View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 28/01/2010 9:03 pm Post subject: |
|
|
Rakpong wrote: | เรื่องทางรถไฟจากกาญจนบุรีไปทวาย ทาง KOICA เคยมาสำรวจแล้วล่ะครับ บอกว่ายากเหมือนกัน เพราะต้องตัดผ่านภูเขาสูงชันหลายแห่ง
แต่นึกถึงสมัยญี่ปุ่นมาสร้างไปตันบีอูซายัต ยังทำได้เลย เทคโนโลยีปัจจุบัน ถ้าทุ่มทุนหน่อย น่าจะทำได้
ว่าแต่ใครจะทุ่มทุน |
อยู่ที่ว่าบ้านเรากับบ้านเขาจะไว้ใจกันได้มากกว่านี้เมื่อไรกระมังครับ
ผมว่าเรื่องเทคโนโลยีสมัยนี้น่าจะช่วยสร้างได้เสร็จไม่น่าเกิน 5 ปี ครับคุณหมอ
เราอาจจะมีรถไฟท่องเที่ยวแบบในยุโรปข้ามประเทศได้หลายประเทศ
และน่าจะมี Asian Railpass แบบ 1 - 2 -3 - 4 -....10 ประเทศแบบ Eurail Pass นะครับ ฝันนี้จะเป็นจริงไหมนี่
Mongwin wrote: | ถ้าสร้างได้จริง ๆ จะสามารถนั่งรถไฟจากกรุงเทพไปย่างกุ้งได้ครับ |
อย่างนั้นผมก็อาจจะได้ขึ้นรถไฟระหว่างประเทศที่สถานีบ้านโป่งใหม่นะซิครับอาจารย์เอก _________________
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 28/01/2010 10:04 pm Post subject: |
|
|
อ่า..ป๋าครับ ผมว่าที่ล่าช้าอาจเป็นว่าเป็นเรื่องแบ่งเค้กไม่ลงตัวมากกว่ามั้ง ? |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
|
Posted: 29/01/2010 5:41 pm Post subject: |
|
|
^^^
ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ตามข่าวต่อไปนี้:
//-----------------------------------------------------------------
ฉวยจังหวะสหภาพระส่ำหนัก'โสภณ'สั่งตั้งบริษัทลูกเดินรถ
โดย ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ 29 มกราคม 2553 16:06 น.
โดยเมื่อ 2สัปดาห์ก่อน โสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศหหนุนหลังให้ยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่ารฟท.เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง ภายหลังที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(ครส.) มีมติให้รฟท.รับ 6 พนักงาน ประกอบด้วย
ธวัชชัย บุญวิสูตร ช่างเครื่อง 5 ,
สรวุฒิ พ่อทองคำ ช่างเครื่อง 5 ,
สาโรจน์ รักจันทร์ ช่างเครื่อง 5
ประชานิวัฒน์ บัวศรี พนักงานรถจักร 6 ,
วิรุฬห์ สะแกคุ้ม พนักงานรถจักร 6 และ
นิตินัย ไชยภูมิ นายสถานีบางกล่ำ ฝ่ายการเดินรถ
ที่กระทำความผิดจากการหยุดเดินรถไฟสายใต้เมื่อเดือน ต.ค.ปีที่ผ่านมากลับเข้ามาทำงาน
สาเหตุที่โสภณ หนุนหลังรฟท.เพราะเห็นว่า 6 พนักงานมีความผิดฐานทำให้รฟท.เสียชื่อเสียที่สำคัญยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อองค์กรโดยรวม อีกทั้งทำประชาชนผู้ใช้บริการได้รับความเดือนร้อน
ล่าสุดรฟท.เดินหน้าจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อรองรับการเดินรถไฟฟ้าชานเมือง แอร์พอร์ตลิงก์ สุวรรณภูมิ-พญาไท เพราะหากรฟท.ยังไม่ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกอาจจะมีผลต่อการเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์แน่นอน โสภณ กล่าวว่า ให้บอร์ดรฟท.สั่งการให้รฟท.ตั้งคณะกรรมการฯขึ้นมามาเร่งรัดติดตามงาน เพราะเห็นว่าโครงการมีความล่าช้าต้องการที่จะให้เปิดใช้บริการเชิงพาณิชย์ตามกำหนดการเดิมคือในเดือนเม.ย.นี้ โดยคณะกรรมการจะต้องรายงานความคืบหน้าให้บอร์ดทราบทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขให้ตรงจุด
'การดำเนินการดังกล่าวไม่ใช้เป็นการซื้อเวลา แต่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเรื่องนี้รฟท.จะต้องโชว์ว่ามีศักยภาพที่มีอยู่ในสังคมให้ประชาชนผู้รอใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เห็น เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่างบประมาณที่ครม.อนุมัติกว่า 1.5 แสนล้านบาทมีความโปร่งใสและมีมาตรฐานสากลในทุกๆด้าน '
ด้านสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะบอร์ดรฟท.กล่าวว่า บอร์ดมีมติให้ผู้บริหาร รฟท.ไปจดทะเบียนบริษัทลูกตามมติ ครม.โดยใช้ชื่อบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ สร.รฟท.จะคัดค้านเรื่องดังกล่าวนั้น เชื่อว่าสร.รฟท.จะไม่คัดค้าน เนื่องจากที่ผ่านมาได้พบกันครึ่งทางแล้ว เพราะเดิมนั้นสภาพัฒน์ฯเคยเสนอให้ตั้งเป็น 2 บริษัท คือบริษัทเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ลิงก์ กับบริษัทบริหารทรัพย์สิน แต่เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งกระทรวงคมนาคมได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการตั้งหนึ่งบริษัทลูกกับ2 หน่วยธุรกิจ(BU)ตามความต้องการของ สร.รฟท.แล้ว จึงไม่น่าจะมีปัญหา
ทั้งนี้ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ บริการด้วยความเร็วสูงถึง 160 กม.ต่อชั่วโมง วิ่งบนทางยกระดับ จากสถานีพญาไท ไปตามแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ก่อนลดระดับลงสู่ใต้ดิน เข้าสู่สถานีปลายทางสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 28 กม. สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 14,000 - 15,000 คนต่อวัน ค่าโดยสารเฉลี่ยประมาณ 15 - 150 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานของประเทศอื่นๆแล้ว ถือว่าโครงการของประเทศไทยคิดค่าโดยสารถูกที่สุด
สำหรับข้อดีของการมีบริษัทลูกแอร์พอร์ตลิงก์ คือ มีการแยกบัญชีทรัพย์สิน การบริหารจัดการ และทรัพยากร อย่างชัดเจน ส่วนข้อเสียคือ รฟท.อาจจะต้องแบกรับภาระหนี้สินกรณีบริษัทลูกขาดทุน |
|
Back to top |
|
|
RORONOA
2nd Class Pass
Joined: 06/12/2007 Posts: 705
|
Posted: 29/01/2010 7:29 pm Post subject: |
|
|
tamz wrote: | "ไตรรงค์" ปลุกผีเซาเทิร์นซีบอร์ด วาดฝันลงขัน 1 ล้านล.ปั้นเศรษฐกิจยาว 30 ปี
ไทยรัฐออนไลน์วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ.2553 http://www.thairath.co.th/content/eco/61314
รองนายกฯใหม่ เปิดไอเดียสร้างเศรษฐกิจระยะยาว 1 ล้านล้านบาท ใน 30 ปี ข้างหน้า เปิดนโยบายปลุกผี "เซาเทิร์นซีบอร์ด-แลนด์บริดจ์" ระบุมีต่างชาติสนใจลงทุนให้เดินหน้าสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขณะที่แทงกั๊ก พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทสร้างถนนปลอดฝุ่นเฟส 2บ่อน้ำ ลั่นไม่เอาโครงการเบี้ยหัวแตก
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการทำงาน ในฐานะที่ดูแลเศรษฐกิจมหภาคของประเทศ ว่า การแก้ปัญหาระยะสั้นที่รัฐบาลชุดนี้ทำมาถือว่าถูกต้องจะไม่ เปลี่ยนแปลงอะไร จะเร่งต่อยอดการทำงานเพื่อวางรากฐานการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาว โดยวางโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้กับประเทศ รวมวงเงินลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ในช่วง 5 ปี 10 ปี และ 15 ปีต่อจากนี้ เพื่อวางรากฐานให้กับประเทศไทยในอีก 30 ปีข้างหน้าประกอบด้วย การฟื้นโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (เซาเทิร์นซีบอร์ด) ก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจหรือแลนด์บริดจ์จากสตูล-สงขลา ระยะทาง 30 กม. พร้อมด้วยรถไฟ ท่อส่งน้ำมัน และท่าเรือน้ำลึกเพิ่มในฝั่งอันดามัน เพื่อขนส่งสินค้าไปยุโรปและตะวันออกกลาง เนื่องจากการใช้พื้นที่มาบตาพุดและแหลมฉบังใกล้เต็มแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุน 400,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ประเทศไทยไม่ต้องลงทุนเอง มีหลายประเทศสนใจลงทุนให้ โดยเฉพาะประเทศที่ต้องการขายน้ำมันอย่าง คูเวต รัฐอาบูดาบี ของดูไบ รวมทั้งญี่ปุ่น และให้ไทยถือหุ้น 51% ซึ่งตนจะเรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้เร็วๆ นี้ และคาดภายใน 5 เดือน จะออกประกาศเชิญชวนให้ต่างประเทศที่สนใจมาสำรวจการลงทุนได้
ขณะเดียวกัน ต้องการก่อสร้างรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ ระยะทาง 3,039 กม. เงินลงทุน 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของไทย โดยเห็นว่าขนาดของรางรถไฟกว้าง 1 เมตรเหมาะสมและเหมือนกับเพื่อนบ้าน เช่น ลาว มาเลเซีย พม่า โดยระบบรางคู่นี้จะเชื่อมตั้งแต่จีนลงมาถึงเซาเทิร์นซีบอร์ด เป็นการเปิดเส้นทางขนถ่ายสินค้าใหม่ ช่วยลดต้นทุน และคนได้บริโภคสินค้าถูกลงพร้อมกับต้องการวางระบบชลประทานเพิ่มขึ้น ซึ่งใช้เงินลงทุน 200,000-300,000 ล้านบาท เนื่องจากพื้นที่เขตชลประทานในภาคกลางปัจจุบัน บอกว่ามี 24 ล้านไร่ แต่ที่สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้งจริงมีเพียง 12 ล้านไร่เท่านั้น จำเป็นต้องทำเพิ่มอีก 11 ล้านไร่ และที่ว่าประเทศไทยมีฝนตกอุดมสมบูรณ์ แต่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้เพียง 5% ของฝนที่ตกลงมาทั้งหมด ภาคอีสานเก็บได้เพียง 3% นอกนั้นไหลลงแม่น้ำโขงหมด จึงจะต้องทำแก้มลิงในภาคอีสานหลายๆ จุด เพื่อบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มที่
นายไตรรงค์ยังได้กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.การกู้เงิน 400,000 ล้านบาทที่ยังอยู่ในสภาฯว่า หากจะกู้เงินก้อนนี้ ก็ควรจะนำมาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อวางพื้นฐานให้กับประเทศในระยะยาวมากกว่า เพราะการจะนำไปสร้างถนนไร้ฝุ่น สะพานข้ามคลอง จะไม่คุ้มที่จะทำให้รายได้ประชาชาติ (จีดีพี) เพิ่มขึ้นตามที่ได้จ่ายเงินออกไป และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ก็วิจัยออกมาแล้วว่า ตอนนี้ถนนในประเทศมีจำนวนมากเกินเหตุแล้ว ขอให้หยุดและชะลอ เพื่อนำเงินมาปรับใช้กับโครงการขนาดใหญ่
"ที่ผ่านมารัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น รัฐบาลเร่งทำโครงการขนาดเล็กถูกต้องแล้ว เพราะเศรษฐกิจโลกทรุด นักท่องเที่ยวไม่มา ส่งออกติดลบเกือบ 30% คนไม่มีเงินในกระเป๋า ต้องอัดฉีดเงินเข้าระบบ ทำโครงการถนนไร้ฝุ่น บ่อน้ำ มีโกงกันบ้าง แต่เศรษฐกิจพยุงขึ้นมาได้ ตอนนี้เศรษฐกิจโลกรับไม้จากเรา จึงหมดความจำเป็นต้องทำโครงการเร่งด่วน หากจะกู้อีก 400,000 ล้านบาทมาทำโครงการเร่งด่วนอีกผมไม่ยอม จะทำแบบเบี้ยหัวแตกไม่ได้ แต่หากกู้มาลงทุนอีก 30 ปี ให้ลูกหลานอยู่สบายผมเห็นด้วย"
รองนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า จะตั้งคณะที่ปรึกษาขึ้นมาศึกษาข้อมูลต่างๆ ตามที่ตนวางนโยบายไว้ 6 คณะ จะพยายามไม่ให้เกิน 45 คน หรือคณะละ 6-7 คน เช่น ได้นายตีรณ พงษ์มฆพัฒน์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ดูภาพรวมโครงสร้างอุตสาหกรรมทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังได้ขอให้ กระทรวงการคลังกลับไปจัดทำรายละเอียดการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2554 ที่ตั้งเป้าหมายไว้ 1.65 ล้านล้านบาทให้ชัดเจน โดยเฉพาะการจัดเก็บรายได้จากภาษีนิติบุคคลธรรมดา เนื่องจากเห็นว่าภาคเอกชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเพิ่งพ้นภาวะบาดเจ็บจากวิกฤติเศรษฐกิจ แม้ว่าจะดีขึ้นในปี 2553 แต่เห็นว่าควรเปิดโอกาสให้ได้รักษาบาดแผลบ้าง ไม่ใช่รีดภาษีจนไม่มีเงินเหลือไว้รักษาบาดแผล.
...........................................................
นับว่าเป็นข่าวดีและเป็นนโยบายที่เด่นชัดและตรงเป้าที่สุดเท่าที่พรรคนี้เป็นรัฐบาลมา... สิ่งที่ไทยเราขาดแคลนมากที่สุดก็คือการวางแผนพัฒนาประเทศระยะยาวในนั่นเอง
ไม่รู้เป็นไง รู้สึกรักท่านไตรรงค์ฯ ที่สุดเลยครับ
ปล.ท่านไตรรงค์ครับ หนึ่งปีที่ผ่านมา รัฐบาลเอาท่านไปทิ้งไว้ที่ใหนครับเนี่ยยยยย..... |
กลับบ้านไปหลายวัน เพิ่งเข้ามาอ่านครับ เกิดมารู้จักรัฐมนตรีมาตั้งหลายคน เพิ่งจะเจอท่านนี้ล่ะครับ ที่นโยบายและวิสัยทัศน์ท่านช่างถูกใจเสียจริงครับ ขอให้ท่านดำเนินตามนโยบายของท่านได้อย่างราบรื่น และประสบผลสำเร็จนะครับ ถ้าเหล่านักการเมืองมีวิสัยทัศน์อย่างนี้บ้างสัก 10% ประเทศไทยคงเจริญไม่น้อย ว่าแต่สัก 1% จะเป็นไปได้ไหมครับ |
|
Back to top |
|
|
siriwadhna
3rd Class Pass
Joined: 05/10/2009 Posts: 126
|
Posted: 30/01/2010 3:01 pm Post subject: |
|
|
RORONOA wrote: | กลับบ้านไปหลายวัน เพิ่งเข้ามาอ่านครับ เกิดมารู้จักรัฐมนตรีมาตั้งหลายคน เพิ่งจะเจอท่านนี้ล่ะครับ ที่นโยบายและวิสัยทัศน์ท่านช่างถูกใจเสียจริงครับ ขอให้ท่านดำเนินตามนโยบายของท่านได้อย่างราบรื่น และประสบผลสำเร็จนะครับ ถ้าเหล่านักการเมืองมีวิสัยทัศน์อย่างนี้บ้างสัก 10% ประเทศไทยคงเจริญไม่น้อย ว่าแต่สัก 1% จะเป็นไปได้ไหมครับ |
ผมก็เพิ่งเคยได้ยิน นักการเมืองที่โปรราง 1 เมตร คนแรกนี่แหละครับ ส่วนใหญ่มักจะเอารางมาตรฐานมาพูดอวดรู้กันอยู่นั่น (ขออภัยคนที่โปรรางมาตรฐานด้วย) |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 30/01/2010 10:35 pm Post subject: |
|
|
siriwadhna wrote: |
ผมก็เพิ่งเคยได้ยิน นักการเมืองที่โปรราง 1 เมตร คนแรกนี่แหละครับ |
ก็เป็นลูกศิษย์ของ อ.สง่า นาวีเจริญ ขอรับ... |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
|
Posted: 31/01/2010 9:41 am Post subject: |
|
|
"รถไฟ-แลนด์บริดจ์" 4 แสน ล. เบรกคลังบี้ภาษีนิติบุคคล
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4179 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
ประชาชาติธุรกิจ : นอกจากระบบน้ำ มีระบบอะไรอีก ที่ต้องจัดลำดับลงทุนใหม่?
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งผมอยากทำรถไฟรางคู่ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2494 ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ผมต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องเปลี่ยนหัวรถจักรทั้งหมด เปลี่ยนรางทั้งประเทศ คาดว่าจะใช้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับปรุงของเก่าทั้งหมด โดยจะโยงรถไฟขนส่งไปเหนือสุด ใต้สุด เข้าสู่ภาคกลาง และเข้าสู่ท่าเรือ มาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง และต้องมีท่าเรืออันดามันเพิ่มอีกหนึ่งท่า เชื่อมกับระบบแลนด์บริดจ์ ซึ่งต้องใช้งบฯอีก 6-7 หมื่นล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจ : ต้องทำแผนการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เคยทำไว้แล้ว 234 กิโลเมตร แต่ระยะต่อไปต้องทำทั่วประเทศให้ครบ 3,039 กิโลเมตร ผมอยากเห็นรถไฟรางคู่โยงไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน มีศูนย์กลาง ขนถ่ายสินค้า
ประชาชาติธุรกิจ : เรื่องระบบท่าเรือ ต้องเพิ่มที่ไหนบ้าง
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ที่มีอยู่ 2 ท่า คือมาบตาพุดกับแหลมฉบังไม่พอ ต้องทำเพิ่ม ต้องมีท่าเรือที่อันดามัน เพื่อรองรับการส่งออกไปยุโรป การขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง เราควรฉวยโอกาสทำแลนด์บริดจ์เพื่อเชื่อมกับระบบรถไฟ เชื่อมกับระบบขนส่งน้ำมันผ่านท่อ โครงการนี้รัฐบาลไทยจะลงทุน 51% ที่เหลือจะเชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศมาร่วมลงทุน จะมีประกาศเชิญชวนเร็ว ๆ นี้
ประชาชาติธุรกิจ : พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทำโครงการแลนด์บริดจ์เลือกที่ไหน
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ผมเลือกพื้นที่สตูล-สงขลา จากท่าเรือปากบารา ซึ่งเป็นผลการศึกษาความ เหมาะสม และผลการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ระยะทาง 30 กิโลเมตร พื้นที่เหมาะสมทั้งสั้น-แคบ ขณะนี้มีกลุ่มประเทศอาบูดาบี คูเวต และญี่ปุ่นสนใจมาลงทุนร่วมกับเรา
โครงการนี้จะต่อเชื่อมกับระบบรถไฟ ไปถึงประเทศจีน มีเขตอุตสาหกรรมต่อเนื่อง มีโรงกลั่น โรงงานประกอบชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อส่งออก ผมเชื่อว่าหากเราลงทุนโครงการนี้ ญี่ปุ่นจะอยากมาร่วมลงทุนกับไทย เพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปจีน ผมจะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนจัดทำ MOU ภายใน 5 เดือน และกำหนดรูปแบบการลงทุนแบบ international bid คาดว่าจะใช้งบฯลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจ : การจัดลำดับความสำคัญลงทุนผ่าน พ.ร.บ.-พ.ร.ก.เงินกู้และงบประมาณ จะทำเช่นไร?
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ถ้าประเทศกู้เงินมาต้องลงทุน 3 อย่างเท่านั้น คือ ระบบน้ำ-ชลประทาน, ระบบขนส่ง-รถไฟรางคู่ และโครงการท่าเรือแลนด์บริดจ์เท่านั้น ไม่ใช่ไปทำโครงการถนนไร้ฝุ่น สร้างคลอง ทำถนน ไปทำแบบเบี้ยหัวแตก ต้องหยุด ชะลอ หรือเปลี่ยนแนวทางใช้งบฯไปลงทุนระบบรางมากขึ้น
ที่ผ่านมาการลงทุนเพื่อรองรับเศรษฐกิจโลกตกต่ำนั้นถือว่าถูกต้อง โกงบ้าง...ไม่รู้ แต่ต้องอัดฉีดเงินไปสู่ระบบ แต่ต่อไปนี้ไม่จำเป็นอีกแล้ว เศรษฐกิจฟื้นแล้ว เงินกู้อีก 4 แสนล้าน ต้องลงทุน 3 ระบบเท่านั้น ต่อไปนี้ถ้ากู้มาทำโครงการเล็ก ๆ ระยะสั้น ๆ อีกผมไม่ยอม...ไม่ถูกเรื่อง |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44032
Location: NECTEC
|
Posted: 31/01/2010 10:05 am Post subject: |
|
|
สนข.เร่งดัน 'แลนด์บริดจ์'เข้าครม
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ หน้า อสังหาฯ Real Estate
วันอังคารที่ 26 มกราคม 2010 เวลา 13:37 น.
จาก หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,500 28 -30 มกราคม พ.ศ. 2553
ดร.จุฬา สุขมานพ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าของโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้หรือแลนด์บริดจ์ว่าจากความล่าช้าของการศึกษาจึงได้มอบหมายนโยบายให้คณะทำงานทำการศึกษาใหม่โดยแยกการศึกษาโครงการท่อต่อส่งน้ำมันออกเพราะเกรงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และทำให้โครงการเกิดขึ้นได้ยาก
ส่วนการเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักธุรกิจและประชาชนในพื้นที่โครงการแล้วหลายฝ่ายเห็นด้วยเพียงแต่ต้องปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมบางส่วน เท่านั้นและไหน ๆ โครงการก็ล่าช้าออกไปมากแล้ว แต่การศึกษานั้นยังดำเนินการต่อไปแม้ว่า "ดูไบเวิลด์" จะมีปัญหาทางการเงินเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่โครงการยังเดินหน้าและเชื่อว่าภายในเดือนมกราคมนี้น่าจะสรุปผลการศึกษาได้และนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในเร็ว ๆ นี้ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงใด ก็ต้องส่งให้กระทรวงนั้น ๆ ดำเนินการ
"เรื่องนี้ถือเป็นภาพใหญ่ของประเทศ กระทรวงใดเกี่ยวข้องก็ต้องรับเรื่องไปดำเนินการ ส่วนการลงทุนนั้นกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการ เป็นเจ้าภาพในการเชิญชวนนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาดำเนินการ ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องดูกับต่อไป รูปแบบการศึกษาเบื้องต้นจะต้องมีการก่อสร้างท่าเทียบเรือ 2 ที่คือ ปากบารา จังหวัดสตูล และอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และคาดภายในเดือนมกราคมนี้น่าจะได้ผลสรุปเบื้องต้น"
อย่างไรก็ตามแม้ว่า "ดูไบเวิลด์" จะมีปัญหาเรื่องการเงินก็ตามแต่ในเรื่องการลงทุนนั้นไม่น่าเป็นห่วงเพราะดูไบเวิลด์ ไม่ได้เป็นผู้ลงทุนแต่จะเป็นตัวกลางในการหานักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการเหมือนเป็นนายหน้าหลังจากเขาได้ทำลักษณะนี้ในท่าเรือขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วโลก ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นอาจจะเป็นการลงทุนโดยฝ่ายไทยร่วมทุนกับต่างชาติ ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจทั้ง ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ส่งคนเข้ามาคุยแล้ว
ทั้งนี้รูปแบบการศึกษาเบื้องต้นจะมีการสร้างท่าเทียบเรือจากอ่าวไทยเชื่อมโยงมายังฝั่งทะเลอันดามันมีการพัฒนาพื้นที่ เขตนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุน แนวทางเส้นทางรถไฟ ระยะทาง 130 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดการ เชื่อมโยงการคมนาคม ทั้งทางบกและทางน้ำเพื่อให้ผลการศึกษาออกมาน่าลงทุนมากที่สุด และคาดว่าเบื้องต้นคงลงทุนไม่ต่ำกว่า 3 -5 หมื่นล้านบาท บางส่วนอาจจะต้องมีการเวนคืน โดยโครงการรถไฟอาจจะใช้งบถึงหมื่นล้านบาทและถ้ารวมทั้งโครงการนั้นคาดต้องลงทุนเป็นแสนล้านบาท
อนึ่งการพัฒนาระบบขนส่งเพื่อการเชื่อมโยงท่าเรือนั้น สนข.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาคือบริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด เป็นเงินจำนวน 91 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้น ส่วนกรมเจ้าท่าได้ก่อสร้างท่าเรือปากบาราวงเงิน 12,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 31/01/2010 10:46 am Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ระบบโลจิสติกส์ ซึ่งผมอยากทำรถไฟรางคู่ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2494 ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ผมต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบรางให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องเปลี่ยนหัวรถจักรทั้งหมด เปลี่ยนรางทั้งประเทศ คาดว่าจะใช้เงิน 8.5 หมื่นล้านบาท เพื่อปรับปรุงของเก่าทั้งหมด โดยจะโยงรถไฟขนส่งไปเหนือสุด ใต้สุด เข้าสู่ภาคกลาง และเข้าสู่ท่าเรือ มาบตาพุด ท่าเรือแหลมฉบัง และต้องมีท่าเรืออันดามันเพิ่มอีกหนึ่งท่า เชื่อมกับระบบแลนด์บริดจ์ ซึ่งต้องใช้งบฯอีก 6-7 หมื่นล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจ : ต้องทำแผนการรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เคยทำไว้แล้ว 234 กิโลเมตร แต่ระยะต่อไปต้องทำทั่วประเทศให้ครบ 3,039 กิโลเมตร ผมอยากเห็นรถไฟรางคู่โยงไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน มีศูนย์กลาง ขนถ่ายสินค้า
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี: ถ้าประเทศกู้เงินมาต้องลงทุน 3 อย่างเท่านั้น คือ ระบบน้ำ-ชลประทาน, ระบบขนส่ง-รถไฟรางคู่ และโครงการท่าเรือแลนด์บริดจ์เท่านั้น ไม่ใช่ไปทำโครงการถนนไร้ฝุ่น สร้างคลอง ทำถนน ไปทำแบบเบี้ยหัวแตก ต้องหยุด ชะลอ หรือเปลี่ยนแนวทางใช้งบฯไปลงทุนระบบรางมากขึ้น
ที่ผ่านมาการลงทุนเพื่อรองรับเศรษฐกิจโลกตกต่ำนั้นถือว่าถูกต้อง โกงบ้าง...ไม่รู้ แต่ต้องอัดฉีดเงินไปสู่ระบบ แต่ต่อไปนี้ไม่จำเป็นอีกแล้ว เศรษฐกิจฟื้นแล้ว เงินกู้อีก 4 แสนล้าน ต้องลงทุน 3 ระบบเท่านั้น ต่อไปนี้ถ้ากู้มาทำโครงการเล็ก ๆ ระยะสั้น ๆ อีกผมไม่ยอม...ไม่ถูกเรื่อง |
ขอ quote คำให้สัมภาษณ์สำคัญๆของท่านรองนายกฯดร.ไตรรงค์ ครับ
ต้องมีผู้บริหาร พูดชัดๆ และ พูดดังๆ อย่างนี้ครับ ขอให้พูดบ่อยๆ ไม่เบื่อครับ
และขอให้ผลักดันให้ถึงที่สุดครับ เป็นประโยขน์ให้กับประเทศและประชาชน และเป็นบุญให้กับผู้ทำครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 31/01/2010 12:04 pm Post subject: |
|
|
^
^
อ.บ้านโป่งครับ
ว่าแต่ประชุม ครม.เศรษฐกิจรอบหน้า
นักข่าวสายทำเนียบ จะเอาที่ อาจารย์.กบ ให้สัมภาษณ์ เรื่องท่าเรือทวาย ไปถาม อ.ไตรรงค์ก่อนประชุม หรือไม่
อยากรู้จริง ๆ นะเนี่ย ......อิอิ |
|
Back to top |
|
|
|