View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 13/09/2009 3:46 pm Post subject: Karnataka Express |
|
|
เมื่อนักศึกษาหนุ่มจากสยามประเทศต้องข้ามเขตไปศึกษา ณ แดนไกล รถไฟเป็นพาหนะหนึ่งซึ่งเขาเลือกใช้ในการเดินทางในต่างแดน
รถไฟเริ่มออกจาสถานีด้วยตั๋วรถไฟตัจกาล ประมาณทุ่มยี่สิบนาทีจากสถานีใหญ่ในเมืองบังกาลอร์ ไปสู่เมืองหลวงของประเทศในดินแดนภารตะนคร ราคาตั๋วสลิปเปอร์พัดลมก็ประมาณห้าร้อยห้าสิบบาท ส่วนค่าตัจกาลประมาณร้อยห้าสิบหรือเกือบสองร้อย ตามแต่เอเย่นต์แต่ละร้านจะเรียกขอกัน ตัจกาลคือที่นั่งสำรองพิเศษไว้สำหรับคนที่ตกหล่น ในการจองตั๋วล่วงหน้าหรือมีเหตุต้องเดินทางเร่งด่วน การจองสามารถจองได้จากตัวแทนขายทุกที
หมายเหตุ
1 สลิปเปอร์พัดลม น่าจะหมายถึง ตู้นอนพัดลม
2 ตัจกาล ดูคล้ายๆ ตั๋วผีหน้าโรงหนัง หรือหน้าสนามฟุตบอลยังไงไม่รู้
ที่มา : หนังสือพิมพ์ สมิหลาไทมส์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 381 ประจำวันที่ 5-11 กันยายน พ.ศ.2552 www.samilatimes.co.th |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 13/09/2009 3:51 pm Post subject: |
|
|
วันก่อนได้แลกเปลี่ยนกับคนวัยกลางคน แกเดินทางมากับน้องสาวของแก แกถามข้าพเจ้าว่ามาจากไหนกัน บ้านอยู่ที่ไหน มาทำอะไรที่นี่ เมื่อแกรู้ว่าข้าพเจ้ามาจาก
ประเทศไทย แก็เลยถามว่า"ที่ประเทศไทยนะ มีรถไฟแบบนี้ไหม" ข้าพเจ้าก็เอาแต่นิ่งเงียบ ยิ้มโดยไม่ตอบอะไร แค่นั้นยังไม่พอ เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้าใส่เสื้อยืดสีขาว เขาถามว่า "ที่เมืองไทยมีเสื้อยืดแบบนี้ขายไหม" "ที่เมืองไทยเวลากลับไปกับรถไฟได้ใช่ไหม เพราะมีคนเคยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบัสใช้เวลาเดินทางแค่สี่ถึงห้าวันเอง ทำไมคนไทยถึงไม่กินโรตี รู้จักไก่หรือเนื้อไหม และแกงดาลหรือ ซับยี มีไหมที่ไทย ประเทศไทยไม่มีมหาวิทยาลัยแน่เลย ทำให้คนไทยมาเรียนที่นี่" นี่คือความรู้และการพูดแบบเชิงปราชญ์ของคนที่นี่ ส่วนใหญ่นิสัยก็ไม่ต่างกัน เป็นอย่างนี้เกือบทุกคน คำถามแต่ละอย่างข้าพเจ้าไม่คิดเลยว่า เขาจะถามออกมาได้ ข้าพเจ้าจึงเริ่มที่จะอาย ไม่ใช่เพราะคำตอบ แต่ที่อายมากกว่าเพราะคำถามนั่นเอง
สำหรับชั้นวีไอพี หรือชั้นที่ทุกคนเรียกติดปากว่า เอซีบ้าง หรือสตาปดี รถไฟชั้นนี้หรือขบวนนี้มีบริการดีกว่าเครื่องบินเสียด้วยซ้ำไป แอร์เย็นสบาย มีอาหารบริการตลอดเวลา มีเจ้าหน้าที่พนักงานคอยให้เรียกใข้เมื่อจำเป็น รถขบวนนี้จะไม่เสียเวลาแม้แต่เสียววินาทีเดียว
ที่มา หนังสือพิมพ์สมิหลาไทมส์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 382 ประจำวันที่ 12-18 กันยายน พ.ศ.2552 www.samilatimes.co.th
Karnataka Express
http://en.wikipedia.org/wiki/Karnataka_Express
Karnataka Express: A journey called Chhuk Chhuk!
http://a-chandra.blogspot.com/2005/02/karnataka-express-journey-called-chhuk.html
Karnataka Express/2627
http://indiarailinfo.com/train/919/136/139 |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 13/09/2009 10:01 pm Post subject: |
|
|
ผมเคยอ่านเรื่องท่องเที่ยวทางรถไฟในอินเดียสมัยก่อนว่า รถนั่งปรับอากาศของรถไฟอินเดียนั้น ตามสถานีใหญ่ๆ จะมีพนักงานรอใส่น้ำแข็งเป็นกั๊กในช่องใต้โบกี้รถเพื่อทำความเย็นในรถด้วยสิ
หรือว่าเป็นเรื่องโบราณไปแล้วครับ ? คุณมิ๊งค์ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 46894
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 14/09/2009 8:50 am Post subject: |
|
|
ขอบคุณพี่มิ้งมากครับ
รออ่านสัปดาห์หน้าต่อนะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43732
Location: NECTEC
|
Posted: 14/09/2009 9:15 am Post subject: |
|
|
คุณมิ้งน่าจะย้ายเรื่องนี้ไปหมวด รถไฟต่างประเทศจะเหมาะสมกว่านะครับ
แต่ผู้เขียนน่าจะลองนั่งด่วนราชธานี ที่ ด่วนจริงๆ เพราะ วิ่งจาก นครใหญ่ทั้ง 4 มุม คือ
1. มุมไบ
2. นิวเดลี
3. โกลกัตตา
4. เชนไน
หรือ ไปเมืองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด่วนราชธานีสาย ไป คุวาฮาตีในรัฐอัสสัม
โดยไม่จอดป้ายที่ไหนเลย (เว้นแต่จะจอดทางเทคนิคเท่านั้น) |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 14/09/2009 10:19 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | คุณมิ้งน่าจะย้ายเรื่องนี้ไปหมวด รถไฟต่างประเทศจะเหมาะสมกว่านะครับ
แต่ผู้เขียนน่าจะลองนั่งด่วนราชธานี ที่ ด่วนจริงๆ เพราะ วิ่งจาก นครใหญ่ทั้ง 4 มุม คือ
1. มุมไบ
2. นิวเดลี
3. โกลกัตตา
4. เชนไน
หรือ ไปเมืองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด่วนราชธานีสาย ไป คุวาฮาตีในรัฐอัสสัม
โดยไม่จอดป้ายที่ไหนเลย (เว้นแต่จะจอดทางเทคนิคเท่านั้น) |
ขอบคุณครับ
ผมดูแล้ว เห็นว่าไม่เข้าเกณฑ์ ครับ เช่น เป็นเรื่องที่เขียนโดยสมาชิก และมีภาพประกอบ เป็น series
เคยดูในทีวีเห็นแต่รถที่เป็นปลากระป๋อง ไม่รู้มาก่อนเลยว่าที่อินเดียก็มีรถไฟเจ๋งๆ ด้วย |
|
Back to top |
|
|
rodfaithai
1st Class Pass (Air)
Joined: 10/07/2006 Posts: 1346
|
Posted: 14/09/2009 10:28 am Post subject: |
|
|
black_express wrote: | ผมเคยอ่านเรื่องท่องเที่ยวทางรถไฟในอินเดียสมัยก่อนว่า รถนั่งปรับอากาศของรถไฟอินเดียนั้น ตามสถานีใหญ่ๆ จะมีพนักงานรอใส่น้ำแข็งเป็นกั๊กในช่องใต้โบกี้รถเพื่อทำความเย็นในรถด้วยสิ
หรือว่าเป็นเรื่องโบราณไปแล้วครับ ? คุณมิ๊งค์ |
มีครับ ในภาพแรกไงครับ ถึงจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ใกล้เคียงครับ
"ลักษณะของคูลเลอร์ก็ทำแบบเรียบง่าย แต่ก็คงทนเหมาะกับช่วงหน้าร้อนเป็นไหนๆ เป็นกล่องสี่เหลี่ยมทำจากอลูมิเนียม ข้างล่างเป็นพื้นที่ว่างสำหรับเก็บน้ำ และด้านข้างของคูลเลอร์ดังกล่าวนี้มีพัดลม เพื่อที่จะพัดพากระแสน้ำไปสู่ช่องระบายออกมาเป็นแอร์น้ำโดยกระบวนการนำพาผ่านมอเตอร์ตัวเล็กๆ ที่ติดอยู่ที่เครื่องทำความเย็นดังกล่าว
ที่สำคัญอีกอย่างคือฟางแห้งเพื่อที่จะรักษาอุณหภูมิของน้ำและช่วยเก็บความเย็น ไว้ให้คงที่ เพื่อกั้นไม่ให้ลมพัดหายไปไหน"
เข้าใจว่าน่าจะมีการใส่น้ำแข็งลงไปด้วย
ทำให้คิดถึง รัสเซีย
สหรัฐทุ่มทุนเป็นพันล้านเพื่อวิจัย ปากกา สำหรับให้นักบินอวกาศใช้งานนอกโลก ในขณะที่นักบินอวกาศรัสเซีย ใช้ ดินสอ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 14/09/2009 4:09 pm Post subject: |
|
|
เรื่องนี้ ทำให้ผมคิดถึงเรื่องแนวคิดระหว่างชาวตะวันตกกับชาวตะวันออก ที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งได้รับเชิญมาปาฐกถาในวันเปิดประชุมวิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ฯ ไบเทค บางนา เมื่อช่วงเช้านี้เองครับว่า...
กองทัพม้าของกษัตริย์อเล็กเดอร์มหาราช ได้ประสบปัญหาในการเดินทางฝ่าดงหนามโดยม้าศึกไม่สามารถเดินผ่านได้สะดวก ทางแม่ทัพนายกองได้สั่งการให้ฆ่าสัตว์สี่เท้าทุกตัวที่เห็น เพื่อนำหนังมาปูทับพงหนามเพื่อให้ม้าศึกผ่านไปได้
ในขณะที่กองทหารได้ปฏิบัติตามคำสั่งอยู่นั้น พบฤาษีตนหนึ่งจึงได้ถามไถ่ขึ้น พอทราบเรื่อง ฤาษีได้กล่าวว่า ทำไมต้องฆ่าสัตว์ตั้งมากมายเพื่อนำหนังมาปูทับหนามขนาดนั้น แค่ฆ่าสัตว์ใหญ่เพียงไม่กี่ตัว ตัดเอาหนังมาหุ้มกีบเท้าม้าศึกตั้งไม่รู้กี่ตัว ซึ่งได้ผลทัดเทียมกัน
คิดแบบตะวันตกกับตะวันออก ไม่เหมือนกันจริงๆ นะครับ |
|
Back to top |
|
|
|