Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311898
ทั่วไป:13571231
ทั้งหมด:13883129
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อุบัติเหตุรถไฟตกรางเมื่อวันวาน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อุบัติเหตุรถไฟตกรางเมื่อวันวาน
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6  Next
 
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 6:55 am    Post subject: อุบัติเหตุรถไฟตกรางเมื่อวันวาน Reply with quote

20 กันยายน 2470: รถไฟขบวน 58 (เพชรบุรี - กรุงเทพ) ตกรางที่ กม. 10/3 (นับจากบางกอกน้อย) ระหว่างบ้านฉิมพลี - ศาลาธรรมสพน์ รถจักรเบอร์ 234 และ รถโบกี้ชั้น 3 จำนวน 4 หลัง ตกราง ทางชำรุดไป 4 ช่วงเสาโทรเลข

13 พฤศจิกายน 2470 รถไฟขบวน 22 (นครราชสีมา - กรุงเทพ) ชนรถโดยสาร ทำให้ขุนรักษายุทธภัณฑ์ (เจ้าของรถ) เสียชีวิต และ นายชัย (คนขับ) ทนพิษบาทแผลไม่ไหว เสียชีวิตในเวลาต่อมา และ มีผู้โดยสารบาดเจ็บ อีก 3 ราย ทำให้กรรถไฟขอพระบรมราชาณุญาตให้ติดตั้งประตูกั้นทางที่นครราชสีมา แต่ คณะเสนาบดีให้ติดตั้งป้ายเตือนแทนเพราะเส้นทางดังกล่าวมีรถไม่มาก ไม่คุ้มกับการติดตั้งประตูกั้นทางพร้อมเจ้าหน้าที่ปิดเปิด เวลารถไฟผ่าน


27 มิถุนายน 2471: รถขบวน 202 (ปากน้ำโพ - กรุงเทพ) ชนรถขบวน 23
ที่หัวกุญแจสถานีบ้านมะกอก (ปัจจุบันคือสถานีเนินมะกอก) เพราะความประมาททั้งๆที่นายสถานีปากนำโพได้เตือนคนขับ ขบวน 202 ว่าจะมีรถขบวน 23 มาที่บ้านมะกอก ให้ระวังด้วย ผลคือ มี ตาย 1 (นาง เปี่ยม) และ บาดเจ็บ 2 (นาย เซียงเม้ง จากเมืองสุพรรณบุรี และ นาย ยา คนอยุธยา) รถขบวน 202 ตกรางไป 2 ล้อ พร้อมรถพ่วง 8 หลัง (15 ล้อออกนอกราง) และ รถขบวน 23 ตกรางไป 2 หลัง

25 กันยายน 2473: รถด่วน 9 (พิษณุโลก - เชียงใหม่) ตกรางระหว่างสถานีปากปาน กับ สถานีแก่งหลวง (กม. 541/1) เพราะทางทรุด ทำให้รถจักรคอนโซลิเดต 338 ตกราง รถถังน้ำจมดินลึก 3 เมตร โบกี้ชั้น 3 จำนวน 3 หลัง ตกรางเสียหายหนัก และ โบกี้ชั้น 2/3 จำนวน 1
หลังตกรางเสียหายเล้กน้อย ผู้โดยสารและพนักงานรถไฟเสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บ 6 คน กว่าเจ้าหน้าที่ กรมรถไฟหลวงและทหารจากเด่นไชยจะกู้ซากรถได้ใช้เวลา 7 วัน และ ได้ทำทางหลีก
ชั่วคราว เพื่อให้รถไฟขบวนอื่นผ่านได้เมื่อ 28 กันยายน 2473 ส่วนผู้บาดเจ็บถูกส่งโรงพยาบาลทหารเด่นไชย

15 กุมภาพันธ์ 2473: รถสินค้า 201 (กรุงเทพ - อุตรดิตถ์) ชนกับรถ 216 ที่หัวกุณแจรางสถานีช่องแค เมื่อเวลา 14:35 น. คนขับขบวน 216 เสียชีวิต คนขับขบวน 201 สาหัส


25 พฤษภาคม 2475 ขบวนพิเศษรถบรรทุกหิน จากสถานีบุรีรัมย์ ตกรางที่ กม. 357
ระหว่างบ้านทะเมนไชยกับ สถานีบุรีรัมภ์ เมื่อเวลา 01:00 น. ทำให้ รถจักร 2 หัว พร้อมรถบรรทุกหิน 28 หลัง ตกราง - ช่างไฟ 1 เสียชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาล ส่วนคนขับ ช่างไฟ 2 และพนักงานห้ามล้อ บาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดเพราะคนร้ายลักถอดเหล็กประกับราง

ไว้ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติอีกจะค้นเพิ่มเพราะแม้แต่ในสมัยรัชการที่ 5 มีกรณี
รถไฟชนกันแล้ว และ มีกรณีรถไฟชนกะช้างเมื่อมิถุนายน 2451 ด้วย
นอกจากนี้เคยมีกรณีช้างหลวง อาละวาดฟาดงวงฟาดงากะรถรางอีกต่างหาก


Last edited by Wisarut on 22/08/2006 6:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:04 am    Post subject: Reply with quote

ตอนที่ค้นหนังสืองานศพ คุณเจริญ มหาวัจจ์ (ครฟ.) ถึงได้พบข้อมูลที่ไม่ปรากฏในจดหมายเหตุการเสด็จเยือนประเทศอินโดจีน พ.ศ. 2473 ... กรณีนี้เกือบทำให้ ครฟ. หัวขาด ทั้งกรม ....

9 พฤษภาคม 2473: เกิดอุบัติเหตุ ทางแถวคอสะพาน ตัวตะเข้ (สะพานเหล็กก่อนถึงสถานีหัวตะเข้ถ้ามาจากทางแปดริ้ว) ทรุด หลังจากขบวนรถพิเศษจากอรัญประเทศ ผ่านสะพานนี้ไปแค่วันเดียวต้องมีการถ่ายขบวนรถ ถึง 4-5 วันกว่าจะแก้ไขคอสะพานได้สำเร็จ

นี่ดีนะที่ไม่เกิดกะรถไฟพระที่นั่ง ไม่งั้น ครฟ. โดน กุดหัว ทั้งกรม ....


// -----------------------------------------------------

เมื่อ คืนวันที่ 4 มิถุนายน 2451 มีช้างสีดอเชือก 1 ชนรถไฟขบวนโคราช - กรุงเทพ ตกราง พนักงานห้ามล้อตาย 2 คน ต้องจ่ายบำเหน็จ 300 บาทเพื่อไถ่ตัวพ่อแม่ของพนักงานห้ามล้อที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งยังเป็นทาสที่ไถ่ถอนค่าตัวไม่หมดนะครับ และ อีก 175 บาทให้ครอบครัวพนักงานห้ามล้ออีกคนเพื่อ ใช้ในงานศพ

หมอนัทพูด:

น่าจะมีภาพ ให้ดูมั่งนะครับ ระทึกดี


--------------------------------------------------------------------------------



คุณ maxell พูด:

จัดหามาให้แล้วคร้าบตามคำเรียกร้อง เชิญชมกันได้เลยน่ะคร้าบ บางภาพอาจจะม่ายค่อยชัดแต่ก็พอดูกันได้ 8)

ภาพนี้เป็นเหตุการณ์รถไฟชนช้างในคราวที่ 2 ครับ(เขาว่าอย่างนั้นน่ะ เพราะครั้งแรกนั้นเกิดเมื่อปี 2447) มีรายละเอียดดังนี้

ก. วันที่ 4 มิถุนายน 2451 รถไฟที่มีต้นทางจากนครราชสีมา แล่นมาถึงระหว่างสถานีเชียงรากใหญ่ กับ เชียงรากน้อย ชนกับช้างพังที่ขึ้นมาบนคันดินรถไฟ พนักงานห้ามล้อถึงแก่ความตาย 3 คน (หัวมุดเข้าเตาไฟไป 1 คน, พนักงานห้ามล้อตัวขาด 2 ท่อน ไป คน และ ทนพิษบาดแผลไม่ไหว) บาดเจ็บหนึ่ง รถไฟตกราง 13 คัน (ไม่ตกราง 13 คัน)

ข.สาเหตุที่ชนเพราะเป็นเวลากลางคืนช้างเดินข้ามทางรถไฟในเวลาที่รถแล่นมาอย่างกระชั้นชิด

เมื่อเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เจ้ากรมไวเลอร์และ เจ้าหน้าที่ กรฟ. (กรมรถไฟหลวง) ไปที่เกิดเหตุในวันที่ 5 มิถุนายน 2451ภาพแรกครับ ตั้งกล้องฟากตะวันตกทางรถไฟ

Click on the image for full size

อธิบายภาพ
1.ซากช้าง
2.รถจักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถจักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
5.รถบันทุกรางเหล็กเกยพื้นรถกาด
6.พื้นรถกาด (รถของพนักงงานห้ามล้อ) ที่พังกระเด็นลงไปทั้งโครง
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของที่ย่นขัดต่อกันตกรางต่อๆไป

ภาพที่2 ตั้งกล้องถ่ายฟากตะวันตกทางรถไฟเยื้องมาข้างเหนือ

Click on the image for full size

อธิบายภาพ
5.รถบันทุกรางเหล็กเกยพื้นรถกาด
6.พื้นรถกาดที่พังกระเด็นลงไปทั้งโครง
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของที่ย่นขัดต่อกันตกรางต่อๆไป
9.รถไฟสำหรับรังส่งผู้โดยสารไปกรุงเก่า

ภาพที่3

ตั้งกล้องถ่ายฟากตะวันตกทางรถไฟเยื้องมาข้างใต้

Click on the image for full size

อธิบายภาพ
2.รถจักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถจักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
5.รถบันทุกรางเหล็กเกยพื้นรถกาด

6.พื้นรถกาด
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของ
9.ตัวรถแบรก
10.รถเครื่องมือสำหรับยกรถที่เอาไปตั้งทำการ

ภาพที่4
ตั้งกล้องถ่ายฟากตะวันตกทางรถไฟด้านเหนือ

Click on the image for full size

อธิบายภาพ
1.รถเครื่องมือกับรถรับคนดดยสารที่มาจากกรุงเทพฯ
2.รถจักรคันนำ
3.รถฟืนสำหรับรถจักรคันนำ
4.รถจักรคันหลัง
7.หลังคารถแบรก
8.รถบันทุกของที่ย่นขัดต่อกันตกรางต่อๆไป

ภาพที่ 1- 4 เป็นเอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัส ร.5 ยธ 5.6/43 รถไฟตกรางคราวชนช้างครั้งที่2 - 5 มิถุนายน 2451
หนังสือ: พระพุทธเจ้าหลวงกับชาวกรุงเก่า;สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา,2543


คุณหมอพูด:
สุดยอดครับ ภาพชุดประวัติศาสตร์ชุดนี้
ไม่ทราบว่าคนถ่ายภาพเป็นนักข่าวจากหนังสือพิมพ์ หรือของกรมรถไฟหลวงเอง

ผมตอบ:
คุณหมอครับ ต้องเป็นช่างภาพกรมรถไฟหลวงอย่างไม่ต้องสงสัยเลยครับ .... เพราะรายนี้ก็ถ่ายภาพกรุงเทพช่วงประตูสะพานหัน (รถรางสาย บางกระบือ - หัวลำโพง กะ รถไฟสายรอบเมืองตัดกันพอดี) ช่วงปี 2448 - 2453 แล้วเอาไปพิมพ์ใหนังสือที่ระลึกการเปิดเดินรถสายใต้ปี 2459 หนะ


คุณนครลำปางพูด:
อาจเป็นเพราะช้างเห็นว่าไม่ใช่พวกเดียวกัน ก็เลยชนซะเลย
ปัจจุบันการรถไฟฯก็เลยป้องกันโดยเอารูปช้างมาแปะไว้ข้างรถ หลอกให้ช้างคิดว่าเป็นพวกเดียวกัน ช้างจะได้เลิกชน

ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็นสิบล้อ กะ สิบแปดล้อแทน น่าจะหารูปสิบล้อมาแปะไว้ข้างรถมั่งนะ เผื่อสิบล้อจะได้เลิกชนมั่ง

คุณก้องพูด:
ผมดูกระทู้นี้มาหลายรอบแล้ว และก็ปวดหัวมาหลายรอบแล้ว เลยอยากให้พวกเรามาปวดหัวกันด้วยครับ


ที่ผมปวดหัวก็คือ รถจักรคันนำในภาพที่เกิดอุบัติเหตุนี้ เป็นรถจักรอะไร เนื่องจากมองเห็นไม่ชัดเจนนัก ส่วนรถจักรคันหลังเลิกคุยได้เพราะมันตะแคงมองเห็นแค่ล้อเท่านั้นเอง...แต่ไม่รู้ว่าจะใช้รุ่นเดียวกันวิ่งคู่รึเปล่าน้า..

เท่าที่ผมคิดไว้ มีอยู่ 2 รุ่น คือ รถจักรไอน้ำ ยอร์จ อีเกสตอฟ รุ่น 101 - 124 สร้างจากเยอรมัน และนำมาใช้การเมื่อปี พ.ศ. 2442 - 2452

และ รถจักรไอน้ำยอร์จ อีเกสตอฟ รุ่น 209 - 221 สร้างจากเยอรมันเช่นกัน และนำมาใช้การเมื่อปี พ.ศ. 2449 - 2452

แต่ถ้าให้เลือก คิดว่าน่าจะเป็นแบบหลังมากกว่า คือ รุ่น 209 - 221
เพราะสังเกตุจากลักษณะของรถจักรแล้ว คาดว่าน่าจะใช่นะครับ


ใครมีความเห็นยังไงช่วยกันวิจารณ์กันหน่อยครับ


ปล. ถึงคุณ wirasut และ คุณmaxell ทราบถึงหมายเลขรถจักรไหมครับ ??

ผมตอบ:
ไม่แน่ใจหนะคุณก้องเพราะ ตอนค้นหลักฐานก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นหัวรถจักรอะไร

แต่ที่แน่คือ ปี 2467 ก็เกิดกรณี คล้ายๆ พูโล ถล่มรถไฟสายใต้ซะแล้ว

คือเมื่อปี 2467 นั้น มีคนเล่นแสบๆ โดยการ ถอดเอา แผ่นประกบราง Fishplate
ออกจาก รางรถไฟเพื่อให้รถไฟตกราง ช่วง กม. 1144 ใต้สถานีตันหยงมาส
ตอนหลังตำรวจภูธรอำเภอระแงะ ได้จับคนร้ายส่งเข้าห้องขังแล้ว (ไม่รู้ว่าจับแพะหรือเปล่า)

พี่ตึ๋งพุด:ดูภาพแล้ว ตีวงแคบลงมา เป็นรถจักรรุ่นปล่องกระโถนแน่นอนครับ
คงมีอยู่ไม่กี่รุ่นเท่านั้น..


//---------------------------------------------------
กรณีจากโคราชเข้ากรุงเทพ เมื่อ 4 มิถุนายน 2451 นี่ ผมพอสันนิษฐานได้ดังนี้

1) จากรายงานประจำปีกรมรถไฟหลวง ปี 2451 พบว่า รถจักรที่ทำขบวนรถรวม และ รถสินค้าจากโคราชมากรุงเทพ ได้ ก็มีแต่เจ้า Kraus & Co. (Kraus ล้อโมกุล 2-6-0 เบอร์ 201-208)สั่งเข้ามาตามรายการดังนี้:

เบอร์ เลขผู้ผลิต ประจำการ
201 3921 2442
202 3934 2442
203 3935 2442
204 4210 2443
205 4801 2446
206 4802 2446
207 4803 2446
208 4804 2446

2) ตัวเลือกหนึ่งที่น่าจะพอมีลุ้นมากกว่าเจ้า Kraus ก็คือ Hannover'sche Maschinen Fabrik (Hanomag - ล้อโมกุล 2-6-0 เบอร์ 209-219) เพราะทำขบวนได้เจ๋งกว่าเจ้า Krauss โดยเฉพาะ
ทางสายแก่งคอย - ปากช่อง ที่เป็นตัวทดสอบรถจักรว่าใครจะแน่กว่าใคร Laughing 8) แต่ไม่ใช่เบอร์ 215 ที่มาช้ากว่าเพื่อนแต่ได้รับการถ่ายรูป อ้างอิงเพราะ ทำขบวนรถพระที่นั่ง 4 ล้อ
ขึ้นเหนือไปสวรรคโลก (เที่ยวเมืองพระร่วง) หงะ Embarassed Laughing

เบอร์ เลขผู้ผลิต ประจำการ
209 4546 2449
210 4744 2450
211 4745 2450
212 4746 2450
213 5030 2451
214 5031 2451
215 5032 2451 -> ตัดหัวนี้ออกประจำการตรงกะช่วง มกราคม-มีนาคม 1909
216 5033 2451
217 5034 2451
218 5035 2451
219 5029 2451


3) ให้ตัด เจ้า Dubb ล้อ 2-4-0 เบอร์ 5-6 จะพอทำขบวนรถสินค้าได้ แต่ต้องตัดออกไปเพราะ
รถรวมโคราชนี้ต้องผ่านเส้นแก่งคอย - ปากช่อง กำลังรถไม่พอทำขบวนแน่ อย่างเก่งก็
กรุงเทพ - บ้านภาชีเท่านั้นเอง (สมัยนั้นมีรถ กรุงเทพ - บ้านภาชี และ บ้านภาชี - โคราช นะ)

// -------------------------------------------------

ออปี 2464 ก็เกิดอุบัติเหตุฉกรรจ์คือ:

22 มีนาคม 2464 รถขนคนงาน ไถลลงจากทางลาดชันช่วงแม่ตานน้อย - ปากอุโมงค์ขุนตานด้านใต้ หัวรถจักร และ รถคนงาน 3 ตู้ที่อยู่ท้ายขบวน ได้หลุดออกมาจากขบวนเพราะ
ขอพ่วงตู้ที่ 3 หลุด (หัก - Snap) ที่หลักกิโลเมตรที่ 678.450 ส่วนตู่ที่เหลือ ก็ไถลลงไปถึง
กิโลเมตรที่ 672.9 ทำให้รถคนงาน 6 ตู้ และ โบกี้โดยสารตกรางลงเหว และ รถคนงาน2 ตู้ และ รถโบกี้โดยสารจมน้ำ ผู้โดยสาร ตาย 1 คน บาดเจ็บหลายคน (2-3 คน) ทาง, รถจักร และ รถพ่วงชำรุดเสียหาย รถต้องหยุดเดินไป 4 วัน

ผลจากอุบัติเหตุที่ขุนตานนี้ ทำให้ต้องออกกฏใหม่ที่บังคับให้จำกัดความเร็วในการ
ทำขบวนช่วงขุนตาน

นอกจากนี้ยังมีกรณีรถตกราง ที่หัวหวาย เสียเวลาไป 4 ชั่วโมงเพราะสับรางผิด

ในปี 2464 มีอุบัติเหตุที่เกิดกะสายเหนือสายใต้ดังนี้

1) รถสายเหนือตกราง 53 ครั้ง ตกที่สถานี 43 ครั้ง ตกนอกสถานี 10 ครั้ง และ รถสายเหนือชนควายล้มกะเจ็บ 35 ตัว
2) รถสายใต้ตกรางที่สถานี 16 ครั้ง ตกรางนอกสถานี 3 ครั้ง ชนวัวควายล้ม 44 ตัว
ชนช้างล้ม 2 ครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:05 am    Post subject: Reply with quote

อุบัติเหตุ รศ 128
11 เมษายน 2452 เจ๊กเดินล้ำเส้นทางจนโดนรถทับตาย 1 คนเมื่อ 5 โมงเย็น ที่กม. 255.2 ใกล้สถานีพิจิตร

27 เมษายน 2452 ผู้หญิงตกรถไฟสายเพชรบุรีเพราะพยายามคว้าตั๋วที่หลุดมือ หัวฟาดพื้นตายในวันรุ่งขึ้น

11 พฤษภาคม 2452 รถเร็วโคราช (Mail Train) และปากน้ำโพ ชนรถสินค้า ขณะที่รถไฟทั้ง 2 ขบวนกำลังเข้าสถานีกรุงเทพเพราะ สับรางผิด รถจักร, รถหินถมทาง 3 คัน และ ตู้โดยสาร 6 ตู้ตกราง มูลค่าความเสียหาย 113000 บาท

24 กรกฎาคม 2452 รถขนหิน 11 คัน ชนควายล้ม ที่ กม. 40.350 ใกล้สถานีคลองหลวงแพ่ง เมื่อ 13:30 ตาย 1 เจ็บ 7 มูลค่าความเสียหาย 3190 บาท

27 กรกฎาคม 2452 รถขบวน 7 ชนคนข้ามทางรถไฟ ที่ กม. 28.3 (จากบ้านภาชี) ใกล้สถานีหนองโดน หัวแตก, บาดเจ็บที่คอที่ไหล่ จากนั้นได้ขนคนที่โดนชนไปที่ลพบุรีแล้วไปเสียชีวิตที่ลพบุรีในวันเดียวกัน

5 สิงหาคม 2452 รถโดยสารสายโคราชทับคนที่รุกเส้นทาง 2 คน ขณะกำลังข้ามทางรถไฟ ที่กม. 1.3

6 สิงหาคม 2452 เจ๊กเดินล้ำเส้นทางจนโดนรถทับตาย 1 คนเมื่อ 5 โมงเย็น ที่กม. 14.1 (นับจากบ้านภาชี) ใกล้สถานีท่าเรือ

7 สิงหาคม 2452 รถโดยสารสายเพชรบุรีเบอร์ 3 ทับเด็กที่ข้ามทางรถไฟตายขณะทำขบวนเข้าสถานีวัดงิ้วราย

2-6 กันยายน 2452 น้ำท่วมทางสายบ้านดารา - สวรรคโลก และ บ้านดารา - อุตรดิตถ์
10 กันยายน 2452 รถโดยสารสายเพชรบุรีเบอร์ 2 (เพชรบุรี - บางกอกน้อย) ชนควาย
จนตกราง ที่กม. 135 กว่าจะเคลียร์เส้นทางได้ก็วันรุ่งขึ้น

29 ตุลาคม 2452 คนรุกทางอาศัยรางรถไฟเป็นที่หลับนอน ทำให้ถูกรถไฟทับตายที่
กม. 50.7 สายแปดริ้ว
18 พฤศจิกายน 2452 รถโดยสารสายเพชรบุรีเบอร์ 4 ทับคนตาย ที่กม. 21 สายเพชรบุรี
17 ธันวาคม2452 ผู้หญิงรุกทางโดนรถสินค้าทับตายที่กม. 242.8 ใกล้สถานีกุดจิก ก่อนย่ำรุ่ง
1 มกราคม 2452 (1910) เด็กขึ้นไปเล่นบนรถพ่วงจนโดนรถพ่วงทับแขนขาด 2 ข้างที่บางปะอิน

7 กุมภาพันธ์ 2452 (1910) กุลีจีนตกรถขนหินที่ท่าสัก ทำให้โดนรถทับขาขาด 2 ข้าง ตาย

22 กุมภาพันธ์ 2452 (1910) ลูกเจ๊กโดนรถทับตายทมี่หนองเต่าขณะสับเปลี่ยนขบวน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:05 am    Post subject: Reply with quote

อุบัติเหตุ รศ 127

6 พฤษภาคม 2451 ผู้โดยสารตกจากรถที่สถานีปากช่องโดนรถทับขาขาด 2 ข้างตายคาที่

3 มิถุนายน 2451 กุลีตกจากรถขนหินที่กม. 41 สายแปดริ้ว ขาซ้ายขาด 1 ข้างแค่บาดเจ็บ

4 มิถุนายน 2451 รถขบวน 102 (โคราช - กรุงเทพ) ตกรางเพราะชนกะช้างพัง ใกล้สถานีเชียงราก พนักงานห้ามล้อ ตาย 2 คน บาดเจ็บ 1 คน มูลค่าความเสียหาย 30000 บาท

13 มิถุนายน 2451 คนรุกทางโดนรถทับตาย 1 คนที่ กม. 11 สายโคราช
14 มิถุนายน 2451 คนเติมน้ำมันของขบวน 14 ตกจากรถ ที กม. 247 แล้วโดนรถทับตาย


15 กรกฎาคม 2451 รถขนหินทับกุลีตาย 1 คน ที่กม. 59 สายเพชรบุรี ขณะที่กุลีคนนั้นพยายามปีนรถขนหินขณะทำขบวน


16 สิงหาคม 2451 รถทับกุลีแขนซ้ายขาด 1 ข้าง บาดเจ็บสาหัสที่กม. 17.3 (นับจากบ้านภาชี)

18 สิงหาคม 2451 รถทับกุลีเจ๊ก ตาย 1 คน ที่กม. 69.4 (นับจากบ้านภาชี)

1 กันยายน 2451 หัวหน้ากุลีบำรุงทางถาวร โดนรถขบวน 13 ทับตาย ที่หัวดง
13 กันยายน 2451 ผู้หญิงโดนรถทับขาขวาขาดตายที่จันทึก ขณะพยายามโดดขึ้นรถ
ขณะทำขบวน

7 ตุลาคม 2451 ผู้หญิงโดนรถทับตายระหว่างสถานีบางปะอิน กะสถานี บ้านโพ ขณะเดินตามทาง

9 ตุลาคม 2451 ผู้โดยสารโดนรถทับตายขณะลงจากขบวนรถ (Alight) ที่คลองตาคด

12 ตุลาคม 2451 ผู้โดยสารเมาสุราจนตกจากขบวนรถให้รถทับตายที่สถานหนองปลาดุก

15 ตุลาคม 2451 ชาย 2 คนใช้ทางรถไฟเป็นที่หลับนอนทำให้โดนรถทับตายเมื่อเวลา
ตี 4 ที่สถานีแก่งคอย

27 ตุลาคม 2451 คนบุกรุกทางโดนรถทับตายที่กม. 23 สายแปดริ้ว

12 พฤศจิกายน 2451 กุลีโดนรถขนหินทับตาย ที่กม. 204 (นับจากบ้านภาชี) สายเหนือ
12 พฤศจิกายน 2451 ผู้โดยสารโดนรถทับเท้าขาด 2 ข้างตาย ขณะลงจากขบวนรถที่สถานีเชียงรากเวลา 6 โมงเย็น

29 ธันวาคม 2451 ผู้โดยสารโดดจากขบวนรถที่กม. 92 สายโคราชขณะพยายามคว้าสัมภาระที่หล่นจากขบวนรถ ทำให้โดนรถทับตาย

25 มกราคม 2451 (1909) ผู้หญิงเดินข้ามทางรถไฟสาถนีท่าเรือถูกฆ่าตายก่อนที่ขบวนรถจะเข้าสถานีท่าเรือ

11 กุมภาพันธ์ 2451 (1909) ผู้หญิงโดนรถขนข้าวทับตายที่แก่งคอยขณะสับเปลี่ยนขบวนรถขนข้าวเวลากลางคืน

24 กุมภาพันธ์ 2451 (1909) ผู้ชายใช้ทางรถไฟเป็นที่หลับนอนทำให้โดนรถทับตาย
เวลา 2 ทุ่ม ที่ กม. 15 ใกล้สถานีบางเขน

2 มีนาคม 2451 (1909) หญิงชราโดนขบวนรถโดยสารทับตายที่สถานีหัวดง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:08 am    Post subject: Reply with quote

อุบัติเหตุปี 2457 (ไม่มีสายใต้เพราะ สายใต้โดนแยก ไปแต่ปี 2456 - 2459 ตามเงื่อนไขการกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ของมลายูปี 2451 และ อีก 750000 ปอนด์ในปี 2457เพื่อทำพทางแยกไปสุไหงโกลก เพราะ 4 ล้านปอนด์ไปได้แค่ปาดังเบซาร์เท่านั้น ... แถมผมพบแค่รรายงานสายใต้ปี 2459 ที่ หอสมุดรัฐสภาคองเกรส สหรัฐเท่านั้น Sad )


11 กรกฎาคม 2457 รถโดยสารตกรางที่สถานีอ่างหินสายเหนือเพราะสับรางไม่เข้าที่ ทำให้ทำให้ล่าช้า4 ชั่วโมง

5 มกราคม 2457 (1915) รถตู้ขนวัวควายที่พ่วงมากะรถสินค้า สายโคราช ตกรางที่
กม. 139.5 เพราะ คนขับรถจักรกดห้ามล้อลมดูดกระทันหัน

26 มีนาคม 2457 (1915) หัวรถจักรรถโดยสาร สายเหนือตกรางที่กม. 296.6 เพราะชนควายล้ม 2 ตัว ทำให้ล่าช้า 1 ชั่วโมง

// -----------------------------------------------------------

อุบัติเหตุ 2475
คนรุกทาง ตาย 21 เจ็บ 23
คนรถไฟ ตาย 2 เจ็บ 3
ผู้โดยสารตาย 1 เจ็บ 2
วัวควายเทียมเกวียน ตาย 32 เจ็บ 17
วัวควายตาย 37 เจ็บ 11
ม้าแกลบ ตาย 1
แพะ ตาย 3


อุบัติเหตุ 2474
คนรุกทาง ตาย 28 เจ็บ 11
คนรถไฟ ตาย 4
ผู้โดยสารตาย 1
วัวควายเทียมเกวียน ตาย 44 เจ็บ 7
วัวควายตาย 31 เจ็บ 2
ม้าแกลบ ตาย 3

ปีนี้ (2475) มีรถตกรางในย่านสถานี 76 ครั้ง และ ตกรางนอกย่านสถานี 37 ครั้ง เหตุที่ฉกรรจ์ที่สุดคือ

25 พฤษภาคม 2475 ขบวนพิเศษรถบรรทุกหิน 28 คัน จากสถานีบุรีรัมย์ ตกรางที่ กม. 357/6 (เสาโทรเลขต้นที่ 6 จาก กม. 357) ระหว่างบ้านทะเมนไชยกับ สถานีบุรีรัมย์ เมื่อเวลา 01:00 น. ทำให้ รถจักร 2 หัว พร้อมรถบรรทุกหิน 28 หลัง ตกราง - ช่างไฟ 1 เสียชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาล ส่วนคนขับ ช่างไฟ 2 และพนักงานห้ามล้อ บาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดเพราะคนร้ายลักถอดหมุดตรึงรางและ เหล็กประกับราง มูลค่าความเสียหาย 800 บาท

อุบัติเหตุ ปี 2477
คนรุกทาง ตาย 32 เจ็บ 23
คนรถไฟ ตาย 6 เจ็บ 4
ผู้โดยสารตาย 1 เจ็บ 5
วัวควายเทียมเกวียน ตาย 63 เจ็บ 24
วัวควายตาย 87 เจ็บ 32
ม้าแกลบ ตาย 2
ช้างเจ็บ 1 เชือก

อุบัติเหตุ 2476คนรุกทาง ตาย 27 เจ็บ 16
คนรถไฟ ตาย 2 เจ็บ 10
ผู้โดยสารเจ็บ 8
วัวควายเทียมเกวียน ตาย 69 เจ็บ 17
วัวควายตาย 61 เจ็บ 30
ม้าแกลบ ตาย 5

อุบัติเหตุฉกรรจ์ ปี 247717 ธันวาคม 2477 รถข้างต่ำเบอร์ 452 ตกรางหลังจาก ต่อพ่วงกะ รถข้างสูง ในรถขบวน 27 ที่ ราง 3 สถานีบางปะอิน และ คนขับก็ยังขับต่อไปทำให้ รถ ตญ. เบอร์ 661 และ รถ ข้างต่ำ เบอร์ 321 ตกราง ไปด้วย ทำให้ขบวน 322 และ 105 ต้องล่าช้าออกไป เพระหยุดการเดินรถ 3 ชั่วโมง

14 มีนาคม 2477 รถ Bogie flat Wagon เบอร์ 45 ซึ่งบรรทุกไม้ซุงและเสาโทรเลข ต่อท้ายขบวน 34 ข. (ใช้หัวรถจักรคอนโซลิเดต 337) ได้ตกรางที่สถานีท่าเสา แล้วลากไปไกล 68 เมตรกว่าจะหยุดได้ มูลค่าความเสียหาย 500 บาท

28 ธันวาคม 2477 รถสินค้า 224 ได้ไถลลงมาจากสถานีปากช่อง ขณะจอดที่กม. 179.850 แล้วชนท้ายขบวนรถสินค้า 222 (นครราชสีมา - กรุงเทพ) ที่จอดราง 1 สถานีปากช่อง ทำให้รถสินค้าในราง 2 และ ราง 3 ต้องตกราง ... รวมรถสินค้าตกรางจำนวน 48 ตู้ มูลค่าความเสียหาย 3187.44 บาท

12 กุมภาพันธ์ 2477 รถสินค้า 222 (นครราชสีมา - กรุงเทพ) ตกรางขณะเข้าเทียบชานชลาสถานีบางปะอินเพราะ รถ ตญ. เบอร์ 509 เกิดอาการเพลาหัก ทำให้รถสินค้าอีก 12 ตู้ที่มากะขบวน 222 ต้องตกรางไปด้วย มูลค่าความเสียหาย 537 บาท ทำให้รถขบวน 203, 106 ต้องล่าช้ากว่ากำหนด

13 กุมภาพันธ์ 2477 รถตกราง 175/6 (เสาโทรเลขต้นที่ 6 จากกม 175) ระวห่างสถานีปากช่อง กับ สถานีปางอโศก เพราะ เกิดการหักงที่ตัวยึดสปริง (Spring Hanger) ของเพลาที่ 1 รถฟืนที่บรรทุกเต็มอัตรา ซึ่งต่อกะหัวรถจักรฮาโนแมกล้อแปซิฟิกเบอร์ 282 ที่ทำขบวน 44 รถยังไปได้จนถึงกม. 141/056 ถึงได้ยินเสียงผิดปกติ ซึ่งพบว่า ล้อรถจักรฮาโนแม็ก 282 ได้หลุดออกจากเพลา ไป 4 ล้อ รางเสียหายต้องเสียค่าซ่อม 100 บาท และทำให้รถสายอีสานล่าช้าไปหลายชั่วโมง

27 มีนาคม 2477 รถสินค้า 222 ซึ่งทำขบวนด้วยรถจักรฮาโนแม็กเบอร์ 278 ระหว่างสถานีแก่งคอย - กรุงเทพ ได้ตกรางที่ กม. 117/400 ระหว่างสถานีหนองบัวและสถานีสระบุรี ทำให้รถตกรางไป 22 ตู้ ซึ่งบางตู้ต้องตัดบัญชี จากการสอบสวนพบว่ามีคนแอบถอดหมุดตรึงรางและ ทำให้เหล็ก fit bolt หลวม ต้องให้ฝ่ายทางถาวรช่วยซ่อมทำให้ เสียค่าใช้จ่าย 537.87 บาท ทำให้ต้องงดให้บริการรถสินค้าขบวน 222 และ 223 กว่าจะซ่อมเสร็จเปิดให้บริการได้ก็เวลา 1 ทุ่มของสวันที่ 28 มีนาคม 2477
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:09 am    Post subject: Reply with quote

อุบัติเหตุ ปี 2472
คนรถไฟ ตาย 3 เจ็บ 7
ผู้โดยสารตาย 1 เจ็บ 3
คนรุกทาง ตาย 16 เจ็บ 27
วัวควายตาย 51 เจ็บ 75
ม้าแกลบ ตาย 6 เจ็บ 2

อุบัติเหตุ 2471
คนรถไฟ ตาย 5 เจ็บ 6
ผู้โดยสาร ตาย 6 เจ็บ 8
คนรุกทางตาย 26 เจ็บ 11
วัวควายตาย 67 เจ็บ 26
ม้าแกลบ ตาย 5 เจ็บ 1

อุบัติเหตุฉกรรจ์ ปี 2472

11 ธันวาคม 2472 เกิดพายุไต้ฝุ่น ถล่มชุมพร นานถึง 4 ชั่วโมง สถานีชุมพรเสียหายหลังคาเปิง ไปกะลมและผนังอาคารบ้านพัก ครฟ. พังไป 2 แถบ เสาโทรเลขโค่นไปหลายต้น ทำให้สื่อสารกันลำบาก

กันยายน 2472 น้ำท่วมภาคเหนือทำให้ทางในความรับผิดชอบของแขวง อุตรดิตถ์ - ลำปาง ได้รับความเสียหาย ที่หนักที่สุดคือบริเวณแม่น้ำยม ช่วงเด่นชัย - บ้านปิน ที่รถเดินไม่ได้ไป 8 วัน และ มีน้ำท่วมสถานีเชียงใหม่ด้วย

สาเหตุรถตกรางนอกสถานี
1 วัตถุขวางทาง 3 ราย
2 เส้นทางถูกเหยียบย่ำ 2 ราย
3 เพลาหัก 2 ราย
4 ทางถล่มลงมา 3 ราย
5 เหตุผสมจาก 4 รายการแรก 17 ราย

สาเหตุรถตกรางในสถานี
1. วิ่งเลยแป้นปะทะรางตัน 3 ราย
2. สับประแจผิดทิศทาง 43 ราย
3. ใชมือสับเปลี่ยนขบวนผิด 9 ราย
4. ชนกันระหว่างสับเปลี่ยน 14 ราย
5. เหตุผลอื่นๆ 5 ราย
6 เหตุผสมจาก 5 รายการแรก 21 ราย

// -------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:10 am    Post subject: Reply with quote

เออ, ในสมัยโบราณสมัย ปี 2441 เคยเกิดกรณี หัวหน้ากุลีนำรถต๊อก (Trolly) ขับออกไปทั้งๆที่รถจะเข้าสถานีตอนเย็น 5 โมงครึ่ง พอเห็นสัญญาณรถเข้าสถานี ที่สะพานบ้านบาตรก่อนเข้าสถานีกรุงเก่า ก็รีบกระโจนลงคูข้างทาง แต่ดันเอารถต๊อกออกมาไม่ทันเหลือล้อ 1 คู่ ผลคือล้อคู่นั้นทำเอารถจักรตกราง พร้อมกะ รถโดยสารแบบยาว (ล้อโบกี้) กรณีนี้เองที่ยืนยันว่าเราเริ่มซื้อรถโดยสารแบบโบกี้มาใช้แต่ปี 2441 แล้วแม้จะมีไม่มากเท่ารถโดยสาร 4 ล้อ ไม่ใช่เพิ่งซื้อ เอาปี 2458 ....

ยัง, ยังมีกรณีเอารถขนหิน (ข้างสูง) ออกมาโดยพลการ ทำให้รถตกรางอีกที่กรุงเก่า ตอนนั้นนายสถานีสถานีกรุงเก่า ส่งโทรเลขว่าทางสะดวกแล้ว แม้จะมีลูกน้องเอารถขนหินออกมา เพื่อเทียบกะขบวนรถรวม ทำให้ต้องไล่ออก เจ้าหน้าที่วิ่งเอารถออกมาโดยพลการ และ ปรับนายสถานี กะ คนตรวจทาง คลละ 50 บาท (ในยุคทองบาทละ 25 บาท)

นอกจากนี้ตอนสร้างทางช่วงแก่งคอย ปี 2441 มีกรณี กุลีเจ๊ก ปลดขอพ่วง แล้วดันปลดเอาไม้ที่คอยยันรถขนหินที่ไม่มีห้ามล้อมือ ไม่ให้เคลื่อนจากรางที่หินลับทำให้รถไหลจากหินลับไปโดนกะรถขนหินที่แก่งคอยทำให้รถตกรางเสียหายหลายพันบาท

ยัง..ยังมีสนุกกว่านี้คือ ปี 2442-2443 มีนายตรวจทางชาวอังกฤษนั่งรถโยกทรอลลี่มาจากหินลับไปตรวจทางที่ทับกวาง เกิดนั่งอ่านหนังสือเพลินหรือไรก็ไม่ทราบทำให้ รถทรอลลี่ไปโดนกะรถใช้เครื่องจักร (ก็รถจักรไอน้ำนั่นไง) เบอร์ 109 และ 106 ที่พ่วงพหุขึ้นเขามาทั้งๆที่เปิดหวูดเตือนแล้ว ทำให้ นายตรวจทางชาวอังกฤษขาขาดแต่น่อง เสียชีวิต ต้องหามศพไปฝังที่กรุงเทพ พร้อมรายงานกงศุลอังกฤษที่บางรัก

// ---------------------------------------------------------

ตอนปี 2447 ก็มีชนช้างกะรถขบวน 101 เหมือนกันนะ แต่ไม่ดังเท่ากรณี 4 มิถุนายน 2451
เวลา 2 ทุ่มซึ่งนาย maxell ได้เล่าไว้แล้ว ที่เล่นเอา

1) รถจักรที่พ่วงพหุมาแต่โคราช ต้องหงายท้อง
2) รถ ตญ. และ ขต. ตกราง 13 คันจากจำนวนทั้งหมด 26 คัน
3) คนหยอดน้ำมัน หัวมุดเข้าไปในเตาไฟ .... ไหม้เกรียมทั้งตัว
4) พนักงานห้ามล้อ ตัวขาด 2 ท่อน ตายคาที่
5) ต้องเดือดร้อนเจ้ากรมไวเลอร์, นายช่างกิตตินส์, เสนาบดีโยธาธิการ (กรมพระนเวศวรวรฤทธิ์) เดินทางไปกะรถสายลพบุรีแล้วไปเปลี่ยนขบวนกับสายปากน้ำโพ เพื่อถ่ายรูปในที่เกิดเหตุหลายสิบรูป เพื่อทำรายงานขึ้บบังคมทูลต่อ พระเจ้าอยู่หัวฯ

// -----------------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2006 7:11 am    Post subject: Reply with quote

จากรายงานปี 2473
25 กันยายน 2473:รถด่วนเชียงใหม่ ตกรางที่กม. 541.068 ช่วงสถานีปากปานทำให้ รถ โบกี้สัมภาระ (BFV) และ รถโบกี้ชั้น 3 ที่ต่อกะรถ โบกี้สัมภาระ ตกรางพร้อมดึงรถจักรไปด้วย ทำให้ช่างไฟตาย 2 คน, ผู้โดยสารตาย 2 คน ส่วนคนขับบาดเจ็บสาหัส ขั้นพิการ ต้องโอนไปทำงานด้านอื่นในกรมรถไฟแทน ผู้โดยสาร 7 คนได้ถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลทหารเด่นไชย ส่วนรถจักรคันอื่นที่ไม่ตกรางก็ได้รับความเสียหายด้วย

จากรายงานปี 2474

รถจตกรางที่เขตแก่งคอย ถึง 2 ครั้ง

1) รถตกราง 1 คันเหนือสถานีทับกวาง เนื่องจากเหยียบห้ามล้อกระทันหัน
ทำให้รถที่ตกราง นั้นก่อเหตุทำให้ระอีก 11 คัน ที่ประแจสถานีทับกวาง พลอยตกรางไปด้วย
2) ขับรถจักรเร็วเกินพิกัด ทำให้รถตกรางที่ทับกวาง อีกครั้ง ทำให้รถตกรางไป 28 ตู้ (!) Shocked

ยังมี่กรณีรถไฟชนรถต็อก 6 ครั้ง และ รถจักรชนรถรางสำหรับชานเมือง อีก 3 ครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/03/2006 9:54 am    Post subject: Reply with quote

ผมว่า...สถานีทับกวางมีที่ตั้งไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นทางลาดจากเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้รถจักรและขบวนรถขณะนั้นซึ่งใช้ระบบลมดูด ไม่สามารถควบคุมความเร็วให้อยู่ในพิกัดได้ เลยไปสถานีชุมทางแก่งคอยก็บ่อย บางครั้งไปหยุดถึงสระบุรีก็มี

จนกระทั่ง การรถไฟฯ ได้สร้างสถานีมาบกระเบา เพื่อรับกับย่านสินค้าของโรงงานปูนซีเมนต์ไทย แล้วเสร็จนั่นแหละ ถึงได้ยุบสถานีทับกวางลงเป็นที่หยุดรถในทุกวันนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 43709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2006 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ค้นราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 16 เล่ม 64 ออกวันที่ 8 เมษายน 2490 ก็ได้เจอของดีดังนี้

นายสุวิชช พันธเศรษ สส. เชียงใหม่ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลว่า

Quote:
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2490 เวลาเช้าได้เกิดอุบัติเหตุ รถขบวน 112 ที่วิ่งออกจากนครปฐมจะเข้าไปที่ธนบุรี ได้พลาดรางขณะเข้ากุญแจหลีกสถานีคลองมหาสวัสดิ์ จนมีผู้โดยสารบาดเจ็บล้มตายกันเป็นอันมาก ขอถามว่า อุบัติเหตุนี้เกิดจากอะไร และ ทางรัฐบาลได้ชดเชยอย่างไรบ้าง


รัฐบาลตอบว่า

Quote:
เช้าวันนั้นมีหมอกลงทำให้คนขับไม่เห็นประแจ ที่ยังไม่เรียบร้อยทำให้ตกราง ขณะนี้ทางกรมรถๆไฟกำลังสืบสวนอยู่ ได้ผลเช่นไรถึงจะจ่ายเงืนชดเชยตามลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ


// -----------------------------------------------------------------------------------------

1 กุมภาพันธ์ 2490 เวลาประมาณ 1100 รถยนต์รางตรวจทางของ รมต. คค. (หม่อมหลวง กรี เดชาติวงศ์) แอะ คณะ คว่ำ ตกรางที่แก่งคอยท่า กม. 261 สายกาญจนบุรี เพราะ สะพานไม้ข้ามห้วยแก่งคอยท่า ถูกไฟป่าไหม้ตับบสะพานไม้หมดเหลือแต่รางแขวนกลางอากาศ คนขับรถยนต์ราง (นายชิต เชิดวุฒิ - ผู้ช่วยนายช่างก่อสร้างทางเขตกาญจนบุรี ) ต้องห้ามล้อกระทันหันทำให้ตกราง หม่อมหลวง กรี เดชาดิวงศ์ ถึงแก่อนิจกรรม และ นาย จรุง จิรานนท์ บุรุษพยาบาลถึงแก่กรรม ณ ที่เกิดเหตุ

ส่วนอธิบดีกรมรถไฟ (นาย ปุ่น ศกุนตนาค) และ นายช่างก่อสร้างทางเขตกาญจนบุรี
(นายเชถ รื่นใจชล) บาดเจ็บสาหัส
อธิบดีกรมทางหลวง (หลวงเพชรเกษมวิถีสวัสดิ์) ซีโครงหัก 3 ซี่
นายช่างบำรุงทางรถไฟเขตหัวหิน (นายสำราญ สาครินทร์) บาดเจ็บ

ลูกน้องคนที่หม่อมหลวง กรี เดชาติวงศ์ เคยไล่ออกจากราชการได้ลงมือต่อโลงไว้ศพ รมต. คค.

ต้องในป่าอยู่ 1 คืน ขอข้าวจากกระเหรี่ยงกันอดตาย กว่าจะเอา รถยนต์รางจาก แก่งคอยท่า ไปค้างคืนที่ปรังกาสี และ จากปรังกาสี ไปค้างคืนเมืองกาญจนบุรี กว่าจะถึงสถานีธนบุรี ได้ก็ 4 กุมภาพันธ์ 2490 เวลา 1000


Last edited by Wisarut on 02/10/2007 10:55 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
This topic is locked: you cannot edit posts or make replies.    Rotfaithai.Com Forum Index -> อุบัติเหตุเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4, 5, 6  Next
Page 1 of 6

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©