View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
nathapong
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 19/06/2010 12:34 pm Post subject: |
|
|
kikoo wrote: | Cummins wrote: |
ถ้าเป็นยังงี้เราก็จะได้เห็น
1. เอารถเบ็นซ์มาวิ่งทางเกวียน หรือ
2. สร้างไฮเวย์ ให้รถบัสแดง กะสิบล้อหัวยาวเก่า ๆ วิ่ง และ
3. เอาช่างอู่ข้างถนนมาซ่อมรถเบ็นซ์ E class หรือ S class รุ่นใหม่ล่าสุด
อย่างงี้ใช่มั้ยครับ |
นี่แหล่ะครับ...เมืองไทยยุคใหม่ |
เป็นสิ่งที่คนในยุกต่อๆ ไป ต้องลงไปรับไปดูแล... หรือ จะรอดูเฉย ๆ ในรูปแบบของขยะ ก็แล้วแต่ .... อนาคต อยู่ในมือท่าน ครับ |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44045
Location: NECTEC
|
Posted: 22/06/2010 4:00 am Post subject: |
|
|
ร.ฟ.ท.ชง ครม.ข้อเงินกู้ 1900 ล. นำร่องรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มิถุนายน 2553 21:33 น.
คมนาคมสรุปรถไฟ'ไฮสปีด'4เส้นทาง ส่ง สนข.ศึกษา'
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 21 มิถุนายน 2553, 16:50 น.
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการพิจารณาความพร้อมใน โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 745 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 209,936 ล้านบาท,
กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร วงเงิน 180,379 ล้านบาท,
กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ระยะทาง 937 กิโลเมตร วงเงิน 234,071 ล้านบาท และ
กรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร วงเงิน 56,601 ล้านบาท
พบว่าเส้นทางที่ควรดำเนินการก่อน คือ สายใต้ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ และสายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพราะเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีนได้ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เตรียมรายละเอียดโครงการเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เศรษฐกิจต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาแล้วแต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากส่วนใหญ่ศึกษาเรื่องการเดินทางภายในประเทศเท่านั้น หรือมีข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว เช่น การต่อเชื่อมการเดินทางกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญและจะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน โดยเฉพาะสายใต้และสายเหนือ เนื่องจากเชื่อมต่อได้กับหลายประเทศ
โดยรูปแบบการลงทุนนั้นมี 4 รูปแบบ คือ
สำหรับการลงทุนแนวทางแรก และแนวทางที่สาม รัฐลงทุน 70% เอกชนลงทุน 30% สรุปความคุ้มค่าการลงทุนได้ 4-8%
1. รัฐลงทุนทั้งหมด 8แสนล้านบาท
2. รัฐบาลจะต้องรับภาระลงทุนงานโยธาทั้งหมด และให้เอกชนลงทุนตัวรถ ทำให้รัฐต้องใช้จ่ายถึง 8 แสนล้านบาท แต่ได้ความคุ้มค่ามากถึง 20-30%
3. รัฐและเอกชนร่วมลงทุนอย่างละครึ่ง หรือสัดส่วนๆ ละ 4 แสนล้านบาท มีความคุ้มค่าด้านการลงทุนเพียง 2-5 % และ
4. รัฐลงทุน 70% เอกชนลงทุน 30% สรุปความคุ้มค่าการลงทุนได้ 4-8%
ของมูลค่าโครงการ หรือ อาจให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และดำเนินการแบบให้สัมปทานอายุ 30 ปี แต่ยังข้อกังวลว่าเอกชนอาจแบกรับภาระไม่ไหว เพราะผลตอบแทนทางการเงินไม่มากพอที่จะจูงใจ แม้ว่าแนวทางนี้จะดีสำหรับร.ฟ.ท. โดยร.ฟ.ท.จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าสัมปทาน, ค่าเช่า ,ส่วนแบ่งรายได้ และเมื่อครบ 30 ปีแล้ว ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของ ร.ฟ.ท.ด้วย ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องความทรุดโทรมของวัสดุ อุปกรณ์ เพราะระหว่างที่เอกชนบริหารงานก็ต้องมีการปรับปรุงตามเวลาที่กำหนดในสัญญาสัมปทาน
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ความคุ้มทุนในการให้บริการนั้นจะต้องมีความถี่การเดินรถทุก 1 ชั่วโมง และแต่ละสายทางต้องมีผู้โดยสารถึง 70,000 คนต่อวัน ดังนั้นบางเส้นทางจึงต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ เช่น สายเหนือ ข้อมูลที่ไดจากการสัมมนารับฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือที่จะพานักท่องเที่ยวมาเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงแทนเครื่องบิน เพราะประหยัดกว่า และใช้เวลาเดินทางไม่นาน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมงที่ความเร็วเฉลี่ย 170 กิโลเตรต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันการเดินทางด้วยรถทัวร์ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง และเห็นว่าควรให้เอกชนเป็นผู้เดินรถ เพราะมีความคล่องตัวมากกว่าให้ ร.ฟ.ท.หรือบริษัทลูกรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลเลือกที่จะให้ รฟท. ผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงในเส้นทาง กรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร จากทั้งหมด 4 เส้นทาง เพราะเห็นว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด น่าจะเกิดขึ้นได้ก่อนเส้นทางอื่นๆ แต่หากเปรียบเทียบศักยภาพทั้งหมด จะเห็นว่า ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดคือ เส้นทางกรุงเทพ-หาดใหญ่ จากผลวิเคราะห์ด้านการลงทุนด้านการเงินของ 4 เส้นทาง ที่ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย สนข.เห็นว่า รูปแบบที่รัฐรับภาระงานโยธาทั้งหมดเอกชนลงทุนระบบรถ ฯลฯ และทำในรูปแบบพีพีพีรัฐร่วมลงทุนกับเอกชนดีที่สุด ที่ประชุมจึงให้ รฟท.ไปสรุปและเสนอรายงานเข้ามาในการประชุมครั้งต่อไป
นายยุทธนากล่าวว่า ภายในเดือนต.ค.นี้ ร.ฟ.ท.จะเสนอครม. ขอกู้เงินเพิ่มอีก 1,900 ล้านบาท หลังจากที่เคยขอกู้ไปแล้ว 4,000 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง ในปีงบประมาณ 2553 เนื่องจากไม่สามารถจัดเก็บค่าโดยสารให้คุ้มทุนได้ แม้ว่ารัฐจะให้การอุดหนุนค่าโดยสารเชิงสังคมแต่มีความล่าช้าโดยปีนี้ ร.ฟ.ท.จะต้องได้รับเงินอุดหนุน 2,335 ล้านบาท แต่จะต้องรอไปอีก 2 ปี จึงจะได้รับเงินเข้ามาทำให้มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง โดยคาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุม ครม.ได้ภายในเดือนต.ค.นี้ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 22/06/2010 7:09 am Post subject: |
|
|
^
เอาแบบที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ก็ได้ครับ
บริษัทเอกชนควรเป็นบริษัทมหาชนนะครับ และกระจายหุ้นให้กับองค์กรท้องถิ่นรายทางรวมถึงพนักงานอย่างแท้จริง _________________
|
|
Back to top |
|
|
heerchai
1st Class Pass (Air)
Joined: 29/07/2006 Posts: 7730
Location: อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
|
Posted: 22/06/2010 8:44 am Post subject: |
|
|
ผมแปลกใจว่า ไม่ไปทำสายรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ใช้แนวเส้นทางสายคีรีรัฐนิคม-ทับปุด-ภูเก็ต เผื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ น่าจะได้มากกว่า |
|
Back to top |
|
|
jojoja
3rd Class Pass
Joined: 04/02/2010 Posts: 133
|
Posted: 22/06/2010 9:44 am Post subject: |
|
|
ได้ยินว่าเอกชนเป้นผู้เดินรถแล้วรู้สึกหนาว
อืม เคยดูรายการตกผลึกตอน รถไฟ แล้ว
ที่พิธีกรพุดตอนท้ายๆว่า ประเทสไทยอาจจะไม่ต้องถึงกับมีรถไฟความเร็วสูง
เอาแค่รถไฟแบบปัจจุบันที่ดูคลาสสิค และมีความขลังเป็นเสน่ห์ที่มีในตัว
แต่ขอให้รัฐบาล เอาใจใส่การรถไฟหน่อย ไม่ใช่ปล่อยแบบตามมีตามเกิด
เวลาที่มีเหตุอะไรแย่ๆเกี่ยวกับรถไฟก็ดูเหมือนภาครัฐจะโยนความผิดมาให้การรถไฟและพนักงาน
รถไฟความเร็วสูงก็ดี แต่ลงทุนแล้วจะคุ้มค่าและคืนทุนได้วันไหน
ประชาชนคนไทยแค่ทุกวันนี้ก็แทบจะแย่งกันขึ้นรถไฟฟรีแล้ว
รถเร็ว รถด่วน ดูได้เลยว่าที่นั่งว่างแค่ไหนแล้วจะเอาปัญญาที่ไหนไปขึ้นรถไฟความเร็วสูง _________________ เราโตมาได้ด้วยเงินจากรถไฟครับ |
|
Back to top |
|
|
BanPong1
1st Class Pass (Air)
Joined: 07/12/2006 Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี
|
Posted: 22/06/2010 1:05 pm Post subject: |
|
|
heerchai wrote: | ผมแปลกใจว่า ไม่ไปทำสายรถไฟฟ้าความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ภูเก็ต ใช้แนวเส้นทางสายคีรีรัฐนิคม-ทับปุด-ภูเก็ต เผื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ น่าจะได้มากกว่า |
เห็นด้วยครับเอียใช้
ควรแยกปลายทางออกเป็น 2 แฉก ได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล
หรือไม่ข้างภูเก็ตก็ทำ Feeder ให้ดูมีมาตรฐานหน่อย วิ่งได้สัก 160 กม./ชม.ก็โอเคแล้ว แล้วจะได้ใช้ขนส่งสินค้าได้ด้วย _________________
|
|
Back to top |
|
|
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
Joined: 12/05/2009 Posts: 487
|
Posted: 22/06/2010 2:36 pm Post subject: |
|
|
Quote: |
ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า จากการศึกษา เบื้องต้นพบว่า ความคุ้มทุนในการให้บริการนั้นจะต้องมีความถี่การเดินรถทุก 1 ชั่วโมง และแต่ละสายทางต้องมีผู้โดยสารถึง 70,000 คนต่อวัน |
70,000 คนต่อวัน นี่เป็นตัวเลขที่มหาศาลมากๆครับ ผมยังสงสัยว่าจะหาผู้โดยสารจำนวนมากมายขนาดนี้มาจากที่ไหนได้ทุกวี่ทุกวัน |
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44045
Location: NECTEC
|
Posted: 22/06/2010 7:26 pm Post subject: |
|
|
ครม.อนุมัติปรับปรุงทางรถไฟ
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์ 22 มิถุนายน 2553, 18:30 น.
ครม.เทงบปรับปรุงทางรถไฟ 1.5 หมื่นล้าน-ซื้อหัวรถจักร 3 พันล.
มติชนออนไลน์ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 16:36:42 น.
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)
1. ดำเนินการในโครงการปรับปรุงเส้นทางระยะที่ 5 ระยะทางกว่า 308 กม. ช่วงสถานีชุมทางแก่งคอย-แก่งเสือเต้น /สถานีสุรนารายณ์-บัวใหญ่/สถานีชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่ วงเงินกว่า 8,508 ล้านบาท และ
2. โครงการปรับปรุงทางระยะที่ 6 ระยะทาง 278 กม. จากชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย วงเงิน 6,778 ล้านบาท สำหรับสาเหตุที่ที่คมนาคมเสนอขอปรับปรุงเนื่องจากปัจจุบันรางอยู่ในสภาพ เสื่อมโทรม มีขนาด 70 ปอนด์ต่อหลา และมีอายุการใช้งานมากว่า 43 ปี นับตั้งแต่การเปิดใช้เส้นทางแก่งคอย - บัวใหญ่ เมื่อ 19 สิงหาคม 2510
ครม. ให้สำนักงบประมาณเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กับรฟท.หากไม่สามารถจัดสรรงบให้ได้ ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจาณาแห่งเงินกู้ และให้ค้ำประกันเงินกู้ด้วย เช่นเดียวกับกรณีการ โครงการปรับปรุงเส้นทางระยะที่ 1-2-3 ที่สำเร็จได้ด้วยเงินกู้ ธํนาคารเจบิก (ปัจจุบันคือไจก้า)
หากมีการปรับปรุง จะทำให้การขนส่งผู้โดยสารและสินค้ามีความปลอดภัยมากขึ้น และสามารถเพิ่มความจุของราง และทำให้เพิ่มขบวนรถได้มากขึ้นโดยหลังจากนี้รฟท.จะเร่งประกวดราคาคัดเลือก ผู้รับเหมาปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 ภายในปีนี้ ซึ่งมั่นใจว่ารฟท.จะสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้ แม้ว่าที่ประชุมครม.จะมีความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าของกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างของรฟท. ซึ่งยืนยันว่าขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างการปฏิรูปองค์การในการจัดตั้งหน่วย ธุรกิจ และการปรับปรุงแก้ไขระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน
นายโสภณ กล่าวต่อว่า ขณะที่การทำงานระหว่างผู้บริหารและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรฟท.ก็สามารถ เชื่อมการทำงานด้วยกันได้ และจะไม่มีปัญหาในการดำเนินโครงการต่างๆ ภายในการปฏิรูปโครงสร้างรถไฟที่รัฐอนุมัติวงเงิน 1.76 แสนล้านบาท ซึ่งได้เริ่มโครงพัฒนาระบบอาณัติสัญญาณเป็นโครงการแรก
ขณะเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมครม.อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอโครงการจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 15 ตัน/เพลา จำนวน 7 คันพร้อมอะไหล่ วงเงิน 833.4 ล้านบาท โดยใช้วิธีการจัดหาแบบแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีมูลค่าเท่ากัน (Barter Trade) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย และกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกัน และอนุมัติโครงการจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาะสูงสุด 20 ตัน/เพลาจำนวน 13 คันพร้อมอะไหล่ วงเงิน 2,145 ล้านบาท
(ชอบกลแฮะ ) |
|
Back to top |
|
|
milkonline
2nd Class Pass (Air)
Joined: 02/07/2009 Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี
|
Posted: 22/06/2010 9:41 pm Post subject: |
|
|
Wisarut wrote: | [url=http://www.thairath.co.th/content/eco/91220]
เมื่จัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 15 ตัน/เพลา จำนวน 7 คันพร้อมอะไหล่ วงเงิน 833.4 ล้านบาท โดยใช้วิธีการจัดหาแบบแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีมูลค่าเท่ากัน (Barter Trade) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย และกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ค้ำประกัน และอนุมัติโครงการจัดหาหัวรถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาะสูงสุด 20 ตัน/เพลาจำนวน 13 คันพร้อมอะไหล่ วงเงิน 2,145 ล้านบาท
(ชอบกลแฮะ ) |
เด่นชัด ขึ้นแล้วสินะครับ
จะออกมาแบบใดนั้น? คงต้องรอดูต่อไป _________________ N-Scale model train lovers.
|
|
Back to top |
|
|
Wisarut
1st Class Pass (Air)
Joined: 27/03/2006 Posts: 44045
Location: NECTEC
|
Posted: 23/06/2010 11:17 am Post subject: รายละเอียด ข่าว Track Rehab สายอีสาน - รถจักรจีนแดง |
|
|
ครม.อนุมัติ ร.ฟ.ท.จัดซื้อหัวรถจักร รบ.จีน 800 กว่า ล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มิถุนายน 2553 19:32 น.
วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 15 ตันต่อเพลา จำนวน 7 คัน วงเงิน 757.680 ล้านบาท พร้อมอะไหล่วงเงิน 75.768 ล้านบาท วงเงินรวม 833.448 ล้านบาท โดยเปลี่ยนวิธีการจัดหาจากวิธีแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีมูลค่าเท่ากัน (Barter Trade) ระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการจัดหาด้วยวิธีปกติ โดย ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายจากเงินกู้และให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และอนุมัติให้ ร.ฟ.ท.จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตันต่อเพลา จำนวน 13 คัน ในราคาคันละ 165 ล้านบาท วงเงินรวม 2,145 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.รับภาระค่าใช้จ่ายจากเงินกู้และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
พร้อมอนุมัติดำเนินโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 5 และ 6 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟม.) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยเส้นทางระยะที่ 5 ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมระยะทางประมาณ 308 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วงคือ
ช่วงสถานีชุมทางแก่งคอย-แก่งเสื้อเต้น
ช่วงสถานีสุรนารายณ์-ชุมทางบัวใหญ่ และ
ช่วงสถานีชุมทางถนนจิระ-ชุมทางบัวใหญ่
ภายในกรอบวงเงิน 8,508 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี และรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น โดยให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณให้ ร.ฟ.ท. ดำเนินโครงการปรับปรุงทางระยะที่ 6 ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือช่วงสถานีชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย รวมระยะทาง ประมาณ 278 กม.ภายในกรองวงเงิน 6,779 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี และรับบาลรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งสิ้น โดยให้ สงป.จัดสรรงบประมาณให้ร.ฟ.ท.
ทั้งนี้ ครม.อนุมัติในหลักการกรณีที่ สงป.ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้ ร.ฟ.ท.ได้ให้กระทรวงการคลัง ร่วมกับ ร.ฟ.ท.เป็นผู้พิจารณาแหล่งเงินกู้ วิธีกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอี้ยดต่างๆ ของการกู้เงินที่เหมาะสม ตลอดจนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และให้ สงป.ตั้งงบประมาณเพื่อชำระค่าธรรมเนียมการกู้เงินค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดอกเบี้ย และเงินต้นของเงินกู้ดังกล่าว |
|
Back to top |
|
|
|