View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
siriwadhna
3rd Class Pass
Joined: 05/10/2009 Posts: 126
|
Posted: 20/04/2010 10:29 pm Post subject: Re: .. |
|
|
grandtuk wrote: | ผมว่า คนชอบรถไฟอย่างเราก็คงไม่อยากให้มีรางคู่ทั่วประเทศหรอกครับ
เพราะเดี๋ยวจะไม่มีบรรยากาศของการหลีก |
งั้นผมก็ขออนุรักษ์ราง 50 ปอนด์ด้วยครับ เพราะเดี๋ยวจะไม่ได้อารมณ์โยกเยกแบบสายแม่กลอง |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 21/04/2010 8:17 am Post subject: |
|
|
ตอบอาจารย์คัมมินส์แบบนี้แล้วกันครับ ด้วยผมมีความรู้น้อย
(ภาพของผมอนุญาติให้เอาไปใช้ที่ไหนก็ได้ ตามสบายเลยครับ)
ปัญหาเรื่องการย้ายหรือขนถ่ายสินค้าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ปัญหาคือถ้าน้ำหนักบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ ที่รถรับได้ล่ะ ? รถยาวกว่าที่กำหนดไว้ล่่ะ ? รับรองว่ามีแน่ๆ เพราะฉะนั้น เราควรทำ น้ำหนักเพลา(น้ำหนักที่กดลงรางของแต่ล่ะเพลา เช่น Hitachi หนัก 90 ตัน มี 6เพลา ก็ 15ตัน) ให้เท่ากับจีน ไม่ว่าจะใช้ราง 1 หรือ 1.435 เพื่อจะได้ขนสินค้าได้อย่างสะดวก และ ต้นทุนทำน้ำหนักเพลาให้ได้ 25ตัน ในราง 1เมตร ราคาก็พอๆ กับ ราง 1.435(กรณีทำรางใหม่ ไม่ใช่อัพเกรดจาก 15ตัน) แบบนี้เราทำ 1.435 ไปเลยไม่ดีกว่ารึ ไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้า เปลี่ยนหัวรถจักรพอ
อย่าลืม รางมาตราฐานในภูมิภาคบ้านเราคือ 1.000เมตร การจะเปลี่ยนรางเป็น 1.435 อาจจะไม่เหมาะสมนัก แต่ถ้าอยากจะค้าข้ายกับจีนก็ควรเปลี่ยนครับ ส่วนความเร็วเป็นผลพลอยได้ ราง 1เมตร วิ่ง 130-140+รางคู่ ก็หรูมากแล้ว(ราง 1.435 ทั่วไปวิ่งกัน 160-200) ไม่จำเป็นต้องมีรถไฟความเร็วสูงหรอกครับ ค่าทำทางมันแพง ค่าตัวรถก็แพง _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44041
Location: NECTEC
|
Posted: 23/04/2010 3:53 pm Post subject: |
|
|
คมนาคมเร่งผุดศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟเพิ่มขีดความสามารถรองรับตู้สินค้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 เมษายน 2553 14:39 น.
วันนี้ (23 เม.ย.53) ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานการท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้า โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง และโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง(ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง
นายสมเกียรติ สลักคำ ผู้อำนวยการการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวถึง โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบังนั้น ขณะนี้ทางการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้บริษัทเอกชนศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรมและการเงินของโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งล่าสุดได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) หากได้รับความเห็นชอบ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือนพ.ค.นี้
ทางการท่าเรือจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างลานขนถ่ายสินค้า ในพื้นที่โซน 4 ซึ่งอยู่ระหว่างท่าเทียบเรือชุด Bและชุด C โดยมีพื้นที่สำหรับไว้รองรับจำนวน 600 ไร่ ในเบื้องต้นจะใช้ประมาณ 370 ไร่ โดยจพสำรองพื้นที่ไว้ 230 ไร่ นอกจากนั้นจะมีการติดตั้งรางรถไฟลักษณะเป็นพวงรางจำนวน 6 ราง แต่ละรางมีความยาวในช่วง 1,275-1,725 เมตร ซึ่งสามารถจอดขบวนรถไฟที่บรรทุกตู้สินค้าขบวนละ 34 แคร่ ได้รางละ 2 ขบวน รวม12 ขบวนในเวลาเดียวกัน พร้อมติดตั้งเครื่องมือยกตู้สินค้าที่สามารถคร่อมรางรถไฟทั้ง 6 ราง โดยจะมีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้ถึง 2.0 ล้านทีอียู/ปี
นายสมเกียรติ กล่าวถึงงบประมาณในการก่อสร้างนั้น แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก งบในการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท รองรับตู้สินค้าได้ 1.0 ล้านทีอียู/ปี และในระยะที่ 2 ใช้งบประมาณจำนวน 144 ล้านบาท โยจะสามารถรองรับตู้สินค้าได้ถึง 2.0 ล้าน ทีอียู โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน 684 ล้านบาท
นอกจากนั้นจะต้องจัดหาระบบเครื่องมือยก เช่น รถเครน ,รถคานล้อยาง ,รถหัวลาก ซึ่งจ้ะองใช้งบประมาณอีกกว่า 1,500 ล้านบาท โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย จะเป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ ส่วนในอนาคตหากสามารถหาภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการโดยบริหารโดยการท่าเรือแล้ว ทางภาคเอกชนจะต้องหาอุปกรณ์เครื่องมือบางอย่างมาเสริม
เช่น รถหัวลาก-หางลาก โดยโครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ปี เริ่มในปีงบประมาณ 2553-2555 นี้ ซึ่งหากโครงการในระยะที่ 1 และโครงการในระยะที่ 2 แล้วเสร็จสมบูรณ์ จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,025 ล้านบาท
นายสมเกียรติ กล่าวถึงในส่วนของโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง(ท่าเทียบเรือA) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง นั้น ปัจจุบันการกระจายสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบังไปยังพื้นที่ต่างๆนั้น ใช้รูปแบบการขนส่งทางถนน ซึ่งถือว่าเป็นการสิน้เปลืองพลังงานและมีผลกระทบต่อชุมชนและสภาพแวดล้อม
ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ไม่มีท่าเทียบเรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ ทำให้เรือชายฝั่งต้องเข้าเทียบที่ท่าเทียบเรือระหว่างประเทศ เพื่อขนถ่ายตู้สินค้าส่งออกขึ้นท่า และในบางท่าเทียบเรือดังกล่าวก็ไม่รับเขาเทียบท่า จึงเกิดปัญหาขึ้น ที่สำคัญมีต้นทุนเรือคอยเทียบท่าที่สูงด้วย ดังนั้นท่าเรือแหลมฉบังจึงมีโครงการดังกล่าวเรือรองรับเรือชายฝั่ง เพราะแนวโน้มในอนาคตจะมีความต้องการขนส่งสินค้าทางเรือชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายเกื้อกูล กล่าวว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า ของโครงการการพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง และ โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง(ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง นั้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้จะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2555 โดยจะเร่งรัดอย่างไรให้แล้วเสร็จในช่วงกลางปี 2555 เพื่อให้สอดรับกับการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ และลดต้นทุนในการขนส่งด้วย
ส่วนโครงการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ A นั้น เพื่อให้เป็นท่าเรือชายฝั่งที่สมบูรณ์และใช้ท่าเรือชายฝั่งอย่างเต็มที่พร้อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า |
|
Back to top |
|
|
unique
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/09/2006 Posts: 258
Location: กทม.
|
Posted: 23/04/2010 7:52 pm Post subject: |
|
|
ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า แม้รางบ้านเราจะเป็นแบบ 1 ม. แต่ทางจีนเป็นราง 1.435 ม.
แต่ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งสินค้าในกรณีที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ครับ ผมมีแนวคิด
(หากซ้ำกับสมาชิกท่านใดต้องขออภัยด้วยครับ)มีที่มาจากเครนที่โหลดตู้คอนเทนเนอร์
ลงหรือขึ้นเรือครับ ก็คือถ้าเราวางรางแบบ 1 ม.ขนานกับราง 1.435 ม.แล้วมีเครนที่คร่อม
รางทั้งสอง มีเครน 1 ชุดต่อ 1 คันโดยที่เครนสามารถเคลื่อนที่ตามแนวความยาวของ
รางได้ด้วยเผื่อกรณีที่ความยาวของช่วงคันไม่เท่ากัน การขนย้ายก็แค่ยกตู้คอนเทนเนอร์
จากรางหนึ่งไปคันปฏิเสธ(คันเปล่า)อีกรางหนึ่ง ซึ่งสามารถย้ายทั้งขบวนได้คราว
เดียวกัน หรืออาจเว้นที่ว่างด้านข้างรางโดยยังเป็นที่ที่เครนคร่อมอยู่เพื่อใช้เป็นที่พักตู้
คอนเทนเนอร์ เพื่อที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์ในคราวเดียวกันดัวยครับ |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 23/04/2010 8:03 pm Post subject: |
|
|
unique wrote: | ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า แม้รางบ้านเราจะเป็นแบบ 1 ม. แต่ทางจีนเป็นราง 1.435 ม.
แต่ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งสินค้าในกรณีที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ครับ ผมมีแนวคิด
(หากซ้ำกับสมาชิกท่านใดต้องขออภัยด้วยครับ)มีที่มาจากเครนที่โหลดตู้คอนเทนเนอร์
ลงหรือขึ้นเรือครับ ก็คือถ้าเราวางรางแบบ 1 ม.ขนานกับราง 1.435 ม.แล้วมีเครนที่คร่อม
รางทั้งสอง มีเครน 1 ชุดต่อ 1 คันโดยที่เครนสามารถเคลื่อนที่ตามแนวความยาวของ
รางได้ด้วยเผื่อกรณีที่ความยาวของช่วงคันไม่เท่ากัน การขนย้ายก็แค่ยกตู้คอนเทนเนอร์
จากรางหนึ่งไปคันปฏิเสธ(คันเปล่า)อีกรางหนึ่ง ซึ่งสามารถย้ายทั้งขบวนได้คราว
เดียวกัน หรืออาจเว้นที่ว่างด้านข้างรางโดยยังเป็นที่ที่เครนคร่อมอยู่เพื่อใช้เป็นที่พักตู้
คอนเทนเนอร์ เพื่อที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์ในคราวเดียวกันดัวยครับ |
เรื่องย้ายไม่ใช่เรื่องใหญ่ครับ แต่เรื่องน้ำหนักเพลา เรื่องใหญ่เลย _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
unique
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/09/2006 Posts: 258
Location: กทม.
|
Posted: 23/04/2010 8:48 pm Post subject: |
|
|
nop2 wrote: | unique wrote: | ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า แม้รางบ้านเราจะเป็นแบบ 1 ม. แต่ทางจีนเป็นราง 1.435 ม.
แต่ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งสินค้าในกรณีที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ครับ ผมมีแนวคิด
(หากซ้ำกับสมาชิกท่านใดต้องขออภัยด้วยครับ)มีที่มาจากเครนที่โหลดตู้คอนเทนเนอร์
ลงหรือขึ้นเรือครับ ก็คือถ้าเราวางรางแบบ 1 ม.ขนานกับราง 1.435 ม.แล้วมีเครนที่คร่อม
รางทั้งสอง มีเครน 1 ชุดต่อ 1 คันโดยที่เครนสามารถเคลื่อนที่ตามแนวความยาวของ
รางได้ด้วยเผื่อกรณีที่ความยาวของช่วงคันไม่เท่ากัน การขนย้ายก็แค่ยกตู้คอนเทนเนอร์
จากรางหนึ่งไปคันปฏิเสธ(คันเปล่า)อีกรางหนึ่ง ซึ่งสามารถย้ายทั้งขบวนได้คราว
เดียวกัน หรืออาจเว้นที่ว่างด้านข้างรางโดยยังเป็นที่ที่เครนคร่อมอยู่เพื่อใช้เป็นที่พักตู้
คอนเทนเนอร์ เพื่อที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์ในคราวเดียวกันดัวยครับ |
เรื่องย้ายไม่ใช่เรื่องใหญ่ครับ แต่เรื่องน้ำหนักเพลา เรื่องใหญ่เลย |
คงเข้าใจผิดกันนิดนึงครับ ผมต้องขอโทษด้วยครับที่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องน้ำหนักนะครับ
ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าบตท.ที่รับคอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตได้มีน้ำหนักรถเปล่าเท่าไหร่?
แต่มาตรฐานน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์เปล่า(empty weight)และน้ำหนักรวมสูงสุด
(maximum gross mass)สามารถดูได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Intermodal_freight_shipping_container
หัวข้อSpecificationsครับ |
|
Back to top |
|
|
nop2
2nd Class Pass (Air)
Joined: 06/03/2008 Posts: 985
Location: เพชรบุรี
|
Posted: 23/04/2010 9:16 pm Post subject: |
|
|
ถ้าดูจากตารางแล้ว แปลว่า 1หน่วยและสองหน่วย หนักได้ 30ตันกว่าๆ
ซึ่ง ตู้เดียว 1 หน่วย/คัน ไม่ว่า 20 หรือ 40 จะไม่มีปัญหาเท่าไร เพราะน้ำหนักยังอยู่ในเกณห์ แต่ถ้าเจอ 20ฟุต สองหน่วยเมือไร มีสิทธิ์เกินครับ
อันนี้อย่าว่าผมเลยนะครับ จากการที่เพื่อนทำการค้ากับคนจีน เพื่อนผมบอกเลยว่าคนจีน ต้องระบุให้ละเอียดสุดๆ ไม่งั้น อาจจะโดนโกงได้ (อยากรู้อะไร PM มาถามผมเรื่องสินค้าจีนเอานะครับ) หรือมาคุยใน MSN ก็ได้นะครับ _________________ "You are star I am darkness Our love brighter than the sun .." |
|
Back to top |
|
|
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/03/2006 Posts: 3294
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง
|
Posted: 23/04/2010 9:59 pm Post subject: |
|
|
คุณ nop2 ครับ ผมว่าอย่าห่วงเรื่องประเด็นน้ำหนักตู้คอนเทนเนอร์นักเลย
ย้อนไปที่ประเด็นน้ำหนัก 30 ตัน ของตู้คอนเทนเนอร์ก่อน ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าตู้คอนเทนเนอร์ตามความหมายที่เราเข้าใจกันนี้ ถูกกำหนดมาตรฐานมาจากระบบการขนส่งสินค้าทางเรือ ดังนั้นน้ำหนักตรงนี้จึงเป็นค่ามาตรฐานกลางที่เกี่ยวข้องกับขีดความสามารถของเครนที่ท่าเรือ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นตู้ขนาด 20 ฟุต หรือ 40 ฟุต ก็จะมีค่ามาตรฐานสูงสุดบังคับไว้เท่ากัน เพราะถึงอย่างไรเครนก็ยกได้ทีละตู้อยู่แล้ว
ประเด็นต่อมาก็คือ แม้ว่าตู้คอนเทนเนอร์จะมีพิกัดน้ำหนักรวมสูงสุดไว้ที่ 30 ตัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตู้คอนเทนเนอร์ทุกตู้จะมีน้ำหนัก 30 ตัน บางตู้บรรจุสินค้าน้ำหนักเบา หรือบางตู้ก็มีสินค้าไม่เต็มตู้ เพราะฉะนั้นคงต้องดูเป็นตู้ๆไปครับ
เอาล่ะ สมมุติว่ามีตู้คอนเทนเนอร์ ที่มีน้ำหนักตู้ละ 30 ตัน ส่งเข้ามาในบ้านเราจริง ตู้ 40 ฟุตนี่ บทต. บ้านเราวางได้ตู้เดียวอยู่แล้ว คุณก็เลยไม่ห่วง แต่คุณไปห่วงตรงตู้ 20 ฟุต
v
v
ปุจฉา มีกฎข้อใดหรือไม่ที่บังคับว่า สำหรับรถ บทต. 1 คัน แล้ว ถ้าจะบรรทุกตู้ขนาด 20 ฟุต แล้ว จะต้องบรรทุกทั้ง 2 ตู้
คุณ nop2 ลองเอาไปคิดต่ออีกที่ครับ
หมายเหตุส่งท้ายอีกนิดนึง ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจสิ่งที่ อ.กิตติได้บอกไว้กับคุณ
v
ผมเข้าใจนะว่าคำว่า "น้ำหนักเพลา" ที่คุณใช้อยู่นั้น คุณหมายถึงอะไร หลายคนก็คงเข้าใจ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะเข้าใจ ลองกลับไปค่อยๆ อ่าน reply ของ อ.กิตติอีกครั้ง ดูว่า อ.กิตติ ใช้คำว่าอะไร แล้วลองค่อยๆคิดและแปลความหมายของคำให้ดีๆ จะว่าไปนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกนะที่ อ.กิตติ ท้วงติงคุณสำหรับคำๆนี้ แต่ดูเหมือนคุณจะไม่ได้รับสารที่ส่งมาเลย ก็อยากให้ใช้คำที่ถูกต้องนะ คนภายนอกที่เข้ามาหาความรู้จะได้ไม่เข้าใจอะไรที่คลาดเคลื่อน
ไม่ได้ตำหนิอะไรนะ แต่อยากให้มีสติและคิดอะไรให้รอบด้านนิดนึง |
|
Back to top |
|
|
kikoo
1st Class Pass (Air)
Joined: 01/02/2010 Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง
|
|
Back to top |
|
|
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 24/04/2010 8:45 am Post subject: |
|
|
kikoo wrote: | ^
ถ้าลองเพิ่มล้อให้ บทต. ล่ะครับ? จากเดิม8ล้อ เป็น12ล้อ ให้น้ำหนักกดเพลาน้อยลง
ล้อยิ่งเยอะ น้ำหนักที่กดลงเพลาน่าจะน้อยกว่าเดิม
(คิดเล่นๆเอานะครับ อย่าเครียด) |
แล้วปัญหาที่ตามมาคือ รัศมีโค้งของทางกับ รัศมีวงเลี้ยวของแคร่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากจำนวนเพลาที่เพิ่มขึ้น ในหนึ่งแคร่
ส่งผลต่อรางที่เป็นทางโค้งและประแจต้องปรับแก้ ทั้งประเทศ
จะเอาตังค์ที่ไหนมาทำหละครับ แค่รีแฮบทางยังทำได้ไม่ครบทั้งประเทศเลย
ก็ คิดเล่น ๆ แบบไม่เครียด น่อ
ส่วนการเชื่อมต่อระหว่างทางกว้าง 1.0 เมตร กับ 1.435 เมตร ฝากไปดูกระทู้บทความของ อ.นคร เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง ในส่วนของคุณโคบายาชิ ซิครับ
การเปลี่ยนแคร่มีภาพของทาง จาก 1.435 มาเป็น ทาง 1.0 ส่วนการยกตัวรถออกจากแคร่ ก็ใช้ jacklift เป็นตัวช่วย โดยที่ไม่ต้องยกสินค้าลงมาจากตัวรถ หรือจะยกสินค้าออกจากแคร่เดิม ไปแคร่ใหม่ โดยใช้เครน
สุดท้าย ระหว่างทางกว้าง 1.0 เมตร กับ 1.435 เมตร ที่ต้องกลับมาทบทวนคือเขตโครงสร้างของตัวรถ ที่ไม่เท่ากัน การปรับเปลี่ยน สิ่งที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย บนทางเดิม ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เอาการไม่น้อย
แต่ถ้าจะแยก ทางขนาด 1.435 ออกมาเป็นอีกระบบหนึ่ง ก็เท่ากับว่านับหนึ่งใหม่ทั้งระบบที่สำคัญ การลงทุนเวณคืนที่ดิน เพื่อรองรับกับระบบใหม่นี้ มันคุ้มค่าหรือไม่ เมือ่เทียบกับขอเดิมที่เดินหน้า "กู้" มาปรับปรุง เป็นเงินหลายหมื่นล้าน เนี่ย
ในส่วนนี้ให้ คิดเล่น ๆ แบบไม่เครียด กับการที่นำภาษีคนทั้งประเทศมาใช้ไม่คุ้มค่า หรือไม่ แล้วของเดิมจะเอาไว้ไหน หละเนี่ย |
|
Back to top |
|
|
|