View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44041
Location: NECTEC
|
Posted: 26/04/2010 3:13 am Post subject: |
|
|
สคร.-คมนาคม เตรียมชง ครม.คลอดรถไฟรางคู่-ความเร็วสูง8แสนล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 เมษายน 2553 22:21 น.
ชงแผนพัฒนา"รฟท."ถก ครม.เศรษฐกิจ
เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 26 เมษายน 2553 เวลา 3:00 น
สคร.เดินหน้าพัฒนาระบบราง ชง ครม.สร้างรถไฟรางคู่-ความเร็วสูง มูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท ครม. เศรษฐกิจพิจารณา ประเดิมรถไฟรางคู่ 1.76 แสนล้านบาท ก่อนชงครม.ใหญ่พิจารณาภายใน 1-2 สัปดาห์ พร้อมตั้งเป้าปี 53 ทำกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์ขนาด 2 หมื่นล้านให้ได้ หลังมีทั้ง ปตท. การทางฯ และเอกชนที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐให้ความสนใจแนวทางนี้มากขึ้น ด้าน สศช.ได้ฤกษ์เสนอ ครม.เศรษฐกิจพิจารณาแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท.วงเงิน1.71 แสนล้านบาท คมนาคมฝันเดินหน้าตามกรอบปฎิรูประบบรถไฟตามแผนปี 53-57 ผุดทางคู่ 6 เส้นทาง
นางสาวสุภา ปิยะจิตติ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นโยบายของสคร.ในปีนี้จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่ง โดยเฉพาะความร่วมมือในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางคู่และระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อลดระยะเวลาในการขนส่งและเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเบื้องต้นในส่วนของรางไฟรางคู่จะมีการนำเข้าไปพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เศรษฐในวันนี้(26 เมษายน 2553) และหลังจากนั้นประมาณ 1-2 สัปดาห์จะนำเข้าไปพิจารณาในคณะรัฐมนตรีใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ เม็ดเงินที่คาดว่าจะนำมาใช้ในการดำเนินงานจะมาจาก 2 แนวทางด้วยกันคือ การร่วมทุนกับภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ(แบบ ppp)และการระดมทุนผ่านกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์ โดยแบ่งเป็นงบประมาณการก่อสร้างระบบรถไฟรางคู่จำนวน 1.76 แสนล้านบาท และระบบรถไฟความเร็วสูงจำนวน 7 แสนล้านบาท
สำหรับแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงจะประกอบด้วย 4 เส้นทางคือ
1 กรุงเทพ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร มูลค่า 149,600 แสนล้านบาท
2 กรุงเทพ- เชียงใหม่ระยะทาง 745 กิโลเมตร มูลค่า 184,355 ล้านบาท
3กรุงเทพ- จันทบุรี ระยะทาง 330 กิโลเมตร มูลค่า 103,320 แสนล้านบาท
4.กรุงเทพ- ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 985 กิโลเมตร มูลค่า 271,600 แสนล้านบาท
"เส้นทางเบื้องต้นที่คาดว่าจะดำเนินการได้ก่อนคงจะเป็นจากกรุงเทพไปปาดังเบซาร์ เพราะมีกำลังซื้อ และผู้โดยสารที่มีกำลังซื้อจำนวนสูง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะทำการเชื่อมต่อไปในเส้นทางของประเทศจีนและ อินโดนีเซียในอนาคตอีกด้วย"
อย่างไรก็ตามในส่วนของการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่าวลงทุน คงจะต้องชะลอออกไปก่อนเนื่องจากติดปัญหาด้านความวุ่นวายทางการเมือง โดยปัจจุบันได้มีความเห็นชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการที่มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลังเข้ามาดูแลในด้านนี้โดยเฉพาะขณะที่แนวทางการระดมเงินผ่านกองทุนอินฟาร์สตรัคเจอร์จะดำเนินการโดยการนำเอา รายได้ของรัฐวิสาหกิจมาเป็นแบคอัพในการออกตราสารหนี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณากับทางคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และน่าจะมีความคืบหน้าในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ก่อนจะเปิดรับฟังความคิดเห็นได้
"คงต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้ก่อน แต่ทางสคร.เองจะพยายามจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ให้ได้ 1-2 โครงการภายในปีนี้ โดยมีขนาดกองทุนอยู่ทีประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้นอกจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแล้ว ยังมีเอกชนที่ได้รับสัมปทาน จากภาครัฐให้ความสนใจแนวทางนี้ ร่วมถึงปตท. การประปา และการทางแห่งประเทศไทยด้วย"
อย่างไรก็ตามในส่วนการจัดตั้งกองทุนนี้ยังจำเป็นที่จะต้องของความเห็นจากก ฤษฏีกาในการตีความว่าเป็นไปตามพ.ร.บ.การร่วมทุนหรือไม่
ด้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมครม.เศรษฐกิจ วันนี้ที่ 26 เม.ย.นี้ ที่ประชุมฯ จะมีการพิจารณาแผนฟื้นฟูของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 171,000 ล้านบาท ตามที่สำนัก
งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากครม.เศรษฐกิจแล้วจะเสนอแผนต่อ ครม.ในการประชุมวันที่ 27 เม.ย.2553 ทันที โดยตามขั้นตอนหลังครม.เห็นชอบแผนดังกล่าว กระทรวงคมนาคม
จะหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อจัดสรรในเรื่องงบประมาณและแหล่งเงินในการดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.
โดยแผนฟื้นฟูร.ฟ.ท. มีเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน 4 เรื่อง ตามแผนดำเนินการการปฏิรูประบบรถไฟเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในปี 2553-2557 ประกอบด้วย
1.งานโยธา วงเงิน 51,124 ล้านบาท
2.งานระบบอาณัติสัญญาและโทรคมนาคม วงเงิน 23,750 ล้านบาท
3. งานจัดหารถจักรและล้อเลื่อน วงเงิน 12,061 ล้านบาท และ
4.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงิน 66,110 ล้านบท ซึ่งประกอบด้วย
4.1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 7,860 ล้านบาท
4.2.สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 11,640 ล้าบาท
4.3.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 13,010 ล้านบท
4.4.สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 16,600 ล้านบาท และ
4.5. สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,000 ล้านบท และ
5. สศช.ได้ให้ร.ฟ.ท.บรรจุโครงการเพิ่มเติม อีก 3 โครงการ วงเงินรวม 18,414.356 ล้านบท ลงไปในแผนดังกล่าว ประกอบด้วย
5.1. โครงการก่อสร้างระบบรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348.356 ล้านบาท
ซึ่งเป็นโครงการตามแผนที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ จำนวน 5 เส้นทาง
5.2.โคงการก่อสร้างโรงซ่อมวงเงิน 1,359.87 ล้านบาท และ
5.3.โครงการก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (Inland Container Depot : ICD) แห่งที่ 2 วงเงิน 6,066 ล้าบาท เพิ่มเข้าไปอีกด้วย
สรุปแนวทางคู่สายเหนือและอีสาน
นายสุพจน์ กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางสายอีสานช่วงมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร และสายเหนือลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 118 กิโลเมตรนั้น ก่อนหน้านี้มีบัญหาในการเลือกแนวสายทาง อาจกระทบต่อการทำความเร็ว ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้หารือและสรุปแนวทางแก้ไขแล้ว โดยสาย มาบกะเบา-นครราชสีมานั้นจะใช้แนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากแนวเส้นทางเดิมนั้นมีความคดเคี้ยวและมีความลาดชันสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทำความเร็วของรถไฟ
โดยแนวเส้นทางใหม่ ที่ต้องปรับแก้โดยบางช่วงต้องผ่านพื้นที่เขตป่าสงวนประเภทป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ซึ่งมีความจำเป็นต้องระเบิดภูเขาบางส่วนเพื่อก่อสร้างแบบ Open Cut หรือบริเวณที่ต้องผ่านหุบเขาก็จะต้องมีการถมคันทางสูงหรือทำเป็นโครงสร้างยกระดับส่วนในบริเวณที่ผ่านภูเขาแต่ไม่สามารถเบี่ยงแนวเส้นทางได้ก็จำเป็นต้องก่อร้างเป็นอุโมงค์เข้าไป โดยในการปรับปรุงการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวที่อยู่ในเขตป่าสวนนั้น กระทรวงคมนาคมจะมีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงต่อไป
ส่วนเส้นทางสายลพบุรี-นครสวรรค์ นั้น ได้ข้อสรุปว่า จะมีการปรับแนวเส้นเพื่อเลี่ยงเขตเมืองเก่าลพบุรีซึ่งเป็นแนวเส้นทางรถไฟเดิม ซึ่งโบราณสถานห่างจากแนวเขตทางรถไฟประมาณ 20 เมตร ไม่สามารถดำเนินการขยายเขตทางได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับแนวทางเพื่อเลี่ยงเขตเมืองอกไป โดยระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร รวมทั้งจะมีการก่อร้างสถานีเพิ่ม 1 สถานีในส้นทางดงกล่าวด้วย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 26/04/2010 9:49 am Post subject: |
|
|
ลองคิดกันเล่นๆ ว่า เส้นทางรถไฟเลี่ยงเมืองลพบุรี ควรจะไปทางใด ? ด้านทิศตะวันออก หรือตะวันตก
สายมาบกะเบา - นครราชสีมา คิดได้ค่อนข้างละเอียดครับ เกี่ยวกับพื้นที่ป่าต้นน้ำ ทั้งๆ ที่มีเขตทางรถไฟกำหนดไว้ตั้งแต่รัชสมัย ร.5 อยู่แล้ว ไม่นำมาพิจารณาประกอบบ้างหรือ ?
แต่บนเขาดงพญาเย็นมีบ่อวัตถุดิบของโรงปูนซีเมนต์อยู่หลายแห่ง เขาทำได้อย่างไร ?
ไม่อยากชวนวิวาท ไปล่ะครับ
Last edited by black_express on 26/04/2010 10:01 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47410
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/04/2010 10:01 am Post subject: |
|
|
ความเห็นผม คงต้องเป็นด้านตะวันออกครับ
ด้านตะวันตกของเมืองลพบุรี เป็นลุ่มน้ำ ชุมชนโบราณและพื้นที่เกษตรกรรม
ถ้าสร้างทางรถไฟผ่านจะส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้งบประมาณการก่อสร้างสูงครับ |
|
Back to top |
|
|
milkonline
2nd Class Pass (Air)
Joined: 02/07/2009 Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี
|
Posted: 26/04/2010 10:04 am Post subject: |
|
|
สงสัยคงต้องอ้อมไปทางตะวันออก
อาจไปแถวๆ ท่าวุ้ง เป็นทุ่งนาซะส่วนมาก
ทางตะวันออก เป็นเมืองที่เกิดขึ้นตามถนนไปหมดแล้ว ชุมชนหนาแน่น แถวของชุมชนยาวไปถึงดงจำปาและมีออกไปอีกเรื่อยๆ และก็มีถนนพหลโยธิน คงต้องทำ Overpass
คิดเล่นๆว่า น่าจะสามารถสร้างสถานีสับเปลี่ยนทางตอนเหนือของวัดป่าธรรมโสภณได้ (ช่วงเลยสะพานดำไปหน่อย) แล้วไปเริ่มทางคู่ต่อตรงนั้น แต่มันก็จะดูเป็นคอขวดช่วง ศาลพรกาฬ-วัดป่า รึเปล่า? _________________ N-Scale model train lovers.
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 26/04/2010 10:15 am Post subject: |
|
|
ผมเข้าใจว่าด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองลพบุรี จะเป็นเขตทหารครับ ตั้งหลายหน่วยงานด้วยสิ โดยเฉพาะค่ายพหลโยธิน กองบินทหารบก และโรงพยาบาลอนันทมหิดล
จะมีแนวทางแคบๆ ให้เลือกอีกเส้นทางหนึ่ง คือบนคันคลองชลประทานสายใหญ่ ชัยนาท - ป่าสัก ซึ่งผ่านชุมชนเมือง และรื้อถนนเดิมออก ก็เป็นไปได้ยาก
ต้องคิดหาแนวทางกันใหม่แล้วล่ะ |
|
Back to top |
|
|
Tohoku_Line
3rd Class Pass
Joined: 08/04/2010 Posts: 193
Location: Bangkok/Ubonratchathani
|
Posted: 26/04/2010 12:18 pm Post subject: |
|
|
อืมมมมม
รถไฟความเร็วสูง ไม่มีโครงการสายอุบลราชธานีอีกแล้ว
อย่างรู้จังเลยครับ ว่าทำไมเส้นทางนี้จึงไม่มีอยู่ในแผน
ทั้งที่ปริมาณการโดยสารเส้นทางนี้ก็ไม่ใช่น้อยๆ
แม้หลายท่านอาจจะบอกว่าจะเยอะก็เยอะแค่ชั้นสาม
แต่ผมก็มองว่าเส้นทางนี้ก็มีปริมาณการโดยสารของรถชั้นสองขึ้นไปมากกว่าบางสายด้วยซ้ำ
ถ้าจะไม่มีโครงการรถไฟความเร็วสูง ก็ขอรถไฟทางคู่กับรถโดยสาร รถจักรดีๆมาวิ่งสักหน่อยละกันครับ
อย่าได้ละเลยกันนักเลย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 26/04/2010 12:41 pm Post subject: |
|
|
ข่าวก็คือข่าว อย่าเพิ่งไปจริงจังอะไรเลยครับ |
|
Back to top |
|
|
headtrack
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/05/2009 Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
|
Posted: 26/04/2010 1:19 pm Post subject: |
|
|
เอ...เกี่ยวกับแนวทางเลี่ยงเมืองลพบุรี กระผมเคยนำภาพลงครั้งหนึ่งแล้วนี่นา...
ที่สำคัญเคยมีโครงการมาครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว แต่ลงทุนมากและรัฐบาลสมัยนั้นแจ้งว่ากระทบผังเมืองรวมเลยต้องพับขึ้นหิ้งไป
1. หากเลี่ยงเมืองไปทางตะวันออก ระยะทางน่าจะสั้นกว่า ลงทุนมากกว่าเพราะต้องยกระดับ/ข้ามคลอง ต้องขอที่หน่วยงานอื่น/ใช้แนวคลองชลประทานบ้าง
ทำได้แค่ย่านโดยสาร ย่านสินค้าสร้างใหญ่ไม่ได้ ข้อดี: ผู้ใช้บริการยังสามารถเดินทางมาขึ้นรถไฟได้ไม่ไกลมาก อาจต้องปันประโยชน์ให้เจ้าของพื้นที่
คุ้มหรือไม่ต้องประเมินเอง...
2. เลี่ยงเมืองไปทางตะวันตก ไปทางท่าวุ้ง สร้างง่ายกว่า ระยะทางยาวกว่า ต้องเวนคืนที่ดินพื้นที่เกษตรกรรม อาจต้องยกเลิกสถานีท่าแค
แต่สร้างย่านใหญ่เท่าไรก็ได้ ข้อเสีย: ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าสถานีใหม่อยู่นอกเมือง งานนี้รถตู้ลพบุรีที่การแข่งขันเข้มข้นเอาส่วนแบ่งการโดยสารไปกินแน่ๆ... _________________
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47410
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 26/04/2010 2:42 pm Post subject: |
|
|
วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:04:02 น. มติชนออนไลน์
ครม.เศรษฐกิจอนุมัติแผนปรับโครงสร้าง-ลงทุนร ฟท. 1.9 แสนล้าน
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 เมษายน ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ)วันนี้ ได้มีมติเห็นชอบแผนการปรับโครงสร้างองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในระยะ 5 ปี และเห็นชอบในหลักการของแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน รฟท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วงเงินลงทุนรวม 195,820.50 ล้านบาท แบ่งออกเป็น แผนการลงทุนในส่วนของรฟท. จำนวน 176,808 ล้านบาท ได้แก่
1.แผนงาน/โครงการที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที จำนวน 11 รายการ วงเงินลงทุนรวม 87,529 ล้านบาท
2.โครงการที่จะต้องดำเนืนการศึกษาความเหมาะสมและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่ง แวดล้อม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นรายโครงการ จำนวน 10 โครงการ วงเงินลงทุนรวม 89,279 ล้านบาท รวมทั้ง
3.แผนการลงทุนก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท จำนวน 114 แห่ง วงเงินลงทุน 19,012.50 ล้านบาท |
|
Back to top |
|
|
Cummins
2nd Class Pass
Joined: 28/03/2006 Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา
|
Posted: 27/04/2010 12:25 am Post subject: |
|
|
อย่าว่างั้นงี้เลยเมื่อตอนหัวค่ำดูข่าวช่องไหนไม่รู้จำไม่ได้แล้วล่ะ จีนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงแล้วล่ะ แต่เราคงไม่ต้อง "ขี้ตามช้าง" ก็ได้มั้งเพียงพอและพอเพียงของเดิม ๆ นี่แหละทำให้อย่างเดิมเมื่อ 20 ปีที่แล้วสมัยที่ผมเคยฝึกงานเป็นช่างเครื่องก็พอแล้วล่ะ น้อง ๆ ที่มาทีหลัง หรือเกิดหลังปี 2530 ลอง ๆ ไปอ่านในหลาย ๆ กระทู้ดูครับ ไม่ว่า จะเป็นเรื่อราวของโชเฟอร์ล้อเหล็กของผม เรื่องของตั๋วแข็ง และเพื่อนพ้องของตั๋วแข็งของ อ.ตุ๊ย ก็จะรู้ครับว่า เมื่อ 20-23 ปีที่แล้วรถไฟไทยเป็นอย่างไร แล้วจะรู้ว่า รถด่วนดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพ-พิษณุโลก-กรุงเทพ ออกจากกรุงเทพ 11.45 น. แล้วถึงพิษณุโลก 17.00 เป๊ะน่ะเค้าขับกันยังไงใช้ความเร็วเท่าไร หรือรถเร็ว 59 กรุงเทพ-เด่นชัย สมัยนั้น ที่ออกจากกรุงเทพ 06.40 น. แล้วถึงพิษณุโลกประมาณบ่ายสองโมง เค้าวิ่งกันเฉลี่ยเท่าไร ในขณะที่ทางสมัยนั้นจากบ้านภาชีขึ้นมาเป็นราง 70 ปอนด์หมอนไม้ครับ......... _________________ อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก |
|
Back to top |
|
|
|