RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311492
ทั่วไป:13322621
ทั้งหมด:13634113
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - [หนังสือหายาก] ที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

[หนังสือหายาก] ที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42896
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2009 9:08 am    Post subject: Reply with quote

^^^^
เริ่มปีใหม่ 1 มกราคม ปี 2484 ครับ ทำให้ ปี 2483 มีเพียง 9 เดือน หงะ
Back to top
View user's profile Send private message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 03/08/2009 10:44 am    Post subject: Reply with quote

suraphat wrote:
nop2 wrote:
ดูดีๆ เห็นพริกไทย เขียนด้วย พริมไทย์ด้วยนะครับ ไม่ทราบคำคำนี้ เปลี่ยนการเขียนปีไหนครับ


ใจเย็นๆ ขอให้รอดูกันไปก่อน ที่กระผมจะขอสังเกตในเรื่องของภาษาที่ใช้อยู่ในยุคนั้น ซึ่งก็มีอยู่หลายคำ เช่นคำว่า เปน ที่รฦก หรือแม้กระทั่ง คำว่า พริกไทย์ นะครับ

ส่วนที่ว่า เขามาเปลี่ยนกันปีไหนนั้น ก็บอกได้ทันทีว่ามาเปลี่ยนกันในยุคที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นรัฐบาลนะครับ...

เปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นไทย เพื่อให้ได้สอดคล้องกับสากล

และที่สำคัญก็คือเปลี่ยลักษณะของการเขียนภาษาไทยกันอย่างขนานใหญ่เลยนะครับ ซึ่งก็รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเขียนของคำดังกล่าวนี้ด้วยนะครับ Wink


ถ้ามีโอกาสลองไปอ่าน "สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น" ของ มจ.พูนพิศมัย จะเห็นว่าถอยหลังลงคลองไปหลายเรื่องเช่น เอาคนไม่รู้หนังสือมา sensor หนังสือ (ดังนั้นการอ่านหนังสือที่ตีพิมพ์ในยุคนั้นควรอ่านด้วยความระมัดระวัง) มีการการพยายามยกเลิกราชาศัพท์ เพราะผู้มีอำนาจพูดราชาศัพท์ไม่เปน ฯลฯ


Last edited by rodfaithai on 03/08/2009 10:46 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 10/07/2006
Posts: 1346

PostPosted: 03/08/2009 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
^^^^
เริ่มปีใหม่ 1 มกราคม ปี 2484 ครับ ทำให้ ปี 2483 มีเพียง 9 เดือน หงะ


ขอบคุณครับ
ผมจำไม่ได้สักที
Crying or Very sad

รบกวนอีกทีครับเฮียวิซ
2483 และก่อนหน้านั้น ปีใหม่วันที่เท่าไร เดือนอะไร ครับ ขอบคุณครับ

(บันทึกช่วยจำ)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/08/2009 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

สมัยก่อนนั้น ปีใหม่นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ครับ จะสิ้นสุดปีในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งใกล้เคียงสอดคล้องกับเทศกาลสงกรานต์

เฉพาะช่วงปี พ.ศ.2483 จะนับเพียงแค่ วันที่ 1 เมษายน 2483 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2483 เท่านั้น เพื่อให้เป็นสากล ตรงกับปีปฏิทินของชาติตะวันตก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2009 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size



รายชื่อสินค้า------------------------------ ราคาเงินบาท-------------------ราคาเงินปอนด์
เครื่องใช้ต่างๆ ทำด้วยโลหะ ...............๔,๖๘๐,๒๕๔ ...............๓๖๐,๐๑๙
เครื่องจักร์ต่างๆ ............................๑,๔๕๔,๘๔๘ ................๑๑๑,๙๑๑
โลหะต่างๆ ...................................๖๑๑,๖๔๐ ....................๔๗,๐๕๐
กระสอบป่าน ..............................๔,๔๓๓,๔๔๔ .................๓๔๑,๐๓๔
น้ำมันที่เกิดจากแร่ธาตุต่างๆ ..............๓,๐๑๔,๑๒๕ .................๒๓๑,๘๕๕
น้ำมันต่างๆ ที่ไม่ใช่เกิดจากแร่ธาตุ .......๑,๓๓๐,๘๓๗ ................๑๐๒,๓๗๒
ยาสูบต่างๆ ..................................๑,๖๓๕,๖๗๐ ................๑๒๕,๘๒๑
เหล้าองุ่น, เบียร์, แลเหล้าต่างๆ .........๑,๖๒๙,๐๑๗ .................๑๒๔,๓๐๙
อาหารแลเครื่องดื่มต่างๆ ที่ไม่ปนแอลกอฮอ ๑,๑๘๓๖,๔๖๘ ..........๙๑๐,๔๙๘
เสื่อแลเครื่องจักสานต่างๆ ....................๑,๑๓๐,๕๗๑ .............๘๖,๙๖๗
ไม้ต่างๆ .......................................๑,๑๓๐,๓๘๑ ...............๘๖,๙๕๒
ภาชนะต่างๆ ที่ทำด้วยหินฟันม้า
(เช่นชาม) แลที่ทำด้วยดินเหนียว ..........๑,๐๑๕,๒๕๐ ...............๓๘,๐๙๖
ยาต่างๆ ......................................๙๑๗,๗๓๓ ..................๗๐,๕๙๕
ทองใบ .....................................๓,๐๔๔,๘๕๒ ................๒๓๔,๒๒๐
เนื้อเงินแลเงินตราต่างๆ ...................๓,๖๗๑,๑๙๙ ................๒๘๒,๔๐๐
ฝิ่น ...........................................๒,๘๙๑,๐๓๗ ...............๒๒๒,๓๘๗



นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ส่งเข้ามาขาย แลจำหน่ายออกไปทาง
บกทางเขตร์แดนเมืองพม่า, เงี้ยวแลเมืองยุนนาน (จีน) และเมืองญวน
อีกด้วย ตามรายงานสินค้าเข้าออกทางบก ระหว่างประเทศ
สยามแลเมืองพม่านั้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๗ สินค้าขาออกเปนราคา
๖,๐๐๔,๐๒๙ รูปี (ประมาณ ๕,๓๑๓,๓๐๐ บาท) สินค้าขาเข้าเปน
ราคา ๔,๓๘๔,๐๑๗ รูปี (ประมาณ ๓,๘๗๙,๖๐๐ บาท) สินค้า
เหล่านี้รวมทั้งที่เปนสิ่งของทองเงินรูปพรรณต่างๆ นั้นด้วย

การทำนา

ใน ๒๒ ปีที่ล่วงแล้วมานี้ การทำนาได้เจริญขึ้นตามลำดับ
ดังนี้ คือ เมื่อปี ๒๔๓๖ มีนาอยู่ประมาณ ๗,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ ใน
ปี ๒๔๕๙ จำนวนนาได้ทวีขึ้นเปน ๑๓,๒๑๕,๐๐๐ ไร่ จำนวนเข้าที่ทำได้
นั้นได้ทวีขึ้น ตั้งแต่ ๓๑,๐๐๐,๐๐๐ ถึง ๗๑,๐๐๐,๐๐๐ หาบ จำนวน
เข้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศนั้นได้ทวีขึ้น ตั้งแต่ ๘,๐๐๐,๐๐๐ ถึง
๑๙,๐๐๐,๐๐๐ หาบ ราคาเข้าทวีขึ้นตั้งแต่หาบละ ๓ บาท ๓๐ สตางค์
ถึงหาบละ ๕ บาท

มาตราวัดชั่งตวง

ในการที่จะนำมาตราวัดชั่งตวงแบบเมตริกมาใช้ในประเทศสยาม
นั้น รัฐบาลก็ได้เปนอันตกลงว่าจะใช้แล้ว แลในกระทรวงทะบวงการ
ต่างๆ ก็ได้ใช้มากขึ้นเปนลำดับมา ส่วนแบบตัวอย่างเครื่องวัด
ชั่งตวงนั้น กระทรวงซึ่งเปนเจ้าน่าที่ก็ได้จัดหาไว้พร้อมแล้ว เว้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2009 4:17 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

๑๐

แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ให้เปนอันถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงได้
เทียบมาตราวัดชั่งตวงอย่างเก่าซึ่งใช้กันอยู่ทั่วไปนั้นไว้ในที่นี้ด้วย อัตรา
อย่างเก่านั้นหามีกฎหมายบังคับไว้ประการใดไม่ เพราะเหตุฉนั้นจึงมี
เครื่องวัดชั่งตวงที่ต่างกันใช้แพร่หลายอยู่หลายอย่าง

มาตราวัดชั่งตวงแบบเก่าเทียบกับแบบเมตริกมีดังนี้
๑ นิ้ว ....................ประมาณ ๒๑ มิลิเมเตอร์
๑๒ นิ้ว = ๑ คืบ " ๒๕๐ "
๒ คืบ = ๑ ศอก " ๕๐๐ "
๔ ศอก = ๑ วา " ๒ เมเตอร์
๒๐ วา = ๑ เส้น " ๔๐ "
ตามมาตราวัดชั่งตวงแบบเก่า แลแบบเมตริกที่ได้เทียบให้เห็นนี้
จะเห็นได้ว่าการที่จะคิดมาตราอย่างเก่าให้เปนแบบเมตริกนั้น เปน
การง่ายดาย

มาตราวัดเนื้อที่จัตุรัศ๑๖ ตารางศอก = ๑ ตารางวา หรือ ๔ ตารางเมเตอร์
๑๐๐ ตารางวา = ๑ งาน " ๔๐๐ "
๔ งาน = ๑ ตารางเส้น " ๑,๖๐๐ "
๑ ตารางเส้น = ๑ ไร่

ไร่หนึ่งเปนมาตราของการวัดเนื้อที่ดินในประเทศสยาม คำที่
เรียกว่า "แอร์" เปนมาตราของการวัดเนื้อที่ดินอย่างหนึ่งในแบบ
เมตริก แลเท่ากับเนื้อที่ ๒๕ ตารางวา หรือ ๑๐๐ ตารางเมเตอร์

๑๑

อัตราเครื่องตวง

อัตราเครื่องตวงนี้ ยังใช้แตกต่างกันอยู่โดยมาก แต่อัตรา
ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีอยู่ดังนี้ :-
๑ ทะนาน เท่ากับ ๑๙/๒๐ ของลิเตอร์
๑ ถัง ประมาณ ๑๙ ลิเตอร์
๑ เกวียน เท่ากับเข้าเปลือก ๑๖ หาบ หรือเข้ากล้อง ๒๒ หาบ
หรือเข้าสาร ๒๓ หาบ
๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เท่ากับ ๑ เกวียน

มาตราชั่ง๑ บาท หนัก ๑๕ แกรม
๑ ตำลึง (๔ บาท) " ๖๐ "
๑ หาบ หนัง ๖๐.๔๘ กิโลแกรม หรือ เท่ากับน้ำหนัก ๑๓๓ ๑/๓ ปอนด์
หรือเท่ากับ ๑๐๐ ชั่งจีน คิด ๑ ๑/๓ ปอนด์ต่อชั่ง ซึ่งเปนอัตราสำหรับใช้
ชั่งสินค้าต่างๆ ทั่วไป

เงินของประเทศสยาม
เงินของประเทศสยามที่ใช้อยู่นั้นได้กำหนดราคาตามราคาทองเปน
หลัก เพื่อให้สดวกแก่การค้าขาย รัฐบาลได้ทำเงินเหรียญบาทขึ้น
ใช้ ซึ่งได้กำหนดราคาแลกเปลี่ยนไว้ ๑๓ บาทต่อ ๑ ปอนด์ อังกฤษ
(อัตรากระทรวงพระคลัง) แต่ราคาแลกเปลี่ยนของแบงก์ย่อมขึ้นลง
บ้างเล็กน้อยตามเวลา เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๘
เงินปอนด์ที่รัฐบาลมีไว้เปนจำนวน ๑,๐๘๙,๐๐๑ ปอนด์ สำหรับการใช้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2009 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

๑๒

มาตราทองคำ เงินบาทหนึ่งแบ่งออกเปน ๑๐๐ สตางค์ เงินตราแล
สตางค์ที่ใช้อยู่นั้นมีดังนี้ :-

๑ สตางค์ (ทองแดง), ๕ สตางค์, แล ๑๐ สตางค์ (นิเกอล),
๒๕ สตางค์, ๕๐ สตางค์, แล ๑ บาท (เงิน) ๒๕ สตางค์เรียกว่าสลึง
หนึ่ง และ ๕๐ สตางค์ ๒ สลึง พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ได้
กำหนดราคาเหรียญทองทศเหรียญหนึ่ง เปนราคา ๑๐ บาท แต่ยัง
มิได้ประกาศให้ใช้ เงินธนาบัตร์ที่ใช้อยู่นั้นมีธนาบัตร์ราคาใบละ ๕ บาท
อย่างหนึ่ง, ๑๐ บาทอย่างหนึ่ง, ๒๐ บาทอย่างหนึ่ง, ๑๐๐ บาท
อย่างหนึ่ง, แลราคาใบละ ๑,๐๐๐ บาทอย่างหนึ่ง, ส่วนธนาบัตร์
ที่รัฐบาลจ่ายออกใช้นั้น จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๕๘
มีจำนวน ๓๕๖๔๖๗๐๕ บาท เงินเหรียญบาทนั้นได้จัดทำขึ้นที่กรมกะสาปน์สิทธิการ

การวัดลมอากาศแลฝน

ความร้อนหนาวของอากาศในกรุงเทพฯ แลจำนวนน้ำฝนที่ตกนั้น
ในเวลา ๑๓ ปีที่ล่วงมาแล้วนี้ ตามรายงานที่ได้วัดตรวจตราไว้
นั้น ปรากฏว่าหลอดปรอทสำหรับวัดอากาศร้อนหนาวที่แขวนไว้ในร่ม
นั้น อย่างปานกลางเพียง ๘๖ ดีกรีเศษ ๙ ฟาเรนไฮต์ เท่ากับ ๒๘
ดีกรีเศษ ๓ เซนติเกรด อย่างร้อนที่สุด ๑๐๐ ดีกรีฟาเรนไฮต์ เท่ากับ
๔๑ ดีกรีเศษ ๑ เซนติเกรด อย่างหนาวที่สุด ๕๒ ดีกรีฟาเนไฮต์
เท่ากับ ๑๑ ดีกรีเศษ ๑ เซนติเกรด

๑๓

ส่วนการวัดน้ำฝนในเวลา ๑๓ ปีนั้นปรากฏว่า อย่างปานกลาง
๕๖ นิ้วอังกฤษเศษ ๒๔ เท่ากับ ๑,๔๒๘ มิลิเมเตอร์เศษ ๕, อย่างมาก
ที่สุดใน ๒๔ ชั่วโมง ๕ นิ้วอังกฤษเศษ ๓๕, เท่ากับ ๑๓๕ มิลิเมเตอร์
เศษ ๙, ฤดูฝนนั้นตั้งต้นแต่เดือนพฤศภาคมถึงพฤศจิกายน ฤดู
ที่เย็นดีที่สุดไม่มีฝน เปนเวลาเหมาะสำหรับเดินทางสดวกแลสบาย
ดีนั้น คือในเดือนธันวาคม, มกราคมแลกุมภาพันธ์

ปฏิทิน

การนับวันเดือนปีนั้น นับแลคำนวณตามสุริยคติ ปีใหม่นั้น
ตั้งต้นตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ส่วนศักราชนั้นใช้พระพุทธศักราช นับ
แต่วันที่พระสมณะโคดมเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานเปนต้นมา ซึ่งในปีนี้
เปนปี ๒๔๕๙ อนึ่งปฏิทินที่นับแลคำนวณตามจันทรคตินั้น ทางฝ่าย
พุทธจักร์ก็ยังใช้กันอยู่

การศึกษา

การศึกษานั้นในโบราณสมัยวัดต่างๆ เปนที่สั่งสอนหนังสือแล
วิชาการต่างๆ คล้ายกันกับในประเทศยุโรป พระภิกษุสงฆ์เปนครูผู้
สั่งสอน บรรดาชายหนุ่มไม่ว่าชั้นใดตระกูลใด เมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี
โดยบริบูรณ์แล้ว ตามธรรมดาย่อมจะอุปสมบทเปนพระภิกษุสงฆ์ในพระ
บวรพุทธศาสนา อย่างน้อยก็เพียงหนึ่งพรรษา ธรรมเนียมอันนี้ยังนิยม
ใช้กันอยู่เสมอมา ในเวลาที่บวชเปนพระอยู่นั้นเล่าเรียนหนังสือแล
ธรรมวินัยตามสมควร ด้วยเหตุนี้คนที่อ่านหนังสือไม่ออกจึงมีน้อย
ในเวลานี้ ถึงแม้ว่าการศึกษานั้น ได้จัดวางระเบียบใหม่ตามกาลนิยม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2009 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

๑๔

แล้วก็ดี แต่วัดต่างๆ นั้นก็ยังคงเปนสถานที่สั่งสอนอันสำคัญอยู่
เหมือนกัน
โรงเรียนนั้นแบ่งเปน ๒ ชนิด คือ โรงเรียนรัฐบาลแลโรงเรียน
เชลยศักดิ์ โรงเรียนรัฐบาลนั้น คือ โรงเรียนที่รัฐบาลออกทุนรอน
อุดหนุน มีโรงเรียนปถม, มัธยม, แลอุดมเปนต้น มีนักเรียนรวม
๒๗,๘๐๗ คน โรงเรียนเชลยศักดิ์นั้น ได้รับความบำรุงจากเงินที่เรี่ย
รายได้จากพลเมืองในท้องที่นั้น หรือตามที่ครูจะเก็บค่าเล่าเรียนจาก
นักเรียนที่เล่าเรียนอยู่ในโรงเรียนเหล่านั้นได้ โรงเรียนเชลยศักดิ์เหล่านี้
ตามธรรมดาเปนโรงเรียนชั้นปถมศึกษาเปนต้น มีนักเรียน ๑๐๐,๑๗๕
คน นอกจากนี้ในจำนวนวัด ๑๓,๒๗๗ วัด ซึ่งมีอยู่ในประเทศสยาม
นั้น ไม่นับวัดที่เปนที่ตั้งโรงเรียนตามแบบของกรมศึกษาธิการที่ได้
กล่าวมาแล้ว ๑,๐๗๓ วัดนั้น ยังมีวัดต่างๆ ที่มีการสอนหนังสือ
ตามแบบวัดอีก ๘,๗๓๗ วัด พระสงฆ์ในวัดเหล่านั้นเองเปนครูสอน
ศิษย์ของตน ด้วยเหตุนี้ก็พอจะเห็นได้ว่าการศึกษาเบื้องต้นนั้นได้
รับความอุปถัมภ์บำรุงอันดีอยู่แล้ว แลจำนวนนักเรียนนั้นก็ทวีมาก
ขึ้นทุกที ด้วยมีผู้ชอบส่งบุตร์หลานไปเล่าเรียนกันมาก การศึกษา
วิชาชั้นสูงขึ้นไปนั้น, ก็มีความต้องการอยู่มาก, แต่กระทรวงทะบวง
การบางกระทรวง ต่างก็มีโรงเรียนสำหรับให้กุลบุตร์ได้เล่าเรียนศึกษา
วิชาชั้นสูง เพื่อเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ เช่น โรงเรียนทหาร
บก, ทหารเรือ, โรงเรียนกฎหมาย, โรงเรียนแพทย์, โรงเรียนข้า
ราชการพลเรือน, โรงเรียนพานิชการแลโรงเรียนเพาะช่างเปนอาทิ ส่วน


Last edited by Mongwin on 03/08/2009 7:29 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
heerchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/07/2006
Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

PostPosted: 03/08/2009 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

การศึกษายุคก่อน ผู้ปกครองต่างขวนขวายฝากลูกฝากหลานให้เล่าเรียนสูงๆจากผู้ประศาสตร์วิชาทั้งหลาย มากับยุคสมัยใหม่ ผู้ปกครองต่างขวนขวายลูกหลานให้เรียนพิเศษเพิ่มเติมจากศูนย์กวดวิชา (ติวเตอร์) มีความเหมือน ต่างที่เวลาเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 45332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/08/2009 4:14 am    Post subject: Reply with quote

เห็นแล้วเหนื่อยแทนเด็กรุ่นนี้ครับ
สมัยผมอยู่ชั้นประถม โรงเรียนบ้านเทพาเลิกบ่ายสามโมงครึ่ง
เดินกลับบ้าน สักพักก็ได้ดูทีวี ห้ามนุษย์ไฟฟ้า อิ๊กคิวซังอะไรไปตามเรื่อง
ไม่ก็ไปวิ่งเล่นที่กองทรายกับเพื่อน
ไม่มีโรงเรียนกวดวิชาให้เรียนเลยครับ
------------------
ถัดจากหน้า ๑๔ ก็จะเป็น plate ภาพแผ่นแรกครับ
(กระดาษที่ใช้พิมพ์ภาพถ่าย จะมีคุณภาพดีกว่ากระดาษที่ใช้พิมพ์ตัวหนังสือ เข้าใจว่าพิมพ์ภาพต่างหากแล้วนำมาแทรกไว้ในเล่มในภายหลังช่วงที่จะเข้าเล่มครับ และเลขหน้าจะรันไปเฉพาะส่วนที่เป็นตัวหนังสือ ภาพที่แทรกจะไม่นับเลขหน้ารวมไว้ด้วยครับ)

ภาพที่ ๑ กระทรวงคมนาคม

Click on the image for full size

ภาพที่ ๒ สถานีรถไฟหลวงสายใต้ กรุงเทพฯ

Click on the image for full size
หมายเหตุ ภาพนี้เป็นภาพร่าง ไม่ใช่ภาพถ่ายจากสถานที่จริง ดังปรากฏข้อความอธิบายในหน้า ๓๒ ว่า
...สถานีรถไฟหลวงสายใต้ อยู่ที่ตำบลบางกอกน้อย ...เวลานี้กำลังก่อสร้างอยู่...รูปสถานีในสมุดนี้เป็นรูปที่ถ่ายมาจากรูปเขียนอันเป็นแบบตัวอย่างนั้น

น่าเสียดายที่ผมยังหาภาพสถานีรถไฟหลวงสายใต้แรกเริ่มเดิมทีไม่ได้ครับ
หรือแม้แต่รุ่นที่ 2 ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จก็ยังหาไม่พบครับ
(ภาพที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีอยู่ ก็เป็นภาพที่สำเนาจากหนังสือที่รฦกฯ เล่มนี้เช่นกัน)
ส่วนสถานีรถไฟธนบุรีรุ่นที่ 3 ก็คืออาคารที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว และออกแบบโดย ม.จ.โวฒยากร วรวรรณครับ

สถานีรถไฟธนบุรีในปัจจุบันจึงน่าจะเป็นรุ่นที่ 4 ใช่ไหมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 31, 32, 33  Next
Page 4 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©