฯ 9 ก.ค. 52- การสัมมนาแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีพนักงานรถไฟจากทุกส่วนกว่า 1,500 คน ทั้งฝ่ายการเดินรถ ฝ่ายโยธา ฝ่ายช่างกล รวมทั้งพนักงานรถไฟ สมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท.ได้เข้าร่วม ซึ่งระหว่างการประชุมได้มีการหยิบยกปัญหาที่ส่งผลให้ รฟท.ประสบผลขาดทุนทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งปัญหาในเรื่องการบริการทั้งสภาพหัวรถจักร โบกี้เก่า และความจำเป็นที่ต้องเร่งฟื้นฟูกิจการรถไฟ เพื่อลดผลขาดทุนสะสมที่มีอยู่

ทั้งนี้ ระหว่างการประชุมแกนนำสหภาพฯ ประกอบด้วยนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพฯ รฟท. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสหภาพฯ รฟท. ได้อภิปรายคัดค้านแผนการฟื้นฟูกิจการรถไฟที่ ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 3 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเพื่อฟื้นฟูกิจการรถไฟ สิ่งแรกที่จำเป็นที่สุดคือ การลดสัดส่วนรถให้บริการทางสังคมที่ปัจจุบันมีสัดส่วนให้บริการสูงถึงร้อยละ 92 ซึ่งมีการเก็บค่าโดยสารต่ำกว่าความเป็นจริง โดยปัจจุบันเก็บค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 คนละ 22 สตางค์ต่อกิโลเมตร ขณะที่มีต้นทุนเดินรถจริงคนละ 1.60 บาทต่อกิโลเมตร หากสามารถกลับมาเก็บค่าโดยสารตามต้นทุนที่แท้จริงก็จะแก้ปัญหาขาดทุนแต่ละปีได้ หรือไม่เช่นนั้นรัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินชดเชยดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องยอมรับว่าผลขาดทุนที่เกิดจากการให้บริการสังคมก็ต้องเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องดูแลไม่ควรมากล่าวโทษการบริหารรถไฟว่าขาดทุน เพราะต้องเดินรถเพื่อบริการสังคม

นายสมศักดิ์ กล่าวถึงปัญหาที่สหภาพฯ คัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการโดยเฉพาะประเด็นจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินและการเดินรถว่า ในส่วนของการเดินรถ แม้สหภาพฯ จะไม่คัดค้านการจัดตั้งบริษัทลูกแต่ต้องมีเครื่องยืนยันว่าบริษัทเหล่านี้ต้องคงสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจและไม่นำเอกชนมาถือหุ้น ส่วนการจัดตั้งบริษัทบริหารทรัพย์สินนั้น หาก รฟท.จะเพิ่มรายได้จากที่ดินเช่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน สิ่งแรกต้องให้ข้อมูลจริงว่าปัจจุบันที่ดินของ รฟท.มีจำนวนเท่าใด เพราะจากข้อมูลเดิมรถไฟมีที่ดินกว่า 25,000 ไร่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 23,000 ไร่ จึงมีคำถามว่าที่ดินที่หายไปหายไปไหน หรือ รฟท.มีการยอมรับที่ดินที่ถูกบุกรุกเป็นของคนอื่นแล้ว

ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่สหภาพฯ นำเสนอที่ต้องการให้ฝ่ายบริหารไปปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการนั้น ฝ่ายบริหารจะนำข้อเสนอของสหภาพฯ และข้อเสนอจากเวทีสัมมนาไปพิจารณาว่าจะสามารถนำข้อเสนอไปปรับปรุงเพื่อทำให้แผนฟื้นฟูกิจการเดินไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างไร. -สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-07-09 16:41:39
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 09/07/2009 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
^
ท่าทีสหภาพดูน่างงงวย เพราะมัน paradox ในตัวเอง อย่างเห็นได้ชัด Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 10/07/2009 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

เอ ต้นทุนค่าโดยสารที่แท้จริง กม.ละ 1.60 บาทเนี่ย
ถ้านั่งไปประจวบฯ จากหัวลำโพงระยะทาง 302 กม. ค่าตั๋วจะเป็น 483 บาทเลยนะครับเนี่ย

ไม่แพงไปหน่อยเหรอ รถทัวร์ ม.1 ยังแค่ 300 กว่าบาทเอง
Back to top
View user's profile Send private message
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 10/07/2009 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

digimontamer wrote:
เอ ต้นทุนค่าโดยสารที่แท้จริง กม.ละ 1.60 บาทเนี่ย
ถ้านั่งไปประจวบฯ จากหัวลำโพงระยะทาง 302 กม. ค่าตั๋วจะเป็น 483 บาทเลยนะครับเนี่ย

ไม่แพงไปหน่อยเหรอ รถทัวร์ ม.1 ยังแค่ 300 กว่าบาทเอง


งั้นต้องให้ทางผู้ที่บอกว่า ต้นทุน 1.60 บาท/กม. เนี่ยชี้แจงให้ชัดเจนครับว่า ต้นทุนดังกล่าวประกอบด้วยอะไรบ้าง

สงสัยคนละ 1.60 บาท/กม. เนี่ย คิดที่นั่งหน้าห้องน้ำ หน้าอ่างล้างมือ ทางเดิน บันไดรถขั้นที่1 บันไดรถขั้นที่ 2 ข้อต่อระหว่างรถ เท่ากับที่นั่งบนม้านั่งปกติด้วยหละมั้ง Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 51, 52, 53 ... 489, 490, 491  Next
Page 52 of 491

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©