RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311903
ทั่วไป:13574579
ทั้งหมด:13886482
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สำรวจครั้งใหม่ สุดปลายรางที่ทะเลสาบสงขลา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สำรวจครั้งใหม่ สุดปลายรางที่ทะเลสาบสงขลา
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 32, 33, 34  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
chy
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2008
Posts: 33

PostPosted: 20/08/2009 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

ผมก็ยังหวังอยู่นะครับว่า เส้นทางรถไฟสงขลาจะต้องได้กลับมาเดินอีกครั้งแน่นอน ถึงแม้ว่าจะมาไม่ถึงสถานีเดิมก็เถอะครับ

ผมก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน ระหว่างภาพครั้ง ร.6 ประพาสเมืองสงขลาหลังสถานีรถไฟ ทำไมดินสูงเท่ากับตัวอาคาร แต่สมัยปัจจุบัน พ้นที่หลังอาคาร จึงต่ำลงเท่ากับพื้นที่เมืองทั้งเมืองเลยครับ

ผมคนหนึ่งที่ติดตามกระทู้เกี่ยวกับการรื้อฟื้นการเดินรถสายสงขลามาตลอด ถึงแม้ว่าจะมีส่วนร่วมในการสำรวจและให้ข้อมูลไม่มากนัก แต่สิ่งที่ผมได้กลับมามันคือความภูมิใจและดีใจที่ได้เห็นอดีตของบ้านเกิดตัวเองตั้งแต่ยังไม่เกิดเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา

มันเป็นผลพลอยได้ที่ดีมากๆ เลยครับที่เห็นรากเหง้าสถานที่ในอดีต ก็ต้องขอขอบคุณหลายๆคนที่เอาข้อมูลที่มหัศจรรย์นี้มาลงให้ดูครับ อย่างน้อยผมก็จะได้บอกลูกหลานเมืองสงขลาที่ไม่ได้เข้ามาอ่านในกระทู้นี้ ว่าเมืองสงขลาของเราครั้งอดีต เป็นอย่างไร อะไรมันเคยอยู่ตรงไหน ที่ไหนเปลี่ยนแปลงไป ที่ไหนยังตั้งอยู่เหมือนเดิมมาเกือบ 100 ปี
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2009 4:17 pm    Post subject: Reply with quote

คุณชายจำข่าวที่รถโพธิ์ทองพื้นทะลุแถวเขาบันไดนาง-น้ำน้อยได้ไหมครับ
แล้วนักศึกษาตกลงไปเสียชีวิตน่ะครับ

ถึงเวลาต้องฟื้นฟูขนส่งมวลชนระบบรางระหว่าง 2 เทศบาลนครอย่างจริงๆ จังๆ แล้วครับ
แก้กฎหมายไม่เป็นผลหรอกครับ ตามข่าวนี้
จาก นสพ.โฟกัสภาคใต้ ประจำวันที่ 15-21 ส.ค. 52
http://www.focuspaktai.com/paper/11935

Quote:
]"กรมการขนส่งทางบก" ขยับเตรียมกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะ จ้าง ม.อ.ศึกษา ยกเคสรถโพธิ์ทองพื้นทะลุ นักศึกษาตกลงมาเสียชีวิต 2 ศพ เป็นกรณีตัวอย่าง ผู้ประกอบภาคใต้รวมหัวค้านสุดตัว "โพธิ์ทอง" ทำเฉย ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม&ท้องถิ่น

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 7 สิงหาคม 2552 ที่ห้องประชุมราชมังคลา แกรนด์ บอลรูม โรงแรมราชมั งคลา พาวีเลี่ยน บีช รีสอร์ท สงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดสัมมนารับฟังความเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาการกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก โดยมีนายสุชาติ กลิ่นสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมศาสตร์ กรมการขนส่งทางบก เป็นประธาน มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน จาก 14 จังหวัดภาคใต้

นายพิชัย ธานีรณานนท์ หัวหน้าโครงการศึกษาการกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะและ รถบรรทุก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำเสนอที่มาที่ไปของโครงการดังกล่าวต่อที่ประชุม โดยได้นำเสนอภาพเหตุการณ์รถประจำสายหาดใหญ่ สงขลา ของบริษัท โพธิ์ทองขนส่ง (2505) จำกัด ทะเบียน 10-0147 สงขลา ยางล้อระเบิดขณะรับส่งผู้โดยสารมาถึงบริเวณเขาบันไดนาง ถนนกาญจนวณิชย์ ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แรงระเบิดทำให้พื้นรถไม้ฉีกขาด เป็นเหตุให้ผู้โดยสาร 2 ราย ตกลงบนพื้นถนนเสียชีวิต และมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 3 ราย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551

นายพิชัย กล่าวต่อที่สัมมนาว่า สาเหตุที่ยางระเบิดจนพื้นไม้ทะลุ สืบเนื่องมาจากสภาพรถเก่า ทำให้พื้นไม้ผุ ไม่มีการดูแลอย่างจริงจังนายสุพล หงนิพนธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สหยะลาขนส่ง จำกัด กล่าวต่อที่ประชุมว่า ไม่เห็นด้วยที่จะกำหนดอายุรถโดยสารสาธารณะ เนื่องจากไม่สามารถลงทุนซื้อรถใหม่มาทดแทนได้ ซึ่งการกำหนดอายุรถ ไม่ใช่เป็นวิธีการแก้ปัญหาโดยตรง ที่สำคัญรัฐต้องมีการควบคุมรถที่มีการดัดแปลงเช่นตัวถังเครื่องยนต์ การเกิดอุบัติเหตุในแต่ละครั้ง ไม่ได้เกิดจากสภาพรถเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากคนขับรถเป็นส่วนใหญ่

นายจำเนียร ทองดี ประธานสหกรณ์เดินรถจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำกัด กล่าวว่า รัฐต้องควบคุมรถโดยสารผิดกฎหมาย หรือรถผีให้ได้เสียก่อน เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการที่ถูกกฎหมาย มีรายได้เพียงพอที่จะนำมาลงทุนซื้อรถใหม่ได้

นายเอกบดินทร์ จำเนียรกาล วิศวกรกรมการขนส่งทางบก กล่าวภายหลังสัมมนาว่า หลังโครงการศึกษาการกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะ และรถบรรทุกแล้วเสร็จ คาดว่าจะส่งผลให้มีการแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสม และสอดคล้องกับทุกส่วน ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบกิจการขนส่ง โดยผู้ประกอบการสามารถอยู่ได้ โครงการดังกล่าวเป็นนโยบายของกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและเป็นธรรม ผู้ประกอบการก็มีความคุ้มทุน พร้อมทั้งศึกษาข้อดี ข้อเสีย ปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ถ้าจะนำผลการศึกษาไปบังคับใช้ เพื่อให้สามารถนำวิธีการ ขั้นตอน พร้อมทั้งแนวทางการแก้ปัญหา ลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

"ก่อนจะกำหนดอายุรถได้ ต้องดูความเป็นเหตุเป็นผล จึงได้ศึกษารับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน แล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ก่อนที่จะกำหนดออกมา เพื่อความปลอดภัย ต้องเข้มงวดให้การตรวจสภาพรถมีมาตรฐาน และมีจำนวนครั้งเพิ่มมากขึ้น ทั้งการตรวจสภาพตัวถังและเครื่องยนต์" นายเอกบดินทร์ กล่าว

นายพิชัย เปิดเผยภายหลังการสัมมนาว่า ทางโครงการฯ ได้ศึกษาไปแล้วเกือบครึ่งทาง สำหรับการกำหนดอายุรถ คาดว่า จะนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายการขนส่งทางบก ส่วนจะกำหนดอายุรถกี่ปี ยังไม่สามารถบอกได้ ต้องรอผลการศึกษาก่อนว่า จะไปในทิศทางไหนอย่างไร จะกำหนดได้เมื่อไหร่ แต่แนวโน้มคาดว่า น่าจะอยู่ที่ 20 - 25 ปี เพราะเป็นระยะเวลาที่รถมีสภาพเสื่อมโทรม แต่จากการสัมมนาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ที่จะให้กำหนดอายุรถ แต่ถ้ามีการปรับลดราคาแชสซีส์ และลดอัตราการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการ ก็สามารถช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้อีกทาง

นายพิชัย กล่าวว่า สาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุมาจากข้อบกพร่องของอุปกรณ์ และส่วนควบของรถ เช่น รถที่มีอายุการใช้งานที่นาน ขาดการบำรุงรักษา จึงควรกำหนดอายุการใช้งานของรถ เพื่อให้รถพร้อมที่จะใช้งาน และมีความปลอดภัย จะช่วยลดอุบัติเหตุที่ตามมาได้ แต่การกำหนดจะเป็นการสร้างต้นทุนที่สูงขึ้นของผู้ประกอบการ ทางโครงการจะศึกษาใน 3 เรื่องหลัก คือ เรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ เรื่องเศรษฐศาสตร์การลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และศึกษามลพิษ สภาวะทางอากาศ สภาพของเครื่องยนต์

"สาเหตุที่ต้องกำหนดอายุรถ ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุมาจากคนขับ แต่เนื่องจากสภาพรถเก่ามีอายุมาก จึงส่งผลให้ความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น หากประสิทธิภาพรถอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ชำรุด หรือผุพัง จะสามารถลดความรุนแรงนั้นได้" นายพิชัย กล่าว

รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางบกแจ้งว่า คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ได้กำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทาง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและรักษาคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยกำหนดให้รถตู้โดยสารประจำทางมาตรฐาน 2 (จ) มีอายุใช้งานไม่เกิน 10 ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ส่วนผู้ประกอบการขนส่งที่ใช้รถอายุเกินกว่า 10 ปี ที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ ได้รับการผ่อนผันให้ดำเนินการจัดหารถมาเปลี่ยนแทนคันที่หมดอายุภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2553

ทั้งนี้มาตรการกำหนดอายุการใช้งานของรถตู้โดยสารประจำทางนอกจากจะช่วยสร้างความสะดวกและความปลอดภัยต่อผู้โดยสารแล้ว ยังช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากสภาพความไม่มั่นคงแข็งแรงของรถโดยสารด้วย เพื่อช่วยยกระดับการให้บริการของรถตู้โดยสารประจำทาง ถ้าพบเห็นรถตู้โดยสารที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการ สามารถร้องเรียนได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ หมายเลข 1584

จากการตรวจสอบรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่ตัวแทนบริษัทโพธิ์ทอง (2505) จำกัด เข้าร่วมสัมมนาแต่อย่างใด

สำหรับกรณีอุบัติเหตุรถโพธิ์ทองยางแตกพื้นทะลุ จนนักศึกษาตกลงมาเสียชีวิต 2 ศพ เป็นข่าวที่ "โฟกัสภาคใต้" เกาะติดมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับจัดสัมมนาระดมความเห็นที่โรงแรมไดอิชิ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งหนึ่งข้อเสนอของที่สัมมนาในคราวนั้น คือ ให้มีการกำหนดอายุการใช้รถโดยสารสาธารณะ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของหนังสือพิมพ์โฟกัสภาคใต้มาตั้งแต่เริ่มต้นนำเสนอข่าวนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
OutRun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 26/05/2006
Posts: 1187

PostPosted: 20/08/2009 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

chy wrote:
ผมก็สงสัยมานานแล้วเหมือนกัน ระหว่างภาพครั้ง ร.6 ประพาสเมืองสงขลาหลังสถานีรถไฟ ทำไมดินสูงเท่ากับตัวอาคาร แต่สมัยปัจจุบัน พ้นที่หลังอาคาร จึงต่ำลงเท่ากับพื้นที่เมืองทั้งเมืองเลยครับ

เอ..? จะเป็นไปได้ไหมครับว่าภาพที่เห็นอาจจะเป็นที่สถานีกันตัง
_________________
นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/08/2009 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

นำภาพมาให้พิจารณากันอีกครั้งครับ

หลังสถานีรถไฟกันตังในปัจจุบันครับ
Click on the image for full size

หลังสถานีรถไฟสงขลาปัจจุบันครับ
Click on the image for full size

ภาพถ่ายในอดีต
เมื่อครั้ง ร.6 เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ.2458

Click on the image for full size
ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กระจก 94-9 ลงพิมพ์ในหนังสือสมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ โดย คุณเอนก นาวิกมูล เมื่อ พ.ศ. 2536
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
chy
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 04/07/2008
Posts: 33

PostPosted: 20/08/2009 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

ดูยังไงๆ ก็สถานีสงขลาครับ คุณ outrun

แล้วเรื่อง รถโพธิ์ทองผมยังจำได้ครับ อ.เอก ผมก็หวังว่า มันจะทำให้เกิดกระแสการเดินรถไฟขึ้นมาใหม่อีกครั้งครับ
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
nakhonkup
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/10/2009
Posts: 10
Location: nakhon si thammarat-bangkok

PostPosted: 02/10/2011 3:13 pm    Post subject: Reply with quote

นั่งชมภาพ และอ่านความรู้เกือบๆชั่วโมงเต็ม

ได้ความรู้ทางรถไฟสายสงขลามากๆครับ

ตัวอาคารสถานีรถไฟสงขลา น่าไปเยี่ยมชมและติดตาม

หาความรู้มากครับ
_________________
หนุ่มเมืองลิกอร์.http://goo.gl/pYydp
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2011 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจครั้งนี้ ผมชอบมากครับ
ได้เจอขอบบ่อวงเวียนกลับรถจักรของสงขลา ที่ซ่อนอยู่กลางชุมชนแออัด
และได้เจอแป้นปะทะของทางรถไฟสายทางแยกทะเลสาบ อยู่ในบ้านของชาวบ้าน
ถ้าไม่ได้คุณเจฟและป้าติ๋วเป็นเพื่อน คงไม่กล้าเข้าไปคนเดียว

เสียดายที่ระยะหลัง ป้าติ๋วมีภารกิจมากขึ้น กับตำแหน่งหัวหน้างานนโยบายและแผน
เลยไม่ค่อยมีเวลาออกสำรวจทางรถไฟเหมือนเมื่อก่อน

ขอบคุณป้าติ๋วเจ้าของกระทู้และคุณนาครที่เข้ามาชมครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2011 12:10 am    Post subject: Reply with quote

นิตยสาร ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ (ปกเป็นรูป มะพร้าวผ่าซีก) ฉบับที่วางแผงอยู่ตอนนี้
คอลัมน์ เที่ยวเมืองไทยกับนายรอบรู้: สงขลา หน้า ๑๘๔
ตอน นั่งรถไฟ...ไปใ้ห้ทันพระอาทิตย์ตก
เรื่อง: วีรวรรณ ภิญญรัตน์ ภาพ: วิจิตต์ แซ่เฮ้ง

Quote:
ขบวนรถไฟไปดูพระอาทิตย์ตกที่ให้ความสบายในราคาสมน้ำสมเนื้อ และเวลาถึงก็เหมาะแก่การ
ไปเที่ยวต่อได้อีกทั้งวัน เป็นรถเร็วขบวน ๑๗๑ ออกจากกรุงเทพฯ เวลา ๑๓.๐๐ น. กำหนดถึงหาดใหญ่
๐๕.๕๒ น. ถ้าคิดเผื่อรถไฟเสียเวลา อย่างเร็วเราน่าจะถึงจุดหมายราวหกโมงเช้า รวมแล้วต้องอยู่
บนรถไฟ ๑๗ ชั่วโมงเลยทีเดียว

เวลาเดินทาง ๑๗ ชั่วโมง ถ้าหาสมัครพรรคพวกได้มากเกิน ๔ คน ๑๗ ชั่วโมงนั้นก็อาจสั้นมาก
แค่กลางคืนขึงม่านแล้วมานั่งรวมกันบนที่นอนเดียว เล่าเรื่องสยองขวัญจบ ๓ เรื่อง
รถไฟก็วิ่งไปได้ระยะโขแล้ว

แต่หากไม่มีเพื่อนร่วมทาง เวลา ๑๗ ชั่วโมงนี้ก็มีค่า ด้วยเราได้อยู่กับตัวเราเอง แม้บางขณะ
บรรยากาศรอบตัวจะโหวกเหวก ทว่ากระแสความคิดของเรายังคงเดินทางจนได้คำตอบบของสิ่งที่ค้นหรา...
สถานีรถไฟสงขลาถูกยุบเลิกไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑ รถไฟจึงไปจอดให้เราลงที่สถานีหาดใหญ่
จากจุดนั้นเรา่รอต่อรถสองแถวมุ่งเข้าเมืองสงขลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2012 11:37 am    Post subject: Reply with quote

ชมภาพการสำรวจทางรถไฟสายสงขลา โดยคุณ mirage_II ได้ที่นี่ครับ
ทริปล่องใต้ตามรอยรถไฟฯ ตอนที่ 9 ชมเทศกาลโคมไฟหาดใหญ่ พักเมืองสงขลา ตามรอยรถไฟในอดีต

ตามรอยรถไฟฯ ตอนที่ 10 สถานีรถไฟสงขลาในวันนี้ ขึ้นลิฟท์เขาตังกวน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 46865
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2013 9:42 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพสะพานข้ามคลองสำโรง บนทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา โดยเฮียใช้
ถ่ายเมื่อ 10 ก.พ. 2551 ครับ จากกระทู้
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1782&postdays=0&postorder=asc&start=60
heerchai wrote:
Click on the image for full size
ถ่ายด้านข้างให้เต็มตาเลย ด้านเดียวครับ ฝั่งอีกด้านปลูกบ้านชิดสะพาน หมดหวัง Sad

ผ่านไป 5 ปีกว่า สภาพคลองสำโรงในปัจจุบันครับ ภาพโดย อ.ประจำ ส่องศรี พี่ชายผม
ถ่ายเมื่อ 18 ต.ค. 2556

สะพานแผงขึนข้ามคลองสำโรง ทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลา กม. 954+178.00
มองจากฝั่งตำบลบ่อยางไปทางตำบลเขารูปช้าง 18 ต.ค. 56 ภาพโดย ประจำ ส่องศรี
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 32, 33, 34  Next
Page 33 of 34

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©