View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 13/12/2006 9:29 am Post subject: |
|
|
จริงด้วย ... ถ้ารักจะได้ทางรถไฟเชื่อมจาก มุกดาหาร ไป ขอนแก่น, ขอนแก่น ไป พิษณุโลก และ จากพิษณุโลก ไป แม่สอด ก็ควรจะเวนคืนที่ ไว้ให้ รฟท. และ ระดมเงืนออมเพื่อเสริมเงินกู้ยืมในการสร้างทางรถไฟหนะ ...
ไม่ระดมเงินออก แต่จะมาขอส่วนบุญแบบนี้ถือว่า ใช้ไม่ได้ เอาเลยทีเดียว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 09/05/2007 1:13 pm Post subject: |
|
|
กรณีการโต้วาทีระว่างรางมาตรฐานและราง 1 เมตรนั้น บริษัทรถไฟมาเลย์จำกัดได้ตอบจดหมายถึงผู้อ่านหนังสือพิมพ์ นิวสเตรตไทม์ ดังนี้
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 17/05/2007 11:21 am Post subject: |
|
|
"รถไฟฟ้า"...จำเป็นไม่อิงการเมือง
Bangkok Biznews 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 00:01:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อรวรรณ orawan_h@nationgroup.com
อาจดูรวบรัดไปหน่อยถ้าจะบอกว่า "โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่รัฐบาลควรทำ ต้องทำ โดยไม่ต้องอ้างอิงโอกาสทางการเมืองใดๆ" แต่มันคือข้อเท็จจริง แม้จะมีผู้กล่าวว่ารัฐบาลชั่วคราวชุดที่มาพร้อมกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งมีอายุเพียงปีเดียวนี้ ไม่สมควรหยิบยกมาทำ เพราะเป็นเรื่องของการลงทุนขนาดใหญ่
"รัฐบาลชั่วคราว เข้ามาเพื่อแก้วิกฤติการบริหารประเทศ ควรไปแก้เรื่องกฎหมายและการบริหารมากกว่าจะมามองเรื่องการลงทุน" แต่ถ้ามองในแง่ความจำเป็น...ระบบขนส่งมวลชนระบบรางนี้ หากทำได้เร็วเท่าใดยิ่งจะก่อประโยชน์มากเท่านั้น
ถ้าระบบรถไฟฟ้าดี ครอบคลุมเส้นทาง เชื่อมโยงระหว่างเมืองได้สะดวกสบาย เชื่อเถอะว่าจะมีคนอีกจำนวนมากหันมาใช้บริการ เพราะต้นทุนในการใช้รถส่วนตัวนับวันจะยิ่งสูงขึ้น ที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือรถติดเพิ่มขึ้นทุกวัน! เพราะประชากรรถใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว
ทุกยูนิตที่ขายได้ของรถยนต์ใหม่ คือดัชนีความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมา เมื่อคนซื้อรถส่วนตัวก็จะหันมาบริโภคน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพราะซื้อรถก็อยากขับไปไหนๆ หากเป็นการเดินทางไปเที่ยวพักผ่อนบางโอกาสก็ไม่แปลก แต่การบริโภคน้ำมันในวิถีชีวิตประจำวัน การเดินทางซ้ำๆ เสียเวลากับการจราจรที่ติดขัดทุกเช้า-ทุกเย็น ใช้รถไม่คุ้มกับพลังงานที่สูญเสีย
หลายคนอาจแย้งว่า ไม่แปลกใจในเมื่อเขามีรายได้มากพอที่จะซื้อน้ำมันมาเติมเพื่อขับรถเล่นทั้งวันก็ได้...นั่นก็จริง แต่มันไม่สมเหตุสมผล เพราะถ้าเลือกได้ เราไม่ควรบริโภคน้ำมันให้สิ้นเปลือง เพื่อการเดินทางของคนเพียงคนเดียว หรือคนไม่กี่คนต่อเที่ยวการเดินทาง
"แม้คุณจะมีเงินมากพอสำหรับการจ่าย แต่ถามว่าคุณชดเชยให้ประเทศชาติ กรณีต้องนำเข้าน้ำมันมาให้คุณบริโภคเกินจำเป็นอย่างไรบ้าง...ก็คงตอบด้วยเหตุผลไม่ได้"
แต่ทุกครั้งที่พูดถึงโครงการรถไฟฟ้า ก็มักจะตามมาด้วยคำถามและข้อโต้แย้ง จะเอาเงินทุนจากไหนมาสร้าง จะสร้างแล้วคุ้มทุนไหม...อยากให้ภาครัฐมองว่า มันเป็นต้นทุนเรื่องคุณภาพชีวิตประชาชน ยอมจ่ายครั้งแรกแพงหน่อย แต่คุณภาพชีวิตดีขึ้น จัดการระบบระเบียบเมืองได้มากขึ้น ลดการบริโภคพลังงานจากคนใช้รถส่วนตัวลงได้ มองอย่างไรก็น่าจะคุ้ม
ขอแสดงความเห็นในฐานะประชาชนคนหนึ่งว่า...อยากเห็นที่สุด ณ วันนี้ คือ โครงการรถไฟฟ้าที่เป็นรูปธรรม วางแผนที่รัดกุมลงมืออย่างจริงจัง มีกรอบเวลาชัด 2-3 ปีต้องได้ใช้ครอบคลุมจุดเชื่อมต่อเมืองสำคัญ โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ กับสนามบินดอนเมือง และเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟฟ้าเดิม รวมถึงเปิดพื้นที่สู่ฝั่งธนบุรี เพิ่มเติมจากระบบเดิม ที่สั้นจนเกือบจะเหมือนรถไฟลอยฟ้าในสวนสนุก
รถไฟฟ้าในเส้นทางสายสีแดง ที่รัฐบาลกำลังผลักดันอยากเรียกร้อง ให้ได้เริ่มต้นในรัฐบาลชุดนี้ ข่าวล่าสุดที่ว่า ผู้แทนธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) จะเข้ามาประเมินโครงการ เพื่อพิจารณาปล่อยเงินกู้ให้ไทยในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ซึ่งอาจต้องมีการปรับเงื่อนไขการประมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง จากนั้นเจบิคจึงจะพร้อมปล่อยกู้
หวังเหลือเกินว่า จะได้เห็นโครงการนี้เริ่มต้นเสียที ไม่เช่นนั้นเราคงต้องเผชิญปัญหา วิกฤติจราจร วิกฤติพลังงาน วิกฤติโลกร้อน วิกฤติอะไรอีกจิปาถะ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 21/06/2007 6:41 pm Post subject: |
|
|
ทั้งโลกเขาพัฒนารถไฟกันแล้ว !!
โดย สมเกียรติ พงษ์กันทา ที่ปรึกษาบริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ : เรียบเรียง
มติชน - 21 มิถุนายน 2550
เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกเมื่อวันที่ 3 เมษายนศกนี้ ว่ารถไฟความเร็วสูงทีจีวีของฝรั่งเศส ได้ทำสถิติความเร็วสูงสุดใหม่ที่ 574.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระหว่างเมืองสตราสบูร์กและกรุงปารีส จากความเร็วสูงสุดเดิมที่ 515 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สถิติใหม่นี้เป็นประสบการณ์ที่เพิ่งผ่านการพิสูจน์ของการขนส่งมวลชนระบบราง ทำให้หลายประเทศที่ตั้งใจจะสร้างและขยายเครือข่ายรถไฟฟ้าระบบแมกเลพที่วิ่งด้วยพลังแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อแข่งกับการเดินทางทางอากาศลดลงไปมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ และความใหม่ของเทคโนโลยี รวมทั้งราคาที่สูงมากของระบบแมกเลพ ทุกประเทศรวมทั้งจีนจึงหันมาให้ความสนใจในระบบรางความเร็วสูงมากขึ้น
นอกเหนือไปจากประเทศอื่นๆ ที่มีรถไฟความเร็วสูงอยู่แล้ว เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี อิตาลี สเปน อังกฤษ สวีเดน เกาหลี สหรัฐอเมริกา เนเธอรแลนด์ ไต้หวัน และล่าสุด ที่อาร์เจนตินา ซึ่งกำลังเปิดซองประมูลราคาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกระหว่างเมืองบูโนสไอเรส และโรสซาริโอ กำหนดความเร็วเฉลี่ยที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสูงสุดได้ที่ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เทคโนโลยีของอัลสตอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตทีจีวี ที่วิ่งอยู่ในฝรั่งเศส
เมื่อนายกรัฐมนตรีไทยไปเยื่อมประเทศจีน ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีการคุยกันถึงการเชื่อมต่อทางรถไฟของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งมีประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่
ในขณะเดียวกันนี้สหภาพรถไฟนานาชาติ ชื่อยูไอซี (Union Internationale des Chemins de Fer, UIC) ก็กำลังปรับแผนแม่บทของการขนส่งทางรางอยู่ขยายไปจนถึง ค.ศ.2025 (พ.ศ.2568) เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อถึงเวลาอีก 16 ปี ข้างหน้านั้นจะมีเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีประชากรระหว่าง 15 ถึง 20 ล้านคน เพิ่มขึ้นอีกรวมแล้วถึง 20 เมือง และ 17 เมืองในนั้นจะอยู่ในทวีปเอเชียรวมกรุงเทพฯด้วย รวมประชากรที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด 750 ล้านคนนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่กันในเมืองอย่างแออัด
การประชุมของกลุ่มภูมิภาคเอเชีย (The Asian Regional Assembly) ที่กรุงเดลีเมื่อเร็วๆ นี้ได้คุยกันถึงแผนการเชื่อมต่อทะเลโดยรถไฟจากประเทศจีนผ่านนอร์เวย์ไปตามฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของแถบอเมริกาเหนือ เรียกโครงการนี้ว่า นอร์ธเทิร์นอีสเวสท์ หรือ นิว (The Northern East West, NEW) ซึ่งทำท่าว่าจะเป็นความคืบหน้าเพราะมีธุรกิจสั่งสินค้าใหญ่ๆ ของสหรัฐให้การสนับสนุน เช่น วอลมาร์ท (Walmart) และ ไอเคีย (Ikea) ซึ่งสั่งซื้อสินค้าจากภาคตะวันออกไกลเป็นจำนวนมาก
ถึงแม้การขนส่งสินค้าทางรถไฟใช้เวลาน้อยกว่าการขนส่งทางเรือแต่ราคาค่าขนส่งจะสูงกว่าทางเรือ ซึ่งยังทำให้เป็นปัญหาต่อผู้สั่งสินค้า
ตัวอย่างของเมื่อปีที่แล้ว รัสเซียได้ขึ้นภาษีค่าขนส่งสินค้าของรถไฟสายทรานส์ไซบีเรียเท่าตัว ทำให้ปริมาณสินค้าลดลงทันทีจากปีละ 100,000 ตัน เหลือเพียง 8,000 ตันต่อปี รถที่เคยเดินวันละขบวนลดลงเหลืออาทิตย์ละขบวน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากเกาหลีไปฟินแลนด์
โครงการ "นิว" นี้ จะพยายามลดค่าขนส่งเพื่อแข่งกับการขนส่งทางเรือซึ่งมีปริมาณเรือเดินสมุทรใหม่ๆ เพิ่มเข้าประจำการเป็นจำนวนมาก
ข่าวที่น่าสนใจมากได้แก่กรณีที่อินเดียและจีนได้ตัดสินใจที่จะผลักดันโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟในส่วนของตนให้เดินหน้า เพื่อเป็นสะพานเชื่อมว่างเครือข่ายของสายทรานซ์เอเชี่ยนเรลเวย์ (The Trans-Asian Railway Network) ซึ่งมีช่องว่างที่ต้องเชื่อมต่ออยู่ 13 แห่ง ประมาณราคาค่าเชื่อมต่อช่องว่างทั้ง 13 แห่งนี้แล้วว่าต้องใช้งบฯ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ช่วงที่ค่อนข้างเป็นปัญหาคงจะเป็นส่วนที่ผ่านประเทศพม่า
สำหรับจีนนั้นเริ่มสร้างรางสายที่สองเข้าเวียดนามแล้ว เป็นรางกว้างขนาดมาตรฐาน และรวมทั้งเส้นทางเข้าประเทศลาวสำหรับการขยายเส้นทางระหว่างไทยและลาวกับเขมรนั้นก็รวมอยู่ในแผนนี้ด้วย โดยมาเลเซียจะบริจาควัสดุและอุปกรณ์ให้เขมรในการเชื่อมต่อทางรถไฟกับประเทศไทย ช่วงที่เหลือได้แก่ทางรถไฟระหว่างเขมรและลาวกับเวียดนาม และท้ายสุดคงเป็นการต่อเชื่อมรางระหว่างไทยกับพม่า
ด้านตะวันออกของเอเชีย อิหร่านมีแผนที่จะต่อเชื่อมรางกับปากีสถานในปีหน้า นอกจากแผนนี้แล้วอิหร่านยังมีโครงการที่จะทำทางรถไฟไปรัสเซียตามเส้นทางเลียบริมฝั่งตะวันตกของทะเลสาบแคสเปี้ยนที่เคยวางแผนไว้ให้แล้วเสร็จ ซึ่งจะสามารถนำสินค้าจากรัสเซียออกสู่ท่าเรือที่มหาสมุทรอินเดียได้ ความหวังนี้ค่อนข้างสดใสเพราะทั้งอินเดียและรัสเซียต่างก็มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
คุณลี ชุล ประธานบริษัทโคเรล (Korail) ของเกาหลี กล่าวในที่ประชุมกลุ่มภูมิภาคเอเชียที่กรุงเดลีว่า ถึงคราวแล้วที่เราจะต้องทำสิ่งนี้ให้สำเร็จเพื่อพวกเราเอง
มีข่าวโครงการที่จะเชื่อมทางรถไฟระหว่างทวีปเอเชียกับอเมริกาเหนือในรูปของกิจการค้าร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนของรัสเซีย (Public Private Partnership, PPP) เป็นคอนซอร์เตี้ยม (Russian Consortium) ประกอบไปด้วยทางรถไฟ 6000 กิโลเมตรจากรัสเซียไปอเมริกาเหนือ ผ่านอุโมงค์ลอดช่องแคบเบอริ่ง (Bering Strait) 100 กิโลเมตร เส้นทางนี้จะผ่านป่า ขุนเขา ธรรมชาติที่บริสุทธิ์แต่ไม่เป็นมิตรนักของไซบีเรีย อลาสกา และแคนาดา
โครงการนี้ได้ถูกนำเสนอในการประชุมโครงการขนาดใหญ่ของรัสเซีย ที่กรุงมอสโก เมื่อวันที่ 24 เมษายนศกนี้ ที่อุโมงค์ลอดช่องแคบเบอริ่งซึ่งมีมูลค่าประมาณ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐนั้นจะมีถนน ท่อส่งก๊าซ ท่อน้ำมัน สายสื่อสารใยแก้ว และสายส่งพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของโครงการใหญ่ซึ่งมีมูลค่าเงินลงทุนทั้งหมด 65 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การเชื่อมต่อทางรถไฟจะใช้งบฯ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อวางรางในรัสเซียจาก ประเวย่า ลีน่า (Pravaya Lena) ไปยังยูเลน (Uelen) ที่ช่องแคบเบอริ่ง ทั้งนี้ไม่รวมงบฯของรางประมาณ 2000 กิโลเมตร ในเขตของอเมริกาเหนือ ผ่านอลาสกา แคนาดาส่วนเหนือจนไปถึงฟอร์ทเนลสัน (Fort Nelson)
คำนวณกันว่ารถไฟสายนี้จะขนสินค้า 100 ล้านตันต่อปี สามารถที่จะจ่ายคืนค่าก่อสร้างใน 20 ปี และคาดว่าจะประหยัดค่าไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาและรัสเซียได้ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
โครงการนี้มีชื่อว่าทีเคเอ็มเวิลด์ลิ้งค์ (TKM-World Link Project) จะใช้เวลา 15 ปี ถูกนำเสนอโดยการรถไฟรัสเซีย การสาธารณูปโภคแห่งชาติ การพลังงานแห่งชาติ และบริษัทขนส่งทางท่อทรานสเน็พ (Russian Raliways RZD, National Utility, Unified Energy System, and Russian Pipeline operator"s Transneft)
โครงการนี้อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งถ้าสำเร็จก็น่าจะเป็นการแสดงออกถึงความกล้าหาญที่ยิ่งใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งเหนือกว่าอเมริกาและแคนาดา
เป็นที่น่าสนใจว่าเดือนตุลาคมนี้ สหภาพการรถไฟนานาชาติ ยูไอซี จะให้โครงการ "นิว" (NEW) ทดลองดำเนินงานส่งสินค้าโดยทางรถไฟและเรือ จากประเทศจีน ไปยังฝั่งตะวันออกของอเมริกาภาคเหนือ ผ่านประเทศนอร์เวย์ โดยให้คิดราคาต้นทุน โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อการนี้ประเภทค้าเพื่อไม่ทำกำไร (Not for Profit Company) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 21/06/2007 6:47 pm Post subject: |
|
|
บีที รูปแบบใหม่การลงทุนรถไฟฟ้า
โดย สามารถ ราชพลสิทธิ์ samart2000@hotmail.com
มติชน วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10694
ความล่าช้าในการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานของประเทศไทย มักจะมีปัญหาจากการขาดการบูรณาการในการวางแผน และปัญหาจากการหาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้าง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ทันกับความต้องการของประชาชน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ นานา
ที่เห็นได้ชัดก็คือปัญหาการจราจรจลาจล อันเป็นผลมาจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนล่าช้า
การศึกษาวางแผนและออกแบบระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาจราจร มีการกระทำกันมาหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก เสียทั้งเวลาและเงิน จนถึงเวลานี้มีการใช้จ่ายในการศึกษา วางแผน และออกแบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครแล้ว ประมาณ 3,000 ล้านบาท
เป็นเงินจำนวนมาก
การศึกษา วางแผน และออกแบบรถไฟฟ้า จำเป็นต้องมองให้รอบคอบทุกด้าน เพื่อให้ได้แบบแปลนที่ลงตัว พร้อมที่จะก่อสร้างได้
แต่ที่ผ่านมายังมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ แม้ว่าเราจะเสียเงินในการศึกษา วางแผน และออกแบบไปมากแล้วก็ตาม คนส่วนใหญ่ที่ติดตามข่าวเรื่องรถไฟฟ้า ที่มีข่าวว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย ระยะทางรวม 118 กิโลเมตร คงคิดว่าแบบรายละเอียดมีพร้อมแล้ว สามารถลงมือก่อสร้างได้ทันที
ซึ่งคิดผิด!
หลายสายยังไม่พร้อม บางสายยังต้องออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมอีก บางสายต้องมีการปรับปรุงแบบ เช่น มีการเพิ่มสถานี เป็นต้น
ยกตัวอย่าง รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งงานหลายแหล่ง อีกทั้งสถานีปลายทางคือ สถานีรังสิต เป็นศูนย์รวมของการขนส่งจากภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พูดได้ว่าสถานีรังสิตจะเป็นศูนย์รวมของการเดินทางจากชานเมืองตอนเหนือของกรุงเทพฯ เพื่อขนคนเข้าสู่ตัวเมือง
เส้นทางสายนี้ มีการออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว แต่มาเวลานี้กำลังจะมีการทบทวนปรับปรุงแบบโดยจะเพิ่มสถานีอีก 4-5 สถานี พร้อมทั้งจะปรับแก้แบบก่อสร้างสถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีสำคัญ ถือได้ว่าเป็นหัวใจของรถไฟฟ้าสายสีแดง ที่สถานีแห่งนี้ มีชานชาลา และรางจำนวนมาก เพื่อรองรับรถไฟฟ้าชุมชน (รถไฟชานเมือง) รถไฟทางไกล รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (ทำนองเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส) และแอร์พอร์ต ลิงก์ ที่จะเชื่อมโยงสนามบินสุวรรณภูมิ กับสถานีมักกะสัน
ในส่วนของชานชาลาและรางที่จะรองรับแอร์พอร์ต ลิงก์นั้น ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะมีการขยายเส้นทางแอร์พอร์ต ลิงก์ จากสถานีมักกะสันไปยังสถานีบางซื่อหรือไม่ ทำให้ขาดความชัดเจนในการออกแบบเพื่อก่อสร้างในส่วนนี้ของสถานีบางซื่อ การตัดสินใจที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็น หากไม่ออกแบบและก่อสร้างชานชาลาเพื่อรองรับแอร์พอร์ต ลิงก์ไว้เสียแต่วันนี้ การก่อสร้างในวันข้างหน้าก็จะทำได้ยาก
นอกจากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเรื่องขนาดความกว้างของรถไฟ ที่ผู้มีอำนาจหน้าที่บางคนต้องการเปลี่ยนขนาดของรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากความกว้าง 1.067 เมตร เป็น 1.435 เมตร ข้อดี-ข้อเสีย เรื่องความกว้างของรางระหว่าง 1.067 เมตร กับ 1.435 เมตร จำเป็นต้องพิจารณาให้รอบคอบ
เหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างของปัญหาที่รอการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งชี้ให้เห็นได้ว่าการจะเร่งลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ไม่สามารถกระทำได้ในเร็ววันนี้แน่นอน
นั่นเป็นสาเหตุจากความไม่แน่นอนของนโยบาย ทำให้ต้องมีการศึกษา วางแผน และออกแบบหลายครั้ง เป็นผลให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการก่อสร้าง
นั่นคือสาเหตุหนึ่ง แต่ยังมีสาเหตุที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนารถไฟฟ้า นั่นคือการหาเงินมาก่อสร้าง ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก
ที่ผ่านมา มีผู้มีอำนาจหน้าที่บางคนประกาศก้องว่า จะเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายบ้าง 5 สายบ้าง 7 สายบ้าง ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี โดยไม่ต้องห่วงเรื่องเงินในการก่อสร้าง สามารถหาได้แน่แต่จนแล้วจนรอด ชาวกรุงเทพฯ ก็ยังมีรถไฟฟ้าใช้แค่ 2 สายเท่าเดิม คือรถไฟลอยฟ้าบีทีเอส ระยะทาง 23.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทาง 20 กิโลเมตร เพียงเท่านั้น
ไม่มีเส้นทางใหม่เพิ่มขึ้น!
เราต้องยอมรับความจริงว่า เรามีปัญหางบประมาณที่จะจัดสรรสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า จึงต้องพึ่งพาเงินกู้ แหล่งเงินกู้ที่สำคัญของรัฐบาลไทยคือ เจบิก หรือธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เพราะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก คือแค่ 0.75% ต่อปีเท่านั้น
ถือว่าว่าต่ำที่สุดในโลก
แต่ใช่ว่าเจบิกจะอนุมัติเงินกู้ได้ง่ายๆ จะต้องมีการประเมินความเหมาะสมของโครงการทุกด้านอย่างรอบคอบ เพื่อลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้ของตน
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของเจ้าของแหล่งเงินทุน
ด้วยเหตุนี้ การจะหวังพึ่งพาเจบิกเป็นแหล่งเงินกู้หลัก ก็อาจทำให้ไม่สามารถพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
จึงควรมองหารูปแบบการลงทุนแบบอื่นมาช่วย
BT (Built-Transfer) เป็นรูปแบบหนึ่งที่น่าจะลองพิจารณา โดยมีแนวทางให้ผู้รับเหมาเป็นผู้หาเงินกู้เพื่อใช้ในการก่อสร้างด้วยตนเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จก็มอบงานให้แก่รัฐ หลังจากนั้นรัฐก็จะจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้รับเหมาตามระยะเวลา และเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้
แต่ที่ห่วงกันมากในการใช้ BT คือการหาแหล่งเงินกู้โดยภาคเอกชนหรือผู้รับเหมานั้น จะได้เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าการกู้โดยภาครัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคเอกชนจะไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเท่ากับการกู้จากเจบิกได้
แต่ถ้ามีการเปิดประมูลให้มีการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง ก็จะทำให้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์งานก่อสร้างรถไฟฟ้ามาก่อน และมีเครื่องจักรอุปกรณ์อยู่พร้อมแล้ว สามารถเสนอราคาที่ต่ำกว่าราคากลางได้มาก ในขณะเดียวกัน ผู้รับเหมาก็จะต้องพยายามหาแหล่งเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยไม่สูงมากนัก และมีเงื่อนไขอื่นที่เหมาะสมมาเสนอ
ดังนั้น ภาครัฐควรพิจารณาเปรียบเทียบเงินลงทุนการก่อสร้างรถไฟฟ้า ในกรณีกู้เงินจากเจบิกกับการใช้รูปแบบการลงทุน BT ว่าแนวทางใดที่รัฐสามารถจ่ายเงินคืนน้อยกว่า ก็ควรจะใช้แนวทางนั้น หรือถ้าไม่ต่างกันมาก ก็ควรจะนำ BT มาใช้ด้วย
จะช่วยให้ชาวกรุงเทพฯ มีรถไฟฟ้าใช้ได้เร็วขึ้น เป็นการประหยัดเวลาและน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยชาติได้เป็นอย่างดี |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 27/11/2007 11:48 am Post subject: |
|
|
พัฒนาการขนส่งทางรถไฟเพื่อชาติไทย
โดย ตราชู สมิหลา 26 พฤศจิกายน 2550 16:29 น.
เมื่อเร็ว ๆ นี้คนไทยทั้งประเทศคงได้ดูโทรทัศน์ประเทศญี่ปุ่นได้ฉลองความปลื้มปีติยินดีที่ได้รับหัวรถจักรไอน้ำโบราณสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอนนั้นญี่ปุ่นส่งมาประเทศไทย) ปัจจุบันไทยส่งคืนประเทศญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ของชาติในสมัยก่อน ซึ่งมีคุณค่าและหายาก สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวได้พิสูจน์ถึงความมีคุณค่าในการขนส่งของมวลมนุษย์ของประเทศต่างๆ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ยิ่งพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า เมื่อทรัพยากร ที่เป็นเชื้อเพลิงเริ่มขาดแคลน หายาก ราคาแพง การขนส่งโดยทางรถไฟ ยิ่งเป็นที่นิยมและมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นสำหรับมวลมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องหันมาพัฒนาการขนส่งโดยทางรถไฟให้เป็นหลักของการขนส่งทั้งปวงในไม่ช้านี้เป็นแน่แท้
ปัจจุบันคนไทยคงได้ยินข่าวครึกโครมว่า ผู้ที่จะเข้ามาบริหารประเทศในอนาคตจะดำเนินการสร้างรถไฟฟ้าเพื่อการขนส่งในกรุงเทพมหานครและชานเมือง ช่างเป็นแนวคิดที่จะทำการขนส่งมวลชนที่ดีและถูกต้องเหลือเกิน สำหรับประเทศไทย ซึ่งกำลังวิกฤตเรื่องน้ำมันแพงจะพาชาติเกิดปัญหาการขนส่งทางรถยนต์ วิกฤตฯลฯ ก็ขออนุโมทนาที่นี้ด้วย
เมื่อมีด้วยแนวคิดที่จะทำการขนส่งมวลชนให้ประชาชนสัญจรไปมาได้ในกรุงเทพมหานครและชานเมือง ก็ใคร่ที่จะขอเสนอให้ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินทั้งหลายที่มีอำนาจวาสนาเข้ามาปกครองบริหารราชการบ้านเมืองทั้งหลาย ได้โปรดหันกลับไปมองการขนส่งโดยทางรถไฟระหว่างเมืองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มก่อสร้างทางรถไฟ
ใช้รถไฟขนส่งประชาชนและสินค้ามาเป็นเวลาร่วมร้อยปีแล้ว ทั้งภาคเหนือ,ใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง ฯลฯ ตั้งแต่จำความได้ประมาณ 30-40 ปี มานี้ไม่เคยเห็นผู้บริหารประเทศยุคใดมีความจริงใจ จริงจังจะแก้ปัญหาการขนส่งสาธารณะภายในประเทศเลย มักสนใจแต่จะแสวงหาผลประโยชน์สร้างทางรถยนต์เพราะสร้างไปปี 2 ปี ก็ต้องซ่อมสร้างใหม่ เสียงบประมาณและสูญเสียทรัพยากรของชาติไปมากมายไม่คุ้มเลย บางครั้งตัดทางน้ำ ตัดไม้ทำลายป่าไม้ ทำให้เกิดอุทกภัยและสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินมากมาย ดังที่เห็นน้ำท่วมภาคเหนือบ่อย และน้ำท่วมจังหวัดอื่น ๆ เกือบทั่วประเทศ การคิดแต่จะทำถนนอย่างเดียวไม่เรียนรู้ธรรมชาติภูมิประเทศ
คนสมัยนี้เอาแต่ได้ ขอให้ได้ลาภ ได้วัตถุก็เอาแล้ว หาได้คำนึงถึงเกียรติ-ศักดิ์ศรี- บาปบุญคุณโทษไม่
จำได้ว่ามีรัฐบาลยุคหนึ่งเมื่อประมาณ 7- 8 ปีเห็นจะได้ ได้ริเริ่มพัฒนาสร้างทางรถไฟคู่ขนานเพื่อต่อไปจะได้ไม่ต้องรอหลีกกันอีก จะเดินทางได้เร็วขึ้นจากกรุงเทพมหานครไปภาคใต้แต่ก็สร้างมาได้เพียงถึงประมาณนครปฐมก็หยุดสร้างต่อ สงสัยจริง ๆ ว่าใครเป็นผู้สั่งให้หยุดสร้าง
ทำไมไม่เห็นประโยชน์การขนส่งโดยทางรถไฟ มัวทุ่มงบประมาณสร้างทางรถยนต์ เสียเงินเสียทองของประเทศมากมายมหาศาล รถยนต์มีมากขึ้น เสียค่าน้ำมันมากมาย ทำให้บ้านเมืองวิบัติทางเศรษฐกิจ เชื่อว่าผู้บริหารประเทศคงรู้แจ้งกันทุกคน แต่เหตุใดจิตใจมืดกันไม่อาจทราบได้ หากว่าในวันนั้นได้ทำทางรถไฟคู่ขนานไปถึงจังหวัดนราธิวาส คนมีงานทำมากมาย ป่านนี้ภาคใต้คงไม่ลุกเป็นไฟแล้ว
ในโอกาสนี้ จึงขอให้ผู้มีอำนาจบริหารราชการทั้งหลายได้เริ่มพัฒนาส่งเสริมการขนส่งทางรถไฟอย่างจริงจังด้วย การทำทางรถไฟเพิ่มเป็นคู่ขนาน ให้ทั่วประเทศทั้งเหนือ ใต้ อีสาน ออก ตก จะเป็นประโยชน์แก่อาณาประชาราษฎร์ไทยในอนาคตอย่างแน่นอน และควรสร้างเพิ่มทางรถไฟในบางสาย เช่นสายจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงพังงาและจังหวัดภูเก็ต เคยไปดูเส้นทางซึ่งมีการสงวนเส้นทางไว้แล้วตั้งแต่โบราณ ไปดูเถอะ มีจริง ๆ ก็ขอให้งบประมาณรีบทำด้วยเถิดจะทำให้การขนส่งไปจังหวัดพังงาและภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่วิเศษสุดของโลกด้วย และทางรถไฟจากกรุงเทพฯไปชลบุรี-จันทบุรี-ตราดด้วย จะเป็นแหล่งเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่วิเศษด้วย
หากพัฒนาการขนส่งโดยทางรถไฟ อันเป็นแนวทางขนส่งตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววางรากฐานไว้แล้วนั้นปลอดภัย เสียค่าใช้จ่ายน้อยประหยัดใช้ได้นานไม่ต้องเสียค่าบำรุงซ่อมสร้าง เช่น (การสร้างถนนประชาชนรู้กันทั่วว่า มักมีการทุจริตกันเป็นจำนวนมาก แม้บางแห่งไม่ได้ทุจริตก็ตาม ขอให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้าตรวจที่สร้างถนนเพื่อจับทุจริต) การพัฒนาการขนส่งมวลชนและสินค้าโดยทางรถไฟ ระหว่างจังหวัดแล้วจะเห็นได้ว่าประหยัดงบประมาณ ปลอดภัย ทั้งเป็นประโยชน์ต่อชาติ ประชาชนมากที่สุด ไม่มีสิ่งใดเปรียบได้
เท่าที่พบเห็นไม่มีผู้นำประเทศสนใจการพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทยกันเลยปล่อยปละละเลยให้รถไฟเก่าสกปรก อุปกรณ์ชำรุดเสียหายไม่ค่อยซ่อมกัน เก้าอี้นั่งสกปรก ห้องน้ำสกปรก ประตูเปิด-ปิดชำรุดฯลฯ พนักงานรถไฟไม่ค่อยได้รับสวัสดิการที่ดีเท่าที่ควรจากผู้ใหญ่ร้านอาหารที่รับสัมปทานก็แพงเกินควร พูดง่าย ๆ ผู้นำผู้บริหารประเทศไม่เคยสนใจจะเสริมสร้าง พัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทยเลย ขอเชิญชวนชาวสื่อมวลชนไปทำสารคดีหรือชมกิจการรถไฟไทยกันหน่อยเพื่อกระตุ้นผู้บริหารประเทศได้ช่วยกันพัฒนา ขอร้องรัฐบาลใหม่ที่มีคุณธรรมได้เป็นผู้บริหารบ้านเมือง กรุณาเจียดเงินที่ใช้ในการซ่อมสร้างถนนทั่วประเทศ สัก 30-40 % มาใช้พัฒนาทางรถไฟและตู้รถไฟอย่างจริงจัง เชื่อว่าเพียงไม่กี่ปีข้างหน้า การขนส่งโดยทางรถไฟทั่วประเทศจะเป็นการขนส่งที่สะดวก ปลอดภัย ประหยัด สะอาด และดีที่สุด ดีกว่าการขนส่งโดยทางรถยนต์ร้อยเท่า การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไม่คุ้มค่าเลย ต้องเสียค่าน้ำมันมากมาย ปัจจุบันน้ำมันลิตรละ 30 บาทแล้ว อนาคตไม่รู้จะทะยานไปลิตรละ 40 บาทหรือไม่ คนไทยจะอยู่กินกันอย่างปกติสุขได้อย่างไร คนไทยหยุดหรือประหยัดการใช้รถกันบ้าง หยุดหรือให้ใช้รถเพื่อท่องเที่ยวน้อยลงบ้าง หากน้ำมันลดราคาลงค่อยเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟก็ยังไม่สายไป อย่าให้ชาติต้องลำบากเลย เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต ทรัพย์สิน สูญเสียทรัพยากรป่าไม้มากมาย ไม่ทราบมีการทำวิจัยกันบ้างหรือไม่
ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินประเทศไทยจะได้พัฒนาไปแบบเศรษฐกิจพอเพียงประชาชนทุกคนมีสุข ฯลฯ
อีกประการ 2 ข้างทางรถไฟมีขยะบ้านเรือนไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุกรุกทางรถไฟ จนหน้าเกลียดขอให้จัดการให้มีที่เช่าอยู่ในพื้นที่ของรัฐและทั้งสองข้างทางให้สะอาดน่าชมทิวทัศน์จะได้ไม่ขายหน้าชาวต่างประเทศ
ขอให้พระสยามเทวาธิราชปกปักรักษาการรถไฟไทย รวมทั้งที่ดินของการรถไฟดังกล่าว หากคิดมูลค่ามหาศาลมากนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มไว้นั้นคงเป็นรัฐวิสาหกิจไทยสมบัติของประชาชนชาวไทยเช่นเดิม อย่าได้มีใครคิดเอาไปให้เอกชนหรือบุคคลคณะใดหากินเด็ดขาด หากใครคิดคงวิบัติแน่ ๆ ตามคำสาปแช่งของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ขอให้การทางรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินชาติไทยมอบให้ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศได้ใช้ตลอดชั่วฟ้าดินสลาย
ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มสุขสงบ ประชาชนมีความสุขขึ้น นักเลือกตั้งที่โกงบ้านเมืองหมดไป ขอวิงวอนให้ผู้บริหารประเทศได้พิจารณาหาทางเอารัฐวิสาหกิจที่ถูกแปรรูป กลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคของแผ่นดินเช่นเดิม และได้พิจารณาพัฒนาการรถไฟแห่งประเทศไทยด้วยเถิด
หากผู้ใดคิดทุจริต ประพฤติมิชอบฯลฯ ต่อทรัพย์สินของชาติไม่ซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน ขอให้มันผู้นั้นและครอบครัว วงศ์ตระกูล จงพินาศฉิบหายไปตามคำสาปแช่งของพระองค์เจ้ากรมหลวงชุมพรเขตพรอุดมศักดิ์ด้วย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 08/12/2007 6:38 pm Post subject: |
|
|
คมนาคมวางแผนแม่บทรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน
[ Siamturakij:8-12-2007 ถึง 11-12-2007]
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการประชุมหัวหน้าผู้บริหารการรถไฟประเทศสมาชิก ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือ หลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือ BIMSTEC ครั้งที่ 4 ว่า ประเทศไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งสมาชิกของ BIMSTEC ต้องให้ ความร่วมมือในการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟเพื่อรองรับการขยายเส้นทางต่างๆ ของเอเชีย โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำแผนและศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายเส้นทางรถไฟออกไปตามภูมิภาคต่างๆ และให้สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายในการขนส่งสินค้า รวมถึงคำนึงถึงความสะดวกสบายในการลำเลียงขนส่งผู้โดยสารที่จะใช้บริการในเส้นทางใหม่ที่เกิดขึ้นด้วย ซึ่งการ ที่ประเทศสมาชิก BIMSTEC ที่ส่วนใหญ่มีชายแดนติดต่อเชื่อมโยงกัน สามารถขยายเส้น ทางรถไฟออกไปและเชื่อมโยงกันได้จะส่งผลให้ เศรษฐกิจในภูมิภาคมีการหมุนเวียน
สำหรับแผนการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่ ร.ฟ.ท. ศึกษาไว้เช่น
1.เส้นทางอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่-จังหวัดเชียงราย
2.เส้นทางจังหวัดหนอง คาย-จังหวัดนครพนม
3.เส้นทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี-ประเทศพม่า
4.เส้นทางอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดมุกดาหาร ถื
อว่าเป็นโครงการที่ดี และควรจะมีการดำเนินการต่อ เพื่อนำเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณาและผลักดันให้ดำเนิน การเป็นรูปธรรม เพราะในอนาคตการขนส่งทาง รางจะเป็นการขนส่งที่ลดต้นทุนการผลิตสินค้า และจะช่วยให้การกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกขึ้น
อย่างไรก็ตาม ตนยอมรับว่า ร.ฟ.ท.ยังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณในการลงทุนเพื่อ พัฒนาหรือก่อสร้างโครงการใหม่ๆ ดังนั้น ในอนาคต ร.ฟ.ท.จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการใหม่ ทุกฝ่ายจะต้องเปิดกว้างยอม รับฟังความคิดเห็นจากส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น โดยเฉพาะแนวทางการระดมทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณในการก่อสร้างโครงการใหม่ๆ โดยที่ไม่หวังพึ่งงบประมาณสนับสนุนจากรัฐเพียงอย่างเดียว
ด้านนาย ศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการ ร.ฟ.ท. กล่าวยอมรับว่า ร.ฟ.ท.เป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาด้านงบประมาณในการลงทุน ซึ่งต่อไปจะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการลง ทุนในโครงการใหม่ๆ เช่น การระดมทุนโดยการ ออกพันธบัตร เพื่อนำมาลงทุนก่อสร้างในโครง การต่างๆ แทนการขอรับเงินสนับสนุนจากภาค รัฐ หรือหากภาครัฐลงทุนในส่วนของระบบราง ไปแล้วต้องมีการเจรจากับภาคเอกชนในการเข้า มาลงทุนเพื่อเดินรถ
นอกจากนี้ ในอนาคตการรถไฟฯ อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการรถไฟสายต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรด้านการช่างระดับกลาง โดยเฉพาะพนักงานขับและเจ้าพนักงานอาณัติ สัญญาณ อาจทำให้อีก 5 ปีข้างหน้า ร.ฟ.ท.จะขาดแคลนพนักงานดังกล่าว เพราะพนักงานรุ่นปัจจุบันจะเกษียณอายุราชการไป ดังนั้น ในเร็วๆ นี้ ร.ฟ.ท.จะเร่งรื้อฟื้นโรงเรียนวิศวกรรม รถไฟหลังจากถูกสั่งปิดการเรียนการสอนถึง 1 ปี จากรัฐบาลชุดที่แล้ว โดยอ้างว่าไม่มีความจำเป็นและไม่มีตำแหน่งว่างให้ผู้ที่จบการศึกษา บรรจุ พร้อมกับหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถไฟในการนำอาจารย์ หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้นักเรียนของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ เพราะในอนาคตนักเรียนจากโรงเรียนแห่งนี้จะสามารถเข้าไปทำงานในองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องได้ด้วย
// -----------------------------------------------------
จากกรณียุบสถานีธนบุรี และ ปิดโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ทำให้แน่ใจแล้วว่าควรเลือกพรรคใดดี
นอกจากนี้ จะทำพทางดังกล่าวนี้ ก็ต้องเกียมปรับโครงสร้างเพื่อ ช่วนให้ฝรั่งและยี่ปุ่นให้กู้เงินได้ |
|
Back to top |
|
|
RORONOA
2nd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 08/12/2007 7:17 pm Post subject: |
|
|
เป็นข่าวที่ดีมากทีเดียวครับ ขอให้โครงการเหล่านี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเทอญ และอย่าลืมสายบ้านทุ่งโพธิ์ - พังงา - ท่านุ่น - ภูเก็ตล่ะ
ปล.อย่างที่บอกรู้แล้วล่ะครับควรเลือกพรรคไหนเป้าหมายของพรรคที่จะเข้ามาก็รู้ๆกันอยู่แล้ว ยังจะบ้าเลือกคนไม่ดีอีก เห็นบ้านเมืองประเทศชาติเป็นของเล่น ให้คนปากหมาทำงานไม่ได้เรื่องมาทำงานได้อย่างไร
แต่ผมว่าเรื่องสถานีธนบุรี ผมว่าถ้าการก่อสร้างแล้วเสร็จ น่าจะสร้างรางเข้าไปถึงตัวโรงพยาบาลด้วย(ธนบุรีเก่า) สักรางเดียวก็พอแล้วตั้งเป็นป้ายหยุดรถซะ ผมว่าผู้โดยสารที่ต้องการต่อเรือไปถึงสนามหลวงก็เยอะอยู่ และยังผู้โดยสารที่ต้องไปโรงพยาบาลอีกล่ะ ผมได้นั่งรถไฟเข้ากรุงเทพครั้งแรกก็เพราะคนรู้จักต้องมารับยาที่ศิริราชนี่แหละ คนอายุมากๆที่ต้องเข้ามารับยาเรื่อยๆมีอยู่ไม่น้อยเลยนะครับ สมาชิกท่านอื่นมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 08/12/2007 9:24 pm Post subject: |
|
|
ผมว่าน่าจะจัดขบวนรถดีเซลรางสักสองขบวนทำขบวนชานเมืองจากนครปฐม เข้าธนบุรี ชั่วโมงละขบวนดีกว่าครับ เอาไว้รอรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง กับรถใต้ดินสายสีน้ำเงินด้วย
เรายังใช้สถานีธนบุรีไม่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับวงเวียนใหญ่ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43718
Location: NECTEC
|
Posted: 09/12/2007 8:11 pm Post subject: |
|
|
6 หออันดามันจับมือบูมเศรษฐกิจ + ตั้งคณะกรรมการร่วมผลักดันทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาศก.-ท่องเที่ยว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2277 09 ธ.ค. - 12 ธ.ค. 2550
6 หอการค้าจังหวัดอันดามันผนึกกำลัง จัดตั้งคณะกรรมการร่วมดันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวร่วมกันของภาคเอกชนในเขตพื้นที่ 6 จังหวัด ก่อนชงต่อให้สภาพัฒน์ บรรจุเข้าในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใหม่ เผยมีตั้งแต่การพัฒนาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยันระบบคมนาคม
นางสุดาพร ยอดพินิจ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยกับ " ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางหอการค้า 6 จังหวัดอันดามัน ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดกระบี่ , พังงา , ภูเก็ต , ระนอง , สตูล และตรัง ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดกลุ่มจังหวัดอันดามัน 6 จังหวัดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประสานงานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดอันดามัน โดยที่ประชุมมีมติเลือกนายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดกระบี่ เป็นประธานหอการค้าจังหวัดกลุ่มอันดามัน นายครรชิต ตัมพานุวัตร ประธานหอการค้าจังหวัดกลุ่มที่ 17 เป็นที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดกลุ่มอันดามัน โดยประธานหอการค้าที่เหลือเป็นคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดกลุ่มอันดามัน
คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดกลุ่มอันดามัน มีหน้าที่หลักในการประสานการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของภาคเอกชนในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมทั้งนำเสนอโครงการเร่งด่วน เพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.) เพื่อใช้นำไปพิจารณาบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับใหม่ สำหรับผลการประชุมล่าสุดที่จังหวัดพังงา ซึ่งมีคณะทำงานประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด , สภาอุตสาหกรรม , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , สำนักงานจังหวัดในกลุ่มอันดามันเข้าร่วมประชุมและระดมความคิดเห็นสามารถสรุปรายละเอียดได้ ดังนี้
จังหวัดสตูล มีประเด็นข้อเสนอเพื่อนำเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว คือ
1. ให้มีการก่อสร้างสะพานและท่าเทียบเรือที่เกาะหลีเป๊ะ , เกาะอาดัง , และเกาะบุโหลน เพื่อรองรับการท่องเที่ยว
2. ให้มีการสนับสนุนอุปกรณ์การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซล
3. ให้มีการจัดการด้านน้ำเสียในพื้นที่ท่องเที่ยว
จังหวัดตรัง ได้ยื่นคำขอดังนี้
1. ให้มีการกำหนดแผนงานและงบประมาณเชื่อมเส้นทางเลียบชายฝั่งทะเลในกลุ่มอันดามันให้ชัดเจน
2. ผลักดันการเชื่อมเส้นทางรถไฟจากจังหวัดตรัง ให้เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในกลุ่มอันดามัน
จังหวัดกระบี่ ได้ยื่นคำขอดังนี้
1. ขอให้มีการกำหนดขยะและน้ำเสียให้เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากปัจจุบันเป็นปัญหาของทุกจังหวัด
2. ให้พัฒนาแหล่งน้ำ และศึกษาแนวทางในการผันน้ำจากเขื่อนรัชประภาเพื่อใช้รองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอันดามัน
3. การพัฒนาขีดความสามารถสนามบิน จ.กระบี่ ให้เป็นสนามบินนานาชาติ โดยโอนความรับผิดชอบจากกรมการบินพาณิชย์ ให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยดูแลแทน
จังหวัดระนอง เสนอให้ปรับปรุงและขยายเส้นทางระหว่างจังหวัดชุมพร - ระนอง ให้สะดวกปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งศึกษาเส้นทางรถไฟระหว่างชุมพร - ระนอง เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยวชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย
จังหวัดภูเก็ต ประเด็นเสนอ
1. ให้ศึกษาเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างฝั่งอ่าวไทยกับอันดามัน จากจังหวัดชุมพร - ระนอง - พังงา - กระบี่ และกันตัง เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งสินค้าและนักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนโดยการปรับปรุงกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบดูแล
3. จัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในกลุ่มจังหวัดอันดามัน
4. ส่งเสริมมาตรการด้านภาษีเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีระบบการรีไซเคิลขยะ
จังหวัดพังงา ประเด็นเสนอ
1. เพิ่มงบประมาณสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
2. ขอให้ทบทวนโครงการขยายเส้นทางรถไฟที่ได้มีการเวนคืนที่ดินไว้แล้ว โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างจังหวัดสุราษฏร์ฯ - ตำบลท่านุ่น จังหวัดพังงา
3. ให้มีการปรับปรุงสนามบินเล็กที่เกาะคอเขาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว รวมถึงการเร่งรัดการอนุมัติการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาหลักลำลู่ใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก
นางสุดาพร กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. แผนพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดอันดามัน ขอให้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนเป็นลำดับแรก
2. ให้มีการเข้มงวด กวดขันด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว
3. ให้มีการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น
4. ยกระดับกลุ่มอันดามันให้เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
5. ส่งเสริมการอนุรักษ์พันธ์ไม้พลับพลึงธาร ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หายากเพื่อป้องกันการสูญพันธ์และลักลอบส่งไปขายต่างประเทศ
6. ให้มีการทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติให้เหมาะสมและคุ้มค่า โดยให้มีการจัดเก็บค่าเข้าจากนักท่องเที่ยวเพียงจุดเดียว
ประเด็นข้อเสนอทั้งหมด ทางคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดอันดามัน จะนัดประชุมพิจารณาทบทวนอีกครั้ง ก่อนที่จะสรุปรวบรวมส่งต่อให้กับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป ซึ่งผลการจากจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมในครั้งนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของการร่วมมือของภาคเอกชนใน 6 จังหวัดที่จะได้จัดทำแผนการพัฒนาให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกันแต่ละจังหวัด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาพื้นที่อันดามันโดยรวม
// ------------------------------------------
งานนี้หอการค้าจังหวัด ทั้ง 6 จังหวัด อันดามัน (มณฑลภูเก็จ) ได้ส่งสัญญาณให้รัฐบาลกลางทราบว่า
1. เร่งรัดงบประมาณและเงินกู้เพื่อ ทำให้ทางรถไฟสาย สุราฎร์ธานี - ท่าขนอน - พังงา - ภูเก็ต ได้แจ้งเกิดเต็มตัวเสียที
2. เร่งรัดหาเงินกู้มาทำทางคู่ จากนครปฐม ถึง สุราษฏร์ธานี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัว
3. ทำทางรถไฟจากชุมพร ไปท่าเรือระนอง ด่วน ไม่ว่าจะไปจากคลังสินค้าที่บ้านแสงแดด หือจะไปจากชุมพร
4. เร่ง Rehab ทางช่วงทุ่งสง - กันตัง และ นำรางเก่า จากภาคอื่นมาสร้าง Container Yard ที่กันตัง
แต่กรณี เร่งท่าเรือปากบาราให้แจ้งเกิดอย่างแท้จริง ทีรัฐบาลกลางชี้นิ้วจะเอา ไม่ยักกะพูดถึงแฮะ |
|
Back to top |
|
|
|