RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:312065
ทั่วไป:13670411
ทั้งหมด:13982476
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89 ... 489, 490, 491  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2010 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

หญิงชราหัวใจวายดับคารถไฟเชียงใหม่-กทม.
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 09 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 09:53 น.

เมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 9 เม.ย. พ.ต.ท.กกุสนธ์ เหมือนปั้น สารวัตรเวรสอบสวน สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ รับแจ้งเหตุจากสถานีรถไฟรังสิตว่าพบหญิงผู้สูงอายุนอนเสียชีวิตอยู่ในโบกี้รถไฟปรับอากาศตู้ที่ 11 ที่นั่งที่ 33-34 จอดอยู่หน้าสถานีรถไฟรังสิต ม.2 ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี จึงรุดไปที่เกิดเหตุพบรถด่วนพิเศษปรับอากาศ ขบวนที่ 14 เชียงใหม่–กรุงเทพ จอดให้ผู้โดยสารลงที่ชานชาลา 2 สถานีรถไฟรังสิต บริเวณโบกี้ปรับอากาศที่ 11 เตียงนอนที่ 33-34 พบศพนางวิไลวรรณ อินทวัฒน์ อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 4 ถนนจ่าบ้าน ต.พสิงห์

จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ทราบว่ารถด่วนพิเศษดังกล่าวขบวนดังกล่าวออกจากสถานีรถไฟเชียงใหม่ เมื่อเวลา 16.00 น. ถึงสถานีรังสิต 05.25 น. โดยมีผู้โดยสารชาวต่างชาติจำนวนมาก ซึ่งจะเดินทางไปขึ้นเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ต้องเสียเวลาไปกว่า 1 ชั่วโมงเนื่องจากต้องรอแพทย์จาก ร.พ.ประชาธิปัตย์

สำหรับนางวิไลวรรณ เป็นมารดาของนายตำรวจระดับรอง ผกก.4 จ.ขอนแก่น ป่วยด้วยโรคประจำตัว ก่อนเสียชีวิตผู้ตายนอนอยู่เตียงที่ 31-32 และเกิดอาการแน่นหน้าอกและย้ายมานอนเตียงที่ 33-34 โดยบอกเจ้าหน้าบนรถไฟจะขอลงไปหาหมอ แต่มาเสียชีวิตก่อนเมื่อถึงสถานีรังสิต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2010 12:40 am    Post subject: Reply with quote

แผนปรับใหญ่รถไฟฯสดใส
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1090 ประจำวันที่ 10-4-2010 ถึง 16-4-2010


คมนาคมเตรียมผลักดันแผนปรับโครงสร้างรถไฟฯ-แผนลงทุน 5 ปี กว่า 1.7 แสนล้านเข้าครม.ภายใน เม.ย.นี้ “สุพจน์” เผยแผนปรับโครงสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้วแยกเป็น 3 ส่วนคือ “ส่วนการเดินรถ-ส่วนซ่อมบำรุง-ส่วนบริหารทรัพย์สิน” ขึ้นตรง ร.ฟ.ท. ขณะ ที่การก่อสร้างทางซ่อมบำรุงรางขึ้นกับรัฐบาล ระบุส่วนเดินรถ-บริหารทรัพย์สินต้องหากำไร ไม่น้อยกว่า 2,700 ล้าน/ปี ขณะที่ส่วนซ่อมบำรุงรถจักรไม่ต้องมีกำไรก็ได้

ด้าน “อำพน” เผยบอร์ดศสช.เห็นชอบแผนลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านแล้ว นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวง คมนาคม เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ในเบื้องต้นจะมีการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1.ส่วนการเดินรถ
2.ส่วนซ่อมบำรุง และ
3.ส่วนบริหารทรัพย์สิน ขึ้นตรงกับ ร.ฟ.ท. 100%

ส่วนงานด้านโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ การก่อสร้างราง การซ่อมบำรุงราง จะถูกแยกออกไปขึ้นตรงกับรัฐบาล เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเหมือนกรมทางหลวง

ทั้งนี้ ทั้ง 3 ส่วนที่ขึ้นตรงกับ ร.ฟ.ท. นั้นจะตั้งขึ้นเป็นหน่วยธุรกิจ หรือ BUSINESS UNIT ทั้งหมด โดยในส่วนของการเดินรถนั้น จะต้องรับผิดชอบทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้า โดยจะต้องพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงการพัฒนาโบกี้ให้ดีกว่าเดิม ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยนี้ ทั้งนี้ส่วนการซ่อมบำรุงนั้น จะทำหน้าที่ซ่อมบำรุงหัวรถจักร ขบวนรถ และจัดหาเอกชนสำหรับมาเดินรถให้ส่วนการเดินรถ โดยหน่วยงานนี้ไม่ต้องมีกำไรก็ได้ แต่มีรายได้จากการคิดค่าบริการ ซึ่งหน่วยการเดินรถจะเป็นผู้จ่ายมา

หน่วยงานด้านบริหารจัดการทรัพย์สิน ต้องดูแลที่ดินของร.ฟ.ท.ที่มีอยู่กว่า 2.4 แสนไร่ ทั่วประเทศ ซึ่งร.ฟ.ท.ใช้เพื่อการพาณิชย์อยู่ 2 แสนไร่ ซึ่งหน่วยงานนี้จะต้องไปหาทางบริหารพื้นที่เหล่านี้ให้เกิดรายได้ให้มากที่สุด เพราะปัจจุบันร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าบริหารพื้นที่เพียง 1,600 ล้านบาทเท่านั้น ขณะที่มีรายจ่ายในเรื่องค่าบำเหน็จบำนาญพนักงานปีละ 2,000 กว่าล้านบาท ซึ่งแค่เรื่องนี้ก็ขาด ทุนทุกปี ทั้งนี้แผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว กระทรวงคมนาคมจะเสนอเข้าครม.พร้อมแผนการลงทุน 5 ปีภายในเดือนเม.ย.นี้ โดยปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เรื่องบริหารพื้นที่นั้น ในเบื้องต้นตั้งเป้าว่าร.ฟ.ท.ต้องมีรายได้จากส่วนนี้ปีละอย่าง น้อย 2,700 ล้านบาท ซึ่งทำได้แน่นอน เพราะ พื้นที่ทำเลทองหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นหมอชิต สวนจตุจักรมักกะสัน นั้นสามารถพัฒนาและปรับค่าเช่าได้

ทั้งนี้ หน่วยบริหารการเดินรถจะผลักดันให้ดำเนินการด้านเชิงพาณิชย์มากขึ้น ตั้งแต่การหาลูกค้าและขายตั๋ว โดยมีแนวคิดว่าจะให้บริษัทเอกชนเข้ามารับสัมปทานไปดูแล ซึ่งเอกชนจะต้องจัดหาขบวนรถไฟมาวิ่ง ขณะที่รัฐจัดทำระบบราง

ขณะที่ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ขณะนี้สศช.ได้เห็นชอบแผนการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ ร.ฟ.ท.วงเงิน 1.768 แสนล้านบาท ภายใต้กรอบดำเนินการ 5 ปี (2553-2557) เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายในเดือนเมษายนนี้

ทั้งนี้ วงเงิน 1.768 แสนล้านบาท แบ่ง เป็น
1.การลงทุนด้านโยธา 51,125 ล้านบาท
2.งานอาณัติสัญญาณ 23,751 ล้านบาท เช่น ปรับปรุงโครงข่ายคมนาคม ติดตั้งเครื่องกั้นอาณัติสัญญาณไฟสี จำนวน 224 สถานี ไม้กั้นแนวเขตทาง
3.งานจัดซื้อหัวรถจักรและล้อเลื่อน 18,408 ล้านบาท
4.โครงการสร้างทางคู่ 6 สาย 863 กิโลเมตรวงเงิน 77,458 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 16/04/2010 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
แผนปรับใหญ่รถไฟฯสดใส
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1090 ประจำวันที่ 10-4-2010 ถึง 16-4-2010


คมนาคมเตรียมผลักดันแผนปรับโครงสร้างรถไฟฯ-แผนลงทุน 5 ปี กว่า 1.7 แสนล้านเข้าครม.ภายใน เม.ย.นี้ “สุพจน์” เผยแผนปรับโครงสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้วแยกเป็น 3 ส่วนคือ “ส่วนการเดินรถ-ส่วนซ่อมบำรุง-ส่วนบริหารทรัพย์สิน” ขึ้นตรง ร.ฟ.ท. ขณะ ที่การก่อสร้างทางซ่อมบำรุงรางขึ้นกับรัฐบาล ระบุส่วนเดินรถ-บริหารทรัพย์สินต้องหากำไร ไม่น้อยกว่า 2,700 ล้าน/ปี ขณะที่ส่วนซ่อมบำรุงรถจักรไม่ต้องมีกำไรก็ได้

ด้าน “อำพน” เผยบอร์ดศสช.เห็นชอบแผนลงทุนกว่า 1.7 แสนล้านแล้ว นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวง คมนาคม เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ถึงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ในเบื้องต้นจะมีการปรับโครงสร้าง ร.ฟ.ท.ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1.ส่วนการเดินรถ
2.ส่วนซ่อมบำรุง และ
3.ส่วนบริหารทรัพย์สิน ขึ้นตรงกับ ร.ฟ.ท. 100%

ส่วนงานด้านโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ การก่อสร้างราง การซ่อมบำรุงราง จะถูกแยกออกไปขึ้นตรงกับรัฐบาล เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลเหมือนกรมทางหลวง

ทั้งนี้ ทั้ง 3 ส่วนที่ขึ้นตรงกับ ร.ฟ.ท. นั้นจะตั้งขึ้นเป็นหน่วยธุรกิจ หรือ BUSINESS UNIT ทั้งหมด โดยในส่วนของการเดินรถนั้น จะต้องรับผิดชอบทั้งการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้า โดยจะต้องพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ รวมถึงการพัฒนาโบกี้ให้ดีกว่าเดิม ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยนี้ / ทั้งนี้ส่วนการซ่อมบำรุงนั้น จะทำหน้าที่ซ่อมบำรุงหัวรถจักร ขบวนรถ และจัดหาเอกชนสำหรับมาเดินรถให้ส่วนการเดินรถ โดยหน่วยงานนี้ไม่ต้องมีกำไรก็ได้ แต่มีรายได้จากการคิดค่าบริการ ซึ่งหน่วยการเดินรถจะเป็นผู้จ่ายมา


ที่มาสีแดง ๆ ขอเน้นไว้เป็นประเด็นก่อน เด้อ ....

รายละเอียด ค่ำๆ* จะมาออกความเห็น "ความเป็นไปได้ กับการเปลี่ยนแปลง" .... หึหึ

แก้ไข *ค่ำ ๆ วันที่ว่างเน้อ


Last edited by nathapong on 17/04/2010 9:03 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2010 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยแก้จุดตัดรถไฟทั่วไทย
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ไทยรัฐออนไลน์ 16 เมษายน 2553, 05:15 น.

นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนว่า เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นประจำที่บริเวณจุดตัดรถไฟกับถนน กระทรวงคมนาคมจึงได้ลงนามร่วมกับกระทรวงมหาดไทยแก้ไขปัญหา เนื่องจากจุดตัดบางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 288 แห่ง ว่า การรถไฟฯจึงร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดสรรงบประมาณ เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ โดยนำร่องในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ (นครราชสีมา - อุบลราชธานี) ก่อน เพื่อให้เป็นเส้นทางที่มีความปลอดภัย เนื่องจาก

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดตัดรถไฟรวม 341 แห่ง
เป็นทางต่างระดับ 19 แห่ง
ติดตั้งเครื่องกั้นจำนวน 87 แห่ง
ยังคงเหลือจุดตัดที่เสมอทางรถไฟที่เป็นป้ายจราจรอีก 229 แห่ง และ
ทางลักผ่าน 6 แห่ง ที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้เกิดความปลอดภัย"

นายวีระ เรืองสุขวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า กรมทางหลวงได้จัดทำแผนการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ (ปี 54-59) ในบริเวณจุดตัดรถไฟที่มีรถวิ่งผ่านมากกว่า 100,000 คันต่อวัน ทั้งประเทศจำนวน 83 แห่ง โดยอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ 9 แห่ง แบ่งเป็น จ.นครราชสีมา 5 แห่ง บุรีรัมย์ 1 แห่ง และศรีสะเกษ 3 แห่ง วงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินการก่อสร้างประมาณ 1,350 ล้านบาท

ขณะที่นายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า กรมได้จัดทำแผนก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟปี 54-59 ในบริเวณจุดตัด ดังกล่าวทั่วประเทศ 31 แห่ง โดยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง วงเงิน งบประมาณ 390 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2010 2:00 am    Post subject: กลับมาทำงานเสียทีหลังสงกรานต์ Reply with quote

หัวลำโพงคึกคัก!!ปชช.เดินทางเข้ากรุงหลังหยุดยาวสงกรานต์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2553 12:50 น.


บรรยากาศที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเริ่มคึกคัก จากประชาชนที่ได้ทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพมหานคร เพื่อเริ่มทำงานกันในวันจันทร์นี้ หลังจากที่ได้หยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์ไปหลายวัน บางคนนั้นให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการเบียดเสียดกับคนจำนวนมากที่คาดว่าจะกลับมาพร้อมกันในวันพรุ่งนี้

รถไฟอุบลฯ เพิ่มขบวนรถฟรีรับแรงงานกลับกรุงเทพฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2553 22:05 น.

อุบลราชธานี-รฟท.สั่งเพิ่มขบวนรถไฟฟรีสายอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ วันละ 2 เที่ยว รับแรงงานที่กลับเที่ยวสงกรานต์ได้ทั้งหมด พร้อมหอบหิ้วข้าวสารอาหารแห้ง เผยหัวรถจักรเสียที่ จ.นครราชสีมากว่า 3 ชั่วโมง ด้านบขส.อุบลฯเพิ่มรถอีกวันละ 30-50 เที่ยว

บรรยากาศการเดินทางกลับไปทำงานกรุงเทพฯ ที่สถานีรถไฟ จ.อุบลราชธานี มีแรงงานที่ต้องการเดินทางกลับจำนวนมาก โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สั่งเพิ่มขบวนรถจากเดิมปกติวันละ 7 ขบวน เป็นวันละ 9 ขบวน จำนวนนี้เป็นขบวนรถไฟฟรีเที่ยวเช้าเวลา 08.45 น. และเที่ยวค่ำเวลา 19.45 น. อย่างละ 1 ขบวน ที่ผ่านมายังไม่ปัญหาผู้ใช้บริการตกค้าง แต่สำหรับวันนี้ ปรากฏว่าขบวนรถไฟฟรีเที่ยวเช้ามีความล่าช้าเกือบ 3 ชั่วโมง เนื่องจากหัวรถจักรใช้ลากขบวนรถเสียที่สถานีหินดาด อ.จักรราช จ.นครราชสีมา ช่างต้องนำรถหัวจักรใหม่ไปเปลี่ยน เพื่อให้สามารถเดินทางมาส่งผู้โดยสารที่สถานีปลายทาง จ.อุบลราชธานี และรับผู้โดยสารที่ตกค้างเดินทางกลับไปกรุงเทพฯต่อไป

ทั้งนี้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ ได้นำสัมภาระเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง กลับไปด้วย เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ใช้จ่ายเงินเที่ยวฉลองสงกรานต์ไปจำนวนมาก จึงนำอาหารไปกินระหว่างกลับไปทำงาน เพื่อรอเงินเดือนออกในสิ้นเดือนนี้

ชาวหนองคายแห่ขึ้นรถไฟกลับกรุงเทพฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 เมษายน 2553 22:03 น.

หนองคาย-ชาวหนองคายหอบหิ้วสัมภาระเดินทางกลับกรุงเทพ หลังเสร็จสิ้นฉลองเทศกาลสงกรานต์ นายสถานีรถไฟหนองคาย เผยเต็มทุกขบวนรถ ต้องเสริมขบวนให้บริการประชาชน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

บรรยากาศการเดินทางกลับทำงานกรุงเทพฯ ของประชาชนชาวหนองคาย วันนี้ (17 เม.ย. 53) ที่สถานีรถไฟหนองคาย ซึ่งเป็นขบวนรถไฟต้นทาง ขบวนรถด่วนหนองคาย – กรุงเทพ ออกจากชานชาลาในเวลา 18.20 น. และขบวนรถเร็วหนองคาย– กรุงเทพ ออกจากชานชาลาเวลา 19.20 น. มีประชาชนชาวหนองคายและชาวต่างชาติมาใช้บริการจนแน่นขนัด เต็มทุกโบกี้ ผู้โดยสารส่วนใหญ่ต่างหอบหิ้วสัมภาระ โดยเฉพาะกระสอบข้าวสารหลายกระสอบนำกลับไปบริโภคที่กรุงเทพฯด้วย หลังจากที่เสร็จสิ้นเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้กันแล้ว

นายทวีป เสือรอด นายสถานีรถไฟหนองคาย กล่าวว่า ผู้โดยสารส่วนใหญ่ได้ซื้อตั๋วโดยสารทั้งขาไปและขากลับล่วงหน้าก่อนเดินทาง ทั้งประเภทขบวนรถนอน และรถนั่งชั้น 3 โดยเฉพาะขบวนรถไฟฟรีมีประชาชนมาจองตั๋วตั้งแต่เช้าของทุกวันในปริมาณมาก จนขบวนรถไม่เพียงพอ ทางการรถไฟต้องเสริมขบวนรถทั้งขบวนรถด่วนและรถเร็ว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้โดยสาร

เป็นที่น่าสังเกตว่าปีนี้มีประชาชนเดินทางกลับเข้ากรุงเทพ แบบแน่นขบวนรถตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ไม่รอให้เสร็จสิ้นเทศกาลสงกรานต์เหมือนเช่นทุกปี ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทำให้ประชาชนตัดสินใจเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ ก่อนกำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2010 10:46 am    Post subject: Reply with quote

"ยุทธนา"ปลื้ม! บริการการรถไฟฯ ไร้ปัญหา-สร้างรายได้เกือบ 100 ล.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 เมษายน 2553 17:00 น.


นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย สรุปภาพรวมการให้บริการรับส่งผู้โดยสารกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ โดยกล่าวว่า พอใจการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่เกิดอุบัติเหตุกับบริการรถไฟโดยสาร รวมไปถึงเหตุการณ์รถไฟตกราง ในขณะที่การให้บริการผู้โดยสารปีนี้ ซึ่งมีวันหยุดยาว มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการมากถึง 1 ล้านคน โดยเฉลี่ยแต่ละวันมีผู้โดยสารมากกว่า 1 แสนคน เดินทางทั้งขาไปและขากลับ สร้างรายได้ให้กับการรถไฟฯ เกือบ 100 ล้านบาท ซึ่งวันพรุ่งนี้(19 เม.ย.) จะรวบรวมตัวเลขสถิติต่างๆ รายงานต่อกระทรวงคมนาคม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2010 10:50 am    Post subject: Reply with quote

เรื่องของรถไฟที่ยังไขว้เขวกันอยู่

โดย สิริอัญญา 18 เมษายน 2553 13:03 น.



ท่านรองนายกรัฐมนตรีไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อปลายเดือนที่แล้วว่า รัฐบาลตัดสินใจที่จะทำการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จำนวน 4 สาย คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ-สุไหงโก-ลก และกรุงเทพฯ-ระยอง

เป็นการแถลงข่าวต่อเนื่องจากที่เคยให้คำมั่นสัญญากับคณะผู้แทนหอการค้าทั่วประเทศ ที่ได้ร่วมกับสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ขอเข้าพบและแสดงเจตจำนงตลอดจนความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีรถไฟความเร็วสูงเมื่อเดือนกว่ามาแล้ว

ในครั้งนั้น ท่านรองนายกรัฐมนตรีไตรรงค์ สุวรรณคีรี ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่าเห็นด้วยในหลักการและต่อมาก็มีการแถลงครั้งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น

สิ่งที่สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยและคณะผู้แทนหอการค้าเข้าพบและเสนอต่อรัฐบาลนั้นต่างกับสิ่งที่มีการแถลง คือ

คณะผู้แทนหอการค้าทั่วประเทศและสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกจำนวน 5 สาย คือ กรุงเทพฯ-นครสวรรค์, กรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งแต่ละสายจะมีระยะทางระหว่าง 200-300 กิโลเมตร และใช้เวลาวิ่งรถไฟความเร็วสูงประมาณ 1-1.5 ชั่วโมง

แต่ที่ท่านรองนายกรัฐมนตรีไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประกาศจะก่อสร้างนั้น แม้ระบุว่าเป็นรถไฟความเร็วสูง แต่เป็นเส้นทางยาว 4 สายพร้อมกัน

ดูเหมือนว่าต่างกันในเรื่องระยะทางและจำนวนสาย ซึ่งไม่น่าจะเป็นจุดแตกต่างสำคัญมากนัก แต่ที่น่าวิตกกังวลก็คือความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายว่าตรงกันหรือคลาดเคลื่อนจนกลายเป็นคนละเรื่องกันแน่

ดังนั้นจึงต้องมาทำความเข้าใจในเรื่องของรถไฟกันสักครั้งหนึ่ง เพราะเรื่องของรถไฟที่พูดๆ กันนั้น แม้ใช้คำว่ารถไฟเหมือนกัน แต่แท้จริงมีถึง 3 ประเภท 3 ลักษณะใหญ่

จำพวกแรก ที่ต้องพูดถึงก็คือ รถไฟฟ้า ที่เป็นรถขนส่งบุคคลสาธารณะ หรือที่เรียกว่า Mass Transit ซึ่งใช้กันโดยทั่วไปในเมืองใหญ่ๆ เพื่อมุ่งหวังที่จะลดจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคลลง และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง และสะดวก ซึ่งรถไฟจำพวกนี้ก็คือรถไฟฟ้า BTS และที่กำลังจะก่อสร้างกันอยู่หลายสาย

จำพวกที่สอง ก็คือ รถไฟสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ซึ่งในวันนี้ประเทศไทยเรามีเส้นทางสายเดี่ยว ในขณะที่ทั่วโลกเป็นรถไฟทางคู่ คือสวนไป-มากันได้โดยไม่ต้องรอกัน และเพราะประเทศไทยเป็นรถไฟทางเดี่ยว จึงทำให้การคมนาคมทางรถไฟไม่เป็นที่นิยม เพราะเสียเวลามาก และไม่สะดวก ทำให้การพัฒนารถไฟไทยต้องชะงักมาร้อยกว่าปีแล้ว

จำพวกที่สาม คือรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นรถไฟขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก มีความเร็วเฉลี่ยสูงระหว่าง 200-450 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งคนไทยเคยรู้จักกันดีจากชื่อรถไฟความเร็วสูงจิ่งกังเซ็นของญี่ปุ่น ซึ่งวันนี้ก็ล้าสมัยไปแล้ว

ในโลกทุกวันนี้ยอมรับกันว่าเยอรมนีเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีในการทำรถไฟความเร็วสูงที่ยอดเยี่ยมของโลก แต่ไม่แพร่หลาย เพราะไม่สามารถทำเป็นเชิงธุรกิจได้ เนื่องจากราคาทุนแพงลิบลิ่ว ค่าบริการไม่คุ้มกับเงินลงทุน จึงทรุดโทรมไป กระทั่งเกือบใกล้สิ้นเนื้อประดาตัว ในที่สุดก็ได้ตกลงร่วมมือกับจีน และจีนก็ได้รับซื้อเทคโนโลยีนี้ไปจากเยอรมนี

จีนซื้อไปแล้วก็นำไปพัฒนาอีกเล็กน้อยให้เป็นแบบจีนโดยเฉพาะ หลังจากนั้นก็บรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนารถไฟระยะที่ 7 ซึ่งมีผลใช้ในปัจจุบันคือจะต้องมีรถไฟความเร็วสูงเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงทั่วประเทศ

เทคโนโลยีที่แสนแพงลิบลิ่วเมื่อผ่านกระบวนการพัฒนาแบบจีน ต้นทุนก็ต่ำลง เหลือเพียงแค่ 2 ใน 5 ของต้นทุนเดิม และสามารถผลิตให้เป็นแบบมวลหรือเป็น Mass หรือเป็นเชิงอุตสาหกรรมได้ด้วย

รัฐบาลจีนได้ประกาศให้ทุกระยะรุ้งแวง 1,000 กิโลเมตร มีรถไฟความเร็วสูงใช้ทั่วประเทศ พูดง่ายๆ ก็คือตีตารางรูปสี่เหลี่ยมคลุมทั้งประเทศจีนทุกระยะ 1,000 กิโลเมตร ให้เป็นสถานีเชื่อมของรถไฟความเร็วสูง

หมายความว่า ใช้เวลาวิ่งประมาณ 3 ชั่วโมง คนจีนก็สามารถไปมาหาสู่ถึงกันได้ในระยะเดินทาง 1,000 กิโลเมตร โดยทางรถไฟความเร็วสูง นี่คือแผนการพลิกฟื้นประเทศจีนสู่ศตวรรษใหม่ของการพัฒนารถไฟจีนระยะที่ 7

และในระยะพัฒนานี้ก็ยังกำหนดให้มีการทดลองนำร่องพัฒนารถไฟความเร็วสูงเฉลี่ย 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อบรรจุเป็นแผนงานในการพัฒนาระยะที่ 8 หรือระยะต่อๆ ไปด้วย

รถไฟความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้เปิดวิ่งไปแล้วหลายสาย เช่น สายปักกิ่ง-เทียนสิน, สายปักกิ่ง-หวู่ฮั่น และอื่นๆ ซึ่งในไม่ช้าก็จะกระจายไปอย่างรวดเร็วตามแผนงานของการพัฒนารถไฟจีน

เทคโนโลยีสำหรับรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวนี้ นอกจากแบบจิ่งกังเซ็นของญี่ปุ่นและแบบของเยอรมนีที่เป็นต้นแบบของรถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว ยังมีเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแม็กเนติกเทรน หรือแม็กเลปเทรน คือเป็นการใช้เทคโนโลยีด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ที่อาศัยการตัดกันของวงจรแม่เหล็กของรถไฟกับแกนแม่เหล็กของโลก ทำให้รถลอยตัวแล้วเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความเร็วอันสูงยิ่ง

ในเรื่องรถไฟที่พูดถึงกันนั้น คณะผู้แทนหอการค้าและสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย หมายถึงรถไฟความเร็วสูง แบบเทคโนโลยีของจีน หรือของเยอรมนี หรือของจิ่งกังเซ็น แต่ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุดก็คือแบบเทคโนโลยีของจีนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเพราะมีตัวอย่างให้เห็นเป็นเชิงพาณิชย์แล้ว

แต่ที่ท่านรองนายกรัฐมนตรีไตรรงค์ สุวรรณคีรี พูดถึงนั้น จะหมายความอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือหมายถึงรถไฟทางคู่ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็ยังเป็นที่สงสัย

ดังนั้น บทความในวันนี้จึงมุ่งหมายให้ทั้งภาครัฐ และหอการค้าทั่วประเทศ รวมทั้งสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ได้รีบทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องตรงกันเสียก่อน ก่อนที่จะทำกันไปคนละทิศคนละทาง หรือเข้าใจผิดกันไปคนละเรื่อง ซึ่งเรื่องแบบนี้ไม่ควรเสี่ยงที่จะให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้

นอกจากนั้น เมื่อเป็นรถไฟความเร็วสูงแล้ว ก็ควรจะทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าเทคนิคในการทำรถไฟความเร็วสูงนั้น สำหรับประเทศไทยแล้วควรจะเริ่มเฟสแรก 5 สาย เป็นระยะทางสั้นๆ ระหว่าง 1-2 ชั่วโมงก่อน หรือว่าจะทำเป็นสายยาว แบบที่เวียดนามกำลังทำอยู่ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการเริ่มต้นที่ผิดพลาด

ในกรณีที่รัฐบาลโดยท่านรองนายกรัฐมนตรีไตรรงค์ สุวรรณคีรี ประกาศดำเนินโครงการว่าเป็นรถไฟความเร็วสูง แต่ถ้าหากแท้จริงหมายถึงรถไฟทางคู่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

และความจริงรถไฟทางคู่ของประเทศไทยเป็นความจำเป็นที่ตกค้างมาจากประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยทอดทิ้งจากพระบรมราโชบายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มเอาไว้

ทรงริเริ่มตามความจำเป็นและฐานะของประเทศในยุคนั้น และภายใต้การบีบบังคับของนักล่าอาณานิคมในยุคนั้น จึงเป็นผลให้ทางรถไฟไทยเป็นทางเดี่ยว และถูกทอดทิ้งไม่มีการพัฒนามาจนกระทั่งถึงวันนี้ ทำให้ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟไทยเหลืออยู่แค่ระดับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ประเทศอื่นเขาใช้รถไฟทางคู่กันไปหมดแล้ว

นอกจากนั้น ระบบความกว้างของราง ประเทศไทยก็ถูกบังคับให้ใช้รางขนาดแคบหรือที่เรียกว่าระบบรางแบบเมตตะเกต ซึ่งมีความกว้างราว 1 เมตร ในขณะที่ทั่วโลกหรือประเทศส่วนใหญ่ใช้รางขนาดกว้าง 1.43 เมตร หรือที่เรียกว่าระบบ สแตนดาร์ดเกต

ทำให้ทางรถไฟไทยเชื่อมต่อกับใครไม่ได้ เหมือนกับคนที่พูดภาษากับใครเขาไม่รู้เรื่อง และขนส่งได้น้อย ความเร็วก็ต่ำ ต้นทุนก็สูง ทั้งเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ดังนั้น ถ้าหากรัฐบาลจะทำรถไฟทางคู่ ก็ต้องตัดสินใจปรับระบบรางให้เป็นแบบมาตรฐานหรือเป็นแบบสแตนดาร์ดเกตเหมือนกับที่ทั่วโลกเขาใช้กัน

แต่ขณะนี้ปรากฏว่า ในแผนการปรับปรุงรถไฟของรัฐบาลที่กำหนดวงเงินงบประมาณข้างต้นถึง 170,000 ล้านบาทนั้น ยังคงคิดที่จะพัฒนารถไฟรางแคบแบบเดิม ซึ่งในที่สุดจะสูญเปล่าเสียเปล่า และจะทำให้รถไฟไทยในส่วนนี้ล้าหลังกว่าทั่วโลกและไม่อาจฟื้นคืนได้อีกเลย

จะเป็นชะตากรรมที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศและการขนส่งของประเทศไทยในอนาคตอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ควรทำความผิดพลาดโดยเด็ดขาด.
Back to top
View user's profile Send private message
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/03/2006
Posts: 3642
Location: Thailand

PostPosted: 19/04/2010 10:56 am    Post subject: Reply with quote

^
จริงๆ ผมก็อยากให้รถไฟริเริ่มการเปลี่ยนไปใช้่รางมาตรฐานซักทีนะ เพราะทุกวันนี้ อะไรๆ ก็เก่าเจ๊งกะบ๊งเกือบหมดแล้ว ทั้งตัวรถจักร รถโดยสาร รถอื่นๆ ยังไงมันก็ต้องปรับปรุงใหม่ หรือซื้อใหม่อยู่ดี

แต่ก็ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้หน่อยครับว่า ข้อมูลของคุณยังไม่ถูกต้องทั้งหมด

จริงอยู่ว่า รถไฟทั้งโลกใช้รางกว้างมาตรฐาน

แต่รอบบ้านเมืองไทย ยังใช้ราง 1 เมตร ทั้งหมด

การที่บอกว่า ใช้ราง 1 เมตร แล้วเชื่อมใครไม่ได้นั้น ดูจะผิดไปหน่อยไหม

หรือจะสร้างรางมาตรฐาน แล้วลอดอุโมงค์ ข้ามเขมรทั้งประเทศ เพื่อไปหาเวียดนาม หรือ ข้ามพม่า บังคลาเทศ ทั้งสองประเทศ เพื่อไปเชื่อมกับอินเดีย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
pattharachai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 6536
Location: ราชอาณาจักรไทย

PostPosted: 19/04/2010 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้เขียนบทความนี้ ผมว่านอกจากจะไม่ได้สัมผัสกับรถไฟอย่างใกล้ชิดและบ่อยครั้งแล้ว ยังติดอยู่กับมายาคติและทัศนคติที่ว่า ทาง 1.435 เมตรนั้นเลอเลิศที่สุดในปฐพีแล้ว จริงอยู่ทางขนาด 1.435 เมตร นั้นเป็นทางมาตฐาน ที่รถไฟในหลายๆประเทศใช้ แต่นั่นก็ไม่ใช่หมายความว่า มันเป็นทางที่ "ทุกประเทศ" ต้องทำ เพื่อให้รถไฟเป็นมาตรฐาน การทำให้รถไฟมี "มาตรฐาน" มันประกอบด้วยปัจจัยอื่นอีกนานัปการ ซึ่งไม่ควรยึดติดอยู่กับการที่มีทาง 1.435 เพียงอย่างเดียว

ผมเห็นด้วยกับพี่เอ็ม ประเทศรอบข้างเรายังใช้ทาง 1.00 เมตร แล้วถ้าเราไปใช้ทาง 1.435 เมตร มันจะเกิดประโยชน์ได้กับประเทศเราเองทั้งนั้น แต่เราไม่สามารถคบค้าสมาคมกับประเทศเพื่อนบ้านได้เลย จึงต้องถามกลับไปยังผู้เขียนบทความว่า ตกลงว่าเราจะคบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีทางรถไฟ หรือจะเลือกใช้ทางมาตรฐานเพียงเพื่อให้ดูเป็นอารยประเทศ โดยที่เราไม่สามารถติดต่อกับใครข้างบ้านเราได้เลย

เว้นแต่พม่า มาเลเซีย กัมพูชา ลาว จะพร้อมใจกันเปลี่ยนทางเป็น 1.435 เมตร แล้วค่อยมาว่ากันอีกที
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 44036
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2010 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-พม่าปัดฝุ่น‘รถไฟสายมรณะ’ เพิ่มศักยภาพการค้าย่านเอเชียใต้
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1091 ประจำวันที่ 17-20 เมษายน 2553

สองฝ่ายเตรียมศึกษาเส้นทางโบราณ “สถานีน้ำตกตันบูซายัด” หวังบูรณะทำเส้น ทางการค้า-ท่องเที่ยว ก่อนมุ่งหน้า สู่โครงการท่าเรือเมืองทวายเข้าสู่ย่างกุ้งเนปิดอ พบอุปสรรคสำคัญ เรื่อง “มาตรฐาน” ของเส้นทาง ยันต้องใช้งบประมาณซ่อมบำรุง เผยหากสำเร็จ เพิ่มศักยภาพทางด้านการค้า ไปถึงกลุ่มประเทศในอ่าวเบงกอล-เอเชียใต้ ช่วยลดต้น ทุนค่าขนส่ง

ภายหลังการประชุม JTC (Joint Trade Commission) ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กับความคืบหน้าในการเปิดด่านชายแดนไทย-พม่า 10 จังหวัด ซึ่งนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางไปตรวจจุดผ่อนปรน ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และ มีแนวความคิดในการใช้เส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (เส้นทางรถไฟสายมรณะ) ให้มาเป็นเส้นทางการค้าระหว่างไทย-พม่า

เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” เพิ่มเติม ถึงแนวคิดในการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายมรณะเพื่อให้มาเป็นเส้นทางรถไฟสายการค้า ระหว่างไทย-พม่าว่า “ล่าสุดหลังการประชุม JTC ที่หัวหิน ทางคณะของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ได้มีการหารือกับ ‘พลจัตวา อ่อง ตุน’ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่าและคณะผู้แทนการค้าภาคเอกชนในพม่า ซึ่งเป็นการหารือนอกรอบเกี่ยวกับพัฒนาเส้นทางรถไฟสายกาญจนบุรี-ตันบูซายัด หรือเส้นทางรถไฟสายมรณะที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ให้กลายเป็นเส้นทางรถไฟแห่งการค้าเชื่อมต่อไปยังเมืองทวาย ซึ่งมีโครงการจะสร้างท่าเรือส่งสินค้า ที่จะมีศักยภาพรองรับสินค้าจากกลุ่มประเทศในอ่างเบงกอล และกลุ่มเอเชียใต้ (อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ปากีสถาน)

ทั้งนี้ ทางผู้แทนจากพม่า ได้รับข้อเสนอไว้พิจารณา และจะมีการกำหนดแผนในการสำรวจเส้นทางในฝั่งประเทศพม่า ซึ่งพบอุปสรรคเบื้องต้นคือทางรถไฟสายดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงให้ได้ มาตรฐานสากล ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณจำนวนหนึ่ง

ขณะเดียวกันกับเส้นทางในฝั่งไทย จากสถานีรถไฟธนบุรี-สถานีรถไฟน้ำตก (กาญจนบุรี) ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร ก็จะต้องมีการสำรวจและปรับปรุงเส้นทางเพิ่มเติมเช่นเดียวกัน เพื่อเชื่อมต่อไปยังเส้นทางในประเทศพม่า” เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพาณิชย์กล่าว และว่า

ส่วนเส้นทางรถไฟจากสถานีน้ำตกไปแล้ว จะไปสิ้นสุดที่เมืองตันบูซายัดซึ่งต่อจากสถานีน้ำตกของไทยไปราว 100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยสงคราม โลกครั้งที่สอง เป็นเส้นทางเดิมที่วางไว้โดยกองทัพญี่ปุ่น ก่อนต่อเข้าสู่เมืองทวาย รวมทั้งต่อไปยังกรุงย่างกุ้ง เมืองมัณฑเลย์ และเนปิดอ อย่างไรก็ตามทางพม่าได้รับข้อเสนอในเบื้องต้น โดยจะนำไปหารือในระดับรัฐบาล ในเบื้องต้นทางไทยเสนอที่จะให้การช่วยเหลือในการพัฒนาบุคลากรของพม่า” เจ้าหน้าที่จากกระทรวงพาณิชย์กล่าว

สำหรับทางรถไฟสายดังกล่าว จากสถานีรถไฟธนบุรี-เมืองชายฝั่งทะเลในประเทศพม่า จะมีระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตร โดยนอกจากจะเป็นเส้นทางสายสำคัญทางด้านการค้าแล้ว ยังมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ และจะมีการพัฒนาร่วมกันของไทย-พม่า พัฒนาเป็นเส้นทางสายการท่องเที่ยวอีกด้วย ซึ่งหากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงจะเป็นประโยชน์ในการขนส่งสินค้าต่างๆ เช่น สินค้าประเภทพลังงาน และสินค้าในภาคส่วนการเกษตร ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการค้าระหว่างสองประเทศ ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่ง และเพิ่มศักยภาพทางการค้าระหว่างสองประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 87, 88, 89 ... 489, 490, 491  Next
Page 88 of 491

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©