View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44036
Location: NECTEC
|
Posted: 02/04/2010 10:37 am Post subject: |
|
|
Mongwin wrote: | ก็ยังดีที่ไม่รื้อทิ้ง สร้างใหม่ด้วยสถาปัตยกรรมอัปลักษณ์แบบสถานีชะอวดหรือสถานียะลาครับ |
กรณีชะอวดนั้น ก็เพราะ เทศบาลชะอวดเป็นคนออกเงินสร้างให้ก็ต้องตามใจแป๊ะ หงะ
แต่ที่ยะลากับอุตรดิตถ์นั้น สิ้นอายุการใช้งานเมื่อไหร่ เป็นรื้อ ไปถมที่ จะเข้าทีที่สุด |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 02/04/2010 10:50 am Post subject: Re: อาคารสถานีเจ็ดเสมียนกลายเป็นตำนานไปแล้ว |
|
|
Wisarut wrote: |
ด้านนายสุประภาส เสนีวงศ์ ณ อยุธยา วิศว กรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง รฟท. กล่าวว่า โครงการปรับปรุงอาคารของสถานีรถ ไฟเจ็ดเสมียนดำเนินการตามนโยบายการปรับ ปรุงพัฒนาสถานีรถไฟให้มีความสวยงามและถูกสุขลักษณะ สถานีรถไฟดังกล่าวอยู่ในสภาพทรุดโทรม โดยเฉพาะผนังอาคารที่เก่ามาก ทำให้ต้องซ่อมแซมปรับปรุง แต่ไม่ได้รื้อโครงสร้างอาคารออก ประตู หน้าต่าง หลังคา โครงสร้างโดยรวมยังอยู่ในสภาพเดิม ตำแหน่งเดิม แต่จะก่ออิฐทำผนังใหม่เนื่องจากไม้มีราคาแพงและของเก่าก็อยู่ในสภาพผุพัง โดยทางผู้รับเหมาจะก่อสร้างให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับของเดิมให้มากที่สุด
(กรอบบ่าย) |
หมายความว่ารื้อเฉพาะผนังไม้ออก เปลี่ยนเป็นก่ออิฐฉาบปูน
โดยไม่ได้รื้อโครงสร้างอาคาร เช่นนี้แสดงว่าเป็นการปรับปรุง ก็ยังดีนะครับ
ตอนแรกอ่านข้อความพาดหัวและช่วงต้นๆแล้วรู้สึกตกใจเหมือนกันครับ
ใครมีรูปภาพอาคารสถานีเจ็ดเสมียนบ้างครับ _________________
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 02/04/2010 11:01 am Post subject: |
|
|
ภาพจาก นสพ.ข่าวสดครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 02/04/2010 5:51 pm Post subject: |
|
|
กรณีอย่างนี้น่าจะเก็บของเดิมไว้ แล้วสร้างสถานีใหม่ขึ้นมาก็ได้ครับ ถ้าพื้นที่พอ
ผมเห็นในต่างประเทศ ของเก่า กับ ของใหม่อยู่คู่กันให้เห็นอยู่เยอะครับ
ถ้าเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องพื้นที่ ก็ยกตัวอาคารทั้งหลังยังได้เลยครับ
วิศวกรเก่งๆที่ยกอาคารในเมืองไทยเราก็มีครับ
ยกวังเก่าอาคารเก่าที่เป็นโครงสร้างผนังรับน้ำหนัก(ไม่มีเสา) มาแล้วหลายหลังครับ
อาคารที่มีอายุเกิน 100 ปี และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ทั้งต่อชุมชน หรือต่อระดับประเทศ
อยากให้การรถไฟฯได้พิจารณาเก็บไว้บ้างนะครับ
ถึงแม้ไม่ถึง 100 ปี ถ้ามีความสำคัญ น่าจะเก็บไว้ให้ลูกหลานได้รับรู้/ศึกษาประวัติศาตร์
ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ชุมชนก็ได้ครับ ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามาดูแลรักษาดีกว่าทุบทิ้ง หรือปล่อยให้รกร้างผุพัง _________________
|
|
Back to top |
|
|
therock
1st Class Pass (Air)
Joined: 25/09/2007 Posts: 1575
Location: อดีตเด็กมหาชัย
|
Posted: 02/04/2010 7:22 pm Post subject: |
|
|
สายอีสานก็ใช้แบบนี่นะครับมีอยู่สถานีจำไม่ได้ว่าสถานีไหนพอรื้อสถานียุคแรกทิ้งแล้วไปสร้างเป็นสถานีใหม่ไว้ข้างหลังแทน |
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 02/04/2010 10:50 pm Post subject: |
|
|
สถานีรถไฟเจ็ดเสมียน เมื่อวันที่ 15 เดือนมิถุนายน 2551
ภาพได้แค่นี้ รถไฟเคลื่อนขบวนไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับช่วงเวลานั้น บริเวณรอบๆสถานีมีต้นไม้บดบังไปเสียหมด ภาพจึงไม่ค่อยเด่นชัดเท่าที่ควร ครับ |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47404
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 02/04/2010 11:04 pm Post subject: |
|
|
เป็นอาคารที่มีลักษณะรูปแบบไม่ค่อยซ้ำกับสถานีอื่นในทางสายใต้นะครับ |
|
Back to top |
|
|
pasakorn
2nd Class Pass
Joined: 06/01/2009 Posts: 671
Location: ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ., หลักสี่
|
Posted: 02/04/2010 11:38 pm Post subject: |
|
|
วันนี้ผมนั่งรถผ่าน ก็เห็นตัวสถานีเหลือเป็นโครงสร้างแล้วครับ หลายๆส่วนได้ถูกรื้อถอนออกไปแล้ว ยังตกใจ นึกว่าจะถูกยุบเลิกกลายเป็นที่หยุดรถซะแล้ว |
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 05/04/2010 10:43 am Post subject: |
|
|
ตกใจว่ารื้อเรียบร้อยไปแล้วหรือครับ ผมพึ่งไปเจ็ดเมียนมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ดูจากภายนอกสภาพสถานียังสวยอยู่เลย (สภาพดูจากภายนอกดีกว่าบ้านไม้ในตลาดเจ็ดเสมียนเองเสียอีก) |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44036
Location: NECTEC
|
Posted: 08/04/2010 3:41 pm Post subject: |
|
|
สศช.อนุมัติแผนลงทุนรถไฟ เม.ย.ชงครม.เคาะ1.7แสนล.
ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 4199 วันที่ 08 เมษายน พ.ศ. 2553
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สศช.เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาเห็นชอบแผนการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) วงเงิน 1.768 แสนล้านบาท ภายใต้กรอบดำเนินการ 5 ปี (2553-2557) หลังจากนี้จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในเดือนเมษายนนี้ หลังจากมีมติบอร์ดออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว
โดยในวงเงิน 1.768 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
1.การลงทุนด้านโยธา 51,125 ล้านบาท เช่น
1.1 ปรับปรุงทางระยะที่ 5, 6 ระยะทาง 586 กิโลเมตร
1.2 ปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย เช่น เสริมราง 2,400 กว่ากิโลเมตร ปรับปรุงสะพานอีก 1,434 กิโลเมตร
2.งานอาณัติสัญญาณ 23,751 ล้านบาท เช่น ปรับปรุงโครงข่ายคมนาคม ติดตั้งเครื่องกั้น อาณัติสัญญาณไฟสี จำนวน 224 สถานี ไม้กั้นแนวเขตทาง
3.งานจัดซื้อหัวรถจักรและล้อเลื่อน 18,408 ล้านบาท เช่น
3.1 รถจักรดีเซลไฟฟ้าทดแทน GE 50 คัน
3.2 ปรับปรุงรถจักร 56 คัน
3.2 รถจักรดีเซลไฟฟ้า 13 คัน (แบบเดียวกับอีก 7 คันแรกที่ต้องแก้ TOR)
3.4 สร้างโรงรถจักรแก่งคอยและศรีราชา
3.5 จัดหารถโดยสารรุ่นใหม่สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 115 คัน
4.โครงการสร้างทางคู่ 6 สาย 863 กิโลเมตร วงเงิน 77,458 ล้านบาท เช่น
4.1 สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย
4.2 สายมาบกะเบา-ถนนจิระ
4.3 สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน
4.4 สายลพบุรี-ปากน้ำโพ
4.5 สายถนนจิระ-ขอนแก่น และ
4.6 สายประจวบ คีรีขันธ์-ชุมพร
5.ก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องหรือไอซีดีแห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้านบาท
"บอร์ดเห็นชอบตามหลักการทั้งหมดแต่มีเงื่อนไขว่า การรถไฟฯจะต้องปฏิรูปองค์กรด้วย เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้โครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งบอร์ดนำมตินี้เสนอให้ ครม.พิจารณาด้วย ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ครม.จะเห็นชอบด้วยหรือไม่"
อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมจะต้องไปจัดทำแผนเสนอ ครม.อนุมัติ ทั้งโครงสร้างองค์กร ระบบบัญชีที่ต้องชัดเจนกับการบริการทางสังคมกับเชิงพาณิชย์ แผนธุรกิจต่าง ๆ ที่แยกเป็น 3 หน่วยธุรกิจ คือ การเดินรถ ทรัพย์สิน และซ่อมบำรุง รวมถึงการแก้ไขกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งอาจจะยังไม่เสร็จในเร็ว ๆ นี้ อาจจะใช้เวลา 3-5 ปี แต่จะทำควบคู่ไปกับการลงทุนทั้งหมดนี้ เพราะหากไม่ทำปฏิรูปองค์กรใหม่ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงได้
นายอำพนกล่าวอีกว่า สำหรับแหล่งเงินที่จะนำมาลงทุน ทาง สศช.เสนอว่า ควรจะเป็นเงินกู้ เนื่องจากโครงการใช้เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 1.768 แสนล้านบาท โดยกู้แบบเป็นแพ็กเกจครั้งเดียวแต่ชำระหนี้ในระยะยาว และอัตราดอกเบี้ยที่ถูก ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกระทรวงการคลัง ว่าจะเป็นแหล่งเงินจากในประเทศหรือต่างประเทศ ส่วนโครงการทางคู่และรถไฟความเร็วสูงจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนแบบ PPP
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมและประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯ กล่าวว่า จะเร่งดำเนินการเรื่องปรับโครงสร้างองค์กรทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ขณะนี้กำลังจัดทำรายละเอียดจะสรุปเร็ว ๆ นี้เพราะมีกำหนดเริ่มใช้โครงสร้างใหม่ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อเสนอ ครม.พิจารณาต่อไปตามมติของบอร์ด สศช.ที่ให้ดำเนินการก่อนที่จะดำเนินการตามแผนการลงทุนนี้
สำหรับแผนการใช้เงิน 1.768 แสนล้านบาท
ในปี 2553 นี้จะยังไม่ใช้ จะเป็นเรื่องการศึกษาและออกแบบ แต่มีบางส่วนที่เป็นงบประมาณอยู่ซึ่งกำลังดำเนินการเช่นกัน แต่จะเริ่มใช้จริง ๆ ปี 2554 เป็นต้นไป
ปี 2554 วงเงิน 27,840 ล้านบาท
ปี 2555 วงเงิน 54,725 ล้านบาท
ปี 2556 วงเงิน 56,120 ล้านบาท
ปี 2557 วงเงิน 29,494 ล้านบาท และต่อเนื่องมาถึง
ปี 2558 วงเงิน 4,014 ล้านบาท และหลังจากปี 2558-2563 จะใช้เงินลงทุนอีกหลายแสนล้านบาท สำหรับรถไฟความเร็วสูงอีกประมาณ 1 ล้านล้านบาท และยังมีโครงข่ายเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านอีก |
|
Back to top |
|
|
|