View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 04/09/2009 11:58 pm Post subject: |
|
|
ตั้งแต่บางบัวทองเป็นต้นไป จนถึงวัดบวรมงคล
แนวคันทางส่วนมากเกือบ 100% มีการสร้างถนนทับไปแล้ว
โดยเฉพาะถนนบางกรวย-ไทรน้อย ซึ่งสร้างในราว พ.ศ. 2503
(ช่วงระแหง-บางบัวทองนั้น ในปี พ.ศ. 2516-2518 ส่วนมากยังไม่มีการทำถนนทับ จึงมองเห็นคันทางกลางทุ่งนาได้ชัดเจน หลายส่วนยังมีคันทางเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ ดังที่เคยเก็บภาพมาให้ชมกันก่อนหน้านี้แล้วครับ)
ดังนั้นสำหรับเส้นทางช่วงบางบัวทองลงไปทางทิศใต้ ภาพถ่ายทางอากาศปี 2516-2518 อาจจะไม่ช่วยในการตามหาแนวคันทางได้มากเท่าไหร่ และอาจเกิดข้อผิดพลาดด้วย
ผมจึงประสานงานกับกรมแผนที่ทหาร จัดซื้อภาพถ่ายทางอากาศที่เก่าที่สุด
เท่าที่หาได้ในปัจจุบัน
นั่นคือภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 ในโครงการ World Wide Survey (W.W.S.) ครับ
ขณะนี้ได้ภาพถ่ายมาแล้วจำนวน 5 ภาพ ครอบคลุมตั้งแต่ลาดหลุมแก้วถึงบางยี่ขันครับ
จะได้นำเสนอต่อไปครับ |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 05/09/2009 12:08 am Post subject: |
|
|
ว้าว...
ติดตามชมต่อครับ... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/09/2009 12:16 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณครับ
ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 นี้
สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถ่ายให้ครับ โดยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ
เขียนไว้ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 12 ดังนี้ครับ
Quote: | มีการลงนามในสัญญาลงวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนั้น สาระสำคัญมีว่า ทางสหรัฐอเมริกาจะจัดการถ่ายรูปทางอากาศประเทศไทยทั้งหมดให้ ส่วนงานทางพื้นดินเป็นหน้าที่ของไทย
ทางสหรัฐอเมริกาได้ว่าจ้างบริษัทถ่ายรูปที่มีชื่อเสียงดี เพื่อใช้ทำแผนที่ทางอากาศ ให้เข้ามาทำการนี้ในนามของ บริษัทเวิรลด์ ไวด์ เซอร์เวย์ (World Wide Survey; WWS) ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยร่วมทุนกันระหว่างบริษัทแฟร์ไชลด์ แอเรียล เซอร์เวย์ (Fairchild Aerial Survey) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอสแองเจลีส (Los Angeles) และบริษัทแอโร เซอร์วิซ คอร์ปอเรชัน (Aero ServiceCorporation) สำนักงานใหญ่อยู่ที่ฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia)
ใช้เครื่องถ่ายแบบแฟร์ไชลด์ (Fairchild) และเครื่องบินโบอิง ๑๗ (Boeing 17) และ ภายหลังใช้บีชคราฟต์ (Beechcraft) ในการดำเนินงาน ใช้สำนักงานที่ถนนราชดำเนินนอก บริษัทนี้ได้ถ่ายตั้งแต่เหนือลงมาใต้ทั้งหมดถึงละติจูด ๑๑° ๔๕'ในชั่วเวลาไม่นาน
ส่วนบริเวณใต้ละติจูด๑๑° ๔๕'ลงไป สภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวยไม่สามารถถ่ายรูปได้ ต่อมาได้มีข้อตกลงกับทางสหรัฐฯ ที่จะรวบรวมเขียนแผนที่และพิมพ์ขึ้นเป็นแผ่นแผนที่ใช้ระวางขนาด ๑๐'x ๑๕' แทนที่จะเป็น ๑๐' x ๑๐'และให้ใช้อักษรทั้งไทยและอังกฤษ ทางสหรัฐฯ เป็นฝ่ายรวบรวมเขียนรายละเอียดในแผนที่ และจัดพิมพ์ขึ้นก่อน เพราะมีเครื่องมือเครื่องใช้บริบูรณ์ ฝ่ายเราต้องรวบรวมข้อมูลที่ต้องใช้ส่งไปให้
ในการนี้ทางกรมแผนที่ได้ส่งนายทหารไปประจำกับทางฝ่ายสหรัฐฯ เป็นผู้ประสานงานเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว โดยไปประจำอยู่คราวละ ๑ ปี แล้วส่งคนใหม่ไปแทนบางทีก็ต้องส่งไป ๒ คน ไปประจำทำหน้าที่ประสานงานที่วอชิงตันด้วยอีกคนหนึ่ง เริ่มส่งไปคนแรก ๑ คน ที่หน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐฯแห่งตะวันออกไกลเมืองโตเกียว (U.S. Army Map Service, Far East Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ. ๒๔๙๘ และเลิกส่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕
งานบินถ่ายรูปที่เหลือค้างอยู่ในเวลานั้นระหว่างแนวพรมแดนไทย-มาเลเซีย ถึงละติจูด ๑๑° ๔๕'เหนือ ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคี ขององค์การสนธิสัญญาร่วมป้องกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.) ได้ติดต่อขอให้อังกฤษช่วยทำการบินถ่ายรูปให้
โดยกองทัพอากาศอังกฤษ ได้ใช้เครื่องบินแคนเบอร์รา (Canberra) ถ่ายด้วยกล้องที่มีความยาวโฟกัส ขนาด ๖ นิ้ว ๒๐ นิ้ว และ ๓๖ นิ้ว รวม ๗ กล้อง ถ่ายเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ รูปถ่ายที่ใช้กล้องความยาวโฟกัส ๖ นิ้ว มีมาตราส่วนประมาณ ๑:๖๐,๐๐๐ ซึ่งจะใช้ในการรวบรวมเป็นแผนที่ ยังไม่คมชัดเหมาะสมดีพอสำหรับวิธีโฟโตแกรมเมตรี ทางอังกฤษจึงได้บินถ่ายรูปให้อีกทั่วบริเวณตั้งแต่ละติจูด ๑๑° ๔๕'จนถึงพรมแดนมาเลเซีย
เมื่อเสร็จแล้ว อังกฤษยังได้ขยายความช่วยเหลืองานบินถ่ายรูปให้แก่ประเทศไทยทั่วบริเวณตั้งหมุดอยู่ที่เหนือละติจูด ๑๑° ๔๕ข ขึ้นไปจนเหนือสุด งานนี้ได้แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมแผนที่ได้ใช้รูปถ่ายเหล่านี้เป็นข้อมูลแก้ไขในรายละเอียดแผนที่ซึ่งได้จากการบินถ่าย พ.ศ. ๒๔๙๕ ทำให้แผนที่มีรายละเอียดถูกต้องมากขึ้น
ในการทำแผนที่มาตรฐาน ๑:๕๐,๐๐๐ ใต้ละติจูด ๗° ยังไม่ได้รูปถ่ายทางอากาศที่ดีพอจึงได้มีการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่กรมแผนที่กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้ เสนอให้มีการจัดทำสิ่งที่ใช้แทนแผนที่ของบริเวณใต้ละติจูด ๗° ได้ตกลงกันว่า จะต้องมีการบินถ่ายรูปหรือสำรวจทางอากาศ ทั่วบริเวณระหว่างละติจูด ๗° ลงไปจนถึงพรมแดนไทย-มาเลเซียขึ้นใหม่และผลิตแผนที่พิกโต การบินถ่ายรูปนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ ทางสหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยบินแวฟ ๖๑ (VAP-61 หรือHeavy Photographic Squadron) เข้ามาทำการบินถ่ายรูปบริเวณดังกล่าว กล้องถ่ายรูปที่ใช้มี ๒ แบบ คือ แบบซีเอ-๑๔ (CA-14) ความยาวโฟกัส ๖ นิ้ว และแบบเคเอ-๔๗เอ (KA-47a) ความยาวโฟกัส ๑๒ นิ้ว ใช้ทำแผนที่รูปถ่ายมาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐
ขณะที่สหรัฐฯ ทำการบินถ่ายรูปเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๙ กรมแผนที่กำลังดำเนิน การแก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ ขนาด ๑๐' x ๑๕' ที่ปกคลุมเหนือพื้นที่ละติจูด ๗° เพื่อให้โครงการแก้ไขแผนที่ ๑:๕๐,๐๐๐ เสร็จในเวลาอันสั้นทางฝ่ายสหรัฐฯ ได้ตกลงบินถ่ายรูปบริเวณที่เหลือของประเทศทั้งหมด รูปถ่ายทางอากาศชุดนี้จึงเป็นข้อมูลที่ทันสมัย
ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนขนาดระวางแผนที่จากขนาดเดิม ๑๐' x ๑๕' เป็นขนาด ๑๕' x ๑๕' และชื่อชุดระวางจึงเปลี่ยน จากแอล ๗๐๘ (L 708) เป็น แอล ๗๐๑๗ (L 7017) จำนวนระวางแผนที่เดิม ๑,๒๑๖ ระวาง จึงได้ ลดลงเหลือ ๗๗๒ ระวาง
การดำเนินงานเปลี่ยนขนาดระวางแผนที่นี้ได้ดำเนินการจนเสร็จตามภารกิจของกรมแผนที่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ รวม ๕๐๐ ระวาง ส่วนที่เหลือนั้นดีเอ็มเอ (Defense Mapping Agency; DMA) สหรัฐฯ เป็น ผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีการโอนแผนที่ชุดแอล ๗๐๑๕ แอล ๗๐๑๖ (L 7015, L 7016) ซึ่งเป็นแผนที่เขตแดน ไทย-ลาว และไทย-กัมพูชาอีก ๕๘ ระวางเข้าในชุดแอล ๗๐๑๗ ดังนั้นแผนที่ครอบคลุมประเทศไทยทั้งสิ้นจึงเป็น ๘๓๐ ระวาง |
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/09/2009 12:25 am Post subject: |
|
|
ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 นี้ มีความละเอียดไม่มาก คือ 1:50,000
คงเป็นเพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา ถ่ายให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
(สุดท้ายก็ไม่สำเร็จ ขาดภาคใต้ที่อากาศแปรปรวนครับ)
ส่วนภาพถ่ายปี 2516-2518 มีความละเอียด 1:15,000
เป็นงานที่กรมที่ดิน ลงทุนจัดซื้อเครื่องบินให้กรมแผนที่ถ่ายทั่วประเทศครับ
กว่าจะเสร็จใช้เวลาหลายปี
สามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน จะเปรียบเทียบให้ชมครับ
ภาพถ่ายปี 2495 บริเวณปลายรางรถไฟสายบางบัวทอง ที่ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/09/2009 11:14 am Post subject: |
|
|
ภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 ของกรมแผนที่ทหาร
โครงการ WWS ม้วน M7 AMS 28 รหัสภาพ 819
ถ่ายเมื่อ 28 Dec 1952
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/09/2009 11:30 am Post subject: |
|
|
จากภาพถ่ายทางอากาศปี 2495 เปรียบเทียบกับแผนที่ปี 2478
ทำให้ทราบว่า ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ยังไม่ได้สร้าง
มองเห็นคันทางรถไฟอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ บริเวณตลาดสด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอาคารสถานีบางบัวทอง
ยังไม่มีการสร้างอาคารพาณิชย์
ภาพขยายครับ
ลูกศรชี้แสดงตำแหน่งที่ตั้งของอาคารสถานีรถไฟบางบัวทอง
(ถ่ายหลังจากเลิกกิจการแล้ว 9 ปี)
แต่ตัวอาคารยังอยู่
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46660
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 05/09/2009 11:40 am Post subject: |
|
|
ภาพถ่ายทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร
โครงการ น.ส.3 รหัสภาพ E25-216
ถ่ายเมื่อ 18 Dec 1975
(32 ปี หลังเลิกกิจการรถไฟสายบางบัวทอง)
พื้นที่ตลาดสด กลายเป็นอาคารพาณิชย์ไปแล้ว
และมีการสร้างถนนบางกรวย-ไทรน้อย ทับแนวคันทาง
ด้านบนของภาพ ถนนเส้นนี้เลี้ยงซ้ายไป อ.ไทรน้อย
ส่วนแนวคันทางเดิมที่มุ่งไประแหง มีการปรับปรุงเป็นถนนลูกรัง
|
|
Back to top |
|
|
|