View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 31/12/2009 8:17 am Post subject: |
|
|
ข้อมูลเท่าที่ผมอ่านดูใน TOR
เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้า ระบบ AC-AC
แน่นอนว่า ถ้าใช้ระบบนี้ ระบบคอนโทรลน่าจะใช้ Microprocessor เข้ามาในการคอนโทรลด้วยแน่นอน เพราะผมเคยอ่านในหนังสือของหัวรถจักร GE EVOLUTION SERIES ว่า ขั้นตอนในการแปลงพลังงานของหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ระบบ AC - AC นั้น เมื่อเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเพลาของอัลเตอร์เนเตอร์ ซึ่งผลิตกระแสไฟ AC 3 เฟส แล้ว กระแสไฟ AC จะถูกส่งไปและจะถูกแปลง AC >> DC ก่อน จากนั้น กระแสไฟ DC ก็จะถูกส่งผ่านมายังตัว Inverter เพื่อแปลงกระแสไฟ DC >> AC อีกครั้ง แล้วกระแสไฟ AC นี้ จะถูกส่งผ่านไปยัง Traction Motor ระบบ AC
ซึ่งเหตุผลในการที่ต้องแปลงสลับไปมานี้ ผมอ่านคร่าวๆ มาว่า ในขั้นตอนที่จะแปลงกระแสไฟ DC ผ่าน Inverter เพื่อจะมาเป็นกระแสไฟ AC อีกครั้งนั้น สามารถใช้ตัว Microprocessor เข้าไปควบคุมการจ่ายกระแสไฟ หรือความถี่ของไฟฟ้าส่งไป TM เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ ทำนองว่า สามารถคอนโทรล TM ได้มากกว่าการจ่ายไฟให้หมุนช้า หมุนเร็วอย่างเดียว เช่น ถ้ามีล้อเพลาหนึ่งเพลาใด เกิดอาการ slip หรือล้อฟรี ก็จะสามารถสั่งการให้ TM ตัวนั้น หยุดการหมุนได้ เพื่อป้องกันอาการขุดราง หรือ ล้อเป็นแผล
หรือการขึ้นทางลาดชัน ที่สามารถปรับการหมุนของ TM ได้ ทำนองว่า เน้นพละกำลัง มากกว่า การหมุนที่เร็วขึ้น
และเมื่อมีระบบ Microprocessor เข้ามาแล้ว เราอาจจะได้เห็นระบบควบคุม สั่งการ รวมทั้งระบบการตรวจสอบการทำงานต่างๆ หรือมิเตอร์วัดค่าต่างๆ ผ่านจอ LCD ครับ
อนึ่ง รายละเอียดส่วนนี้ ถ้าผมเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไร ถ้ามีท่านใดทราบรายละเอียดที่ถูกต้องมากกว่านี้ ก็สามารถเข้ามาทักท้วงได้เลยครับ
จากสเปคคร่าวๆ ดังกล่าว ตัวเลือกรถจักรตาม Type มาตรฐานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว ก็มีเพียงไม่กี่บริษัทครับ และ Blue Dragon ก็เป็น 1 ในนั้น |
|
Back to top |
|
|
conrail
1st Class Pass (Air)
Joined: 28/03/2006 Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok
|
Posted: 31/12/2009 1:17 pm Post subject: |
|
|
เท่าที่ได้เคยศึกษารถจักรที่ใช้มอเตอร์กระแสสลับมาบ้าง พอจะทราบว่า การบำรุงรักษามอเตอร์กระแสสลับนั้นมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามอเตอร์กระแสตรงที่ต้องใช้แปรงถ่านเพื่อจ่ายไฟให้กับ Armature ทำให้มีการสึกหรอต้องคอยเปลี่ยนและซ่อม จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงในระยะยาว
การใช้ Inverter ในการควบคุมการหมุนของมอเตอร์กระแสสลับนั้น ในปัจจุบันได้ก้าวพัฒนาไปมาก ซึ่งระบบที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ ระบบ VVVF (Variable Voltage Variable Frequency) หรือ แบบปรับแรงดันและความถี่ ซึ่งรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์กระแสสลับสมัยใหม่นิยมใช้ เช่น รถไฟฟ้า BTS หรือ รถจักรดีเซลไฟฟ้าญี่ปุ่น DF200 ที่พวกเราจะรู้จักกันดี. |
|
Back to top |
|
|
Dahlia
1st Class Pass (Air)
Joined: 17/02/2007 Posts: 1030
Location: BKK / NST
|
Posted: 31/12/2009 10:13 pm Post subject: |
|
|
ไม่เกี่ยวกับสเปครถจักรครับ
ผมเคยสงสัยตัวเลข 850 ที่อยู่ที่หน้าอุดรถพ่วงด้านล่าง บริเวณขอพ่วง ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารหรือรถสินค้า ว่าหมายความว่าอย่างไร
ผมว่าผมได้คำตอบแล้วครับ ความรู้ใหม่ของผมเลย
|
|
Back to top |
|
|
Derail
3rd Class Pass
Joined: 03/07/2006 Posts: 69
|
Posted: 01/01/2010 12:44 am Post subject: |
|
|
CENTENNIAL wrote: | ข้อมูลเท่าที่ผมอ่านดูใน TOR
เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้า ระบบ AC-AC
แน่นอนว่า ถ้าใช้ระบบนี้ ระบบคอนโทรลน่าจะใช้ Microprocessor เข้ามาในการคอนโทรลด้วยแน่นอน เพราะผมเคยอ่านในหนังสือของหัวรถจักร GE EVOLUTION SERIES ว่า ขั้นตอนในการแปลงพลังงานของหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้า ระบบ AC - AC นั้น เมื่อเครื่องยนต์ดีเซลหมุนเพลาของอัลเตอร์เนเตอร์ ซึ่งผลิตกระแสไฟ AC 3 เฟส แล้ว กระแสไฟ AC จะถูกส่งไปและจะถูกแปลง AC >> DC ก่อน จากนั้น กระแสไฟ DC ก็จะถูกส่งผ่านมายังตัว Inverter เพื่อแปลงกระแสไฟ DC >> AC อีกครั้ง แล้วกระแสไฟ AC นี้ จะถูกส่งผ่านไปยัง Traction Motor ระบบ AC
ซึ่งเหตุผลในการที่ต้องแปลงสลับไปมานี้ ผมอ่านคร่าวๆ มาว่า ในขั้นตอนที่จะแปลงกระแสไฟ DC ผ่าน Inverter เพื่อจะมาเป็นกระแสไฟ AC อีกครั้งนั้น สามารถใช้ตัว Microprocessor เข้าไปควบคุมการจ่ายกระแสไฟ หรือความถี่ของไฟฟ้าส่งไป TM เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ ทำนองว่า สามารถคอนโทรล TM ได้มากกว่าการจ่ายไฟให้หมุนช้า หมุนเร็วอย่างเดียว เช่น ถ้ามีล้อเพลาหนึ่งเพลาใด เกิดอาการ slip หรือล้อฟรี ก็จะสามารถสั่งการให้ TM ตัวนั้น หยุดการหมุนได้ เพื่อป้องกันอาการขุดราง หรือ ล้อเป็นแผล
หรือการขึ้นทางลาดชัน ที่สามารถปรับการหมุนของ TM ได้ ทำนองว่า เน้นพละกำลัง มากกว่า การหมุนที่เร็วขึ้น |
ใช่แล้วครับ ระบบควบคุมล้อดิ้นในรถจักรดีเซลไฟฟ้าแบบ AC-AC จะปรับความเร็วของล้อรถและระดับการดิ้นให้เหมาะสมกับสภาวะการทำงาน (creep control)
CENTENNIAL wrote: | และเมื่อมีระบบ Microprocessor เข้ามาแล้ว เราอาจจะได้เห็นระบบควบคุม สั่งการ รวมทั้งระบบการตรวจสอบการทำงานต่างๆ หรือมิเตอร์วัดค่าต่างๆ ผ่านจอ LCD ครับ |
ระบบควบคุมในรถจักรดีเซลไฟฟ้าแบบ AC-AC นั้นน่าจะใช้ Microprocessor เป็นหลักเนื่องความซับซ้อนของขบวนการควบคุมการทำงาน ส่วน User Interface นั้นสามารถให้ผู้ผลิตปรับแต่งได้ตามต้องการครับ
ป.ล. ไม่แน่นะครับเราอาจจะได้เห็นช่างตาม สรจ. ต่างๆ เสียบโน๊ตบุ๊กเข้ากับรถจักรเพื่อหาสาเหตุของอาการชำรุดของรถได้ในเวลาสั้นลงและนำไปใช้ในการวางแผนบำรุงรักษารถต่อไป |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 17/02/2010 7:22 pm Post subject: |
|
|
ถึงเจ้าของกระทู้
ชั้นแต่เครื่อง Cummins หรือ เครื่อง MTU ราวๆ 3000 HP ก็ 60 ล้านบาท
TM แบบ AC-AC 6 ลูก ลูกละ 4.5 ล้านบาท ก็ 27 ล้านบาท
Alternator ลูกละ 2-3 ล้านบาท
ค่าโครงประธาน ตัวรถ + โบกี้ Co-Co ก็ 10 ล้านบาทขึ้นไป
ค่าวางระบบไฟฟ้าและชุดควบคุม ควบคุมรถจักร ห้องคนขับอีก 2 ห้อง เฉลี่ยห้องละ 5-6 ล้านบาท
ค่าธรรมเนียม อีก 10% ของราคารถจักร ค่า Shipping & handling (CIF นะ FOB หนะ ต้องเพิ่มอีก 11%) อีกเท่าไหร่
รวบเบ็ดเสร็จแล้ว คงหนี้ไม่พ้น 120-130 ล่้านบาท ต่อคันอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
alderwood wrote: | ไม่เอา Made in China ครับ |
น่ากลัวว่าจะเป็นของ CNR หรือ CSR - ขึ้นอยู่กับว่าใครซื้อใบประมูลไปแล้วบ้าง แต่ถ้าใช้กลยุทธ ของฝรั่งแต่ประกอบในจีน ยังพอค่อยยังชั่ว ถ้าเป็นของจากโรงเหล็ก จีนแดง เช่น เป่าซาน โซวกัง นี่น่ากลัว
Last edited by Wisarut on 18/02/2010 3:38 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 17/02/2010 10:16 pm Post subject: |
|
|
^
^
ที่แน่ ๆ การเปิดประมูลเจอโรคเลื่อน ไปแล้ว จาก 20 กพ.53 นี้ แต่จะเป็นเมื่อไหร่ ไม่รู้
อาจจะเปิดใหม่ เป็น ยอดเก่า 7 + ของใหม่ 13 รวมแล้วเป็น 20
เปิดถ้วยเอ็ย ซองรอบเดียวจบหรือไม่ต้องตามกันต่อไปอะอะ...
ที่แน่ ๆ เครื่อง MTU มาแรงจริง ๆ ส่วนเครื่อง MAN อาจจะมาแรงแซงโค้ง คัมมินส์ กับน้องแมว CAT หนะ ขอบอก....
ว่าแต่เฮียหมี ไปค้น ๆ รูป ของสองคอกที่ว่ามาส่อง กล้องมองไกล
ให้ราชครูคิตตี้ มาสังเคราะห์ราคา น่าจะสนุกสนาน คริคริ
ส่วนTM เป็น AC-AC ลูกละ 4.5 ล้าน จะเอาอยู่หรือไม่ น่าคิดจริง ๆๆ |
|
Back to top |
|
|
PEEM
3rd Class Pass
Joined: 28/08/2007 Posts: 118
Location: กรุงเทพฯ
|
Posted: 18/02/2010 3:27 pm Post subject: แสดงความคิดเห็น |
|
|
เนื่องจากสนใจเรื่องนี้ แต่ไม่ทราบความคืบหน้าว่าตอนนี้เรื่องถึงไหน
สรุปว่าการประมูลซื้อรถจักรเลื่อนจากกำหนดเดิม 20 ก.พ. ออกไปโดยไม่กำหนดวันหรือครับ สาเหตุเพราะอะไร
งานนี้ รฟท. กำหนดสเปคของรถจักรเองหรือไม่ (ขอแบบขึ้นภูเขาได้ไม่เสียกลางทางด้วยก็ดี )
โดยสรุปคือ รถจักรใหม่ ลอตแรกน่าจะมาเมื่อไหร่(ปีอะไร) จำนวนกี่คัน
ดูจากแบบรถจักรรุ่นต่างๆที่หลายคนนำมาเป็นตัวอย่างแล้ว คิดหนักเลยครับ จะทำให้ดูสวยได้ไหม |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43980
Location: NECTEC
|
Posted: 18/02/2010 8:13 pm Post subject: Re: แสดงความคิดเห็น |
|
|
PEEM wrote: | เนื่องจากสนใจเรื่องนี้ แต่ไม่ทราบความคืบหน้าว่าตอนนี้เรื่องถึงไหน
สรุปว่าการประมูลซื้อรถจักรเลื่อนจากกำหนดเดิม 20 ก.พ. ออกไปโดยไม่กำหนดวันหรือครับ สาเหตุเพราะอะไร
งานนี้ รฟท. กำหนดสเปคของรถจักรเองหรือไม่ (ขอแบบขึ้นภูเขาได้ไม่เสียกลางทางด้วยก็ดี )
โดยสรุปคือ รถจักรใหม่ ลอตแรกน่าจะมาเมื่อไหร่(ปีอะไร) จำนวนกี่คัน
ดูจากแบบรถจักรรุ่นต่างๆที่หลายคนนำมาเป็นตัวอย่างแล้ว คิดหนักเลยครับ จะทำให้ดูสวยได้ไหม |
ใน TOR บอกไว้ชัดแล้ว ต้องผ่านดงพระยาเย็น (แก่งคอย - ปากช่อง) ได้ และ จะให้ดีต้องผ่านช่วงแม่ตาลน้อย - ขุนตาลได้ (ถ้าไม่กลัวรางแบะเพราะ โหลดเพลา 20 ตัน!) |
|
Back to top |
|
|
puggi
3rd Class Pass
Joined: 04/07/2006 Posts: 119
|
Posted: 21/02/2010 6:14 pm Post subject: Re: แสดงความคิดเห็น |
|
|
Wisarut wrote: | PEEM wrote: | เนื่องจากสนใจเรื่องนี้ แต่ไม่ทราบความคืบหน้าว่าตอนนี้เรื่องถึงไหน
สรุปว่าการประมูลซื้อรถจักรเลื่อนจากกำหนดเดิม 20 ก.พ. ออกไปโดยไม่กำหนดวันหรือครับ สาเหตุเพราะอะไร
งานนี้ รฟท. กำหนดสเปคของรถจักรเองหรือไม่ (ขอแบบขึ้นภูเขาได้ไม่เสียกลางทางด้วยก็ดี )
โดยสรุปคือ รถจักรใหม่ ลอตแรกน่าจะมาเมื่อไหร่(ปีอะไร) จำนวนกี่คัน
ดูจากแบบรถจักรรุ่นต่างๆที่หลายคนนำมาเป็นตัวอย่างแล้ว คิดหนักเลยครับ จะทำให้ดูสวยได้ไหม |
ใน TOR บอกไว้ชัดแล้ว ต้องผ่านดงพระยาเย็น (แก่งคอย - ปากช่อง) ได้ และ จะให้ดีต้องผ่านช่วงแม่ตาลน้อย - ขุนตาลได้ (ถ้าไม่กลัวรางแบะเพราะ โหลดเพลา 20 ตัน!) |
เคยได้อ่านเจอ สมาชิก ในนี้บอกว่า หัวรถจักร์ แบบไฟฟ้ากระแสสลับ น่าจะมีน้ำหนักเบากว่าหัวรถจักร์ แบบ ไฟฟ้ากระแสตรง เนื่องจากว่า traction จะมีขนาดเบากว่าพอสมควร รวมถึงจะลดน้ำหนักของอุปกรณ์ตัวอื่นๆได้
จริงเท็จเป็นอย่างไรครับ หากว่าจริง หัวรถจักร์ใหม่น้ำหนักลงเพลา ไม่น่าจะเกิน 20ตันนะครับ |
|
Back to top |
|
|
|