Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
View previous topic :: View next topic
Author
Message
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 04/11/2009 9:36 pm Post subject:
pak_nampho wrote: 4 ชุด 36 คน ...คนนอก 24 รถไฟ 12 ไม่มีรองผู้ว่า ใน 12 คนด้วยมั้ง ติดชึ่ง 2 : 1..
จากนี้คณะกรรมการปรับปรุงโครงสร้างบุคคลากรคงจะจับลูกเขยท้าวสามมล...รองทั้ง 8 เอ้ย 7 "ใส่คนให้ถูกกับงาน"
คกก.แก้ปัญหา รฟท.เตรียมรวบรวมข้อมูลให้ทันภายในพรุ่งนี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2552 19:46 น.
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่ง ประเทศไทย หรือ รฟท. ว่า ขณะนี้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการรถไฟ ที่นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งขึ้นทั้ง 4 ชุด ได้รวบรวมข้อมูลปัญหาทั้งหมดของ รฟท.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับทราบปัญหา และสิ่งที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนได้รวบรวมแนวทางการแก้ปัญหาเสร็จ เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีข้อมูลบางจุดยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ซึ่งคาดว่าภายในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเสร็จสิ้น ก่อนเสนอให้นายโสภณพิจารณาอีกครั้ง
//------------------------------------------------------------------ Last edited by Wisarut on 04/11/2009 9:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 04/11/2009 9:55 pm Post subject:
ข่าวหลังนี้เป็นเรื่องคดียาเสพติดนะครับ เฮีย ไม่ใช่สาระในกระทู้สักหน่อย
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 04/11/2009 9:58 pm Post subject:
^^^
ลบออกแล้วครับ - เอาข่าวนี้มาแทนสบายใจกว่า:
ชงแผน1.4ล้านล.ปฏิวัติรถไฟ ขายฝันไฮสปีด-รางคู่-เพิ่มเส้นทางทั่วปท.
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4155 วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
คมนาคม สบช่องรื้อใหญ่โครงสร้างพื้นฐานรถไฟฯ ของบฯ 1.48 ล้านล้านบาทยกเครื่อง 3 เฟส เร่งปรับปรุงสภาพราง ระบบอาณัติสัญญาณไฟ ซื้อ หัวรถจักรใหม่ สร้างทางคู่-เส้นทางใหม่ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมผุดรถไฟความเร็วสูงจาก กทม.จดเหนือ-ใต้-อีสาน-ตะวันออก เปิดพิมพ์เขียวแผนลงทุน หอการค้าทั่วประเทศดันเป็นวาระแห่งชาติ ชี้หนุนท่องเที่ยว ส่งออก ด้านรับเหมาเชียร์สุดฤทธิ์
นาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การจัดทำรายละเอียดการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คืบหน้าไปมากแล้ว โดยคณะกรรมการทั้ง 4 ชุดที่นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแต่งตั้งขึ้นกำลังเร่งจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอ ให้นายโสภณพิจารณา จากนั้นกลางเดือนพฤศจิกายนนี้น่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้านเศรษฐกิจพิจารณาอนุมัติ
ทั้ง นี้จากการประมวลภาพรวมของคณะกรรมการชุดที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง พื้นฐาน แบ่งการพัฒนา ร.ฟ.ท.ออกเป็น 3 ระยะ ใช้เงินลงทุน 1.48 ล้านล้านบาทได้แก่
1.ระยะเร่งด่วน (ปี 2553-2555) ใช้เงินลงทุน 46,000 ล้านบาท อาทิ
1.1 ปรับปรุงสภาพทางรถไฟทั่วประเทศให้ปลอดภัยในการเดินรถและมีประสิทธิภาพในการ ทำความเร็ว โดยจะเปลี่ยนขนาดรางระยะทาง 2,570 กิโลเมตร จาก 70 ปอนด์ เป็น 100 ปอนด์ เพื่อให้รับน้ำหนักได้ 20 ตัน/เพลา โดยใช้ความเร็ว 160 กิโลเมตร/ ชั่วโมง
1.2 ปรับเปลี่ยนไม้หมอนคอนกรีต ทั่วประเทศ 1,250 กิโลเมตร
1.3 ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 2,100 กิโลเมตร
1.4 เปลี่ยนประแจ ให้เข้ากับราง 100 ปอนด์ที่เปลี่ยมาแทนราง 70 ปอนด์
1.5 สร้างรั้วกั้นตลอดเขตทางรถไฟทั่วประเทศ 4,363 กิโลเมตร
1.6 ปรับปรุงจุดตัดทางรถไฟกับถนน 2,463 แห่ง และ
1.7 ก่อสร้างสะพานรถไฟใหม่ 1,321 แห่ง
1.8 จัดซื้อหัวรถจักรเพิ่มอีก 48 หัว ทดแทนของเก่าที่มีอายุใช้งานเกิน 40 ปีแล้ว (รถจักร GEK แน่ๆ) โดยก่อนหน้านี้ ครม.อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว 27 หัว แต่จะซื้อเพิ่มใหม่อีก 21 หัว วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยจะใช้เงินกู้จากประเทศจีนที่เสนอมา 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท โดยจะซื้อขายในแบบรัฐบาล ต่อรัฐบาล หรือจีทูจี ดอกเบี้ย 1% ส่วนที่เหลือจะใช้จัดซื้อราง
2. ระยะ กลาง ดำเนินการ 10 ปี (ปี 2553-2562) ประกอบด้่วย:
2.1 การลงทุนก่อสร้างทางคู่ทั่วประเทศในเส้นทางสายหลัก 3,039 กิโลเมตร วงเงิน 3.4 แสนล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.จะกู้เงินมาก่อสร้าง เฉลี่ย 3 หมื่นล้านบาท/ปี ซึ่งบางช่วงต้องก่อสร้างในระยะเร่งด่วน (ปี 2553-2555) ระยะทาง 762 กิโลเมตร วงเงิน 66,110 ล้านบาท เช่น
2.1 ลพบุรี-นครสวรรค์ 113 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
2.2 สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร 11,640 ล้านบาท
2.3 สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 13,010 ล้านบาท
2.4 สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร 16,600 ล้านบาท
2.5 สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 17,000 ล้านบาท
2.2 มีแผนพัฒนาโครงข่ายเส้นทางสายใหม่ทั่วประเทศ 2,651 กิโลเมตร วงเงิน 392,348 ล้านบาท ได้แก่
2.2.1 ภาคเหนือ 744 กิโลเมตร 1.1 แสนล้านบาท คือ
2.2.1.1 สายเด่นชัย-เชียงราย 246 กิโลเมตร 36,408 ล้านบาท => ของตาย เพราะ แรงดูดจากเมืองจีนทำเอา
2.2.1.2 นครสวรรค์-ตาก 185 กิโลเมตร 27,380 ล้านบาท
2.2.1.3 พิษณุโลก-ตาก 138 กิโลเมตร 20,424 ล้านบาท
2.2.1.4 หัวดง-ตาก 175 กิโลเมตร 15,900 ล้านบาท
(พิเคราะดูแล้วทางจากหัวดงไปตากจะได้เกิดก่อนเพราะ ทางไม่ขนานกะทางหลวงสายใหญ่ เช่นทางช่วงพิษณุโลก - ตาก และ นครสวรรค์ - ตาก และ ค่าใช้จ่ายก็ถูกกว่าสายอื่น)
2.2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 983 กิโลเมตร 145,484 ล้านบาท มี
2.2.2.1 สายลำนารายณ์-เลย 300 กิโลเมตร 44,400 ล้านบาท
2.2.2.2 ชัยภูมิ-เลย 225 กิโลเมตร 33,300 ล้านบาท [ควรเชื่อมกับแก่งคอย - บัวใหญ่ และ ให้เชื่อมกับสายเหนือด้วจึงจะให้คุณ]
2.2.2.3 บัวใหญ่-นครพนม 398 กิโลเมตร 28,904 ล้านบาท => สายนี้น่าจะได้เกิด เพราะ แรงหนุนจาก ฝั่งเวียตนาม เป็นแรงดูดใหญ่หลวง
2.2.2.4 อุบลราชธานี-ช่องเม็ก 60 กิโลเมตร 8,880 ล้านบาท
2.2.3 ภาค ตะวันตก สายน้ำตก-ด่านเจดีย์ สามองค์ 75 กิโลเมตร
11,100 ล้านบาท
2.2.4 ภาคใต้ 624 กิโลเมตร 92,352 ล้านบาท ประกอบด้่วย
2.2.4.1 สายบ้านภาชี-สุพรรณบุรี 147 กิโลเมตร 21,756 ล้านบาท
2.2.4.2 ชุมพร-ระนอง 117 กิโลเมตร 17,316 ล้านบาท
2.2.4.3 สุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น 110 กิโลเมตร 16,280 ล้านบาท
2.2.4.4 ตรัง-ปากบารา 150 กิโลเมตร 22,200 ล้านบาท
2.2.4.5 สงขลา-ปากบารา 100 กิโลเมตร 14,800 ล้านบาท (น่าจะเป็๋นที่ควนเนียง) และ
2.2.5 ภาคตะวันออก 225 กิโลเมตร 33,300 ล้านบาท
2.2.5.1 สายมาบตาพุด-ระยอง 45 กิโลเมตร 6,660 ล้านบาท และ
2.2.5.2 ระยอง-ตราด 180 กิโลเมตร 26,640 ล้านบาท
3.ระยะ ยาว จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวน 4 สาย ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ วงเงินรวมกว่า 7 แสนล้านบาท โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ประกอบด้่วย
3.1 บางซื่อ-เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร 184,335 ล้านบาท
3.2 บางซื่อ-หนองคาย 615 กิโลเมตร 149,600 ล้านบาท
3.3 มักกะสัน-จันทบุรี 330 กิโลเมตร 103,320 ล้านบาท และ
3.4 บางซื่อ-ปาดังเบซาร์ 985 กิโลเมตร 271,600 ล้านบาท
หอการค้า "อีสาน-เหนือ" หนุนรางคู่
นาง สุบงกช วงศ์วิชยาภรณ์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ที่ประชุมหอการค้าจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 19 จังหวัดมีมติให้ผลักดันรถไฟรางคู่มายังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากต้นทุนการเดินทางและการขนส่งด้วยรถยนต์ของภาคอีสานค่อนข้างสูง ส่งผลให้สินค้าและค่าโดยสารของภาคอีสานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมหอการค้าทั่วประเทศที่จะจัดขึ้นในวันที่ 27-29 พ.ย. 2552 นี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะ การพัฒนาระบบรางคู่มีต้นทุนต่ำ กว่ามอเตอร์เวย์มาก โดยมอเตอร์เวย์ลงทุนสูงถึงกิโลเมตรละ 300 ล้านบาท แต่รถไฟรางคู่ใช้งบฯก่อสร้างเพียงกิโลเมตรละ 80 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารถูกลงจากปัจจุบันกว่าครึ่ง
นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล และมีผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมการส่งออกทำให้สามารถเชื่อมโยงไปยังตลาดอินโดจีน เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย" นางสุบงกชกล่าว
ผู้สื่อข่าว รายงานว่า หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ก็ประกาศผลักดันโครงการขนส่งระบบรางในภาคเหนือเต็ม ที่ และเตรียมเสนอที่ประชุมหอการค้าทั่วประเทศเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมหอการค้าทั่วประเทศซึ่งจังหวัดสงขลาเป็นเจ้าภาพเมื่อปี 2551 ก็เคยมีมติให้การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่เป็นวาระแห่งชาติ แต่ถึงขณะนี้ก็ยัง ไม่เป็นรูปธรรม
ขณะที่นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า ในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้างเห็นด้วยกับแผนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ การรถไฟฯ ที่ใช้เงินลงทุน 1.48 ล้านล้านบาท แต่อยากขอให้รัฐบาลจริงจังกับการลงทุน
นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด ผู้รับเหมาในการรถไฟฯ กล่าวว่า หากรัฐบาลเอาจริงเรื่องพัฒนาการรถไฟฯ แผนการลงทุนทั้งหมดก็น่าจะเป็น ไปได้ แม้ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
ด้าน นายอนันต์ พัฒนะธเนศ ผู้จัดการฝ่ายซัพพลายเชนสเปเชี่ยลลิสต์ การจัดส่งและส่งออก เปิดเผยถึงประเด็นที่กระทรวงคมนาคมจะเสนอ ครม.ปรับปรุงการรถไฟฯครั้งใหญ่ว่า ขอให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างจริงจังเสียที ที่ผ่านมามีแต่แผน แต่ไม่ได้ดำเนินการ จริง ๆ แล้วน่าจะทำตามแผนเดิมให้ได้ก่อน เพราะการพัฒนาการรถไฟฯต้องใช้เวลา 5-10 ปี แต่รัฐบาลอายุค่อนข้างสั้น รัฐบาลใหม่มาก็มารื้อแผนของรัฐบาลเดิมทิ้งอีก
การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ในขณะนี้มีแต่จะถอยหลังเข้าคลอง ใกล้จะเหลือ 0% เข้าไปทุกขณะ เพราะขณะนี้ค่าขนส่งสูงกว่า รถบรรทุกถึง 5% จากเดิมต่ำกว่ารถบรรทุก 10% ยังไม่รวมค่าประกันภัยพิเศษ ป้องกันสินค้าเสียหายจากอุบัติเหตุรถไฟตกรางบ่อย ความล่าช้าในการขนส่งที่อาจควบคุมเวลาไม่ได้
ก่อนหน้านี้ครั้งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางไปเยือนประเทศจีนช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้พบกับประธานบริษัท China Railway Engineering Corporation ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจีนด้วย โดยจีนแจ้งว่า ยืนดีจะให้ความร่วมมือกับไทย แต่ขอศึกษารายละเอียดรวมถึงความคุ้มค่าทางธุรกิจก่อน Last edited by Wisarut on 04/11/2009 10:28 pm; edited 1 time in total
Back to top
RORONOA
2nd Class Pass Joined: 06/12/2007 Posts: 705
Posted: 05/11/2009 12:14 am Post subject:
ถ้าผมอ่านไม่พลาดไม่เห็นกล่าวถึงทางคู่ช่วงแก่งคอย รวมทั้งทางเลี่ยงที่ทำให้ไม่ต้องสับเปลีั่ยนหัวรถจักรมาอีกด้านเลยครับ หรือเขาถือว่าเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว(ตกข่าว) แล้วทางสายน้ำตกไปด่านเจดีย์สามองค์ดูจากระยะทางมันสั้นไปหรือเปล่าครับ
Back to top
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air) Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
Posted: 05/11/2009 2:21 am Post subject:
RORONOA wrote: ถ้าผมอ่านไม่พลาดไม่เห็นกล่าวถึงทางคู่ช่วงแก่งคอย รวมทั้งทางเลี่ยงที่ทำให้ไม่ต้องสับเปลีั่ยนหัวรถจักรมาอีกด้านเลยครับ หรือเขาถือว่าเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติไปแล้ว(ตกข่าว) แล้วทางสายน้ำตกไปด่านเจดีย์สามองค์ดูจากระยะทางมันสั้นไปหรือเปล่าครับ
ทางคู่ฉะเชิงเทรา-แก่งคอย น่าจะเหลือขั้นตอนอีกไม่มาก ก็จะเริ่มก่อสร้างได้แล้วกระมังครับ และ ขั้นตอนที่ว่าคือ รอผลเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม การงัดสรรงบ และการประมูล ทำนองนั้นนะ
Back to top
black_express
1st Class Pass (Air) Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
Posted: 05/11/2009 8:24 am Post subject:
ถ้าเป็นไปได้ตามแผน ผมว่ากิจการรถไฟจะเป็นกระดูกสันหลังหลักด้านการคมนาคมและขนส่งสินค้าไปอีกนานทีเดียว
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการที่ต้องรื้อปรับปรุงไม่แพ้ระบบโครงสร้างเช่นกันครับ
Back to top
Sornuk
3rd Class Pass Joined: 02/11/2009 Posts: 5
Posted: 05/11/2009 12:44 pm Post subject:
Quote: 2.1 ลพบุรี-นครสวรรค์ 113 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
2.2 สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กิโลเมตร 11,640 ล้านบาท
2.3 สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตร 13,010 ล้านบาท
2.4 สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 165 กิโลเมตร 16,600 ล้านบาท
2.5 สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กิโลเมตร 17,000 ล้านบาท
ไกลกว่าแต่ทำไมถูกกว่า ???
Quote: 3.ระยะ ยาว จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวน 4 สาย ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ วงเงินรวมกว่า 7 แสนล้านบาท โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน ประกอบด้่วย
3.1 บางซื่อ-เชียงใหม่ 745 กิโลเมตร 184,335 ล้านบาท
3.2 บางซื่อ-หนองคาย 615 กิโลเมตร 149,600 ล้านบาท
3.3 มักกะสัน-จันทบุรี 330 กิโลเมตร 103,320 ล้านบาท และ
3.4 บางซื่อ-ปาดังเบซาร์ 985 กิโลเมตร 271,600 ล้านบาท
จะสร้างใหม่ทั้งที เอาแค่ 160 เองเหรอเนี่ยย ในเมื่อเปิดโอกาศไห้เอกชนแล้ว บังคับ ราง 1.435m แล้วความเร็ว 200+ เถิดครับ ถึงจะเรียกว่า "ความเร็วสูง"
แค่เห็นแผนคร่าวๆแล้วก็... ในเมื่อรื้อระบบใหม่แล้ว ก้าวไปข้างหน้าเถิดครับ อย่ายืนอยู่ที่เดิมเลย แล้วอย่าปล่อยไห้ถอยหลังเหมือนที่แล้วๆมา
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 05/11/2009 1:02 pm Post subject:
Sornuk wrote:
สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ไกลกว่า สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น แต่ทำไมถูกกว่า ???
ก็ทางช่วงมายกระเบา ไป ถนนจิระ มันต้องผ่านดงพระยาเย็น ซึ่งไต่ระดับจากที่ราบลุ่มไปที่ราบสูง 7 ลำตาล เลยแพงค่าก่อสร้าง มากกว่าจากชุมทางถนนจิระ ไป ขอนแก่น
Sornuk wrote: จะสร้างใหม่ทั้งที เอาแค่ 160 เองเหรอเนี่ยย ในเมื่อเปิดโอกาศไห้เอกชนแล้ว บังคับ ราง 1.435m แล้วความเร็ว 200+ เถิดครับ ถึงจะเรียกว่า "ความเร็วสูง"
แค่เห็นแผนคร่าวๆแล้วก็... ในเมื่อรื้อระบบใหม่แล้ว ก้าวไปข้างหน้าเถิดครับ อย่ายืนอยู่ที่เดิมเลย แล้วอย่าปล่อยไห้ถอยหลังเหมือนที่แล้วๆมา
ก็เอา Airport Link เป็น Basic Buildign Block นี่ครับ ถ้า ทำให้ได้ 300 kph ก็ต้อง คูณ 2 หรือ 3 เข้าไปเพราะ ต้องเวนคืนที่ใหม่หมด เพื่อให้โค้งรัศมี กว้างถึง 7000 เมตร แทนที่จะโค้งรัศมี 1000 เมตร ที่นับว่ายอดแล้วสำหรับเรา ในขณะนี้
เอ้า - มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันดีกว่า:
เอกชนจี้รัฐทุ่ม3แสนล.รถไฟรางคู่ ร.ฟ.ท.ขายฝันลงทุน15ปีกรุงเทพฯ-เชียงใหม่7.7หมื่นล.
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4155 วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เอกชนรุมสวดรัฐบาลทำแผนยกระบบขนส่งทางรางเป็นพระเอกแต่ไม่เคยจัดสรรงบฯช่วยสร้าง ปล่อยภาระให้ ร.ฟ.ท.ทั้งที่ขาดทุนบักโกรก ระบุทั้งรถทั้งรางเก่าเสี่ยงอันตราย เชียงใหม่หวังได้รถไฟความเร็วสูง ยอมรับยากเพราะใช้ทุนสูงแต่ยังหวังรัฐสร้างรางเตรียมไว้รอจ่อทางรถไฟจากจีน
นายจุฬา สุขมานพ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวในการสัมมนาทิศทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทย กรณีรถไฟรางคู่กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ว่า ปัจจุบันไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์ 16% ของรายได้มวลรวมประชาชาติ โดยเป็นการขนส่งทางถนนสูงถึง 86% ทั้งที่มีต้นทุนสูงและประสิทธิภาพต่ำกว่าระบบรางกว่า 3 เท่าตัว
การพัฒนาระบบรางไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะการใช้งานในประเทศ แต่ต้องเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนซึ่งเน้นใช้ระบบรางขนส่งสินค้าไปทั่วโลกด้วย ปัจจุบันจีนส่งออกสินค้า 4 เส้นทางหลัก คือ
1. ท่าเรือฝั่งตะวันตก เช่น มาเก๊า ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้
2. ท่าเรือไฮฟองในเวียดนาม
3. ท่าเรือชิตเว่ในพม่า และ
4. เส้นทาง R3A ที่ผ่านลาวมายังไทย
ทุกเส้นทางมีระบบรางภายในประเทศ ช่วยส่งสินค้าถึงที่ หากการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ จ.เชียงรายเสร็จ และเราพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพขึ้นรองรับ ต่อไปสินค้าระหว่างจีนกับยุโรป แอฟริกาจะผ่านเข้าออกทางอันดามันโดยมีไทยเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ
กระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาระบบรางและคลังสินค้าที่ท่าเรือเชียงของ เชื่อมต่อกับเส้นทาง R3A สินค้าที่มาจากจีนจะสามารถส่งต่อผ่านระบบรางลงจนถึงสตูลได้ เชียงรายจะเป็นประตูหลักทางภาคเหนือ เช่นเดียวกับที่แหลมฉบังเป็นประตูทางตอนใต้
ปัญหาหนึ่งของการพัฒนาการขนส่งระบบรางในไทย คือ รัฐบาลใช้งบประมาณในการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนสูงจนเหลือมาพัฒนาระบบรางน้อยมากทั้งที่มีความจำเป็น ซึ่งกระทรวงคมนาคมเริ่มศึกษาเรื่องรถไฟความเร็วสูง พบว่า
หากจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 250 ก.ม.ต่อช.ม. ระยะทาง 175 กิโลเมตร รางขนาด 1.435 เมตร ต้องใช้เงิน 2.6 แสนล้านบาท แต่ หากใช้รางในปัจจุบันแต่เพิ่มประสิทธิภาพหรือเปลี่ยนจากรถดีเซลรางเป็นรถไฟฟ้าจะประหยัดเงินลงทุนกว่า 1.75 แสนล้านบาท
หากพัฒนารถไฟไทยให้มีความเร็ว 160 ก.ม./ช.ม.ขึ้นไป เป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด ส่วนรถไฟความเร็วสูงโอกาสในการคุ้มทุนยังต่ำมาก
นายวิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธ์ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า รถไฟไทยมีความเร็วเฉลี่ย 40 ก.ม./ช.ม. เพราะทั้งราง หัวรถจักรและอุปกรณ์มีอายุการใช้งานหลายสิบปี มีจุดตัดถนนทั่วประเทศกว่า 2,400 จุด จึงไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้ หากจะพัฒนาระบบขนส่งทางราง รัฐบาลต้องเข้ามาเป็น ผู้พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน คือ รางรถไฟ เหมือนกับที่รัฐบาลเป็นผู้สร้างถนนโดยอาจใช้เงินกู้หรือให้สัมปทานแก่เอกชน ไม่ใช่ใช้ทรัพยากรของ ร.ฟ.ท.
สำหรับแผนพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะใช้งบประมาณ 77,800 ล้านบาท กำหนดไว้ 3 ระยะ คือ
1. จากลพบุรีถึงนครสวรรค์ 113 กิโลเมตร งบประมาณ 14,400 ล้านบาท
2. จากนครสวรรค์ถึงตะพานหิน 74 กิโลเมตร งบประมาณ 9,400 ล้านบาท และ
3. จากตะพานหินถึงเชียงใหม่ 427 กิโลเมตร งบประมาณ 54,000 ล้านบาท
กำหนดแล้วเสร็จใน 15 ปี ขณะที่แผนทั้งประเทศจะใช้งบประมาณ 3 แสนล้านบาท
ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีส่วนแบ่งการขนส่งสินค้าในประเทศ 2% ขนส่งผู้โดยสาร 4% ปี 2551 ร.ฟ.ท.ขนส่งสินค้า 13.5 ล้านตัน มีรายได้ 2,391 ล้านบาท ขนส่งผู้โดยสาร 46.6 ล้านคน มีรายได้ 4,198.62 ล้านบาท
ด้านนายวีระยุทธ สุขวัฒโก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ปิดเผยว่า หากโครงการรถไฟความเร็วสูงใช้งบประมาณสูงรัฐบาลควรปรับปรุงระบบรถไฟในปัจจุบันให้สามารถใช้ความเร็วได้เต็มที่ คืออย่างน้อย 120 ก.ม./ช.ม. ซึ่งจะทำให้การเดินทางมายังเชียงใหม่ใช้เวลาราว 8 ชั่วโมง จากปัจจุบันมากกว่า 13 ชั่วโมง เพื่อทำให้การขนย้ายคนและสินค้ามีประสิทธิภาพขึ้นและต้นทุนต่ำ
"รัฐบาลควรเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างรางและสาธารณูปโภคพื้นฐาน ควรกำหนดสัดส่วนงบประมาณในแต่ละปีให้ชัดเจน ส่วนภาคเอกชนจะเร่งรัดและกระตุ้นรัฐบาลทุกชุด ต่อเนื่องต่อไป"
Back to top
Wisarut
1st Class Pass (Air) Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
Posted: 05/11/2009 2:13 pm Post subject:
กระแสรถไฟความเร็วสูงมาแรง
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 05 พฤศจิกายน 2552 เวลา 8:07 น
ได้รับบทความ ความหวังกับรถไฟไทย ตอนต่อไป โดยคุณสมเกียรติ พงษ์กันทา นายกสโมสรโรตารีเมืองชัยนาท ได้ความว่า:
กระแสรถไฟความเร็วสูงของโลกมาเร็วและแรงมาก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา มีการประชุมสัมมนารถไฟความเร็วสูงในกรุงลอนดอน ผู้แทนกระทรวงการขนส่งอังกฤษ กล่าวไว้ว่า คงไม่ต้องอธิบายถึงหลักการและเหตุผลที่ต้องพัฒนารถไฟความเร็วสูงกันอีกแล้ว คำถามมีแต่เพียงว่าจะเริ่มสร้างกันเมื่อไร
1 สัปดาห์หลังจากนั้น กลุ่มผู้สนับสนุนรถไฟความเร็วสูงในอังกฤษ ชื่อ กรีน เกจ 21 ได้นำเสนอรายงานแนวเส้นทางที่ได้ศึกษาไว้เรียบร้อยเมื่อปีที่แล้ว ประกอบด้วย เส้นทางเหนือ-ใต้ 2 สาย ตะวันตก-ตะวันออก 3 สาย รวม 1,550 กิโลเมตร
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ในสหรัฐ โดยแอปต้า สมาคมการขนส่งสาธารณะอเมริกา ได้จัดสัมมนาเรื่องรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน มีผู้เข้าร่วมล้นหลามทั้งจากในและนอกประเทศ ประธานแอปต้าให้ ความเห็นว่า รถไฟความเร็วสูงได้รับการตอบรับดีมาก
สำหรับประเทศไทย รัฐต้องสนับสนุนที่จะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ราง ทางวิ่ง หัวรถจักร ตู้โดยสาร อุปกรณ์ทุกชนิด เพื่อเพิ่มสัดส่วนการตลาดขนผู้โดยสารจากเดิมร้อยละ 6 ของผู้โดยสารทั้งประเทศให้เป็นร้อยละ 12 เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าจากเดิมร้อยละ 2 ให้เป็นร้อยละ 4 ในสภาพของรางขนาดกว้าง 1 เมตรเช่นเดิม รางคู่เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ใช้เวลาในการก่อสร้าง ควรเริ่มเร็วที่สุด การเพิ่มรางหลีกในตำแหน่งที่เหมาะสมกับตารางเดินรถ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าจะช่วยเสริมการเดินรถให้คล่องตัวขึ้น
ภารกิจงานพัฒนารถไฟความเร็วสูง ควรมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ใช้รางกว้างมาตรฐาน 1.435 เมตร เป็นระบบใหม่แยกจากระบบของการรถไฟแห่งประเทศไทย สำรวจหาเส้นทางที่เหมาะสม อาจเป็นเส้นทางใหม่ หรืออาจขอร่วมใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่มีอยู่แล้ว สร้างโครงข่ายให้กระจายไปทั่วประเทศ เตรียมการต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน
โครงการนี้ควรเริ่มทันที ไม่มีเวลาเหลือให้ไทยในตลาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกนี้อีกแล้ว.
Back to top
Sornuk
3rd Class Pass Joined: 02/11/2009 Posts: 5
Posted: 05/11/2009 7:46 pm Post subject:
Quote: ก็เอา Airport Link เป็น Basic Buildign Block นี่ครับ ถ้า ทำให้ได้ 300 kph ก็ต้อง คูณ 2 หรือ 3 เข้าไปเพราะ ต้องเวนคืนที่ใหม่หมด เพื่อให้โค้งรัศมี กว้างถึง 7000 เมตร แทนที่จะโค้งรัศมี 1000 เมตร ที่นับว่ายอดแล้วสำหรับเรา ในขณะนี้
ถ้าอย่างนั้นก็ใช้ Tilting Train สิครับ แต่ผมก็ไม่ทราบว่าจะลดรัศมี ได้เท่าไหร่
Quote: โครงการนี้ควรเริ่มทันที ไม่มีเวลาเหลือให้ไทยในตลาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจของโลกนี้อีกแล้ว
ชอบประโยคนี้มาก มองไปในอนาคตสิครับ เมื่อน้ำมันไกล้หมดโลกพลังงานแค่ไม่กี่อย่างที่เราสามารถสร้างทดแทนได้ แต่ที่ง่ายสุดคือ ไฟฟ้า ถ้าเรายังยึดติดกับน้ำมัน มันก็ได้ไม่นานหรอกครับ แต่ถ้าใช้การรื้อระบบคราวนี้ แล้วเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้า มันก็ไม่สายไปที่จะเริ่ม ไม่ต้องเปลี่ยนทันทีหรอกครับ แค่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เมื่อถึงวันที่น้ำมันแพงเกินไป ก็ค่อยใช้ไฟฟ้าเต็มตัว อีกอย่างคือ การใช้ราง 1.435 เมตร ซึ่งปัจจุบัน จีน ใช้รางแบบนี้เป็นหลัก ใช้ 1 เมตรแค่ที่เชื่อมต่อมาเวียตนาม ถ้าไทยจีน เชื่อมกันได้ อาจจะเกิดเส้นทาง Trans Aisa ขึ้นมา แล้วจีนเองก็มีเส้นทางที่เชื่อมไปยังเส้น Trans Siberia โอ้ยยย....อะไรตามมาในอนาคตทั้งสังคม เศรษฐกิจ ผมก็ไม่อยากฝันถึง วันนึงเราอาจจะนั่งรถไฟไปมอสโควก็อาจเป็นได้
แค่ไม่อยากไห้ฝันสลาย ไม่อยากไห้นักการเมือง มาทำลายฝันของคนรักรถไฟ ที่อยากไห้รถไฟไทยพัฒนา ก็เท่านั้น
Back to top
You cannot post new topics in this forum You cannot reply to topics in this forum You cannot edit your posts in this forum You cannot delete your posts in this forum You cannot vote in polls in this forum
Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group