Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311898
ทั่วไป:13571238
ทั้งหมด:13883136
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุดกรุ : ย้อนรอยทางรถไฟสายท่าเรือ - พระพุทธบาท
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุดกรุ : ย้อนรอยทางรถไฟสายท่าเรือ - พระพุทธบาท
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 8:48 am    Post subject: ขุดกรุ : ย้อนรอยทางรถไฟสายท่าเรือ - พระพุทธบาท Reply with quote

สวัสดีครับ ทั้งสมาชิกขาประจำ ขาจร และแขกผู้มาเยี่ยมเยือนทุกท่าน วันนี้ก็ถือโอกาสขุดเอาเรื่องเก่าๆ ในเว็บเวอร์ชั่นเดิม กลับมาปัดฝุ่น เรียบเรียงใหม่ เหมือนเช่นเคย โดยเราจะว่ากันด้วยเรื่องของทางรถไฟสายเล็กๆ สายหนึ่ง ที่มีระยะทางไม่ยาวมากนัก แต่ก็มีความสำคัญ และช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับประชาชนในสมัยก่อน ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมและเลิกกิจการไปในที่สุด ซึ่งเส้นทางรถไฟสายที่ว่านี้ ก็คือ ทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท นั่นเองครับ

ปัจจุบัน ร่องรอยของตัวเส้นทางรถไฟสายนี้ แทบจะไม่เหลือให้เห็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแนวคันทาง เศษซากไม้หมอน หรือป้ายสัญญาณต่างๆ เพราะกลายเป็นทางหลวงหมายเลข 3022 ราดยางอย่างดี จาก อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา ไปยัง อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ไปแล้ว แต่ก็ยังพอมีซากอาคารสถานีเก่าๆ ที่ยังไม่ถูกรื้อทิ้ง เหลือไว้ให้ดูต่างหน้าบ้าง

และแน่นอน ตามประสาคนบ้าๆ แบบพวกเรา เมื่อมีเวลาว่าง ก็ต้องหาโอกาสไปทำการ "ย้อนรอย" อดีตเส้นทางรถไฟสายนี้กันจนได้ โดยในทริปนี้ เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 15/5/2548 หรือเมื่อประมาณ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมานี่เอง โดยมี 3 ชีวิต ร่วมเดินทางไปด้วยกัน คือ ผม, ป๋านัท และตาเจฟ (คนสุดท้าย ยังไงก็ต้องไป เพราะเป็นเจ้าถิ่น)

ว่าแล้ว เราก็ออกเดินทาง ขึ้นไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปเมื่อ 1 ปีครึ่งกันเลยครับ จุดเริ่มต้นของเราก็คือที่ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 9:07 am    Post subject: Reply with quote

ก่อนจะเริ่มต้นย้อนรอย เรามาดูประวัติคร่าวๆ ของทางรถไฟสายนี้กันดูก่อน ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลทั้งหมดในส่วนนี้
มาจากกระทู้เดิม ที่ ตาเจฟ และ เฮียวิศรุต เคยโพสต์เอาไว้ในเว็บเดิม ซึ่งที่มาของข้อมูลส่วนใหญ่ มาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท (รถไฟกรมพระนราฯ)

"รถไฟกรมพระนราฯ" บางครั้งชาวบ้านก็เรียกว่า "รถไฟกรมพระดารา" หรือ "ทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท" ได้ถือกำเนิดในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ ทรงได้รับสัมปทานกิจการรถไฟ เส้นทางนี้ในปี พ.ศ. 2445 ในนามของ "บริษัทท่าเรือ จำกัด" (โดยให้บริษัทนาบุญจำกัดสินใช้ เป็นผู้ถือหุ้นหลัก) วิ่งโดยสารระหว่าง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา กับ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี ระยะทาง 20 กิโลเมตร

ต่อมาภายหลังโอรสคนที่หนึ่ง ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ คือ "หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ" หรือชาวบ้านขนานพระนามท่านว่า "เห่าหม้อ" ได้เข้ามาดำเนินกิจการรถไฟต่อ ซึ่งท่านก็พอใจที่ชาวบ้านเรียกพระนามท่านเช่นนั้น เพราะเวลาท่านพูดจาสนุกๆ สรวลเสเฮฮา จบลงแต่ละประโยค ท่านจะต้องพูดลงท้ายว่า "เห่าหม้อ" ทุกครั้งไป

ถ้าหากว่าใครจะเรียกรถไฟของท่านว่า "รถไฟเล็ก" ท่านมักจะมีอารมณ์นิดหน่อยแล้วตอบว่า "พ่อมึงแบกไหวเหรอ"

ท่านได้ดำเนินกิจการรถไฟเล็กต่อจากพระราชบิดา โดยมีนายโชติ ยุวสูตร เป็นผู้ดูแลกิจการแทนหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 จากการสอบถามนายศิริ โพธิ์นิล และนายชิต ศิลารักษ์ ก่อนที่ท่านทั้งสองจะ เสียชีวิต ทราบว่ารถไฟกรมพระนราใช้รางกว้างขนาด 60 ซม. (แต่ 75 ซม. ตามหลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติและซากทางที่โรงน้ำตาลวังกระพี้ซึ่งยกมาจาก สายพระพุทธบาท) หัวรถจักรไอน้ำใช้ความเร็ว 20 กม.ต่อชั่วโมง หัวรถจักรดีเซล ใช้ความเร็ว 30 กม.ต่อชั่วโมง

แต่ละขบวนที่มีพนักงาน 4 คน คือ พขร. 1 คน ช่างไฟ 1 คน (มีหน้าที่เติมน้ำ และฟืน) พนักงานขายตั๋วและตรวจตั๋ว 2 คน (ตั๋วอ่อนแบบฉีก) การซื้อขายตั๋วจะมีการขายตั๋วเฉพาะสถานีท่าเรือกับสถานีพระพุทธบาทเท่านั้น หากขึ้นลงระหว่าง กลางทางก็ต้องซื้อตั๋วกันบนขบวนรถ

ส่วนสถานีระหว่างทางนั้น เป็นเพียงแค่จุดรับ-ส่งผู้โดยสารเท่านั้น ไม่มีนายสถานีและพนักงานประจำอยู่ ส่วนอัตราค่าโดยสารคิดเป็นช่วงๆ

ระยะแรกๆเก็บค่าโดยสารสถานีละ 5 สตางค์ เช่น

- สถานีท่าเรือ – สถานีบางโขมด เก็บ 5 สตางค์ (ซื้อหนังสือพิมพ์ศรีกรุงได้ 1 ฉบับ)
- สถานีท่าเรือ – สถานีบ่อโศก(สร่างโศก) เก็บ 10 สตางค์
- สถานีท่าเรือ – สถานีหนองคณฑี เก็บ 15 สตางค์
- สถานีท่าเรือ – สถานีเขาเลี้ยว เก็บ 20 สตางค์
- สถานีท่าเรือ – สถานีเจ้าพ่อเขาตก เก็บ 25 สตางค์
- สถานีท่าเรือ – สถานีพระพุทธบาท เก็บ 30 สตางค์

และเก็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามวาระค่าครองชีพ

ต่อมาภายในระยะหลังก่อนที่จะเลิกกิจการใน เดือนกรกฎาคม 2485 เก็บช่วงสถานีละ 25 สตางค์

รถไฟจะเติมน้ำเติมฟืน (เมื่อก่อนเรียกว่า "ฟืนหลา" เพราะฟืนจะมีความยาวประมาณ 1 หลาหรือ 90 ซ.ม.) ที่สถานีท่าเรือ สถานีเขาเลี้ยว สถานี
พระพุทธบาท จะมีที่เติมน้ำเติมฟืนอยู่ เมื่อรถไฟกลับถึงพระพุทธบาท ช่างไฟจะเตรียมฟืนใส่หัวรถจักร และรุมไฟให้ครุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา

ราวๆ เวลา 03:00 น. ช่างไฟก็จะเริ่มใส่ฟืนเร่งโหมไฟ และเต็มน้ำให้เต็มเพื่อเตรียมขบวน รถไฟให้พร้อม ที่จะออกเดินทาง จากสถานีพระพุทธบาทในเวลา 06:00 น.และ ถึงสถานีท่าเรือในเวลา 07:00 น. ส่วนขากลับช่วงเย็นจะออกจากสถานีท่าเรือเวลา 15:00 น. ไปค้างคืนที่สถานีพระพุทธบาท ส่วนใหญ่จะวิ่งรับ-ส่งพ่อค้าแม่ค้าพืชไร เช่น หน่อไม้ น้อยหน่า ขนุน เป็นต้น

หากว่าเป็นช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทกลางเดือน 3 และกลางเดือน 4 รถไฟจะวิ่งวันละ 3 – 4 ขบวนโดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน เมื่อผู้โดยสารเต็มก็จะออกจากสถานี

รถไฟพระนราฯ หรือรถไฟเล็ก มีสถานีทั้งหมด 7 สถานีคือ

1. สถานีท่าเรือ (อยู่ตรงข้ามกับธนาคารออมสินสาขาท่าเรือหลังเก่า ปัจจุบันเป็นบ้านพักของคุณชุมนุม)
2. สถานีบางโขมด
3. สถานีบ่อโศก(สร่างโศก)(ปัจจุบันยังมีร่องรอยของตัวสถานีให้เห็นอยู่)
4. สถานีหนองคณฑี
5. สถานีเขาเลี้ยว
6. สถานีเจ้าพ่อเขาตก และ
7. สถานีพระพุทธบาท (ปัจจุบันคือโรงเจฮกเอี๊ยง)

ซึ่งแต่ละสถานีจะมีทางแยกไว้รอหลีกทุกสถานี ส่วนกลางทางจะมีทางแยกรอหลีก 1 แห่ง (ห่างจากสถานีท่าเรือประมาณ 2.5 กม. ก่อนถึงสถานีบางโขมด)

ในแต่ละทางแยกรอหลีกนั้น ไม่มีสัญญาณแจ้งว่าขบวนใดจะเข้าก่อนหลัง พขร.จะใช้ประสบการณ์และความชำนาญของตัวเอง เมื่อมองเห็นกันจะชลอความเร็ว ขบวนใดใกล้กว่าก็จะเปิดโอกาสเข้ารอหลีกก่อน

ส่วนโบกี้เป็นโบกี้โดยสารธรรมดา หากผู้โดยสารเป็นบุคคลสำคัญจะใช้ โบกี้พิเศษ หน้าต่างกว้างชนิดเกือบจะเป็นข้างโล่งติดม่านสวยหรู ชายคาจะติด ชายครุยและลูกตุ้มโดยรอบ เก้าอี้ผ้าผิวมันลายสวยงาม ทางเดินปูพรม

ส่วนหัวรถจักรและพนักงานขับรถ(พขร.) ในยุคหลังก่อนที่จะเลิกกิจการนั้น โดยการสอบถามคุณลุงชิต ศิลารักษ์ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ได้เล่าให้ฟังว่า รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็ก จะใช้หัวรถจักรลากจูง 5 หัว คือ

1. นายชิต ศิลารักษ์ เป็นพขร.คนสุดท้าย เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติเยอรมันนี (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
2. นายจันทร์ เรืองศาสตร์ เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติฝรั่งเศส (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
3. นายจ้อน (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นพนักงานขับรถจักรสัญชาติอังกฤษ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
4. นายยา หรือผู้ใหญ่ยา แสงทองล้วน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) เป็นพนักงานขับรถจักรชื่อว่า "นกเล็ก" ซึ่งเป็นหัวรถจักร ที่ไม่ทราบ
สัญชาติที่แน่นอน เนื่องจากหัวรถจักรเล็กกว่าหัวรถจักรคันอื่นๆ เลยได้รับฉายาว่า "นกเล็ก"
5. หัวรถจักรดีเซล ไม่มีพนักงานขับประจำที่แน่นอน ที่เรียกว่า "หัวรถจักรดีเซล" ก็เพราะว่าใช้รถไถที่มีเครื่องยนต์ดีเซล ยกขึ้นขบวนรถแล้วใช้โซ่ลากโบกี้โดยสาร พอถึงฤดูทำนา หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ท่านทรงสั่งให้ยกลงไปไถนา

และแล้วกิจการรถไฟกรมพระนรา หรือรถไฟเล็ก ก็ได้เลิกกิจการทั้งหมด ในปี พ.ศ.2490 (จริงๆ ได้ทำเรื่องขอเลิกการเดินรถโดยอนุมัติ โดยกระทรวงคมนาคม มาแต่เดือนกรกฎาคม 2485 แต่กว่า บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยซึ่งเป็นเจ้าของ โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ และ โรงงานน้ำตาลกุมภวาปีจะชำระเงินค่ารางและหัวรถจักร ก็ต่อเมือสิ้นสงครามไปแล้ว) โดยหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ได้ขายหัวรถจักรทั้งหมด ให้โรงงานน้ำตาลวังกระพี้ จ.อุตรดิตถ์ และโรงงานน้ำตาลที่อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี และขายเส้นทางให้กับกรมทางหลวงในราคา 5 แสนบาท

รถไฟกรมพระนราหรือรถไฟเล็กสายท่าเรือ – พระพุทธบาท จึงเหลือไว้เพียงแต่ความทรงจำของคนรุ่นเก่าๆเท่านั้น ปัจจุบันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าว ก็คือถนนของกรมทางหลวงหมายเลข 3022 สายอ.ท่าเรือ – อ.พระพุทธบาทนั้นเอง

หมายเหตุ

อันที่จริง รถไฟสายนี้เคยถูกยกเลิกการเดินรถไปครั้งหนึ่งเมื่อราวๆ ปี 2471 - 2472 เนื่องจากการเดินรถที่ไม่ได้มาตรฐาน แถมยังเกิดการขาดทุนอยู่หลายปี ติดๆ กัน จนสมเด็จในกรม ต้องแก้ปัญหาโดยการให้ หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ โอรสใน กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ทำ สัญญาสัมปทานใหม่ กับกรมรถไฟหลวง เมื่อ 2474

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ากิจการยังทรงๆ จนกระทั่งมีการตัดถนนพหลโยธินไปถึงเเมืองลพบุรี โดยผ่าน อำเภอพระพุทธูบาท เมื่อปี 2483 ก็ยิ่งขาดทุนหนัก จนอยู่ไม่ได้ ในที่สุด ต้องขายกิจการให้บริษัทส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย (โรงงงานน้ำตาล) เมื่อ 16 กรกฎาคม 2485 แต่มาจ่ายเงิน 5 แสนบาทกันเมื่อปี 2490 เพราะตอนนั้น ทางรถไฟดังกล่าวโดนนำไปใช้ในการสร้างพุทธบุรีมณฑลตามคำสั่งของท่านผู้นำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 9:19 am    Post subject: Reply with quote

จุดแรกที่เราเริ่มต้น ก็คือ บริเวณศาลของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์" ผู้ที่ได้รับได้รับสัมปทานกิจการรถไฟเส้นทางนี้
ต่อมาโอรสของท่านคือ "หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ" ได้ดำเนินการกิจการรถไฟเส้นนี้ต่อจากท่าน ซึ่งศาลนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก และอยู่ใกล้ๆ
กับจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายท่าเรือ - พระพุทธบาท

Click on the image for full size

Click on the image for full size

บริเวณด้านหน้าของศาล จะเป็นแม่น้ำป่าสัก

Click on the image for full size

บริเวณนี้ เมื่อก่อนจะเป็นตำหนักของท่าน ซึ่งปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว โดยที่ดินบริเวณดังกล่าว เป็นของ บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 11:23 am    Post subject: Reply with quote

แนวเส้นทางรถไฟสายนี้ ปัจจุบันคือทางหลวงหมายเลข 3022 ท่าเรือ - พระพุทธบาท
เริ่มต้นแถวๆ บริเวณหน้าศาลของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระนราธิปพันธ์วงศ์ วรวรรณ นั่นเองครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

บริเวณจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายท่าเรือ - พระพุทธบาท ทราบคร่าวๆ ว่า บริเวณบ้านที่เห็นทางซ้ายมือนั้น
คือที่ตั้งของอาคารสถานีท่าเรือ ต้นทางของทางรถไฟเล็กสายนี้ (ข้างๆ รถเก๋งฮอนด้าซีวิค ในภาพ)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 11:24 am    Post subject: Reply with quote

บ้านหลังนี้ในอดีตคือ สถานีรถไฟเล็กท่าเรือ สถานีต้นทางสายท่าเรือ - พระพุทธบาท

Click on the image for full size

บริเวณหน้าบ้านหลังนี้จะเป็นท่ารถโดยสารสายท่าเรือ - ท่าหลวง ซึ่งสามารถเดินทางไปเที่ยววัดสะตือ และเขื่อนพระราม 6
ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทยได้

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 11:42 am    Post subject: Reply with quote

ตัวอาคารของธนาคารออมสินเก่า ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับบ้านที่เป็นอดีตสถานีรถไฟเล็กพอดิบพอดี
ถัดจากตัวอาคารไป ก็เป็นแหล่งกบดานของใครบางคนก็ไม่รู้

Click on the image for full size

มองทะลุแนวอาคารและแนวต้นก้ามปูของตลาดหม่อมเจ้า เห็นลิบๆ จะเป็นทางรถไฟสายเหนือ

Click on the image for full size

บริเวณที่เรายืนกันนี้ คือรางหลีกของสถานีท่าเรือ เมื่อมองทะลุตลาดไปยังถนนท่าเรือ - พระพุทธบาท อดีตเส้นทางรถไฟเล็ก
("ลุงๆ คนเสื้อดำน่ะ กรุณาหลบหน่อย")

Click on the image for full size

จากจุดเมื่อสักครู่ มองไปยังสถานีท่าเรือ จะเห็นว่าสถานีรถไฟเล็ก อยู่ไม่ไกลจากสถานีท่าเรือเลย

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 11:47 am    Post subject: Reply with quote

บรรยากาศตลาดหม่อมเจ้าช่วงสายๆวันอาทิตย์ ตลาดจะคึกคักมากที่สุดคือวันจันทร์
เพราะมีตลาดนัดทุกๆ วันจันทร์ ยิ่งถ้าเป็นวันจันทร์ตอนต้นๆ เดิอน คนจะเยอะมากที่สุด

Click on the image for full size

พากันเดินย้อนมาที่ถนนท่าเรือ - พระพุทธบาท จนได้มาเจอรถประจำทางสาย อ่างทอง - ท่าเรือ - พระพุทธบาท
ซึ่งรับสัมปทาน เดินรับ-ส่ง ผู้โดยสารแทนรถไฟเล็ก ที่ต้องยกเลิกกิจการไป จนถึงปัจจุบน

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 11:51 am    Post subject: Reply with quote

อาคารไซโลอบเมล็ดพืชของบริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด ซึ่งผมโดนเจ้าเจฟอำ ว่าเป็นโรงงานผลิตอาวุธนิวเคลียร์ (สงสัยจะดูหนังมากไป)

Click on the image for full size

ว่าแล้วก็เริ่มออกเดินทางกัน โดยเราพยายามสมมุติตัวเองว่าคือขบวนรถไฟเล็ก เริ่มต้นจากตัวสถานีที่ อ.ท่าเรือ มุ่งหน้าสู่ อ.พระพุทธบาท
แต่รถไฟของเราใช้ล้อยางเรเดียล และระบบเบรคแบบไฮดรอลิก แถมวิ่งตัวเปล่าซะด้วย

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

ขับรถตามถนนสายท่าเรือ - พระพุทธบาท มาเรื่อยๆ ซึ่งตลอดทั้งสาย ก็คือแนวทางรถไฟเก่า
วิ่งไปได้สักพัก ก็มาพบกับทางตัดทางรถไฟ ไม่ทราบว่าตรงนี้คุ้นๆ กันบ้างไหมครับ

Click on the image for full size

ทางตัดที่ว่า ก็คือทางรถไฟที่แยกมาจากสถานีบ้านหมอ มุ่งหน้าไปยังโรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง ที่ตาเจฟ เคยลงทุนเดินสำรวจเมื่อเดือน ก.พ. 48 ที่ผ่านมา
โดยบริเวณนี้ อยู่ในเขต ต.บางโขมด อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของ "สถานีบางโขมด" ซึ่งเป็นสถานีรายทางของรถไฟเล็กด้วย
เราก็สันนิษฐานว่ามันน่าจะอยู่บริเวณแถวๆ นี้

(ที่มาของชื่อ "บางโขมด" ได้ยินมาว่าเมื่อก่อนแถวๆ นี้ผีโขมดเยอะ ผีโขมด เป็นผีที่เป็นดวงไฟเล็กๆลอยไปลอยมา แต่ไม่ทำร้ายคน)

ถ้าอยากจะชมกระทู้เกี่ยวกับทางรถไฟสายโรงปูนท่าหลวง ก็ลองคลิกที่นี่ดูครับ ทางแยกเส้นทางหนึ่งที่ กม.109

ขับรถจากจุดเมื่อสักครู่มาเรื่อยๆ ก็จะเริ่มเข้าสู่พื้นที่ ต.สร่างโศก อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 09/01/2007 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

และแล้วก็มาถึง หลักฐานสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่เรียกได้ว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และอ้างอิงได้ดีที่สุด เท่าที่มีเหลืออยู่ ณ เวลานี้ ก็คือ
ตัวอาคาร "สถานีบ่อโศก" หรือ "สร่างโศก" โดยเป็นอาคารตึกทรงสี่เหลี่ยม 2 ชั้น สภาพอาคารยังดูดี วงกบหน้าต่างและประตูก็ยังอยู่ในสภาพดี
จากคำบอกเล่าของคุณป้าที่อยู่แถวๆ นั้น ได้ความว่า ตัวอาคารสถานีเดิมสวยมาก หลังคาเป็นทรงปั้นหยา ซึ่งตอนที่เลิกการเดินรถ หม่อมเจ้า
ท่านได้รื้อออก จนเหลือแต่ตัวอาคารสถานี ซึ่งน่าเสียดายมากๆ คุณป้าแกบอกว่า คุณตาของแก วิ่งมาขอให้หม่อมเจ้าอย่ารื้อออก แต่ก็ไม่ทัน
ซึ่งคิดว่า ถ้าวันนั้น แกมาทัน และหม่อนเจ้าท่านยังไม่รื้อออก พวกเราคงจะมีโอกาสได้เห็นตัวอาคารสถานีแบบเต็มๆ เลยทีเดียว

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สำรวจทางรถไฟและมุมมอง Unseen รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
Page 1 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©