View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 09/01/2007 3:36 pm Post subject: ขุดกรุ : ตามรอยเส้นทางรถไฟขนฟืนสายไร่อ้อย - นายาง |
|
|
เกริ่นนอกเรื่อง
หลังจากสำรวจทางรถไฟขนอ้อย ตามกระทู้ ขุดกรุ : เส้นทางรถไฟโรงงานน้ำตาลอุตรดิตถ์ ที่ ต.วังกะพี้ แล้ว ทีมงานก็ออกเดินทางไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1104 ( สามแยกวังกะพี้ - อ.พิชัย - เขื่อนนเรศวร ) ผ่าน อ.ตรอน เข้าเขต อ.พิชัย ที่ ต.ท่าสัก สักพัก ก็เลี้ยวซ้ายตามเส้นทางลาดยางเข้าสู่บ้านดารา ราว 4 กม. ก็จอดรถที่หน้าสถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา ล่ะครับ
ปล่อยให้หนุ่มเจฟ ทำธุระพลางๆ ครั้นแล้ว ก็ได้เวลาสำรวจเล็กๆ ชมลูกระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ฝูงบินสัมพันธมิตรนำมาทิ้งถล่มสะพานปรมินทร์ ตามภาพ...
แน่นอนครับ ต้องไปข้ามสะพานปรมินทร์กันหน่อย เดี๋ยวจะหาว่าพาแขกมาเที่ยวไม่ถึงถิ่น
แม่น้ำน่าน มองลงจากสะพานปรมินทร์
สะพานปรมินทร์ ฝั่ง ต.ไร่อ้อย อ.พิชัย ครับ
แหงนดูฟ้า ประกอบกับมองนาฬิกาแล้ว ได้เวลาลุยน้ำช่วงสงกรานต์ ไปหามื้อเที่ยงรับประทาน ที่หน้าสถานีพิชัย กันล่ะ
Last edited by black_express on 21/12/2007 1:13 pm; edited 6 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 09/01/2007 4:01 pm Post subject: |
|
|
หลังจากอิ่มท้อง จากร้านอาหารข้างๆ อาคารสถานีรถไฟ แล้ว ทีมงานก็ออกสำรวจรอบๆ หาของเก่าประจำสถานีพิชัย ที่ป๋าณัฐกำชับนักหนาว่า ต้องหาดูให้ได้
อ่ะ...เจอแล้วครับ แผนที่ทางรถไฟประเทศสยาม เก่าจนเหลือง แถมด้วยคราบน้ำฝนที่ไหลมาเปื้อนตัวแผนที่ด้วยสิ หากใครมีโอกาส แวะชมดูได้ครับ ก่อนที่จะสูญหายไปตามสภาพและกาลเวลา
จังหวะดีครับ สักพักใหญ่ๆ มี ข.น้ำมันเปล่า จากทางเหนือ ทำขบวนผ่านสถานีพิชัยพอดี แปลกนิดๆ ตรงที่มีโบกี้บรรทุกปูนผง PTI พ่วงแซมมาด้วย
เสียงระฆังเคาะอีกชุดหนึ่ง คราวนี้ ข.102 เชียงใหม่ - กรุงเทพ เข้าเทียบชานชาลา พี่น้องชาวบ้านที่อาศัยเดินทางเข้ากรุงเทพ ช่วงบ่าย ก็มีขบวนเดียวนี้แหละครับ
ส่งท้ายขบวน ห้ามล้อขบวนนี้ ยังหันมาทักทายกับหนุ่มเจฟ ด้วยสิ กว้างขวางไม่เบาเลยล่ะ
คราวหน้า เราจะเข้าเรื่องตามรอยเส้นทางรถไฟขนฟืนสายไร่อ้อย - นายางล่ะครับ โดยจะเริ่มต้นที่สถานีไร่อ้อย ถัดจากสถานีพิชัยนี่แหละ....
Last edited by black_express on 30/09/2007 7:41 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 10/01/2007 5:04 pm Post subject: |
|
|
นำเข้าเรื่อง
ในอดีต กิจการรถไฟของไทย ใช้ไม้ฟืนจากป่าต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำที่ใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก เฉลี่ยถึงปีละประมาณ 1,000,000 ลบ.เมตร ทีเดียว กาลเวลาผ่านไป ป่าไม้ที่เคยอุดมสมบูรณ์ ได้ถูกผู้คนบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำพื้นที่การเกษตร และสร้างที่อยู่อาศัยลึกเข้าไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ไม้ฟืนมีจำนวนน้อยลง และมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ ในช่วงฤดูฝน หากมีฝนตกลงมาเป็นเวลานาน เส้นทางขนฟืนจากป่า เป็นหล่มโคลน หรือถูกกระแสน้ำพัดขาด ไม่สามารถลำเลียงฟืนออกมาใช้งานได้ทันเวลา เกิดปัญหาขาดแคลนฟืนสำหรับรถจักรจนบางช่วง จนปริมาณฟืนสำรองในบางสถานีเหลือเพียง 3 - 7 วันเท่านั้น ต้องนำไม้หมอนชำรุดที่เปลี่ยนออกมาจากเส้นทาง มาจ่ายเป็นฟืนสำหรับรถจักร เพื่อมิให้หยุดให้บริการเดินรถ พร้อมๆ กันนั้น มีการดัดแปลงรถจักรไอน้ำให้สามารถใช้น้ำมันเตาแทนฟืน ส่งไปใช้งานในพื้นที่ขาดแคลนฟืน จำนวน 34 คัน
แต่น้ำมันเตา มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าฟืนประมาณ 2 เท่า การรถไฟฯ จึงได้วางแผนการจัดซื้อรถจักรดีเซลเพื่อใช้งานแทนรถจักรไอน้ำ ที่ทยอยปลดประจำการ ตามกำลังงบประมาณที่ได้รับ จนในที่สุด รถจักรไอน้ำ ได้ถูกปลดใช้งานทั้งหมด เหลือเพียง 4 คัน ที่คัดเลือกเป็นรถจักรไอน้ำประวัติศาสตร์ เพื่อทำขบวนรถพิเศษ และขบวนรถเพื่อการท่องเที่ยว ในวันสำคัญต่างๆ โดยเก็บรักษาไว้ที่ โรงรถจักรธนบุรี
สำหรับ พขร. และช่างไฟ ประจำรถจักรไอน้ำในอดีต ที่ต้องประจำรถจักรไอน้ำตลอดระยะเวลาทำการ โดยพักนอนค้างแรมตามสถานีต่างๆ ระหว่างทาง โดยไม่มีชุด พขร. และ ชค.ผลัดเปลี่ยนเหมือนทำการกับรถจักรดีเซลในปัจจุบัน จะมีความรู้สึกที่ลึกซึ้งกับรถจักรไอน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำอาบจากรถลำเลียง รวมถึงการแบ่งจ่ายน้ำแก่ชาวบ้านที่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ การหุงข้าวโดยใช้ไอดงจากรถจักร และใบประกาศที่ฝากเอาไว้ในยามระลึกถึง สำหรับ พขร. ช่างไฟ " ยุคขี้เถ้า " ทุกคน ก็คือ เสี้ยนที่เต็มฝ่ามือ จนหาที่ดีไม่ได้ นั่นเองครับ
สำหรับชาวบ้านที่ปลูกเพิงกระท่อมริมทางรถไฟ โดยเฉพาะตามเขา ตามดอย มองรถจักรไอน้ำด้วยความหวาดหวั่น เพราะบางช่วง บางหน ได้ไม้ฟืนบางชนิด มีลูกไฟปลิวว่อนจากปล่องควัน ล่องลอยมาลงหลังคา ที่มุงแฝก หญ้าคา ใบตองตึง ( ใบพลวง ) ล่ะก็ เตรียมตัวเตรียมใจ เปลี่ยนหลังคาใหม่อีกแล้ว
ทางภาคกลาง แถวๆ จ.พระนครศรีอยุธยา หน้าน้ำหลาก จะมีตำนานเกี่ยวกับ ห่วงทางสะดวกฝีมือชาวบ้านริมทางรถไฟทำเอง ที่มีไข่เป็ดสดๆ มัดติดอยู่ด้วย ชูให้พนักงานรถจักรคว้าเอาไป โดยแลกกับฟืนสักท่อน สองท่อน ที่ " ตก " ลงจากรถพ่วงไว้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อประกอบอาหาร บางครั้ง มีเหตุ ค.ร.ฟ.หามชาวบ้านไปส่งที่สถานี ฝากส่งไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลในตัวเมือง เพราะมีอุบัติเหตุฟืนจากรถพ่วง ตกใส่ศรีษะชาวบ้านระหว่างทางพอดี
นั่น..เป็นตำนานหลายๆ สิ่งเกี่ยวกับรถจักรไอน้ำครับ...
ในจังหวัดอุตรดิตถ์ การรถไฟฯ มีเส้นทางสำหรับขนฟืนอยู่เส้นหนึ่ง เริ่มต้นจากสถานีไร่อ้อย ต.ไร่อ้อย แยกขวาไปทางทิศตะวันออก สู่ป่าสงวนนาอิน - นายาง ต.นายาง อ.พิชัย เป็นแหล่งรวบรวมฟืนที่ผู้รับเหมารวบรวมรอการลำเลียงออกมาสู่ย่านสถานีศิลาอาสน์ และใกล้เคียง คงเป็นเวลานานมากพอสมควรครับ จนกระทั่งรถจักรไอน้ำเลิกใช้ฟืน และไม้ในป่าดังกล่าวร่อยหรอลงเกือบหมด การรถไฟฯ จึงได้รื้อเส้นทางรถไฟเฉพาะกิจสายนี้ เหลือเพียงร่องรอยที่แสดงว่าเคยเป็นเส้นทางรถไฟมาก่อน และแนวทางในแผนที่ฉบับเก่าๆ ทิ้งเป็นปริศนาให้เดากันว่า เป็นเส้นทางอะไร ?
เราตามไปดูกันดีกว่า....
Last edited by black_express on 07/11/2007 1:14 am; edited 6 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 10/01/2007 6:00 pm Post subject: |
|
|
บ่ายโมงเศษ วันสงกรานต์....
ทีมงานก็เดินทางมาถึงสถานีไร่อ้อย ซึ่งตั้งอยู่ห่างชุมชน อ.พิชัย ราว 5 กม. จอดรถเข้าที่ปั๊บ เจอพี่คนหนึ่งใส่เสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น รดน้ำต้นมะม่วงวัยเยาว์ ตรงหน้าสถานี บรรยากาศเงียบสงบดีแท้ๆ
ยายผม เคยเล่าเหตุการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสะพานปรมินทร์ยังใช้การไม่ได้ เดินทางจากลำปาง ไปหาตา ซึ่งย้ายจากโรงงานน้ำตาลไทย เกาะคา ไปทำงานที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ต้องเดินลงรถไฟที่มาส่งผู้โดยสารด้านฝั่งเหนือ หิ้วข้าวของเดินข้ามสะพานเบี่ยง ไปขึ้นรถอีกขบวนหนึ่ง ที่จอดรอฝั่งใต้ โดยกลับรถจักรต่อท้ายขบวนทีสถานีไร่อ้อย เดินทางกันต่อไป
ตาผมเป็นช่างเครื่องกลครับ เป็นชาวเชียงใหม่ ( ตาเป็นแฟนคนที่สองของยาย ) ใช้ชีวิตสมบุกสมบันมาแยะ ข้ามไปพม่า แล้วเข้าทำงานกับกรมรถไฟหลวง ที่ชุมพรอยู่หลายปี แล้วย้ายไปอยู่โรงงานน้ำตาลไทยที่เกาะคา เป็นทีมวางรางรถไฟรุ่นบุกเบิกที่นั่น ก่อนย้ายไปทำงานที อ.ศรีราชา แล้วย้ายมาทำงานที่โรงซ่อมเครื่องจักรกล บริเวณหัวงานฝายแม่ยม อ.สอง จ.แพร่ ก่อนกลับมาอยู่บ้านที่พะเยา
เสียดาย ที่ตาผมเสียตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 ถ้ามีอายุยืนยาวอีกสักสิบกว่าปีล่ะก็ เป็นได้ซักถามขุดประวัติสารพัดเรื่อง มาเล่าสู่กันฟังแน่ๆ
ทีมงานก็แยกย้ายกันเก็บภาพบริเวณสถานี ซักถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังอร่อยกับมื้อกลางวันอยู่พอดี พลางชวนเราร่วมวงด้วย แต่จำต้องปฏิเสธ เพราะกระเพาะเต็มมาจากตลาด อ.พิชัย แล้ว
ถ้าเป็น อ.กิตติ ในช่วงตกยากตามที่เล่า อาจเต็มใจรับคำชวนก็ได้
จากกำหนดเวลาเดินรถ ที่จอดรับผู้โดยสารเพียงวันละ 4 ขบวนครับ คือ ดีเซลรางท้องถิ่น พิษณุโลก - ศิลาอาสน์ , ศิลาอาสน์ - พิษณุโลก และ ดีเซลรางท้องถิ่น นครสวรรค์ - เชียงใหม่ , เชียงใหม่ - นครสวรรค์
ดูแล้ว...ไม่มีสิทธิ์ถูกเด็ดหัวแน่ๆ
กริ๊งงงงงง...... ข.101 ออกพิชัยแล้วครับ
ชายใส่เสื้อคอกลม กางเกงขาสั้น เมื่อก่อนนั้น ออกถือธงมายืนรอแล้วครับ
นายสถานีไร่อ้อยนั่นเอง
จากข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่และชาวบ้านแถวนั้น เส้นทางแยกไป ต.นายาง อยู่ตรงประแจด้านใต้ของสถานี แยกขวามือ โค้งออกไปกลางทุ่ง ตัดกับทางหลวงจังหวัดสาย อุตรดิตถ์ - บ้านแก่ง - พิชัย ลัดทุ่งต่อไปจนถึง ต.นายาง ติดเชิงเขาที่เห็นลิบๆ โน้นต่อแดนระหว่าง จ.อุตรดิตถ์ กับ จ.พิษณุโลก มีระยะทางยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
ไกลโขทีเดียว....
ไม่ผิดหวังหรอกครับ หนุ่มแม็กซ์ ก้มๆ เงยๆ ดูกองหินที่ค้างอยู่บนพื้นทางเดิม พักเดียว บอกได้เลยว่า แม่นแล้ว.....
พอจับแนวเส้นทางได้แล้ว ทีมงานก็ร่ำลาเจ้าหน้าที่ของสถานีไร่อ้อย ออกรถ ขับวกขึ้นถนนสายดังกล่าวย้อนขึ้นเหนือ แกะรอยเส้นทางรถไฟขนฟืนสายนายาง กันต่อไป...
Last edited by black_express on 01/10/2007 11:22 pm; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 2:32 pm Post subject: |
|
|
สำหรับแนวทางรถไฟสายไร่อ้อย - นายาง เมื่อแยกออกจากรางหลีกด้านใต้ของย่านสถานีไร่อ้อยแล้ว จะตีโค้งออกมาตามแนวแผนที่สังเขป มาตัดกับทางหลวงจังหวัดสาย อุตรดิตถ์ - บ้านแก่ง - พิชัย ตามภาพด้านล่างนี่แหละครับ
ตรงนี้อยู่อีกหมู่บ้านหนึ่งล่ะครับ ชื่อว่า บ้านวังผักรุง อยู่ ต.ไร่อ้อย เหมือนกัน
แนวทางรถไฟเดิมผ่านไปยังทุ่งนา โดยมีป้ายชี้ทางอย่างเก๋ไก๋ว่า " ซอยนาโปร่ง " เราจะตะลุยไปตามป้ายชี้ทางนี้แหละครับ
ขับรถพิสูจน์ทางดุ่มๆ เข้าไป ใจยังนึกอยู่ว่า ถ้าเจอทางตันเมื่อไหร่ เป็นต้องกลับรถบนนากันล่ะ
แต่ก็ไปได้ตลอดแฮะ อย่างน่าอัศจรรย์ใจ... เพราะชาวบ้านก็อาศัยคันทางรถไฟสายนี้ไปไร่นาเหมือนกัน จนเข้าเขตบ้านคลองวัดไพร
Last edited by black_express on 02/10/2007 11:19 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 2:44 pm Post subject: |
|
|
เริ่มมีเสาไฟฟ้าริมทาง แสดงว่าใกล้หมู่บ้านคลองวัดไพรแล้วล่ะ
เอาเข้าจริงๆ แล้ว ชุมชนที่ว่า มีอยู่ไม่เกิน 10 หลังคาเรือนเท่านั้นเองครับ ด้านขวาภาพนั้น จะมีทางหลวงชนบทจากไร่อ้อย มาบ้านคลองวัดไพร ขนานอยู่ห่างๆ พออุ่นใจว่า หากพลาดท่าพลาดทางยังไง พอมีสิทธิ์ลุ้นออกถนนซอยไปถนนใหญ่ได้
มีหลักฐานสำคัญอยู่ด้านขวาใต้ต้นไม้ครับ หลัก 500 เมตรของ การรถไฟฯ
พอเก็บภาพหลักฐานสำคัญจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ออกรถวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิม ผ่านท้ายบ้าน ถนนแคบลง รกขึ้นเรื่อยๆ จนชักจะมั่นใจว่า ข้างหน้า...ทางตันแหงๆ
สองหนุ่ม อาสาโดดลงไปเดินสำรวจล่วงหน้าก่อน เพื่อความแน่ใจ
การลงเดินสำรวจเอง ได้ประโยชน์มากครับ เพราะเจอหลัก กม.ของการรถไฟฯ อีกหลักหนึ่ง ( หมายเลข กม.457 ห่างจากสถานีไร่อ้อย 3 กม. ) เส้นทางสายนี้ จึงเป็นเส้นทางแยกเฉพาะกิจสายเดียวที่มีหลัก กม. แสดงไว้ด้วย
กลายเป็นแรงจูงใจให้สมาชิกสองรายนี้ ตั้งใจหาหลัก กม. ตลอดเส้นทางช่วงที่เหลือ
ผลการสำรวจตลอดทั้งสาย...มีแค่สองหลักเหลือเป็นที่ระลึกเท่านั้นเอง
ส่วนเส้นทางข้างหน้า ตันจริงๆ เป็นคลองธรรมชาติครับ คือ คลองวัดไพร นั่นเอง
Last edited by black_express on 04/10/2007 8:51 am; edited 4 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 3:15 pm Post subject: |
|
|
หลังจากกลับมาค้นหลักฐานอ้างอิงแล้ว บ่งว่าเป็น " คลองวัดไพร " แน่นอนครับ
แต่ก่อน จะมีสะพานรถไฟข้าม เข้าใจว่าเป็นสะพานไม้ เพราะมีหลักฐานปรากฎอีกแห่งหนึ่งที่ บ้านหนองกวาง ต.นายาง
พอรื้อทางรถไฟ เลยตัดตอม่อสะพานกลับไปด้วย
ทีมงานกลับรถ มาขึ้นทางสายใหญ่ อ้อมข้ามคลองได้สักนิดหนึ่ง วกเข้าซอยสู่แนวทางรถไฟเดิม
โชคดีอยู่หน่อยหนึ่ง ตรงที่แนวทางรถไฟเก่ามีหินรองรางเหลืออยู่เยอะ ทำให้พื้นทางแน่น รถไม่ติดหล่มหากเข้าช่วงฤดูฝน
เท่าที่ทราบมา....มีเหลือมากพอควร จนชาวบ้านแอบขุดหินรองรางเก่า ไปขายให้คนที่ปลูกบ้านใหม่ได้หลายหลังเชียวครับ
สักพัก...ทางรถไฟเดิม เปลี่ยนฐานะเป็นทางหลวงชนบทอย่างกระทันหัน เรี่ยมเรเรไรเลยล่ะครับ เป็นเส้นทางหลวงชนบทสาย คลองวัดไพร - ห้วยซึ้ง สร้างทับแนวทางรถไฟเดิม
ขับรถตามทางหลวงชนบทได้ราว กม.เศษ แนวทางหลวงจะเลี้ยวซ้ายออกไป คงเหลือแนวทางรถไฟเดิมตรงไปข้างหน้าครับ ช่วงแรกๆ เป็นทาง คสล.ในหมู่บ้าน และกลายเป็นถนนลูกรังตามเดิม
วิ่งไปได้อีกสักพัก ก็ถึงทางตันอีกแล้ว เพราะมี " คลองห้วยซึ้ง " ขวางอยู่ข้างหน้า ( สะพานโดนรื้อไปแล้วเหมือนกัน )
ต้องเลี้ยวขวาไปออกทางหลวงชนบทสายพิชัย - นายาง - นาอิน - บ้านโคน - พิชัย ที่ขนานกันใกล้ๆ นั้นและครับ
แฮ่ม...สายวงรอบ อ.พิชัย ก็เรียกได้.. ความหมายครือกัน
Last edited by black_express on 11/10/2007 10:02 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 3:38 pm Post subject: |
|
|
ขับรถไปตามทางหลวงชนบทสายนี้อีกพักหนึ่ง ก็จะข้าม สะพานคลองละวาน
ข้ามคลองละวานมาแล้ว ทีมงานพยายามหาถนนซอยไปออกแนวทางรถไฟเดิม คราวนี้ จนปัญญา แล่นผ่านไม่ได้จริงๆ ครับ ชาวบ้านนิยมใช้ถนนใหญ่มากกว่า
ขอเก็บรูปไว้เป็นพยานว่า เป็นไปไม่ได้จริงๆ นับตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไป จนถึงบ้านนาอิซาง ต.นายาง
ส่วนซีกซ้ายมือ มีบ้านปลูกริมทางด้วยล่ะ คล้ายๆ สายสงขลา...นิ
จากนี้ไป...ต้องอาศัยทางหลวงชนบทสายพิชัย - นายาง เลาะเลียบแนวทางรถไฟสายนายาง ไปตลอดจนถึงบ้านนายาง ล่ะครับ บางช่วงเริ่มโดนอิทธิฤทธิ์รถแทรกเตอร์ล้มคันทางเป็นแปลงนาไปแล้ว สองหนุ่มลงทุนเดินลุยกลางนาไปสำรวจแนวทางจริงๆ เชียวล่ะ
หวิดโดนหมาชาวบ้านงับน่องซะแล่ว...
ที่แปลกตาก็เป็นร่องน้ำ คสล. ปรากฎให้เห็น แสดงว่า...เคยมีการใช้เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นประจำ จนเลิกร้างไป
Last edited by black_express on 11/10/2007 10:10 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 3:57 pm Post subject: |
|
|
แนวทางรถไฟช่วงจากนี้ ไม่มีให้เห็นแล้วครับ เพราะโดนแทรกเตอร์ไถเป็นพื้นที่ไร่ นา จนสาบสูญหมด จนกระทั่งเข้าชุมชนบ้านนายาง
จากสามแยกบรรจบเส้นทางหลวงชนบทสาย บ้านหนองกวาง - บ้านนายาง ก็เลี้ยวซ้ายขึ้นมาทางเหนือ มาถึงบ้านนาอิซาง ( ภาษาพูดท้องถิ่น นา = นา , อิซาง = ช้าง ) เห็นร่องรอยพอสันนิษฐานว่าเป็นแนวทางรถไฟสายนายาง ตรงทางหลวงชนบทสายนายาง - นาอิซาง - หนองกวาง สร้างทับแนวทางรถไฟเดิม
เป็นถนน คสล.ด้วยสิ อยู่ช่วงใต้บ้านนาอิซาง กว่าจะสันนิษฐานได้ วนดูตั้งสองรอบแน่ะ
ตรงเหนือบ้านนาอิซาง แนวทางรถไฟจะเริ่มให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง ส่วนทางหลวงชนบทจะโค้งออกไปทางซ้ายมือครับ
แนวเส้นทางจะผ่านสระเก็บน้ำ ไร่นา และป่าละเมาะไปเรื่อยๆ ราว 2 กิโลเมตรเศษเห็นจะได้
ช่วงนี้เข้าพื้นที่บ้านหนองกวาง ต.นายาง แล้วครับ
สองรูปนี้...ถ่ายย้อนแนวทางแยก ด้านเหนือบ้านนาอิซางครับ เพราะขับเลยไปตั้งไกล กว่าจะหาทางย้อนกลับมาได้
แล้วเราก็โผล่ออกมาพบความศิวิไลซ์อย่างกระทันหัน กับทางหลวงหมายเลข 11 ช่วง พิษณุโลก - เด่นชัย ขอหยุดพักสายตาสักนิดหนึ่งครับ
สี่แยกข้างหน้า เป็นสี่แยกไฟแดงตัดกับทางหลวงจังหวัดสาย บ้านหนองกวาง - อ.ทองแสนขัน , อ.ชาติตระการ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ออก อ.ด่านซ้าย จ.เลย ได้
ชาวอีสานตอนบนชอบใช้เส้นทางสายนี้กันนัก หากไปเที่ยวภาคเหนือ
หากเลยตรงไปอีก จะขึ้นเขาขาด ไปสี่แยกบ้านชัยมงคล ต.น้ำอ่าง อ.ตรอน มีทางแยกซ้ายไป อ.ตรอน แยกขวา อ.ทองแสนขัน , อ.น้ำปาด และก็ภูสอยดาว
เลยจากนั้นอีก ก็ไป จ.อุตรดิตถ์ , แพร่ , น่าน , พะเยา , เชียงราย , ลำปาง , ลำพูน , เชียงใหม่ ได้ตามอัธยาศัย
เอามะพร้าวเน่ามาขายสวนหรือเปล่าหว่า ? รีบไปต่อดีกว่าครับ ฟ้าเริ่มครึ้มแล้ว
Last edited by black_express on 11/10/2007 10:57 pm; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 11/01/2007 4:17 pm Post subject: |
|
|
ละความศิวิไลซ์ ลุยต่อไปตามวิถีทางเรา
ริมเส้นทางช่วงนี้ เริ่มเป็นป่าโปร่งแล้ว อยู่ในพื้นที่จัดรูปที่ดินของ สปก. กระทรวงเกษตรฯ รวมทั้งเป็นป่าชุมชนด้วย
ลมเริ่มแรงขึ้น พร้อมๆ กับเมฆเริ่มมีให้เห็นหนาตาแล้วครับ
และแล้ว...เส้นทางเริ่มตันอีกครั้ง ที่ คลองหนองกวาง สองหนุ่มโดดลงไปสำรวจเช่นเคย....
ริมฝั่งคลอง มีร่องรอยที่แสดงว่า สะพานที่ใช้อยู่บนเส้นทางนี้ เป็นสะพานไม้ครับ...
แนวตอม่อสะพาน เรียงเป็นตับเลย ถูกตัดคืนพัสดุไปเรียบร้อย
กลางท้องคลอง....
แนวเสาตอม่อสะพานไม้ ด้านทิศเหนือครับ...
Last edited by black_express on 14/10/2007 12:55 am; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
|