View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
anusorn
1st Class Pass (Air)
Joined: 04/09/2006 Posts: 1642
Location: มณฑลอาคเนย์
|
Posted: 11/11/2009 5:19 pm Post subject: |
|
|
black_express wrote: | ในเมื่อทางหนึ่งเป็นรางใหม่ปิ๊ง แต่อีกทางหนึ่งเป็นรางเดิม ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง มันจะเร็วขึ้นตรงไหนหนอ ? |
ในบัดเดี๋ยวนี้การทดสอบสภาพทางสายเหนือ(ของผมเอง)โดยการนั่ง ข.12 เมื่อ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา จาก ชม-กท กลายเป็นว่า สภาพทางที่ทำให้ส่ายสะโพกโยกย้ายมากที่สุดกลายเป็นทางคู่-คี่ช่วง บางเขน-ลพบุรี ไปซะแล้ว ตอนนี้ พล-อด ค่อนข้างนิ่มนวลครับ หลับสบาย |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
|
Posted: 11/11/2009 6:22 pm Post subject: |
|
|
^^^
ก็ทางช่วง บางซื่อ - รังสิต ได้มีการเปลี่ยนเอาราง 80 ปอนด์ ไปแต่ปี 2523 หนะครับ นี่ก็จะ 30 ปีแล้ว ... ทางใช้งานอย่างหนัก เลยโทรม |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/11/2009 9:51 pm Post subject: |
|
|
ถ้าเป็นทางขาขึ้นกับรางกลางล่ะก็ คงได้ส่ายสะโพกแน่นอนครับ
ผมถึงว่า น่าจะปรับปรุงรางเดิมไปด้วยไงล่ะครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47370
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 11/11/2009 10:25 pm Post subject: |
|
|
นายกฯ แจงแผนปฏิรูป รฟท.-สั่งศึกษารถไฟความเร็วสูง
รัฐสภา 11 พ.ย.52- นายกรัฐมนตรี เผยผลประชุม ครม. เศรษฐกิจผ่านแผนปฏิรูป รฟท. พร้อมให้ศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง โดยใช้งบประมาณโครงการไทยเข้มแข็ง พร้อมตั้งกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุดในส่วนตัวแทนภาครัฐ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวันนี้ (11 พ.ย.) ได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยจะมีการลงทุนเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แก้ปัญหาเรื่องระบบราง หัวรถจักร อาณัติสัญญาณ รวมทั้งปรับปรุงความเร็วรถไฟจาก 50-60 กม./ชม.เป็น 80-120 กม./ชม. และลงทุนเปิดเส้นทางใหม่ เชื่อมโยงจากอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ถึงจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม และเส้นทางเด่นชัย-เชียงราย รวมทั้งมีมติให้ศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง โดยใช้งบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการบริหารงานให้รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์สามารถเดินรถได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแต่งตั้งให้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ปัญหาการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ในตัวแทนของภาครัฐ โดยกำหนดกรอบเวลาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบ่งเป็นช่วง 30 วัน หลังจากมีคณะกรรมการที่จะดูแลปัญหาใน 76 โครงการ ขณะที่ช่วง 60 วันจะดูแลการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และช่วง 90 วัน จะดูแลระเบียบเกี่ยวกับข้อกฎหมาย.-สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-11-11 19:52:57 |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
|
Posted: 12/11/2009 1:20 am Post subject: |
|
|
เทแสนล้านทำไฮสปีดเทรน
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 12 พฤศจิกายน 2552 00:45 น.
ครม.เศรษฐกิจเห็นชอบแผนปฏิรูปร.ฟ.ท.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวานนี้ (11 พ.ย.) มีมติเห็นชอบแนวทางการปฎิรูปการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยจะมีการลงทุนเพื่อปรุบปรุงมาตรฐานความปลอดภัย แก้ปัญหาเรื่องราง หัวรถจักร ระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งจะมีการลงทุนภายใต้แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความเร็วจากปัจจุบัน 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 80-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พร้อมทั้งมีการลงทุนในเส้นทางใหม่ โดยเฉพาะเส้นทางที่จะเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ
1) เส้นทางบัวใหญ่ มุกดาหาร -นครพนม มูลค่า 30,000 ล้านบาท และ
2) เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย
“ในด้านเงินลงทุนนั้นต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนลักษณะความร่วม มือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership Committee) แต่เห็นว่าโครงสร้างคณะกรรมการที่มีอยู่ทำให้งานล่าช้า จึงต้องเปลี่ยนโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาเดินหน้าอย่างรวดเร็ว จากเดิมผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปลี่ยนมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) มาเป็นเลขาฯ ที่ประชุมแทน”นายกอร์ปศักดิ์กล่าว
นอกจากนี้จะมีการศึกษาการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) กรุงเทพ-ระยอง จากที่ค้างคามาแต่ปี 2538-39 ด้วย
ส่วนโครงสร้างร.ฟ.ท. จะให้กระทรวงคมนาคมหารือกับทั้งฝ่ายบริหาร ร.ฟ.ท.และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) เพื่อให้ยอมรับการปรับหน่วยธุรกิจขึ้นมาดูแล ในเรื่องราง การเดินรถ ทรัพย์สิน เพื่อให้มีหน่วยงานที่สามารถบริหารโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์และเปิดให้บริการ ได้เร็วที่สุด
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมอนุมัติในหลักการแผนการลงทุนของ ร.ฟ.ท. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อเป็นการลงทุนในอนาคต โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงคมนาคม ไปดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อปรับงบประมาณทั้งหมดให้ชัดเจน
โดยเร่งให้กระทรวงคมนาคม ศึกษาการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-จันทบุรีระยะทาง 330 กม.วงเงิน 103,320 ล้านบาท ให้ชัดเจนภายใน 45 วัน เพื่อเสนอครม.ตัดสินใจแผนลงทุนภายในสิ้นปี 2552 นี้ เนื่องจากเห็นว่าเส้นทางระยะสั้นน่าจะก่อสร้างได้เร็วกว่าระยะยาว ขณะที่แผนลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดมี 4 เส้น นอกจากสายตะวันออกที่ได้กล่าวไปแล้วประกอบด้วย
สายเหนือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กม.วงเงิน 184,335 ล้านบาท สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กม.วงเงิน 149,600 ล้านบาท และกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 985 กม. วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 271,600 ล้านบาท ส่วนการลงทุนนั้นได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการจัดหาแหล่งเงินทุน
"นายกฯเห็นว่า ทั้ง 4 เส้นทางนี้ ยังไม่ใช่โครงการเร่งด่วน จึงขอให้มีการศึกษาความเป็นไปได้สายที่ไปจ.ระยองก่อน เชื่อว่าจะมีนักลงทุนอาศัยเส้นทางนี้มากกว่าขณะที่สายกรุงเทพ- เชียงใหม่ มีผู้ตั้งสังเกตว่า รถไฟความเร็วสูงที่วื่งเพียง 3 ชั่วโมงกว่า 700 กม. หากใช้เครื่องบินอาจจะไปถึงเร็วกว่าเพราะใช้เวลาเพียง 50 นาทีเท่านั้น โดยปกติความเร็วสูงควรจะมีกรอบอยู่ในระยะ 1 ชั่วโมง" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
**ครม.รับทราบตั้งบริษัทลูก
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.เช่น การจัดตั้งบริษัทลูก นายกฯรับทราบแนวทางเท่านั้น แต่เข้าใจว่า นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม จะนำไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งก็น่าจะมีสหภาพฯรฟท.ด้วย ซึ่งในหลักการจะต้องใช้งบประมาณ ซึ่งในระยะ 3-4 ปีคงยาก และคงต้องใช้วิธีการดำเนินการในลักษณะผ่อนส่งระยะยาว เหมือนกับการดำเนินโครงการใหญ่ๆ
ที่ผ่านมาซึ่งกระทรวงการคลังจะรับไปดำเนินการ แต่ในส่วนงบประมาณคงจะต้องเป็นภาระใน 20-30 ปี ขณะที่แหล่งเงินกู้จะเป็นเงินที่อยู่นอกงบประมาณ ซึ่งขณะนี้มีเงินกู้วงเงินประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่อยู่ระหว่างเจรจากับประเทศจีนเพื่อนำมาดำเนินการในระบบรางคาด ว่าในสิ้นปี 2553 จะสามารถดำเนินการได้
“การเปลี่ยนรางรถไฟจากรางขนาด 1 เมตร(METER GAUGE) เป็นขนาด 1.435 เมตร (Standard GAUGE) นั้นต้องใช้ เงินลงทุนกว่า 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากและไม่เหมาะสมในขณะนี้ ที่ประชุมจึงเห็นว่า หากจะดำเนินการขอให้ทำให้รถไฟไม่ให้ตกรางจะดีกว่า ซึ่งสามารถใช้งบในกรอบ 1 แสนล้านบาทนี้ได้ทันที“ นายกอร์ปศักดิ์
อย่างไรก็ตามตามแผนดังกล่าวนั้นจะมีการแก้ไขปัญหาด้านโครงสร้างพื้น ฐาน ระยะเร่งด่วน ปี 2553 - 2557 ประกอบด้วย งานบูรณะเส้นทางเดิม และงานเพิ่มเติมหัวรถจักร ด้านแผนพัฒนาโครงข่ายทางคู่ ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระยะ รวม 15 ปี วงเงิน 3.24 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
ระยะเร่งด่วนปี 2553-2557 มี 5 สายทาง วงเงินรวม 66,110 ล้านบาท
ระยะที่ 2 ตั้งแต่ปี 2558-2562 ระยะทาง 975 กม.วงเงิน 112,900 ล้านบาท และระยะที่ 3 ปี 2563-2567 ระยะทาง 1,247 กม.วงเงิน 145,700 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีแผนการแก้ปัญหาบริหารจัดการด้านทรัพย์สิน และการแก้ปัญหาการบริหารจัดการด้านกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของ ร.ฟ.ท. ที่จะเสนอให้ ครม.เศรษฐกิจพิจารณา |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 12/11/2009 7:50 am Post subject: |
|
|
มีคำถามครับ
1. ปัจจุปันทางก็วิ่งได้แล้ว 100-120 จะปรับปรุงส่วนไหนครับ?
2. เครื่องบินไม่รอเช็คอินก่อน 45นาทีรึครับ+เวลาเดินทางไปสถานี ลืม+ส่วนนี้ไปรึเปล่า รวมๆ แล้วก็พอๆกันแหละ ดีไม่ดี รถไฟเร็วกว่าอีก หากท่านอยู่ ไกลสนามบินมากๆ
3. รถไฟขึ้นได้หลายที่กว่า เครื่องบินได้แค่ทีเดียว แบบนี้รถไฟความเร็วสูงอำนวยความสะดวกคนได้เยอะกว่านะครับ ได้มองจุดนี้รึเปล่า _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
pattharachai
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย
|
Posted: 12/11/2009 8:20 am Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | มีคำถามครับ
1. ปัจจุปันทางก็วิ่งได้แล้ว 100-120 จะปรับปรุงส่วนไหนครับ?
2. เครื่องบินไม่รอเช็คอินก่อน 45นาทีรึครับ+เวลาเดินทางไปสถานี ลืม+ส่วนนี้ไปรึเปล่า รวมๆ แล้วก็พอๆกันแหละ ดีไม่ดี รถไฟเร็วกว่าอีก หากท่านอยู่ ไกลสนามบินมากๆ
3. รถไฟขึ้นได้หลายที่กว่า เครื่องบินได้แค่ทีเดียว แบบนี้รถไฟความเร็วสูงอำนวยความสะดวกคนได้เยอะกว่านะครับ ได้มองจุดนี้รึเปล่า |
ตอบ
1. ถ้าเรามีรางที่รองรับน้ำหนักกดเพลาได้มากขึ้น ก็ดียิ่งขึ้นครับ แต่จะเป็นราง 1 เมตร หรือ 1.435 เมตร ก็แล้วแต่เงินครับ
2. แบบนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละท่านครับ บางท่านที่บ้านอยู่ใกล้สนามบินไปเครื่องบินจะสะดวกกว่า บางท่านบ้านอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ไปรถไฟความเร็วสูงก็จะสะดวกกว่า
3. ไม่ครับ หากได้ชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงแล้ว ต้องหยุดสถานีให้น้อยที่สุดครับ เช่น สมมติว่าต้นทางคือหัวลำโพง(จริงๆคงไม่ใช่) สถานีต่อไปที่รถจะหยุด ควรเป็นปลายทางเลยครับ หรือไม่ก็เป็นสถานีที่อยู่ไกลออกไปอีกสัก 100-200 กิโลเมตรขึ้นไปจากต้นทางถ้าจะให้ออกหัวลำโพงแล้วหยุดสามเสน ก็ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงครับ ดังนั้น ประเด็นที่ว่า รถไฟความเร็วสูงจะขึ้นได้หลายที่นั้น ผมว่าไม่ใช่ข้อได้เปรียบของรถไฟครับ |
|
Back to top |
|
|
suraphat
1st Class Pass (Air)
Joined: 12/02/2007 Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง
|
Posted: 12/11/2009 9:09 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
การเปลี่ยนรางรถไฟจากรางขนาด 1 เมตร(METER GAUGE) เป็นขนาด 1.435 เมตร (Standard GAUGE) นั้นต้องใช้ เงินลงทุนกว่า 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากและไม่เหมาะสมในขณะนี้ ที่ประชุมจึงเห็นว่า หากจะดำเนินการขอให้ทำให้รถไฟไม่ให้ตกรางจะดีกว่า ซึ่งสามารถใช้งบในกรอบ 1 แสนล้านบาทนี้ได้ทันที นายกอร์ปศักดิ์ |
กระผมไม่เห็นด้วยเลยกับการมาเปลี่ยนขนาดทางเอาเสียเลย เนื่องจากหากเปลี่ยนขนาดของทางแล้ว ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงทุกๆอย่างตั้งแต่สะพาน ไม้หมอน อุโมงค์ ล้อเลื่อน
ซึ่งกระผมว่าถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว กระผมเห็นว่า ให้สร้างเป็นเส้นทางใหม่พร้อมใช้อุปกรณ์ชุดใหม่ไปเลยก็จะดูประหยัดกว่านะครับ |
|
Back to top |
|
|
tuie
1st Class Pass (Air)
Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 12/11/2009 9:20 am Post subject: |
|
|
นสน.ชท.บัวแล้งน้ำ wrote: | หากได้ชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงแล้ว ต้องหยุดสถานีให้น้อยที่สุดครับ เช่น สมมติว่าต้นทางคือหัวลำโพง(จริงๆคงไม่ใช่) สถานีต่อไปที่รถจะหยุด ควรเป็นปลายทางเลยครับ หรือไม่ก็เป็นสถานีที่อยู่ไกลออกไปอีกสัก 100-200 กิโลเมตรขึ้นไปจากต้นทางถ้าจะให้ออกหัวลำโพงแล้วหยุดสามเสน ก็ไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงครับ |
แอบฝันกลางวันยามสายว่า ตอนฉลองแซยิด อ.หลวงอัคคีเทพฯจักได้นั่งรถไฟความเร็วสูงไม่แพ้ ICE-3 ในประเทศไทยเที่ยวให้มันสะใจเลย อย่างขบวนรถด่วนพิเศษกรุงเทพ-ปาดังเบซา ออกจากกรุงเทพก็จอดแค่ หัวหิน-ชุมพร-สุราษฎร์ฯ-หาดใหญ่-ปาดังฯใช้เวลาเดินทางสัก ๕-๖ ช.ม. กรุงเทพ-เชียงใหม่ ใช้เวลาสัก ๔-๕ ช.ม. ก็ไม่ต้องแล "โคปเตอร์" แล้วละครับ
สำคัญว่าต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานรถไฟความเร็วสูงหยุดงานประท้วงบ่อยๆแบบ SNCF (การรถไฟฝรั่งเศส)ก็แล้วกัน
เสียดายมากๆที่ผู้มีอำนาจไม่สนใจสานต่อเส้นทางสายคีรีรัฐ-พังงา-ภูเก็ต/กระบี่ บ้างเลย ทั้งๆที่พื้นที่แถบนี้มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูงมาก เครื่องบิน/รถทัวร์มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเต็มไปหมด.....เสียดายจริงๆ เสียดายจริงๆ _________________ นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44020
Location: NECTEC
|
Posted: 12/11/2009 9:39 am Post subject: |
|
|
^^^
กรณี รถไฟความเร็วสูงไประยอง นั้น ให้ถือว่าเป็น ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า Airport Link ฝั่งตะวันออกไปก็แล้วกันนะครับ คราวนี้ สส. สว. ชลบุรี สนับสนุนเต็มที่
ส่วนกรณี รถไฟไปภูเก็ต นั้น จริงๆ ประชาธิปัตย์เคยยกประเด็นนี้แต่ปี 2538 แล้ว
//--------------------------------------------------------------------------------
ส.ว.ชลบุรีหนุนนายกฯ เร่งไฮสปีดเทรนสู่ภาคตะวันออก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2552 14:59 น.
ศูนย์ข่าวศรีราชา -นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชลบุรี ในฐานะคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา หนุนแนวคิดลงทุนรถไฟความเร็วสูงของนายกรัฐมนตรี ชี้การพัฒนาเส้นทางสายตะวันออกที่จะผ่านทั้งชลบุรีและระยอง นอกจากจะทำให้เกิดการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกมหาศาล ชุมชนที่จะเกิดใหม่ตามสถานีต่างๆยังจะได้รับอานิสงส์ทางเศรษฐกิจตามไปด้วย เผยที่ผ่านมาเคยเสนอให้รัฐบาลทักษิณเร่งพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ภาคตะวันออกตั้งแต่กลับเงียบหาย
เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ย่อมต้องผ่านพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยองอยู่แล้ว ดังนั้นหากรัฐบาลกำหนดให้มีสถานีใหญ่อยู่ในพื้นที่ตัวเมืองชลบุรี ศรีราชา พัทยาและระยอง ย่อมส่งผลดีต่อประชาชน เพราะนอกจากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่องเที่ยวแล้ว ยังจะเกิดชุมชุนใหม่บริเวณโดยรอบสถานีรถไฟ และยังจะเกิดการลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ ตามมา ซึ่งก็ถือเป็นการกระจายความเจริญจากกรุงเทพฯ ออกสู่ภาคตะวันออก และยังจะทำให้รัฐบาลสามารถเก็บภาษีจากการกระจายความเจริญต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
นายสรุชัย ยังเผยอีกว่าเป็นเรื่องน่ายินดี ที่โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงจะเกิดขึ้นจริงในรัฐบาลชุดนี้ เพราะที่ผ่านมาหลายรัฐบาลมีแนวคิดจะผลักดันโครงการดังกล่าวแต่สุดท้ายก็เงียบหายไป เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่ตนดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ที่เคยเสนอโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่ต่อ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายเรื่องก็เงียบหายไปเช่นรัฐบาลก่อนๆ
//----------------------------------------------------------------------------------------
เนรมิตสายกรุงเทพฯ-ระยอง "มาร์ค" สั่งสร้างไฮสปีด
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 12 พฤศจิกายน 2552, 06:00 น.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจเห็นชอบแผนพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยเน้นการลงทุนที่จะเป็นมาตรฐานความ ปลอดภัยของผู้ใช้บริการเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนปัญหาเรื้อรัง อาทิ ราง หัวรถจักร อาณัติสัญญาณนั้น จะมีการลงทุนภายใต้โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็งอยู่แล้ว โดยนอกจากเรื่องความปลอดภัยแล้ว ยังควรปรับปรุงระบบการวิ่งให้เร็วขึ้น จากปัจจุบัน 50-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 80-120 กิโลเมตร อีกทั้งยังต้องดูเรื่องการลงทุนในเส้นทางใหม่ โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน
ขณะที่นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า แผนพัฒนา รฟท.จะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และความมั่นคงของระบบโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้กรอบเงินลงทุนรวม 100,000 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2557 ใน 3 ส่วนหลัก คือ
1. การปฏิรูประบบรถไฟเพื่อความปลอดภัย หัวรถจักร เปลี่ยนไม้หมอน และทำรางคู่ในสายหลัก โดยกระทรวงจะเสนอรายละเอียดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายใน 1 สัปดาห์ จากนั้น สศช.จะนำไปสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอให้ ครม.รับทราบภายใน 45 วัน
2. การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางและการขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 2 เส้นทาง คือ
2.1 เส้นทางรถไฟ บัวใหญ่-มุกดาหาร-นครพนม และ
2.2 เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
และ 3. การลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงในระบบรางมาตรฐานหรือไฮสปีดเทรน โดยเส้นทางแรกที่จะดำเนินการก่อนคือ เส้นทาง กทม.-ระยอง ระยะทาง 250 กิโลเมตร เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีกิจกรรมของชาวต่างชาติจำนวนมาก โดยให้ดำเนินการในรูปแบบที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน ทั้งนี้ ในข้อ 2 และ 3 กระทรวงคมนาคมจะหารือร่วมกันกับกระทรวงการคลังเพื่อหาข้อสรุปเรื่องเงินลงทุนต่อไป
ด้านนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้แจ้งให้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจทราบว่ากำลังศึกษาการปรับเพิ่มความเร็วของรถไฟใน 4 เส้นทาง ได้แก่ 1. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร 2. กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร 3. กรุงเทพฯ-จันทบุรี ระยะทาง 330 กิโลเมตร 4. กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทาง 985 กิโลเมตร โดยจะใช้เวลาในการศึกษา 3 เดือน
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า เมื่อรับฟังกระทรวงคมนาคมชี้แจงแล้วเสร็จ นายกฯได้สั่งการให้ กระทรวงคมนาคมไปศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน เนื่องจากเป็นเส้นทางที่มีศักยภาพ เพราะมีทั้งกลุ่มนักลงทุนและนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไป จ.ระยอง เพราะมีระยะทางในการเดินทางไม่เกิน 3 ชั่วโมง ดังนั้น ควรศึกษาเส้นทางที่มีระยะสั้นและควรเร่งทำในเส้นทางนี้ไปก่อน นอกจากนี้ ยังให้ไปศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมกับประเทศลาว จากกรุงเทพฯผ่านบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา เชื่อมต่อไปยัง จ.นครพนมและมุกดาหารต่อไปประเทศลาวด้วย
"สำหรับแหล่งเงินที่จะมาใช้ในการลงทุน ปรับปรุงระบบราง 100,000 ล้านบาทนั้น ควรใช้เงินงบประมาณ ส่วนเรื่องเงินกู้นั้น ขณะนี้มีเงินจีนที่รอให้กู้อยู่แล้ว 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งต้องเร่งทำเรื่องกู้มาปรับปรุงระบบรางรถไฟ คาดว่าภายในเดือน ธ.ค.นี้จะเห็นภาพชัดเจนและสามารถเดินหน้าพัฒนาระบบรางรถไฟของประเทศ"
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบแผนปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของ รฟท. ที่เตรียมแยกเป็นหน่วยธุรกิจ 3 หน่วยธุรกิจ คือ หน่วยธุรกิจการบริหารจัดการด้านทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจด้านการเดินรถ, หน่วยธุรกิจด้านซ่อมบำรุง และ 1 บริษัทลูก คือ บริษัทแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซึ่งทั้งหมด รฟท.จะถือหุ้น 100% และถือว่าเป็นแผนที่หารือร่วมกับสหภาพพนักงาน รฟท.มาแล้ว
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมได้ มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปหารือกับ รฟท. ทั้งฝ่ายบริหาร สหภาพ รฟท. ให้เป็นที่ยอมรับก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตั้งหน่วยธุรกิจ 3 หน่วย และ 1 บริษัทลูก แล้วนำกลับมาเสนอ ครม.เศรษฐกิจอีกครั้งโดยเร็วที่สุด
ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ รฟท. กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นแผนดังกล่าว จึงยังบอกไม่ได้ว่าจะรับหรือไม่รับ ต้องรอดูรายละเอียดของแผนก่อน แม้ว่า ครม. เศรษฐกิจจะเห็นชอบแล้วก็ตาม เพราะนายกรัฐมนตรีได้รับปากแล้วว่าหลังแผนดังกล่าวผ่าน ครม.เศรษกิจก็จะนำมาหารือกับสหภาพอีกรอบก่อนที่จะนำเข้า ครม.ชุดใหญ่. |
|
Back to top |
|
|
|