View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 08/01/2007 1:43 pm Post subject: รฟท.เปิดเอกชนเช่าใช้รางขนส่งสินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบัง |
|
|
รฟท.เปิดเอกชนเช่าใช้รางขนส่งสินค้าเข้าท่าเรือแหลมฉบัง
8 มกราคม 2550 12:01 น.
นายจุฬา สุขมานพ โฆษกกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุม เรื่องรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ ว่า ที่ประชุมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จัดแผนโลจิสติกส์ ในส่วนการขนส่งระบบราง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า จากศูนย์ขนส่งและกระจายสินค้าในภูมิภาค เข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง
โดยรฟท.จะเปิดให้เอกชนเช่าใช้รางรถไฟของรฟท.ที่มีอยู่แล้ว เพื่อใช้ขนส่งสินค้าทางราง โดยให้เอกชนเป็นผู้จัดหาหัวรถจักรและแคร่เอง ซึ่งคาดว่าแต่ละขบวนจะใช้เงินลงทุนประมาณ 72 ล้านบาท ทั้งนี้เบื้องต้นรฟท.จะกำหนดให้เอกชนเช่าใช้รางรถไฟใน 2 เส้นทาง คือ เส้นนครสวรรค์ -ท่าเรือแหลมฉบัง และเส้นขอนแก่น-โคราช-แหลมฉบัง
นายจุฬา กล่าวว่า ทั้งนี้คณะกรรมการรฟท.จะจัดเตรียมแผนการต่างๆให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 เดือนหรือภายในเดือนก.พ. 2550 พร้อมทั้งหารือกับคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน หรือกกร.ว่ามีสมาชิกรายใดสนใจเช่าใช้บ้าง ซึ่งรฟท.เปิดกว้างสำหรับทุกราย คาดว่าดำเนินการได้เดือนมี.ค. 2550
// ----------------------------------------------------------------------------
ผมหล่ะกลัวที่สุดคือ การที่ให้เอกชนหารถมาเองก็คือ
1) ให้ออกค่าซ่อมรถจักรที่ รฟท. ท่านปลดประจำการแล้วเอาอะไหล่มายำ เพื่อเอาเป็นรถจักรคันใหม่
2) ออกค่าแปลงบตญ. บขต. บขส. และ บทค. เป็นบทต. ขนตู้คอนเทนเนอร์ จากปากน้ำโพ และ ขอนแก่น - โคราช ไปแหลมฉบัง
ถ้าซ่อมแปลงดีก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าลืมออกค่าซื้อชุดห้ามล้อลมอัด ให้ บตญ. บขต. เท่าที่ยังใช้ห้ามล้อลมดูด ก็ตัวใครตัวมันเวลาวิ่ง ช่วงแก่งคอย - ปากช่อง เองก็แล้วกันเด้ออ้าย
3) หารถจักร และ รถ บขต. จีนแดง หรือ อินเดีย มาใช้ ... ก็ต้องลุ้นเอาเองว่าจะมีโครงประธานร้าวหรือเปล่า ... ถ้าจะให้ดี มือ 2 ญี่ปุ่น ยังพอจะรับไหวกว่าน่อ |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 08/01/2007 2:04 pm Post subject: |
|
|
น่าจะให้ รฟท.ร่วมกับรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง หรือบริษัทขนส่งต่างๆ ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาบริหารงาน จะได้รับประโยชน์มากกว่า
ปล่อยเอกชนเข้ามาดำเนินการเองแล้ว คิดหรือว่า จะบริหารงาน หรืออำนวยความสะดวกตามที่เขาต้องการได้ ? เพราะเขาไม่สนใจหรอกว่าพิกัดทาง สภาพทาง รถจักร รถพ่วง จะสามารถรองรับได้ขนาดไหน ? เผลอๆ มีค่าน้ำร้อนน้ำชา ผลประโยชน์แฝงเข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกกับขบวนรถที่เขาบริหารเอง ใช้เส้นทางได้ก่อนผู้อื่น
พอใจแค่ค่าเช่าทางเท่านั้นหรือ ? |
|
Back to top |
|
|
pitch
2nd Class Pass
Joined: 14/07/2006 Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ
|
Posted: 08/01/2007 2:40 pm Post subject: |
|
|
คราวนี้คงได้เห็นรถจักรหน้าตาแปลกบ้างหละ
แต่อยากฟังเสียงฝ่ายเดินรถ กับฝ่ายช่างกลออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างจังเขาจะรู้สึอย่างไร |
|
Back to top |
|
|
CENTENNIAL
1st Class Pass (Air)
Joined: 30/03/2006 Posts: 3642
Location: Thailand
|
Posted: 08/01/2007 6:01 pm Post subject: |
|
|
เป็นรถจักรของบริษัท แต่พนักงานขับของการรถไฟ แบบนี้หรือเปล่าครับ
แล้วจะมีบริษัทไหน สนใจหรือครับ ในเมื่อเส้นทางยังไม่เป็นทางคู่ ตลอดเลย |
|
Back to top |
|
|
DIESELGTR
3rd Class Pass
Joined: 21/10/2006 Posts: 177
|
Posted: 09/01/2007 9:58 am Post subject: |
|
|
บางทีมันอาจจะดีก็ใด้นะครับ...เพราะเอกชนอาจจะมองเห็นจุดบกพร่องชัดเจนกว่าภายในก็ใด้นะครับอย่างน้อยก็รองรับโครงการต่างในอนาคตเหมือนเป็นการนำร่องและเรียนรู้ไปในตัว
แต่ว่าเรื่องผลประโยชน์เนี่ยแหละน้าที่ทำให้เรื่องดีๆกลายเป็นเรื่องร้ายๆใด้.....หว้า..แย่จัง |
|
Back to top |
|
|
shinoda
3rd Class Pass (Air)
Joined: 16/10/2006 Posts: 309
Location: พิจิตร
|
Posted: 12/01/2007 7:01 pm Post subject: ก.คมนาคมเตรียม 3 เส้นทางหลักนำร่องพัฒนาโลจิสติกส์ |
|
|
ข่าวเสริมจาก mcot.net ครับผม....
---------------------------------------------------------------------------------
ก.คมนาคมเตรียม 3 เส้นทางหลักนำร่องพัฒนาโลจิสติกส์
กรุงเทพฯ 12 ม.ค.-กระทรวงคมนาคมเตรียมทำ 3 เส้นทาง หลังพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ลดต้นทุนสินค้าไทย โดยเปิดให้เอกชนเช่าระบบรางเชื่อมทางบกและทางทะเล เน้นไปจุดขนส่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในระหว่างร่วมงานสัมมนา แนวโน้มโลจิสติกส์ไทยในปี 2550 ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (โลจิสติกส์) เพื่อให้ต้นทุนสินค้าของไทยต่ำแข่งขันได้กับคู่แข่ง โดยในขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อยู่ในระหว่างการยกร่างแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งจะมีการพัฒนาเส้นทางการขนส่งทางบกเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอินโดจีน การพัฒนาการขนส่งทางทะเลเชื่อมโยงทั้งฝั่งทะเลอันดามันและแปซิฟิก และการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าตามแนวการเชื่อมโยงเศรษฐกิจหรือ อีโคโนมิกส์ คอริดอร์
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีตัวอย่างการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ได้มอบหมายให้ สศช. ประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการพัฒนาโลจิสติกส์นำร่อง 4 โครงการ โดยเน้นการใช้ระบบรางบรรทุกสินค้าให้เกิดการเชื่อมต่อกับภาคการส่งออกที่ท่าเรือแหลมฉบัง ประกอบไปด้วย 1. การพัฒนาเส้นทางขนส่งระบบราง นครสวรรค์-แหลมฉบัง 2. การพัฒนาเส้นทางขนส่งระบบราง ขอนแก่น-โคราช-แหลมฉบัง 3. การพัฒนาเส้นทางขนส่งชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย-แหลมฉบัง และ 4. การให้เอกชนเข้าร่วมบริหารระบบรางกับภาครัฐ (จัดหาหัวรถจักร&แคร่)
ให้ รฟท.เป็นผู้ให้เช่าระบบราง และให้เอกชนเป็นผู้ซื้อหัวรถจักรและแคร่ต่าง ๆ มาดำเนินการบริหารเพื่อให้เกิดความคล่องตัว และ รฟท.ไม่ต้องเป็นผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะทำให้โครงการเกิดได้เร็วและส่งผลทำให้ต้นทุนสินค้าไทยถูกลง แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวงเงินลงทุนจะมีมากน้อยเท่าใด นายสรรเสริญ กล่าว.-สำนักข่าวไทย
[ 2007-01-12 : 13:22:15 ]
ที่มา : http://tna.mcot.net/search.php?type=3# _________________
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 13/01/2007 10:25 pm Post subject: |
|
|
ท่านรมช. สรรเสริญที่เคารพ ,
การที่ จะเร่งลอจิสติกแหลมฉบัง 4 ประการนี้ ผมมีคำถามจะถามท่านหนะว่า
Quote: | 1. การพัฒนาเส้นทางขนส่งระบบราง นครสวรรค์-แหลมฉบัง |
ถ้าท่านจริงใจที่จะทำเช่นนั้นจริงๆ ท่านก็เร่งทางคู่ ลพบุรี - นครสวรรค์ (112 กิโลเมตร) ให้สำเร็จโดยเร็ววันซึ่งไม่พ้นต้องให้หม่อมที่คุมพระคลังมหาสมบัติ ยืมเงินเจบิก หริอไม่ก็จีนแดงมาทำให้การนี้สำเร็จพร้อมกะรถจักรกำลังสูงไม่ต่ำกว่า 30-40 หัว
Quote: | 2. การพัฒนาเส้นทางขนส่งระบบราง ขอนแก่น-โคราช-แหลมฉบัง |
นี่ก็เช่นกัน เงินกู้สำหรับ ทางคู่ จากแก่งคอย - ปากช่อง - ไปถนนจิระ พร้อม Rehab ทาง ช่วง แก่งคอย - บัวใหญ่ และ ถนนจิระ - บัวใหญ่ - ขอนแก่น เพราะ ทางช่วงแก่งคอย - บัวใหญ่ โดนใช้งานเกินตัว จนรางหักเหล็กประกับรางหัก หมอนผุ ต่อหน้าต่อตามาหลายยกแล้ว ถ้าแถมหัวรถจักรอีก 50 หัว นอกเหนือจาก 30-40 หัว ก็วิเศษนัก
Quote: | 3. การพัฒนาเส้นทางขนส่งชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย-แหลมฉบัง |
นี่ก็คล้ายกรณีภาคเหนือ แต่หนักกว่าเพราะ ต้องเร่งทางคู่ ตั้งแต่นครปฐมยันสุราษฎร์ธานี แต่ ให้ดี ก็ถึงทุ่งสง พร้อม Rehab ทางช่วงทุ่งสง - หาดใหญ่ ด้วย ... แม้ที่จริงควร Rehab ทางจาก หาดใหญ่ ไป สุไหงโกลก เพื่อปกป้องแผ่นดินแผ่นดิน 3 จังหวัดภาคใต้ และ หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์เพื่อทำสงครามจิตวิทยากะมาเลย์ แต่ถ้าแพงจนเจ้าหนี้ขนหัวลุกก็ แค่ นครปฐม - ชุมพร ก่อนก็ได้ เพราะจำเป็นถึงขนาดจริงๆ กรณีนี้ รถจักรกำลังสูงเพิ่มอีก 20 หัว ก็พอ
Quote: | 4. การให้เอกชนเข้าร่วมบริหารระบบรางกับภาครัฐ (จัดหาหัวรถจักร&แคร่) |
กรณีนี้พึงระวังให้จงหนัก เพราะ เอกชนนักค้ากำไรเกินควร ท่านมักเอาหัวรถจักรเก่า และ บตญเก่า (เผลอๆรุ่นแคร่เพนซิลเนีย + ห้ามล้อลมดูด) มาใช้งาน กรณีต้องระวังอย่าให้เราเอารถจักรรถพ่วง โครงประธานร้าว โครงประธานดุ้ง แถมห้ามล้อลมดูดมาใช้
ที่ไม่มีรถจักรรถพ่วง ท่าน จ้างครฟ. ยำอะไหล่รถจักรปลดประจำการ พร้อมกะ แปลง บตญ - บขส. บขต. เก่า (ไม่รู้ห้ามล้อลมดูดหรือเปล่า) ให้เป็นบทต.
ขั้นหนักสุดก็จับเสือมือเปล่า เช่ารถจักรและ บตญ. ที่ควรจะใช้งานใน รฟท. ซะเลยซึ่งผิดฉกรรจ์ เลยเทียว |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 43973
Location: NECTEC
|
Posted: 15/01/2007 10:02 am Post subject: |
|
|
นี่ครับแผนที่ทางรถไฟช่างศรีราชา - แหลมฉบัง โดยคุณ GWR
|
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/06/2008 4:35 pm Post subject: |
|
|
เจอบทความเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าทางราง
ขอฝากไว้ในกระทู้นี้นะครับ
................
การขนส่งสินค้าทางรางในประเทศไทย
โดยทั่วไปแล้ว หนึ่งในโหมดการขนส่งที่ถือว่ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการขนส่งทางบก นอกเหนือจากการขนส่งทางน้ำ แล้ว ได้แก่ การขนส่งทางราง หรือทางรถไฟ ในปัจจุบันประเทศ ไทยมีการใช้การขนส่งทางโหมดนี้ค่อนข้างน้อย คิดได้เพียง 2.57 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดในแต่ละปี ผิดกับการขนส่งทางถนนที่มีปริมาณการขนส่งกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการขนส่งทั้งหมด
การขนส่งสินค้าทางรถไฟของประเทศไทยในปัจจุบันถือว่า มีขบวนหรือเที่ยวการเดินรถน้อยมาก โดยพบว่ามีขบวนรถคอนเทนเนอร์เพียง 30 ขบวน ขบวนรถน้ำมันสำเร็จรูป 11 ขบวน ขบวนรถน้ำมันดิบ 7 ขบวน ขบวนรถก๊าซ แอลพีจี 4 ขบวน ขบวนรถปูนซีเมนต์ผง 14 ขบวน และขบวนรถสินค้าทั่วไป 11 ขบวน
ทั้งนี้ สินค้าที่ใช้รถไฟ ณ ปัจจุบันได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด น้ำมันเชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ ข้าว เป็นหลัก จากข้อมูลสถิติการขนสินค้าของกระทรวงคมนาคม พบว่า สินค้าที่ขนทางรถไฟมีปริมาณรวมโดยประมาณเพียง 14 ล้านตันเท่านั้น โดยเป็นสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ประมาณ 8 ถึง 9 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเป็นน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปูนซีเมนต์ หิน ทราย
โดยสถานีต้นทางของการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่สำคัญ ได้แก่ สถานีรถไฟบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่ลาดกระบัง สถานีรถไฟแหลมฉบัง ที่ชลบุรี สถานีรถไฟบึงพระ ที่พิษณุโลก สถานีรถไฟหินลับ ที่นครราชสีมา สถานีรถไฟมาบตาพุด ที่ระยอง สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก ที่สระบุรี และสถานีรถไฟบางละมุง ที่ชลบุรี ทั้งนี้สถานีรถไฟดังกล่าว มีปริมาณการขนส่งสินค้าไม่น้อยกว่า 500,000 ตันต่อปี โดยเฉพาะ 4 สถานีแรกนั้น มีปริมาณการขนส่งสินค้าในแต่ละสถานีไม่น้อยกว่า 1 ล้านตันต่อปี หรือคิดรวมกันไม่น้อยกว่า 9 ถึง 10 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณการขนส่งเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการขนส่งทางรถไฟทั้งหมด
ส่วนสถานีปลายทางของการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่สำคัญ ได้แก่ สถานีรถไฟแหลมฉบัง ที่ชลบุรี สถานีรถไฟบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ที่ลาดกระบัง สถานีรถไฟที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน ที่กรุงเทพฯ สถานีรถไฟแม่น้ำ ที่กรุงเทพฯ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ที่สงขลา และสถานีรถไฟนครลำปาง ที่ลำปาง ทั้งนี้สถานีรถไฟปลายทางดังกล่าว มีปริมาณการขนส่งสินค้าในแต่ละสถานีไม่น้อยกว่า 500,000 ตันต่อปี หรือถ้าคิดรวมกันทั้งหมดแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ถึง 11 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณการขนส่งเกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการขนส่งทางรถไฟทั้งหมด
สำหรับการขนสินค้าทางรถไฟด้วยตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศในปัจจุบันนั้น มีปริมาณการขนส่งทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 7 ถึง 8 ล้านตัน โดยสถานีต้นทางที่มีการยกสินค้าขึ้นรถไฟมากที่สุดคือ สถานีรถไฟบรรจุและแยกสินค้ากล่อง หรือ สถานีรถไฟไอซีดี ลาดกระบัง รองลงมาได้แก่ สถานีรถไฟแหลมฉบัง ส่วนสถานีปลายทางที่มีการยกสินค้าลงจากรถไฟมากที่สุด ได้แก่ สถานีรถไฟแหลมฉบัง รองลงมา ได้แก่ สถานีไอซีดี ลาดกระบัง (โดยการขนส่งสินค้าทางรถไฟด้วยตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างสองสถานีนี้ทั้งขาไปและขากลับ ครอบคลุมปริมาณการขนส่งกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการขนสินค้าทางรถไฟด้วยตู้คอนเทนเนอร์ในประเทศทั้งหมด)
สถานีขึ้นลงตู้คอนเทนเนอร์ในปัจจุบัน ที่มีการใช้อยู่นอกเหนือจาก สถานีรถไฟ ไอซีดี ลาดกระบัง และสถานีรถไฟแหลมฉบังแล้ว ได้แก่ สถานีโนนพยอม ที่ขอนแก่น, สถานีสุราษฎร์ธานี, สถานีท่าเรือน้อย ที่กาญจนบุรี, สถานีชุมทางถนนจิระ ที่นครราชสีมา, สถานีห้วยเกิ้ง ที่อุดรธานี, สถานีที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน ที่กรุงเทพฯ, และสถานีชุมทางทุ่งสง ที่นครศรีธรรมราช เป็นต้น (อย่างไรก็ตามพบว่า สถานีเหล่านี้มีปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์น้อยมาก คิดได้เพียงปีละไม่กี่หมื่นตันในแต่ละแห่ง และที่สำคัญยังขาดความสมดุลระหว่างเที่ยวการขนสินค้าขาไปและขากลับ ตัวอย่างเช่น สถานีโนนพยอม ที่ขอนแก่น มีการขนสินค้าขาเข้ากรุงเทพฯ ในปริมาณที่มากถึงประมาณ 120,000 ตัน แต่ขาออกจากกรุงเทพฯ ถึงขอนแก่น มีเพียงประมาณหนึ่งหมื่นกว่าตันเท่านั้น)
สำหรับการขนสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ สถานีรถไฟที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ที่สงขลา, สถานีรถไฟมาบตาพุด ที่ระยอง, สถานีรถไฟที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน ที่กรุงเทพฯ, สถานีรถไฟ ไอซีดี ลาดกระบัง, สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ที่สงขลา, สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ที่นครศรีธรรมราช, สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ที่นราธิวาส, และสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี โดยสถานีหลักๆ ที่มีการขนส่งสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศค่อนข้างมาก ได้แก่ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ สถานีรถไฟมาบตาพุด สถานีรถไฟที่ทำการรับส่งสินค้าพหลโยธิน และสถานีรถไฟ ไอซีดี ลาดกระบัง โดยมีสัดส่วนในการขนส่งสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของการขนสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศทั้งหมด
ที่มา : นสพ. สยามธุรกิจ ฉบับที่ 859 ประจำวันที่ 5-1-2008 ถึง 8-1-2008 |
|
Back to top |
|
|
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47236
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 12/06/2008 4:36 pm Post subject: |
|
|
กรอบแผนการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม
บรรยายโดย นายวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม
ในโอกาสการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2547
ณ อาคารสโมสรและหอประชุมกระทรวงคมนาคม
_____________________
เรียน ท่านรองปลัดกระทรวงคมนาคม
ท่านผู้ตรวจราชการกระทรวง
ท่านที่ปรึกษา และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ
วันนี้เป็นโอกาสดีที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้มาร่วมประชุมพร้อมกันในวันนี้ จึงขอถือโอกาสก่อนที่ท่านรัฐมนตรีว่าการจะมาเป็นประธานการประชุม พูดถึงกรอบการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคมที่ต้องดำเนินการต่อไปข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามแผนนโยบายของรัฐบาล หรือการที่จะนำยุทธศาสตร์หรือนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการฯ ได้มอบหมายไว้มาแปลงเป็นแผนการปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกรอบในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่อง Logistics
ในเรื่องของ Logistics ได้มีการพูดคุยกันมามาก และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องต้นทุนสินค้าของไทยที่ค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น รัฐบาลได้ดำเนินการมาแล้วส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโดยระบบ Logistics Logistics เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วน วันนี้พยายามจะเน้นในส่วนของกระทรวงฯ ความหมายของ Logistics เมื่อก่อนจะมองเน้นในเรื่องของการส่งบำรุง เริ่มต้นว่าการที่จะขนยุทโธปกรณ์ไปสู่แนวหน้าได้ทันเวลาจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องกระบวนการ ต่อมามีการพัฒนาเรื่อยมาในเรื่องของเชิงธุรกิจ เป็นการพัฒนาในเชิงขนส่งในเรื่องของการค้า ฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือว่า การเคลื่อนย้ายสินค้าจากแหล่งผลิตหรือจากที่จัดเก็บไปยังผู้รับมอบปลายทาง เป็นความหมายหนึ่งของ Logistics คือ การเคลื่อนย้ายไปอย่างไร ไปที่ไหน มีที่จัดเก็บที่กระจายอย่างไร นี้ก็เป็นในภาคขนส่ง ในกระบวนการนั้นก็คือ จะให้สินค้านั้นไปยังผู้บริโภคปลายทางทันเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของ Logistics ในด้านการขนส่ง และจะรวมถึงในเรื่องของการที่จะมีที่เก็บสินค้า หรือมีคลังสินค้าในการกระจายสินค้า อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ในเรื่องของกระบวนการข้อมูลข่าวสารทางเทคโนโลยีที่จะมาประกอบในเรื่องของการจัดการขนส่ง รวมทั้งพิธีการในเรื่องของศุลกากรในเรื่องของการออกของ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ได้มีการเปิดโครงการ One Day Clearance ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งรัดพัฒนาในระบบ Logistics ที่จะให้การขนส่งที่อยู่ในภาครัฐในการให้บริการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ที่ด่านศุลกากรจะทำพิธีการในการปล่อยสินค้า รวมทั้งเรื่องของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับได้เร็ว จึงมีโครงการ One Day Clearance ซึ่งเปิดไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ไปร่วมในพิธีที่ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นี่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรื่อง Logistics |
|
Back to top |
|
|
|