View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
dueramae
3rd Class Pass
Joined: 03/02/2010 Posts: 18
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 07/03/2010 10:47 pm Post subject: ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล |
|
|
สวัสดีครับ จากมูฮำหมัดครับ ข่าวนี้ผมเขียนเอง ลงเว็บประชาไทดอดคอม
ตอนนี้ได้ออกจากโฟกัสภาคใต้แล้วน่ะครับ พร้อม บก.สุพจ จริงจิตร ตอนนี้กำลังเจรจากับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอีกฉบับครับ ชัดเจนเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที เพราะมีข่าวเกี่ยวกับรถไฟรอเขียนลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่อีกครับ ส่วนเรื่องที่ไปกับรถด่วนลังกาวี - เคแอล-เกมัส วันก่อน มีเวลาจะทะยอยนำเสนอครับ
....
สนข.เลือกเส้น2Aรถไฟแลนด์บริดจ์
สร้างก่อนครึ่งทางที่เหลือรอท่าเรือสงขลา2
สนข.เลือกเส้นทางเลือกที่2Aก่อสร้างรถไฟสายแลนด์บริดจ์สงขลา สตูล ชี้เหมาะสมที่สุดทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ระยะแรกวางรางรถไฟถึงแค่หาดใหญ่พร้อมกับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราก่อน ส่วนที่เหลือรอความชัดเจนเรื่องท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่2
รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคมแจ้งว่า คณะที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ประกอบด้วยบริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท พีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนบ จำกัด บริษัท โชติจินดา มูเชล ตอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท พีทีแอล คอนซัลแทนส์ จำกัด ได้เลือกแนวทางเลือกที่ 2A เพื่อเป็นแนวเส้นทางในการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล กับท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จากทั้งหมด 5 แนวทางเลือก
โดยแนวทางเลือกที่ 2A เป็นเขตแนวทางใหม่ตลอดทั้งสาย ซึ่งจะตัดผ่านเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ ปาดังเบซาร์ บริเวณตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และตัดผ่านเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่ สุไหงโกลก บริเวณตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไปยังท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 รวมระยะทาง 142 กิโลเมตร
ทั้งนี้จากการพิจารณาความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมและด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า แนวทางเลือก 2A เป็นแนวทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีความเหมาะสมในหลายปัจจัย เช่น ลักษณะรูปแบบของแนวเส้นทาง การก่อสร้าง ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ การขนส่ง การเดินรถและระยะเวลา คุณภาพการให้บริการ ค่าก่อสร้าง ค่าเวนคืนที่ดิน การพัฒนาพื้นที่ย่านชุมชน และเป็นแนวทางเลือกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
สำหรับแนวเส้นทางเลือกที่ 2A ประกอบด้วย แนวเขตทางกว้าง 40 เมตร มีสถานีรับ ส่งผู้โดยสาร 2 แห่ง คือ สถานีละงู และสถานีควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล โดยแนวเขตทางบริเวณย่านสถานีจะมีความกว้าง 80 เมตร ในเบื้องต้นกำหนดให้มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่งคือ ศูนย์ซ่อมบำรุงควนกาหลง และศูนย์ซ่อมบำรุงบ้านคลองทิง อำเภอจะนะ และสถานีบรรจุและแยกสินค้า (Inland Container Depot, ICD) 1 แห่ง บริเวณบ้านนายสี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งจะทำการพิจารณาความเหมาะสมในขั้นต่อไป
โดยจะแบ่งระยะการดำเนินการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ (Landbridge) ออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราและระบบรถไฟเพื่อการส่งอออกและนำเข้า ซึ่งเป็นรถไฟรางเดี่ยวแบบ Meter Gauge เชื่อกับโครงข่ายเส้นทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทยบริเวณตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่
ระยะที่ 2 ขยายทางรถไฟจากระยะที่ 1 ไปเชื่อมต่อกับท่าเรือสงขลา 2 ระยะที่ 3 ขยายขีดความสมารถของระยะที่ 1 โดยก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นรถไฟทางคู่ระบบ Meter Gauge ตลอดแนว และระยะที่ 4 อาจจะมีการก่อสร้างแบบ Meter Gauge หรือ Standard เป็นเส้นทางอิสระ โดยไม่เชื่อมโยงกับโครงข่ายเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ในการเป็นสะพานเศรษฐกิจ
สำหรับโครงการศึกษาความเหมาะสมดังกล่าว เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2552 เป็นต้นมา โดยมีกำหนดการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2553 โดยก่อนหน้านี้มีการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 เพื่อเสนอผลการศึกษาแนวทางเลือก การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันไปแล้ว เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาโครงการ ทั้งหมด 6 กลุ่มย่อยประกอบด้วย ระหว่างวันที่ 24 26 กุมภาพันธ์ 2553 กลุ่มที่ 1 และ 2 ที่อำเภอคลองหอยโข่งและอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กลุ่มที่ 3 ที่อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา กลุ่มที่ 4 ที่จังหวัดสตูล กลุ่มที่ 5 ที่ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และกลุ่มที่ 6 ที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า เหตุที่ต้องมีการดำเนินการระบบรถไฟในระยะที่ 1 ถึงอำเภอหาดใหญ่ก่อนเนื่องจากต้องรอความชัดเจนของการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ก่อน เนื่องยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะก่อสร้างที่ตำบลนาทับอำเภอจะนะหรือที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รวมทั้งปัญหาจากการต่อต้านการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ด้วย
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 07/03/2010 11:09 pm Post subject: |
|
|
บังมูฮำหมัด,
บังเขียนข่าวนี้เองหรอกหรือ อึมมมม ผมเองก็เอาข่าวที่บังเขียนมาโพสต์ไว้ที่นี่แล้วด้วย สิ สงสัยคงต้องย้ายข่าวที่เกี่ยวข้องมาไว้ตรงนี้ หรือไม่ก็ทำเป็น Link |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 07/03/2010 11:20 pm Post subject: Re: ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล |
|
|
dueramae wrote: | สวัสดีครับ จากมูฮำหมัดครับ ข่าวนี้ผมเขียนเอง ลงเว็บประชาไทดอดคอม
ตอนนี้ได้ออกจากโฟกัสภาคใต้แล้วน่ะครับ พร้อม บก.สุพจ จริงจิตร ตอนนี้กำลังเจรจากับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอีกฉบับครับ ชัดเจนเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที เพราะมีข่าวเกี่ยวกับรถไฟรอเขียนลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอยู่อีกครับ ส่วนเรื่องที่ไปกับรถด่วนลังกาวี - เคแอล-เกมัส วันก่อน มีเวลาจะทะยอยนำเสนอครับ |
สวัสดีครับ หายไปหลายวันเลย ออกจากโฟกัสฯ เสียแล้วหรือครับ
อ้าว ท่าน บก.สุพจ จริงจิตร ก็ออกด้วยหรือครับ แล้วอย่างนี้ที่โฟกัสฯ มีใครสานงานต่อล่ะครับเนี่ย
ยังไงก็รออ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับใหม่อยู่นะครับ |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 07/03/2010 11:35 pm Post subject: |
|
|
จากข่าวนี้
ฝากช่วยผลักและดัน ด้วยครับ
เพราะจะไปโยง กับเรื่อง ระบบขนส่งมวลชนระหว่างชุมชน หาดใหญ่ - สงขลา เสียด้วย
เอ ว่าแต่ ไม่ได้สัมภาษณ์ คณะจากสนข และ ทีมที่ปรึกษา ที่ลงไปเมื่อวันพฤหัสสุดท้ายเดือน กพ ทีผ่านมาหรือครับ
จะได้ส่งลูกคำถามว่า พรรคผู้แทน ส่วนใหญ๋ของชาวภาคใต้
ถึงไป ชงการขนส่งของบ้านเราไปยังฝั่งอันดามัน ให้ผ่านท่าเรือทวาย ทำไมไม่เอา ท่าเรือปากบารา
ฝากส่งลูกให้ท่าน มูฮำหมัด ไปเล่นต่อ อะครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 07/03/2010 11:39 pm Post subject: |
|
|
nathapong wrote: |
จะได้ส่งลูกคำถามว่า พรรคผู้แทน ส่วนใหญ๋ของชาวภาคใต้
ถึงไป ชงการขนส่งของบ้านเราไปยังฝั่งอันดามัน ให้ผ่านท่าเรือทวาย ทำไมไม่เอา ท่าเรือปากบารา
ฝากส่งลูกให้ท่าน มูฮำหมัด ไปเล่นต่อ อะครับ |
ก็อยากได้เร็วๆ ให้ทันใจแม้ว่า ทางไปทวาย ร้างไม่มีคน แต่ ทางการทหาร ต้องเอาด้วยถึงจะเป็นผล แม้ว่าขณะนี้ทางการทหารพม่า อยากได้ทางออกด่านเจดีย์สามองค์มากกว่าเพราะ จะได้ส่งกำลังไปกำจัดพวก มอญที่เรียกร้องเอกราช ให้่สิ้นซาก |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 07/03/2010 11:47 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: |
ก็อยากได้เร็วๆ ให้ทันใจแม้ว่า ทางไปทวาย ร้างไม่มีคน แต่ ทางการทหาร ต้องเอาด้วยถึงจะเป็นผล แม้ว่าขณะนี้ทางการทหารพม่า อยากได้ทางออกด่านเจดีย์สามองค์มากกว่าเพราะ จะได้ส่งกำลังไปกำจัดพวก มอญที่เรียกร้องเอกราช ให้่สิ้นซาก |
เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง ไม่ออกความเห็น เสียว หงะ
ที่มีประเด็นคือ ตอนการวางท่อก๊าซ จากยาดานาในทะเลอันดามัน ขึ้นฝั่งที่บ้านเขาและผ่านเขตป่าลุ่มน้ำเกรด A เทือกเขาตะนาวศรี มาโรงไฟฟ้าราชบุรี
ช่วงก่อสร้าง ผ่านด่าน ครม. พศ.......... (ใครเป็นรัฐบาล/นายก)
ที่สนใจว่าการก่อสร้างยุคนั้น ผ่านมาได้อย่างไร
จะได้เป็นกรณีศึกษา เพื่อเป็นแนวทางรถไฟสายปากบารา - สงชลา กับ สายเด่นชัย - เชียงรายต่างหาก น่อ ...
ส่วนการผลักดันไล่ผู้บุกรุก มีแนวทางแล้ว เหลือแต่การตีมูลค่าค่าชดเชย อะ อะ |
|
Back to top |
|
|
dueramae
3rd Class Pass
Joined: 03/02/2010 Posts: 18
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 09/03/2010 11:48 pm Post subject: |
|
|
มูฮำหมัดครับ ขออภัยครับ ติดงานสัมมนา 2 วัน ไม่ได้เข้าเน็ตเลย ตอนนี้ บก.สุพจ ไปอยู่ที่หนังสือพิมพ์ทางไทครับ คิดว่าคงต้องใช้เวลาอีกซักระยะครับ เพื่อปรับเนื้อหารูปแบบให้มันเข้มข้นเหมือนที่เคยทำที่โฟกัสภาคใต้ ซึ่งคิดว่าข่าวเกี่ยวกับรถไฟแลนด์บริดจ์ กับเรื่องระบบขนส่งมวลชนสงขลา - หาดใหญ่ คงไม่ตก เพราะประเด็นเรื่องการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เราเกาะติดมาตลอดครับ ซึ่งทั้งข่าวเรื่องแลนด์บริดจ์และขนส่งมวลชนสงขลา - หาดใหญ่หลายเรื่องเราเป็นคนเปิดประเด็นหรือนำเสนอข่าวออกมาครับ
ขอแสดงความเห็นเล็กน้อย รถไฟสายแลนด์บริดจ์จะไม่เจอกับปัญหาเรื่องการบุกรุก เพราะเป็นเส้นทางตัดใหม่ มีการเวนคืนที่ดิน ปัญหาที่จะเจอคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องค่าชดเชย เรื่องที่จะเจอคำถามถึงความจำเป็นในเรื่องการสร้างท่าเรือและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักที่จะตามมาคู่กัน ในขณะที่รายได้หลักของคนใต้ขณะนี้มาจากการท่องเที่ยวกับการเกษตร อะไรพวกนี้ (คงพอจะนึกออกน่ะครับว่าใครจะตั้งคำถามเรื่องอย่างนี้....) กับคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะท่าเรือ
แต่ปัญหาอีกอย่างที่อาจกระทบกับทางรถไฟโดยตรง ก็คือ แหล่งหินที่จะมาสร้างทางรถไฟ เพราะเท่าที่เช็คแหล่งหินในจังหวัดสงขลากับพื้นที่ใกล้เคียงดู ก็พบว่าหลายที่กำลังจะหมดอายุสัมปทาน ซึ่งก็ต้องขอต่ออายุ แล้วการต่ออายุ ก้ต้องทำอีไอเอ ต้องเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านด้วย ซึ่งก้มีแล้วที่ชาวบ้านต่อต้านการต่ออายุ ส่วนการเปิดแหล่งหินใหม่ๆ ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไรเหมือนกัน ยังไม่ได้ตามเรื่องนี้
ที่เขียนมา ไม่ได้ต้องการให้เสียกำลังใจครับ เพราะผมเองก็ยังลุ้นให้เกิดอยุ่ด้วย โดยเฉพาะรถไฟ และก็คิดว่า ปัญหาไม่น่าจะหนักมากจนทำให้ต้องล้มเลิกโครงการไปเลย เพราะเป็นยุทธศาสตร์ของชาติ ปัญหาน่าจะอยู่ที่รัฐบาลมากกว่าว่าจะเอายังงัย
ส่วนเรื่องขนส่งมวลชนทางรางสงขลา - หาดใหญ่ อันนั้น แน่นอน เจอพวกบุกรุกแน่ คิดว่าเป็นปัญหาที่น่าปวดหัวด้วย โดยเฉพาะพวกหัวหมอ แต่ก็คงไม่ยากเย็นเกินไป แต่อาจต้องแชร์ผลประโยชน์กันบ้างเท่านั้นครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47243
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 10/03/2010 7:58 am Post subject: |
|
|
ผมก็เห็นไม่มีชื่อคุณมูฮำหมัดในโฟกัสภาคใต้ตั้งแต่กลางเดือนมกราน่ะครับ
ติดตามผลงานอยู่ทุกฉบับครับ
หินโรยทางขาดแคลนอย่างนี้ แล้วโครงการรถไฟทางคู่จะทำยังไงล่ะ
เอ...หรือว่าขาดแคลนเฉพาะสงขลาและบริเวณใกล้เคียง
นี่แหละครับ ทางรถไฟสายใต้เลิกพัฒนามาหลายสิบปี พอจะเริ่มต้นกันใหม่
ปัจจัยแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยเสียแล้ว
ขนส่งมวลชนหาดใหญ่-สงขลา ปัญหานอกจากเรื่องของผู้บุกรุก(จริง ๆ) แล้ว ยังมีเรื่องของผู้ที่ทำสัญญาระยะยาวกับการรถไฟฯ ด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่โรงแรม
ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสให้ภาคเอกชนเหล่านั้น แทนที่จะรื้อถอนไล่ที่ เปลี่ยนเป็นเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ ส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมได้จะยิ่งดี
อย่างผมมองว่าที่โรงแรมแห่งหนึ่งข้างแนวทางรถไฟ ถ้าทำเป็นที่หยุดรถ คนมาใช้บริการเยอะมากแน่ ๆ ทำเป็นห้างเป็นร้านค้า แหล่งท่องเที่ยวได้เลยครับ
เน้นนักท่องเที่ยวมาเลย์ยังได้ครับ เดินไปเที่ยวเมืองเก่าถนนนางงามก็ไม่ไกล
ถ้าจะไปเขาตังกวน แหลมสมิหลา ค่อยนั่งรถตุ๊กตุ๊กต่อได้
ผมยังเคยคิดเล่น ๆ อยากจะให้ตั้งชื่อว่า ป้ายหยุดรถไทรบุรี เลยครับ
แบบเดียวกับสถานีกำแพงเพชรของรถไฟใต้ดิน
นสพ.ทางไท เคยอ่านครับ ของคุณวิชาญ ช่วยชูใจ ชาว จ.นครศรีธรรมราช ราคา 15 บาทกับ 28 หน้า แต่ออกเป็นรายปักษ์ นานไปหน่อยไม่ค่อยทันใจ
โฟกัสภาคใต้กับสมิหลา ไทมส์จะออกไว เพราะเป็นรายสัปดาห์
อีกทั้งยังมีสื่ออินเทอร์เน็ตประกอบด้วย (แม้จะไม่ค่อยอัพเดทก็ตาม)
ทางไทนี่ เน้นเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน สิ่งแวดล้อม ออกสไตล์เพื่อชีวิต
ผมว่าที่ผ่านมาอ่านแล้วคล้ายหนังสือพิมพ์ทำมือของชมรมนิสิตนักศึกษาน่ะครับ
(รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่คำชมหรือคำตินะครับ) ก็มีเอกลักษณ์เป็นตัวของตัวเองดี
ไม่ได้เน้นข่าวการเมือง เศรษฐกิจ
จุดเด่นของทางไท (หรือเป็นจุดด้อยก็ไม่ทราบ) ก็คือ ดูแล้วไม่ได้อิงหรือได้รับอิทธิพลจากการเมืองท้องถิ่นน่ะครับ
ท่าน บก.สุพจ เข้าไปแล้ว จะรอดูความเปลี่ยนแปลงครับ
พุทธพร ส่องศรี |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
Posted: 10/03/2010 8:51 am Post subject: |
|
|
^
หินโรยทางไม่พอแน่ๆแหล่ะครับ เพราะหมวดศิลาที่เคยมีอยู่เยอะๆก็ล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว |
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 10/03/2010 9:20 am Post subject: |
|
|
Quote: | ขอแสดงความเห็นเล็กน้อย รถไฟสายแลนด์บริดจ์จะไม่เจอกับปัญหาเรื่องการบุกรุก เพราะเป็นเส้นทางตัดใหม่ มีการเวนคืนที่ดิน ปัญหาที่จะเจอคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องค่าชดเชย เรื่องที่จะเจอคำถามถึงความจำเป็นในเรื่องการสร้างท่าเรือและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักที่จะตามมาคู่กัน ในขณะที่รายได้หลักของคนใต้ขณะนี้มาจากการท่องเที่ยวกับการเกษตร อะไรพวกนี้ (คงพอจะนึกออกน่ะครับว่าใครจะตั้งคำถามเรื่องอย่างนี้....) กับคำถามเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะท่าเรือ |
เรื่องความจำเป็น ในเรื่องการสร้างท่าเรือ และการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ประเด็นนี้ ต้องฝากบัง ไปทำการบ้าน เรื่องดังต่อไปนี้นะครับ
1.การส่งออกที่ผ่านด่านสะเดา กับปาดังเบซาร์ ซึ่งมีการส่งออกอยู่สามกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1.1 ยางพารา ที่ต้องอาศัยการส่งออกผ่านประเทศมาเลเซีย ประเทศปลายทางอยู่ในเอเซีย คือ จีน กับ ญี่ปุ่น ไต้หวัน มูลค่าส่งออกปีละเท่าใดมีปริมาณปีละกี่ตู้
1.2 กลุ่มสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในคัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ปลายทางอยู่ในมาเลเซีย (มีการส่งวัตถุดิบไปๆ มาๆ ในค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า รายใหญ่ ๆ)
มีปริมาณปีละเท่าใด ในมูลค่าทั้งจำนวนตู้ / รถกี่คัน
1.3 กลุ่มสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค มีปริมาณปีละเท่าใด ในมูลค่าทั้งจำนวนตู้ / รถกี่คัน
ที่จะตอบโจทย์ จริง ๆ คือข้อ 1.1 ถามกันตรง ๆ คนภาคไหนได้ประโยชน์สูงสุด.....
ส่วนการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ การขนส่งทางเรือและ การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร
อย่างแรก อุตสาหกรรมซ่อมตู้คอนเทนเนอร์ ครับ
ทำไม ถึงต้องมองที่กิจกรรมนี้
คำตอบ บ้านเราที่ประจวบมีโรงงานผลิตเหล็กแผ่น แผ่นม้วน ที่เป็นวัตถุดิบสำคัญที่รองรับอยู่แล้ว หากเราสร้างคนที่มาป้อนงานช่างฝีมือ คือช่างเชื่อม โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเขตสามจังหวัดภาคใต้ การสร้างรายได้ และลดปัญหาคนว่างงาน
อย่างที่สอง อุตสาหกรรมอาหารที่ผ่านมาตรฐาน ฮาลาล
ถ้ามีการเชื่อมโยงการขนส่งระบบราง ที่ต้นทุนถูกกว่าการขนส่งในโหมดอื่น ๆ โดยมีการขนส่งตั้งแต่ประเทศจีนลงมา โดยเฉพาะสินค้าเกษตร พืชผัก ผลไม้ ที่สามารถนำมาถึงภาคใต้ได้รวดเร็ว นำมาสู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ที่เป้าหมายการส่งออกอยู่ในกลุ่มเอเซียใต้ กับตะวันออกกลางที่บ้านเรามีขีดความสามารถ การสร้างมูลค่าเพิ่มในการแปรรูปอาหาร ร่วม ๆ 30 %
คิดว่า การสร้างงานและรายได้ ในระดับพื้น ๆ พอตอบโจทย์ได้พอไหมครับ
ในเรื่องนี้ ยังไม่รวม อุตสาหกรรมหนัก อื่น ๆ และเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตท่าเรือที่ขอยกไปเล่าตอนต่อไป อะครับ
.. อิอิ |
|
Back to top |
|
|
|